1 / 317

โดย นาย จุมพฏ ไพรรัตนากร หุ้นส่วน D I A International Audit Co., Ltd.

TSA ใหม่ปี 2555. โดย นาย จุมพฏ ไพรรัตนากร หุ้นส่วน D I A International Audit Co., Ltd. วันที่ 26 มิถุนายน 255 5. เนื้อหาของการสัมมนา. วันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน 2555 ภาพรวมมาตรฐานการสอบบัญชีใหม่ หลักการทั่วไปและความ รับผิดชอบ (Frame work and 200 series)

willa-mack
Download Presentation

โดย นาย จุมพฏ ไพรรัตนากร หุ้นส่วน D I A International Audit Co., Ltd.

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. TSAใหม่ปี 2555 โดย นาย จุมพฏ ไพรรัตนากร หุ้นส่วน D I A International Audit Co., Ltd. วันที่ 26 มิถุนายน 2555

  2. เนื้อหาของการสัมมนา • วันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน 2555 • ภาพรวมมาตรฐานการสอบบัญชีใหม่ • หลักการทั่วไปและความรับผิดชอบ (Frame work and 200 series) • การประเมินความเสี่ยงและการตอบสนองต่อความเสี่ยงที่ได้ประเมินไว้(300 – 400 series) • การใช้ผลงานของผู้อื่น(600 series) • วันอังคารที่ 26 มิถุนายน 2555 • หลักฐานการสอบบัญชี(500 series) • สรุปผลการตรวจสอบและการรายงาน(700 series) • การตรวจสอบกรณีพิเศษ(800 series) • การสอบทาน(2400 series)

  3. หมวด 500 หลักฐานการสอบบัญชี

  4. หมวด 500 หลักฐานการสอบบัญชี (ต่อ)

  5. TSA500 หลักฐานการสอบบัญชี Audit Evidence เปลี่ยนแปลง ปานกลาง

  6. วัตถุประสงค์ เพื่อออกแบบและใช้วิธีการตรวจสอบเพื่อให้ได้มาซึ่งหลักฐานการสอบบัญชีที่เหมาะสมอย่างเพียงพอ เพื่อให้ผู้สอบบัญชีสามารถได้ข้อสรุปอย่างมีเหตุผลในการแสดงความเห็นของผู้สอบบัญชี ความเพียงพอ หมายถึง การวัดปริมาณของหลักฐานการสอบบัญชี ความเหมาะสม หมายถึง การวัดคุณภาพของหลักฐานการสอบบัญชีว่ามีความสัมพันธ์กัน และมีความน่าเชื่อถือเพื่อใช้สนับสนุนข้อสรุปในการแสดงความเห็นของผู้สอบบัญชี TSA500

  7. ข้อมูลที่ใช้เป็นหลักฐานการสอบบัญชี ความสัมพันธ์กัน(Relevance) คือ ความเกี่ยวข้องกันอย่างมีเหตุผลของวัตถุประสงค์ของวิธีการตรวจสอบและสิ่งที่ผู้บริหารให้การรับรองที่อยู่ระหว่างการพิจารณา ความน่าเชื่อถือ (Reliability) ความน่าเชื่อถือของหลักฐานการสอบบัญชีขึ้นอยู่กับแหล่งที่มาและลักษณะของหลักฐานนั้น และขึ้นอยู่กับสถานการณ์เฉพาะที่ได้รับหลักฐานนั้น รวมถึงการควบคุมการจัดทำและเก็บรักษาข้อมูลนั้น TSA500

  8. ความน่าเชื่อถือ • ความน่าเชื่อถือของหลักฐานการสอบบัญชีเพิ่มขึ้นเมื่อ • ได้รับจากแหล่งข้อมูลภายนอกที่เป็นอิสระจากกิจการ • กิจการมีการควบคุมที่มีประสิทธิผลในเรื่องการจัดทำและรักษาหลักฐานนั้น • ผู้สอบบัญชีได้รับโดยตรง • อยู่ในรูปเอกสาร (มีความน่าเชื่อถือมากกว่าหลักฐานที่ได้รับทางวาจา) • เป็นเอกสารต้นฉบับ (มีความน่าเชื่อถือมากกว่าภาพถ่ายเอกสารหรือกระดาษโทรสาร) TSA500

  9. ความน่าเชื่อถือ (ต่อ) • ความน่าเชื่อถือของข้อมูลที่จัดทำโดยผู้เชี่ยวชาญของฝ่ายบริหาร • การพิจารณาลักษณะ ระยะเวลา และขอบเขตของวิธีการตรวจสอบ • การประเมินความสามารถ ขีดความสามารถและความเที่ยงธรรมในการตัดสินใจของผู้เชี่ยวชาญของฝ่ายบริหาร • การทำความเข้าใจเกี่ยวกับงานของผู้เชี่ยวชาญของฝ่ายบริหาร • การประเมินความเหมาะสมของผลงานของผู้เชี่ยวชาญของฝ่ายบริหาร TSA500

  10. แหล่งที่มาของหลักฐานการสอบบัญชีแหล่งที่มาของหลักฐานการสอบบัญชี • จากการใช้วิธีการตรวจสอบรายการบันทึกทางบัญชี เช่น การวิเคราะห์เปรียบเทียบและการสอบทาน การกระทบยอด • แหล่งที่มาที่เป็นอิสระจากกิจการ เช่น การขอคำยืนยันจากบุคคลภายนอก รายงานจากนักวิเคราะห์ • ข้อมูลที่จัดทำโดยผู้เชี่ยวชาญของฝ่ายบริหาร TSA500

  11. วิธีการตรวจสอบเพื่อให้ได้มาซึ่งหลักฐานการสอบบัญชีวิธีการตรวจสอบเพื่อให้ได้มาซึ่งหลักฐานการสอบบัญชี • การตรวจสอบ • การสังเกตการณ์ • การขอคำยืนยันจากบุคคลภายนอก • การทดสอบการคำนวณ • การทดสอบโดยการปฏิบัติซ้ำ • การวิเคราะห์เปรียบเทียบ • การสอบถาม TSA500

  12. การเลือกรายการทดสอบเพื่อให้ได้มาซึ่งหลักฐานการสอบบัญชีการเลือกรายการทดสอบเพื่อให้ได้มาซึ่งหลักฐานการสอบบัญชี • การเลือกทุกรายการ • การเลือกรายการแบบเจาะจง • การเลือกตัวอย่างในการสอบบัญชี (มาตรฐานการสอบบัญชี รหัส 530) TSA500

  13. ความไม่สอดคล้อง หรือข้อสงสัยในความน่าเชื่อถือของหลักฐานการสอบบัญชี • หลักฐานการสอบบัญชีที่ได้รับจากแหล่งที่มาหนึ่ง ไม่สอดคล้องกับหลักฐานที่ได้รับจากอีกแหล่งหนึ่ง หรือ • ผู้สอบบัญชีสงสัยในความน่าเชื่อถือของข้อมูลที่ใช้เป็นหลักฐานการสอบบัญชี • ปรับปรุงหรือเพิ่มเติมวิธีการตรวจสอบที่จำเป็นเพื่อขจัดข้อสงสัยและพิจารณาถึงผลกระทบต่อการตรวจสอบในส่วนอื่น TSA500

  14. เรื่องที่ควรเตรียมพร้อมเรื่องที่ควรเตรียมพร้อม • หากต้องใช้ผลงานของผู้เชี่ยวชาญของฝ่ายบริหารเป็นหลักฐานการสอบบัญชี เช่น การคำนวณทางคณิตศาสตร์ประกันภัย การประเมินมูลค่า ผู้สอบบัญชีต้องคำนึงถึงความสำคัญของผลงานของผู้เชี่ยวชาญนั้นต่อวัตถุประสงค์ของผู้สอบบัญชี • หากต้องใช้ผลงานของผู้เชี่ยวชาญของฝ่ายบริหาร ควรแจ้งลูกค้าล่วงหน้าว่าผู้สอบบัญชีจะต้องมีวิธีการตรวจสอบเพิ่มเติมเพื่อให้มีความมั่นใจในความน่าเชื่อถือของผลงานของผู้เชี่ยวชาญดังกล่าว TSA500

  15. TSA501 หลักฐานการสอบบัญชี – ข้อควรพิจารณาเพิ่มเติมเฉพาะรายการ Audit Evidence—Specific Considerations for Selected Items เปลี่ยนแปลง ปานกลาง

  16. วัตถุประสงค์ • การได้มาซึ่งหลักฐานการสอบบัญชีที่เหมาะสมอย่างเพียงพอในเรื่องดังต่อไปนี้ • ความมีอยู่จริงและสภาพของสินค้าคงเหลือ • ความครบถ้วนของคดีความและการฟ้องร้องที่กิจการเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้อง • การแสดงรายการและการเปิดเผยข้อมูลทางการเงินจำแนกตามส่วนงานให้เป็นไปตามแม่บทการรายงานทางการเงินที่เกี่ยวข้อง TSA501

  17. สินค้าคงเหลือ • การเข้าสังเกตการณ์การตรวจนับสินค้าคงเหลือ • ประเมินแผนการตรวจนับและวิธีการของผู้บริหารที่ใช้ในการบันทึกและการควบคุมผลการตรวจนับสินค้าคงเหลือของกิจการ • สังเกตการณ์ผลการปฏิบัติงานตามวิธีการตรวจนับของผู้บริหาร • ตรวจตราสินค้าคงเหลือ • ทดสอบการตรวจนับ • การปฏิบัติวิธีการตรวจสอบสำหรับบันทึกรายการสินค้าคงเหลือฉบับสุดท้ายว่าได้แสดงข้อมูลถูกต้องตรงกับผลการตรวจนับ TSA501

  18. สินค้าคงเหลือ (ต่อ) • ในกรณีที่การตรวจนับสินค้าคงเหลือได้ถูกจัดให้มีขึ้นในวันอื่นที่ไม่ใช่วันที่ในงบการเงิน • ปฏิบัติวิธีการตรวจสอบเพิ่มเติม เพื่อให้ได้หลักฐานการสอบบัญชีที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงในสินค้าคงเหลือระหว่างวันที่ตรวจนับกับวันที่ในงบการเงิน ว่าได้มีการบันทึกอย่างเหมาะสม TSA501

  19. สินค้าคงเหลือ (ต่อ) • กรณีที่ไม่สามารถเข้าสังเกตการณ์การตรวจนับสินค้าคงเหลือ • ทำการตรวจนับหรือสังเกตการณ์การตรวจนับสินค้าคงเหลือบางรายการในวันที่เป็นทางเลือก • ปฏิบัติวิธีการตรวจสอบสำหรับรายการที่เกิดขึ้นในระหว่างช่วงเวลาดังกล่าว • หากไม่มีความเป็นไปได้ที่จะปฏิบัติวิธีการตรวจสอบดังกล่าว ผู้สอบบัญชีต้องเปลี่ยนแปลงความเห็นในรายงานของผู้สอบบัญชีให้เป็นไปตามมาตรฐานการสอบบัญชี รหัส 705 TSA501

  20. สินค้าคงเหลือ (ต่อ) • กรณีที่สินค้าคงเหลืออยู่ภายใต้การดูแลและการควบคุมของบุคคลภายนอก • ขอคำยืนยันจากบุคคลภายนอกเกี่ยวกับจำนวนและสภาพของสินค้าคงเหลือ • ปฏิบัติการตรวจตราหรือใช้วิธีการตรวจสอบอื่นที่มีความเหมาะสมกับสถานการณ์ TSA501

  21. คดีความและการฟ้องร้องคดีความและการฟ้องร้อง • ออกแบบและปฏิบัติวิธีดารตรวจสอบเพื่อระบุถึงคดีความและการฟ้องร้องที่กิจการเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้อง • สอบถามผู้บริหารและบุคคลอื่นภายในกิจการ รวมถึงที่ปรึกษากฎหมายภายในของกิจการ • สอบทานรายงานการประชุมที่เกี่ยวกับผู้มีหน้าที่ในการกำกับดูแลกิจการและเอกสารที่โต้ตอบระหว่างกิจการกับที่ปรึกษากฎหมายภายนอกของกิจการ • สอบทานบัญชีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับกฎหมาย TSA501

  22. คดีความและการฟ้องร้อง (ต่อ) • หากประเมินว่ามีความเสี่ยงในการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญเกี่ยวกับคดีความหรือการฟ้องร้อง • ให้ผู้บริหารจัดทำหนังสือสอบถามไปยังที่ปรึกษากฎหมายภายนอกของกิจการโดยผู้สอบบัญชีที่เป็นผู้จัดส่งด้วยตนเอง และให้ตอบกลับมายังผู้สอบบัญชีโดยตรง • ประชุมกับที่ปรึกษากฎหมายภายนอกของกิจการ (ขออนุญาตจากผู้บริหารและต้องมีตัวแทนของผู้บริหารเข้าร่วมประชุมด้วย) เพื่อหารือถึงผลที่น่าจะเป็นของคดีความหรือการฟ้องร้องในกรณีที่ • ประเมินว่าเหตุการณ์นั้นเป็นความเสี่ยงที่มีสาระสำคัญ • เหตุการณ์นั้นมีความซับซ้อน • มีข้อโต้แย้งระหว่างผู้บริหารและที่ปรึกษากฎหมายภายนอกของกิจการ • ขอให้ผู้บริหารและผู้มีหน้าที่ในการกำกับดูแลให้คำรับรองที่เป็นลายลักษณ์อักษร TSA501

  23. ข้อมูลทางการเงินจำแนกตามส่วนงานข้อมูลทางการเงินจำแนกตามส่วนงาน • เพื่อได้มาซึ่งหลักฐานการสอบบัญชีที่เหมาะสมอย่างเพียงพอให้เป็นไปตามแม่บทการรายงานทางการเงินที่เกี่ยวข้องโดย • ทำความเข้าใจวิธีการที่ผู้บริหารใช้ในการกำหนดข้อมูลทางการเงินจำแนกตามส่วนงาน • ประเมินว่าวิธีการดังกล่าวมีผลต่อการเปิดเผยข้อมูลให้เป็นไปตามแม่บทการรายงานทางการเงินที่เกี่ยวข้องหรือไม่ • ทดสอบการประยุกต์ใช้วิธีการดังกล่าว • ใช้วิธีการวิเคราะห์เปรียบเทียบหรือวิธีการตรวจสอบอื่นที่เหมาะสมในแต่ละสถานการณ์ TSA501

  24. เรื่องที่ควรเตรียมพร้อมเรื่องที่ควรเตรียมพร้อม • หากการเข้าสังเกตการณ์การตรวจนับสินค้าคงเหลือไม่สามารถทำได้ในทางปฏิบัติ ผู้สอบบัญชีต้องปฏิบัติวิธีการตรวจสอบที่เป็นทางเลือก เพื่อมั่นใจในความมีอยู่จริงและสภาพของสินค้าคงเหลือ • อย่างไรก็ตาม ความยากลำบาก ระยะเวลา หรือต้นทุนที่เกี่ยวข้องไม่เป็นเหตุอันสมควรให้ผู้สอบบัญชีละเว้นวิธีการตรวจสอบที่ไม่มีวิธีการตรวจสอบอื่นมาทดแทนได้หรือยอมรับหลักฐานการสอบบัญชีที่ไม่น่าเชื่อถือ TSA501

  25. TSA505 การขอคำยืนยันจากบุคคลภายนอก External Confirmations เปลี่ยนแปลง ปานกลาง

  26. วัตถุประสงค์ เพื่อออกแบบและใช้วิธีการตรวจสอบเพื่อให้ได้มาซึ่งหลักฐานการสอบบัญชีที่สัมพันธ์กันและน่าเชื่อถือ TSA505

  27. ขั้นตอนการขอคำยืนยันจากบุคคลภายนอกขั้นตอนการขอคำยืนยันจากบุคคลภายนอก • เลือกข้อมูลที่จะขอยืนยัน • เลือกผู้ให้คำยืนยันที่เหมาะสม • ออกแบบคำขอยืนยัน • แบบตอบกลับทุกกรณี หรือ แบบตอบเมื่อทักท้วง • วิธีส่งคำขอยืนยัน (เช่น ในรูปเอกสาร อิเล็คทรอนิค หรือสื่ออื่น ๆ) • ระบุที่อยู่ของผู้รับคำยืนยันอย่างถูกต้อง • ระบุให้ส่งคำยืนยันกลับมายังผู้สอบบัญชีโดยตรง • ส่งคำของยืนยันไปยังผู้ให้คำยืนยัน และติดตามการขอคำยืนยันนั้น TSA505

  28. ถ้าผู้บริหารไม่ยินยอมให้ผู้สอบบัญชีส่งคำขอยืนยันถ้าผู้บริหารไม่ยินยอมให้ผู้สอบบัญชีส่งคำขอยืนยัน • สอบถามผู้บริหารถึงเหตุผลของการปฏิเสธ หาข้อเท็จจริงและความสมเหตุสมผลของการปฏิเสธนั้น • ประเมินผลกระทบของการปฏิเสธของผู้บริหารต่อการประเมินความเสี่ยงจากการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญที่เกี่ยวข้อง • ตรวจสอบโดยวิธีการตรวจสอบที่เป็นทางเลือก • ถ้าเหตุผลของการปฏิเสธไม่สมเหตุสมผลหรือไม่สามารถได้รับหลักฐานการสอบบัญชีเหมาะสมจากการตรวจสอบตามวิธีการตรวจสอบที่เป็นทางเลือก • ติดต่อกับผู้หน้าที่ในการกำกับดูแลเพื่อแจ้งอุปสรรคสำคัญที่พบในระหว่างการตรวจสอบบัญชี (มาตรฐานการสอบบัญชี รหัส 260) • พิจารณาผลกระทบที่เป็นไปได้ต่อการตรวจสอบและการแสดงความเห็นของผู้สอบบัญชี (มาตรฐานการสอบบัญชี รหัส 705) TSA505

  29. ผลการของคำยืนยันจากบุคคลภายนอกผลการของคำยืนยันจากบุคคลภายนอก • ความน่าเชื่อถือของคำตอบกลับ • ถ้าสงสัยเกี่ยวกับความน่าเชื่อของคำตอบกลับ • หาหลักฐานการสอบบัญชีอื่นเพิ่มเติมคลายข้อสงสัยนั้น • ประเมินผลกระทบต่อความเสี่ยงจากการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ ความเสี่ยงจากการทุจริต และลักษณะ ระยะเวลา และขอบเขตของวิธีการตรวจสอบอื่น • คำขอยืนยันที่ไม่ตอบกลับ • ใช้วิธีการตรวจสอบที่เป็นทางเลือกเพื่อให้ได้หลักฐานการสอบบัญชีที่เกี่ยวข้องและน่าเชื่อถือ • อาจแสดงถึงความเสี่ยงจากการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญที่ไม่เคยพบมาก่อน • ผลต่างในคำตอบกลับ • สอบสวนผลต่างเพื่อพิจารณาว่าผลต่างนั้นแสดงถึงการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงหรือไม่ TSA505

  30. การของคำยืนยันแบบตอบเมื่อทักท้วงการของคำยืนยันแบบตอบเมื่อทักท้วง • ให้หลักฐานการสอบบัญชีที่น่าเชื่อถือน้อยกว่าการขอคำยืนยันแบบตอบทุกกรณี • ใช้เป็นวิธีการตรวจสอบเนื้อหาสาระได้เมื่อ • ประเมินว่าความเสี่ยงจากการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญอยู่ในระดับต่ำ และได้รับหลักฐานการสอบบัญชีที่เหมาะสมอย่างเพียงพอสำหรับประสิทธิผลของการควบคุมที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่ผู้บริหารให้การรับรอง • มีจำนวนประชากรที่จะส่งคำขอยืนยันเป็นจำนวนมาก ซึ่งแต่ละรายประกอบด้วยรายการและยอดคงเหลือจำนวนน้อยหรือมีเงื่อนไขที่เหมือนกัน • คาดว่าอัตราการตอบกลับแบบมีผลต่างจะมีน้อยมาก • ไม่คาดว่าจะมีสถานการณ์หรือเงื่อนไขที่ผู้ได้รับคำยืนยันจะเพิกเฉยต่อคำขอยืนยันนั้น TSA505

  31. ประเมินหลักฐานที่ได้รับประเมินหลักฐานที่ได้รับ • ประเมินผลการขอคำยืนยันโดยแยกผลการประเมินเป็น • คำตอบกลับว่าถูกต้อง หรือให้ข้อมูลตามคำขอยืนยันโดยไม่มีข้อยกเว้น • คำขอยืนยันที่ไม่น่าเชื่อถือ • คำขอยืนยันที่ไม่ตอบกลับ • คำตอบกลับที่มีผลต่าง TSA505

  32. เรื่องที่ควรเตรียมพร้อมเรื่องที่ควรเตรียมพร้อม • ต้องระมัดระวังกรณีที่คำยืนยันยอดตอบกลับมามีจำนวนน้อยกว่าที่คาดไว้หรือมีจำนวนสูงเกินกว่าที่คาดไว้ หรือตอบกลับเร็วและครบทุกราย อาจแสดงถึงปัจจัยที่อาจทำให้เกิดความเสี่ยงจากการทุจริต • หากจะส่งคำยืนยันทางอีเมล ต้องมีการตรวจสอบความมีตัวตนของผู้ส่ง เช่น การเข้ารหัสลับ TSA505

  33. TSA510 การตรวจสอบยอดยกมาในการสอบบัญชีครั้งแรก Initial Audit Engagements—Opening Balances เปลี่ยนแปลง น้อย

  34. วัตถุประสงค์ • ยอดยกมามีการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญต่องบการเงินงวดปัจจุบันหรือไม่ และ • นโยบายการบัญชีที่ใช้กับยอดยกมามีความเหมาะสมและได้มีการถือปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอในงบการเงินงวดปัจจุบันหรือไม่ หรือการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชีได้มีการบันทึกบัญชีอย่างเหมาะสม และมีการแสดงและเปิดเผยข้อมูลอย่างเพียงพอตามแม่บทบัญชีในการรายงานทางการเงินที่เกี่ยวข้องหรือไม่ TSA510

  35. วิธีการตรวจสอบ ยอดยกมา 1.) ผู้สอบบัญชีต้องอ่านงบการเงินล่าสุด (ถ้ามี) และรายงานของผู้สอบบัญชีคนก่อนต่องบการเงินนั้น (ถ้ามี) รวมทั้งการเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับยอดยกมา 2.) ผู้สอบบัญชีต้องได้มาซึ่งหลักฐานการสอบบัญชีที่เหมาะสมอย่างเพียงพอว่ายอดยกมามีการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญต่องบการเงินงวดปัจจุบันหรือไม่ โดย TSA510

  36. วิธีการตรวจสอบ (ต่อ) ยอดยกมา (ก) กำหนดว่ายอดคงเหลือของสิ้นงวดก่อนได้มีการยกมาในงวดปัจจุบันอย่างถูกต้อง หรือได้มีการปรับปรุงย้อนหลังอย่างเหมาะสมหรือไม่ (ข) กำหนดว่ายอดยกมาได้แสดงถึงการใช้นโยบายการบัญชีอย่างเหมาะสมหรือไม่ และ TSA510

  37. วิธีการตรวจสอบ (ต่อ) ยอดยกมา (ค) ปฏิบัติตามข้อใดข้อหนึ่งหรือมากกว่าดังต่อไปนี้ สอบทานกระดาษทำการของผู้สอบบัญชีคนก่อน ประเมินวิธีการตรวจสอบที่ใช้ในงวดปัจจุบันว่าได้ให้หลักฐานที่เกี่ยวข้องกับยอดยกมาหรือไม่ หรือ ใช้วิธีการตรวจสอบเฉพาะเพื่อให้ได้มาซึ่งหลักฐานเกี่ยวกับยอดยกมา 3.) หากยอดยกมามีการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญต่องบการเงินงวดปัจจุบัน ผู้สอบบัญชีต้องแจ้งผู้บริหารและผู้มีหน้าที่ในการกำกับดูแลในระดับที่เหมาะสม TSA510

  38. วิธีการตรวจสอบ (ต่อ) ความสม่ำเสมอของนโยบายการบัญชี ต้องได้มาซึ่งหลักฐานการสอบบัญชีที่เหมาะสมอย่างเพียงพอว่า นโยบายการบัญชีที่ใช้กับยอดยกมาได้ถือปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอในงบการเงินงวดปัจจุบันหรือไม่ การเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชีมีความเหมาะสม มีการแสดงและเปิดเผยข้อมูลอย่างเพียงพอ TSA510

  39. วิธีการตรวจสอบ (ต่อ) • ข้อมูลที่เกี่ยวข้องในรายงานของผู้สอบบัญชีคนก่อน • หากผู้สอบบัญชีคนก่อนมีการแสดงความเห็นในแบบที่เปลี่ยนแปลงไป (Modified opinion) ผู้สอบบัญชีต้องประเมินผลกระทบของเหตุการณ์ที่ทำให้ต้องมีการเปลี่ยนแปลงความเห็นดังกล่าวในการประเมินความเสี่ยงจากการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญในงบการเงินงวดปัจจุบัน TSA510

  40. การสรุปผลการตรวจสอบและการรายงานการสรุปผลการตรวจสอบและการรายงาน

  41. การสรุปผลการตรวจสอบและการรายงาน (ต่อ) • การแสดงความเห็นแบบที่เปลี่ยนแปลงไปในรายงานของผู้สอบบัญชี • คนก่อน • ความเห็นของผู้สอบบัญชีคนก่อนเป็นการแสดงความเห็นแบบที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งเรื่องดังกล่าวยังคงมีความเกี่ยวเนื่องและมีสาระสำคัญต่องบการเงินงวดปัจจุบัน ผู้สอบบัญชีควรเปลี่ยนแปลงความเห็นต่องบการเงินงวดปัจจุบัน TSA510

  42. เรื่องที่ควรเตรียมพร้อมเรื่องที่ควรเตรียมพร้อม • วางแผนการตรวจสอบยอดยกมา • ติดต่อสื่อสารกับลูกค้า และผู้สอบบัญชีคนก่อน เพื่อขอดูกระดาษทำการ TSA510

  43. TSA520 การวิเคราะห์เปรียบเทียบ Analytical Procedures เปลี่ยนแปลง น้อย

  44. วัตถุประสงค์ (ก) เพื่อให้ได้มาซึ่งหลักฐานการสอบบัญชีที่เกี่ยวข้องและเชื่อถือได้จากวิธีการตรวจสอบเนื้อหาสาระโดยใช้การวิเคราะห์เปรียบเทียบ และ (ข) เพื่อออกแบบและทำการวิเคราะห์เปรียบเทียบในช่วงที่การตรวจสอบใกล้จะแล้วเสร็จเพื่อช่วยผู้สอบบัญชีทำการสรุปผลโดยรวมว่างบการเงินสอดคล้องกับความเข้าใจของผู้สอบบัญชีที่มีต่อกิจการที่ตรวจสอบหรือไม่ TSA520

  45. คำจำกัดความ • การวิเคราะห์เปรียบเทียบ หมายถึง การประเมินผลของข้อมูลทางการเงิน โดยการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ที่เป็นไปได้ระหว่างข้อมูลทางการเงินและข้อมูลที่ไม่ใช้ข้อมูลทางการเงิน • ซึ่งรวมถึงการสอบทานที่จำเป็นสำหรับความผันผวนหรือความสัมพันธ์ต่าง ๆ ที่ระบุได้ซึ่งไม่สอดคล้องกับข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้องกัน หรือแตกต่างไปจากมูลค่าที่คาดหมาย (Expected values) ไว้ในจำนวนที่มีสาระสำคัญ TSA520

  46. คำจำกัดความ (ต่อ) • การวิเคราะห์เปรียบเทียบ รวมถึง • 1. การพิจารณาเปรียบเทียบข้อมูลทางการเงินของกิจการข้อมูลอื่น ๆ ตัวอย่างเช่น • ข้อมูลที่เปรียบเทียบกันได้ของงวดก่อน ๆ • ผลที่คาดการณ์ไว้ของกิจการ (Anticipated result) เช่น งบประมาณหรือประมาณการต่าง ๆ หรือ ความคาดหมายของผู้สอบบัญชี • ข้อมูลของกิจการอื่นที่อยู่ในอุตสาหกรรมที่คล้ายคลึงกัน หรือขนาดใกล้เคียงกันใน อุตสาหกรรมเดียวกัน • 2. การวิเคราะห์เปรียบเทียบยังรวมถึงการพิจารณาความสัมพันธ์ต่าง ๆ ตัวอย่างเช่น • ความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบของข้อมูลทางการเงินซึ่งคาดว่าควรเป็นไปตามแบบแผนที่คาดการณ์ไว้ตามประสบการณ์ของกิจาร • ความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลทางการเงินและข้อมูลที่ไม่ใช่ข้อมูลทางการเงินที่เกี่ยวข้อง • 3. ผู้สอบบัญชีอาจใช้วิธีการต่าง ๆ ในการทำการวิเคราะห์เปรียบเทียบ ตั้งแต่วิธีการเปรียบเทียบอย่างง่ายจนถึงการวิเคราะห์ที่ซับซ้อนโดยใช้วิธีการทางสถิติขั้นสูง TSA520

  47. วิธีการตรวจสอบเนื้อหาสาระโดยใช้การวิเคราะห์เปรียบเทียบวิธีการตรวจสอบเนื้อหาสาระโดยใช้การวิเคราะห์เปรียบเทียบ 1. ความเหมาะสมของวิธีการวิเคราะห์เปรียบเทียบที่จะใช้ 2. ประเมินความเชื่อถือได้ของข้อมูล 3. กำหนดความคาดหมายและประเมินว่าความคาดหมายมีความแม่นยำ เพียงพอหรือไม่ 4. กำหนดจำนวนผลแตกต่างที่ยอมรับได้ ระหว่างจำนวนที่บันทึกกับ จำนวนที่คาดหมายไว้ TSA520

  48. การใช้การวิเคราะห์เปรียบเทียบเพื่อช่วยในการสรุปผลโดยรวมการใช้การวิเคราะห์เปรียบเทียบเพื่อช่วยในการสรุปผลโดยรวม • ออกแบบและทำการวิเคราะห์เปรียบเทียบในช่วงที่การตรวจสอบใกล้แล้วเสร็จเพื่อช่วยในการสรุปผลโดยรวม • ผลจากการวิเคราะห์เปรียบเทียบอาจระบุถึงความเสี่ยงของการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญที่ไม่ได้รับรู้มาก่อน • ซึ่งมาตรฐานการสอบบัญชีรหัส 315 กำหนดให้ผู้สอบบัญชีทบทวนการประเมินความเสี่ยงของการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญใหม่ และเปลี่ยนแปลงวิธีการตรวจสอบที่ได้วางแผนไว้ให้เหมาะสม TSA520

  49. การสอบสวนผลจากการวิเคราะห์เปรียบเทียบการสอบสวนผลจากการวิเคราะห์เปรียบเทียบ • 1. สอบถามผู้บริหาร • 2. หลักฐานการสอบบัญชีที่เกี่ยวข้องกับคำตอบของผู้บริหารอาจได้มาจากการประเมินคำตอบเหล่านั้นกับความเข้าใจของผู้สอบบัญชีที่เกี่ยวกับกิจการและสภาพแวดล้อมของกิจการที่ตรวจสอบและหลักฐานการสอบบัญชีอื่นที่ได้มาในระหว่างการตรวจสอบ • 3. การตรวจสอบเพิ่มเติมอื่นอาจมีความจำเป็นตัวอย่างเช่น • การที่ผู้บริหารไม่สามารถให้คำอธิบายได้ • คำอธิบายประกอบกับหลักฐานการสอบบัญชีที่เกี่ยวข้องกับคำตอบของผู้บริหารที่ได้รับนั้นไม่เพียงพอ TSA520

  50. เรื่องที่ควรเตรียมพร้อมเรื่องที่ควรเตรียมพร้อม • เตรียมขอข้อมูลเกี่ยวกับมูลค่าที่คาดหมายไว้ เช่น งบประมาณประมาณการต่าง ๆ ของกิจการ • ข้อมูลของกิจการอื่นที่อยู่ในอุตสาหกรรมที่คล้ายคลึงกัน TSA520

More Related