770 likes | 3.93k Views
รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรของทาบา ( Taba’s Approch ). โดย นางสาว ภวัน ตรี ศรีดาดิษฐ์. Hilda Taba. Hilda Taba. เป็น นักหลักสูตรกลุ่มแนวคิดการบริหารเชิงวิทยาศาสตร์ ( scientific management) ผลงาน ซึ่งเป็นตำราเล่มสำคัญเกี่ยวกับหลักสูตรคือ Curriculum Development: Theory and Practice (1962)
E N D
รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรของทาบา (Taba’sApproch) โดย นางสาวภวันตรี ศรีดาดิษฐ์
Hilda Taba เป็นนักหลักสูตรกลุ่มแนวคิดการบริหารเชิงวิทยาศาสตร์ (scientific management) ผลงานซึ่งเป็นตำราเล่มสำคัญเกี่ยวกับหลักสูตรคือ Curriculum Development: Theory and Practice (1962) ซึ่งได้แสดงแนวคิดของตนเองไว้อย่างชัดเจนว่า หลักสูตรการศึกษาควรมุ่งเน้นไปที่การสอนให้ผู้เรียนคิดมากกว่าจะเป็นการถ่ายทอดข้อเท็จจริง http://www.gotoknow.org/posts/429445 Hilda Taba was born in Kooraste, a small village in the present Põlvacounty, in south-east Estonia, on 7 December 1902
ฮิลดา ทาบา (Hilda Taba) มีแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรที่เรียกว่าวิธีการจากล่างขึ้นสู่บน (grass – roots approach) เป็นการพัฒนาหลักสูตรจากระดับปฏิบัติการ แล้วเสนอขึ้นไปสู่ระดับผู้บริหาร ทาบา กล่าวว่า ครูเป็นผู้นำหลักสูตรไปสู่การปฏิบัติ จึงควรเป็นผู้มีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตร
แนวคิดเกี่ยวกับหลักสูตรแนวคิดเกี่ยวกับหลักสูตร การพัฒนาหลักสูตร หมายถึง การเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงหลักสูตรเดิมให้ได้ผลดียิ่งขึ้นทั้งในด้านการวางจุดมุ่งหมาย การจัดเนื้อหาวิชาการเรียนการสอน การวัดผลและการประเมินผลอื่น ๆ เพื่อให้บรรลุถึงจุดมุ่งหมายอันใหม่ที่วางไว้ การเปลี่ยนแปลงหลักสูตรเป็นการเปลี่ยนแปลงทั้งระบบ หรือเปลี่ยนแปลงทั้งหมดตั้งแต่จุดมุ่งหมายและวิธีการ และการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรนี้จะมีผลกระทบทางด้านความคิดและความรู้สึกผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย การปรับปรุงหลักสูตร หมายถึง การเปลี่ยนแปลงหลักสูตรเพียงบางส่วนโดยไม่เปลี่ยนแปลงแนวคิดพื้นฐานหรือรูปแบบของหลักสูตร (Hilda Taba, 1962 : 454 อ้างถึงใน ฉ่ำ เชื้ออินทร์, online)
ส่วนประกอบของหลักสูตรส่วนประกอบของหลักสูตร ทุกหลักสูตร ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบในลักษณะใดก็ตามจะต้องประกอกบด้วยส่วนต่างๆ อยู่เสมอ ตามปกติหลักสูตรจะประกอบด้วยข้อความที่กล่าวถึงจุดมุ่งหมายทั่วไป และจุดมุ่งหมายเฉพาะ หลักสูตรจะบอกถึงการเลือกเนื้อหาสาระ บางครั้งหลักสูตรก็อาจจะกล่าวถึงการจัดการเรียนการสอนอีกด้วย ในขั้นสุดท้ายหลักสูตรจะรวมถึงโครงการประเมินผลผลิตของหลักสูตร (Taba, 1962: 10 อ้างถึงใน สงัด อุทรานันท์,2532 : 235)
ส่วนประกอบของหลักสูตรส่วนประกอบของหลักสูตร 1) จุดมุ่งหมายทั่วไป และจุดมุ่งหมายเฉพาะ 2) เนื้อหาสาระ และประสบการณ์เรียนรู้ 3) การประเมินผล (Taba, 1962: 422 อ้างถึงใน สงัด อุทรานันท์,2532 : 236)
ขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตรของทาบาขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตรของทาบา มี 7ขั้นตอนดังนี้ (Taba, 1962 อ้างถึงใน ฉ่ำ เชื้ออินทร์, online) 1. ศึกษาวิเคราะห์ความต้องการ (Diagnosis of Needs)สำรวจสภาพปัญหาความต้องการ และความจำเป็นต่าง ๆ ของสังคมและผู้เรียน 2. กำหนดจุดมุ่งหมาย (Formulation of objectives) กำหนดจุดประสงค์ให้ชัดเจนหลังจากที่ได้ศึกษาวิเคราะห์ความต้องการแล้ว 3. เลือกเนื้อหาสาระ (Selection of Content) เลือกเนื้อหาสาระให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมาย วัยและความสามารถของผู้เรียน และยังต้องมีความเชื่อถือได้
ขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตรของทาบา (ต่อ) 4. จัดรวบรวมเนื้อหาสาระ (Organization of Content) จัดลำดับเนื้อหาโดยคำนึงถึงความต่อเนื่อง และความยากง่ายของเนื้อหา วุฒิภาวะ ความสามารถและความสนใจของผู้เรียน 5. คัดเลือกประสบการณ์การเรียนรู้ (Selection of Learning Experiences) ครูผู้สอนหรือผู้ที่เกี่ยวข้องจะต้องคัดเลือกประสบการณ์การเรียนรู้ให้สอดคล้องกับเนื้อหาวิชาและจุดมุ่งหมาย ของหลักสูตร
ขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตรของทาบา(ต่อ)ขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตรของทาบา(ต่อ) 6. จัดประสบการณ์การเรียนรู้ (Organization of Learning Experiences) การจัดประสบการณ์การเรียนรู้จะต้องจัดโดยคำนึงถึงเนื้อหาสาระและความต่อเนื่อง 7. กำหนดสิ่งที่จะประเมินและวิธีการประเมินผล (Determination of What to Evaluate and of the Ways and Means of Doing it) คือการตัดสินใจว่าจะต้องประเมินอะไรเพื่อตรวจสอบผลว่าบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้หรือไม่ และกำหนดด้วยว่าจะใช้วิธีประเมินอย่างไร ใช้เครื่องมืออะไร
8.การตรวจสอบความเหมาะสมของหลักสูตร (checking for balance and sequence) เป็นการตรวจสอบว่ากรอบโครงร่างหลักสูตรมีความสอดคล้องเชื่อมโยงกันระหว่างจุดประสงค์ เนื้อหา กิจกรรมการเรียนการสอน และการวัดผลประเมินผล หรือไม
1. การกำหนดจุดประสงค์ กำหนดโดยการวิเคราะห์ 1. วัฒนธรรมและความต้องการของสังคม 2. ผู้เรียนกระบวนการเรียนรู้และหลักการ 3. ขอบข่ายและประโยชน์ของความรู้ 4. อุดมการณ์ของประชาธิปไตย จำแนกโดย ชนิดของพฤติกรรม ขอบข่ายของเนื้อหาวิชา ความต้องการต่าง ๆ ระดับ 1. วัตถุประสงค์ทั่วไปของการศึกษา 2. วัตถุประสงค์ของโรงเรียน 3. วัตถุประสงค์เฉพาะในการสอน
2. การเลือกประสบการณ์การเรียน กำหนดสิ่งที่รู้ในเรื่อง 1. ธรรมชาติของความรู้ 2. พัฒนาการของผู้เรียน 3. การเรียนรู้ 4. ผู้เรียน ประเภท 1. เนื้อหาสาระ 2. ประสบการณ์การเรียนรู้ สิ่งที่เกี่ยวข้อง 1. แหล่งวิทยาการของโรงเรียน 2. บทบาทขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา
3. แบบการจัดหลักสูตรที่เป็นไปได้ กำหนดโดยการพิจารณาถึง 1. ความต่อเนื่องของการเรียนรู้ 2. การประสานสัมพันธ์ของการเรียนรู้ แบบต่าง ๆ ของการจัด 1. รายวิชา 2. หมวดวิชา 3. สิ่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิต 4. ความต้องการ 5. กิจกรรมของนักเรียน 6. จุดรวมของความคิดที่ต้องการเน้น สิ่งที่เกี่ยวข้อง 1. โรงเรียน 2. วิธีการใช้บุคลากร 3. วิธีให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียนรู้
4. การจัดขอบข่ายและลำดับเนื้อหา กำหนดโดยการพิจารณาถึง 1. ขอบข่ายของการเรียนรู้ 2. ขอบเขตของความต่อเนื่องของความ สามารถทางสติปัญญา ประเภท 1. ขอบข่ายและลำดับของเนื้อหาวิชา 2. ขอบข่ายและลำดับของทำงานของเชาว์ปัญญา สิ่งที่เกี่ยวข้อง รูปแบบของการจัดหลักสูตร