630 likes | 1.18k Views
4.10 โอปอ (Opal). opal เป็นอัญมณีเพียงชนิดเดียวที่จัดเป็นแร่อสัณฐาน (mineraloid) แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ. โอปอธรรมดา (common opal หรือ potch) --> ไม่แสดงการเล่นสี ขุ่น เกือบทึบแสง. โอปอชนิดมีค่า (precious opal) --> เป็น opal ที่แสดงการเล่นสี หรือชนิดใส.
E N D
4.10 โอปอ (Opal) opal เป็นอัญมณีเพียงชนิดเดียวที่จัดเป็นแร่อสัณฐาน (mineraloid) แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ • โอปอธรรมดา (common opal หรือ potch) --> ไม่แสดงการเล่นสี ขุ่น เกือบทึบแสง • โอปอชนิดมีค่า (precious opal) --> เป็น opal ที่แสดงการเล่นสี หรือชนิดใส มีหลาย variety ได้แก่ black opal : มีพื้นสีดำ เทาดำ แสดงการเล่นสี โปร่งแสง ถึงกึ่งเกือบทึบแสง white opal : มีพื้นสีขาว แสดงการเล่นสี โปร่งแสงถึงกึ่งโปร่งแสง
semiblack หรือgray opal : มีพื้นเทาอ่อน แสดงการเล่นสี โปร่งแสงถึงกึ่งเกือบทึบแสง crystal opal : มีพื้นใส แสดงการเล่นสีเด่นชัด โปร่งแสงถึงกึ่งโปร่งใส black crystal opal : เหมือน crystal opal แต่พื้นสีมืด jelly opalหรือwater opal : ใสไม่มีสี ไม่แสดงการเล่นสี หรือแสดงเล็กน้อย โปร่งใสถึงกึ่งโปร่งแสง fire opal : มีสีพื้นเป็นสีเหลือง ส้ม แดง หรือน้ำตาล อาจแสดงการเล่นสีหรือไม่แสดงการเล่นสี โปร่งใสถึงกึ่งโปร่งแสง fire opal cherry opal cherry opal : เป็น fire opal ที่มีพื้นสีแดง pinfire opal : การเล่นสีประกอบด้วยจุดสีเล็กๆ อัดตัวกันแน่น pinfire opal
flame opal : การเล่นสีมีลักษณะเป็นแถบสีแดงยาวตลอดเม็ด opal harlequinหรือmosaic opal : การเล่นสีมีลักษณะเป็นหย่อมสีที่มี เหลี่ยมมุมอยู่ต่อกันเป็นแผ่น มีขนาดเท่าๆกัน รอยต่อ ระหว่างสีชัดเจน เป็นรูปแบบการเล่นสีที่มีค่าที่สุด harlequin opal contra-luz opal : โปร่งใส แสดงการเล่นสีเด่นชัดทั้งในแสงส่องผ่านและแสงสะท้อน boulder opal : opal ที่แสดงการเล่นสีเกิด เป็นแนวแคบๆ อยู่ในหิน ironstone matrix opal : opal ที่แสดงการเล่นสีเกิดกระจายอยู่ ทั่วไปในหิน ironstone matrix opal boulder opal opalized bone opalized wood และopalized shell : ลักษณะ ของ opal ที่เข้าไปแทนที่สารอินทรีย์พวก กระดูก ไม้ และเปลือกหอย opalized shell
สาเหตุของการเล่นสี (play of colour) ใน opal แสดงโครงสร้างของ opal ถ่ายด้วยเครื่อง scanning electron microscope(ขยาย 17,000 เท่า) แสดงความแตกต่างของขนาด silica gel ซึ่งมีผลทำให้เห็นสีแตกต่างกัน ถ้า silica gel มีขนาดเล็ก จะเห็นเป็นสีน้ำเงิน-เขียว ถ้ามีขนาดใหญ่จะเห็นเป็นสีแดง
Crystallography opal เป็น amorphous หรือเป็นแร่ที่มีโครงสร้างไม่เป็นระเบียบจึงเรียกว่าmineraloid ประกอบด้วยเม็ดกลมของ silica gel ที่มีขนาดเล็กมาก(150-300 nm.) อัดตัวกันแน่นเป็นระเบียบ ทำให้แสดงการเปลี่ยนสี ถ้า silica gel มีขนาดแตกต่างกัน และเรียงตัวกันอย่างไม่เป็นระเบียบ จะไม่แสดงการเปลี่ยนสี Physical properties Fracture : แบบก้นหอย ถึงแตกไม่เรียบ Cleavage : - Hardness : 5 - 61/2 S.G. : 2.15 (+0.08 ถึง -0.16) Optical properties Luster : คล้ายแก้วถึงคล้ายยางสน Colour : สีพื้น(body colour) มีหลายสีดังได้กล่าวมาแล้ว Transparency : โปร่งแสงถึงเกือบทึบแสง
Optic character : isometric มักแสดง double refraction ที่ผิดปกติ R.I. : 1.450 ( + 0.020 ถึง -0.030) ชนิด fire opal มีค่า = 1.420 - 1.430 Fluorescence : black opal ไม่เรืองแสง white opal ไม่เรืองแสง หรือเรืองแสงสีขาว ฟ้าอ่อน เขียว หรือ เหลือง ใน LWUV และ SWUV และอาจเรืองแสงค้าง fire opal ไม่เรืองแสง หรืออาจเรืองแสงสีน้ำตาลอมเขียว ทั้งใน LWUV และ SWUV และอาจเรืองแสงค้าง Absorption spectrum : มีความหลากหลายมาก ไม่แสดงรูปแบบเฉพาะ Chemical properties Chemical formula : SiO2 .nH2O โดย n เป็นปริมาณน้ำในโครงสร้าง มีประมาณ 3-10 % โดยน้ำหนัก ถ้ามีการสูญเสียน้ำ จะเกิดรอยร้าว (crazing) และการเล่นสีอาจหายไป จึงควรเก็บในที่ชื้นหรือแช่ไว้ในน้ำ
side view top view Diagnostic features opal เป็นอัญมณีชนิดเดียวที่แสดงการเล่นสี ซึ่งแยกจากอัญมณีอื่นได้ง่าย fire opal ชนิดที่ไม่แสดงการเล่นสี มักมีเนื้อขุ่น แสดงลักษณะของ amorphous การที่ opal เกิดเป็นแผ่นบาง แตกหักง่าย จึงนิยมนำมาประกบด้วยแก้วหรือหินสีดำด้านล่าง เพื่อให้แสดงการเล่นสีชัดเจนขึ้นและมีความคงทนต่อการแตกหัก เรียกว่า โอปอประกบ 2 ชั้น (doublet opal) บางครั้งปิดทับด้านบนด้วยแก้วใสโค้งอีกชั้น เรียกว่า โอปอประกบ 3 ชั้น (triplet opal) แยกจาก opal ที่ไม่ได้ประกบซึ่งเรียกว่า solid opal ได้โดยดูจากด้านข้างจะเห็นความแตกต่างของชั้นต่างๆ ชัดเจน doublet opal
Occurrence opal พบอยู่ในบริเวณใกล้ผิวโลก เกิดจากการหมุนเวียนของระดับน้ำบาดาล หรือน้ำแร่ร้อน opal เกิดแทรกอยู่ในสายหรือช่องว่างของหิน หรืออาจเข้าแทนที่ไม้หรือสารอินทรีย์อื่นที่ฝังตัวอยู่ในเถ้าภูเขาไฟ แหล่งสำคัญที่พบ precious opalคือ Australia ส่วน fire opal พบในรัฐ Queretoro ประเทศ Mexico และในรัฐ Piaui ประเทศ Brazil แหล่งอื่นที่พบ ได้แก่ Indonesia Honduras และ United States Name คำว่า opal มาจากภาษาสันสกฤต upalaแปลว่า หินมีค่า
variety SpeciesOpal common opal หรือ potch precious opal cheery opal white opal black opal crystal opal fire opal opalized shell pinfire opal harlequin opal boulder opal matrix opal
ก่อนหุงด้วยความร้อน หลังหุงด้วยความร้อน 4.11 เพทาย หรือเซอร์คอน (Zircon) zircon ที่เกิดตามธรรมชาติส่วนใหญ่มีสีส้ม น้ำตาล หรือแดงอมน้ำตาล ไม่นิยมนำมาทำเป็นอัญมณี ต้องนำไปหุงด้วยความร้อนเพื่อเปลี่ยนสีเป็นสีฟ้า เหลือง หรือขาวใส เป็นอัญมณีที่มีประกายแวววาวคล้ายเพชร ชนิดสีขาวจึงใช้เป็นเพชรเลียนแบบ ชนิดที่มีสีเขียวตามธรรมชาติพบที่ Sri Lanka zircon เป็นแร่ที่มี 3 ชนิด คือ high type เป็นชนิดผลึก low type เป็น metamict หรือ amorphous intermediate type มีการตกผลึกบางส่วน สีตามธรรมชาติ สีที่เกิดจากการหุง
S.G. : 4.70 ( + 0.03) Physical properties Fracture : แตกแบบก้นหอย Cleavage : ไม่ชัดเจน Hardness : 7 - 71/2 Optical properties Luster : ประกายกึ่งคล้ายเพชร (subadamantine) Colour : ชนิด high type มักใสสะอาด มีสีเหลือง-เขียว เขียวอมน้ำตาล ส้มถึงน้ำตาล แดงอมน้ำตาล ถึงแดงอมส้ม ชนิด low type มีสีเขียวอมน้ำตาลถึงเขียวอมเหลือง เนื้อค่อนข้างขุ่น Transparency : โปร่งใส Optic character : Uni +
Pleochroism : เห็นชัดเจนในสีฟ้า เป็นสีฟ้าขาวใสไปเป็นสีเหลืองอมน้ำตาลและน้ำ ตาลอมม่วง สีแดงแสดงการเปลี่ยนสีปานกลางเป็นสีม่วงอมแดง และน้ำตาลอมม่วง • Fluorescence : ชนิดสีแดงและส้ม-แดง ไม่เรืองแสง หรืออาจเรืองแสงสีเหลืองถึงส้ม ใน SWUV ชนิดสีเหลือง เหลืองอมส้ม และขาวใส มักไม่เรืองแสง หรือเรืองแสงสีเหลืองถึงส้มทั้งใน LWUV และ SWUV ชนิดสี น้ำตาลและสีฟ้าส่วนใหญ่ไม่เรืองแสง
Chemical properties Chemical formula : ZrSiO4 Group : tectosilicate เป็นแร่ zirconium silicate ที่มีธาตุ hafnium อยู่ประมาณ 1 – 4 % และมีเหล็กเล็กน้อย นอกจากนั้นใน zircon จะพบธาตุกัมมันตรังสีพวก uranium และ thorium ซึ่งไปทำลายโครงสร้างของ zircon เปลี่ยนจาก high type ไปเป็น low type ทำให้มีโครงสร้างไม่เป็นระเบียบ กลายเป็น amorphous มีผลให้คุณสมบัติทางกายภาพและทางแสงเปลี่ยนไปด้วย โดยมีความแข็ง ความถ่วงจำเพาะ และดัชนีหักเหลดลง Diagnostic features อัญมณีที่มีสีเหมือน zircon คือ chrysoberyl corundum spinel topaz และ beryl แยกจากอัญมณีเหล่านี้ได้โดย zircon มีประกายแวววาวดีกว่า มีค่าดัชนีหักเหและค่า ถ.พ. ที่สูงมาก นอกจากนั้นยังมีค่า birefringence ที่สูงจนแสดงลักษณะ doubling
Occurrences ผลึก zircon ที่เป็นอัญมณีมักพบอยู่ร่วมกับก้อนกรวดทรายใน alluvial deposits แหล่งสำคัญอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือ Vietnam Laos Cambodia Myanmar และ Thailand นอกจากนั้นยังพบเป็นจำนวนมากในแหล่งลานอัญมณีของ Sri Lanka แหล่งอื่นที่พบ คือ Australia Brazil Nigeria และ Tanzania Name คำว่าzirconอาจมาจากภาษาเปอร์เซียน zargun แปลว่า สีทอง
4.12 โทแพซ (Topaz) ในสมัยโบราณ เรียกอัญมณีสีเหลืองทุกชนิดว่า topaz ซึ่งเป็นความเข้าใจผิดกันมานาน ถึงแม้ว่าในปัจจุบันเริ่มเข้าใจกันถูกต้องแล้วว่า topaz หมายถึงอัญมณีที่เป็นแร่ aluminium fluosilicate เท่านั้น ความจริง topaz มีหลายสี ไม่ใช่มีเฉพาะสีเหลืองเท่านั้น โดยสีที่มีราคาและเป็นที่นิยม คือ สีเหลืองทอง สีชมพู สำหรับสีฟ้าที่พบมากในตลาดอัญมณี เกิดจากการฉายรังสี Crystallography topaz มีรูปผลึกเป็นแท่ง prismatic ที่มีหลายหน้า ในระบบ orthorhombic
Cleavage : เด่นชัดในแนวระนาบ (basal pinacoid) • Fracture : แตกแบบก้นหอย • Hardness :8 • Specificgravity : 3.53 ( + 0.04) เพิ่มขึ้นตามปริมาณ fluorine • Luster : คล้ายแก้วTransparency : โปร่งใส • Optic character :Bi + • Refractive index : = 1.619 = 1.622 และ = 1.627 ( + 0.010) • Birefringence : 0.008 – 0.010 • Dispersion : 0.014 • Pleochroism : พบใน topaz เกือบทุกสี Physical properties Optical properties
Fluorescence : • ชนิดสีเหลือง น้ำตาล ชมพู และสีแดง ซึ่งมีปริมาณไฮดรอกซิลสูง แสดงการ เรือง แสงสีส้ม-เหลืองใน LWUV • สีชมพูบางเม็ดเรืองแสงสีขาวอมเขียวใน SWUV • สีฟ้าและขาวใสที่มีปริมาณฟลูออรีนสูง มักไม่เรืองแสงหรือเรืองแสงสีเหลือง หรือเขียวอ่อนใน LWUV • Absorption spectrum : เห็นได้ชัดเจนเฉพาะในสีชมพู ที่สีเกิดจากการนำสีน้ำตาล-ส้มมาหุงด้วยความร้อน โดย • แสดงเส้นโครเมียมบางๆ ที่ 682 nm. pink topaz
Colour : มีสีเหลือง ส้ม น้ำตาล ชมพู แดง ม่วง-แดง ฟ้า เขียวอ่อน และใสไม่มีสี มีชื่อเรียกทางการค้าดังนี้ • Imperial topaz : สีส้มอมแดง มีสีสด • Sherry topaz : สีส้มอมน้ำตาล ถึงเหลือง-น้ำตาล • London blue super blue cobalt blue max blue และ sky blue: เป็นสีฟ้าในโทนต่างๆ เกิดจากการฉายรังสี แล้วนำไปหุงด้วยความร้อน สีฟ้าที่เกิดขึ้นมีหลายโทน เนื่องจากชนิดของรังสีที่ใช้แตกต่างกัน colourless topaz green topaz yellow topaz pink topaz
Chemical properties Chemical formula : Al2SiO4(F,OH)2โดยอัตราส่วนของF ต่อ OH ไม่แน่นอน Group : aluminium fluosilicate Diagnostic features ลักษณะเด่นของ topaz ที่ใช้แยกจากอัญมณีอื่นหลายชนิด เช่น citrine chrysoberyl hessonite tourmaline corundum และ beryl โดยใช้ค่า S.G. และค่า R.I. ส่วน tourmaline ซึ่งมีค่า R.I. ใกล้เคียงกับ topazเป็น uniaxial และมีค่า S.G. ต่ำกว่ามากนอกจากนั้นยังมีค่า birefringence สูงกว่าและมี pleochroism ชัดเจน Occurrences พบในหิน pegmatite แหล่งสำคัญของ imperial topaz อยู่ที่ Brazil สีอื่นพบหลายแห่ง เช่น Siberia Ural Mountain Pakistan Japan Mexico Sri Lanka และ Myanmar ใน United States พบในรัฐ ColoradoTexas และ California Name topaz มาจากภาษากรีก topazosหรือtopazian อาจหมายถึงเกาะ Zebarget
variety variety SpeciesZircon yellow orange red colourless greenish yellow green zircon blue zircon zircon zircon zircon zircon zircon SpeciesTopaz imperial topaz cheery topaz blue topaz colourless topaz green topaz yellow topaz pink topaz
4.13 เฟลด์สปาร์ (Feldspar) feldspar เป็นแร่ประกอบหินที่พบมากที่สุด พบถึง50-60 % ของหินบนเปลือกโลก จัดเป็นแร่ตระกูล(group) ใหญ่ที่มีส่วนประกอบสุดท้ายหลากหลายมาก จัดเป็นกลุ่มได้ 2 กลุ่มตามชนิดของส่วนประกอบหลัก คือ 1. โพแทสเซียมเฟลด์สปาร์ (potassium feldspar) - ที่เป็นอัญมณี คือ orthoclaseและmicrocline 2. แพลจิโอเคลสเฟลด์สปาร์(plagioclase feldspar) - มี Na และ Ca เป็นส่วนประกอบสำคัญ - ที่จัดเป็นอัญมณี ได้แก่ albite oligoclase และ labradorite
Potassium feldspar orthoclase และ microcline มีส่วนประกอบทางเคมีเหมือนกัน คือ KAlSi3O8แต่เกิดในช่วงอุณหภูมิต่างกัน โดย orthoclase เกิดในอุณหภูมิสูง และ microcline เกิดในอุณหภูมิต่ำมีลักษณะและคุณสมบัติหลายอย่างเหมือนกัน ดังนี้ Crystallography orthoclaseมีรูปผลึกในระบบ monoclinic microcline มีรูปผลึกในระบบ triclinic แม้จะมีรูปผลึกในระบบต่างกัน แต่มีการแฝดหลายแบบเหมือนกัน single crystals twined crystals
Cleavage : มี 2 ทิศทางตัดกันเกือบ 900 • Fracture : แตกไม่เรียบ ถึงแตกเป็นเสี้ยน • Hardness : 6 – 6 ½ • Specific gravity : orthoclase = 2.58 ( + 0.03) • microcline = 2.56 ( + 0.02) Physical properties Optical properties • Luster : คล้ายแก้ว • Colour :orthoclase ที่เป็นอัญมณี มีหลาย variety คือ ชนิดใสมีสีต่างๆ คือ ขาวใส เหลือง เขียว
ชนิดมูนสโตน(moonstone)หรือ มุกดาหาร มีลักษณะเหลือบแสงสีขาวหรือฟ้า เคลื่อนไปมาบนผิวอัญมณีที่เจียระไนหลังเบี้ย เรียกว่า adularescence เกิดจากการรบกวนกันของแสงที่สะท้อนจากโครงสร้างภายในที่มี orthoclase และ albite เป็นชั้นบางมากสลับกันอยู่ moonstone บางเม็ดแสดงลักษณะตาแมวด้วย เรียกว่า cat’s eye moonstone ถ้ามีแนวเหลือบแสง 2 แนวตัดกัน เรียกว่า star moonstone moonstone โครงสร้างภายในของ moonstone cat’s eye moonstone
Optic character : Bi - • Refractive index : orthoclase : = 1.518 = 1.524 และ = 1.526 (+ 0.010) • microcline : = 1.522 = 1.526 และ = 1.530 (+ 0.004) ชนิด amazoniteหรือamazon stone เป็น microcline ที่มีสีเขียวอ่อนหรือเขียวอมฟ้า มักแสดงแนวเส้นสีขาวเล็กๆ ตัดกันเป็นตาข่าย และมีการเหลือบแสงเล็กน้อย • Transparency :orthoclase ที่เป็นอัญมณี โปร่งแสงถึงโปร่งใส • microcline ที่เป็นอัญมณีกึ่งโปร่งแสง ถึงเกือบทึบแสง
Birefringence : 0.004 – 0.008 • Dispersion : 0.012 Fluorescence : moonstone อาจเรืองแสงสีฟ้าใน LWUV และสีส้มใน SWUVหรืออาจเรืองแสงสีชมพูถึงแดงทั้งใน LWUV และ SWUV ชนิดสีเหลืองใสอาจเรืองแสงเล็กน้อยให้สีส้มอมแดง ทั้งในLWUV และ SWUVmicrocline มักไม่เรืองแสง Absorption spectrum : เห็นเฉพาะในชนิดสีเหลืองใส เป็นแถบมืดบางๆ ที่ 448 และ 420nm.
Chemical properties Chemical formula : KAlSi3O8โดย K บางส่วนอาจถูกแทนที่โดย Na Group : feldspar group (tectosilicate) Occurrence • moonstone พบที่ Sri Lanka Myanmar Tanzania Madagascar Brazil และ USA. • cat’s eye และ star moonstone พบที่ India • amazonite เกิดในหิน pegmatite พบในหลายประเทศ ได้แก่ India Brazil USA. Madagascar Australia Namibia Zimbabwe และ USSR Name คำว่าfeldsparมาจากภาษาเยอรมัน Feld แปลว่า สนาม (field) คำว่า orthoclaseมาจากภาษากรีก แปลว่าการตัดกันเป็นมุมฉาก คำว่า microclineมาจากภาษากรีก 2 คำ คือ “small” และ “incline” เนื่อง จากแนวแตกเรียบตัดกันเป็นมุมเกือบ 900
Plagioclase feldspar เป็น feldspar ที่มีส่วนประกอบของ Na และ Ca มีหลายชนิดตั้งแต่แอลไบต์(albite) ซึ่งมีปริมาณ Na สูงไล่ไปจนถึงอะนอไทต์(anorthite) ซึ่งมีปริมาณ Ca สูง มีแร่ที่มีส่วนประกอบอยู่ระหว่าง albite และ anorthite อีกหลายชนิด ที่จัดเป็นอัญมณี ได้แก่ลาบราดอไรต์(labradorite) และโอลิโกเคลส(oligoclase) Crystallography มีรูปผลึกอยู่ในระบบ triclinic แสดงการแฝดแบบ polysynthetic ซึ่งในก้อนที่ยังไม่เจียระไนเห็นเป็นเส้นถี่ๆ ขนานกันในแนว basal cleavage
Hardness : 6 – 6 ½ • Specific gravity : albite = 2.62 labradorite = 2.70 (+ 0.05) oligoclase = 2.65 (+ 0.02 ถึง – 0.03) • Luster : คล้ายแก้ว • Transparency :โปร่งใสถึงเกือบทึบแสง • Optic character :albite และ labradorite เป็น bi + ชนิดอื่นเป็น bi - • Refractive index : เพิ่มขึ้นตามปริมาณ Ca โดย • oligoclase มีค่า = 1.537 และ = 1.547 ( + 0.005) • labradorite มีค่า = 1.559 และ = 1.568 ( + 0.005) Physical properties • Cleavage : มี 2 ทิศทาง ตัดกันเป็นมุมเกือบ 900 • Fracture : แตกแบบไม่เรียบ ถึงแตกแบบเสี้ยน Optical properties
ชนิด labradorite มีพื้นสีเทาถึงเกือบดำ แสดงลักษณะ iridescence ที่เรียกว่าlabradorescence เหลือบแสงเป็นสีน้ำเงิน เหลือง เขียว อาจเห็นสีแดงบ้าง แต่น้อยมาก labradorite ที่มีเนื้อสีขาวใส แสดง iridescence เป็นสีเดียวหรือหลายสี เรียกว่าrainbow moonstone labradorite แสดง labradorescence labradorite ชนิด rainbow moonstone
ชนิดเนื้อใสมีสีเหลืองอ่อน ส้มหรือแดงในโทนต่างๆ เรียกว่าsunstone เกิดจากมีมลทินของทองแดงเป็นผงขนาดเล็กอยู่ภายใน ถ้ามลทินมีขนาดใหญ่จนมองเห็นด้วยตาเปล่า แสดงประกายระยิบระยับเมื่อโดนแสงเรียกว่าaventurine feldspar sunstone aventurine feldspar
Birefringence : 0.009 – 0.010 • Dispersion : 0.012 • Fluorescence : ส่วนใหญ่ไม่เรืองแสง Chemical properties Chemical formula : แร่ในกลุ่ม plagioclase feldspar มีส่วนประกอบดังนี้
Occurrence ถึงแม้ว่า plagioclase feldspar พบในปริมาณมากกว่าpotassium feldspar แต่ชนิดที่เป็นอัญมณีพบน้อยกว่ามาก แหล่งสำคัญของ labradorite ที่แสดง labradorescence พบครั้งแรกที่เมือง Labrador ใน Canada แหล่งอื่นได้แก่ Finland และ Norway ชนิด sunstone และ aventurine feldspar พบที่ USSR Australia India Norway และ Canada Name คำว่า plagioclaseมาจากภาษากรีก แปลว่า เอียง (oblique) เนื่องจากมีมุม ระหว่างแนวแตกเรียบ เป็นมุมเอียง คำว่า albiteมาจากภาษาลาติน albus แปลว่าขาว คำว่า oligoclaseมาจากภาษากรีก 2 คำ คือ little และ fracture เนื่องจากมี รอยแตกเรียบไม่ชัดเจนเท่า albite คำว่า labradorite มาจากชื่อเมือง Labrador ที่พบครั้งแรก
Feldspar Group species Variety Variety Potassium feldspar Plagioclase feldspar labradorite yellow orthoclase moonstone cat’s eye moonstone labradorite ชนิด rainbow moonstone amazonite sunstone aventurine feldspar
Cleavage : ไม่ชัดเจน • Fracture : แตกแบบก้นหอย ถึงแตกแบบไม่เรียบ • Hardness : 5 • Specific gravity : 3.18 (+ 0.05) 4.15 อะพาไทต์ (Apatite) apatite เป็นแร่ที่พบมากในหินหลายชนิด แต่ที่จัดเป็นอัญมณีพบน้อยมาก การที่มีความแข็งเพียง 5 จึงไม่เป็นที่นิยมถึงแม้ว่าจะมีหลากหลายสี Crystallography Hexagonal เป็นผลึกแท่งยาว prismatic Physical properties
Optical properties • Luster : คล้ายแก้ว • Colour : มีสีเหลือง เขียว ฟ้า น้ำตาล ชมพู ม่วง และใสไม่มีสี สีเขียวบางที เรียกว่า asparagus stone ชนิดที่มีมลทินขนาดเล็กเรียงตัวขนานกัน จะเห็นลักษณะตาแมว(cat’s eye) cat’s eye apatite asparagus stone • Transparency : โปร่งแสงถึงโปร่งใส • Optic character :Uni - • Refractive index : =1.634 = 1.638 (+0.012 ถึง – 0.006) • Birefringence : 0.002 - 0.008 • Dispersion : 0.013
Pleochroism : แสดงชัดเจนในชนิดสีฟ้า เปลี่ยนจากสีฟ้าเป็นสีเหลือง และใสไม่มีสี • Fluorescence : ชนิดสีเหลืองเรืองแสงสีชมพูอมม่วง ทั้งใน LWUV และ SWUV • ชนิดสีฟ้าเรืองแสงสีฟ้าทั้งใน LWUV และ SWUV • ชนิดสีเขียวเรืองแสงสีเหลืองอมเขียว ทั้งใน LWUV และ SWUV • ชนิดสีม่วงเรืองแสงสีเหลืองอมเขียวใน LWUV และสีม่วงอ่อนใน SWUV • Absorption spectrum : ชนิดสีเหลืองถึงเขียว เห็นแถบชัดเจน 2 เส้น ที่ 580 และ 464 nm. • ชนิดสีฟ้า แสดงแถบมืดกว้าง โดยเส้นมืดสุดอยู่ที่ 512 491 และ 464nm. yellow to green apatite
Chemical properties Chemical formula : เป็นแร่ phosphate ที่มีสูตรเคมีเป็น Ca5(PO4)3F Group : phosphate Diagnostic features apatite มีลักษณะคล้ายกับอัญมณีอื่นที่มีค่า R.I. ใกล้เคียงกัน ได้แก่ topaz tourmaline และ andalusite โดย apatite มีค่า birefringence และค่า S.G. ต่ำกว่ามาก และมีลักษณะจักษุแตกต่างกัน tourmaline topaz andalusite
Occurrence ชนิดสีฟ้าและชนิดตาแมว พบที่ประเทศ Myanmar Brazil และ Sri Lanka สีเขียวอมเหลือง มาจาก Spain และสีเขียวอมน้ำเงิน มาจาก Norway ชนิดสีเขียวสด พบที่ Canada ส่วนชนิดสีม่วง มาจากหลายรัฐใน USA. Name apatite มาจากภาษากรีก แปลว่าหลอกลวงหรือเข้าใจผิด (to deceive) เนื่องจากอาจสับสนกับแร่อื่นได้ง่าย
4.14 หยก (Jade) หยกเป็นอัญมณีที่แตกต่างจากอัญมณีชนิดอื่น เนื่องจากประกอบด้วยผลึกแร่ขนาดเล็กจำนวนมากเกาะเกี่ยวประสานเป็นเนื้อเดียวกัน ทำให้หยกมีความเหนียวมาก แตกหักยาก นำไปแกะสลักเป็นลวดลายละเอียดอ่อนช้อยได้ ขณะที่อัญมณีอื่นเป็นส่วนของผลึกแร่ผลึกเดี่ยว หรือหลายผลึกในกรณีที่เป็นผลึกแฝด หยก แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด ตามชนิดของแร่ที่เป็นส่วนประกอบสำคัญ คือ 1. หยกเจไดต์ (Jadeite Jade) : ประกอบด้วยแร่ jadeite อยู่ในกลุ่ม pyroxeneเป็นแร่ NaAl(Si2O6) 2. หยกเนไฟรต์ (Nephrite Jade) : เป็นแร่กลุ่ม amphibole ในชุดแร่ actinolite - tremolite
4.14.1 หยกเจไดต์ (Jadeite Jade) Crystallography ผลึกของ jadeite อยู่ในระบบ monoclinic ไม่ค่อยพบเป็นผลึกเดี่ยว ส่วนใหญ่เกาะตัวกันแน่น (massive aggregate) แบบ interlocking โดยแต่ละผลึกมีด้านทุกด้านขนาดใกล้เคียงกัน Physical properties • Cleavage : มีแนวแตกเรียบ 2 ทิศทาง แต่หยกจะเหนียวมาก แตกหักยาก • Fracture : แตกแบบเป็นเม็ดถึงเป็นเสี้ยน • Hardness : 6 ½ - 7 • Specific gravity : 3.34 (+0.06 ถึง – 0.09)
Optical properties • Luster : เหมือนแก้ว ถึงเหมือนน้ำมัน • Transparency : กึ่งโปร่งใส ถึงเกือบทึบแสง Optic character : Bi + • Refractive index : ค่าเฉลี่ยของก้อนหยก มีค่าประมาณ 1.660 • Fluorescence : ส่วนใหญ่ไม่เรืองแสง แต่อาจเรืองแสงเล็กน้อยใน LWUV โดยสีเหลืองอ่อนอาจเรืองแสงสีเขียวอ่อน และสีม่วงอาจเรืองแสง สีแดงอมน้ำตาลจางๆ ชนิดสีเข้มมักไม่เรืองแสง • Absorption spectrum : ชนิดสีเขียวสด แสดงเส้นของ Cr ที่ 630 655 และ 690 nm • Colour : หยกมีหลายสี ได้แก่ ขาว เขียว เหลือง ส้มอมแดง น้ำตาล เทา ดำ และ ม่วงอ่อน มิใช่เฉพาะสีเขียวตามที่เคยเข้าใจกัน แต่สีเขียวเป็นสีที่พบ มากและเป็นที่นิยมมากกว่าสีอื่น
หยกเจไดต์ มีชื่อเรียกทางการค้าดังนี้ หยกจักรพรรดิ์ หรือ Imperial Jade : มีราคาแพงที่สุด มีสีเขียวสด เกิดจากธาตุ Cr กึ่งโปร่งใสถึงโปร่งแสง สีสม่ำเสมอทั่วทั้งเม็ด Apple Jade : สีเขียวอมเหลืองปานกลาง สีสด Yunan jade : เป็นหยกสีเขียวดำ ทึบแสงถึงกึ่งโปร่งแสง Moss in snow : มีพื้นสีขาวขุ่น มีจุดหรือหย่อมสีเขียว Lavender jade : มีสีม่วงอ่อน
Chemical properties Chemical formula :jadeite เป็นแร่ NaAl(Si2O6) ที่เป็นผลึกผสมเนื้อเดียว(solid solution) กับแร่ diopside(CaMgSi2O6) โดย Ca และ Mg อาจเข้าแทนที่ Na และ Al เรียกว่า diopside-jadeite Group : Inosilicate (pyroxene group) Occurrence Jadeite เกิดเป็น nodule หรือ lens-shape แทรกอยู่ในหิน serpentine ที่เกิดการแปรสภาพมาจากหินที่มี Na สูง หรือพบเป็น alluvial pebble หรือ boulder ตามทางน้ำ แหล่งสำคัญอยู่ทางตอนเหนือของ Myanmar แหล่งอื่น ได้แก่ Guatemala Japan และรัฐ California ใน USA.
4.14.2 หยกเนไฟรต์ (Nephrite Jade) nephrite เป็นแร่กลุ่ม amphibole ในชุดแร่ actinolite - tremolite Crystallography อยู่ในระบบ monoclinic เนื้อหยกประกอบด้วยเส้นใย (fibrous) ของ nephrite เกาะเกี่ยวประสานกันทำให้เหนียวมาก เหนียวกว่าหยกเจไดต์ nephrite jade fibrous ใน nephrite jade
Physical properties • Cleavage : แร่ amphibole มีแนวแตกเรียบเด่นชัดตัดกันเป็นมุม 560 และ 1240 • Fracture : แตกแบบเสี้ยนถึงแบบเม็ด • Hardness : 6 – 6 ½ • Specific gravity : 2.95 (+ 0.15 ถึง – 0.05) Optical properties • Luster : คล้ายแก้วถึงคล้ายน้ำมัน Transparency : โปร่งแสงถึงทึบแสง • Optic character :Bi - • Refractive index : ค่า R.I. เฉลี่ยประมาณ 1.61 • Fluorescence : ไม่เรืองแสง • Absorption spectrum : อาจเห็นเส้นการดูดกลืนแสงจางๆ ที่ 500 nm.
Colour : มีสีเขียวอ่อน ถึงเขียวเข้ม เหลือง น้ำตาล เทา ดำ และขาว สี มักไม่สม่ำเสมอ หยกเนไฟรต์ มีชื่อเรียกทางการค้าดังนี้ • black nephrite : มีสีดำหรือเทา • Mutton fat jade : มีสีขาว โปร่งแสง • Tomb jade : เป็นหยกโบราณ ถูกฝังไว้นาน จนผิวกลายเป็น สีน้ำตาลหรือขาว • New Zealand jade หรือ spinach jade : สีเขียวอมเทามืด