470 likes | 786 Views
เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างองค์กร เครือข่ายที่ทำงานพัฒนาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ 8/12/56 ณ ม.อ.ปัตตานี. ประเด็น การศึกษา ศาสนา วัฒนธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดย อับดุลสุโก ดินอะ กรรมการสภาประชาสังคมชายแดนใต้. การศึกษาไทย. ( 1) การศึกษาในระบบ (2) การศึกษานอกระบบ
E N D
เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างองค์กร เครือข่ายที่ทำงานพัฒนาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ 8/12/56 ณ ม.อ.ปัตตานี ประเด็น การศึกษา ศาสนา วัฒนธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดย อับดุลสุโก ดินอะ กรรมการสภาประชาสังคมชายแดนใต้
การศึกษาไทย (1) การศึกษาในระบบ (2) การศึกษานอกระบบ (3) การศึกษาตามอัธยาศัย
การจัดศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้การจัดศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (1) การศึกษาในระบบ (2) การศึกษานอกระบบ (3) การศึกษาตามอัธยาศัย
การศึกษาในระบบ • 5 ประเภท • 1.1 สถานศึกษาก่อนและขั้นพื้นฐาน ( อนุบาล- มัธยมศึกษาปีที่6 ) เป็นของรัฐ 925 แห่งมีนักเรียนทั้งสิ้น 321977 คนส่วนใหญ่เป็นการศึกษาภาคบังคับ( ประถมศึกษาปีที่6) ของเอกชน 172 แห่งแต่เป็นที่น่าสังเกตว่าเป็นโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามที่สอนศาสนาควบคู่สามัญ ถึง126 แห่(ส่วนใหญ่ในระดับมัธยมศึกษา) และที่อยู่ภายใต้องค์กรบริหารส่วนท้องถิ่น 32 แห่ง(เป็นการศึกษาภาคบังคับระดับประถมศึกษาปีที่6เช่นกัน) • 1.2 สถาบันอาชีวศึกษา ของรัฐ 13 แห่งมีนักเรียน 17331 คน และของเอกชน 4 แห่งมีนักเรียน 2325 คน • 1.3 วิทยาลัยชุมชน 3 แห่งนักเรียน 4024 คน • 1.4 สถาบันอุดมศึกษา 4 แห่ง มีนักศึกษา ทั้งสิ้น 15424 คน • 1.5 โรงเรียนพระปริยัติธรรม แบ่งออกเป็นแผนกสามัญศึกษา 2 แห่งมีผู้เรียน 101 คน แผนกธรรม 43 แห่งมีผู้เรียน 596 คนและแผนกบาลี 4 แห่งมีผู้เรียน 57 คน
5 ประเภท 1.1 สถานศึกษาก่อนและขั้นพื้นฐาน ( อนุบาล- มัธยมศึกษาปีที่6 ) เป็นของรัฐ 925 แห่งมีนักเรียนทั้งสิ้น 321977 คนส่วนใหญ่เป็นการศึกษาภาคบังคับ( ประถมศึกษาปีที่6) ของเอกชน 172 แห่งแต่เป็นที่น่าสังเกตว่าเป็นโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามที่สอนศาสนาควบคู่สามัญ ถึง126 แห่(ส่วนใหญ่ในระดับมัธยมศึกษา) และที่อยู่ภายใต้องค์กรบริหารส่วนท้องถิ่น 32 แห่ง(เป็นการศึกษาภาคบังคับระดับประถมศึกษาปีที่6เช่นกัน) • 1.2 สถาบันอาชีวศึกษา ของรัฐ 13 แห่งมีนักเรียน 17331 คน และของเอกชน 4 แห่งมีนักเรียน 2325 คน
1.3วิทยาลัยชุมชน 3 แห่งนักเรียน 4024 คน • 1.4สถาบันอุดมศึกษา 4 แห่ง มีนักศึกษา ทั้งสิ้น 15424 คน
1.5โรงเรียนพระปริยัติธรรม แบ่งออกเป็นแผนกสามัญศึกษา 2 แห่ง แผนกธรรม 43 แห่ง
สถานศึกษานอกระบบ • 2.1 สถาบันศึกษาปอเนาะ 303 แห่ง(ที่จดทะเบียน ) มีผู้เรียนทั้งสิ้นประมาณ 17890 คน (อาจจะมีคนที่เรียนสถานบันในระบบมาอาศัยและเรียนด้วยในเวลาว่างจากการเรียนในระบบและคนที่ทำงานแล้วเรียนด้วยหลังจากเวลาทำงาน) • 2.2 ศูนย์อบรมศาสนาอิสลามประจำมัสยิดสำหรับผู้ใหญ่และศูนย์ อบรมศาสนาอิสลามประจำมัสยิดสำหรับเด็กเรียกว่าตาดีกา 1605 แห่ง มีนักเรียนทั้งสิ้น 168242 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักเรียนประถมศึกษาของรัฐ และศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์แระจำมัสยิด 130 แห่ง มีนักเรียน 7428 คน และศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 238 แห่งมีนักเรียน 9478 คน • 2.3 ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ 6 แห่ง มีนักเรียน 1216 คน • 2.4 ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียน มี 36 แห่งมีนักเรียน 112194 คน • 2.5 ศูนย์การเรียนอัลกุรอานตามบ้านของปราชญ์อัลกุรอานและ • ศูนย์ท่องจำอัลกุรอาน
2.1สถาบันศึกษาปอเนาะ มากว่า 303 แห่ง(ที่จดทะเบียน ) มีผู้เรียนทั้งสิ้นประมาณ 17890 คน (อาจจะมีคนที่เรียนสถานบันในระบบมาอาศัยและเรียนด้วยในเวลาว่างจากการเรียนในระบบและคนที่ทำงานแล้วเรียนด้วยหลังจากเวลาทำงาน)
2.2ศูนย์อบรมศาสนาอิสลามประจำมัสยิดสำหรับผู้ใหญ่และศูนย์ อบรมศาสนาอิสลามประจำมัสยิดสำหรับเด็กเรียกว่าตาดีกา 1605 แห่ง มีนักเรียนทั้งสิ้น 168242 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักเรียนประถมศึกษาของรัฐ และศุนย์อบรมเด็ก่อนเกณฑ์และประจำมัสยิด 130 แห่ง มีนักเรียน 7428 คน และศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 238 แห่งมีนักเรียน 9478 คน
2.3ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ 6 แห่ง มีนักเรียน 1216 คน • 2.4 ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียน มี 36 แห่งมีนักเรียน 112194 คน • 2.5ศูนย์การเรียนอัลกุรอานตามบ้านของปราชญ์อัลกุรอานและศูนย์ท่องจำอัลกุรอาน
การศึกษาตามอัธยาศัย • ด้านศาสนาอิสลามสำหรับเยาวชนและผู้ใหญ่ตามมัสยิดต่างๆ โดยเฉพาะมัสยิดกลางทั้งสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ มัสยิดเราะห์มานียะห์บ้านบราโอ อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานีซึ่งดำเนินการสอนโดยปราชญ์ด้านศาสนาอิสลามที่มีชื่อเสียงคือ ชัยค์อีสมาอีล ดาอีละ(อิสมาแอ เสอร์ปัญยัง)และชัยค์ ดร. อิสมาอีลลุตฟี จะปะกียา โดยมีผู้เข้าฟังไม่ต่ำกว่า ห้าพันคนทุกสัปดาห์ และดำเนินการสอนกว่า สามสิบปี
8 นโยบายรมตจาตุรนต์ • 1. เร่งปฏิรูปการเรียนรู้ทั้งระบบให้สัมพันธ์เชื่อมโยงกัน • การที่จะดำเนินการในเรื่องเหล่านี้ทั้งระบบ ต้องมีแนวทางดำเนินการดังนี้ • -ต้องเร่งรัดและสานต่อเรื่องปฏิรูปหลักสูตรให้ก้าวหน้าและให้แล้วเสร็จโดยจะส่งเสริมการมีส่วนร่วมจากผู้เชี่ยวชาญและผู้ที่เกี่ยวข้องมากขึ้น เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะชีวิตที่เหมาะสมทุกระดับชั้นการศึกษา
- พัฒนากระบวนการเรียนการสอนในปัจจุบันและเพื่อรองรับหลักสูตรใหม่เพื่อให้ผู้เรียนสามารถคิด วิเคราะห์ แก้ปัญหา และเรียนรู้ได้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง มีผลสัมฤทธิ์สูงขึ้น สอดคล้องกับการเรียนรู้ในโลกยุคใหม่ โดยจะเริ่มจากวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี ภาษาต่างประเทศ และการคิดวิเคราะห์
- พัฒนาระบบทดสอบ วัดและประเมินผลทั้งภายในและภายนอกให้เป็นเครื่องมือส่งเสริมการปฏิรูปการเรียนรู้และการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้มีมาตรฐานเทียบเคียงได้กับนานาชาติ โดยเชื่อมโยงกับเนื้อหาสาระในหลักสูตรกับการเรียนการสอน รวมทั้งพัฒนาระบบการคัดเลือกบุคคลให้เข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา ให้สอดคล้องกับการปฏิรูปการเรียนการสอนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2. ปฏิรูประบบผลิตและพัฒนาครู2. ปฏิรูประบบผลิตและพัฒนาครู • ให้มีจำนวนการผลิตที่สอดคล้องกับความต้องการมีความรู้ ความสามารถในการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรปัจจุบัน รองรับหลักสูตรใหม่ และการเรียนรู้ในโลกยุคใหม่ รวมทั้งพัฒนาระบบประเมินวิทยฐานะครูให้เชื่อมโยงกับผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน ดูแลระบบสวัสดิการ และลดปัญหาที่บั่นทอนขวัญกำลังใจของครู ให้ส่งผลต่อประสิทธิภาพการเรียนการสอนและคุณภาพผู้เรียน
3. เร่งนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มาใช้ในการปฏิรูปการเรียนรู้ • สร้างมาตรฐานการเรียนการสอนด้วยคอมพิวเตอร์แบบพกพา (แท็บเล็ต) และพัฒนาเนื้อหาสาระ พัฒนาครู และการวัดประเมินผลที่ได้มาตรฐาน รวมทั้งเพื่อเป็นเครื่องมือให้เกิดระบบการเรียนรู้ตลอดชีวิตในสังคมไทยทั้งนี้ แท็บเล็ตเป็นเรื่องสำคัญหนึ่งในนโยบายการศึกษาของรัฐบาล ที่ผ่านมาเรามักจะเน้นเฉพาะการจัดให้เด็กได้มีแท็บเล็ต ซึ่งเป็นรายละเอียดว่าเด็กจะได้เมื่อไร จำนวนเท่าไร คืบหน้าไปแล้วอย่างไร
หรือมีเนื้อหากี่รายกี่ชิ้นแต่เรื่องใหญ่กว่าที่จะต้องเร่งพัฒนา คือ "เนื้อหาสาระ"เพื่อจะให้มีทั้งเนื้อหาที่ควรรู้ รูปแบบของแบบทดสอบ แบบฝึกหัด เทคนิค นวัตกรรมใหม่ๆ ที่ให้เด็กใช้กับแท็บเล็ต เพื่อทำให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพ ได้ผลจริง เด็กได้รับผลที่ดีในการใช้งานดีกว่าไม่ใช้แท็บเล็ต ที่ต้องโยงไปกับการเรียนรู้ในโลกยุคใหม่ที่มีข้อมูลข่าวสารไม่จำกัด ซึ่งหมายถึงจะต้องมีการพัฒนาครู เพื่อให้เข้าใจการสอนที่มีเนื้อหาสาระแบบนี้ เพราะในโลกยุคใหม่
ที่มีข้อมูลข่าวสารไม่จำกัด ซึ่งหมายถึงจะต้องมีการพัฒนาครู เพื่อให้เข้าใจการสอนที่มีเนื้อหาสาระแบบนี้ เพราะในโลกยุคใหม่ เราไม่สามารถสอนแบบเดิม เช่น ให้เด็กค้นหาว่าคำนี้แปลว่าอะไร เด็กก็ไปค้นหาในเวลาไม่นาน ก็สามารถตอบได้ แต่จะทำอย่างไรให้การสอนที่ส่งเสริมให้เด็กได้รู้จักค้นหา คิด วิเคราะห์ ทำความเข้าใจ และสามารถตั้งคำถามได้เอง ฯลฯ
4. พัฒนาคุณภาพการอาชีวศึกษาให้มีมาตรฐานเทียบได้กับระดับสากล ให้สอดคล้อง? • โดยผลักดันให้เกิดการใช้กรอบคุณวุฒิวิชาชีพตามกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ มาใช้กำหนดทักษะความรู้ความสามารถที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้ ผู้มีงานทำ เพื่อให้เกิดความก้าวหน้าได้รับค่าตอบแทนตามสมรรถนะที่เพิ่มขึ้น โดยไม่ขึ้นกับวุฒิการศึกษาทั้งแบบอนุปริญญาหรือปริญญา
. ส่งเสริมให้สถาบันอุดมศึกษาเร่งพัฒนาคุณภาพและมาตรฐาน มากกว่าการขยายเชิงปริมาณ • ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยี โดยให้มีการจัดอันดับสถาบันอุดมศึกษาของไทย เพื่อเป็นแนวทางพัฒนาคุณภาพ มาตรฐาน และจัดสรรทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งพัฒนาสู่การเป็นมหาวิทยาลัยระดับโลก (World Class University) ให้มากขึ้น
6. ส่งเสริมให้เอกชนและทุกภาคส่วนเข้ามาร่วมจัดและสนับสนุนการศึกษามากขึ้น6. ส่งเสริมให้เอกชนและทุกภาคส่วนเข้ามาร่วมจัดและสนับสนุนการศึกษามากขึ้น • สนับสนุนความร่วมมือแบบเป็นหุ้นส่วนทางการศึกษารัฐและเอกชน (Public Private Partnership) ตลอดจนเปิดโอกาสให้เอกชนมีส่วนร่วมในการออกแบบหลักสูตร เป็นวิทยากร สนับสนุนการฝึกงานและเรียนรู้การทำงานจริงในสถานที่ทำงาน เท่านั้นไม่ควรมุ่งกำกับควบคุมหรือห้ามเอกชน
7. เพิ่มและกระจายโอกาสทางการศึกษาอย่างมีคุณภาพ7. เพิ่มและกระจายโอกาสทางการศึกษาอย่างมีคุณภาพ • เพื่อให้ประชาชนทุกกลุ่มอายุได้รับบริการการศึกษาอย่างมีคุณภาพ โดยเฉพาะผู้ด้อยโอกาส และการพัฒนากองทุนเงินกู้ยืมที่ผูกกับรายได้ในอนาคต (ICL) ให้สามารถเป็นกลไกในการพัฒนาคุณภาพ เพิ่มโอกาสและผลิตบัณฑิตให้สอดคล้องกับความต้องการของประเทศ โดยขอให้ดำเนินการให้เป็นไปตามแนวคิดของกองทุน ICL ตามที่ได้ก่อตั้งหรือริเริ่มขึ้นมาซึ่งต้องอาศัยผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้สนใจที่เคยดำเนินการ เข้ามาช่วยดำเนินการอย่างจริงจัง
8. พัฒนาการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้8. พัฒนาการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ • ด้วยการสนับสนุนและพัฒนาการศึกษาและสถานศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้สอดคล้องกับเศรษฐกิจ สังคมอัตลักษณ์ และความต้องการประชาชนในท้องถิ่นโดยให้ความสำคัญกับความปลอดภัย การสร้างขวัญกำลังใจให้กับนักเรียน ครู และบุคลากร
จากข้อเสนอข้อที่8ข้อเสนอแนะจากการจัดเวทีสภาประชาสังคมชายแดนใต้ ปี2555 1สามหลักคิดคือหรือสามองค์ประกอบคือ 1.1บูรณาการการศึกษา การศึกษาเพื่อ 1.2ศีลธรรม 1.3การศึกษาเพื่อพหุวัฒนธรรม (IntegrationalEducation, MoralCharacter, andMulticulturalism)
2 บูรณาการการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ 3 สร้างความเข้มแข็งเชิงคุณภาพด้านวิชาการ 4 การสร้างและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน
ข้อเสนอผู้เขียน ปรับปรุงทางเลือกโครงสร้างการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดังนี้ --ประถมศึกษาปีที่1-3 ศึกษา 2 วิชาหลัก หนึ่งภาษา (ภาษาไทยและภาษาแม่) สองคณิตศาสตร์ สาระเพิ่มเติมศาสนศึกษาศึกษาและคัมภีร์ของแต่ละศาสนา ระดับ ประถม4-6 เริ่มเพิ่มสาระทั้ง8 สาระสามัญ มัธยมศึกษาปีที่1-6 ให้นักเรียนเลือกเรียนตามถนัดไม่ว่าศาสนา สามัญ อาชีพ
สำหรับการศึกษาในสถาบันปอเนาะและศูนย์ฮาฟิซจนถึงหลักสูตรอาลิมให้รัฐหนุนเสริมโดยไม่แทรกแทรงพร้อมทั้งให้ประกาศนียบัตรเฉพาะผู้ที่ต้องการเท่านั้น โดยกำหนดสาระวิชาที่จะวัดประเมินผล
ข้อเสนอการจัดการศึกษาในระดับอุดมศีกษา( ผศ.ดร. จารุวัจน์ สองเมือง) • การให้การสนับสนุนด้านการประสิทธิภาพในการจัดการจัดศึกษาในระดับอุดมศึกษา โดยการสนับสนุนโครงการวิจัยเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอน โครงงานสำหรับนักศึกษา ตลอดจนการสร้างโอกาสเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของนักศึกษาระหว่างสถาบัน • เสริมสร้างบทบาทของมหาวิทยาลัยโดยเฉพาะในด้านศึกษาศาสตร์และอิสลามศึกษาในการร่วมพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษาระดับต่างๆ ในพื้นที่ เพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาโดยรวม ตลอดจนการสร้างโอกาสทางการศึกษาในระดับอุดมศึกษาให้กับเยาวชนในพื้นที่ • การสนับสนุนงบประมาณสำหรับการวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้สำหรับอาจารย์ นักวิจัยในสถาบันอุดมศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ในการพัฒนาองค์ความรู้และนวัตกรรมที่เชื่อมโยงกับวิถีของชุมชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืน
การสร้างองค์กรหรือเครือข่ายเชื่อมโยงอาจารย์ นักวิชาการด้านอิสลามศึกษาเพื่อพัฒนาองค์ความรู้และการให้ข้อเสนอแนะด้านศาสนาและวัฒนธรรมเพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติให้กับองค์กรรัฐ หน่วยงานเอกชนและประชาชน • การจัดสรรทุนการศึกษาในระดับปริญญาเอกสำหรับผู้มีศักยภาพในพื้นที่เพื่อสร้างโอกาสในการร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชนในพื้นที่ • การส่งเสริมการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาในพื้นที่สู่การเป็นสถาบันที่มีความเชี่ยวชาญด้านการจัดการศึกษาอิสลาม การบูรณาการอิสลามและพหุวัฒนธรรม
ผลการประชุมในเวทีคณะกรรมการประจำที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิรองนายกรัฐมนตรีผลการประชุมในเวทีคณะกรรมการประจำที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิรองนายกรัฐมนตรี • 1. การส่งเสริมตาดีกา1.1. เงินอุดหนุนพิเศษปัจจัยพื้นฐานสำหรับนักเรียนศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิดต่อหัวต่อปี จำนวน 600 บาท • 1.2. จ่ายค่าตอบแทนให้กับครูตาดีกาเป็นรายคาบ คาบละ 150 บาท เฉลี่ยเดือนละ 4,000 บาท
2. การส่งเสริมปอเนาะ2.1. เสนอให้เพิ่มค่าตอบแทนโต๊ะครูปอเนาะ จาก 2,000 บาท ต่อเดือนเป็น 5,000 บาท2.2. เสนอให้เพิ่มค่าตอบแทนผู้ช่วยโต๊ะครูปอเนาะ จาก 2,000 บา ต่อเดือนเป็น 3,000 บาท2.3. เสนอให้อนุญาตนักศึกษาจากต่างประเทศเข้ามาเรียนในปอเนาะได้2.4. เสนอแก้ไขระเบียบ/คู่มือ การจดทะเบียนสถาบันปอเนาะ โต๊ะครูไม่ต้องจบการศึกษาระดับปริญญาตรี
3. การส่งเสริมโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม3.1. เสนอให้จัดเงินอุดหนุนรายบุคคลนักเรียนหลักสูตรอิสลามก. อิบติดาอียะห์ เงินเดือนครู 11,680 บาท อัตราอุดหนุน/ปี/คน 1,962.24 บาทข. มุตะวัสสิเฏาะฮ์ เงินเดือนครู 11,680 บาท อัตราอุดหนุน/ปี/คน 2,920.00 บาทค. ซานาวียะห์ เงินเดือนครู 11,680 บาท อัตราอุดหนุน/ปี/คน 3,796.00 บาท3.2. เสนอให้กระทรวงศึกษาธิการรับรองประกาศนียบัตรหลักสูตรอิสลามศึกษาทุกระดับ
สองและสามประเด็น ศาสนา วัฒนธรรม • ให้กระทรวงมหาดไทยร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้จัดระเบียบสังคมให้สอดคล้องตามหลักการศาสนา โดยกำหนดให้เป็นพื้นที่ปลอด ยาเสพย์ติดและแหล่งอบายมุข
กำหนดให้วันรายออีดิลฟิตรี (วันตรุษละศีลอด ตรงกับวันที่ 1เดือนเชาวาลตามปฏิทินอิสลาม) วันรายออีดิลออัฏฮา (วันตรุษเชือดสัตว์พลีเนื่องในพิธีฮัจย์ ซึ่งตรงกับวันที่ 10 เดือนซุลฮิจญะฮ์ตามปฏิทินอิสลาม) และวันขึ้นปีใหม่ของอิสลามเป็นวันหยุดราชการในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้
ให้วันศุกร์หรือวันใดวันหนึ่งในหนึ่งสัปดาห์เป็นวันที่งดเว้นจากการซื้อขายสุรา และให้สถานบันเทิงหยุดบริการ ในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทั้งนี้ให้เป็นไปโดยความสมัครใจ และสอดคล้องกับบริบทของแต่ละพื้นที่
ให้กระทรวงหรือหน่วยงานต้นสังกัดอนุญาตอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรให้มุสลิมได้รับการยกเว้นในการเข้าร่วมพิธีกรรม หรือกิจกรรมต่างๆที่เกี่ยวข้องกับศาสนาอื่น ตามความเหมาะสมของบริบทในพื้นที่นั้นๆ
ให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงสาธารณสุขร่วมกับคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เสริมสร้างสถาบันครอบครัวให้เข้มแข็ง โดยจัดให้มีหลักสูตรเพื่อเตรียมความพร้อมในการใช้ชีวิตคู่ และเข้าใจถึงสิทธิของสามีภรรยา การอบรมเลี้ยงดูบุตรตามหลักการศาสนา กองทุนครอบครัว รวมถึงการตรวจสุขภาพและการดูแลสุขภาพของครอบครัว
ให้กรมประชาสัมพันธ์ร่วมกับกระทรวงวัฒนธรรมจัดให้มีรายการโทรทัศน์ วิทยุ สำหรับการเสริมสร้างสถาบันครอบครัวเป็นการเฉพาะ
ให้รัฐออกกฎหมายอนุญาตให้มีกองทุนประกันภัยที่สอดคล้องกับหลักการศาสนา และจัดให้มีกองทุนซะกาต (กองทุนที่เป็นเงินหรือทรัพย์สินอย่างอื่นที่ศาสนาอิสลามกำหนดให้มุสลิมร่วมจ่ายในอัตราที่กำหนดเมื่อครบรอบปี) เป็นสวัสดิการสังคมโดยมีกฎหมายรองรับ
ให้กระทรวงวัฒนธรรมจัดให้มีสถาบันพัฒนาผู้นำศาสนาในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้
ให้มีศูนย์วัฒนธรรม ภาษามลายูและวรรณกรรมปัตตานี/ภาษาใต้ (ผู้เขียน) ซึ่งครอบคลุมห้าจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมีหน้าที่ ส่งเสริม สนับสนุนให้มีการใช้ภาษามลายูปัตตานี ตลอดจนมีการตรวจสอบการใช้ภาษามลายูปัตตานีให้มีความถูกต้อง
ให้มีการจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาสื่อมวลชนในท้องถิ่น โดยเน้นเรื่องเนื้อหา การใช้ภาษามลายูปัตตานี/ใต้/จีน (ผู้เขียน) และการมีส่วนร่วมของท้องถิ่น รวมทั้งการใช้สื่อมวลชนเพื่อให้มีการสื่อสารความจริงที่น่าเชื่อถือ