260 likes | 477 Views
จริยธรรมในวิชาชีพ. รองศาสตราจารย์บุญเสริม หุตะแพทย์ สาขาวิชามนุษยนิเวศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาระสำคัญ. บรรยาย ความสำคัญของการรักษาจริยธรรมในวิชาชีพ ผลกระทบที่เกิดจากการไม่รักษาความลับของผู้รับบริการ
E N D
จริยธรรมในวิชาชีพ รองศาสตราจารย์บุญเสริม หุตะแพทย์สาขาวิชามนุษยนิเวศศาสตร์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
สาระสำคัญ บรรยาย • ความสำคัญของการรักษาจริยธรรมในวิชาชีพ • ผลกระทบที่เกิดจากการไม่รักษาความลับของผู้รับบริการ • แนวทางการปฏิบัติงานตามหน้าที่อย่างถูกต้องเหมาะสม โดยเฉพาะบทบัญญัติ มาตรา 157 แห่งประมวลกฏหมายอาญา อภิปราย • ข้อพึงปฏิบัติในการดำเนินงานฐานะพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พรบ. คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรง พ.ศ. 2550 • ข้อปฏิบัติในการเปิดเผยความลับของผู้รับบริการ หาข้อสรุป
สาระสำคัญของจริยธรรม • เป็นสาขาหนึ่งของปรัชญา • แสดงกฏระเบียบ/หลักการให้ความช่วยเหลือที่ช่วยให้สามารถตัดสินใจในทางปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง/ไม่ผิดพลาด • เกิดความเที่ยงธรรม • ทำให้ผู้ปฏิบัติงานมีพื้นฐานหลักจริยธรรม-คุณธรรม
นิยามคำว่า วิชาชีพ (Wilbert E. Moore) • การประกอบอาชีพเต็มเวลา/อุทิศเวลา (professional) • อยู่ในกลุ่มผู้ประกอบอาชีพเดียวกัน/มีสมาคมวิชาชีพอย่างเป็นรูปธรรม • ต้องมีความรู้และทักษะ/ฝึกอบรม/ การศึกษาตรงตามสาขาวิชาชีพ • ต้องยึดมั่นอยู่กับกฎเกณฑ์ของการประกอบวิชาชีพ • ปฏิบัติงาน/บริการด้วยจิตสำนึกในวิชาชีพ • มีความเป็นอิสระ • มีความเชี่ยวชาญในการประกอบวิชาชีพของตนในระดับสูง
ความสำคัญของการรักษาจริยธรรมในวิชาชีพความสำคัญของการรักษาจริยธรรมในวิชาชีพ • ควบคุมมาตรฐาน ประกันคุณภาพ/ปริมาณการปฏิบัติงานงานขององค์กร • ส่งเสริมมาตรฐาน คุณภาพ/ปริมาณผลการปฏิบัติงานขององค์กรให้อยู่ในเกณฑ์ดีเสมอ • ช่วยให้องค์กรมีภาพพจน์ที่ดี มีจริยธรรม • ควบคุมจริยธรรมของบุคคลในองค์กร “ซื่อสัตย์ สุจริต ยุติธรรม” • ส่งเสริมจริยธรรมของบุคคลในองค์กร ให้มี เมตตา กรุณา เห็นใจ • ลดการเอารัดเอาเปรียบ ฉ้อฉล เห็นแก่ตัว มักง่าย ใจแคบ ไม่เสียสละ • ทำหน้าที่พิทักษ์สิทธิตามกฏหมาย ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม
หลักปฏิบัติของผู้ให้คำปรึกษา Code of Ethic Requirement
หลักปฏิบัติอย่างมืออาชีพPrinciple of Professional Conduct
อภิปราย • วิชาชีพใดบ้างที่ไม่ต้องมีจริยธรรม • จริยธรรมวิชาชีพของท่านข้อใดสำคัญที่สุด เพราะอะไร • ถ้าปฏิบัติขัดต่อจริยธรรมวิชาชีพมีบทลงโทษหรือไม่
การรักษาความลับของผู้รับบริการการรักษาความลับของผู้รับบริการ (บังคับเฉพาะ)
พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 • มาตรา 27 ห้ามมิให้ผู้ใดโฆษณาหรือเผยแพร่ทางสื่อมวลชนหรือสื่อสารสนเทศใด ซึ่งข้อมูลเกี่ยวกับตัวเด็กหรือผู้ปกครอง โดยเจตนาที่จะทำให้เกิดความเสียหายแก่จิตใจ ชื่อเสียง เกียรติคุณ หรือสิทธิประโยชน์อื่นใดของเด็ก หรือแสวงหาประโยชน์สำหรับตนเอง หรือผู้อื่นโดยมิชอบ
พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 • มาตรา 9 เมื่อมีการแจ้งตามมาตรา 5 หรือมีการร้องทุกข์ตามมาตรา 6 แล้ว ห้ามมิให้ผู้ใดลงพิมพ์โฆษณา หรือเผยแพร่ต่อสารธารณชนด้วยวิธีใดๆ ซึ่งภาพ เรื่องราว หรือข้อมูลใดๆ อันน่าจะทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้กระทำความรุนแรงในครอบครัว หรือผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวในคดีตามพระราชบัญญัตินี้ • ผู้ใดฝ่าฝืนบทบัญญัติในวรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหากเดือน หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
แนวทางการปฏิบัติงาน ตามบทบัญญัติ มาตรา 157 แห่งประมวลกฏหมายอาญา
สาระสำคัญของประมวลกฏหมายอาญา มาตรา 157 “ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี หรือปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสองหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ” ที่มา: สราวุธ เบญจกุล สำนักงานศาลยุติธรรม มาตรา 157 ละเว้นหรือปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือทุจริต...เป็นอย่างไร? Knowledge Tank ( http://www.vajira.ac.th/kt/modules.php?name=News&file=article&sid=196 )
ใครคือพนักงานเจ้าหน้าที่ใครคือพนักงานเจ้าหน้าที่ • ผู้ปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยได้รับการแต่งตั้งตามกฎหมาย • “ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งโดยทางการของรัฐไทย ให้ปฏิบัติราชการของรัฐไทย” (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 700/2490) • สรุป องค์ประกอบของการเป็นเจ้าพนักงาน 1. ต้องมีการแต่งตั้ง 2. เป็นการแต่งตั้งให้ปฏิบัติราชการ
เหตุใดจึงต้องมีการบัญญัติเรื่องการลงโทษเจ้าพนักงานไว้โดยเฉพาะเหตุใดจึงต้องมีการบัญญัติเรื่องการลงโทษเจ้าพนักงานไว้โดยเฉพาะ • เนื่องจากบุคคลที่เป็นเจ้าพนักงานถูกกำหนดให้มีบทบาทในสังคมที่เหนือกว่าบุคคลธรรมดาบางประการ • มีผลมาจากอำนาจหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติและต้องอยู่ในขอบเขตของกฎหมาย • ดังนั้นจึงต้องมีการบัญญัติกฎหมายขึ้นมาเพื่อคุ้มครองและควบคุมบุคคลผู้เป็นเจ้าพนักงานในการปฏิบัติหน้าที่
ขยายความ มาตรานี้แยกการกระทำเป็น 2 ความผิด • ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด • ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต
ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด • คำว่า “โดยมิชอบ” หมายถึง โดยมิชอบด้วยหน้าที่ซึ่งเจ้าพนักงานมีอยู่ตามกฎหมาย (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1403/2521 วินิจฉัยว่า “การกระทำโดยมิชอบตามหน้าที่ของเจ้าพนักงานนั้นโดยตรงที่ได้รับมอบให้มีหน้าที่นั้นๆ ถ้าการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติไม่เกี่ยวกับหน้าที่ของเจ้าพนักงานแล้ว ย่อมไม่มีความผิด) • ถ้าการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติ ไม่อยู่ในหน้าที่หรืออยู่ในหน้าที่แต่เป็นการกระทำที่ชอบด้วยหน้าที่โดยสุจริต ก็ไม่เป็นความผิด • ดังนั้น ถ้ามีหน้าที่ต้องปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นก็เป็นการกระทำความผิดตามมาตรานี้
ข้อแตกต่างของการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต กับปฏิบัติ/ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ • การปฏิบัติ/ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เป็นความผิด เมื่อกระทำเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หากการกระทำนั้นไม่เกิดความเสียหายแล้วย่อมจะไม่เป็นความผิดตามมาตรา 157 • การปฏิบัติ/ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ไม่ต้องคำนึงถึงข้อเท็จจริงว่าการกระทำนั้นมีจุดมุ่งหมายที่จะให้ผู้อื่นเสียหายหรือไม่ แม้ไม่เกิดความเสียหายก็ยังคงถือว่าเป็นการกระทำความผิดได้
พรบ. คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรง พ.ศ. 2550 • ปฏิบัติ/ละเว้นการปฏิบัติโดยมิชอบ (ไม่ได้ทำเพราะเหตุผลความจำเป็น) • เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง • กลั่นแกล้ง • ปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต • รับผลประโยชน์ • ถูกฝ่ายผู้กระทำขอร้อง
บทสรุป • เจ้าพนักงาน เป็นบุคคลที่กฎหมายกำหนดให้มีทั้งอำนาจ หน้าที่และความรับผิดในการปฏิบัติการ ซึ่งอาจได้รับทั้งคุณและโทษจากบทบัญญัติของกฎหมาย จึงต้องกระทำการด้วยความระมัดระวัง และหากกระทำการนอกขอบเขตที่กฎหมายให้ไว้ ก็มีมาตรการลงโทษเจ้าพนักงานไว้เป็นการเฉพาะ ซึ่งมีบทลงโทษที่หนักยิ่งกว่าบุคคลธรรมดาทั่วไป
อภิปราย • ในฐานะที่ท่านเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พรบ. คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรง พ.ศ. 2550 ท่านต้องปฏิบัติงานโดยยึดหลักจรรยาบรรณอย่างไร • ท่านคิดว่ามีข้อยกเว้นในการเปิดเผยความลับของผู้รับบริการหรือไม่ ถ้ามีกรณีใดบ้าง เพราะเหตุใด
กิจกรรม • ขอให้ท่านบอกเล่าตัวอย่างที่ท่านได้เผชิญกับเหตุการณ์ความรุนแรง ที่ท่านได้ใช้หลักจริยธรรมในวิชาชีพ โดยแสดงให้เห็นว่าท่านได้ดำเนินการกับเหตุการณ์ดังกล่าว และแก้ไขปัญหาอย่างไร
กรณีศึกษา • เด็กหญิงวัย 15 ปี ถูกเพื่อนชายข่มขืนและตั้งครรภ์ พ่อแม่อับอายเพื่อนบ้านในชุมชน ไม่ต้องการให้เด็กเกิดมา ขณะนี้รอคลอดอยู่ที่บ้านพักเด็กและครอบครัว เล่าว่าไม่ได้ถูกข่มขืนแต่เต็มใจไปที่บ้านแฟนเองขณะที่พ่อแม่แฟนไม่อยู่บ้าน หลังจากนั้นมีความสัมพันธ์กันหลายครั้งหลังเลิกเรียนและวันหยุด อ้างกับพ่อแม่ว่าไปติวหนังสือกับเพื่อน • พ่อแม่ไม่ยอมรับแฟน แฟนเองก็ไม่กล้ารับผิดชอบ พ่อแม่แฟนก็ไม่ยอมรับเช่นกัน จึงให้กินยาแก้ปวดผสมเหล้าขาว แต่ก็ไม่แท้ง ดัดแปลงจากจิ๊บ จิ๊บ บทเรียนจากเรื่องเล่า บ้านพักเด็กและครอบครัวฯ 2554