1 / 19

gulf.co.th/gulfjp/EN/news/news-monitors-detail.php?id=2116

นโยบายพลังงานทดแทน-ปตท.และก๊าซ CBG. ประเทศไทยพบก๊าซบนดิน CBG จำนวนมหาศาลทั่วทุกภาคของประเทศ ก๊าซ CBG นี้สามารถผลิตขึ้นจากวัตถุดิบภายในประเทศ จากฟาร์มของเกษตรกร แต่การผลิตก๊าซ CBG ที่สามารถใช้ทดแทนก๊าซ NGV นี้ปัจจุบันยังไม่ได้รับการสนับสนุนและส่งเสริมจากรัฐบาล

lanai
Download Presentation

gulf.co.th/gulfjp/EN/news/news-monitors-detail.php?id=2116

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. นโยบายพลังงานทดแทน-ปตท.และก๊าซ CBG ประเทศไทยพบก๊าซบนดินCBG จำนวนมหาศาลทั่วทุกภาคของประเทศ ก๊าซCBG นี้สามารถผลิตขึ้นจากวัตถุดิบภายในประเทศ จากฟาร์มของเกษตรกร แต่การผลิตก๊าซCBGที่สามารถใช้ทดแทนก๊าซNGVนี้ปัจจุบันยังไม่ได้รับการสนับสนุนและส่งเสริมจากรัฐบาล ที่มากพอ และเป็นที่น่าเสียดายว่างบลงทุนปตท.มูลค่าล้านล้านบาทต้องไปลงทุนต่างประเทศแทนที่จะลงทุนในประเทศไทยซึ่งจะทำให้เกิด การจ้างงานและการกระจายรายได้ทั่วประเทศ ปตท.ลงทุน3.3ล้านล้านตามแผน10ปีเน้นต่างประเทศหาแหล่งพลังงานก๊าซ-ถ่านหินSource - โพสต์ ทูเดย์ (Th)Thursday, July 21, 2011  02:18โพสต์ทูเดย์ - ปตท.กางแผน 10 ปี ลงทุน 3.3 ล้านล้านบาท กว่าครึ่งไปต่างประเทศ ซื้อแหล่งเชื้อเพลิงหวังรายได้ 6.6 ล้านล้านบาท          นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.เปิดเผยถึงแผนลงทุนในกลุ่ม ปตท.10 ปีข้างหน้า จะใช้เงินกว่า 1 แสนล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 3.3 ล้านล้านบาท โดยตั้งเป้าจะมีรายได้6.6 ล้านล้านบาท จากปัจจุบันที่มีรายได้ 2 ล้านล้านบาท ซึ่งแผนลงทุนกว่าครึ่งของงบทั้งหมดจะไปลงทุนเพื่อหาแหล่งพลังงานในต่างประเทศ ในธุรกิจขุดเจาะสำรวจปิโตรเลียมและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง http://www.gulf.co.th/gulfjp/EN/news/news-monitors-detail.php?id=2116

  2. วันที่ 26 กรกฎาคม 2554 11:35 พลังงานเผยน้ำมันแพงคนแห่ใช้เอ็นจีวียอดพุ่ง35% โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ พลังงานเผยยอดใช้น้ำมันช่วงครึ่งปีแรกเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ระบุดีเซลเพิ่มขึ้น 4 % ระบุน้ำมันแพงคนแห่ใช้เอ็นจีวียอดพุ่ง 35 % นายวีระพล  จิรประดิษฐกุล อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน เปิดเผยว่า การใช้น้ำมันเชื้อเพลิงในช่วงครึ่งปีแรกในปี 2554 พบว่าการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงทุกชนิดเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2553 โดยกลุ่มน้ำมันเบนซินเพิ่มขึ้น 2 % จาก 20.1 ล้านลิตรต่อวัน เป็น 20.4 ล้านลิตรต่อวัน น้ำมันดีเซลเพิ่มขึ้น 4% จาก 52.2 ล้านลิตรต่อวันเป็น 54 .1 ล้านลิตรต่อวัน ส่วนการใช้เอ็นจีวีเพิ่มขึ้นถึง 35 % จาก 4.7 ล้านกิโลกรัมต่อวัน เป็น 6.3 ล้านกิโลกรัมต่อวัน ขณะที่ปริมาณการใช้แอลพีจีเพิ่มขึ้น 24% จาก 143,000 ตันต่อวัน เป็น 178,000 ตันต่อวัน สาเหตุมาจากราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น ผู้บริโภคจึงหันไปใช้พลังงานทดแทนมากขึ้น

  3. PTTคาดเริ่มขาย NGV ผลิตจากก๊าซ CBG ได้ต้นปี 55 นายไกรฤทธิ์ นิลคูหา อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน  กระทรวงพลังงาน เป็นประธานในพิธีลงนามสัญญาซื้อขายก๊าซชีวภาพอัด ที่ได้จากมูลสัตว์และน้ำเสียจากฟาร์มสุกร ที่ผ่านการปรับปรุงคุณภาพและเพิ่มความดัน เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิง NGV สำหรับรถยนต์  ระหว่าง บมจ.ปตท.(PTT) และ บมจ. ยูนิเวอร์แซล แอดซอร์บเบ้นท์ แอนด์ เคมิคัลส์(UAC) ทั้งนี้ คาดว่า ปตท.จะเริ่มจำหน่ายก๊าซ NGV จากก๊าซชีวภาพอัดเชิงพาณิชย์ได้ในช่วงต้นปี 2555  ด้วยความสามารถจ่ายก๊าซฯ ประมาณ 6 ตันต่อวัน เทียบเท่ากับเติมรถขนาดเล็กได้ 500 คันต่อวัน เติมรถขนส่งขนาดใหญ่ได้ 40 คันต่อวัน ซึ่งสามารถทดแทนการนำเข้าน้ำมันดีเซลได้ประมาณปีละ 2.2 ล้านลิตร หรือ ก๊าซหุงต้ม (LPG) ประมาณปีละ 1.6 ล้านตัน ช่วยประหยัดเงินตราต่างประเทศได้กว่า 21 ล้านบาทต่อปี http://www.ryt9.com/s/iq10/1133309

  4. ก๊าซชีวภาพจากต้นข้าวโพด-มันสำปะหลังก๊าซชีวภาพจากต้นข้าวโพด-มันสำปะหลัง สถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงาน (สวพ.) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กระทรวงพลังงาน ได้ดำเนินโครงการผลิตก๊าซชีวภาพจากผลผลิตทางการเกษตร โดยทำการศึกษาวิจัยและพัฒนาระบบผลิตก๊าซชีวภาพ (biogas) จากผลิตผลทางการเกษตร คือ มันสำปะหลัง และ ต้นข้าวโพด ซึ่งเป็นพืชที่มีศักยภาพในการผลิตก๊าซชีวภาพและมีการปลูกกันอย่างแพร่หลายภายในประเทศ พบว่า มันสำปะหลังพันธุ์ระยอง 5 ที่ใช้ในการทดลองปริมาณ 1 ตัน จะสามารถผลิตก๊าซชีวภาพได้ สูงสุดประมาณ 300 ลูกบาศก์เมตร ซึ่งใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าได้ประมาณ 420 หน่วย หรือ ทดแทนน้ำมันเตาได้ ประมาณ 165 ลิตร หรือ ทดแทนก๊าซ LPG ได้ประมาณ 138  กิโลกรัม ขณะที่ต้นข้าวโพดสดพันธุ์ 271 และพันธุ์ CP ที่ใช้ในการทดลองปริมาณ 1 ตันจะสามารถผลิตก๊าซชีวภาพได้ สูงสุดประมาณ 50 ลูกบาศก์เมตร ซึ่งใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าได้ประมาณ 70 หน่วย หรือ ทดแทนน้ำมันเตาได้ 28 ลิตร หรือ ทดแทนก๊าซ LPG ได้ประมาณ 23 กิโลกรัม http://www.classifiedthai.com/content.php?article=10511

  5. PTT เตรียมทำหนังสือถึงก.พลังงานในพ.ค.นี้ขอขึ้นเพดานราคาขายก๊าซ NGV ข่าวหุ้น-การเงิน สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พุธที่ 20 เมษายน 2554 ปัจจุบัน PTT ต้องอุดหนุนค่าก๊าซกว่า 4.50 บาท/ก.ก.แม้ว่าจะได้รับการอุดหนุนจากภาครัฐแล้ว โดยปี 54 คาดว่าจะแบกรับภาระการอุดหนุน NGV เกือบ 1 หมื่นล้านบาท จากปีก่อน 7.3 พันล้านบาท และในอนาคตปริมาณการใช้ NGV และราคาในตลาดโลกมีทิศทางปรับเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง หากไม่มีการแก้ปัญหา ก็จะกลายเป็นปัญหาต่อ PTT อย่างมากในอนาคต  และอาจจะถูกฟ้องร้องจากผู้ถือหุ้น ขณะนี้ราคาขายก๊าซ NGV หน้าปั๊มอยู่ที่ 8.50 บาท/ก.ก.ขณะที่ต้นทุนอยู่ที่ 14-15 บาท/ก.ก. แม้ว่ารัฐจะอุดหนุน 2 บาท/ก.ก. ก็ยังไม่เพียงพอ บริษัทยังคงขาดทุน และในช่วงเดือน มิ.ย.การอุดหนุนก็จะสิ้นสุดลง ซึ่งจะก่อให้เกิดปัญหาต่อ PTT ยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องเร่งแก้ปัญหาในช่วงนี้ http://www.ryt9.com/s/iq05/1132657

  6. ประเทศไทยใช้ก๊าซธรรมชาติผลิตพลังงานไฟฟ้าซึ่งมีความเสี่ยงเนื่องจากก๊าซในอ่าวไทยกำลังจะหมดลงประเทศไทยใช้ก๊าซธรรมชาติผลิตพลังงานไฟฟ้าซึ่งมีความเสี่ยงเนื่องจากก๊าซในอ่าวไทยกำลังจะหมดลง

  7. ก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย • ปี 2553 ไทยผลิตก๊าซธรรมชาติได้ในปริมาณเฉลี่ย 3,200 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน คิดเป็นมูลค่า 205,000 ล้านบาท และนำเข้าก๊าซฯ จากพม่าในปริมาณเฉลี่ย 550 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน คิดเป็นมูลค่าถึง 84,000 ล้านบาท • ปริมาณสำรองก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย และ JDA มีปริมาณรวม 23 ล้านลูกบาศก์ฟุต หากปี 2555 เศรษฐกิจมีการขยายตัว จะส่งผลให้ความต้องการใช้ก๊าซเพิ่มขึ้นเป็น 5.0 พันล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน หรือ 1.55 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อปี ก๊าซฯ ในอ่าวไทยจะหมดลงใน 15 ปี เท่านั้น

  8. รายได้เกษตรกรจากการปลูกพืชเศรษฐกิจโดยทั่วไปมีกำไรค่อนข้างต่ำเนื่องจากต้นทุนสูงทำให้เกษตรกรยากจนและมีหนี้สิน กรณีส่งเสริมการปลูกหญ้าพลังงานเป็นวัตถุดิบผลิตก๊าซCBGจะทำให้เกษตรกรมีรายได้มากขึ้นและหลุดพ้นหนี้สิน โครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการปลูกไม้โตเร็วเพื่อเป็นพลังงานชีวมวล โดย ดร.วีรชัย อาจหาญ

  9. ประเทศไทยยังไม่มีวีรบุรุษพลังงานสีเขียวเหมือนประเทศเยอรมันประเทศไทยยังไม่มีวีรบุรุษพลังงานสีเขียวเหมือนประเทศเยอรมัน วีรบุรุษแห่งศตวรรษสีเขียว (ที่คนไทยไม่รู้จัก) : แฮร์มันน์ เชียร์ โดย ประสาท มีแต้ม 30 มกราคม 2554 “ปัญหาอยู่ที่การเมือง ไม่ใช่ปัญหาเชิงเทคนิคหรือเศรษฐศาสตร์” คำพูดดังกล่าวเป็นของ ดร.แฮร์มันน์ เชียร์ (Dr. Hermann Scheer) ซึ่งเป็นสมาชิกรัฐสภาของประเทศเยอรมนีนาน 30 ปี เขาศึกษามาทางเศรษฐศาสตร์              เรื่องเทคโนโลยี ไม่ว่าจะเป็นโรงไฟฟ้าชีวมวล หรือกังหันลม รวมทั้งอื่นๆ ไม่ใช่ปัญหาในเชิงเทคโนโลยีการผลิต อาจจะมีต้นทุนการผลิตสูงก็จริง แต่ถ้ามีการใช้กันจำนวนมาก ต้นทุนการผลิตต่อหน่วยก็จะต่ำลง ความเป็นไปได้หรือไม่ได้ของการผลิตไฟฟ้าด้วยเชื้อเพลิงดังกล่าว (เรียกรวมๆ ว่า พลังงานหมุนเวียน) จึงขึ้นอยู่กับมิติทางการเมืองของผู้มีอำนาจตัดสินใจเชิงนโยบายเป็นสำคัญ              หากต้นทุนการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานหมุนเวียนยังคงสูงกว่าพลังงานจากถ่านหิน รัฐบาลก็ต้องมีหน้าที่ชดเชยต้นทุนให้บ้าง เพราะถือว่า (ก) ไม่เป็นพิษต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม (ข) สร้างรายได้ให้กับผู้ขายเชื้อเพลิงในท้องถิ่น และ (ค) สร้างงานจำนวนมาก เป็นต้น โรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนของประเทศเยอรมนี (ผลิตไฟฟ้าได้เท่ากับ 54% ของที่คนไทยใช้) มีการจ้างงานกว่า 3 แสนคน ในขณะที่ของประเทศไทยทั้งหมดมีการจ้างงานเพียง 7-8 หมื่นคนเท่านั้น http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9540000012819

  10. ประเทศไทยไม่ทราบว่ามีใครอยู่เบื้องหลังการผูกขาดพลังงานหรือไม่?ประเทศไทยไม่ทราบว่ามีใครอยู่เบื้องหลังการผูกขาดพลังงานหรือไม่? นโยบายพลังงาน หรือการผูกขาดธุรกิจพลังงาน ถึงพรรคการเมืองจะเขียนนโยบายดีอย่างไร ก็มักจะไม่ทำตามที่เขียน เพราะมีองค์กรที่อยู่เหนือรัฐบาลอีกทอดหนึ่ง นั่นคือพ่อค้าพลังงานอยู่เหนือรัฐบาล เรื่องแผนพัฒนาไฟฟ้า (พีดีพี 2010) ที่ใช้เงินถึง 4.4 ล้านล้านบาท ตลอดปี 2553-2573 ก็เขียนไว้เรียบร้อยแล้ว ว่าจะทำอะไร ปีไหน ด้วยเงินเท่าใด การ์ตูนที่ผมนำมาเสนอถึงจะเป็นของอเมริกา แต่ก็ไม่ต่างจากบ้านเรา พ่อค้าพลังงานเป็นผู้เชิดหุ่นตัวแรก (รองประธานาธิบดี) แล้วหุ่นตัวแรกก็เชิดหุ่นตัวที่สอง (ประธานาธิบดี) ในมือของทั้งสาม (หนึ่งคนกับสองหุ่น) ต่างก็ถือ “นโยบายพลังงาน” เดียวกัน นับเป็นการ์ตูนที่สะท้อนความจริงได้ถึงแก่นและสะใจมาก (ตรวจเลือดดูสุขภาพคน ตรวจ “นโยบายพลังงาน” ดูสุขภาพประเทศ โดยประสาท มีแต้ม) http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9540000077964

  11. พระรักเกียรติ” เปิดวงจรอุบาทว์นักการเมืองไทย เขียนโดย สาธินีย์ วิสุทธาธรรม วันพุธที่ 27 กรกฏาคม 2011 "การไปเลือกตั้งก็เหมือนกับการยกทัพไปรบ ที่ต้องมีการระดมทุน และได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มทุน โดยสมาชิกพรรครับเงินไปหาเสียง เมื่อได้รับชัยชนะ คือ การได้ปกครองประเทศ ใครแพ้ก็ไปเป็นฝ่ายค้าน” พระรักเกียรติ กล่าว และว่า ตนได้ผ่านการใช้ชีวิตมาถึง 3 แบบ คือ  นักปกครอง นักโทษ และนักบวช ได้พบว่า “วงจรอุบาทว์ของนักการเมืองไทย” คือ การเข้ามาเป็นรัฐบาลโดยการเลือกตั้ง แล้วเข้ามาถอนทุนคืน 3 ทางด้วยกัน คือ 1.ถอนทุนคืนตัวเอง 2.ถอนทุนคืนนายทุนที่สนับสนุนให้เข้ามาเป็นรัฐบาล และ 3.ถอนทุนคืนเพื่อทำทุนในสมัยหน้า เป็นสืบทอด รักษาอำนาจไว้ให้ต่อเนื่อง ดังนั้น จึงไม่แปลก การเมืองไทยจะอยู่ควบคู่กับการทุจริต http://www.thaireform.in.th/reform-the-news/item/6175-2011-07-27-07-59-03.html

  12. ปตท. เพิ่มกำลังการจ่าย NGV • ปี 2554 สถานี NGV 500 แห่ง ปริมาณการใช้ก๊าซ 6,000 ตัน/วัน • ต้นทุน NGV (ณ ราคาจำหน่าย 8.50 บาท/กก.) • - ต้นทุนเนื้อก๊าซ 8.36 บาท/กก. • - ต้นทุนการขนส่ง, สถานี NGV และอื่นๆ 6.09 บาท/กก. • (ราคาจำหน่ายปลีก NGV ต่ำกว่าราคาต้นทุนเกือบ 6.00 บาท/กก.) • ปตท. ผู้นำเข้าพลังงานรายใหญ่และความเสี่ยง • ปตท. เป็นผู้นำเข้าน้ำมันดิบ และก๊าซธรรมชาติรายใหญ่ที่สุดของประเทศ เพื่อตอบสนองความต้องการด้านพลังงานที่สูงขึ้น ซึ่งการนำเข้าผลิตภัณฑ์จากขบวนการขนส่งและจัดหา นอกจากจะต้องเผชิญความเสี่ยงด้านราคาที่แปรผันแล้ว ยังต้องประสบกับปัญหาสินค้าถูกขโมย และจี้ปล้น ในเส้นทางขนส่งทางเรือจากอ่าวเปอร์เซีย ทะเลอาระเบีย และอ่าวเอเดน มายังประเทศไทย ซึ่งเส้นทางดังกล่าว ต้องเผชิญกับภัยคุกคามจากโจรสลัดโซมาเลีย • (ที่มา : วารสาร PTT SPIRIT ฉบับ JUNE 2011)

  13. โครงสร้างราคาน้ำมันไทย ทำไมแพง... จากข้อมูลของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ(สพช.) โครงสร้างราคาน้ำมันของไทยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ 1.ราคาน้ำมันขายส่งหน้าโรงกลั่น และ 2.ราคาขายปลีก ซึ่งทั้งสองส่วนจะเกี่ยวข้อง และมีผลต่อราคาสุดท้าย ที่ผู้ใช้รถเติมจากปั๊มน้ำมันนั่นเอง       โดยราคาน้ำมันขายส่งหน้าโรงกลั่น จะประกอบไปด้วย ราคา ณ โรงกลั่น ที่หมายถึงต้นทุนในการซื้อน้ำมันดิบจากต่างประเทศ (เกือบทั้งหมดไทยนำเข้า) รวมค่าขนส่ง และค่ากระบวนการกลั่น บวกภาษีสรรพสามิต บวกภาษีเทศบาล บวกกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง บวกกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน และสุดท้ายภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) รวมกันออกมาเป็น… “ราคาขายส่ง ณ หน้าโรงกลั่น”       เมื่อโรงกลั่นขายต่อให้บริษัทน้ำมัน เป็นราคาขายส่ง ณ หน้าโรงกลั่น เพื่อจำหน่ายต่อให้กับประชาชนทั่วไป เรียกว่า... “ราคาขายปลีก”      ทั้งนี้สนพ. ได้สรุปโครงสร้างราคาน้ำมันของไทย แบ่งเป็นค่าต้นทุนในการซื้อน้ำมันจากโรงกลั่น หรือนำเข้าจากต่างประเทศ มีสัดส่วน 50-60% ค่าภาษีและกองทุนต่างๆ มีสัดส่วน 30-35% และค่าการตลาดจะอยู่ประมาณ 10%  ที่มา : ผู้จัดการออนไลน์ วันที่ : 07/08/52 http://www.langrod.com/news/article/2758.htm

  14. โครงสร้างราคาก๊าซLPG ซึ่งรัฐบาลชดเชยราคาและบิดเบือนการตลาดส่งผลให้การผลิตพลังงานทดแทนไม่ยั่งยืน ที่มา : วารสารบ้านเรา ฉบับ ตุลาคม 2009 (ปตท.)

  15. ตาราง 1 : โครงสร้างราคาน้ำมัน ณ วันที่ 3 สิงหาคม 2552  ที่มา - สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน

  16. ศ.ดร. อารยะ ปรีชาเมตตา ผลกระทบจากความผันผวนของราคาน้ำมันในตลาดโลกต่อเศรษฐกิจไทย การสัมมนาวิชาการประจ้าปีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ครั้งที่ 31 ประจำาปี 2551

More Related