970 likes | 3.69k Views
ภาษาไทยเพื่ออาชีพ 2. THAI LANGUAGE FOR CAR EER 2 รหัส 2000-1102. จุดประสงค์รายวิชา. 1. เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเรียบเรียง ถ้อยคำในการสื่อสารได้ถูกต้อง เพื่อให้ใช้ภาษาไทยเป็นเครื่องมือในการสื่อสาร อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้เห็นคุณค่าและความงามของภาษาไทย.
E N D
ภาษาไทยเพื่ออาชีพ 2 THAI LANGUAGE FOR CAR EER 2 รหัส 2000-1102
จุดประสงค์รายวิชา 1. เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเรียบเรียง ถ้อยคำในการสื่อสารได้ถูกต้อง • เพื่อให้ใช้ภาษาไทยเป็นเครื่องมือในการสื่อสาร อย่างมีประสิทธิภาพ • เพื่อให้เห็นคุณค่าและความงามของภาษาไทย
มาตรฐานรายวิชา • เขียนประโยคเพื่อสื่อสารได้ตรงตามความ ต้องการในโอกาสต่างๆ • ใช้วิจารณญาณในการเลือกถ้อยคำ สำนวน โวหาร ในการรับสารและส่งสาร • ประเมินคุณค่าวรรณคดีที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมไทย และนำไปใช้ในชีวิตและงานอาชีพ
คำอธิบายรายวิชา ศึกษาและฝึกทักษะการใช้ประโยคตามเจตนาของการสื่อสาร การวิเคราะห์ สังเคราะห์ วิจารณ์ ประเมินค่าสิ่งที่ได้จากการอ่าน การฟัง และการดู การเขียนแสดงทรรศนะ การเขียนบันทึกที่จำเป็นในงานอาชีพ การเขียนโน้มน้าวใจ การเขียนบันทึกบทประพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับงานอาชีพ การเขียนโน้มน้าวใจ
การเขียนบทประพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับงานอาชีพ การพูดในที่ประชุมชน และในงานของสังคม การศึกษาวรรณคดี และวรรณคดีที่เสริมสร้างและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมของชาติ
Course Outline สัปดาห์ที่ 1 แนะนำบทเรียน - บทที่ 1 การสื่อสาร - ความหมาย และองค์ประกอบการสื่อสาร สัปดาห์ที่ 2 - คุณสมบัติของผู้ส่งและผู้รับสาร ระดับภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร
สัปดาห์ที่ 3 บทที่ 2 การใช้ประโยคเพื่อการสื่อสาร - การวิเคราะห์ประโยค - การสังเคราะห์ประโยค สัปดาห์ที่ 4 วรรณคดีเรื่องกาพย์เห่เรือ - ประวัติผู้แต่ง - ลักษณะคำประพันธ์ของกาพย์เห่เรือ - เห่ชมไม้ สัปดาห์ที่ 5 วรรณคดีเรื่องกาพย์เห่เรือ ( ต่อจากคาบที่แล้ว ) - เห่ชมนก บทครวญ
สัปดาห์ที่ 6 หยุดปีใหม่ สัปดาห์ที่ 7 สอบเก็บคะแนนเรื่องวิเคราะห์ประโยคและ กาพย์เห่เรือสัปดาห์ที่ 8 สอบกลางภาค สัปดาห์ที่ 9 บทที่ 3 การรับสารอย่างมีวิจารณญาณ และการสังเคราะห์สารสัปดาห์ที่ 10 การวิเคราะห์ วินิจ และประเมินค่าสารจาก การอ่าน
สัปดาห์ที่ 11 บทที่ 5 การเขียนเพื่องานอาชีพ - การเขียนแสดงทรรศนะ - การเขียนเพื่อโน้มน้าวใจ สัปดาห์ที่ 12 การเขียนรายงานทางธุรกิจสัปดาห์ที่ 13 - การเขียนบทร้อยกรองต่าง ๆ ในงานอาชีพสัปดาห์ที่ 14 สอบเก็บคะแนนเรื่องการวิเคราะห์และ และประเมินค่าสารจากการอ่านสัปดาห์ที่ 15 การพูดในที่ชุมชนสัปดาห์ที่ 16 สอบปลายภาค
เกณฑ์การประเมินผล อัตราส่วนคะแนน 6 : 4 ระหว่างภาค 60 คะแนน ปลายภาค 40 คะแนน
สอบย่อย 20 คะแนน 60 คะแนน แบ่งดังนี้ งาน 10 คะแนน พฤติกรรม 10 คะแนน สอบกลางภาค 20 คะแนน
40 คะแนน แบ่งดังนี้ สอบย่อย 10 คะแนน งาน 10 คะแนน สอบปลายภาค 20 คะแนน
ดำเนินการสอนโดย อ. ฐิดารัตน์ อินปอง ภาควิชาบริหารธุรกิจระดับปวส. 0839893206
บทที่ 1 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการสื่อสาร การสื่อสาร หมายถึง การที่บุคคลสองฝ่ายมีการติดต่อกันเพื่อบอกข้อมูลข่าวสาร ความรู้สึกนึกคิด ซึ่งกันและกัน โดยอาศัยทั้งวัจนภาษา และอวัจนภาษาเป็นสื่อกลาง
วัจนภาษา คือ ภาษาพูดและภาษาเขียนที่ทั้งสองฝ่ายสามารถเข้าใจความหมายได้ อวัจนภาษา คือ ภาษาท่าทาง อากัปกิริยาต่างๆ ที่แสดงออกมาขณะสื่อสาร เช่น สีหน้า แววตา น้ำเสียง การเคลื่อนไหว ตั้งแต่หัวจรดเท้า เรียกอีกอย่างว่า ภาษากาย การสื่อสารเป็นพฤติกรรมของมนุษย์ เพราะมนุษย์ต้องอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่ม ต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน หากไม่สื่อสารให้เข้าใจตรงกัน อาจทำให้เกิดการเข้าใจผิดและเกิดผลเสียหาย
ประโยชน์ของการสื่อสารประโยชน์ของการสื่อสาร 1. เกิดการแพร่กระจายข้อมูลข่าวสาร จากบุคคลสู่อีกบุคคลหนึ่ง หรืออาศัยสื่อจากสิ่งพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ ทำให้เกิดการรับรู้ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ แพร่ขยายต่อไป 2. สร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างกัน ไม่ว่าจะเป็นระหว่างบุคคลกับบุคคล หรือบุคคลกับองค์กร หรือระหว่างองค์กรกับองค์กร การสื่อสารถึงกันด้วยดีย่อมทำให้เกิดความเป็นมิตรไมตรีต่อกัน
องค์ประกอบของการสื่อสารองค์ประกอบของการสื่อสาร 1. ผู้ส่งสาร คือผู้ที่ส่งข้อความไปยังอีกฝ่าย จะโดย วิธีการพูดหรือการเขียน 2. ผู้รับสาร คือผู้ฟังหรือผู้อ่านสารที่ผู้ส่งสาร ต้องการสื่อให้ทราบ
3. สาร คือ เนื้อหาสาระที่ผู้ส่งสารแสดงออกมา ด้วย วิธีการพูด หรือการเขียน หรืองทางอวัจนภาษา เพื่อให้ผู้รับสารสามารถรับรู้และเข้าใจความหมายได้ • สื่อ คือ สิ่งที่เป็นตัวกลางเพื่อช่วยให้เกิดความรู้ ความเข้าใจกันได้ แบ่งเป็น 2 อย่าง คือ - สื่อภายนอก ได้แก่ โสตทัศนูปกรณ์ต่าง ๆ เช่น วิทยุ โทรศัพท์ - สื่อภายใน ได้แก่ น้ำเสียง สีหน้า แววตา การ เคลื่อนไหว การแต่งกาย
คุณสมบัติของผู้ส่งสารคุณสมบัติของผู้ส่งสาร 1. เป็นผู้ใช้ภาษาดี คือ รู้จักเลือกใช้คำที่มีความหมายตรงตามความต้องการของตน รู้จักเรียบเรียงประโยคให้ถูกต้องตามหลักการใช้ภาษา เข้าใจง่าย ไม่สับสน 2. เป็นผู้รู้มารยาท คือรู้จักเลือกสื่อสารให้เหมาะกับกาลเทศะและบุคคล ผู้ส่งสารควรรู้ว่าเรื่องใดควรพูด เรื่องใดไม่ควรพูด
3. เป็นผู้มีจิตวิทยา คือ ก่อนพูดควรพิจารณาว่าเรื่องที่จะพูด ควรสื่อสารอย่างไร ควรพูดตรง ๆ หรือทางอ้อม • เป็นผู้รู้ข้อมูลจริง คือ เมื่อต้องการส่งสารเกี่ยวกับเรื่องใด ต้องแน่ใจว่าข้อมูลนั้นเป็นเรื่องจริง ถูกต้อง 5. เป็นผู้มีใจเป็นธรรม ไม่มีอคติ หรือลำเอียงต่อเรื่องราวที่สื่อสารออกไป
6. เป็นผู้มีมนุษยสัมพันธ์ดี คือ มีท่าทีเป็นมิตรไมตรีกับผู้อื่น เป็นคนอัธยาศัยดี 7. เป็นผู้มีไหวพริบปฏิภาณดี คือ สารมารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้อย่างฉับไวและไม่เกิดการเสียหาย
คุณสมบัติของผู้รับสารคุณสมบัติของผู้รับสาร 1. เป็นผู้มีสติมั่นคง มีความตั้งใจขณะรับสาร 2. เป็นผู้ที่มีทักษะในการรับสาร คือสามารถอ่าน หรือฟังสารต่าง ๆ ได้อย่างคล่องแคล่ว รับรู้ ความหมายของสารได้เร็ว 3. เป็นผู้มีวิจารณญาณ คือ เมื่อฟังแล้วต้องนำไป คิดพิจารณาไตร่ตรองให้รอบคอบเสียก่อนว่า สาร นั้นมีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด
4. เป็นผู้มีใจกว้าง คือ ยอมรับฟังความคิดเห็นของ ผู้อื่น เคารพในความคิดของผู้อื่น 5. เป็นผู้มีใจเป็นธรรม ไม่เอนเอียงไปทางใดทาง หนึ่ง ไม่โอนอ่อนไปในทางชักจูงหรือโน้มน้าว ของใครโดยง่าย
ภาษาที่ดีในการสื่อสารภาษาที่ดีในการสื่อสาร วัจนภาษาที่ดีควรมีลักษณะดังนี้ 1. เข้าใจง่าย 2. สุภาพเหมาะแก่กาลเทศะและบุคคล 3. ถูกต้องตามหลักภาษา 4. เป็นประโยคที่เรียงลำดับได้ดี
อวัจนภาษาที่ดี ควรมีลักษณะดังนี้ 1. การแสดงออกทางใบหน้า แววตา 2. อากัปกิริยาท่วงท่า การเคลื่อนไหวอวัยวะต่างๆ 3. การใช้สายตา 4. การใช้น้ำเสียง 5. การแต่งกาย
กิจกรรมครั้งที่ 1 • ตอนที่ 1 จงกาเครื่องหมายหน้าข้อที่เป็นการสื่อสาร และกาเครื่องหมาย หน้าข้อที่ไม่เป็นการสื่อสาร 1. วินัยเขียนจดหมายถึงวิภาเมื่อถึงกรุงเทพ 2. ประภาศรียิ้มหยันเมื่อประภาภรณ์หันมามอง 3. สุมาลีหน้าบึ้งขึ้นมาทันทีเมื่อนึกถึงคำพูดของสุรศักดิ์ 4. เมธีมองตามด้วยสายตาละห้อยเมื่อเมขลาเดินจากไป 5. อนุเทพบอกรักเมขลาในเย็นวันหนึ่ง
ตอนที่ 2 จงกาเครื่องหมาย หน้าข้อที่ถูก และเครื่องหมาย หน้าข้อที่ผิด • 1. การสื่อสารทำให้มนุษย์รับรู้ความต้องการของกันและกัน 2. การสื่อสารทำให้บุคคลได้รับการตอบสนองที่ดีเสมอ 3. หากเราต้องการรับรู้ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ เราต้องฟัง หรือ อ่านข่าวสารจากสื่อมวลชนเท่านั้น 4. การแต่งกายของผู้ส่งสารไม่ใช่ส่วนสำคัญในการสื่อสาร 5. แสงสว่างหรือบรรยากาศรอบตัวเป็นสื่อกลางในการ สื่อสารด้วยเช่นกัน
บทที่ 2 การใช้ประโยคเพื่อการสื่อสาร การวิเคราะห์ประโยค หมายถึง การแยกประโยคออกเป็นส่วน ๆ เพื่อให้เข้าใจความหมายของประโยคนั้นได้ดียิ่งขึ้น ว่าคำแต่ละคำนั้นทำหน้าที่เป็นส่วนใดของประโยค
การวิเคราะห์ประโยคตามโครงสร้างของประโยคการวิเคราะห์ประโยคตามโครงสร้างของประโยค โครงสร้างของประโยคในภาษาไทย มี 3 แบบ คือ - ประโยคความเดียว - ประโยคความรวม - ประโยคความซ้อน
เรียกอีกอย่างว่าเอกรรถประโยคเรียกอีกอย่างว่าเอกรรถประโยค ประโยคความเดียว คือ ประโยคที่มีใจความเพียงอย่างเดียว โครงสร้างของประโยคจะประกอบด้วย ประธาน และกริยา ซึ่งจะมีส่วนขยายของประธาน หรือของกริยา หรือไม่มีก็ได้ ถ้ามีส่วนขยายเพิ่มเข้ามา ส่วนขยายนั้นจะต้องเป็นคำหรือกลุ่มคำเท่านั้น จะเป็นประโยคไม่ได้ ประโยคใน 1ประโยค จะประกอบไปด้วยอย่างน้อย 2 ส่วน คือ ประธาน และ กริยา
ตัวอย่างประโยค 2 ส่วน ประโยค 2 ส่วน คือประโยคที่ไม่ต้องมีกรรมมารองรับประโยคนั้นก็สมบูรณ์ได้ เราเรียกประโยค 2 ส่วนนี้ว่า อกรรมกริยา เช่น - นกบิน - ฟ้าร้อง - ไก่ขัน
ตัวอย่างประโยค 2 ส่วน ที่มีส่วนขยาย - นกนางแอ่นบินสูง - ฟ้าร้องเสียงดัง - ไก่ฟ้าขันเพราะ
ประโยค 3 ส่วน คือประโยคที่ต้องมีกรรมมารองรับ ประโยคจึงจะสมบูรณ์ ประโยคที่ต้องมีกรรมมารองรับเราเรียกว่า สกรรมกริยา เช่น - แมวกินปลา - อาจารย์ตีนักเรียน - กบกินแมลง
ประโยค 3 ส่วน ที่มีส่วนขยาย - แมวดำกินปลาในครัว - อาจารย์ฐิดารัตน์ตีนักเรียนที่มาสายหน้าชั้นเรียน - กบกินแมลงเคราะห์ร้าย
ประโยคความรวม เรียกอีกอย่างว่า อเนกรรถประโยค หมายถึง ประโยคความเดียวตั้งแต่ 2 ประโยคขึ้นไปที่สัมพันธ์กันมารวมกันให้เป็นประโยคเดียวโดยมีคำสันธานเชื่อม มี 4 ชนิดคือ 1. ประโยคความรวมที่มีใจความคล้อยตามกัน เช่น * ฉันทำการบ้านเสร็จแล้ว * ฉันเข้านอน เมื่อรวมประโยคจะได้ -- เมื่อฉันทำการบ้านเสร็จแล้ว ฉันจึงเข้านอน
2. ประโยคความรวมที่ใจความขัดแย้งกัน เช่น * พอลล่าชอบกินแซนวิช * คำหล้าชอบกินส้มตำ เมื่อรวมประโยคแล้วก็จะได้ -- พอลล่าชอบกินแซนวิช แต่ คำหล้าชอบกินส้มตำ หรือ กว่าถั่วจะสุกงา ก็ ไหม้
ประโยคความรวมที่มีใจความให้เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง จะมีคำว่า หรือ มิฉะนั้น ไม่เช่นนั้น เป็นตัวเชื่อม เช่น * เธอจะกินข้าว * เธอจะกินขนม เมื่อรวมกันแล้วจะได้ -- เธอจะกินข้าว หรือ กินขนม หรือ* เธอต้องตีตัวออกห่างจากเขา * เธอจะเดือดร้อน เมื่อรวมประโยคแล้วจะได้ -- เธอต้องตีตัวออกห่างจากเขา ไม่เช่นนั้นเธอจะเดือดร้อน
เรียกอีกอย่างว่า สังกรประโยค ประโยคความซ้อน หมายถึงประโยคความเดียวที่มีส่วนขยายเป็นประโยคย่อยซ้อนเข้ามา ซึ่งอาจจะขยายคำนามที่เป็นประธาน หรือคำนามที่ทำหน้าที่เป็นกรรมในประโยคหลักก็ได้ เช่น ** สมศรีคนที่ใส่แว่นตีแมวที่กำลังคุ้ยหาเศษอาหาร ประโยคนี้มีทั้งประธาน ขยายประธาน กริยา กรรม และ ส่วนขายกรรม
แบบฝึกหัด จงแยกประโยคต่อไปนี้ให้ถูกต้อง 1. ม้าสีหมอกกินหญ้าในสนาม 2. ศรายุทธกินข้าวมันไก่ในโรงอาหาร 3. อดิศรณ์กำลังอ่านหนังสือการ์ตูน 4. ต้นตระการเล่นฟุตบอลลูกใหม่ในสนาม 5. อรวีคนผมสั้นอ่านหนังสือภาษาไทยจบแล้ว
6. นกแก้วพูดเก่งมาก 7. ยุพาดื่มน้ำส้มหมดแล้ว 8. แม่ตีงูเขียวที่หน้าบ้าน 9. บอยใส่เสื้อสีแดงสด 10. สมชายขับมอเตอร์ไซด์สีแดงมาโรงเรียน
การสังเคราะห์ประโยค คือการสร้างประโยคขึ้นมาใหม่ โดยให้มีความหมายที่ถูกต้องตามหลักของไวยากรณ์ และสามารถส่งความหมายให้กับผู้ส่งสารได้ถูกต้อง เช่น น่า / แกงจืด / หอม/ รับประทาน / ใส่ / เห็ด เมื่อรวมประโยค จะได้ ** แกงจืดใส่เห็ดหอม น่ารับประทาน ** แกงจืดใส่เห็ด หอมน่ารับประทาน
หมู / ขา / มี / ป้า / ไหม - ป้า ขาหมูมีไหม - ป้าขา หมูมีไหม - ป้ามี ขาหมูไหม - ป้าไหม มีขาหมู - ป้า ไหมมีขาหมู
แบบฝึกหัด จงสังเคราะห์ประโยคต่อไปนี้ให้ถูกต้อง 1. ไป/ ก็/ ยัง/ ชีวิต/ ดิ้น/ไม่/ ต้อง / กัน/ สิ้น 2. น้ำ / หยด / ได้ / ตุ่ม / เต็ม / ละ / ที 3. มี /ฝน /เหมือน /รัก /กลาง/ จุด / เทียน /สาย/ เรียน / วัย / ใน 4. เรือ/ แก่/ จอด/ เมื่อ/ ตา / ล่ม / เมื่อ/ บอด 5. พ่อ / เมื่อวานนี้ / สระน้ำ / ที่ / หมากรุก / ข้าง / เล่น /