240 likes | 865 Views
IMMUNOGLOBULIN. IMMUNOGLOBULINหรือ ANTIBODY คือสารโปรตีนที่อยู่ในเลือดที่ทำหน้าที่ต่อสู้หรือป้องกันการติดเชื้อโรคจากแบคทีเรีย ไวรัส หรือสิ่งแปลกปลอมอื่นๆที่เข้ามาในร่างกาย ส่วนซีรัมเกิดจากการตอบสนองของร่างกายต่อแอนติเจนและจะทำปฏิกริยาที่มีความจำเพาะ.
E N D
IMMUNOGLOBULIN • IMMUNOGLOBULINหรือANTIBODYคือสารโปรตีนที่อยู่ในเลือดที่ทำหน้าที่ต่อสู้หรือป้องกันการติดเชื้อโรคจากแบคทีเรีย ไวรัส หรือสิ่งแปลกปลอมอื่นๆที่เข้ามาในร่างกาย ส่วนซีรัมเกิดจากการตอบสนองของร่างกายต่อแอนติเจนและจะทำปฏิกริยาที่มีความจำเพาะ
แอนติบอดี้อยู่ในซีรัมเป็นส่วนของโปรตีนที่เรียกว่าแกมม่าโกบูลิน(gammaglobulin)และเป็นส่วนที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับภูมิต้านทานของร่างกายจึงเรียกว่าอิมมูโนโกลบูลินหรือชื่อย่อว่า lgคำว่าimmunoglobulinเป็นชื่อเรียกที่หมายถึงGlobulinที่เกี่ยวข้องกับการตอบสนองทางอิมมูนนั้นเอง
แอนติบอดี้ทุกตัวมีตำแหน่งที่เหมือนกัน 2 ตำแหน่งที่ใช้จับกับAntigenic determinants ตำแหน่งนี้เรียกว่าAntigen-binding sitesจำนวน Antigen-binding sitesบนแอนติบอดี้ถือเป็นวาเลนซี่(Valence)ของแอนติบอดี้ อย่างแอนติบอดี้ของคนมี 2 วาเลนซี่ดังนั้นจึงเรียกว่าแอนติบอดี้ Bivalent
แอนติบอดี้เป็นผลผลิตของ พล่าสม่าเซลล์(plasma cell) และ lymphocyte นอกจากพบในซีรั่มแล้วยังพบในสาร คัดหลั่งอื่นๆ ของร่างกายในเนื้อเยื่อเช่น ในปัสสาวะ น้ำไขสันหลัง น้ำนม น้ำลาย น้ำตา ต่อมน้ำเหลืองน้ำอสุจิ เป็นต้น
การสร้างสารภูมิต้านทาน-แอนติบอดี้การสร้างสารภูมิต้านทาน-แอนติบอดี้ • - มาจากเม็ดเลือดขาวชนิด B-lymphocyte โดยที่มันพร้อมที่จะตอบสนองต่อสิ่งแปลกปลอมที่มีความจำเพาะต่อมัน โดยเมื่อเจ้าสิ่งแปลกปลอมหรือแอนติเจน มาพบกับ B-lymphocyte จะทำให้เม็ด เลือดขาวเกิดการเปลี่ยน แปลง ทั้งทางด้าน proliferation และ differentiation ทำให้เกิดเป็นกลุ่มของ lymphocyteที่สามารถผลิตแอนติบอดี้ที่มีฤทธิ์จำเพาะต่อกับแอนติเจนหรือสิ่งแปลกปลอมนั้นเท่านั้น
-อิมมิวโนโกลบูลินประกอบด้วยพอลิเพปไทด์ 4 สาย เชื่อมกันด้วยพันธะไดซัลไฟด์ พอลิเพปไทด์ทั้ง 4 สาย ประกอบด้วยสายยาว 2 สายที่เหมือนกันหรือเรียกว่าสายหนัก(Heavy chain หรือ H chain)มีกรดอะมิโนสายละประมาณ 440 ตัว และสายสั้น 2 สายที่เหมือนกันหรือเรียกว่าสายเบา(Light chain หรือ L chain)มีกรดอะมิโนสายละประมาณ 220 ตัวสายหนัก แต่ละสายเชื่อมกับสายเบาด้วยพันธะโควาเลนชนิดพันธะไดซัลไฟด์
ทั้งสายหนักและสายเบาประกอบด้วย 2 บริเวณ คือ บริเวณที่เปลี่ยนแปลงได้(variable region)กับบริเวณที่คงที่(constant) บริเวณที่คงที่ของสายหนักและสายเบาประกอบด้วยกรดอะมิโน 320 และ 105 ตัว ตามลำดับ และไม่ค่อยแตกต่างกันมากในอิมมิวโนโกลบูลินแต่ละชนิด ส่วนกรดอะมิโนที่อยู่บริเวณที่เปลี่ยนแปลงได้ของทั้งสายหนักและสายเบามีลำดับของกรดอะมิโนแตกต่างกัน ซึ่งจะจำเพาะกับแอนติบอดี้แต่ละชนิด
-ส่วนของอิมมิวโนโกลบูลินที่จับกับแอนติเจนเรียกว่าFab(antigen-binding sites)อยู่ทางด้านที่มีปลายหมู่อะมิโน ประกอบด้วยบริเวณที่เปลี่ยนแปลงได้ของเพปไทด์ทั้งสายหนักและสายเบา ส่วนบริเวณ Fc (crystallization) อยู่ทางด้านที่มีปลายหมู่คาร์บอกซิลส่วนFCนี้มีส่วนสำคัญในการจับกับรีเซพเตอร์ของเซลล์แต่ละชนิดต่างๆหรือกระตุ้นการทำงานของคอมพลีเมนต์
ชนิดและคุณสมบัติของแอนติบอดี้อิมมูโมนโกลบูลินหรือแอนติบอดีย์ในระบบ humoral immunity แบ่งออกได้เป็น 5 กลุ่มใหญ่ๆคือIgG / IgA / IgM / IgD / IgE • 1.IgG เป็นอิมมูโนโกลบูลินที่มีมากที่สุดในซีรั่มประมาณ 80-85%มีความสำคัญที่สุดในการคุ้มกันร่างกาย สามารถผ่านรกจากแม่สู่ลูกได้ มี ขนาดเล็กที่สุดเมื่อเทียบกับอิมมิวโนโกลบูลินตัวอื่นๆ
- หน้าที่สำคัญคือช่วยร่างกายต่อสู้กับ bacteria / virus / toxin เป็นส่วนใหญ่ - เป็นแอนติบอดี้ที่ถูกสร้างขึ้นมามากที่สุดเมื่อมีการพบสิ่งแปลกปลอมในระบบซ้ำ (secondary immune response) • 2.IgA เป็นอิมมูโนโกลบูลินหรือแอนติบอดี้ที่พบในซีรั่มและในสารคัดหลั่งต่างๆ ของร่างกายและมีปริมาณรองจาก lg คือมีอยู่ประมาณ 13% โดยในซีรั่ม จะพบได้ประมาณ 1/6 ของ IgG ส่วนในสารคัดหลั่งเช่นน้ำนม น้ำลาย น้ำตาเป็นต้น
- ช่วยป้องกันการติดเชื้อในบริเวณเยื่อเมือก (mucosal surface) ของ ระบบทางเดินอาหาร/ระบบทางเดินหายใจด่านแรกของการป้องกัน- ปกติ IgA จะพบมากในสารคัดหลั่งสูงมากกว่าตัวอื่นๆ • - จะเพิ่มระดับสูงขึ้นมากในผู้ป่วยที่มีการอักเสบของระบบทางเดินอาหาร
3.IgM เป็นสารอิมมิวโนโกลบูลินหรือแอนติบอดี้ตัวแรกที่สร้างขึ้นเมื่อร่างกายถูกกระตุ้นด้วยแอนติเจนและมีขนาดใหญ่ที่สุด มีน้ำหนักโมเลกุลประมาณ 900,000 ดาลตัน เป็นสารอิมมิวโนโกลบูลินชนิดแรกที่ทารกเริ่มสร้างได้เอง โดยหากทารกมีการติดเชื้อตั้งแต่ในครรภ์มารดาจะตรวจพบได้ในระดับสูง เป็นสารอิมมิวโนโกลบูลินที่มีความจำเพาะพิเศษต่อ lipopolysaccharide ของแบคทีเรีย ชนิดแกรมลบ(เป็นตัวสำคัญในการกำจัดแบคทีเรียกลุ่มนี้)
4.IgD พบได้น้อยมากในซีรั่ม มีอยู่ประมาณ 0.2% เชื่อว่าช่วยควบคุมการตอบสนองทางอิมมูนแอนติบอดี้ในโรคออโตอิมมูนเป็นชนิด IgD • 5.IgE ตรวจพบเป็นตัวล่าสุด พบได้ในสารคัดหลั่งของร่างกาย พบในซีรั่มได้น้อย หน้าที่สำคัญเป็นตัวร่วมที่ จะทำให้เกิดอาการภูมิแพ้ ชนิด anaphylaxis หรือ type I hypersensitivity (ภูมิคุ้มกันไวเกิน ชนิด ที่หนึ่ง) ตรวจพบได้ในระดับสูงกว่าปกติในผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อพยาธิในร่างกาย
การผสานกันในการกำจัดสิ่งแปลกปลอมออกจากร่างกายการผสานกันในการกำจัดสิ่งแปลกปลอมออกจากร่างกาย • โดยปกติแล้วในการสร้างแอนติบอดี้หรือภูมิต้านทานต่อสิ่งแปลกปลอมหรือแอนติเจนที่เข้ามาในร่างกายนั้นจะเป็นการ ผสานกันระหว่าง B-lymphocyte / T-lymphocyte และ Macrophage โดยตัวที่ทำหน้าที่ผลิตแอนติบอดี้เพื่อ ตอบสนองต่อแอนติเจนนั้นเป็นหน้าที่ของ พลาสม่าเซล (plasma cell) ซึ่งถือกำเนิดมาจาก B-lymphocyte
โดยแอนติเจนในธรรมชาติส่วนใหญ่ในการกำจัดออกจะเป็นการอาศัยความช่วยเหลือร่วมมือกันจาก helper T cell และmacrophageโดยเมื่อเจ้าสิ่งแปลกปลอมหรือแอนติเจนที่เข้าสู่ร่างกายจะไปทำปฏิกริยากับmacrophageแบบไม่จำเพาะเจาะจงก่อนโดย macrophage จะมีการเตรียมแอนติเจนนั้นให้พร้อมเพื่อส่งให้ กับ T lymphocyteที่ส่วนผิวของ T cell จะมีส่วนที่คอยจับกับแอนติเจนนั้นเรียกว่า T cell antigen receptor
เมื่อ T cell antigen receptor จับกับแอนติเจนเป็นที่เรียบร้อยแล้วจะ ปล่อยตัวเองออกจากผิวของ T cell มาจับกับ macrophage ที่ส่วน Fc receptor บนผิวของ macrophage แทน จากนั้น macrophage ก็จะพาไปพบกับ B lymphocyte ซึ่งเจ้า B cell นี้ก็จะจับกับเจ้าแอนติเจน- สิ่งแปลกปลอมไว้โดยใช้ส่วนที่ผิวที่เรียกว่าsurfaceimmunoglobulin และจะเริ่มตอบสนองต่อแอนติเจนนั้นโดยการเริ่มเพิ่มจำนวน และเปลี่ยนรูปร่างเป็นพลาสม่าเซลล์และพลาสม่าเซลก็จะเริ่มผลิตแอนติบอดี้ที่มีฤทธิ์ จำเพาะต่อสิ่งแปลกปลอมนั้น-แอนติเจน ออกมา
กลไกการทำงานของภูมิคุ้มกันกลไกการทำงานของภูมิคุ้มกัน • การทำงานของภูมิคุ้มกันเรียกรวมกันว่า ระบบภูมิคุ้มกัน ในการทำงาน แบ่งเป็น 2 ระบบ คือ -อาศัยเซลล์โดยตรง และอาศัยเซลล์โดยอ้อม ซึ่งทำงานสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน เรียกว่ารวมกันเป็นกองกำลังติดอาวุธ และประจัญบาน ต่อต้านผู้บุกรุกไม่ให้รุกรานร่างกาย
-ภูมิคุ้มกันที่อาศัยเซลล์โดยตรง คือ เมื่อมีเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย และเม็ดเลือดขาวไปพบเข้า ก็จะจับกินทำลายเสีย เปรียบกับการประจันหน้าศัตรู และใช้กำลังเข้าห่ำหั่นกันภูมิคุ้มกันที่อาศัยเซลล์โดยอ้อม คือ เมื่อเชื้อโรคเข้ามา เซลล์จะสร้างสารต่อต้าน สิ่งแปลกปลอมขึ้นมา เรียกว่า แอนติบอดี้(antibody) แอนติบอดีจะไปจับกับสิ่งแปลก ปลอม เหมือนแม่กุญแจ กับลูกกุญแจ ทำให้สิ่งแปลกปลอมไม่สามารถ แผลงฤทธิ์กับร่างกายได้
-การสร้างสารภูมิคุ้มกันนั้น ในขั้นแรกเมื่อมีเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมเข้ามา จะมีเซลล์ไปทำความรู้จัก กับเชื้อโรค แล้วบรรจุข้อมูล ส่งไปให้เซลล์ที่มีหน้าที่สร้างสารต่อต้าน หากเคยรู้จักแล้ว ก็จะสร้างสารต่อต้านออกมาเลย แต่ถ้ายัง ไม่เคยรู้จักเลย ก็จะต้องส่งต่อไปให้เซลล์อีกตัวถอดรหัสก่อนเพื่อที่จะสร้างสารต่อต้าน ให้ถูกชนิดกับเชื้อโรคที่เข้ามา้
-สารภูมิคุ้มกัน (แอนติบอดี) แต่ละชนิดจะมีอายุไม่เท่ากัน บางชนิดก็อยู่ได้ไม่นาน บางชนิดก็อยู่ได้หลายปี บางชนิดก็อยู่ได้ตลอดชีวิต เช่น วัคซีนหัดเยอรมัน ที่คุ้มกันได้ตลอดชีวิต