1.23k likes | 3.62k Views
เศรษฐกิจพอเพียง. ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้. หลักการและเป้าหมายปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. เศรษฐกิจพอเพียง. การผลิตสินค้าและบริการในท้องถิ่น. การประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการผลิตสินค้าและบริการ. ปรัชญาพอเพียง. เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตน
E N D
ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้ หลักการและเป้าหมายปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เศรษฐกิจพอเพียง การผลิตสินค้าและบริการในท้องถิ่น การประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการผลิตสินค้าและบริการ
ปรัชญาพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตน ของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับ ครอบครัวระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศ ให้ดำเนินไปใน ทางสายกลาง
คำนิยามความพอเพียง ทางสายกลาง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล มีภูมิคุ้มกันในตัว
หลักแนวคิดของปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง
พอประมาณ ความพอดีที่ไม่มากไม่น้อยไม่น้อยจนเกินไป -เหมาะสมกับฐานะการเงิน - เหมาะสมกับรายได้ - สอดคล้องกับความรู้ความสามารถ - ช่วงเวลาการประกอบอาชีพ - จำนวนสมาชิกในครอบครัว - ประกอบอาชีพที่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อม ทางภูมิประเทศและสังคม
มีเหตุผล การใช้หลักเหตุผลตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆโดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นอย่างรอบคอบ - มีวินัยทางการเงิน ใช้เงินอย่างมีเหตุผล - เป็นแรงจูงใจในการเดินทางไปสู่เป้าหมาย - มีเป้าหมายในการดำเนินชีวิต
มีภูมิคุ้มกัน การเตรียมตัวให้พร้อมต่อผลกระทบที่เกิดขึ้นรอบตัว - ประหยัดอดออม - ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อม - มีความมั่งคงในชีวิตและครอบครัว - สุขภาพที่ดี - ครอบครัวอบอุ่น - มีความขยัน อดทน มุ่งมั่น
เงื่อนไขความรู้ ความรอบรู้ความรอบคอบและความระมัดระวังในการดำเนินชีวิตและการประกอบการงาน - รู้วิธีการวางแผนในการออมเงิน - วิธีวิเคราะห์รายรับรายจ่าย - รู้จักการทำบัญชี -มีหลักธรรมะในการดำเนินชีวิต
คุณธรรม การยึดถือคุณธรรมความซื่อสัตย์สุจริตความอดทนความเพียรการมุ่งต่อประโยชน์ส่วนรวมและการแบ่งปัน - ความซื่อสัตย์ สุจริต - มีสติปัญญา ในการดำเนินชีวิต - ยึดธรรมะในการดำเนินชีวิต - ขยันหมั่นเพียร อดทน -ไม่ทำให้ตัวเองและผู้อื่นเดือนร้อน การแบ่งปัน
นำไปสู่ ชีวิต/เศรษฐกิจ/สังคม/สิ่งแวดล้อม สมดุล/มั่นคง/ยั่งยืน
การผลิตสินค้าและบริการในท้องถิ่นการผลิตสินค้าและบริการในท้องถิ่น
แนวทางการผลิตสินค้าและบริการในท้องถิ่นแนวทางการผลิตสินค้าและบริการในท้องถิ่น ชุมชนท้องถิ่นโดยทั่วไปจะมีการรวมกลุ่มของประชาชนที่มีจุดประสงค์และเป้าหมายร่วมกันเพื่อดำเนินกิจกรรมการผลิตสินค้าแบริการเพื่อสร้างพลังของการพึ่งตนเองของกลุ่มอาชีพในชุมชน การรวมกลุ่มของประชาชนที่ร่วมดำเนินกิจกรรมเพื่อทำให้เกิดรายได้และการสร้างโอกาสในการประกอบอาชีพให้กับสมาชิก มี 2 ลักษณะคือ 1. กลุ่มอาชีพที่ไม่เป็นนิติบุคคล เช่น กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มอาชีพอุตสาหกรรมในครัวเรือน 2. กุ่มอาชีพที่เป็นนิติบุคคล เช่น กลุ่มสหกรณ์ สหกรณ์ออมทรัพย์
กลุ่มอาชีพแบ่งเป็น 2 ด้าน ได้แก่ 1. ด้านการเกษตร คือ กลุ่มอาชีพมีกิจกรรมการผลิตสินค้า รวมทั้งการแปรรูปผลผิตทางการเกษตร เช่น การทำน้ำพริก การทำปลาสลิดหอม การเลี้ยงโคขุน 2. ด้านอุตสาหกรรมในครัวเรือนและหัตถกรรมไทย เช่น เครื่องจักสาน เครื่องปั้นดินเผา การทอผ้าไหม
ปัญหาการผลิตสินค้าและบริการในท้องถิ่นปัญหาการผลิตสินค้าและบริการในท้องถิ่น 1. ปัญหาด้านการเกษตร ได้แก่ 1.1 ปัญหาความไม่แน่นอนของปริมาณและราคาของผลผลิต 1.2 ปัญหาความยากจนของเกษตรกร 1.3 ปัญหาการขาดแคลนที่ดินทำกิน 1.4 ปัญหาสิ่งแวดล้อม 1.5 ปัญหาความไม่รู้ 1.6 ปัญหาการขาดตลาดรับซื้อสินค้า
ปัญหาการผลิตสินค้าและบริการในท้องถิ่นปัญหาการผลิตสินค้าและบริการในท้องถิ่น 2. ด้านอุตสาหกรรมในครัวเรือนและหัตถกรรมไทย ได้แก่ 2.1 ปัญหาการขาดความรู้ 2.2 ปัญหาการขาดแคลนเงินทุน 2.3 ปัญหาการขาดตลาดรับซื้อสินค้า 2.4 ปัญหาการขาดการอนุรักษ์และสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น 2.5 ปัญหาการขยายตัวในภาคอุตสาหกรรมที่รวดเร็วเกินไป
การประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงการประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
การประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงการประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง • โดยพื้นฐานก็คือ การพึ่งตนเอง เป็นหลักการทำอะไรอย่างเป็นขั้นเป็นตอน รอบคอบ ระมัดระวัง • พิจารณาถึงความพอดี พอเหมาะ พอควร ความสมเหตุสมผล และการพร้อมรับความเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ • การสร้างสามัคคีให้เกิดขึ้น บนพื้นฐานของความสมดุลในแต่ละสัดส่วน แต่ละระดับ • ครอบคลุมทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี ทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมถึงจิตใจ และวัฒนธรรม
การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงในชีวิตประจำวัน โดยอาศัยหลักการพึ่งตนเอง 5 ด้าน
เศรษฐกิจพอเพียงกับการผลิตด้านการเกษตรเศรษฐกิจพอเพียงกับการผลิตด้านการเกษตร ขั้นที่ 1 การผลิต ขั้นที่ 2 การรวมพลังในรูปกลุ่ม/สหกรณ์ ขั้นที่ 3 การติดต่อประสานงานเพื่อจัดหาทุนหรือแหล่งเงิน
เศรษฐกิจพอเพียงกับการผลิตด้านวิสาหกิจเศรษฐกิจพอเพียงกับการผลิตด้านวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม ขั้นที่ 1 การผลิต ขั้นที่ 2 การรวมพลังในรูปกลุ่ม/สหกรณ์ ขั้นที่ 3 การติดต่อประสานงานเพื่อจัดหาทุนหรือแหล่งเงิน
การประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการดำรงชีวิตของนักเรียนการประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการดำรงชีวิตของนักเรียน
การรู้จักช่วยเหลือตนเองและครอบครัวการรู้จักช่วยเหลือตนเองและครอบครัว ด้วยการจัดทรัพยากรที่มีอยู่ของตนเองและครอบครัวอย่างสมดุลและยั่งยืน เช่น การใช้ไฟฟ้า น้ำประปา โทรศัพท์อย่างประหยัด รู้จักเก็บออม มีวินัยในการใช้จ่าย ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ..............................ฯลฯ...................................
การใช้ในการพัฒนาจิตใจการใช้ในการพัฒนาจิตใจ เพื่อพัฒนาตนเองให้มีจิตใจเข้มแข็ง เป็นตัวของตัวเอง มีความใฝ่ดี หลีกเลี่ยงอบายมุขที่จะนำไปสู่ความเสื่อมเสียแก่ตนเองและครอบครัว มีจิตสำนึกที่ดี................ฯลฯ....................
การนำไปใช้ในการพัฒนาสังคมการนำไปใช้ในการพัฒนาสังคม มีความรู้ความเข้าใจในสภาพแวดล้อมของโรงเรียนและชุมชน นำองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น นำของเหลือใช้มาทำให้เกิดประโยชน์ มีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม..............ฯลฯ....................
การนำไปใช้ในการพัฒนาสิ่งแวดล้อมการนำไปใช้ในการพัฒนาสิ่งแวดล้อม การสร้างจิตสำนึกในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม รู้จักการบริหารจัดการทรัพยากรที่มีอยู่ของตนเองและชุมชนอย่างสมดุล เช่น รู้จักการใช้ที่ดินว่างเปล่าภายในบ้านให้เกิดประโยชน์ การไม่ทิ้งของเสียลงแม่น้ำลำคลอง ..........................ฯลฯ....................
การนำไปใช้ในการพัฒนาวัฒนธรรมการนำไปใช้ในการพัฒนาวัฒนธรรม ด้วยการตระหนักถึงความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ การใช้สินค้าไทย พัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นให้ความสำคัญกับมารยาทไทย..........................ฯลฯ....................
ความสำคัญ คุณค่า และประโยชน์ของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงต่อสังคมไทย
1 ผู้คนในชุมชนดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข เพราะทุกคนพออยู่ พอกิน ตามสมควรแก่อัตภาพ ไม่อดอยาก ไม่เบียดเบียนผู้อื่น สามารถช่วยเหลือตนเองและผู้อื่นได้อีกด้วย
2 สมาชิกในชุมชนเกิดความสมัครสมานสามัคคี ร่วมมือกันแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชน
3 เศรษฐกิจชุมชนเกิดความเข้มแข็ง เพราะประชาชนมีการประกอบอาชีพ มีรายได้ ช่วยลดการพึ่งพาเศรษฐกิจภายนอก
4 ก่อให้เกิดความสมดุลในทุกๆ ด้าน ทั้งในการดำรงชีวิตของสมาชิกในชุมชน การดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ความเจริญก้าวหน้าของสังคม และการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน
สรุปเศรษฐกิจพอเพียงคืออะไรสรุปเศรษฐกิจพอเพียงคืออะไร • เป็นวิถีการดำเนินชีวิต ที่ใช้คุณธรรมนำความรู้ • เป็นการพัฒนาตัวเอง ครอบครัว องค์กร ชุมชน สังคม ประเทศชาติ ให้ก้าวหน้าไปพร้อมกับความสมดุล มั่นคง ยั่งยืน • เป็นหลักปฏิบัติเพื่อให้อยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข ระหว่างคนกับคนในสังคม และคนกับธรรมชาติ