230 likes | 565 Views
สอนสุขศึกษาเรื่อง ตะคริว( Muscle cramps ). วันที่ 21 กันยายน 2554 สำนักพัฒนาวิชาการและนิเทศงาน กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. ข่าวสด ข่าวเด่น บ่ายนี้. พี่ช่วยน้องลงเล่นน้ำกลับเป็นตะคริวจมดับ .
E N D
สอนสุขศึกษาเรื่อง ตะคริว(Muscle cramps) วันที่ 21 กันยายน 2554 สำนักพัฒนาวิชาการและนิเทศงาน กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข
ข่าวสด ข่าวเด่น บ่ายนี้
พี่ช่วยน้องลงเล่นน้ำกลับเป็นตะคริวจมดับ • เกิดเหตุเศร้าสลดที่ จ.ชุมพร พี่สาวลงไปช่วยน้องสาวในบ่อน้ำขนาดใหญ่ กลับเป็นตะคริวจมน้ำเสียชีวิต • ชุมพร 20 เม.ย. - ตำรวจ สภ.ปะทิว จ.ชุมพร ประสานนักประดาน้ำและหน่วยกู้ภัยงมหาร่าง น.ส.ลลิตา พิมพิสาร อายุ 18 ปี ภายในบ่อน้ำขนาดใหญ่ บริเวณบ้านพักคนงานสวนยางพารา ต.สะพลี อ.เมือง นานกว่า 30 นาที ในที่สุดพบร่างจมอยู่ก้นบ่อลึกกว่า 2 เมตร • สอบสวนทราบว่า ผู้ตายและน้องสาว รวมญาติอีก 4 คน กำลังเล่นน้ำในบ่อ โดย ด.ญ.บี พิมพิสาร อายุ 11 ปี น้องสาวของผู้ตาย ได้เกาะลูกบอลลอยอยู่กลางบ่อ และไม่สามารถว่ายเข้าฝั่งได้ ผู้ตายจึงว่ายน้ำไปช่วย แต่เกิดเป็นตะคริวจมน้ำเสียชีวิต แม้ญาติได้เรียกคนช่วย แต่ไม่ทัน
เฒ่าวัย 76 ตกปลาเป็นตะคริวจมน้ำดับ • ชายชรา 5 คน ชวนกันไปตกปลา บริเวณหาดน้ำหนาว อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี แต่น้ำทะเลขึ้นอย่างรวดเร็ว จึงพากันว่ายน้ำกลับฝั่ง แต่ชายวัย 76 ปี เป็นตะคริวจมน้ำเสียชีวิตตำรวจภูธรสัตหีบ จ.ชลบุรี ตรวจสอบศพนายลม่อม สินมงคล อายุ 76 ปี หลังจมน้ำเสียชีวิตบริเวณหาดน้ำหนาว ต.ช่องแสมสาร อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี ก่อนส่งศพให้แพทย์โรงพยาบาลสัตหีบ กม.10 ชันสูตรหาสาเหตุการเสียชีวิตที่แท้จริง • จากการสอบสวนทราบว่า นายลม่อม พร้อมเพื่อนวัยเดียวกัน รวม 5 คน ชวนกันไปตกปลาบริเวณชายหาด แต่น้ำทะเลลดลง จึงออกไปตกปลาบนโขดหิน ห่างจากชายฝั่งประมาณ 100 เมตร จนกระทั่งเวลาผ่านไปประมาณ 1 ชั่วโมง น้ำทะเลขึ้นอย่างรวดเร็ว จึงชวนกันว่ายน้ำกลับเข้าฝั่ง แต่นายลม่อมเป็นตะคริวจมน้ำเสียชีวิตต่อหน้าเพื่อนอีก 4 คน
เบ็ดติดลงไปกู้ หนุ่มเคราะห์ร้ายเป็นตะคริวจมดับ • หนุ่ม อายุ 17 ปี นั่งตกปลา อ่างเก็บน้ำห้วยลานบ้านออนใต้ อ. สันกำแพง เชียงใหม่ เบ็ดติดรากไม้ ดำลงไปเอาออก โชคร้าย ตะคริวกิน จมน้ำดับ ญาติไม่ติดใจสาเหตุการเสียชีวิต…
ตะคริว หมายถึง • อาการเกร็งตัว ทำให้มีอาการปวดและเป็นก้อนแข็งของกล้ามเนื้อ ซึ่งเกิดขึ้นฉับพลันและเป็นอยู่เพียงชั่วขณะก็ทุกเลาไปได้เอง อาจเกิดที่กล้ามเนื้อ ส่วนใดๆของร่างกายก็ได้ ที่พบได้บ่อย ได้แก่ กล้ามเนื้อน่องและต้นขา • อาจมีอาการขณะออกกำลังกาย ขณะเดิน ขณะนั่งพักหรือนอนพักก็ได้ บางรายอาจมีอาการตะคริวที่ขา ขณะนอนหลับตอนกลางคืนจนสะดุ้งตื่น เรียกว่าตะคริวตอนกลางคืน
บางรายอาจเป็นตะคริวขณะออกกำลังกายหรือทำงานในที่ที่อาการร้อน เรียกว่า ตะคริวจากความร้อน • ตะคริวเป็นภาวะที่พบได้บ่อยมาก พบได้ในคนทุกวัย • ส่วนตะคริวที่ขา ตอนกลางคืนพบได้บ่อยในคนวัยกลางคนและวัยสูงอายุ
สาเหตุ • ส่วนใหญ่เกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุชัดเจน ส่วนน้อยที่ทราบสาเหตุ มักเกิดจากการใช้กล้ามเนื้อมากเกินหรือจนล้า การออกกำลังกายที่ใช้แรงหรือติดต่อกันนานๆ หรือการออกกำลังกายหรือทำงานในที่ที่อากาศร้อน ภาวะขาดน้ำ(จากท้องเดินหรืออาเจียน) การยืน การนั่ง หรือทำงานอยู่ในท่าเดิมติดต่อกันนานๆ
สาเหตุอื่นๆได้แก่ • ภาวะเกลือแร่ ในเลือดต่ำ เช่นโซเดียม โพแทสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม • ภาวการณ์ตั้งครรภ์เนื่องจากระดับแคลเซียมในเลือดต่ำหรือการไหลเวียนของเลือดไปที่ขาไม่สะดวก • ภาวะหลอดเลือดแดงส่วนปลายแข็ง เช่นผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง สูบบุหรี่จัดเป็นต้น อาจเป็นตะคริวที่ขาได้บ่อยขณะออกกำลังหรือเดินไกลหรือเดินนาน หรือขณะที่อากาศเย็นตอนดึก หรือเช้ามืดเนื่องจากการไหลเวียนของเลือดไปที่ขาไม่ดี
รากประสาทถูกกด เช่นโรคโพรงกระดูกสันหลังแคบ มักมีอาการตะคริวที่น่องขณะเดินไกลหรือเดินนาน • การใช้ยาเช่น ยาขับปัสสาวะ • พบร่วมกับโรคหรือภาวะอื่น เช่นเบาหวาน โรคพาร์กินสัน ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ โลหิตจาง ภาวะขาดไทรอยด์ ภาวะขาดพาราไทรอยด์ ตับแข็ง ไตวาย
อาการ • ผู้ป่วยรู้สึกกล้ามเนื้อส่วนใดส่วนหนึ่ง มีการแข็งตัวหรือปวดมาก เอามือคลำดูจะรู้สึกแข็งเป็นก้อน ถ้าพยายามขยับเขยื้อนกล้ามเนื้อ ส่วนนั้นจะทำให้ยิ่งแข็งตัวและปวดมากขึ้น การนวดและยึดกล้ามเนื้อส่วนนั้น จะช่วยให้ตะคริวหายเร็ว
ภาวะแทรกซ้อน • ส่วนใหญ่มักเป็นชั่วขณะแล้วทุเลาไปได้เอง ไม่มีอันตรายร้ายแรง • หากเป็นติดต่อกันนานๆ ขณะเล่นกีฬาหรือว่ายน้ำ อาจทำให้หกล้มหรือจมน้ำได้
การรักษา • 1.ขณะเป็นตะคริว ให้ทำการปฐมพยาบาล โดยใช้มือนวดกล้ามเนื้อที่เป็นตะคริว ประคบด้วยน้ำอุ่นจัดๆ หรือยืดกล้ามเนื้อส่วนนั้นให้ตึง • 2.ถ้าเป็นตะคริวขณะเข้านอนตอนกลางคืนบ่อยๆ ก่อนนอนควรดื่มนมให้มากขึ้น และยกขาสูง ใช้หมอนรอง จากเตียงประมาณ 10 ซม.(4นิ้ว) ในหญิงตั้งครรภ์ อาจให้ยาเม็ดแคลเซียมแลกเทต กินวันละ 1-3 เม็ด
3.ถ้าเป็นตะคริวจากระดับโซเดียมในเลือดต่ำ เช่นเกิดจากท้องเดิน อาเจียน ออกกำลังหรือทำงานในที่ที่อากาศร้อน เหงื่อออกมาก ควรให้ดื่มสารละลายน้ำตาลเกลือแร่ ถ้าดื่มไม่ได้ควรให้น้ำเกลือนอร์มัลทางหลอดเลือดดำ • 4.ถ้าเป็นหายๆบ่อยๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นขณะเดินนานๆ หรือขณะนอนหลับ ควรแนะนำให้ไปโรงพยาบาลเพื่อตรวจหาสาเหตุ
การป้องกัน • 1.หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายหรือใช้กล้ามเนื้อมากเกินไป • 2.ป้องกันภาวะขาดน้ำ โดยการดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว และควรดื่มน้ำให้เพียงพอก่อนออกกำลังกาย • 3.ป้องกันการขาดโพแทสเซียม โดยการกินผลไม่เช่น กล้วย ส้ม เป็นประจำ หรือรายที่ใช้ยาขับปัสสาวะติดต่อกันนานๆ ควรเสริมด้วยยาโพแทสเซียมคลอไรด์ • 4.ดื่มน้ำผลไม้หรือสารละลายน้ำตาลเกลือแร่ ก่อนและระหว่างออกกำลังกายหรือทำงานในที่ที่อากาศร้อนหรือมีเหงื่อออกมาก
ทำการบริหารยืดกล้ามเนื้อก่อนออกกำลังกายทำการบริหารยืดกล้ามเนื้อก่อนออกกำลังกาย • ผู้ที่เป็นตะคริวตอนกลางคืน ควรหลีเลี่ยงการออกกำลังกายตอนกลางคืน และก่อนนอนควรทำการบริหารยึดกล้ามเนื้อหรือขี่จักรยานนาน 2-3 นาที หรือกินยาป้องกันตามคำแนะนำของแพทย์
ปัจจัยกระตุ้นให้เกิดตะคริวปัจจัยกระตุ้นให้เกิดตะคริว • ส่วนใหญ่แล้วไม่ค่อยมีสาเหตุ แต่ในผู้ป่วยบางรายอาจเกิดจากยาบางชนิด เช่น ยาขับปัสสาวะ ยาลดไขมันในเลือด ยาลดความดันโลหิตบางชนิด เป็นต้น นอกจากนั้นโรคทางกายบางอย่าง เช่น โรคไตวาย โรคเบาหวาน โรคของต่อมธัยรอยด์ ซีด น้ำตาลในเลือดต่ำ โรคพาร์กินสัน ร่างกายขาดสารน้ำ และความผิดปกติของเกลือแร่ในร่างกาย ได้แก่ แมกนีเซียม แคลเซียม โปแตสเซียม ยังทำให้เกิดตะคริวขึ้นได้ง่าย
การทำงานมากๆ จนเมื่อยล้าหรือนั่งขดแขนขาอยู่ในท่าใดท่าหนึ่งนานๆ ก็อาจทำให้เกิดตะคริวขึ้นได้เช่นกัน เพราะเลือดไม่สามารถไหลเวียนไปเลี้ยงแขนขาได้สะดวก • เรื่องของเกลือ เราท่านมีความเข้าใจผิดๆ กันอยู่มากในเรื่องเกี่ยวกับเกลือ มักเข้าใจว่า ถ้าใครเป็นตะคริว ต้องเป็นจากขาดเกลือ จึงได้เห็น การรักษาตะคริวโดยให้กินเกลือกันอย่างแพร่หลาย ความจริงที่มีผู้พิสูจน์แล้วคือ คนทั่วไปมักไม่ขาดเกลือ ออกจะมีเหลือเฟือ เสียด้วยซ้ำไป
โปแตสเซียม ช่วยให้กล้ามเนื้อผ่อนคลายความร้อนที่เกิดขึ้น ในระหว่างการทำงาน เวลาวิ่งมีความร้อนเกิดขึ้นมากมาย มหาศาล โปแตสเซียม จึงถูกใช้งานหมดไปได้อย่างมาก • แมกนีเซี่ยม ช่วยในการทำงานของกล้ามเนื้อ โดยประสานงานกับแคลเซี่ยม แม้จะไม่เสียไปมากอย่างโปแตสเซี่ยม แต่ก็ขาดไม่ได้ ดังนั้น แร่ธาตุ ที่เราควรให้ความสนใจ คือ โปแตสเซี่ยม เนื่องจากมีการเสียไปในระหว่างออกกำลัง จึงต้องกินเข้า ไปชดเชยกันอาหารที่อุดมด้วยโปแตสเซียม คือ ผลไม้ ถั่ว และผัก