130 likes | 345 Views
Key Success factor. จัดทำโดย นส.จงลักษณ์ สมร่าง. ปัจจัยแห่งความสำเร็จ ( Key Success Factor) เพื่อให้ดำเนินการจัดการความรู้ตามเป้าหมาย KM . การเตรียมการและปรับเปลี่ยนพฤติกรรม.
E N D
Key Success factor จัดทำโดย นส.จงลักษณ์ สมร่าง
ปัจจัยแห่งความสำเร็จ (Key Success Factor) เพื่อให้ดำเนินการจัดการความรู้ตามเป้าหมาย KM
การเตรียมการและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเตรียมการและปรับเปลี่ยนพฤติกรรม • ผู้บริหาร เป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ให้บุคลากรได้เห็น โดยสนับสนุนการทำงานแบบมีส่วนร่วม ลักษณะของผู้นำควรเป็นดังนี้ • เป็นต้นแบบแห่งการเป็นผู้ริเริ่มในการแบ่งปันและเรียนรู้ • มีการจัดทำกลยุทธ์ที่ชัดเจน เข้าใจในลักษณะของปัญหาและพันธกิจขององค์กร • กำหนดโครงสร้างพื้นฐานขององค์กร เช่น งบประมาณสนับสนุน เครื่องมือ อุปกรณ์ต่าง ๆ โครงสร้างหรือระบบงานที่เอื้อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ เพื่อให้บุคลากรจากทุกฝ่ายสามารถเข้ามาร่วมกันวางแผนและดำเนินการในเรื่องการจัดการความรู้
การเตรียมการและปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (ต่อ) • กำหนด ทีม/ หน่วยงานที่รับผิดชอบ • มีระบบการติดตามและประเมินผล • กำหนดปัจจัยแห่งความสำเร็จชัดเจน • ทุกคนในองค์กรถือว่าการเรียนรู้เป็นหน้าที่และความรับผิดชอบของทุกคน ไม่ถือว่าการทำ KM เป็นงานพิเศษ • องค์กรต้องมีวัฒนธรรมที่ให้ความไว้เนื้อเชื่อใจ ให้เกียรติกัน เคารพในสิทธิและความคิดของผู้ร่วมงานในทุกระดับ • องค์กรส่งเสริมให้บุคลากร เกิดการเรียนรู้ โดยการให้อิสระในการคิด และการทำงาน และกระตุ้นให้พนักงานสร้างสรรสิ่งใหม่ ๆ
การสื่อสาร • กิจกรรมที่ทำให้ทุกคนเข้าใจถึงสิ่งที่องค์กรจะทำ • ประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับทุกคน แต่ละคนจะมีส่วนร่วมได้อย่างไร และเป็นแรงกระตุ้นให้คนในองค์กรมีความอยากเรียนรู้และอยากมีส่วนร่วมในการสร้างความรู้ให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง
กระบวนการและเครื่องมือกระบวนการและเครื่องมือ • ช่วยให้การค้นหา เข้าถึง ถ่ายทอด และแลกเปลี่ยนความรู้สะดวกรวดเร็วขึ้น โดยการเลือกใช้กระบวนการและเครื่องมือขึ้นกับ • ชนิดของความรู้ • ลักษณะขององค์กร (ขนาด สถานที่ตั้ง ฯลฯ) • ลักษณะการทำงาน • วัฒนธรรมองค์กร • ทรัพยากร
การเรียนรู้ • เพื่อสร้างความเข้าใจและตระหนักถึง ความสำคัญและหลักการของการจัดการ ความรู้ โดยการเรียนรู้ต้องพิจารณาถึง • เนื้อหา • กลุ่มเป้าหมาย • วิธีการ • การประเมินและปรับปรุง
การวัดผล • การวัดผลจะช่วยให้องค์กรสามารถทบทวนประเมินผล และทำการปรับปรุงกลยุทธ์และกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการจัดการความรู้ มีการนำผลของการวัดมาใช้ในการปรับปรุงแผนและการดำเนินการให้ดีขึ้น มีการนำผลการวัดมาใช้ในการสื่อสารกับบุคลากรในทุกระดับให้เป็นประโยชน์ของการจัดการความรู้ และการวัดผลต้องพิจารณาด้วยว่าจะวัดผลที่ขั้นตอนไหน ได้แก่ วัดระบบ (System) วัดที่ผลลัพธ์ (Out put) หรือวัดที่ประโยชน์ที่จะได้รับ • องค์กรต้องตระหนักว่าตัวบ่งชี้ที่ดีจะต้องสอดคล้อง และเชื่อมโยงกับกลยุทธ์การจัดการความรู้ขององค์กร และสามารถบอกได้ว่าสถานะปัจจุบันของการจัดการความรู้เป็นอย่างไร การดำเนินการมีความคืบหน้าเพียงใด ได้ผลตามที่คาดหวังไว้หรือไม่ และสุดท้ายก็คือการจัดการความรู้ส่งผลกระทบอะไรกับองค์กรบ้าง
การยกย่องชมเชยและให้รางวัลการยกย่องชมเชยและให้รางวัล • เป็นแรงจูงใจในการแลกเปลี่ยนความรู้และปรับเปลี่ยน พฤติกรรมองค์กรที่ประสบความสำเร็จ ควรมีการปรับแผนการยกย่องชมเชยและการให้รางวัลให้เหมาะสมกับกิจกรรมที่ทำ อยู่อย่างสม่ำเสมอ เพื่อจูงใจให้คนเข้าร่วมกิจกรรมการจัดการความรู้ นอกจากนี้อาจมีการบูรณาการแผนการยกย่องชมเชยและการให้รางวัล สร้างแรงจูงใจให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการมีส่วนร่วมของบุคลากรในทุกระดับ
การยกย่องชมเชยและให้รางวัล (ต่อ) ระบบการให้รางวัลแก่บุคลากรและทีมงานที่มีการแลกเปลี่ยนความรู้ • ขั้นตอนการดำเนินการ • กำหนดกิจกรรมของกลุ่มเป้าหมายที่จะได้รับรางวัล • กำหนดเกณฑ์การให้รางวัล • จัดหารางวัลหรือสิ่งตอบแทน • ผลลัพธ์ • มอบรางวัลในการมีส่วนร่วมกิจกรรม KM เช่น KM Day, Quality Fair, IT Week • ให้รางวัลตอบคำถาม ชิงรางวัลทุก 1 เดือน • ให้รางวัล 100 ท่านแรกที่ร่วม เสวนาความรู้ใน web board
การยกย่องชมเชยและให้รางวัล (ต่อ) • ข้อพึงระวัง • ค้นหาความต้องการของบุคลากร • แรงจูงใจระยะสั้นและระยะยาว • บูรณาการกับระบบที่มีอยู่ • ปรับเปลี่ยนให้เข้ากับกิจกรรมที่ทำ ในแต่ละช่วงเวลา