90 likes | 209 Views
700 207 Immunology. วิทยาภูมิคุ้มกัน. อ.พิเชษฐ ศรีบุญยงค์. นายสัตวแพทย์ยันต์ สุขวงศ์. ระบบภูมิคุ้มกัน. คำว่า Immune มาจากภาษาลาติน ซึ่งแปลว่า ปลอดจากภาษีหรือปลอดจากภาระ สมัยก่อนได้ถูกนำไปใช้ โดยหมายความถึงความต้านทานในตัวบุคคลที่จะไม่เป็นโรคซ้ำจากเชื้อโรคตัวเดิม.
E N D
700 207 Immunology วิทยาภูมิคุ้มกัน อ.พิเชษฐ ศรีบุญยงค์ นายสัตวแพทย์ยันต์ สุขวงศ์
ระบบภูมิคุ้มกัน คำว่า Immune มาจากภาษาลาติน ซึ่งแปลว่า ปลอดจากภาษีหรือปลอดจากภาระ สมัยก่อนได้ถูกนำไปใช้ โดยหมายความถึงความต้านทานในตัวบุคคลที่จะไม่เป็นโรคซ้ำจากเชื้อโรคตัวเดิม
แต่ความหมายที่ถูกต้องในปัจจุบัน หมายถึง กลไกตามธรรมชาติที่ทำให้ร่างกายสามารถจำสิ่งแปลกปลอมได้และพยายามกำจัดสิ่งแปลกปลอมนั้นออกด้วยวิธีต่างๆ ซึ่งมีผลทำให้เกิดหรือไม่เกิดอันตรายต่อเนื้อเยื่อตนเอง
ส่วนประกอบของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายส่วนประกอบของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย 1. อวัยวะ ที่ทำหน้าที่ของระบบภูมิคุ้มกัน ได้แก่ ไขกระดูก ธัยมัส ตับ ม้าม และต่อมน้ำเหลือง 2. เซลล์ ที่ทำหน้าที่ของระบบภูมิคุ้มกัน ได้แก่ เซลล์เม็ดเลือดขาวทุกชนิด ซึ่งได้แก่ ลิมโฟซัยท์ โมโนซัยท์/มาโครฟาจ นิวโทรฟิล อีโอซิโนฟิล เบโซฟิล และมาสท์เซลล์
3. สารน้ำของระบบภูมิคุ้มกันที่ทำหน้าที่โดยตรงต่อเซลล์เป้าหมาย ได้แก่ แอนติบอดี้ (อิมมูโนโกลบูลิน) และคอมพลีเมนต์ ส่วนสารน้ำโมโนไคน์ซึ่งหลั่งจากโมโนซัยท์/มาโครฟาจ ( เช่น IL-1 ฯลฯ )
และสารน้ำลิมโฟไคน์ซึ่งหลั่งจากลิมโฟซัยท์ ( เช่น IL-2 , IL-3 ฯลฯ ) ไม่ได้ทำหน้าที่โดยตรงต่อเซลล์เป้าหมาย แต่มีบทบาทสำคัญในการช่วยส่งเสริมการทำงานของเซลล์ต่างๆของระบบภูมิคุ้มกัน
หน้าที่โดยสังเขปของระบบภูมิคุ้มกันหน้าที่โดยสังเขปของระบบภูมิคุ้มกัน แบ่งออกได้เป็น 3 อย่างคือ 1. Defense เพื่อป้องกันร่างกายและเพิ่มความต้านทานของร่างกายต่อสิ่งแปลกปลอมภายนอก กลไกนี้อาจก่อให้เกิดผลร้ายต่อร่างกายได้ เช่น เกิดภาวะภูมิไวเกิน ( Hypersensitivity ) และหากเกิดความบกพร่องของกลไกนี้จะทำให้ความต้านทานของร่างกายลดลง
2. Homeostasis เพื่อกำจัดเซลล์ปกติของร่างกายที่ใช้งานไม่ได้แล้ว เช่น คอยทำลายเซลล์เนื้อเยื่อ เซลล์เม็ดเลือดที่อายุมาก ความผิดปกติของกลไกนี้จะทำให้เกิดโรคออโตอิมมูน
3. Surveillance เพื่อคอยจับตาดูการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ต่างๆในร่างกาย และคอยกำจัดเซลล์ที่มีการเปลี่ยนแปลงผิดไปจากปกติ เช่น ทำลายเซลล์เนื้องอก ถ้ามีความบกพร่องของกลไกนี้ จะทำให้เกิดโรคมะเร็ง