680 likes | 1.32k Views
เอกสารประกอบการสอน รหัสวิชา 244206 จำนวน 3(3-0-6) หน่วยกิต ชื่อวิชา การวางแผนและการควบคุม (Planning and Control) อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ปุณิกา แจ่มจำรัส สถานที่ติดต่อ อาคาร 2 ชั้น 2 สำนักบริหารเทคโนโลยี มือถือ : 083-9893140 , E-mail : October2517@Gmail.com. คำอธิบายรายวิชา
E N D
เอกสารประกอบการสอน รหัสวิชา 244206 จำนวน 3(3-0-6) หน่วยกิต ชื่อวิชา การวางแผนและการควบคุม (Planning and Control) อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ปุณิกา แจ่มจำรัส สถานที่ติดต่อ อาคาร 2 ชั้น 2 สำนักบริหารเทคโนโลยี มือถือ : 083-9893140 , E-mail : October2517@Gmail.com
คำอธิบายรายวิชา ศึกษาถึงแนวความคิดและนำกระบวนการและเทคนิคต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผนและการควบคุม การจัดการทางธุรกิจกระบวนการในการวางแผน การวางแผนภายใต้สถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง การควบคุมโดยงบประมาณประเภทต่าง ๆการควบคุมด้วยโครงข่ายปฏิบัติงาน เทคนิคและวิธีการควบคุมการปฏิบัติงานในระดับต่าง ๆ
ตำรา/เอกสารประกอบการสอนตำรา/เอกสารประกอบการสอน การวางแผน และควบคุมทางการบริหาร. พิมพ์ครั้งที่ 3 อาจารย์สุรัสวดี ราชกุลชัย. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร. 2546 การวางแผน และควบคุมทางการบริหาร. พิมพ์ครั้งที่ 16 ผู้แต่งร่วมมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. นนทบุรี. 2541 บทความ ข่าวสารจากนิตยสาร วารสารและหนังสือพิมพ์ธุรกิจ ได้แก่ ประชาชาติธุรกิจ ,ฐานเศรษฐกิจ,ผู้จัดการ,และข้อมูลทางสื่ออิเลคทรอนิกส์.
หัวข้อบรรยาย • ส่วนที่ 1 : แนวคิดพื้นฐานการวางแผน การควบคม และการบริหาร • 1. การบริหาร การวางแผน การควบคุม2. การบริหารระบบข้อมูลกับการวางแผนและการควบคุม3. เครื่องมือและเทคนิคในการวางแผนและการควบคุม • ส่วนที่ 2 : การวางแผนทางการบริหาร • 4.ความหมายและองค์ประกอบของการวางแผน5.วัตถุประสงค์และประเภทของแผน • 6.กระบวนการแผนและแผนธุรกิจ7.การวางแผนเชิงกลยุทธ์
ส่วนที่ 3 : การควบคุมทางการบริหาร • 8. ความหมาย ประเภท และกระบวนการควบคุม9. การควบคุมทางการเงิน10. การควบคุมการปฏิบัติการ11. การควบคุมคุณภาพ • ส่วนที่ 4 : ภาพรวมการพัฒนาทางการวางแผนและการควบคุม • 12.การวางแผนและการควบคุมในภาครัฐ 13.การวางแผนและการควบคุมระดับสากล
บทนำ แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับการวางแผน การดำเนินธุรกิจในปัจจุบันมีความสลับซับซ้อนมากกว่าในอดีต การวางแผนจึงเข้ามามีบทบาทมากขึ้นเพราะการวางแผนที่ดี มีระบบขั้นตอนที่สมบูรณ์ สามารถส่งผลถึงการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้นได้ หน้าที่อันดับแรกของผู้บริหาร คือ การวางแผน(Planning)
เป็นหน้าที่ของผู้บริหารทุกระดับที่ต้องวางแผนเพื่อใช้เป็นบรรทัดฐานในการ ปฏิบัติงาน และเป็นแนวทางเพื่อมุ่งสู่ผลสำเร็จที่คาดหวังในอนาคต ดังมีผู้กล่าวไว้ว่า การปฏิบัติงานจะประสบผลสำเร็จมากหรือน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับการวางแผน และถ้าวางแผนดี ก็เท่ากับปฏิบัติงานสำเร็จไปแล้วกว่าครึ่ง
ความหมายของการวางแผน (Planning) • .....การวางแผนคือ การหาทางเลือกที่ดีที่สุดในการปฏิบัติงาน โดยใช้ปัจจัยต่างๆและมีเหตุผลเพื่อให้การดำเนินงานในอนาคตเป็นไปโดยเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพที่สุด..... • .....การวางแผนคือ กระบวนการของการพิจารณาตัดสินใจล่วงหน้าว่าจะทำอะไร อย่างไร มีการเลือกวัตถุประสงค์ นโยบาย โครงการ และวิธีปฏิบัติเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์นั้นอย่างไร.....
.....การวางแผนหมายถึง กระบวนการกำหนดวัตถุประสงค์ สำหรับช่วงเวลาข้างหน้า และกำหนดสิ่งที่จะกระทำต่างๆ เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์..... • .....การวางแผนเป็นกระบวนการเกี่ยวกับการคิดและการตัดสินใจที่ละเอียดอ่อน และต้องกระทำให้เสร็จสิ้น ก่อนจะมีการดำเนินกิจกรรม..... • .....การวางแผนเป็นการพิจารณาและกำหนดแนวทางปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมายที่ปราถนาเปรียบเสมือนเป็นสะพานเชื่อมโยงระหว่างปัจจุบันและอนาคต (Where we are to where we want to go) เป็นการคาดการณ์สิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น.....
.....การวางแผนจึงเป็นกระบวนการทางสติปัญญาที่พิจารณากำหนดแนวทางปฏิบัติงานมีรากฐานการตัดสินใจตามวัตถุประสงค์ ความรู้และการคาดคะเนอย่างใช้ดุลพินิจ (Koontz and others 1984)..... • “การวางแผน” จึงมีความเกี่ยวข้องกับการคาดการณ์ต่างๆ ในอนาคตและตัดสินใจแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด โดยผ่านกระบวนการคิดก่อนทำ • สรุปได้ว่า “การวางแผน” คือ ความพยายามที่เป็นระบบ (systematic attempt) เพื่อตัดสินใจเลือกแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด สำหรับอนาคตเพื่อให้องค์การบรรลุผลที่ปราถนา
การวางแผนสำคัญอย่างไร (Significance of Planning) • ลดความไม่แน่นอนและปัญหาความยุ่งยากซับซ้อนที่จะเกิดขึ้นในอนาคต • ทำให้เกิดการยอมรับแนวคิดใหม่ๆ • ทำให้การดำเนินการขององค์การบรรลุตามเป้าหมายที่ปรารถนา • ลดความสูญเปล่าของหน่วยงานที่ซับซ้อน • ทำให้เกิดความแจ่มใสชัดในการดำเนินงาน
ประโยชน์ของการวางแผน • ลดการทำงานซ้ำซ้อนช่วยให้การทำงานเป็นไปอย่างมีระเบียบแบบแผน • เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้สูงขึ้น • ลดปัญหาความขัดแย้งระหว่างฝ่ายงานต่าง ๆ • ลดความผิดพลาดในการบริหารจัดการ • ทำให้ระบบตรวจสอบและการควบคุมมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น • แบ่งเบาภาระหน้าที่ของผู้บริหารให้ลดน้อยลง • ทำให้เกิดการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในองค์การให้เกิดประโยชน์สูงสุด • สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการพยากรณ์ทิศทางขององค์การได้
หลักพื้นฐานในการวางแผนหลักพื้นฐานในการวางแผน • ต้องสนับสนุนเป้าหมายและวัตถุประสงค์ขององค์การ • เป็นงานอันดับแรกของกระบวนการจัดการ • เป็นหน้าที่ของผู้จัดการทุกคน • ต้องคำนึงถึงประสิทธิภาพของแผนงาน
คุณภาพของการวางแผนจะมีมากหรือน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับการวิเคราะห์ความถูกต้องของสิ่งต่างๆ ต่อไปนี้ 1. รู้ว่ากิจการมีทรัพยากรที่แท้จริงอยู่มากหรือน้อยเพียงใด 2. รู้ว่ากิจการขณะนี้ยืนอยู่ ณ จุดใด ที่แล้วมาสภาพของกิจการเป็นอย่างไรเคยประสบความสำเร็จหรือล้มเหลวมาอย่างไร บ้างและเกิดขึ้นเพราะเหตุใด 3. รู้ว่าอนาคตธุรกิจต้องการอะไร เช่น ชื่อเสียง การเจริญเติบโต การเป็นธุรกิจผู้นำ เป็นต้น
4. รู้สถานการณ์รอบ ๆตัว ในขณะที่ทำงานวางแผน ว่ามีสภาพเป็นอย่างไรธุรกิจจุดอ่อนจุดแข็งอย่างไร สถานการณ์ภายนอกจะก่อให้เกิดผลได้ผลเสียต่อกิจการอย่างไร 5. สามารถทำนายสถานการณ์ในอนาคตได้อย่างถูกต้อง หรือมีความใกล้เคียงความจริงมากหรือน้อยเพียงใด
ความหมายของแผน • แผน แบบพิมพ์เขียวที่กำหนดการจัดสรรทรัพยากร ตารางการปฏิบัติงานและกิจกรรมที่สำคัญอื่นๆ เพื่อมุ่งไปสู่การบรรลุเป้าหมาย • แผน คือ แนวปฏิบัติที่กำหนดไว้ล่วงหน้า ซึ่งต้องเกี่ยวข้องกับการกระทำ อนาคต และความต้องการของบุคคลและองค์กร • แผน คือ ผลที่ได้จากการวางแผน • แผน คือ สิ่งที่กำหนดขึ้นและถือเป็นแนวดำเนินการ
จากความหมายของแผนที่กล่าวมาพบว่า แผน คือ ผลที่เกิดจากการวางแผน • หรืออาจกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า “การวางแผน” คือกิจการรมหรือการกระทำที่ก่อให้เกิด “แผน” ซึ่งอาจกระทำขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษร แบบเป็นทางการหรือไม่เป็นทางการก็ได้
ลักษณะของแผนที่ดี (Requirements of Good Plan) • มีลักษณะชี้เฉพาะ ชัดเจนมากกว่าจะมีลักษณะกว้างหรือกล่าวทั่วๆ ไป • จำแนกตามความแตกต่างระหว่างสิ่งที่รู้แลกสิ่งที่ยังไม่รู้ให้ชัดเจน • มีการเชื่อมโยงอย่างเป็นเหตุผลและสามารถนำไปปฏิบัติ • มีลักษณะยืดหยุ่นและสามารถปรับพัฒนาได้ • ต้องได้รับการยอมรับจากบุคคลที่เกี่ยวข้อง
ประเภทของการวางแผน (Type of Planning) การจำแนกประเภทของการวางแผน ขึ้นอยู่กับบรรทัดฐานที่นำมาใช้ในการจำแนกและจัดแบ่งประเภท เพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจและสอดคล้องกับความต้องการใช้งาน ประเภทของการวางแผนเหล่านั้นได้แก่
ประเภทของการวางแผน (Type of Planning) 1) จำแนกตามระดับของการบริหารงานองค์กร • การวางแผนกลยุทธ์ (Strategic Planning)เป็นการวางแผนที่ถูกจัดทำขึ้นโดยผู้บริหารระดับสูง เพื่อให้สอดคล้องกับเป็นหมายกลยุทธ์ขององค์กรแล้วประสานไปยังผู้บริหารระดับ กลาง และระดับล่าง • การวางแผนยุทธวิธี (Tactical Planning) เป็นการวางแผนที่เกิดจากการกระทำร่วมกันระหว่างผู้บริหารระดับสูงกับผู้ บริหารระดับกลางเพื่อให้องค์กรธุรกิจก้าวไปสู่ผลสำเร็จที่วางไว้
การวางแผนปฏิบัติงาน (Operational Planning)ใช้อธิบายเป้าหมายในการปฏิบัติงานขององค์กรในลักษณะที่เป็นหน้าที่เฉพาะของ หน่วยงาน หรือมีลักษณะที่เป็นงานที่ต้องทำเป็นประจำวันต่อวัน 2) จำแนกตามระยะเวลา • การวางแผนระยะยาว (Long – range Planning)มีเป้าหมายเพื่อเชื่อมโยงการบริหารและการปฏิบัติการภายในองค์กรเข้ากับสภาวะแวดล้อมปกติจะคำนึงถึงอนาคตข้างหน้าไม่ต่ำกว่า 5 ปีขึ้นไป
2) จำแนกตามระยะเวลา • การวางแผนระยะปานกลาง (Intermediate Range Planning) การวางแผนระยะปานกลาง จะครอบคลุมเวลาในการดำเนินงานตามแผนตั้งแต่ 1 ปี ถึง 5 ปี • การวางแผนระยะสั้น (short range Planning) เป็นการวางแผนเพื่อให้ครอบคลุมและเป็นไปตามเป้าหมายปฏิบัติการหรือแผนซึ่งถือเอาช่วงเวลาภายในเวลา 1 ปีเป็นเกณฑ์
3) จำแนกตามหน้าที่ดำเนินงาน • แผนแม่บท (Master Plan)เกิดจากการรวมแผนทั้งหมดภายในองค์กรเข้าไวด้วยกัน • แผนหน้าที่ (Functional Plan)ถูกวางขึ้นเพื่อเฉพาะเจาะจงใช้กับกลุ่มงาน แผนปฏิบัติงาน • ด้านบุคคล • ด้านการผลิต • ด้านการตลาด • ด้านการเงิน
3) จำแนกตามหน้าที่ดำเนินงาน • แผนงานโครงการ (Project)องค์กรทำขึ้นเพื่อตอบสนองนโยบาย เกี่ยวกับกิจกรรมใหญ่ขององค์กรเฉพาะครั้ง • แผนสรุป (Comprehensive Plan) สรุปรวมแผนหน้าที่แผนงานโครงงานที่องค์กรกระทำ โดยอาจจำแนกเป็นหมวดหมู่ หรือจำแนกตามขอบเขตของงานหรือระดับความซับซ้อนในการปฏิบัติ • แผนกิจกรรม (Activity Planning) แสดงให้เห็นตารางเวลาของการปฏิบัติงาน (Schedule)
4) จำแนกตามความถี่ของการนำแผนไปใช้ • แผนหลัก (Standing Plan)กิจกรรมที่กระทำซ้ำบ่อยๆ เป็นประจำ ประจำประกอบด้วย นโยบาย , ระเบียบปฏิบัติ , กฎ • แผนใช้เฉพาะครั้ง (Single-Use Plan) แผนที่เตรียมขึ้นอย่างเฉพาะเจาะจงกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวได้แก่ • โปรแกรมหรือแผนงาน • โครงการ • แผนรายละเอียด • งานเฉพาะกิจพิเศษ
5) จำแนกตามขอบเขตครอบคลุมของแผน • วัตถุประสงค์ (Objective) • นโยบาย (Policy) • ระเบียบวิธีปฏิบัติ (Procedure) • วิธีการทำงาน (Method) • มาตรฐาน (Standard) • งบประมาณ (Budget) • แผนงาน (Program)
ข้อจำกัดของการวางแผน (Limit of Planning) • ความแม่น ตรง ถูกต้องของข้อมูลในอนาคต • กีดกั้นความคิดริเริ่มและสร้างสรรค์ • ก่อให้เกิดปัญหาในสถานการณ์ฉุกเฉิน • เสียค่าใช้จ่ายสูง • คุณค่าของแผนมีจำกัด ในกรณีที่มีการโยกย้ายเปลี่ยนแปลง
ลักษณะของการวางแผนที่ดีลักษณะของการวางแผนที่ดี • มีความคล่องตัว • มีความครอบคลุม • ระยะเวลาแผน • มีความคุ้มค่า • มีความชัดเจน • รูปแบบตามพิธีการ • มีเหตุมีผล • มีความสอดคล้อง • มีลักษณะปกปิด • มีลักษณะเน้นอนาคต • มีความต่อเนื่อง
การวางแผนกลยุทธ์ • ความแข็งแกร่ง หรือความมั่นคง • สามารถเอาชนะคู่แข่งขันทางการค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ • คิดอย่างมีระบบ ความเชื่อมั่น และการเอาใจใส่ในงานที่ทำ • แสวงหาวิธีการเอาชนะคู่แข่งขัน • กระบวนการของการคิดและตัดสินใจ • กำหนดขั้นตอน ทิศทางดำเนินงานในระยะยาวที่สามารถปฏิบัติได้จริง • วางแผนให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกองค์กร
กระบวนการในการวางแผน กำหนดข้อตกลงต่างๆที่เป็นขอบเขตในการวางแผน กำหนดวัตถุประสงค์ กำหนดข้อตกลงต่างๆที่เป็นขอบเขตในการวางแผน พัฒนาทางเลือก/แสวงหาทางเลือก นำแผนสู่การปฏิบัติ -ทำตารางการปฏิบัติงาน -มาตรฐานการทำงาน -ปรับปรุง/ แก้ไข ประเมินทางเลือก(พิจารณาความเสี่ยง)
กระบวนการวางแผนเชิงกลยุทธ์ (Strategic Planning Process) • ตั้งข้อสมมุติฐานเกี่ยวกับอนาคต • การกำหนดวัตถุประสงค์ • การกำหนดกลยุทธ์และการพัฒนากลยุทธ์ • การกำหนดเป้าหมาย • การกำหนดแผนปฏิบัติงาน • การปฏิบัติตามแผน • ข้อมูลย้อนกลับ
ข้อจำกัดของการวางแผนกลยุทธ์ข้อจำกัดของการวางแผนกลยุทธ์ 1. เป็นการวางแผนภายใต้สถานการณ์ที่ไม่แน่นอน 2. มีลักษณะเป็นการวางแผนจากบนลงล่าง (Top-down) ซึ่งขึ้นกับความคิดเห็นของผู้บริหาร 3. เป็นการวางแผนในปัจจุบันเพื่อการปฏิบัติในอนาคต ซึ่งสถานการณ์ทั้งหลายเกิดจากการคาดเดาล่วงหน้าของผู้บริหาร
การล้มเหลวของการวางแผนกลยุทธ์การล้มเหลวของการวางแผนกลยุทธ์ • ขาดการระดมความคิดและประสานงาน • ข้อมูลข่าวสารไม่ถูกต้อง • อุปสรรคจากค่านิยมขององค์กร • อุปสรรคจากความลำเอียงและความเห็นแก่ตัว
ความหมายของการควบคุม (Controlling) หมายถึงการตรวจสอบการปฏิบัติงานว่าได้มีการดำเนินการตามแผนที่ได้กำหนดไว้หรือไม่ เพื่อทำการหาจุดบกพร่องและจุดอ่อนของผลการปฏิบัติงานแล้วนำมาปรับปรุงแก้ไขเพื่อที่จะให้ผลการปฏิบัติงานนั้นได้ดำเนินไปตามแผนและมาตรฐานที่ได้กำหนดไว้
ความหมายของการควบคุม (Controlling) การควบคุมเป็นการตรวจตราและตรวจสอบผลการปฏิบัติงานโดย เปรียบเทียบกับเป้าหมายและดำเนินการปฏิบัติเพื่อให้มั่นใจว่า จะบรรลุผลลัพธ์ตามต้องการ นอกจากนี้การควบคุมยังเป็นกระบวนการรวบรวมและแสดถึงข้อมูลย้อนกลับเรื่องของ ผลการดำเนินงานในฐานะที่เป็นพื้นฐานสำหรับการปฏิบัติและการเปลี่ยนแปลงใน อนาคตอีกด้วย (John R. Schermerhorn, op. cit. p.327)
ความหมายของการควบคุม (Controlling) อาจกล่าวถึงบทบาทสำคัญของการควบคุมได้ว่า อยู่ที่คำ 4 คำ ได้แก่ - มาตรฐาน (Standard) - การวัดผล (Measurement) - การเปรียบเทียบ (Comparison) - การปฏิบัติ (Take Action) โดยการควบคุมจะครอบคลุมดูแลพื้นที่ 4 พื้นที่ใหญ่ๆ ของการบริหาร (Stephen P. Robbins, Managing Today, 1997, p.391)
ความหมายของการควบคุม (Controlling) กล่าวคือ พฤติกรรมบุคคลในองค์กร การเงิน การปฏิบัติการ และ ข้อมูลข่าวสาร ทรัพยากรประกอบด้วย มนุษย์ สภาพแวดล้อมทางกายภาพ การเงิน ตลอดจนทรัพยากรข้อมูลขององค์กร
ความสำคัญของการควบคุมความสำคัญของการควบคุม • ทำให้งานนั้นเป็นไปตามแผนและได้มาตรฐานที่ได้กำหนดไว้ • สามารถตรวจสอบวิธีการปฏิบัติงานว่าได้เป็นไปตามแผนหรือไม่ ถ้าผลการปฏิบัติงานไม่ดำเนินการไปตามแผนก็สามารถนำมาปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น • ทำให้สามารถตรวจสอบผลของการปฏิบัติงานว่าได้ดำเนินการไปถึงขั้นไหนแล้ว เพื่อที่จะสามารถดำเนินในขั้นต่อไปได้ • ทำให้ทราบถึงปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานว่าเป็นอย่างไร เกิดขึ้นเมื่อไร และควรแก้ไขอย่างไรต่อไป
ระดับของการควบคุม การควบคุมระดับกลยุทธ์ แผนกลยุทธ์ การควบคุมระดับยุทธวิธี แผนยุทธวิธี แผนปฏิบัติการ การควบคุมระดับปฏิบัติการ
ประโยชน์ของการควบคุม • ทำให้ทราบความก้าวหน้าของงานกระตุ้นให้ผู้ปฏิบัติงานทุกคนตั้งใจปฏิบัติงานยิ่งขึ้น • ป้องกันแก้ไขปัญหาได้ทัน จากการติดตามความก้าวหน้า • ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของงาน สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ของงาน และใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าที่สุด • ช่วยให้ผู้บริหารรู้จักผู้ปฏิบัติงานมากขึ้นในด้านความสามารถ ความรับผิดชอบ ความตั้งใจ นำไปสู่การพัฒนาส่งเสริมและปรับปรุงแก้ไข บุคลากร ให้สร้างประโยชน์และคุณค่าแก่องค์การสูงสุด
ข้อจำกัดของการควบคุม • สร้างความรู้สึกเชิงลบแก่ผู้ปฏิบัติงาน • การควบคุมทำได้ยาก หากไม่มีการกำหนดมาตรฐาน และแผนที่ชัดเจน • วิธีการควบคุมแต่ละวิธีไม่สามารถใช้ได้กับผู้ปฏิบัติงานทุกคนหรือทุกลักษณะงาน • การควบคุมอาจนำไปสู่การเบี่ยงเบนในวัตถุประสงค์ เช่น ควบคุมต้นทุนมากเกินไปคุณภาพอาจจะลดลงได้
กระบวนการควบคุม ประกอบด้วย • การกำหนดขอบเขต • การกำหนดเป้าหมายและมาตรฐาน • การวัดผล / สังเกตการปฏิบัติงานจริง • การเปรียบเทียบผลการปฏิบัติงานกับเป้าหมาย • การปรับปรุง แก้ไขเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมาย
การควบคุมมีลักษณะเป็นระบบไซเบอร์เนติกการควบคุมมีลักษณะเป็นระบบไซเบอร์เนติก ไม่ต้องปรับปรุง สิ่งป้อนเข้าInput กระบวนการProcess การตรวจสอบความเบียงเบน ต้องปรับปรุงหรือไม่ สิ่งนำออกOutput การปฏิบัติงานแก้ไข ตัวป้อนกลับ(Feedback) ปรับปรุง กระบวนการแก้ไข
มาตรฐานที่ใช้ในการควบคุมมาตรฐานที่ใช้ในการควบคุม
การควบคุมตามลักษณะกระบวนการทำงาน • Feedforward control การควบคุมนี้มีความสำคัญสำหรับการควบคุมคุณภาพภายในองค์การ • Concurrent control การควบคุมนี้มีการตรวจสอบกิจกรรมในระหว่างดำเนินงานอยู่เสมอ โดยเน้นตรวจสอบว่ามีสิ่งใดผิดปกติเกิดขึ้นในระหว่างการดำเนินงาน • Feedback control การควบคุมนี้เกิดขึ้นภายหลังจากการดำเนินงานเสร็จสิ้น เน้นผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
ประเภทของการควบคุมแบ่งตามลักษณะกระบวนการทำงานประเภทของการควบคุมแบ่งตามลักษณะกระบวนการทำงาน Work input Work process Work m output Feedforward control เน้นเรื่องวัตถุดิบที่ถูกต้อง ตรงตามความต้องการ Concurrentcontrol เน้นเรื่องการปฏิบัติงานที่ ถูกต้องทำให้มีประสิทธิ ภาพในการทำงาน Feedback control เน้นเรื่องผลลัพธ์สุดท้าย ให้ตรงตามมาตรฐานที่ ต้องการ ข้อมูลย้อนกลับ (Feedback)
ลักษณะการควบคุมที่มีประสิทธิภาพลักษณะการควบคุมที่มีประสิทธิภาพ คุ้มค่าทาง เศรษฐกิจ มีความ ถูกต้อง ทันเวลา การควบคุม เข้าใจง่ายและมีความ สมเหตุสมผล มีความ ยืดหยุ่น มีเงื่อนไขหลาย ประการ มีการ ปฏิบัติได้
เทคนิคในการควบคุม 1. กระบวนการควบคุมโดยใช้วงจรเดมิ่ง • P = Plan • D = Do • C = Check • A = Action
เทคนิคในการควบคุม 2. Gantt Chart หรือ Bar Chat ได้เป็นผู้ทำการคิดค้นขึ้นมา โดยเฮนรี่ แกนต์ ได้ประดิษฐ์แผนภูมิเพื่อใช้ในการควบคุมแผนและโครงการ ซึ่งเป็นแผนภูมิที่แสดงให้เห็นถึงกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะทำและแสดงเวลาในการทำงานแล้วเสร็จ