750 likes | 1.74k Views
Section 4. AIRCRAFT MAINTENANCE. Regulations & Requirements for Aircraft Maintenance. AVIATION LAWS. Authority. ICAO Annexes FAA Regulations (FAR) EASA Regulations (JAA Joint Aviation Authorities -JAR) Thai DCA Law & Regulations NAA National Aviation Authority
E N D
Section 4 AIRCRAFT MAINTENANCE Regulations & Requirements for Aircraft Maintenance
Authority • ICAO Annexes • FAA Regulations (FAR) • EASA Regulations (JAA Joint Aviation Authorities -JAR) • Thai DCA Law & Regulations • NAA National Aviation Authority - CASA Regulations (Australia) - CAA Civil Aviation Authority (UK) • IOSA Requirements
กรมการบินพลเรือนDepartment of Civil Aviation
กรมการบินพลเรือนDepartment of Civil Aviation • กฎหมายลายลักษณะอักษร (ทั่วไป) แบ่งแยกออกเป็น 3 ประเภท คือ • 1. กฎหมายลายลักษณ์อักษร ซึ่งบัญญัติขึ้นโดยฝ่ายนิติบัญญัติ แบ่งออกเป็น 1.1 พระราชบัญญัติ • 2. กฎหมายลายลักษณ์อักษร ซึ่งบัญญัติขึ้นโดยฝ่ายบริหาร แบ่งออกเป็น 2.1 พระราชกำหนด 2.2 พระราชกฤษฎีกา 2.3 กฎกระทรวง • 3. กฎหมายลายลักษณ์อักษร ซึ่งบัญญัติขึ้นโดยองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น 3.1 ข้อบัญญัติจังหวัด 3.2 เทศบัญญัติ 3.3 ข้อบังคับสุขาภิบาล 3.4 ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร 3.5 ข้อบัญญัติเมืองพัทยา
กรมการบินพลเรือนDepartment of Civil Aviation ความเป็นมา • ในปี พ.ศ. 2468 ประเทศไทยได้จัดตั้งกองบินพลเรือน กรมบัญชาการกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม • พ.ศ. 2476 ได้มีการเปลี่ยนจากกองบินพลเรือนเป็นกองการบินพาณิชย์ กระทรวง เศรษฐการ • พ.ศ. 2484 กรมการขนส่ง โอนกลับมาขึ้นกับกระทรวงคมนาคม • พ.ศ. 2485 เป็น กองขนส่งทางอากาศ กรมการขนส่ง กระทรวงคมนาคม • พ.ศ. 2491 แยกการบินพลเรือน ออกจากการบินทหาร และโอนกิจการให้กระทรวงคมนาคม • พ.ศ. 2497 ยกฐานะเป็น สำนักงานการบินพลเรือน สังกัดกรมการขนส่ง กระทรวงคมนาคม • พ.ศ. 2506 ยกฐานะเป็น กรมการบินพาณิชย์ • พ.ศ. 2545 เปลี่ยนชื่อเป็น “กรมการขนส่งทางอากาศ” • พ.ศ. 2552 เปลี่ยนชื่อเป็น “กรมการบินพลเรือน ”
หน้าที่และความรับผิดชอบของกรมการบินพลเรือน • ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการเดินอากาศ กฎหมายว่าด้วยความผิดบางประการ ต่อการเดินอากาศ และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง • ศึกษา วิเคราะห์ เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการบินพลเรือนของประเทศ • ส่งเสริมและพัฒนาเครือข่ายระบบการขนส่งทางอากาศ อุตสาหกรรมการบินและการบินพลเรือน • ดำเนินการจัดระเบียบการบินพลเรือน • กำหนดมาตรฐาน กำกับ ดูแลและตรวจสอบการดำเนินการด้านการบินพลเรือน • จัดให้มีและดำเนินกิจการท่าอากาศยานในสังกัดกรม • ร่วมมือและประสานงานกับองค์การหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งในประเทศ และต่างประเทศในด้านการบิน พลเรือน และในส่วนที่เกี่ยวกับอนุสัญญาและความตกลงระหว่างประเทศ • ปฎิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรมหรือตามที่กระทรวงหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
กรมการบินพลเรือนDepartment of Civil Aviation กฎหมายข้อบังคับ กรมการบินพลเรือน - พ.ร.บ. การเดินอากาศ พ.ศ.2497 • กฎกระทรวง - คำสั่งอนุกรรมการการบินพลเรือน - คำสั่งกระทรวงคมนาคม - ข้อบังคับของคณะกรรมการการบินพลเรือน - ประกาศกระทรวงคมนาคม • ระเบียบปฏิบัติ / คำสั่ง / ประกาศต่างๆ www.aviation.go.th
พ.ร.บ. การเดินอากาศ พ.ศ.2497 ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๔๙๗ • บททั่วไป มาตรา ๑-๖ • หมวด ๑ คณะกรรมการการบินพลเรือน และคณะกรรมกาเทคนิค (มาตรา ๗-๑๕) • หมวด ๒ บททั่วไปว่าด้วยอากาศยาน (มาตรา ๑๖-๒๙) • หมวด ๓ การจดทะเบียนและเครื่องหมายอากาศยาน (มาตรา ๓๐-๓๓) • หมวด ๔ แบบอากาศยาน การผลิตอากาศยาน และการควบคุมความสมควร เดินอากาศ (มาตรา ๓๔-๔๑) - ส่วนที่ ๑ มาตรฐานอากาศยาน (มาตรา ๓๔-๓๕) - ส่วนที่ ๒ การรับรองแบบ (มาตรา ๓๔-๔๑/๑๖) - ส่วนที่ ๓ การรับรองการผลิต (มาตรา ๓๔-๔๑/๑๗-๔๑/๖๐) - ส่วนที่ ๔ ความสมควรเดินอากาศ (มาตรา ๔๑/๖๒-มาตรา ๔๑/๗๘) - ส่วนที่ ๕ หน่วยซ่อม (มาตรา ๔๑/๙๓- ๔๑/๑๑๑)
หมวด ๕ ผู้ประจำหน้าที่ (มาตรา ๔๒-๕๐) • หมวด ๖ สนามบินและเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศ (มาตรา ๕๑-๖๐/๓๕) • หมวด ๖ ทวิ ค่าบริการผู้โดยสารขาออก (มาตรา ๖๐/๓๖-๖๐/๔๖) • หมวด ๖ ตรี บริการในลานจอดอากาศยาน และบริการช่างอากาศ (มาตรา ๖๐ จัตวา-มาตรา ๖๐ สัตต) • หมวด ๗ อุบัติเหตุ (มาตรา ๖๑-๖๔) • หมวด ๘ อำนาจตรวจ ยึดและหน่วงเหนี่ยว (มาตรา ๖๕-๖๗) • หมวด ๙ บทกำหนดโทษ
พ.ร.บ. การเดินอากาศ พ.ศ.2497 (บททั่วไป มาตรา ๑-๖) • มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. ๒๔๙๗” • มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วัน ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป • มาตรา ๓ ให้ยกเลิก • มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้ “อนุสัญญา” หมายความว่า อนุสัญญาว่าด้วยการบินพลเรือนระหว่างประเทศ ซึ่งทำขึ้นที่เมืองชิคาโกเมื่อวันที่ ๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๗ รวม ตลอดถึงภาคผนวกและบทแก้ไขเพิ่มเติมภาคผนวกหรือ อนุสัญญานั้น “อากาศยาน” หมายความรวมถึง เครื่องทั้งสิ้นซึ่งทรงตัวในบรรยากาศ โดย ปฏิกิริยาแห่งอากาศเว้นแต่วัตถุซึ่งระบุยกเว้นไว้ในกฎกระทรวง “ใบสำคัญสมควรเดินอากาศ” หมายความว่า หนังสือสำคัญสำหรับอากาศ ยานที่ออกให้เพื่อแสดงว่าอากาศยานลำใดมี ความสมควรเดินอากาศ
“อากาศยานขนส่ง” หมายความว่า อากาศยานซึ่งใช้หรือมุ่งหมาย สำหรับใช้ขนส่งของหรือคนโดยสารเพื่อ บำเหน็จเป็นทางค้า • “อากาศยานส่วนบุคคล” หมายความว่า อากาศยานซึ่งใช้หรือมุ่งหมาย สำหรับใช้เพื่อประโยชน์ในกิจการอันมิใช่เพื่อ บำเหน็จเป็นทางค้า • “การบำรุงรักษา” หมายความว่า งานที่ต้องทำเพื่อให้อากาศ ยานคงความต่อเนื่องของความสมควร เดินอากาศ เช่น การซ่อมตรวจพินิจ การถอดเปลี่ยน การดัดแปลง หรือการ แก้ไขข้อบกพร่อง
พ.ร.บ. การเดินอากาศ พ.ศ.2497 (มาตรา ๗-๑๕) หมวด ๑ คณะกรรมการการบินพลเรือน และคณะกรรมการเทคนิค (มาตรา ๗-๑๕) • มาตรา ๗ ให้มีคณะกรรมการการบินพลเรือนคณะหนึ่ง ประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานกรรมการ ปลัดกระทรวง คมนาคม ผู้บัญชาการทหารอากาศ และกรรมการอื่นอีกเจ็ดคนซึ่ง คณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง เป็นกรรมการ และให้อธิบดีเป็นกรรมการและ เลขานุการ • มาตรา ๘ รองประธานกรรมการและกรรมการอยู่ในตำแหน่งสี่ปี ฯลฯ
พ.ร.บ. การเดินอากาศ พ.ศ.2497 (มาตรา ๑๖-๒๙) หมวด ๒ บททั่วไปว่าด้วยอากาศยาน • มาตรา ๑๖ ห้ามมิให้ผู้ใดนำอากาศยานทำการบิน เว้นแต่มีสิ่งเหล่านี้อยู่กับอากาศยานนั้น คือ • (๑) ใบสำคัญการจดทะเบียน • (๒) เครื่องหมายสัญชาติและทะเบียน และแผ่นแสดงเครื่องหมายอากาศยาน • (๓) ใบสำคัญสมควรเดินอากาศ • (๔) สมุดปูมเดินทาง • (๕) ใบอนุญาตผู้ประจำหน้าที่แต่ละคน • (๖) ใบอนุญาตเครื่องวิทยุสื่อสาร ถ้ามีเครื่องวิทยุสื่อสาร • (๗) บัญชีแสดงรายชื่อผู้โดยสาร ในกรณีที่เป็นการบินระหว่างประเทศที่มีการ บรรทุกผู้โดยสาร • (๘) บัญชีแสดงรายการสินค้า ในกรณีที่เป็นการบินระหว่างประเทศที่มีการบรรทุก สินค้า • (๙) สิ่งอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
พ.ร.บ. การเดินอากาศ พ.ศ.2497 หมวด ๓ การจดทะเบียนและเครื่องหมายอากาศยาน (มาตรา ๓๐-๓๓) • มาตรา ๓๐ ภายใต้บังคับมาตรา ๓๑ ผู้ซึ่งขอจดทะเบียนอากาศยานตาม ความในพระราชบัญญัตินี้ได้ต้องเป็นเจ้าของอากาศยานที่ขอจด ทะเบียนหรือถ้ามิได้เป็นเจ้าของต้องเป็นผู้มีสิทธิครอบครอง อากาศยานที่ขอจดทะเบียนและได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีให้จด ทะเบียนได้การขอจดทะเบียนและการรับจดทะเบียนอากาศยาน ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง • มาตรา ๓๑ ผู้ซึ่งขอจดทะเบียนอากาศยานจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติ บุคคลก็ตามต้องสัญชาติไทยถ้าเป็นห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท จำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัด ต้องจดทะเบียนตามกฎหมาย ไทยมีสำนักงานใหญ่ของห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทตั้งอยู่ใน ราชอาณาจักร
พ.ร.บ. การเดินอากาศ พ.ศ.2497 (มาตรา ๓๔-๔๑) • หมวด ๔ แบบอากาศยาน การผลิตอากาศยาน และการควบคุมความสมควรเดินอากาศ (มาตรา ๓๔-๔๑) ส่วนที่ ๑ มาตรฐานอากาศยาน (มาตรา ๓๔-๓๕) • มาตรา ๓๔ มาตรฐานอากาศยานให้เป็นไปตามที่กำหนดในข้อกำหนดของ คณะกรรมการเทคนิค โดยให้ประกอบด้วยมาตรฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) มาตรฐานความสมควรเดินอากาศของอากาศยานหรือของ ส่วนประกอบสำคัญของอากาศยาน รวมถึงมาตรฐานทาง เทคนิคของบริภัณฑ์ (๒) มาตรฐานอากาศยานเกี่ยวกับการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม เช่น มาตรฐานมลพิษทางเสียง หรือมาตรฐานมลพิษทางอากาศ (๓) มาตรฐานอื่นเพื่อประโยชน์แห่งความปลอดภัยในการ เดินอากาศคณะกรรมการ เทคนิคอาจประกาศให้ใช้ มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมตาม
พ.ร.บ. การเดินอากาศ พ.ศ.2497 ส่วนที่ ๒ การรับรองแบบ (มาตรา ๓๔-๔๑/๑๖) มาตรา ๓๖ แบบที่จะใช้ในการผลิตอากาศยานหรือส่วนประกอบสำคัญของ อากาศยานจะต้องมีใบรับรองแบบตามความในหมวดนี้แบบ อากาศยานและแบบส่วนประกอบสำคัญของอากาศยานต้องได้ มาตรฐานไม่ต่ำกว่ามาตรฐานที่คณะกรรมการเทคนิคกำหนด มาตรา ๓๗ ใบรับรองแบบอากาศยานหรือแบบส่วนประกอบสำคัญของ อากาศยาน ฯลฯ ส่วนที่ ๓ การรับรองการผลิต (มาตรา ๓๔-๔๑/๑๗-๔๑/๖๐) มาตรา ๔๑/๑๗ ในส่วนนี้ “การผลิต” หมายความว่า การผลิตผลิตภัณฑ์เพื่อการ พาณิชย์เว้นแต่ข้อความจะแสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น
พ.ร.บ. การเดินอากาศ พ.ศ.2497 ส่วนที่ ๔ ความสมควรเดินอากาศ (มาตรา ๔๑/๖๒-มาตรา ๔๑/๗๘) • มาตรา ๔๑/๖๒ ใบสำคัญสมควรเดินอากาศมีสองแบบ คือ • (๑) ใบสำคัญสมควรเดินอากาศแบบมาตรฐาน ออกให้สำหรับอากาศยานที่ใช้ งานเพื่อวัตถุประสงค์ในการขนส่งคน หรือของ รวมทั้งสัตว์ • (๒) ใบสำคัญสมควรเดินอากาศแบบพิเศษมีสี่ประเภท ได้แก่ (ก) ประเภทที่หนึ่ง ออกให้สำหรับอากาศยานที่ใช้งานเพื่อวัตถุประสงค์นอกจากการ ขนส่งคน หรือของ รวมทั้งสัตว์ (ข) ประเภทที่สอง ออกให้สำหรับอากาศยานที่ใช้งานเพื่อวัตถุประสงค์ในการบิน ทดลอง (ค) ประเภทที่สาม ออกให้สำหรับอากาศยานที่ใช้งานเพื่อวัตถุประสงค์ชั่วคราวและ ป็นอากาศยานที่ สร้างขึ้นตามแบบในใบรับรองแบบเป็นการชั่วคราว (ง) ประเภทที่สี่ ออกให้สำหรับอากาศยานที่ใช้งานเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะโดยไม่ ต้องมีใบรับรองแบบตามมาตรา ๓๖ วรรคสามใบสำคัญสมควรเดินอากาศ ตามมาตรานี้จะออกให้แก่อากาศยานที่จด ทะเบียนแล้ว และมีความปลอดภัย เพื่อใช้งานตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
พ.ร.บ. การเดินอากาศ พ.ศ.2497 • ส่วนที่ ๕ หน่วยซ่อม (มาตรา ๔๑/๙๓- ๔๑/๑๑๑) มาตรา ๔๑/๙๓ การประกอบกิจการหน่วยซ่อมในราชอาณาจักร ต้องได้รับ ใบรับรองหน่วยซ่อมตามความในส่วนนี้ใบรับรองหน่วยซ่อมมี สามประเภท คือ - ประเภทที่หนึ่ง สำหรับบำรุงรักษาอากาศยาน - ประเภทที่สอง สำหรับบำรุงรักษาส่วนประกอบสำคัญของ อากาศยาน - ประเภทที่สาม สำหรับบำรุงรักษาบริภัณฑ์และชิ้นส่วนของ อากาศยาน
พ.ร.บ. การเดินอากาศ พ.ศ.2497 • หมวด ๕ ผู้ประจำหน้าที่ (มาตรา ๔๒-๕๐) • มาตรา ๔๒ ห้ามมิให้ผู้ใดเป็นผู้ประจำหน้าที่ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจาก พนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ หรือมีใบอนุญาตผู้ ประจำหน้าที่ซึ่งออกให้โดยรัฐภาคีแห่งอนุสัญญาหรือรัฐที่ได้ทำ ความตกลงกับประเทศไทย แต่สำหรับผู้ประจำหน้าที่ในอากาศ ยานที่จดทะเบียนตามกฎหมายไทยจะต้องได้รับอนุญาตจาก พนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้
พ.ร.บ. การเดินอากาศ พ.ศ.2497 • หมวด ๖ สนามบินและเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศ (มาตรา ๕๑-๖๐/๓๕) มาตรา ๕๑ ห้ามมิให้บุคคลใดจัดตั้งสนามบินหรือเครื่องอำนวยความสะดวก ในการเดินอากาศ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ โดยอนุมัติรัฐมนตรี
พ.ร.บ. การเดินอากาศ พ.ศ.2497 หมวด ๖ ทวิค่าบริการผู้โดยสารขาออก (มาตรา ๖๐/๓๖-๖๐/๔๖) หมวด ๖ ตรี บริการในลานจอดอากาศยาน และบริการช่างอากาศ (มาตรา ๖๐ จัตวา-มาตรา ๖๐ สัตต) หมวด ๗ อุบัติเหตุ (มาตรา ๖๑-๖๔) หมวด ๘ อำนาจตรวจ ยึดและหน่วงเหนี่ยว (มาตรา ๖๕-๖๗) หมวด ๙ บทกำหนดโทษ
กฎกระทรวง • ฉบับที่ ๑ (พ.ศ. ๒๔๙๗) - ๓๘ (พ.ศ. ๒๕๕๐) • กำหนดวิธีการขอจดทะเบียนอากาศยาน • ขอใบอนุญาตผู้ประจำหน้าที่ ใบอนุญาตจัดตั้งสนามบินหรือเครื่องอำนวยความ สะดวกในการเดินอากาศ รวมทั้งใบแทนใบสำคัญและใบอนุญาตดังกล่าว • กำหนดเส้นทางบิน • กำหนดค่าธรรมเนียมการใช้สนามบินยกเว้นค่าธรรมเนียมการใช้สนามบิน • กำหนดวัตถุอันตราย • หลักเกณฑ์การอนุญาต การขออนุญาตของอากาศยานส่วนบุคคลในการทำการบินเดินทางภายในประเทศ
คณะอนุกรรมการของคณะกรรมการการบินพลเรือนคณะอนุกรรมการของคณะกรรมการการบินพลเรือน คำสั่งที่ ๑/๒๕๔๒ • เรื่อง แต่งตั้งคณะอนุกรรมการอำนวยความสะดวกในการขนส่งทางอากาศ คำสั่งที่ ๑/๒๕๔๓ • เรื่อง แต่งตั้งคณะอนุกรรมการอากาศวิถี คำสั่งที่ ๒/๒๕๔๕ • เรื่อง แต่งตั้งคณะอนุกรรมการพิจารณาอัตราค่าโดยสาร คำสั่งที่ ๑/๒๕๔๖ • เรื่อง แต่งตั้งอนุกรรมการอำนวยความสะดวกในการขนส่งทางอากาศ คำสั่งที่ ๒/๒๕๔๖ • เรื่อง แต่งตั้งอนุกรรมการรักษาความปลอดภัยการบินพลเรือน
คำสั่งกระทรวงคมนาคม มอบอำนาจให้อธิบดีกรมการบินพาณิชย์ • ที่ ๒๐๗/๒๕๒๙ • แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนกรณีอันเกี่ยวกับอุบัติเหตุของอากาศยานในราชอาณาจักร • ที่ ๒๑/๒๕๓๓ • มอบหมายให้อธิบดีกรมการบินพาณิชย์ใช้อำนาจตามมาตรา ๒๘ และมาตรา ๒๙แห่งพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. ๒๔๙๗ • ที่ ๓๒๕/๒๕๓๔ • มอบหมายให้อธิบดีกรมการบินพาณิชย์ • ที่ ๒๗๖/๒๕๓๕ • มอบหมายให้อธิบดีกรมการบินพาณิชย์ใช้อำนาจตามมาตรา ๒๘แห่งพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. ๒๔๙๗ เพิ่มเติม
ข้อบังคับของคณะกรรมการการบินพลเรือนข้อบังคับของคณะกรรมการการบินพลเรือน • ฉบับที่ ๖๔ ว่าด้วยคุณสมบัติและลักษณะของผู้ขออนุญาตเป็นผู้ประกอบการให้บริการในลานจอดอากาศยานหรือบริการช่างอากาศ • ฉบับที่ ๘๔ ว่าด้วยค่าธรรมเนียมการใช้สนามบินของผู้โดยสารออกจากสนามบิน ค่าธรรมเนียมในการขึ้นลงของอากาศยานและค่าธรรมเนียมที่เก็บอากาศยาน ณ สนามบินอนุญาต หรือที่ขึ้นลงชั่วคราวของอากาศยาน • ฉบับที่ ๘๕ ว่าด้วยใบรับรองผู้ดำเนินการเดินอากาศ • ฉบับที่ ๘๖ ว่าด้วยการเดินอากาศของอากาศยาน
ประกาศกระทรวงคมนาคม • ที่ ๑/๒๔๙๘ • กำหนดสนามบินอนุญาต • เรื่อง กำหนดสนามบินอนุญาต (๒๕๐๖) • เรื่อง กำหนดสนามบินอนุญาต (๒๕๑๔) • เรื่อง กำหนดสนามบินอนุญาต (๒๕๑๖) • เรื่อง กำหนดสนามบินอนุญาต (๒๕๑๗) • เรื่อง กำหนดสนามบินอนุญาต (๒๕๑๙)
ระเบียบปฏิบัติ/คำสั่ง/ประกาศต่างๆระเบียบปฏิบัติ/คำสั่ง/ประกาศต่างๆ 1. ระเบียบปฏิบัติ/คำสั่ง/ประกาศต่างๆ ด้านการกำกับกิจการขนส่งทาง อากาศ 2. ระเบียบปฏิบัติ/คำสั่ง/ประกาศต่างๆ ด้านมาตรฐานความปลอดภัยใน การเดินอากาศ 3. ระเบียบปฏิบัติ/คำสั่ง/ประเภทต่าง ๆ ด้านมาตรฐานสนามบิน 4. ระเบียบอื่น ๆ www.aviation.go.th
Air Operator’s Documentation • Air Operator Certificate-procedure • The procedure for application and granting of an AOC is best organized in phases and will normally take following sequence; • 1. Pre-application phase • 2. Formal application phase • 3. Document evaluation phase • 4. Demonstration and inspection phase • 5. Certification phase • (Reference ICAO Doc 8335-AN/879)
Air Operator’s Documentation • การประกอบธุรกิจการบินในประเทศไทยนั้น สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภทที่สำคัญ ตามใบอนุญาตให้ประกอบกิจการค้าขายในการเดินอากาศ ซึ่งได้แก่ 1. ใบอนุญาตประกอบกิจการค้าขายในการเดินอากาศ (แบบประจำ) เป็น ใบอนุญาตที่ออกให้แก่บริษัทการบิน หรือ สายการบิน (Airliner) 2. ใบอนุญาตให้ประกอบกิจการค้าขายในการเดินอากาศ (แบบไม่ประจำ) เป็นใบอนุญาตที่ออกให้แก่บริษัทการบิน แบบเช่าเหมาลำ (Air Charter หรือ Air Taxi) 3. ใบอนุญาตให้ประกอบกิจการค้าขายในการเดินอากาศ (โดยใช้ เฮลิคอปเตอร์) เป็นใบอนุญาตที่ออกให้บริษัทการบินที่ใช้เฮลิคอปเตอร์ สำหรับการให้บริการ
1. ใบอนุญาตประกอบกิจการค้าขายในการเดินอากาศแบบประจำ หมายถึง ใบอนุญาตที่ออกให้แก่บริษัทการบิน หรือ สายการบิน (Airliner) ที่ให้บริการในการเดินอากาศด้วยเที่ยวบินที่ทำการบินอยู่ประจำหรือมีกำหนดตารางการบินและเส้นทางการบินที่แน่นอน โดยให้บริการในการเดินอากาศหรือเส้นทางการบินทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ เช่น - บริษัท การบินกรุงเทพฯ (Bangkok Airways) - สายการบินไทยแอร์เอเชีย (Thai Air Asia) เป็นต้น
2. ใบอนุญาตให้ประกอบกิจการค้าขายในการเดินอากาศ แบบไม่ประจำ • หมายถึง ใบอนุญาตที่ออกให้แก่บริษัทการบินแบบเช่าเหมาลำ (Air Charter หรือ Air Taxi) ที่ให้บริการเดินอากาศด้วยเที่ยวบินที่ไม่ประจำ หรือไม่มีกำหนดตารางการบิน และเส้นทางการบินที่แน่นอน ซึ่งสามารถให้บริการในการเดินอากาศหรือเส้นทางการบินทั้งภายในประเทศและต่างประเทศได้เช่นกัน แต่ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขของใบอนุญาตประกอบกิจการค้าขายในการเดินอากาศ และใบรับรองผู้ดำเนินการเดินอากาศ เช่น - บริษัท แอร์ ฟินิคซ์ จำกัด (Air Phoenix) - บริษัท ไทยฟลายอิ้งเชอร์วิส จำกัด (Thai Flying Service) - บริษัทสยามแลนด์ฟลายอิ้ง จำกัด (Siamland Flying) เป็นต้น
3 ใบอนุญาตให้ประกอบกิจการค้าขายในการเดินอากาศ แบบใช้ เฮลิคอปเตอร์ • หมายถึง ใบอนุญาตที่ออกให้บริษัทการบินที่ให้บริการในการเดินอากาศด้วยเฮลิคอปเตอร์ ซึ่งโดยมากเป็นการให้บริการในการเดินอากาศแบบไม่ประจำภายในประเทศ เช่น - บริษัท มินีแบ เอวิเอชั่น จำกัด (Minebea Aviation) - บริษัท สีชัง ฟลายอิ้ง จำกัด (Sri-chang Flying) - บริษัท ไทยเอวิเอชั่น เชอร์วิส จำกัด (Thai Aviation Service) เป็นต้น
Air Operation License ใบอนุญาตประกอบกิจการค้าขายในการเดินอากาศ
AirOperatorCertificate ใบรับรองผู้ดำเนินการเดินอากาศ
Certificate of Registrationใบสำคัญการจดทะเบียน(อากาศยาน)
Certificate of Airworthinessใบสำคัญสมควรเดินอากาศ