640 likes | 1.83k Views
การควบคุมภายใน. ตามระเบียบ คตง.ว่าด้วยการกำหนดมาตรฐานการควบคุมภายใน พ.ศ.2544 บรรยายโดย นายณรงค์ ศรีมาธรณ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนกุดเสลาวิทยาคม. มีผลบังคับใช้ 27 ตุลาคม 2544 กำหนดรายงานครั้งแรกภายใน 31 ธันวาคม 2547 รายงานครั้งต่อไป ภายใน 90 วัน นับแต่วันสิ้นปีงบประมาณ ของทุกปี.
E N D
การควบคุมภายใน ตามระเบียบ คตง.ว่าด้วยการกำหนดมาตรฐานการควบคุมภายใน พ.ศ.2544 บรรยายโดย นายณรงค์ ศรีมาธรณ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนกุดเสลาวิทยาคม
มีผลบังคับใช้ 27 ตุลาคม 2544 กำหนดรายงานครั้งแรกภายใน 31 ธันวาคม 2547 รายงานครั้งต่อไป ภายใน 90 วัน นับแต่วันสิ้นปีงบประมาณ ของทุกปี
ความหมายวัตถุประสงค์ และแนวคิด
หมายถึง กระบวนการที่ผู้กำกับดูแล ฝ่ายบริหารและบุคลากรหน่วยรับตรวจกำหนดให้มีขึ้นเพื่อความมั่นใจจะบรรลุวัตถุประสงค์ดังนี้ • ประสิทธิภาพและประสิทธิ ผลการดำเนิน งาน • ความเชื่อถือได้ของการรายงานทางการเงิน • การปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง
แนวคิดเกี่ยวกับการควบคุมภายในแนวคิดเกี่ยวกับการควบคุมภายใน 1. แทรกหรือแฝงอยู่ในการปฏิบัติงานตามปกติ 2. เกิดขึ้นได้โดยบุคลากรในหน่วยรับตรวจ 3. ให้ความมั่นใจจะบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด
ความจำเป็นและที่มา • พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ.2542 • ระเบียบคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินว่าด้วยการกำหนดมาตรฐานการควบคุมภายใน พ.ศ.2544
วัตถุประสงค์การควบคุมภายใน (OFC) • ด้านการดำเนินงาน (Operation = O) มุ่งให้การปฏิบัติงานเกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผล รวมถึงการดูแลรักษาทรัพย์สิน การป้องกันความผิดพลาด ความเสียหาย การรั่วไหล การทุจริต • ด้านการรายงานทางการเงิน (Financial Reportings =F) • ด้านการปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎ ระเบียบ และนโยบาย (Compliance with Applicable Laws and regulations = C)
องค์ประกอบของการควบคุมภายในองค์ประกอบของการควบคุมภายใน • สภาพแวดล้อมของการควบคุม • การประเมินความเสี่ยง • กิจกรรมการควบคุม • สารสนเทศและการสื่อสาร • การติดตามประเมินผล
1. สภาพแวดล้อมของการควบคุม หมายถึง ปัจจัย และสภาวะต่างๆ ที่ส่งผลต่อทัศนคติ และการตระหนักถึงความจำเป็นและความสำคัญของการควบคุมภายในของบุคลากรในหน่วยงาน สภาพแวดล้อมการควบคุมเป็นรากฐานสำคัญขององค์ประกอบอื่นของการควบคุม
1. สภาพแวดล้อมของการควบคุม (ต่อ) แบ่งเป็น 2 ประเภท 1. การควบคุมโดยการสร้างจิตสำนึกและคุณภาพที่มองเห็นไม่ได้ เช่น ความชื่อสัตย์ ความโปร่งใส การมีผู้นำดี ความมีจริยธรรม (Soft Control) 2. การควบคุมโดยกำหนดโครงสร้าง นโยบาย และระเบียบวิธีปฏิบัติ (Hard Control)
1. สภาพแวดล้อมของการควบคุม (ต่อ) มีความรับผิดชอบเข้าใจขอบเขตอำนาจหน้าที่ของตน ความซื่อสัตย์และจริยธรรม รูปแบบและปรัชญาการ ทำงานของฝ่ายบริหาร มีความรู้ความสามารถและทักษะที่จำเป็นต้องใช้ในการปฏิบัติงาน บุคลากร ทุกระดับ ความรู้ความสามารถและทักษะของบุคลากร ยอมรับและปฏิบัติตามนโยบาย แนวทางปฏิบัติงาน ข้อกำหนดด้านจริยธรรม โครงสร้างการจัดองค์กร นโยบายและการบริหาร ทรัพยากรบุคล
2. การประเมินความเสี่ยง ความเสี่ยง: โอกาสที่จะเกิดความผิดพลาด ความเสียหาย การรั่วไหล ความสูญเปล่า หรือเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์และเป้าหมายที่กำหนด การประเมินความเสี่ยง: กระบวนการที่ใช้ในการระบุและวิเคราะห์ความเสี่ยงที่มีผลกระทบต่อการบรรลุวัตถุประสงค์ของหน่วยงาน รวมทั้งการกำหนดแนวทางที่จำเป็นต้องใช้ในการควบคุมความเสี่ยงหรือการบริหารความเสี่ยง
2. การประเมินความเสี่ยง (ต่อ) ขั้นตอนการประเมินความเสี่ยง - ศึกษาทำความเข้าใจวัตถุประสงค์องค์กร - การระบุความเสี่ยง - การวิเคราะห์ความเสี่ยง - การบริหารความเสี่ยง
3. กิจกรรมการควบคุม หมายถึง นโยบายและวิธีการต่างๆ ที่ฝ่ายบริหารกำหนดให้บุคลากรปฏิบัติเพื่อลดหรือควบคุมความเสี่ยง และได้รับการสนองตอบโดยมีการปฏิบัติตาม - ควรแฝง/แทรกอยู่ในกระบวนทำงานปกติ - สามารถลดความเสี่ยงให้อยู่ในระดับยอมรับได้ - ต้นทุนคุ้มกับผลประโยชน์ - เพียงพอเหมาะสม ไม่มากเกินความจำเป็น - มีการติดตามประเมินผลเป็นระยะ
4. สารสนเทศและการสื่อสาร สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานขององค์กร ทั้งที่ได้รับจากแหล่งภายในหรือภายนอกองค์กร การสื่อสารหมายถึง การับ – ส่ง สารสนเทศในการบริหารและการปฏิบัติงานระหว่างบุคคลที่รับผิดชอบในการสัมพันธ์กัน
5. การติดตามประเมินผล หมายถึง กระบวนการประเมินคุณภาพการปฏิบัติงานและการประเมินประสิทธิผลของการควบคุมภายในที่วางไว้อย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอซึ่งประกอบด้วย 2 องค์ประกอบย่อย • การติดตามผลในระหว่างการปฏิบัติงาน • การประเมินผลเป็นรายครั้ง • การประเมินการควบคุมด้วยตนเอง (Control Self Assessment) • การประเมินการควบคุมอย่างเป็นอิสระ (Independent Assessment)
การวางระบบการควบคุมภายในการวางระบบการควบคุมภายใน • กำหนดทีมรับผิดชอบ • ทบทวนภารกิจ หน้าที่ วัตถุประสงค์ และเป้าหมายขององค์กร • พิจารณากิจกรรม งาน/โครงการสำคัญที่อาจมีปัญหา • ประเมินความเสี่ยง เพื่อปรับปรุงการควบคุม
การประเมินความเสี่ยง • สอบทานวัตถุประสงค์ของกิจกรรม งาน/โครงการ • ระบุความเสี่ยง • วิเคราะห์ความเสี่ยง • บริหารความเสี่ยง
สาระสำคัญของการรายงานตามระเบียบ ค.ต.ง. ว่าด้วยการกำหนดมาตรฐาน การควบคุมภายใน พ.ศ.2544 ข้อ 5 และ ข้อ 6
ข้อ 5. หน่วยรับตรวจจัดวางระบบการควบคุมภายในให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี นับจากวันที่ระเบียบมีผลบังคับใช้ (27 ต.ค. 2544) ประกอบด้วยข้อมูล 5 ด้านดังนี้
ข้อ 5 (ต่อ) • ภารกิจ/วัตถุประสงค์ระดับหน่วยรับตรวจ • ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมการควบคุม • ความเสี่ยงที่สำคัญที่มีผลกระทบวัตถุประสงค์ • กิจกรรมควบคุม/ป้องกันเพื่อลดความเสี่ยง • ผู้รับผิดชอบและวิธีการประเมินผล * ต้องจัดวางระบบให้เสร็จภายใน 31 ต.ค. 2545
หน่วยรับตรวจ ต้องรายงานความคืบหน้าในการจัดวางระบบการควบคุมภายใน ต่อผู้กำกับดูแล และคณะกรรมการตรวจสอบของหน่วยรับตรวจ ทุก 60 วัน พร้อมทั้งส่งสำเนาให้ ส.ต.ง.
การรายงานตามระเบียบฯ ข้อ 6 ครั้งแรกภายใน 240 วัน หลังจากวางระบบเสร็จ ครั้งต่อไป รายงานปีละครั้งภายใน 90 วัน เมื่อสิ้นปีงบประมาณ
ประเด็นการประเมินการควบคุมภายในประเด็นการประเมินการควบคุมภายใน • การควบคุมภายในที่กำหนดไว้เพียงพอ เหมาะสม และมีการปฏิบัติจริง • ข้อตรวจพบจากการตรวจสอบ และสอบทานอื่นๆ ได้รับการปรับปรุงแก้ไขอย่างเหมาะสมและทันเวลา • การควบคุมภายในได้รับการปรับปรุงแก้ไขให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป
ขั้นตอนการติดตามประเมินผลขั้นตอนการติดตามประเมินผล ขั้นตอนที่ 1 ติดตามผลการปฏิบัติตามแผนการปรับปรุงการควบคุมภายใน รายงานผลการประเมินองค์ประกอบของมาตรฐานการควบคุมภายใน (ปย.2-1) สรุปผลการประเมินองค์ประกอบของมาตรฐานการควบคุมภายใน (ปย.2)
ขั้นตอนที่ 2 ประเมินองค์ประกอบของมาตรฐานการควบคุมภายใน แผนการปรับปรุงการควบคุมภายใน (ปย.3) ของงวดก่อน รายงานผลการติดตามการปฏิบัติตามแผนการปรับปรุงการควบคุมภายใน (ติดตาม ปย.3)
ขั้นตอนที่ 3 ประเมินการควบคุมภายในตามกิจกรรมแต่ละด้านหรือกิจกรรมเฉพาะของหน่วยงาน แบบสอบถามการควบคุมภายใน (ต.ย. ตามภาคผนวก ง) สรุปจุดอ่อนจากการประเมิน
สรุปผลการประเมินองค์ประกอบการควบคุมฯ (ปย.2) รายงานผลการติดตามการปฏิบัติตามแผนการปรับปรุงฯ(ติดตามปย.3) สรุปจุดอ่อนจากการประเมิน ขั้นตอนที่ 4 พิจารณาความเพียงพอและเหมาะสมของการควบคุมภายในและจัดทำความเห็นเกี่ยวกับการควบคุมภายใน การประเมินการควบคุมภายใน (แบบ ปม.) รายงานความเห็นเกี่ยวกับการควบคุมภายใน (ปย.1) แผนการปรับปรุงการควบคุมภายใน (ปย.3)
การรายงานตามระเบียบฯ ข้อ 6
การจัดทำรายงานส่ง สพฐ. สพฐ. ผอ.สพท. จนท.อาวุโส ประมวลผลภาพรวม กลุ่มอำนวยการ ร.ร. กลุ่มบริหารงานบุคคล ตสน. กลุ่มส่งเสริมจัดการศึกษา กลุ่มนโยบายและแผน การศึกษาเอกชน กลุ่มนิเทศ
ความรับผิดชอบของหน่วยรับตรวจที่ต้องปฏิบัติตามระเบียบฯความรับผิดชอบของหน่วยรับตรวจที่ต้องปฏิบัติตามระเบียบฯ ข้อ 7 หน่วยรับตรวจไม่สามารถปฏิบัติได้ให้ตกลงกับ คตง. ข้อ 8 การเจตนาปล่อยปะละเลยในการปฏิบัติตามระเบียบนี้ โดยไม่มีเหตุอันควร คตง.ตั้งข้อสังเกตและรายงาน ตามลำดับขั้น อาจมีผลการพิจารณางบประมาณ