620 likes | 1.56k Views
เรื่อง เริ่มต้นใช้งานโปรแกรม Adobe flash. เริ่มต้นใช้งานโปรแกรม Adobe Flash. ความหมาย.
E N D
เรื่อง เริ่มต้นใช้งานโปรแกรม Adobe flash เริ่มต้นใช้งานโปรแกรม Adobe Flash
ความหมาย Flash คือ เป็นโปรแกรมที่มีความสามารถในด้านการสร้างภาพเคลื่อนไหว (Animation) ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบัน เป็นผลิตภัณฑ์ของบริษัท Adobe (เดิมคือ Macromedia) ซึ่งได้พัฒนาปรับปรุงเครื่องมือต่างๆ ให้มีความสามารถใช้งานได้สะดวก
เรื่อง เริ่มต้นใช้งานโปรแกรม Adobe flash • ประเภทของกราฟิก การสร้างภาพกราฟิกด้วยคอมพิวเตอร์ มีวิธีการสร้าง 2 แบบ คือ แบบบิตแมป (Bit Mapped) และแบบเวกเตอร์ (Vector) หรือสโตรก (Stroked) แต่ละแบบวิธีการสร้างภาพดังต่อไปนี้1. กราฟิกแบบบิตแมป • กราฟิกแบบบิตแมปคือ มีลักษณะเป็นช่องๆ เหมือนตาราง แต่ละบิตก็คือส่วนหนึ่งของข้อมูลคอมพิวเตอร์ • พิกเซล (เป็นคำที่ใช้แทนองค์ประกอบของภาพ) เป็นองค์ประกอบพื้นฐานของภาพบิตแมป ซึ่งองค์ประกอบย่อยๆ เหล่านี้ถูกรวมกันเข้าทำให้เกิดภาพ พิกเซลซึ่งถือเป็นหน่วยย่อยที่เล็กที่สุดของรูปภาพ พิกเซลมีความสำคัญต่อการสร้างกราฟิกของคอมพิวเตอร์มาก เพราะทุกๆ ส่วนของกราฟิก เช่น จุด เส้น แบบลายและสีของภาพ ล้วนเริ่มจากพิกเซลทั้งสิ้น พิกเซลหนึ่งๆ อาจจะมีขนาดความเข้มและสีแตกต่างกันได้
เรื่อง เริ่มต้นใช้งานโปรแกรม Adobe flash ตัวอย่างภาพบิตแมป
เรื่อง เริ่มต้นใช้งานโปรแกรม Adobe flash เอสเป็กเรโซของภาพ (Image Aspect Ratio) แอสเป็กเรโชของภาพ คือ อัตราส่วนระหว่างจำนวนพิกเซลทางแนวขวาง และจำนวนพิกเซลทางแนวดิ่งที่ใช้ในการสร้างภาพ • รีโซลูชัน (Resolution) • รีโซลูชัน (Resolution) หมายถึง รายละเอียดที่อุปกรณ์แสดงกราฟิกชนิดหนึ่งมีอยู่ ค่ารีโซลูชันมักระบุเป็นจำนวนพิกเซลในแนวนอนคือแนวแกน X และจำนวนพิกเซลในแนวตั้งคือแนวแกน Y ดังนั้นรีโซลูชัน 720 x 348 จึงหมายความว่า อุปกรณ์แสดงกราฟิกชนิดนี้สามารถแสดงพิเซลในแนวนอนได้ไม่เกิน 720 พิกเซล และแสดงพิกเซลในแนวตั้งได้ไม่เกิน 348 พิกเซล
เรื่อง เริ่มต้นใช้งานโปรแกรม Adobe flash 2. กราฟิกแบบเวกเตอร์ กราฟิกแบบเวกเตอร์ต่างจากบิตแมปตรงที่บิตแมปนั้นประกอบไปด้วย จุดต่างๆ มากมาย แต่กราฟิกแบบเวกเตอร์ใช้สมการทางคณิตศาสตร์เป็นตัวสร้างภาพ เช่น วงกลม หรือเส้นตรง เป็นต้น ถึงแม้ว่าอาจจะฟังดูซับซ้อนสักเล็กน้อยแต่ภาพบางชนิดก็ถูกสร้างได้ง่าย ออบเจ็กต์ (Object) ออบเจ็กต์ง่ายๆ (เช่น วงกลม เส้นตรง ทรงกลม ลูกบาศก์ และอื่นๆ เรียกว่ารูปทรงพื้นฐาน) สามารถใช้ในการสร้างออบเจ็กต์ที่ซับซ้อนขึ้น กราฟิกแบบเวกเตอร์สามารถสร้างรูปภาพโดยการรวมเอาออบเจ็กต์หลายๆ ชนิดมาผสมกันเราสามารถผสมออบเจ็กต์ต่างชนิดกัน (เช่น วงกลมและเส้นตรง) เพื่อสร้างภาพที่แตกต่างกัน
เรื่อง เริ่มต้นใช้งานโปรแกรม Adobe flash เปรียบเทียบคุณสมบัติของกราฟิกแบบบิตแมปและภาพแบบเวกเตอร์ในด้านความเร็วของการแสดงภาพที่จอภาพและความสามารถในการเปลี่ยนขนาดภาพจะได้ผลดังนี้ 1. กราฟิกแบบบิตแมปสามารถแสดงให้เห็นที่จอภาพได้เร็วกว่าภาพแบบเวกเตอร์ 2. การเปลี่ยนแปลงขนาดภาพให้โตขึ้นหรือเล็กลงกว่าภาพเดิม กรณีภาพแบบบิตแมปจะทำได้ไม่มาก นอกจากนั้นยังอาจจะทำให้ลักษณะของภาพผิดเพี้ยนไปจากเดิมด้วย แต่ภาพแบบเวกเตอร์จะสามารถย่อและขยายขนาดได้มากกว่า โดยสัดส่วนและลักษณะของภาพยังคล้ายเดิม
เรื่อง เริ่มต้นใช้งานโปรแกรม Adobe flash การเรียกใช้โปรแกรม Flash นี่คือหน้าต่างแรกที่เปิดโปรแกรมแฟลชขึ้นมา ที่วงกลมไว้จะเป็นการสร้างเอกสารเปล่าๆ โดยจะแบ่งออกเป็น 1.เอกสารที่เขียนด้วย Actionscript 3.0 2.เอกสารที่เขียนด้วย Actionscript 2.0 3.เอกสารสคริปแฟลชอื่นๆ
เรื่อง เริ่มต้นใช้งานโปรแกรม Adobe flash การ Save ไฟล์ การ Save ไฟล์ การ save ไฟล์ไปใช้งานนั้น ว่าไฟล์หลักๆแล้ว Flash จะมีไฟล์อะไรบ้างที่เราต้องใช้งาน ในการใช้งาน Flash นั้นจะมีไฟล์งาน สองแบบหลักๆคือที่มีนามสกุล Flaและ Swf 1. FLAเป็นไฟล์งานต้นฉบับ เก็บงาน Flash ต้นฉบับของเราไว้แก้ไขต่อภายหลัง 2. SWFเป็น ไฟล์งานสำเร็จ ที่เราทำการ publish ออกมาแล้ว พร้อมสำหรับนำไปใช้งานบนเว็ปไซต์ หรืองานอื่นๆของเรา ไฟล์นี้จะไม่สามารถทำกลับมาแก้ไขได้อีก
เรื่อง เริ่มต้นใช้งานโปรแกรม Adobe flash เมนู File ที่จะใช้ save งานหลักๆมีอะไรบ้าง 1. NEW ไว้สำหรับสร้างเอกสารแฟลชเปล่าๆ ใครจะทำการ์ตูน ทำเกม ทำพรีเซนท์อะไรก็แล้วแต่ เลือกสร้างเอกสารเปล่าได้เลย 2. SAVEต่างๆ มีไว้ save ไฟล์งานต้นฉบับของเราออกมาเป็นไฟล์ FLA 3.import , export -เมนู importมีไว้โหลดไฟล์อื่นๆเข้ามาในเอกสารแฟลชเปล่าๆของเรา เช่น รูปภาพ jpg หรือเสียงเพลง mp3 หรือไฟล์ vdoต่างๆ สรุปคือไฟล์ทุกไฟล์ที่แฟลชใช้งานได้ เราอยากใช้งานมันในแฟลชของเรา เรา import เข้ามาได้ที่เมนูนี้
เรื่อง เริ่มต้นใช้งานโปรแกรม Adobe flash เมนู File ที่จะใช้ save งานหลักๆมีอะไรบ้าง (ต่อ) -เมนู exportไว้สำหรับเอาไฟล์งานแฟลชของเรา ที่ทำเสร็จแล้ว ออกมาใช้งานในรูปแบบอื่นๆ ที่ไม่ใช่ SWF เช่น ออกมาเป็น jpg , png , gif animation ,VDO 4. Publishมีไว้สร้างไฟล์ swfที่เราจะเอามาใช้งานในเว็ปไซท์ เกม หรือพรีเซนท์ โดยไฟล์จะออกมาเป็น swfหรือไฟล์อื่นๆเช่น HTML หรือ EXE ตามที่เรากำหนดใน publish setting โดยถ้าเราไม่กำหนด ไฟล์จะออกมาเป็น swfและ HTML ซึ่งเป็นค่าปรกติที่โปรแกรมตั้งไว้
เรื่อง เริ่มต้นใช้งานโปรแกรม Adobe flash เมื่อคลิกเลือกการสร้างผลงานใหม่ของ Flash จากรายการ Create New Flash File จะปรากฏส่วนประกอบจอภาพการทำงานดังนี้
เรื่อง เริ่มต้นใช้งานโปรแกรม Adobe flash เมื่อสร้างเอกสารใหม่ขึ้นมา เราจะพบเครื่องมือมากมาย
เรื่อง เริ่มต้นใช้งานโปรแกรม Adobe flash 1. กล่องเครื่องมือ Toolbox • ใช้สำหรับเลือกและย้ายวัตถุ • ใช้เลือกแก้ไขวัตถุ เช่น แก้ไขเส้นหรือรูปทรง • วาดเส้นตรง • สร้าง Selection ภายในวัตถุ • ปากกาวาดเส้นพาธ • พิมพ์ข้อความ • วาดรูปวงรีหรือวงกลม • วาดรูปสี่เหลี่ยม/รูปหลายเหลี่ยม • วาดเส้นอิสระ • วาดรูป/เส้นด้วยพู่กัน • ปรับย่อ- ขยาย และหมุนวัตถุ • ใส่สีเส้นขอบรูปทรง ใส่สีพื้นของรูปทรง ใช้ลบบางส่วนของรูปทรง เลือกสีให้กับเส้นขอบรูปทรง ดูดสีหรือก๊อปปี้ตัวอย่างสีจากวัตถุ ใช้คลิกลากเพื่อเลื่อนเอกสารขึ้นลง ใช้ปรับขนาดหรือย่อ/ขยายเอกสาร เลือกสีเติมลงบนพื้นวัตถุ
เรื่อง เริ่มต้นใช้งานโปรแกรม Adobe flash 2.Stage(สเตจ) มีไว้สำหรับวาดการ์ตูน รูปภาพ อะไรก็ไว้ที่ Stage เป็นพื้นที่การทำงาน เราจะเห็นผลงานของเราวิ่งอยู่บน Stage Stageมีขนาดกว้างและสูงที่สามารถปรับได้ ให้เล็กหรือใหญ่ตามต้องการ ขนาดของ Stage ขนาดของ Stage จะหมายถึงพื้นที่การแสดงผลของ Movie นั่นเอง ดังนั้นก่อนสร้างงานควรกำหนดขนาดของ Stage ให้เหมาะสมและตรงกับการใช้งานจริง การกำหนดขนาดของ Stageกระทำได้โดย
เรื่อง เริ่มต้นใช้งานโปรแกรม Adobe flash • เลือกคำสั่ง File, New… เพื่อเข้าสู่โหมดการสร้าง Movie • คลิกเลือกคำสั่ง Modify, Document… • กำหนดค่าความกว้าง ความสูงของ Stage (หน่วยปกติจะเป็น pixel) จากรายการDimensions: o กรณีที่มีข้อมูลบน Stage สามารถคลิกปุ่ม Match: Printer หรือ Contents เพื่อให้Flash ปรับขนาดให้เหมาะสมกับข้อมูลโดยอัตโนมัติ • เลือกสีพื้นของ Stage จากตัวเลือก Background color
เรื่อง เริ่มต้นใช้งานโปรแกรม Adobe flash 3. Layer เลเยอร์ สำหรับงานแฟลชของ เราสามารถแยกวัตถุต่างๆ ออกเป็นเลเยอร์ได้ เลเยอร์คือชั้นๆต่างๆที่จะทำให้เราทำงานเป็นระบบมากขึ้น เช่น เราจะแยกตัวละครไว้เลเยอร์บนสุด แต่ฉากหลังไว้ล่างสุด เพื่อที่ตัวละครจะได้เดินไปเดินมา โดยที่ฉากหลังจะอยู่นิ่ง 4.Time lineมีไว้สำหรับกำหนดการเคลื่อนไหวต่างๆ เวลาที่เราทำการเคลื่อนไหวอนิเมชั่นของเรา คล้ายๆกับฟิล์มภาพยนตร์ ที่ 1 ช่องมี 1 ภาพ เป็นเรื่องของอนิเมชั่นเบื้องต้น ที่เราจะทำการเล่นภาพหลายๆภาพต่อเนื่องกัน • 5. เมนู Windowสำหรับใครที่หาเครื่องมือ หน้าหน้าต่างเครื่องมือที่หายไปไม่เจอ ขอให้มาหาที่นี่ที่เดียว เพราะจะสามารถแสดง และ ซ่อน เครื่องมือทุกชนิด ได้ที่นี่
เรื่อง เริ่มต้นใช้งานโปรแกรม Adobe flash 6.เครื่องมี colorไว้สำหรับกำหนดสีที่เราจะวาดแบบละเอียด โดยจะสังเกตว่า color ก็มีอยู่ในเมนู window เช่นกัน 7.Propertiesไว้สำหรับกำหนดคุณสมบัติให้กับสิ่งต่างๆที่เราจะใช้งาน โดย Properties จะเปลี่ยนแปลงไปตามวัตถุที่เราใช้งานในขณะนั้น เช่น ถ้าเราใช้งานพู่กัน ก็จะเป็นการกำหนด สี ขนาดเส้น ของพู่กัน ถ้าเราใช้งานวัตถุ จะเป็นการกำหนด ขนาดกว้าง สูง และสีสัน ของวัตถุเช่นเดียวกัน ถ้าเครื่องมือนี้หายไป เราก็หามันได้ในเมนู Window เหมือนเดิม
เรื่อง เริ่มต้นใช้งานโปรแกรม Adobe flash แบบฝึกหัด 1. โปรแกรม flash คือโปรแกรมที่ใช้ทำอะไร 2. การสร้างภาพกราฟิกด้วยคอมพิวเตอร์ มีวิธีการสร้างกี่แบบอะไรบ้าง พร้อมทั้งอธิบาย 3. Stage(สเตจ) คืออะไร 4. กราฟิกแบบเวกเตอร์คืออะไร 5. จงบอกความแตกต่างระหว่างภาพกราฟิกแบบบิตแมปและภาพกราฟิกแบบเวกเตอร์ จากรูปนี้คือเครื่องมือใช้ทำอะไร 7. Properties มีไว้สำหรับทำอะไร 8. ไฟล์นามสกุลSwfคืออะไร 9. แถบ Controller ทำหน้าที่อะไร 10. การบันทึกไฟล์มีกี่ แบบอะไรบ้าง