1 / 225

โดย นาย จุมพฏ ไพรรัตนากร หุ้นส่วน D I A International Audit Co., Ltd.

TSA ใหม่ปี 2555. โดย นาย จุมพฏ ไพรรัตนากร หุ้นส่วน D I A International Audit Co., Ltd. วันที่ 25 มิถุนายน 255 5. เนื้อหาของการสัมมนา. วันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน 2555 ภาพรวมมาตรฐานการสอบบัญชีใหม่ หลักการทั่วไปและความ รับผิดชอบ (Frame work and 200 series)

lea
Download Presentation

โดย นาย จุมพฏ ไพรรัตนากร หุ้นส่วน D I A International Audit Co., Ltd.

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. TSAใหม่ปี 2555 โดย นาย จุมพฏ ไพรรัตนากร หุ้นส่วน D I A International Audit Co., Ltd. วันที่ 25 มิถุนายน 2555

  2. เนื้อหาของการสัมมนา • วันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน 2555 • ภาพรวมมาตรฐานการสอบบัญชีใหม่ • หลักการทั่วไปและความรับผิดชอบ (Frame work and 200 series) • การประเมินความเสี่ยงและการตอบสนองต่อความเสี่ยงที่ได้ประเมินไว้(300 – 400 series) • การใช้ผลงานของผู้อื่น(600 series) • วันอังคารที่ 26 มิถุนายน 2555 • หลักฐานการสอบบัญชี(500 series) • สรุปผลการตรวจสอบและการรายงาน(700 series) • การตรวจสอบกรณีพิเศษ(800 series) • การสอบทาน(2400 series)

  3. ภาพรวมมาตรฐานการสอบบัญชีใหม่ภาพรวมมาตรฐานการสอบบัญชีใหม่

  4. พัฒนาการของมาตรฐานการสอบบัญชีพัฒนาการของมาตรฐานการสอบบัญชี

  5. จุดประสงค์ของการปรับปรุงมาตรฐานการสอบบัญชีจุดประสงค์ของการปรับปรุงมาตรฐานการสอบบัญชี • การปรับปรุงแก้ไขที่สำคัญของมาตรฐานชุด Clarified standards เพื่อ • ระบุวัตถุประสงค์ของมาตรฐานการสอบบัญชีแต่ละฉบับที่ชัดเจน • ระบุข้อกำหนดที่ชัดเจนเพื่อการปฏิบัติงานของผู้สอบบัญชี โดยข้อกำหนดแต่ละข้อใช้คำว่า “ผู้สอบบัญชีต้อง” (the auditor shall) • ปรับปรุงให้น่าอ่านและเข้าใจง่ายโดยจัดรูปแบบใหม่ • มีข้อพิจารณาเฉพาะสำหรับกิจการขนาดเล็กและหน่วยงานภาครัฐโดยอธิบายในส่วนของการนำไปปฏิบัติ

  6. องค์ประกอบของมาตรฐานใหม่ (51ฉบับ) มาตรฐานการสอบบัญชี 51ฉบับ มาตรฐานการสอบบัญชี 36ฉบับ มาตรฐานงานสอบทาน 2ฉบับ แม่บทและแนวปฏิบัติงานสอบบัญชี 8ฉบับ มาตรฐานงานที่ให้ความเชื่อมั่น 3ฉบับ มาตรฐานงานบริการที่เกี่ยวข้อง 2ฉบับ

  7. องค์ประกอบของมาตรฐานใหม่ (51ฉบับ) มาตรฐานการสอบบัญชี 36ฉบับ มาตรฐานเดิมที่ปรับปรุงใหม่ 26ฉบับ มาตรฐานใหม่ ที่แยกออกจากเดิม 10ฉบับ มาตรฐานงานสอบทาน 2ฉบับ แม่บทและแนวปฏิบัติงานสอบบัญชี 8ฉบับ มาตรฐานงานที่ให้ความเชื่อมั่น 3ฉบับ มาตรฐานงานบริการที่เกี่ยวข้อง 2ฉบับ

  8. มาตรฐานการสอบบัญชีใหม่ 10 ฉบับ

  9. มาตรฐานการสอบบัญชีใหม่ 10 ฉบับ

  10. รูปแบบของมาตรฐานการสอบบัญชีใหม่รูปแบบของมาตรฐานการสอบบัญชีใหม่ • รูปแบบของมาตรฐานแยกเป็น 5 ส่วน ดังนี้ • คำนำ (Introduction) • วัตถุประสงค์ (Objective) • คำจำกัดความ (Definitions) • ข้อกำหนด (Requirements) • การนำไปปฏิบัติและคำอธิบายอื่น (Application and other explanatory material)

  11. รูปแบบของมาตรฐานการสอบบัญชีใหม่รูปแบบของมาตรฐานการสอบบัญชีใหม่ ตัวอย่างมาตรฐานเดิมเทียบกับมาตรฐานใหม่

  12. สรุปการเปลี่ยนแปลงเนื้อหามาตรฐานการสอบบัญชีสรุปการเปลี่ยนแปลงเนื้อหามาตรฐานการสอบบัญชี General Principles & Responsibilities Audit Conclusions & Reporting Risk Assessment & Response to Assessed Risks Specialized Areas Using Work of Others Audit Evidence

  13. สรุปการเปลี่ยนแปลงและผลกระทบต่อการปฏิบัติงานสรุปการเปลี่ยนแปลงและผลกระทบต่อการปฏิบัติงาน New Reporting 700/705/706/710 auditors’ reports Increased risk assessment and more specific responses 540: Accounting estimates, including fair values 550: Related party transactions Assess risk & 315: ldentify risk through understanding the entity and its environment 330: Responses to assessed risk Terms of engagement and representations 210:Terms of engagement 580: Written representations Group/component Auditors 600: Group/component auditors Use of the work of others 402: Service organisations 500/620: Management’s/ auditors’ experts Fraud 240: The auditor’s responsibilities relating to fraud ผลกระทบต่อการปฏิบัติงาน Subsequent 560: Subsequent events Evidence 230: Audit Documentation Materiality 320: In planning and performing 450: Evaluation of misstatements Communications 260: Communicating with those charge with governance 265: Communicating Significant deficiencies Evidence 501: Specific considerations 505: Confirmations ระดับการเปลี่ยนแปลงจากมาตรฐานการสอบบัญชีที่ใช้อยู่

  14. วันถือปฏิบัติ มาตรฐานการสอบบัญชีนี้ให้ถือปฏิบัติกับการตรวจสอบงบการเงินสำหรับรอบบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2555

  15. Framework แม่บทสำหรับงานที่ให้ความเชื่อมั่น Framework for Assurance Engagements เปลี่ยนแปลง น้อย

  16. สรุปภาพรวมที่สำคัญ • งานที่ให้ความเชื่อมั่น(Assurance engagement)หมายถึง งานที่ผู้ประกอบวิชาชีพต้องแสดงข้อสรุปซึ่งออกแบบไว้เพื่อเพิ่มระดับความเชื่อมั่นของผู้ใช้ข้อมูล ในเรื่องที่เกี่ยวกับผลของการประเมินหรือการวัดผลของงานเมื่อเทียบกับหลักเกณฑ์ (P.7) • งานที่ให้ความเชื่อมั่นมี 2 ประเภทที่อนุญาตให้ผู้ประกอบวิชาชีพทำได้ (P.11) คือ • งานที่ให้ความเชื่อมั่นอย่างสมเหตุสมผล(a reasonable assurance engagement) • งานที่ให้ความเชื่อมั่นอย่างจำกัด(a limited assurance engagement) • งานที่ให้ความเชื่อมั่นอย่างสมเหตุสมผล ซึ่งเกี่ยวกับข้อมูลทางการเงินในอดีต เรียกว่า งานตรวจสอบ แต่ถ้างานดังกล่าวเป็นงานที่ให้ความเชื่อมั่นอย่างจำกัด จะเรียกว่า งานสอบทาน

  17. สรุปภาพรวมที่สำคัญ วัตถุประสงค์ของงานที่ให้ความเชื่อมั่นอย่างสมเหตุสมผล คือ การลดความเสี่ยงของงานให้อยู่ในระดับต่ำที่ยอมรับได้(an acceptably low level)เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการแสดงข้อสรุปในรูปแบบที่แสดงความเห็น (P.11) วัตถุประสงค์ของงานที่ให้ความเชื่อมั่นอย่างจำกัด คือ การลดความเสี่ยงของงานให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ (an acceptably level)แต่ยังสูงกว่างานที่ให้ความเชื่อมั่นอย่างสมเหตุสมผล(a reasonable assurance engagement) เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการแสดงข้อสรุปในรูปแบบที่ไม่แสดงความเห็น(P.11)

  18. สรุปภาพรวมที่สำคัญ ความสัมพันธ์ของผู้ที่เกี่ยวข้องทั้ง 3 ฝ่าย : ผู้ประกอบวิชาชีพ ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบ และผู้ใช้ข้อมูล(P.21-30) งานที่ผู้ประกอบวิชาชีพได้ปฏิบัติที่เหมาะสม (An appropriate subject matter) (P.31-33) หลักเกณฑ์ที่เหมาะสม (Suitable criteria)(P.34-38) หลักฐานที่เหมาะสมอย่างเพียงพอ (Sufficient appropriate evidence)(P.39-55) รายงานในรูปแบบที่เหมาะสม(P.56-60)

  19. “presented fairly, in all material respects” or “true and fair view” Elements of an Assurance Engagement It beginswith a three-partyrelationship. Entity Professionalaccountant Data Against suitable criteria Systems &processes Evaluate/Measuresubject matter Behavior Express an opinion/conclusion on level of assurance about subject matter User of subjectmatter

  20. สรุปภาพรวมที่สำคัญ งานที่ผู้ประกอบวิชาชีพได้ปฏิบัติที่เหมาะสมควรเป็นดังนี้(P.33) - สามารถระบุได้และสามารถประเมินหรือวัดค่ากับหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ได้อย่างสม่ำเสมอ และ - ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับงานที่ผู้ประกอบวิชาชีพได้ปฏิบัติสามารถใช้วิธีการในการรวบรวมหลักฐานที่เหมาะสมอย่างเพียงพอที่จะสนับสนุนข้อสรุปที่ให้ความเชื่อมั่นอย่างสมเหตุสมผลหรือความเชื่อมั่นอย่างจำกัดได้ตามความเหมาะสม

  21. สรุปภาพรวมที่สำคัญ • หลักเกณฑ์ที่เหมาะสมควรแสดงคุณลักษณะดังต่อไปนี้ (P.36) • ความเกี่ยวข้อง (Relevant) หลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องนำไปสู่ข้อสรุปซึ่งจะช่วยผู้ใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ • ความครบถ้วน (Completeness) หลักเกณฑ์จะครบถ้วนเพียงพอก็ต่อเมื่อปัจจัยที่เกี่ยวข้องซึ่งอาจมีผลกระทบต่อข้อสรุปในเนื้อหาของสถานการณ์ของงานไม่ได้ถูกละเลยหลักเกณฑ์ที่สมบูรณ์รวมถึงตัวชี้วัดสำหรับการนำเสนอและการเปิดเผยด้วย • ความน่าเชื่อถือ (Reliability) หลักเกณฑ์ที่น่าเชื่อถือทำให้สามารถประเมินหรือวัดค่างานที่ผู้ประกอบวิชาชีพได้ปฏิบัติได้อย่างสม่ำเสมอและสมเหตุสมผลซึ่งรวมถึงการนำเสนอและการเปิดเผยที่เกี่ยวข้องเมื่อมีการใช้ในสถานการณ์ที่เหมือนกันโดยผู้ประกอบวิชาชีพที่มีคุณสมบัติเหมือนกัน • ความเป็นกลาง (Neutrality) หลักเกณฑ์ที่มีความเป็นกลางนำไปสู่ข้อสรุปซึ่งปราศจากอคติ • ความเข้าใจได้ (Understandability) หลักเกณฑ์ที่สามารถเข้าใจได้นำไปสู่ข้อสรุปที่ชัดเจน สมบูรณ์ และไม่ขึ้นอยู่กับการตีความที่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ

  22. สรุปภาพรวมที่สำคัญ วิธีการรวบรวมหลักฐานของงานให้ความเชื่อมั่นอย่างสมเหตุสมผล รวมถึง(P.51) - การทำความเข้าใจสถานการณ์ - การประเมินความเสี่ยง - การตอบสนองต่อความเสี่ยงที่ประเมินไว้ - การใช้วิธีการผสมของการตรวจสอบ การสังเกตการณ์ การขอคำยืนยัน การทดสอบการคำนวณ การทดสอบโดยการปฏิบัติซ้ำ การวิเคราะห์เปรียบเทียบและการสอบถาม - การประเมินความเหมาะสมอย่างเพียงพอของหลักฐาน

  23. สรุปภาพรวมที่สำคัญ • วิธีการรวบรวมหลักฐานของงานให้ความเชื่อมั่นอย่างจำกัดต้องการใช้ทักษะและเทคนิคในการให้ความเชื่อมั่นและการรวบรวมหลักฐานที่เหมาะสมอย่างเพียงพอเหมือนกันกับงานให้ความเชื่อมั่นอย่างสมเหตุสมผล แต่แตกต่างกันที่ ลักษณะ ระยะเวลา และขอบเขตของวิธีการรวบรวมหลักฐานที่เหมาะสมอย่างเพียงพอ ซึ่งมีขอบเขตที่จำกัดกว่า(P.53) • หลักฐานที่เหมาะสมอย่างเพียงพอของงานให้ความเชื่อมั่นอย่างจำกัดส่วนใหญ่ได้มาจากการวิเคราะห์เปรียบเทียบและการสอบถาม(P.53)

  24. สรุปภาพรวมที่สำคัญ รายการที่ให้ความเชื่อมั่นอย่างสมเหตุสมผลจะให้คำอธิบายถึงสถานการณ์ของงานและการแสดงข้อสรุปในรูปแบบที่เป็นการแสดงความเห็น(P.58) รายงานที่ให้ความเชื่อมั่นอย่างจำกัดจะให้คำอธิบายถึงสถานการณ์ของงานและการแสดงข้อสรุปในรูปแบบที่ไม่เป็นการแสดงความเห็น (P.59)

  25. หมวด 200 หลักการทั่วไปและความรับผิดชอบ

  26. TSA200 วัตถุประสงค์โดยรวมของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตและการปฏิบัติตรวจสอบบัญชี Overall Objectives of the Independent Auditor and the Conductof an Audit in Accordance with International Standards on Auditing เปลี่ยนแปลง น้อย

  27. สรุปภาพรวมที่สำคัญ • การตรวจสอบงบการเงินมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มระดับความเชื่อมั่นของผู้ใช้งบการเงินที่มีต่องบการเงินที่ผู้สอบบัญชีได้แสดงความเห็น(p.3) • หลักพื้นฐานในการแสดงความเห็นของผู้สอบบัญชีกำหนดให้ผู้สอบบัญชีต้องให้ความเชื่อมั่นอย่างสมเหตุสมผลว่างบการเงินโดยรวมปราศจากข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ(p.5) • ความเชื่อมั่นดังกล่าวได้มาจากการผู้สอบบัญชีได้รวบรวมหลักฐานการสอบบัญชีที่เหมาะสมอย่างเพียงพอ TSA200

  28. สรุปภาพรวมที่สำคัญ • มาตรฐานการสอบบัญชีฉบับนี้ยังกำหนดข้อกำหนดต่าง ๆ ที่ผู้สอบบัญชีต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้ • การปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านจรรยาบรรณ (p.14) • การใช้ดุลยพินิจและวิจารณญาณในการสังเกตและสงสัยตลอดการวางแผนและการปฏิบัติงาน(p.15-16) • การได้มาซึ่งหลักฐานการสอบบัญชีที่เหมาะสมอย่างเพียงพอ(p.17) • การปฏิบัติงานตรวจสอบบัญชีตามมาตรฐานการสอบบัญชีที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบ ต้องคำนึงถึงวัตถุประสงค์ และข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง(p.18-20) TSA200

  29. ข้อกำหนดใหม่ที่สำคัญ • การตรวจสอบจะเป็นไปตามหลักการที่ว่า ผู้บริหารและผู้ที่มีหน้าที่กำกับดูแลรับทราบและเข้าใจในความรับผิดชอบในเรื่อดังต่อไปนี้(P.13ญ) • การจัดทำงบการเงินที่สอดคล้องกับแม่บทรายงานทางการเงินที่เกี่ยวข้อง • การจัดให้มีการควบคุมภายในเพื่อทำให้สามารถจัดทำงบการเงินโดยปราศจากการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอย่างเป็นสาระสำคัญ • การเตรียมการให้ผู้สอบบัญชีเข้าถึงข้อมูลและบุคคลากรของกิจการ TSA200

  30. ข้อกำหนดใหม่ที่สำคัญ • มาตรฐานการสอบบัญชีฉบับนี้กำหนดความรับผิดชอบของผู้สอบบัญชีให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้นในเรื่อง • การระบุและการประเมินความเสี่ยงจากข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ จากการทำความเข้าใจกิจการ สภาพแวดล้อมและการควบคุมภายใน • การได้หลักฐานการสอบบัญชีที่เหมาะสมอย่างเพียงพอ • การแสดงความเห็นต่องบการเงินจากข้อสรุปที่ได้มาจากหลักฐานการสอบบัญชี TSA200

  31. เรื่องที่ควรแจ้งลูกค้าเพื่อเรื่องที่ควรแจ้งลูกค้าเพื่อ ผู้สอบบัญชีต้องสื่อสารกับผู้บริหารถึงขอบเขตความรับผิดชอบของผู้บริหารที่เปลี่ยนแปลงไป TSA200

  32. TSA210 ข้อตกลงในการรับการสอบบัญชี Agreeing the Terms of Audit Engagements เปลี่ยนแปลง ปานกลาง

  33. สรุปภาพรวมที่สำคัญ • ผู้สอบบัญชีจะรับงานตรวจสอบใหม่หรืองานตรวจสอบเดิม เมื่อแนวทางการปฏิบัติได้รับความเห็นชอบโดย • การกำหนดว่าเงื่อนไขเบื้องต้นสำหรับการตรวจสอบยังมีอยู่หรือไม่ • การยืนยันว่า ผู้สอบบัญชี ผู้บริหาร และผู้ที่มีหน้าที่ในการกำกับดูแล (เมื่อเหมาะสม) มีความเข้าใจตรงกันเกี่ยวกับข้อตกลงในงานสอบบัญชี • ถ้าผู้สอบบัญชีไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าวผู้สอบบัญชีต้องหารือกับผู้บริหารและพิจารณาถอนตัวจากงานดังกล่าว TSA210

  34. ข้อกำหนดใหม่ที่สำคัญ • ผู้สอบบัญชีต้องพิจารณาว่าแม่บทที่ใช้ในการจัดทำงบการเงินสามารถยอมรับได้หรือไม่ • ผู้สอบบัญชีต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้บริหารถึงความเข้าใจในความรับผิดชอบของผู้บริหารในเรื่อง • - การจัดทำงบการเงินที่สอดคล้องกับแม่บทรายงานทางการเงินที่เกี่ยวข้อง • - การจัดให้มีการควบคุมภายในเพื่อทำให้สามารถจัดทำงบการเงินโดยปราศจากการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอย่างเป็นสาระสำคัญ • -การเตรียมการให้ผู้สอบบัญชีเข้าถึงข้อมูลและบุคคลากรของกิจการ TSA210

  35. ข้อกำหนดใหม่ที่สำคัญ • มาตรฐานฉบับนี้กำหนดรูปแบบและเนื้อหาในหนังสือตอบรับงานสอบบัญชี หรือข้อตกลงที่เป็นลายลักษณ์อักษร • ถ้ากฎหมายหรือข้อบังคับได้กำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับข้อตกลงในงานสอบบัญชีอย่างเพียงพอ ผู้สอบบัญชีไม่จำเป็นต้องบันทึกข้อความนั้นซ้ำอีก แต่ผู้บริหารจะต้องรับทราบและเข้าใจในความรับผิดชอบตามที่กำหนด • ในกรณีที่กฎหมายหรือข้อบังคับได้กำหนดความรับผิดชอบของผู้บริหารเทียบเท่าที่มาตรฐานฉบับนี้กำหนด ผู้สอบบัญชีอาจใช้ข้อความดังกล่าวในข้อตกลง TSA210

  36. ข้อพิจารณาเฉพาะสำหรับกิจการขนาดเล็กข้อพิจารณาเฉพาะสำหรับกิจการขนาดเล็ก • เมื่องบการเงินจัดทำหรือได้รับการช่วยเหลือจากบุคคลที่สามผู้สอบบัญชีจะต้องแจ้งให้ผู้บริหารทราบว่าการจัดทำงบการเงินโดยสอดคล้องกับแม่บทการบัญชียังคงเป็นความรับผิดชอบของผู้บริหาร TSA210

  37. เรื่องที่ควรเตรียมพร้อมเรื่องที่ควรเตรียมพร้อม • ผู้สอบบัญชีต้องพิจารณาปรับเปลี่ยนหนังสือตอบรับงานสอบบัญชีหรือข้อตกลงที่เป็นลายลักษณ์อักษรในรูปแบบอื่นที่เหมาะสม ให้สอดคล้องกับข้อกำหนดภายใต้มาตรฐานฉบับนี้ TSA210

  38. เรื่องที่ควรแจ้งลูกค้าเพื่อเตรียมพร้อมเรื่องที่ควรแจ้งลูกค้าเพื่อเตรียมพร้อม • ผู้สอบบัญชีต้องสื่อสารกับผู้บริหารถึงขอบเขตความรับผิดชอบของผู้บริหารที่เปลี่ยนแปลงไป TSA210

  39. TSA220 การควบคุมคุณภาพการตรวจสอบงบการเงิน Quality Control for an Audit of Financial Statements เปลี่ยนแปลง น้อย

  40. สรุปภาพรวมที่สำคัญ • มาตรฐานการสอบบัญชีฉบับนี้ถูกแก้ไขเพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานการควบคุมคุณภาพ ฉบับที่ 1 • ผู้สอบบัญชีต้องรับผิดชอบต่อคุณภาพโดยรวมของงานตรวจสอบโดยนำวิธีปฏิบัติในการควบคุมคุณภาพไปปฏิบัติในระดับของงานตรวจสอบ เพื่อให้ความเชื่อมั่นอย่างสมเหตุสมผลว่า • งานตรวจสอบเป็นไปตามมาตรฐานวิชาชีพและข้อกำหนดทางกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และ • รายงานของผู้สอบบัญชีที่ออกมีความเหมาะสมกับสถานการณ์นั้น ๆ TSA220

  41. สรุปภาพรวมที่สำคัญ • ข้อกำหนดในระบบการควบคุมคุณภาพมีดังนี้ • ความรับผิดชอบของผู้นำต่อคุณภาพของงานตรวจสอบ • ข้อกำหนดด้านจรรยาบรรณที่เกี่ยวข้อง • การตอบรับงานและการคงไว้ซึ่งความสัมพันธ์กับลูกค้าและงานตรวจสอบ • การมอบหมายงานของกลุ่มผู้ปฏิบัติงานตรวจสอบ • การปฏิบัติงานตรวจสอบ • การติดตามผล • กระดาษทำการ TSA220

  42. สรุปภาพรวมที่สำคัญ • ความรับผิดชอบของผู้นำต่อคุณภาพของงานตรวจสอบ • ผู้สอบบัญชีที่รับผิดชอบงานตรวจสอบต้องมีกระทำและสื่อสารที่เหมาะสมให้แก่สมาชิกในกลุ่ม • ผู้ปฏิบัติงานตรวจสอบ เกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อคุณภาพโดยรวมของงานตรวจสอบ • ข้อกำหนดด้านจรรยาบรรณที่เกี่ยวข้อง • การปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านจรรยาบรรณที่เกี่ยวข้อง • (ก) ความโปร่งใส ความเป็นอิสระ ความเที่ยงธรรม และความซื่อสัตย์สุจริต • (ข) ความรู้ ความสามารถ และมาตรฐานในการปฏิบัติงาน • (ค) การรักษาความลับ • (ง) ความรับผิดชอบต่อผู้รับบริการ ผู้ถือหุ้น ผู้เป็นหุ้นส่วน บุคคลหรือนิติบุคคลผู้ประกอบวิชาชีพปฏิบัติหน้าที่ให้ เพื่อนร่วมวิชาชีพ และจรรยาบรรณทั่วไป • ความเป็นอิสระ TSA220

  43. สรุปภาพรวมที่สำคัญ • การตอบรับงานและการคงไว้ซึ่งความสัมพันธ์กับลูกค้าและงานตรวจสอบ • การมอบหมายงานของกลุ่มผู้ปฏิบัติงานตรวจสอบ • การปฏิบัติงานตรวจสอบ • การกำหนดทิศทาง การควบคุมดูแลและการปฏิบัติงาน • การสอบทาน • การปรึกษาหารือ • การสอบทานการควบคุมคุณภาพงานตรวจสอบ • ความคิดเห็นที่แตกต่าง TSA220

  44. สรุปภาพรวมที่สำคัญ • การติดตามผล • ผู้สอบบัญชีที่รับผิดชอบงานตรวจสอบต้องพิจารณาผลของกระบวนการติดตามผลของสำนักงาน จากข้อมูลล่าสุดที่เผยแพร่ภายในสำนักงานและสำนักงานเครือข่ายอื่น ๆ (ถ้ามี) และต้องพิจารณาว่าข้อบกพร่องที่ระบุในข้อมูลดังกล่าวอาจมีผลกระทบต่องานตรวจสอบหรือไม่ต่าง TSA220

  45. ข้อกำหนดใหม่ที่สำคัญ • ผู้สอบบัญชีที่รับผิดชอบงานตรวจสอบ (Engagement partner) ต้องคงไว้ซึ่งความระมัดระวังเพื่อทราบถึงการไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านจรรยาบรรณที่เกี่ยวข้องและความเป็นอิสระของสมาชิกในกลุ่มผู้ปฏิบัติงานตรวจสอบและดำเนินการอย่างเหมาะสม • มีการกำหนดหน้าที่ของผู้สอบทานการควบคุมคุณภาพงานตรวจสอบและการบันทึกการปฏิบัติงาน • กลุ่มผู้ปฏิบัติงานตรวจสอบต้องปฏิบัติตามนโยบายและวิธีปฏิบัติของสำนักงานในการจัดการและแก้ปัญหาที่เกิดจากความคิดเห็นที่แตกต่าง TSA220

  46. ข้อกำหนดใหม่ที่สำคัญ • ผู้สอบบัญชีต้องบันทึกเรื่องต่อไปนี้ในกระดาษทำการ • ประเด็นที่พบที่เกี่ยวกับการปฏิบัติข้อกำหนดด้านจรรยาบรรณที่เกี่ยวข้องและประเด็นดังกล่าวได้รับการแก้ไขอย่างไร • ข้อสรุปเกี่ยวกับการปฏิบัติตามข้อกำหนดเรื่องความเป็นอิสระที่เกี่ยวข้องกับงานตรวจสอบนั้น และข้อหารือต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสำนักงานที่สนับสนุนข้อสรุปดังกล่าว • ข้อสรุปที่ได้เกี่ยวกับการตอบรับงานและการคงไว้ซึ่งความสัมพันธ์กับลูกค้าและงานตรวจสอบ • ลักษณะและขอบเขตของการปรึกษาหารือและข้อสรุปที่ได้จากการปรึกษาหารือที่เกิดขึ้นระหว่างการปฏิบัติงานตรวจสอบ TSA220

  47. ข้อพิจารณาเฉพาะสำหรับกิจการขนาดเล็กข้อพิจารณาเฉพาะสำหรับกิจการขนาดเล็ก ในบางกรณี อาจไม่มีงานตรวจสอบใดเลยของสำนักงานที่เข้าหลักเกณฑ์ต้องได้รับการสอบทานการควบคุมคุณภาพงานตรวจสอบ It is possible To have no EQCR TSA220

  48. เรื่องที่ควรเตรียมพร้อมเรื่องที่ควรเตรียมพร้อม • การจัดเตรียมรูปแบบเอกสารหลักฐานเกี่ยวกับ • เรื่องการปรึกษาหารือ (เช่นconsultation template) • ข้อสรุปเกี่ยวกับการปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านจรรยาบรรณที่เกี่ยวข้องและเรื่องความเป็นอิสระ (เช่น independence letter) • การจัดเตรียมนโยบายและขั้นตอนปฏิบัติงานใหม่ เช่นเรื่อง • - หลักปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านจรรยาบรรณที่เกี่ยวข้องและเรื่องความเป็นอิสระ • - หลักเกณฑ์ที่กำหนดให้งานตรวจสอบต้องได้รับการสอบทานการควบคุมคุณภาพงานตรวจสอบ • บทบาทและหน้าที่ของผู้สอบทานการควบคุมคุณภาพงานตรวจสอบ • วิธีปฏิบัติในการจัดการและแก้ปัญหาที่เกิดจากความคิดเห็นที่แตกต่าง TSA220

  49. ตัวอย่างกระดาษทำการเรื่องการปรึกษาหารือ รูปแบบตัวอย่างของ DIA

  50. TSA230 เอกสารหลักฐานของงานตรวจสอบ Audit Documentation เปลี่ยนแปลง ปานกลาง

More Related