240 likes | 423 Views
ทีมสหวิชาชีพกับ ความรุนแรงในครอบครัว. รองศาสตราจารย์บุญเสริม หุตะแพทย์ สาขาวิชามนุษยนิเวศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 2555. ทีมสหวิชาชีพ คืออะไร. กลุ่มบุคคลที่ได้รับการฝึกอบรม มีความรู้ ทักษะ ความสามารถเฉพาะด้านที่แตกต่างกันมาทำงานร่วมกัน (ความรู้ แนวคิด เครื่องมือ)
E N D
ทีมสหวิชาชีพกับ ความรุนแรงในครอบครัว รองศาสตราจารย์บุญเสริม หุตะแพทย์ สาขาวิชามนุษยนิเวศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 2555
ทีมสหวิชาชีพคืออะไร • กลุ่มบุคคลที่ได้รับการฝึกอบรม มีความรู้ ทักษะ ความสามารถเฉพาะด้านที่แตกต่างกันมาทำงานร่วมกัน (ความรู้ แนวคิด เครื่องมือ) • มุ่งแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบและกระบวนการ มีวัตถุประสงค์และเป้าหมายเดียวกัน • มีการสื่อสารกันอย่างใกล้ชิด ต่อเนื่อง เพื่อประเมินสภาพการณ์ของปัญหา (ภายใต้ขอบเขตของงานที่แต่ละฝ่ายมีอยู่) • มีความรับผิดชอบร่วมกันจนบรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
ความเป็นมา • เริ่มต้นโดยบุคลากรทางการแพทย์ กับนักสังคมสงเคราะห์ จัดตั้งองค์กรในโรงพยาบาลที่บอสตัน ปี ค.ศ. 1905 พ.ศ. 2448 • ใช้แนวคิดทฤษฏีแบบองค์รวม (Holistic)ในการบริการช่วยเหลือและบำบัด (Helping & Healing) • พัฒนาการในประเทศไทยมีขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 และใน ปี พ.ศ. 2503 ได้มีการประชุมนักสังคมสงเคราะห์แห่งชาติเป็นครั้งแรก และ พ.ศ. 2495 มีการทำงานร่วมกันระหว่างแพทย์กับนักสังคมฯ
แนวคิดที่ใช้ในงานสหวิชาชีพแนวคิดที่ใช้ในงานสหวิชาชีพ การทำงานเป็นทีม • การเปิดโอกาส การรู้จักตนเอง การเคารพผู้อื่น การประชุมพบปะกันอยู่เสมอ ความเข้าใจงานที่ได้รับมอบหมาย และมีความรับผิดชอบร่วมกัน ทฤษฏีบทบาท • การทำหน้าที่ตามตำแหน่ง สถานการณ์ ความคาดหวัง
องค์ประกอบของทีมสหวิชาชีพองค์ประกอบของทีมสหวิชาชีพ
รูปแบบการทำงานของทีมสหวิชาชีพรูปแบบการทำงานของทีมสหวิชาชีพ
บทบาทของทีมสหวิชาชีพ รักษาพยาบาล เก็บวัตถุพยาน ประสาน ส่งต่อ ดำเนินคดี ให้คำปรึกษา ลงบันทึกประจำวัน ช่วยเหลือด้านกฎหมาย ประสาน ส่งต่อ ที่พัก/อาหาร/เด็ก ประสาน ส่งต่อ ประสาน ส่งต่อ แนะนำ ปรึกษา
สัมมนากลุ่มย่อย • บอกวิธีการประสานส่งต่อในการบริการช่วยเหลือผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว(แสดงผังโครงสร้างด้วย) • บอกปัญหาอุปสรรคในการปฏิบัติงานของสหวิชาชีพตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 • บอกบทบาทของทีมสหวิชาชีพในการป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัว • เสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัวโดยใช้กลไกทีมสหวิชาชีพ • บอกองค์ประกอบของทีมสหวิชาชีพระดับจังหวัด (แสดงผังเครือข่าย)
การประเมินปัญหาและความต้องการผู้ถูกกระทำการประเมินปัญหาและความต้องการผู้ถูกกระทำ ประชุมทีมสหวิชาชีพ
ทีมสหวิชาชีพประเมินความเสี่ยงทีมสหวิชาชีพประเมินความเสี่ยง เสี่ยง ประสาน งานเพื่อร่วมกันให้ความช่วยเหลือ/สงเคราะห์/แจ้งศูนย์ปฏิบัติการ ไม่พร้อม
แผนผังทีมสหวิชาชีพระดับท้องถิ่นถึงจังหวัดแผนผังทีมสหวิชาชีพระดับท้องถิ่นถึงจังหวัด ศูนย์ปฏิบัติการ ตาม พรบ. อบต./อสม. สาธารณสุข สวัสดิการ อพม.ศพค. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำสตรี ฯลฯ กระบวนการยุติธรรม การศึกษา
ทีมวิชาชีพ-แกนนำชุมชน-เครือข่ายทีมวิชาชีพ-แกนนำชุมชน-เครือข่าย ประเมินสถานการณ์/ความเสี่ยงในเบื้องต้น เฝ้าระวังและป้องกันความรุนแรง ประสบเหตุ แจ้งเหตุ ประสานส่งต่อ ให้ความคุ้มครอง จัดบริการให้ความช่วยเหลือ ช่วยเหลือผู้อื่นได้ คืนสู่สังคม
การทำงานของสหวิชาชีพ Karel Kurst-Swanger (2008), Multi-disciplinary working, in Domestic violence: A multi-professional approach for health care practitioners, June Keeling & Tom Mason (edn), McGraw Hill, Birkshire, England. • การให้บริการช่วยเหลือและการป้องกันปัญหาความรุนแรงในครอบครัวจำเป็นต้องใช้แนวคิดสหวิชาชีพและจะต้องดำเนินการในทุกระดับทั้งระบบ ทั้งผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรง ผู้กระทำความรุนแรง ครอบครัวและชุมชน ซึ่งต้องอาศัยการช่วยเหลือจากนักวิชาชีพที่หลากหลาย เช่น ครู พยาบาล แพทย์ ตำรวจ นักกฏหมาย อัยการ ทนายความ นักบำบัด และนักสังคมสงเคราะห์ เป็นต้น ซึ่งการทำงานของสหวิชาชีพถือเป็นบทบาทที่ท้าทายในการจัดการและการป้องกันปัญหาความรุนแรงในครอบครัว
ข้อเสนอแนะอย่างสร้างสรรค์ต่องานสหวิชาชีพข้อเสนอแนะอย่างสร้างสรรค์ต่องานสหวิชาชีพ • แยกแยะช่องว่างการบริการ • แก้ไขปัญหาในประเด็นที่ยังปกคลุมในระบบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรง ผู้กระทำและครอบครัว • ให้การสนับสนุนการปรับปรุงด้านกฏหมาย • สนับสนุนทุนสำหรับการจัดโปรแกรมที่สำคัญ/เป็นที่สนใจและการบริการ
องค์ประกอบสำคัญของทีมสหวิชาชีพจำเป็นจะต้องมีผู้นำจากภาคส่วนต่าง ๆ ซึ่งเป็นผู้ที่อยู่ในระดับที่มีอำนาจตัดสินใจเพื่อมุ่งการเปลี่ยนแปลงการตอบสนองที่จำเป็นสำหรับผู้ถูกกระทำที่เป็นผู้หญิง เด็กและเยาวชน ที่ผ่านมาพบว่า ความสำเร็จของทีมสหวิชาชีพมักเป็นเจ้าหน้าที่ในระดับกลางแต่ในระดับบริหารก็ควรจะมีบทบาทสำคัญเนื่องจากเป็นผู้ที่อำนาจ/สามารถตัดสินใจดำเนินการระยะสั้นและระยะยาวเพื่อสร้างความสำเร็จในการปฏิบัติ
ประโยชน์จากการทำงานของทีมสหวิชาชีพประโยชน์จากการทำงานของทีมสหวิชาชีพ • ลดช่องว่างของระบบการทำงานแบบแยกส่วน (system fragmentation) เนื่องจากแต่ละหน่วยงานต่างพยายามที่จะตอบสนองปัญหาความรุนแรงในครอบครัวในส่วนที่หน่วยงานของตนเองเข้าไปเกี่ยวข้อง เช่น หน่วยงานด้านสุขภาพก็ให้บริการเฉพาะด้านสุขภาพกายและสุชภาพจิตตามบทบาทหน้าที่หลักของหน่วยงาน แต่การมีทีมสหวิชาชีพจะช่วยให้หลายหย่วยงานมีการจัดการและการประสานงานเพื่อนำไปสู่จุดหมายเดียวกัน
สร้างสรรค์แนวทางการแก้ไขปัญหา ความแตกต่างระหว่างวิชาชีพจากหลายภาคส่วนในชุมชนสามารถสร้างประสิทธิผลและคิดแก้ไขปัญหาด้วยถกเถียงและหาทางออกในการแก้ไขปัญหาอย่างมีศักยภาพร่วมกันตามความถนัดของแต่ละวิชาชีพ และยังช่วยสร้างสรรค์ระบบการทำงานร่วมกันเพื่อนำไปสู่การกำหนดแนวการทำงานร่วมกันของทีมสหวิชาชีพ
ปรับระบบการสื่อสารระหว่างหน่วยงาน/องค์กร การแบ่งแยกการทำงานตามวิชาชีพที่มีความแตกต่างทางอุดมการณ์ กระบวนทัศน์ และหลักการ ส่งผลให้ทำงานไม่บรรลุผล แต่หากทีมสหวิชาชีพมีการปรับปรุงระบบการสื่อสารแลกเปลี่ยนระหว่างหน่วยงาน/องค์กร ระหว่างวิชาชีพจะช่วยทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ ทักษะและความชำนาญเฉพาะด้าน เป็นการลดข้อจำกัดที่กีดขวางการทำงานระหว่างกัน ลดช่องว่าง และสร้างโอกาสการทำงานที่มีประสิทธิภาพด้วยการตั้งเป้าหมายในการยุติความรุนแรงร่วมกัน
สร้างความเข้มแข็งให้บุคลากรของทีมงานด้วยการให้ความรู้ การพัฒนาทีมสหวิชาชีพให้ทำงานร่วมกันด้วยการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างวิชาชีพ การฝึกอบรมทั้งในทักษะเฉพาะและทักษะการทำงานร่วมกัน ซึ่งต้องมีการเรียนรู้ปัจจัยแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะการให้ข้อมูลเกี่ยวกับบทบาทเฉพาะที่มีต่อผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรง หรือผู้กระทำ
ลดการบริการให้ความช่วยเหลือด้วยการให้ผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงสามารถคลี่คลายปัญหาได้ด้วยตัวเอง ในบางชุมชนได้ให้การสนับสนุนการลดปัญหาและป้องกันการใช้ความรุนแรงในครอบครัวด้วยการจัดบริการช่วยเหลือด้วยวิธีต่าง ๆ แต่วิธีที่บรรลุเป้าหมายที่ทำได้ดีคือการสนับสนุนให้ผู้ถูกกระทำมีความเข้มแข็ง (การเสริมพลัง)
จัดเตรียมทรัพยากรสนับสนุน ทีมสหวิชาชีพสามารถอำนวยความสะดวกด้วยการระดมทรัพยากรและมอบให้เพื่อสนับสนุนการทำงานของหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน
ท่านเห็นด้วยกับข้อเสนอนี้หรือไม่ท่านเห็นด้วยกับข้อเสนอนี้หรือไม่ • ลดช่องว่างของระบบการทำงานแบบแยกส่วน • สร้างสรรค์แนวทางการแก้ไขปัญหา • ปรับระบบการสื่อสารระหว่างหน่วยงาน/องค์กร • สร้างความเข้มแข็งให้บุคลากรของทีมงานด้วยการให้ความรู้ • ลดการบริการให้ความช่วยเหลือด้วยการให้ผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงสามารถคลี่คลายปัญหาได้ด้วยตัวเอง • จัดเตรียมทรัพยากรสนับสนุน ก. เห็นด้วย เพราะอะไร ท่านมีการปฏิบัติอย่างไร ข. ไม่เห็นด้วย ท่านคิดว่าควรเป็นอย่างไรจึงจะเหมาะสม
การจัดการทีมสหวิชาชีพการจัดการทีมสหวิชาชีพ • ค้นหาความสามารถในการอำนวยความสะดวก การดำเนินงานของทีมสหวิชาชีพจะต้องมีผู้มีความสามารถในการอำนวยความสะดวกในการจัดประชุม ทักษะในการจัดการความขัดแย้ง • กำหนดกฏพื้นฐาน • ถอดบทเรียนการทำงานของสหวิชาชีพ • ทำความเข้าใจกระบวนการความร่วมมือ • จัดการความขัดแย้งด้วยความเปิดเผยและซื่อสัตย์ • ชื่นชมความสำเร็จ/การบรรลุเป้าหมาย • กระตุ้นให้เกิดการฝึกอบรมร่วมกัน