970 likes | 4.46k Views
ภาษาไทย ป.๕. วิชาพัฒนาเว็บ สาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. การพูดในโอกาสต่างๆ.
E N D
ภาษาไทย ป.๕ วิชาพัฒนาเว็บ สาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
การพูดในโอกาสต่างๆ • การพูดในโอกาสสำคัญ ๆ เป็นการพูดที่เราได้พบบ่อย ๆ ในชีวิตประจำวันของคนเราโดยเฉพาะบุคคลที่ได้รับยกย่องสรรเสริญจากบุคคลในสังคมต่าง ๆ ย่อมมีโอกาสได้รับเชิญให้พูดในโอกาสสำคัญ ๆ ที่มีการจัดงานหรือจัดกิจกรรมต่าง ๆ ทางสังคมขึ้น เมื่อเป็นเช่นนี้ บุคคลที่เป็นผู้นำในทางสังคม หรือเป็นผู้นำในหน่วยงานต่าง ๆ จะต้องฝึกฝนตนเองในการพูดในลักษณะต่างๆไว้ การพูดในโอกาสต่างๆ ที่ถือว่ามีความสำคัญควรจะต้องฝึกฝนตนเองเอาไว้การพูดในโอกาสต่าง ๆ เท่าที่เห็นมีอยู่เสมอนั้น มีดังนี้
การพูดในโอกาสต่างๆ การปฏิบัติหน้าที่โฆษก การกล่าวคำสดุดี การให้โอวาท การปฏิบัติหน้าที่พิธีกร การกล่าวแนะนำผู้พูด การกล่าวคำปราศรัย การกล่าวอวยพร การกล่าวคำต้อนรับ การกล่าวขอบคุณผู้พูด การกล่าวคำเลี้ยงส่ง
การปฏิบัติหน้าที่โฆษกการปฏิบัติหน้าที่โฆษก • ผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่เป็นโฆษก นอกจากจะเป็นผู้ที่มีลีลาการพูดที่น่าฟังแล้ว จะต้องเป็นผู้ที่มีไหวพริบและปฏิภาณดี สามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างแคล่วคล่องว่องไว ปราศจากความเก้อเขิน มีอารมณ์รื่นเริงและแจ่มใสอยู่เสมอโฆษกที่ดีนั้นจะต้องมีลักษณะดังนี้ 1) มีความสง่าผ่าเผย 2) เสียงดัง ชัดเจน นุ่มนวล และหนักแน่น 3) ใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส 4) มีมารยาทในการใช้ถ้อยคำดี 5) รู้จักเลือกใช้ถ้อยคำ และเลือกเรื่องที่จะนำมาพูดได้อย่างเหมาะสม 6) ไม่ใช้ถ้อยคำจำเจและซ้ำซาก 7) นำเรื่องที่จะพูดให้น่าสนใจ 8) ให้เกียรติผู้รับเชิญ และแนะนำเรื่องที่จะพูดให้น่าสนใจ
การปฏิบัติหน้าที่พิธีกรการปฏิบัติหน้าที่พิธีกร • พิธีกรเป็นบุคคลสำคัญในการชักนำให้การพูดแต่ละครั้งไปสู่จุดมุ่งหมายที่วางไว้ บางครั้งพิธีกรตั้งอยู่ในฐานะเป็นประธาน ในที่ประชุม ผู้ทำหน้าที่เป็นพิธีกรจะต้องมีความรอบรู้รอบคอบ ละเอียดลออ จะต้องพร้อมไปด้วยคุณสมบัติและรู้หน้าที่ดังต่อไปนี้คุณสมบัติของพิธีกร 1) ต้องได้รับการฝึกพูดมาแล้วพอสมควร 2) มีความรอบรู้ระเบียบวิธีการพูดในที่ชุมนุมชน 3) เป็นที่เชื่อถือของบุคคลทั่วไป 4) เป็นผู้ยอมรับฟังความคิดเห็นของบุคคลอื่น 5) ไม่มีอคติ 6) มีมารยาทดีมีความอ่อนน้อมไม่ลุอำนาจต่อโทสะ 7) มีความอดทน รู้จักอดกลั้นต่อความรู้สึกต่างๆ 8) มีปฏิภาณดี สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว
การปฏิบัติหน้าที่พิธีกรการปฏิบัติหน้าที่พิธีกร • หน้าที่ของพิธีกร พิธีกรมีหน้าที่คล้ายคลึงกับโฆษก ต่างกันที่ว่า หน้าที่พิธีกรนั้นใช้ในงานที่เป็นพิธีการที่มีผู้รับเชิญให้มาพูดมากกว่า 1 คนขึ้น พิธีกรมีหน้าที่สำคัญดังต่อไปนี้ 1) วางแผนการพูดแต่ละครั้ง 2) แนะนำกลุ่ม 3) เชิญผู้พูดแต่ละท่านให้ขึ้นมาพูดตามลำดับ 4) จัดระเบียบวาระของการพูดแต่ละครั้งให้เหมาะสมตามสมควรแต่โอกาส
การกล่าวแนะนำผู้พูด • การกล่าวแนะนำผู้พูดนั้น มักจะกล่าวในโอกาสที่มีการปาฐกถา หรือในโอกาสที่มีการอภิปราย เช่น การกล่าวแนะนำผู้ดำเนินการอภิปราย และการกล่าวแนะนำวิทยากรในการสัมมนา เป็นต้นสรุปการกล่าวแนะนำผู้พูด 1) การกล่าวแนะนำผู้พูดและเรื่องที่จะพูด ต้องแนะนำให้เหมาะกับลักษณะ และอารมณ์ผู้ฟัง 2) การแนะนำไม่ควรต่ำกว่า 20 วินาที และไม่เกิน 2 นาที 3) ไม่ควรให้ตัวผู้แนะนำและคำแนะนำเด่นจนเกินไป 4) ไม่ควรให้ผู้พูดรู้สึกขวยเขินเพราะคำยกยอจนเกินควร 5) เลือกใช้คำแนะนำให้เหมาะสม 6) วางการแนะนำตามลำดับขั้นของอารมณ์
การกล่าวอวยพร • การกล่าวสุนทรพจน์ที่ใช้บ่อยที่สุด เพราะว่าสังคมไทยมักจะจัดงานมงคลต่างๆ ขึ้นเสมอ เช่น งานมงคลสมรส ขึ้นบ้านใหม่ เลี้ยงส่ง วันขึ้นปีใหม่ ตลอดจนงานมงคลอื่นๆ ตามประเพณีที่มีมาแต่ก่อน- การกล่าวอวยพรในงานมงคลสมรส การกล่าวในงานพิธีมงคลสมรสจะใช้เวลาไม่เกิน 10 นาที นิยมกล่าวปากเปล่า ซึ่งมีหลักการกล่าวที่ควรยึดเป็นแนวปฏิบัติดังนี้1) กล่าวคำปฏิสันถาร2) กล่าวถึงความรู้สึกว่าเป็นเกียรติที่ได้มาอวยพร3) ความสัมพันธ์ของผู้พูดกับคู่บ่าวสาว4) ให้คำแนะนำในการดำเนินชีวิต และการครองรัก5) อวยพรและชักชวนให้ดื่ม
การกล่าวอวยพร • การกล่าวอวยพรในวันขึ้นปีใหม่ เมื่อถึงวันที่ 1 มกราคม ของทุกปี ชาวไทยทุกคนต่างก็ทำบุญตักบาตร จัดงานเลี้ยงกันอย่างเอิกเกริกในหมู่ผู้ร่วมงานเดียวกัน ในหมู่ญาติสนิทมิตรสหายการกล่าวคำอวยพรในวันขึ้นปีใหม่มักจะพูดปากเปล่า โดยมีแนวปฏิบัติในการกล่าวดังนี้1) กล่าวคำปฏิสันถาร2) กล่าวถึงชีวิตในปีเก่าที่ผ่านมา3) กล่าวถึงการเริ่มต้นชีวิตใหม่ในปีใหม่ • การกล่าวอวยพรวันคล้ายวันเกิดการกล่าวอวยพรตามประเพณีนิยมนั้น มีการกล่าวอวยพรเมื่อเสร็จจากการรับประทานอาหาร และผู้รับเชิญก็จะถือเอาผู้ที่มีอาวุโสในที่ประชุมนั้น หรือบางทีก็เป็นบุตรหัวปี เป็นผู้กล่าวในการกล่าวพิธีเช่นดังกล่าวนี้ มีแนวปฏิบัติในการกล่าวดังนี้1) กล่าวคำปฏิสันถาร2) กล่าวรู้สึกเป็นเกียรติที่มีโอกาสกล่าวอวยพร3) การสร้างคุณงามความดี หรือพูดถึงความสัมพันธ์ที่ผู้พูดมีต่อท่านผู้นั้น4) การเป็นที่พึ่งของบุตรหลาน
การกล่าวขอบคุณผู้พูด การกล่าวขอบคุณผู้พูด • เมื่อการพูดได้จบสิ้นลงแล้ว ผู้กล่าวแนะนำเป็นผู้กล่าวขอบคุณผู้พูดด้วยตามปรกติแล้วผู้กล่าวคำขอบคุณจะกล่าวถึงเรื่องสำคัญของเรื่องที่ผู้พูดได้พูดอย่างสั้นๆ พร้อมทั้งเน้นให้เห็นว่าผู้ฟังจะได้รับประโยชน์จากการฟังครั้งนี้ด้วยอนึ่งในกรณีการสัมมนา ซึ่งมีวิทยากร มีวิธีกล่าวขอบคุณดังนี้1) เริ่มด้วยการกล่าวคำขอบคุณ2) สรุปเนื้อหาที่วิทยากรพูดไว้อย่างสั้นๆ พร้อมทั้งกล่าวเชื้อเชิญวิทยากรไว้สำหรับการพูดครั้งต่อไป3) จบลงด้วยการกล่าวขอบคุณอีกครั้งหนึ่ง
การกล่าวคำสดุดี • การกล่าวสดุดีเป็นสุนทรพจน์อย่างหนึ่ง ที่ใช้พูดยกย่องสรรเสริญคุณความดีของบุคคลรวมทั้งผู้ที่มีชีวิตอยู่ และผู้ที่เสียชีวิตไปแล้ว การกล่าวสดุดีมุ่งที่จะพูดให้ผู้ฟังได้ตระหนักรำลึกถึงชีวิต และผลงานของบุคคลนั้น การกล่าวสดุดีควรยึดแนวปฏิบัติดังนี้ 1) กล่าวปฏิสันถาร 2) กล่าวถึงประวัติโดยย่อ (สำหรับผู้เสียชีวิตแล้ว) 3) กล่าวถึงคุณความดีหรือผลงานของบุคคลนั้น4) จบลงด้วยการพูดที่ทำให้ผู้ฟังรู้สึกเป็นหนี้บุญคุณของบุคคล
การให้โอวาท • การให้โอวาท เป็นสุนทรพจน์ที่ผู้ใหญ่กล่าวกับผู้น้อย เพื่อจะให้ข้อคิด แนะนำตักเตือนและสั่งสอน เนื่องในโอกาสสำคัญๆ เช่น พระบรมราโชวาทพระราชทานแก่บัณฑิตใหม่เนื่องในวันพระราชทานปริญญาบัตร โอวาทของอธิการบดีในวันปฐมนิเทศนิสิตใหม่ เป็นต้น การให้โอวาทควรยึดแนวปฏิบัติในการกล่าวดังนี้1) ความสำคัญของโอกาสที่ให้โอวาท2) ให้หลักการ ข้อแนะนำ ตักเตือน ข้อคิดที่สมเหตุผล และอธิบายประกอบให้แจ่มแจ้ง3) ถ้ามีเวลาพอก็อาจจะชี้ให้เห็นข้อบกพร่องต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นแล้วเสนอแนะวิธีแก้ไขข้อบกพร่องนั้นๆ4) ไม่ควรให้โอวาทหลายเรื่องพร้อม ๆ กัน5) ลงท้ายด้วยการอวยชัยให้พร
การกล่าวคำปราศรัย • คำปราศรัยมีลักษณะคล้ายคลึงกับสุนทรพจน์ในด้านภาษา เนื้อหา และทัศนคติของผู้กล่าว ซึ่งสามารถจะนำไปปฏิบัติได้ คำปราศรัยที่เป็นการพูดที่เป็นพิธีการ ดังนั้น จึงจำเป็นที่จะต้องมีการเตรียมมาก่อนเป็นอย่างดีคำปราศรัยอาจแบ่งได้เป็นประเภทต่างๆ ดังนี้1) คำปราศรัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เรียกว่า กระแสพระราชดำรัส หรือพระราชดำรัส เช่น กระแสพระราชดำรัสแก่ประชาชนชาวไทยเนื่องในวันขึ้นปีใหม่ เป็นต้น2) คำปราศรัยในโอกาสครบรอบปี เช่น คำปราศรัยเนื่องในวันเด็ก เนื่องในวันกาชาดสากล เนื่องในวันกรรมกรสากล เนื่องในวันขึ้นปีใหม่ เป็นต้น3) คำปราศรัยในงานพิธีต่างๆ ซึ่งเรียกว่า คำกล่าวเปิด…ถ้าเป็นงานที่เป็นพิธีการเรียกว่า "คำปราศรัย" เช่น คำปราศรัยของ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ในการเปิดอบรมกำนันผู้ใหญ่บ้านทั่วราชอาณาจักร เป็นต้น
การกล่าวคำต้อนรับ • ในโอกาสที่มีผู้มาใหม่ เช่น เจ้าหน้าที่ใหม่ พนักงานใหม่ นักศึกษาใหม่ หรือมีผู้มาเยี่ยมเพื่อพบปะชมกิจการ การกล่าวต้อนรับควรยึดแนวปฏิบัติดังนี้1) เริ่มด้วยการกล่าวแสดงความยินดีที่ได้มีโอกาสต้อนรับผู้มาใหม่2) กล่าวถึงจุดมุ่งหมายในการเยี่ยมเยือน เพื่อให้เห็นว่าฝ่ายต้อนรับนั้นเห็นความสำคัญของการมาเยี่ยม3) แสดงความหวังว่าผู้มาเยี่ยมจะได้รับความสะดวกสบายระหว่างที่พำนักอยู่ในสถานที่นั้น หรือระหว่างการเยี่ยมเยือนนั้น4) สรุปเป็นทำนองเรียกร้องให้อาคันตุกะกลับมาเยี่ยมเยือนอีก ส่วนกรณีผู้มาใหม่ก็หวังว่าจะได้ร่วมงานกันตลอดไปด้วยความราบรื่น
การกล่าวคำเลี้ยงส่งข้าราชการการกล่าวคำเลี้ยงส่งข้าราชการ • ในหน่วยงานต่างๆ ถ้าหากว่ามีข้าราชการ หรือเจ้าหน้าที่โยกย้าย หรือออกจากงานก็ถือเป็นประเพณีอย่างหนึ่งที่จะต้องจัดงานเลี้ยง และมอบของที่ระลึกเพื่อแสดงความอาลัยให้1) กล่าวปฏิสันถาร2) กล่าวถึงความสัมพันธ์ของผู้ที่จากไปกับผู้ที่อยู่3) กล่าวถึงคุณความดีทั้งในด้านการงาน และด้านส่วนตัวของผู้ที่จากไป4) กล่าวถึงความอาลัยอาวรณ์ของผู้ที่5) อวยพร
การฟังและการดู • การฟัง หมายถึงการรับสาร หรือเสียงที่ได้ยินทางหู การฟังอย่างมีจุดมุ่งหมาย มีมารยาทและรู้จักพินิจพิเคราะห์เนื้อหาของสาร ที่รับว่ามีข้อเท็จจริง อย่างไร รู้จักจับใจความสำคัญ ใจความย่อย สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้ผู้รับสาร ได้ประโยชน์จากการฟังอย่างเต็มที่การฟังต้องมีจุดมุ่งหมาย1) ฟังเพื่อความรู้ ได้แก่ การฟังเรื่องราวที่เป็นวิชาการ ข่าวสารและข้อแนะนำต่าง ๆ การฟังเพื่อความรู้ จำเป็นต้องฟังให้เข้าใจและจดจำสาระสำคัญให้ได้2) ฟังเพื่อความเพลิดเพลิน คือ การฟังเรื่องราวที่สนุกสนานเพลิดเพลิน ทำให้ผ่อนคลายความตึงเครียดจากภารกิจการงานและสิ่งแวดล้อม3) ฟังเพื่อให้ได้รับคติหรือความจรรโลงใจ คือ การฟังเรื่องที่ทำให้เกิดแนวคิด และสติปัญญา เกิดวิจารณญาณ ขัดเกลาจิตใจให้มีคุณธรรม การฟังประเภทนี้ต้องรู้จักเลือกฟัง และเลือกเชื่อในสิ่งที่ถูกที่ควรซึ่งจะช่วยให้ผู้ฟัง มีคติในการดำเนินชีวิตไปในทางดีงาม และรู้จักสร้างสรรค์ประโยชน์เพื่อสังคม
การฟังและการดู • ประโยชน์ส่วนตน 1.1 การฟังเป็นเครื่องมือของการเขียน ผู้ที่เรียนหนังสือได้ดีต้องมีการฟังที่ดีด้วย คือ ต้องฟังคำอธิบายให้รู้เรื่องและจับใจความสำคัญให้ได้จึงจะทำให้การเรียนมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นการฟังคำอธิบายในห้องเรียน การฟังอภิปราย การฟังบทความ ล้วนแต่ช่วยพัฒนาสติปัญญาทำให้เกิดความรู้และเกิดความเฉลียวฉลาดจากการฟัง1.2 การฟังช่วยให้ผู้ฟังพัฒนาความสามารถในการพูด พัฒนาความสามารถในการใช้ภาษา เพราะการฟังทำให้ผู้ฟังมีความรู้กว้างขึ้นและมีประสบการณ์มากขึ้น1.3 การฟังช่วยปูพื้นฐานความคิดที่ดีให้กับผู้ฟัง ซึ่งจะได้จากการฟังเรื่องราวที่มีคุณค่ามีประโยชน์จากผู้อื่น ช่วยพัฒนาสติปัญญาแก่ผู้ฟัง การได้รับข้อคิดเห็นที่มีประโยชน์ทำให้เกิดแนวความคิดใหม่ ๆ ได้1.4 การฟังช่วยให้ผู้มีมารยาทในการฟัง สามารถเข้าสังคมกับผู้อื่นได้เช่น รู้จักฟังผู้อื่น รู้จักซักถามโต้ตอบได้ตามกาลเทศะ
การฟังและการดู • ประโยชน์ทางสังคม 2.1 การฟังทำให้เกิดความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อชาติบ้านเมือง เช่น การฟังประกาศ ฟังปราศรัย ฟังการอภิปราย เป็นต้น2.2 การฟังช่วยให้ประพฤติดี ปฏิบัติให้สังคมเป็นสุข เช่น ฟังธรรม ฟังเทศนา ฟังคำแนะนำ การอบรม เป็นต้น • ผู้มีมารยาท ในการฟังควรปฏิบัติตน ดังนี้1. เมื่อฟังอยู่เฉพาะหน้าผู้ใหญ่ ควรฟังโดยสำรวมกิริยามารยาท ฟังด้วยความสุภาพเรียบร้อย และตั้งใจฟัง2. การฟังในที่ประชุม ควรเข้าไปนั่งก่อนผู้พูดเริ่มพูด โดยนั่งที่ด้านหน้าให้เต็มก่อนและควรตั้งใจฟังจนจบ3. จดบันทึกข้อความที่สนใจหรือข้อความที่สำคัญ หากมีข้อสงสัยเก็บไว้ถามเมื่อมีโอกาสและถามด้วยกิริยาสุภาพ เมื่อจะซักถามต้องเลือกโอกาสที่ผู้พูดเปิดโอกาสให้ถาม หรือยกมือขึ้นขออนุญาตหรือแสดงความประสงค์ในการซักถาม ถามด้วยถ้อยคำสุภาพ และไม่ถามนอกเรื่อง
การฟังและการดู 4. มองสบตาผู้พูด ไม่มองออกนอกห้องหรือมองไปที่อื่น อันเป็นการแสดงว่าไม่สนใจเรื่องที่พูด และไม่เอาหนังสือไปอ่านขณะที่ฟัง หรือนำอาหารเครื่องดื่มเข้าไปรับประทานระหว่างฟัง 5. ฟังด้วยใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใสเป็นกันเองกับผู้พูด แสดงสีหน้าพอใจในการพูด ไม่มีแสดงกิริยาก้าวร้าว เบื่อหน่าย หรือลุกออกจากที่นั่งโดยไม่จำเป็นขณะฟัง 6. ฟังด้วยความสุขุม ไม่ควรก่อความรำคาญให้บุคคลอื่น ควรรักษามารยาทและสำรวมกิริยา ไม่หัวเราะเสียงดังหรือกระทืบเท้าแสดงความพอใจหรือเป่าปาก 7. ฟังด้วยความอดทนแม้จะมีความคิดเห็นขัดแย้งกับผู้พูดก็ควรมีใจกว้างรับฟังอย่างสงบ 8. ไม่พูดสอดแทรกขณะที่ฟัง ควรฟังเรื่องให้จบก่อนแล้วค่อยซักถามหรือแสดงความคิดเห็น 9. ควรให้เกียรติวิทยากรด้วยการปรบมือ เมื่อมีการแนะนำตัวผู้พูด ภายหลังการแนะนำ
การฟังและการดู ในการฟังและการดู เราไม่อาจจะจดจำสารที่ฟังและดูได้ทั้งหมด หลังจากฟังหรือดูเพียงไม่กี่วันหรือไม่กี่ชั่วโมง เราก็ลืมเสียแล้ว นอกจากจะฝึกการจำให้มากขึ้น ซึ่งเราอาจฝึกฝนปรับปรุงโดยการทำเป็นโครงการระยะยาว แต่ในขั้นต้นซึ่งนักเรียนควรจะได้ฝึกฝน คือ การจดบันทึกสารที่ได้ฟังและดู การจดบันทึกสิ่งต่าง ๆ จะช่วยให้เราจำได้ดีขึ้น เพราะการได้เขียนทำให้สิ่งนั้นผ่านประสาทตาและประสาทสัมผัสของเราอีกครั้งหนึ่ง เป็นการช่วยย้ำเตือนความจำของเราให้ดีขึ้น การจดบันทึกช่วยให้เรามีสมาธิ และตั้งใจจดจ่ออยู่กับการฟังและดู และประโยชน์สำคัญที่ได้คือ ข้อความที่บันทึกไว้นั้นเป็นลายลักษณ์อักษรช่วยให้เราทบทวนได้เมื่อลืมนักเรียนจะเห็นได้ว่า การจดบันทึกจากการฟังและดู มีความสำคัญมาก แต่เราก็ไม่ควรจดบันทึกในทุกโอกาส เช่น การฟังเพียงสั้นๆ และเป็นเรื่องที่มีประเด็นสำคัญซับซ้อน ก็ไม่จำเป็นต้องจดบันทึก บางทีอาจรอจนฟังจบแล้ว จึงค่อยเขียนบันทึกไว้ก็ได้ และในบางกรณีเราก็ควรมีมารยาทด้วยการอนุญาตผู้พูดเสียก่อนจึงจะจดบันทึกได้
การอ่าน • การอ่าน คือ การรับรู้ข้อความในการเขียนของตนเองหรือของผู้อื่น รวมถึงการการรับรู้ความหมายจากเครื่องหมายและสัญลักษณ์ต่างๆ เช่น สัญลักษณ์จราจร เครื่องหมายที่แสดงบนแผนที่ เป็นต้น การรับรู้ข้อความ เข้าใจเรื่องราว หรือได้รับรสความบันเทิงใจตรงตามจุดประสงค์ของผู้เขียนเป็นการอ่านที่ดีและได้ประโยชน์อย่างแท้จริง • ความสำคัญของการอ่าน ชีวิตของแต่ละคนย่อมต้องเกี่ยวข้องผูกพันกับสังคม คือ กลุ่มคนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่มีใครที่จะอยู่ได้โดยปราศจากสังคมและการอยู่ร่วมกับคนอื่น ซึ่งจะต้องมีความเข้าใจซึ่งกันและกันมีการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิด ความสนใจ เพื่อให้สังคมเกิดความสงบสุขและพัฒนาไปข้างหน้าอย่างแท้จริง ดังนั้นการติดต่อสื่อสารจึงเข้ามาเป็นส่วนสำคัญในการเชื่อมโยงมนุษย์ทุกคนเข้าด้วยกัน
การอ่าน • จุดมุ่งหมายของการอ่าน การอ่านเพื่อการศึกษาค้นคว้า การอ่านเพื่อความบันเทิง การอ่านเพื่อความคิดหรือเพื่อสนองความต้องการอื่นๆ • ระดับของการอ่าน แบ่งเป็น 2 ระดับ คือ อ่านออก การที่ผู้อ่านรู้จักพยัญชนะ สระและเครื่องหมายต่างๆ สามารถอ่านออกเสียงออกมาเป็นคำได้อย่างถูกต้อง อ่านเป็น หมายความว่า ผู้อ่านจะต้องอ่านได้ถูกต้อง คล่องแคล่ว จับใจความได้ตรงตามที่ผู้เขียนต้องการ ทราบความหมายของข้อความทุกอย่างรวมถึงความหมายที่ผู้เขียนเจตนาแฝงเร้นไว้ สามารถเข้าใจเจตนาและอารมณ์ของผู้เขียน
การเขียน • การเขียน หมายถึง การถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดและความต้องการของบุคคลออกมาเป็นสัญลักษณ์ คือ ตัวอักษร เพื่อสื่อความหมายให้ผู้อื่นเข้าใจ จากความข้างต้น ทำให้มองเห็นความหมายของการเขียนว่า มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการสื่อสารในชีวิตประจำวัน เช่น นักเรียน ใช้การเขียนบันทึก ความรู้ ทำแบบฝึกหัดและตอบข้อสอบบุคคลทั่วไป ใช้การเขียนจดหมาย ทำสัญญา พินัยกรรมและค้ำประกัน เป็นต้น พ่อค้า ใช้การเขียนเพื่อโฆษณาสินค้า ทำบัญชี ใบสั่งของ ทำใบเสร็จ รับเงิน แพทย์ ใช้บันทึกประวัติคนไข้เขียนใบสั่งยาและอื่นๆ เป็นต้น • การเขียนแบ่งได้ 4 ประเภท คือ 1. การเขียนเรื่องสั้น 2. การเขียนบทความ 3. การใช้สำนวนโวหาร 4. การย่อความ
การเขียน • ลักษณะผู้เขียน มีดังนี้1) มีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ และจินตนาการ2) มีความรอบรู้ เพราะความรู้เปรียบเสมือนวัตถุดิบ3) เลือกเนื้อหาและใช้ภาษาได้ถูกต้อง และเหมาะสมตามหลักการใช้ภาษา4) หลีกเลี่ยงการแสดงความคิดเห็น ที่จะทำให้ผู้อื่นหรือตัวเองเดือดร้อน5) ลักษณะท่าทาง ผู้เขียนนอกจากมีความคิด ความรู้ และความสามารถบุคลิกลักษณะ ท่าทางในการนั่ง การวางมือ การจับปากกาดินสอ ผู้เขียนต้องเข้าใจและปฏิบัติให้ถูกต้องเพื่อสุขภาพของผู้เขียนเอง6) ลายมือของผู้เขียน เขียนให้ถูกต้อง เป็นระเบียบ สะอาดและชัดเจน7) จรรยาบรรณผู้เขียน หมายถึง มารยาท เช่น การให้เกียรตินักเขียนโดยลงชื่อเจ้าของผลงานที่เราลอกหรือเอาแนวคิดของ เขามาทุกครั้ง
คำและการใช้คำ • ความหมายของคำ๑.๑ คำที่มีความหมายตรงและความหมายโดยนัย - ความหมายตรง คือ ความหมายที่เป็นที่รับรู้ เข้าใจตรงกันในหมู่ผู้ใช้ภาษาไม่ต้องตี ความเป็นอย่างอื่น - ความหมายแฝง คือ ความหมายที่ซ่อนเร้นอยู่ในความหมายของคำนั้นๆ เป็นความ หมายที่เพิ่มขึ้นจากความหมายตรง จะเข้าใจตรงกันหรือไม่ขึ้นอยู่กับพื้นฐานความรู้ประสบการณ์ของ แต่ละบุคคล ตลอดจนคำแวดล้อม๑.๒ คำบางคำอาจมีได้หลายความหมาย คือ เมื่ออยู่ในประโยคหนึ่ง คำบางคำอาจมี ความแตกต่างไปจากเมื่ออยู่ในอีกประโยคหนึ่ง ๑.๓ คำบางคำมีความหมายใกล้เคียงกัน อาจทำให้ผู้ใช้ภาษาเกิดความสับสนได้การใช้คำให้ถูกต้องตามไวยากรณ์ ไวยากรณ์ หมายถึง หลักว่าด้วยรูป และระเบียบวิธีการประกอบรูปคำให้เป็นประโยค การเขียนสะกดการันต์ให้ถูกต้อง การเขียนสะกดคำเรื่องสำคัญ เพราะถ้าเขียนสะกดบกพร่องหรือผิดความหมายก็อาจจะ เปลี่ยนแปลงไปได้ ดังนั้น ในการเขียนจึงต้องอาศัยการสังเกตและการจดจำหลักการเขียนคำประเภท
คำและการใช้คำ • การออกเสียงให้ถูกต้องและชัดเจน พยางค์หนึ่งๆ ในภาษาไทยประกอบด้วย พยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์ ถ้าเสียงพยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์เปลี่ยนไป ความหมายก็จะเปลี่ยนไปด้วย ซึ่งจะทำให้สื่อความหมายผิดพลาดได้ เรื่องนี้ต้องอาศัยการสังเกตและจดจำเป็นสำคัญ ...ตัวอย่างการออกเสียงให้ถูกต้องและชัดเจน>> การใช้คำในภาษาไทยใช้ต่างกันตามความเหมาะสมหรือตามระดับของคำ เวลานำคำไปใช้จะต้อง คำนึงถึงความเหมาะสมของบุคคล กาลเทศะ โอกาส และความรู้สึก ชนิดของคำแบ่งออกเป็น ๗ ชนิด ได้แก่ - คำนาม - คำสรรพนาม - คำกริยา - คำวิเศษณ์ - คำบุพบท - คำสันธาน - คำอุทาน
คำและการใช้คำ • ระดับของภาษา แบ่งอย่างกว้างๆ ได้ ๓ ระดับคือ๑. ภาษาปาก เป็นภาษาที่ใช้พูดหรือเขียน เพื่อความเข้าใจในกลุ่มคนที่มีความใกล้ชิดสนิทสนม กัน ถ้อยคำที่ใช้ไม่ต้องพิถีพิถันกันมากนัก๒. ภาษากึ่งแบบแผน เป็นภาษาที่ใช้ทั้งในการพูดและเขียน๓. ภาษาแบบแผน เป็นภาษาที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าถูกต้องและประณีต มักใช้ในการพูดและ เขียนที่เป็นทางการ • การใช้คำให้เหมาะสม ๑. การใช้คำให้เหมาะสมกับบุคคลและกาลเทศะ การใช้คำที่สุภาพหรือคำที่เหมาะสมกับบุคคลเป็น เรื่องที่คนไทยถือเป็นเรื่องสำคัญ ควรใช้ให้ถูกต้องและเหมาะสม๒. การใช้คำให้เหมาะสมกับความรู้สึก คำบางคำในภาษาไทยจะแสดงความรู้สึกของผู้ใช้ภาษาได้ ว่ารู้สึกเช่นใด ในขณะเดียวกันก็จะส่งผลต่อความรู้สึกของผู้รับสารได้เช่นกัน หวังว่า ท่านจะนำหลักการเหล่านี้ไปเป็นพื้นฐานในการใช้ภาษาไทยในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้อง
การแต่งประโยค • ความหมายของประโยค ประโยค เกิดจากคำหลายๆคำ หรือวลีที่นำมาเรียงต่อกันอย่างเป็นระเบียบให้แต่ละคำมีความสัมพันธ์กัน มีใจความสมบูรณ์ แสดงให้รู้ว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร เช่น สมัครไปโรงเรียน ตำรวจจับคนร้าย เป็นต้น • ส่วนประกอบของประโยค ประโยคหนึ่ง ๆ จะต้องมีภาคประธานและภาคแสดงเป็นหลัก และอาจมีคำขยายส่วนต่าง ๆ ได้ 1. ภาคประธาน 2. ภาคแสดง
การแต่งประโยค • ชนิดของประโยค ประโยคในภาษาไทยแบ่งเป็น 3 ชนิด ตามโครงสร้างการสื่อสารดังนี้ 1. ประโยคความเดียว ประโยคความเดียว คือ ประโยคที่มีข้อความหรือใจความเดียว ซึ่งเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เอกรรถประโยค เป็นประโยคที่มีภาคประโยคเพียงบทเดียว และมีภาคแสดงหรือกริยาสำคัญเพียงบทเดียว หากภาคประธานและภาคแสดงเพิ่มบทขยายเข้าไป ประโยคความเดียวนั้นก็จะเป็นประโยคความเดียวที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น 2. ประโยคความรวม ประโยคความรวม คือ ประโยคที่รวมเอาโครงสร้างประโยคความเดียวตั้งแต่2 ประโยคขึ้นไปเข้าไว้ในประโยคเดียวกัน โดยมีคำเชื่อมหรือสันธานทำหน้าที่เชื่อมประโยคเหล่านั้นเข้าด้วยกัน ประโยคความรวมเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อเนกกรรถประโยค
การแต่งประโยค • หน้าที่ของประโยค สามารถแบ่งออกเป็น4 ลักษณะ ดังนี้ 1. บอกเล่าหรือแจ้งให้ทราบ 2. ปฏิเสธ 3. ถามให้ตอบ 4. บังคับ ขอร้อง และชักชวน • สรุป การเรียบเรียงถ้อยคำเป็นประโยคความเดียว ประโยคความรวม และประโยคความซ้อน สามารถขยายให้เป็นประโยคยาวขึ้นได้ด้วยการใช้คำ กลุ่มคำ หรือประโยค เป็นส่วนขยาย ยิ่งประโยคมีส่วนขยายหรือองค์ประกอบมากส่วนเพียงใด ก็จะยิ่งทำให้การสื่อสารเกิดความเข้าใจต่อกันมากขึ้นเพียงนั้น ข้อสำคัญ คือ ต้องเข้าใจรูปแบบประโยค การใช้คำเชื่อมและคำขยาย ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงเจตนาในการส่งสารด้วย ผู้มีทักษะในการเรียบเรียงประโยคสามารถพัฒนาไปสู่การเขียน เล่า บอกเรื่องราวที่ยืดยาวได้ตามเจตนาของการสื่อสาร ดังนั้นผู้ใช้ภาษาจึงต้องศึกษาและทำความเข้าใจโครงสร้างประโยค และวิธีการสร้างประโยคให้แจ่มแจ้งชัดเสียก่อนจะทำให้การสื่อสารเกิดประสิทธิผล และสามารถใช้ภาษาสื่อสารให้เกิดความเข้าใจได้ดียิ่งขึ้น
พยัญชนะและสระ • พยัญชนะไทย ปัจจุบันมี ๔๔ ตัว แต่ใช้เพียง ๔๒ ตัว โดยมีพยัญชนะที่ไม่ได้ใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๔๕ อยู่ ๒ ตัว ได้แก่ ขอขวด และ คอคน พยัญชนะไทยมี ๒๑ เสียง มี ๔๔ รูป
พยัญชนะและสระ • สระไทยปัจจุบันสระในภาษาไทย มีการแบ่งรูปและเสียงต่างกันเป็น ๒ ลักษณะ๑. หนังสือหลักภาษาไทยของ พระยาอุปกิตศิลปะสาร กล่าวถึงรูปสระและเสียงสระในภาษาไทย ว่ามี ๒๑ รูป ได้แก่
วรรณยุกต์ • ภาษาไทยได้กำหนดวรรณยุกต์ไว้ใช้ในภาษาเขียน เพื่อนเป็นเครื่องหมายแทนระดับเสียงสูง ต่ำในภาษา วรรณยุกต์ไทยมี ๔ รูป ได้แก่๑. ก่ เรียกว่า ไม้เอก๒. ก้ เรียกว่า ไม้โท๓. ก๊ เรียกว่า ไม้ตรี๔. ก๋ เรียกว่า ไม้จัตวารูปวรรณยุกต์ทั้ง ๔ จะใช้เขียนบนส่วนท้ายของพยัญชนะต้น เช่น น่า หน้า จ๋า เป็นต้น ในกรณีที่คำมีรูปสระกำกับอยู่ข้างบนแล้วให้เขียนรูบวรรณยุกต์นั้นกำกับเหนือรูปสระอีกทีหนึ่ง เช่น ชื่อ เที่ยว เรื่อย เป็นต้น นอกจากนี้ในเรื่องของเสียงวรรณยุกต์ในภาษาไทย ยังมีข้อสังเกตอีกว่า คำบางคำที่ไม่มีรูปวรรณยุกต์กำกับ อาจไม่เป็นเสียงสามัญ เช่น ผี เหงา ครับ เป็นต้น และคำบางคำอาจมีเสียงไม่ตรงกับรูปวรรณยุกต์ที่กำกับ เช่น ว่าว เท้า เลื้อย เป็นต้น
มาตราตัวสะกด • ตัวสะกด เป็นพยัญชนะที่ใช้บังคับเสียงท้ายคำ หรือ พยัญชนะที่ประกอบอยู่ท้ายสระ และมีเสียงประสมเข้ากับสระ มาตราตัวสะกดมีอยู่ 8 แม่ ได้แก่ แม่กง แม่กน แม่กม แม่กก แม่กด แม่กบ แม่เกย และแม่เกอว • เสียงพยัญชนะท้าย (หรือตัวสะกด) มี 9 มาตรา ได้แก่1. แม่ ก กา คำที่ไม่มีตัวสะกด2. แม่ กก (- k) / ก / ได้แก่ ก ข ค ฆ3. แม่ กด (- t) / ด / ได้แก่ จ ด ต ถ ท ธ ฎ ฏ ฑ ฒ ช ซ ศ ษ ส4. แม่ กบ (- p) / บ / ได้แก่ บ ป พ ภ ฟ5. แม่ กน (- n) / น / ได้แก่ น ณ ญ ร ล ฬ6. แม่ กง (- n) / ง / ได้แก่ ง7. แม่ กม (- m) / ม / ได้แก่ ม8. แม่ เกย (- j) / ย / ได้แก่ ย9. แม่ เกอว (- w) / ว / ได้แก่ ว
วรรณกรรมและวรรณคดี • ความหมายของวรรณคดีเนื่องจากมีการเข้าใจสับสนระหว่างคำว่า วรรณคดี กับวรรณกรรม อยู่เสมอ เนื่องจากทั้งสองคำ มาจากภาษาอังกฤษว่า Literature เช่นเดียวกัน สำหรับในภาษาไทยนั้นมีการใช้คำว่า "วรรณคดี" ก่อนภายหลังจึงได้เกิดมีคำว่า "วรรณกรรม" ขึ้น และจริง ๆ แล้ว ในอดีตก่อนปี พ.ศ. 2457 ไทยเรายังไม่มีคำว่า "วรรณคดี" ใช้ เราเรียกหนังสือวรรณคดีว่า "หนังสือ" • ความหมายของวรรณกรรม" วรรณกรรมและศิลปกรรม หมายความรวมว่าการทำขึ้นทุกชนิดในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ แผนกศิลปะ จะแสดงออกโดยวิธีหรือรูปร่างอย่างใดก็ตาม เช่น สมุด สมุดเล็ก และหนังสืออื่น ๆ เช่น ปาฐกถา กถาอื่น ๆ เทศนา หรือวรรณกรรมอื่น ๆ อันมีลักษณะเช่นเดียวกัน หรือนาฏกียกรรม หรือนาฏกีย-ดนตรีกรรม หรือแบบฟ้อนรำและการเล่นแสดงให้คนดูโดยวิธีใบ้
วรรณกรรมและวรรณคดี • ความสำคัญและคุณค่าของวรรณกรรมวรรณกรรมมิใช่เป็นแต่เพียงสื่ออย่างเดียว หากสิ่งที่แฝงลึกลงไปในช่องไฟระหว่างตัวอักษร ยังสะท้อนให้เห็นถึงความตื้นลึกหนาบางทางภูมิปัญญาของผู้เขียน และลึกลงไปในภูมิปัญญานั้นก็คือความจริงใจที่ผู้เขียนสะท้อนต่อตัวเองและต่อ วรรณกรรมเป็นเครื่องชี้ให้รู้ว่า ชาติใดมีความเจริญทางวัฒนธรรมสูงแค่ไหนและยุคใดมีความเจริญสูงสุด ยุคใดมีความเสื่อมทรามลง เพราะฉะนั้นวรรณกรรมแต่ละชาติ จึงเป็นเครื่องชี้วัดได้ว่า ยุคใดจิตใจของประชาชนในชาติ มีความเจริญหรือเสื่อมอย่างไร • ความแตกต่างระหว่างวรรณกรรมและวรรณคดีจากการที่ได้ศึกษาความหมายของคำว่า วรรณกรรม และ วรรณคดีนั้นแม้มองเผิน ๆ ดูเหมือนว่าจะมีความหมายเกือบคล้ายกันบ้าง แตกต่างกันบ้าง แต่ก็มีผู้เข้าใจผิด ๆ ระหว่างการใช้ 2 คำนี้อยู่เสมอ วรรณกรรม หมายถึง งานหนังสือ งานนิพนธ์ที่ทำขึ้นทุกชนิด ไม่ว่าแสดงออกมาโดยวิธีหรือรูปแบบอย่างใดส่วน วรรณคดี หมายถึง หนังสือที่ได้รับการยกย่องว่าแต่งดี
The end นางสาวนุชนาถ ชมภูพันธ์ รหัส 115310201129-9 ศษ/ท53A