230 likes | 393 Views
안녕하세요 . ( อัน-นยอง-ฮา-เซ-โย ). STATISTIC Subject. Subject code 2201-2413 2(4) Score 70:30 (Total 100%) Quiz 35% ( 6 Times for quiz and 1 Time for assignment ) Midterm Test 15% Final Test 20% Score Specially 30% B ibliography online: http://edu.e-tech.ac.th/krutros
E N D
안녕하세요. ( อัน-นยอง-ฮา-เซ-โย )
STATISTIC Subject Subject code 2201-2413 2(4) Score 70:30 (Total 100%) Quiz 35% (6 Times for quiz and 1 Time for assignment) Midterm Test 15% Final Test 20% Score Specially 30% Bibliography online: http://edu.e-tech.ac.th/krutros ByKru Kritsana Khaypa
Meaning of Statistic สถิติหมายถึง ตัวเลขหรือข้อมูลที่ได้จากการเก็บรวบรวม เช่น จำนวนผู้ประสบอุบัติเหตุบนท้องถนน อัตราการเกิดของเด็กทารก ปริมาณน้ำฝนในแต่ละปี เป็นต้น สถิติในความหมายที่กล่าวมานี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ข้อมูลทางสถิติ (Statistical data)
Meaning of Statistic อีกความหมายหนึ่ง สถิติ หมายถึง วิธีการที่ว่าด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูล การนำเสนอข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการตีความหมายข้อมูล สถิติในความหมายนี้เป็นทั้งวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ เรียกว่า "สถิติศาสตร์"
Type of Statistic สถิติศาสตร์แบ่งได้เป็น 2 ประเภท 1. สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) 2. สถิติเชิงอนุมาน(Inferential Statistics)
Descriptive Statistics สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) เป็นสถิติที่บรรยายถึงคุณลักษณะของสิ่งที่กำลังศึกษาซึ่งอาจนำเสนอข้อมูลในรูป บทความ ตาราง แผนภูมิหรือ กราฟ สถิติพรรณนาจะใช้บรรยายเฉพาะกลุ่มที่ศึกษา ไม่สามารถ นำผลที่ได้ไปอ้างอิงถึงกลุ่มอื่นได้ เช่น คะแนนเฉลี่ยของการสอบวิชาสถิติในโรงเรียน ก.ในปี 2551 ได้เป็น 78.5 คะแนน
Inferential Statistic สถิติเชิงอนุมาน(Inferential Statistics) เป็นสถิติที่ศึกษาข้อมูลที่เป็นกลุ่มตัวอย่างเพียงกลุ่มเดียว และข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างนี้จะใช้เป็นตัวแทนของประชากรทั้งหมด ผลสรุปที่ได้สามารถนำไปอ้างอิงถึงกลุ่มประชากรได้ เช่น ต้องการทราบความสูงเฉลี่ยของนักเรียนช่างอุตสาหกรรม ทั้งหมด 3,500 คน ของโรงเรียน ก. (จะใช้วิธีการสุ่มนักเรียนจำนวน 1500 คน ก็สามารถสรุปอ้างอิงไปถึงนักเรียนช่าง ทั้งหมด 3,500 คนได้)
Data and Information ข้อมูล (Data) ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ที่เราสนใจจะศึกษา อาจเป็น ตัวเลข และข้อมูลในลักษณะที่ไม่เป็นตัวเลข ข่าวสาร (Information) ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผล
Type of Data by Data type การแบ่งข้อมูลตามลักษณะของข้อมูล 1. ข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative Data)2. ข้อมูลเชิงคุณภาพ(Qualitative Data)
Quantitative Data ข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative Data)เป็นข้อมูลที่สามารถเปรียบเทียบความแตกต่างได้เป็นข้อมูลตัวเลขที่บอกได้ว่ามีค่ามากน้อยเท่าใด เช่น ข้อมูล อายุ น้ำหนัก ความสูง พื้นที่ เป็นต้น
Qualitative Data ข้อมูลเชิงคุณภาพ(Qualitative Data) เป็นข้อมูลบรรยายลักษณะของสิ่งที่ศึกษา จึงไม่อยู่ในรูปของตัวเลข ไม่สามารถบอกได้ว่ามีค่ามากน้อยเท่าใด แต่สามารถกำหนดตัวเลขขึ้นแทนลักษณะของสิ่งที่ศึกษาได้ แต่จะนำมาคำนวณไม่ได้ เช่น อาชีพ เพศ ระดับชั้น สถานภาพสมรส เป็นต้น
Type of Data by Source การแบ่งข้อมูลตามแหล่งที่มา แบ่งได้ 2 ประเภท 1. ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) 2. ข้อมูลทุติยภูมิ(Secondary Data)
Primary Data ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) เป็นข้อมูลที่ผู้ใช้เก็บรวบรวมมาเอง โดยการสัมภาษณ์ การสังเกต การทดลอง และข้อมูลที่ได้ไม่ได้มีการวิเคราะห์ใดๆ จึงเป็นข้อมูลดิบ (Raw Data)
Secondary Data ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) เป็นข้อมูลที่ผู้อื่นเป็นคนเก็บรวบรวมไว้โดยผู้ใช้ไม่ได้เก็บรวบรวมด้วยตนเอง จึงเป็นข้อมูลที่ผ่านการวิเคราะห์มาบ้างแล้ว ผู้ใช้สามารถนำไปใช้ได้เลย
Statistics Method Collection of Data Presentation of Data Analysis of Data Interpretation of Data
Frequency’s Curves โค้งปกติ (Normal Curves)
Frequency’s Curves โค้งเบ้ (Skewed Curve)
Frequency’s Curves โค้งรูปตัวยู (U-Shaped Curve)
Frequency’s Curves โค้งรูปตัวเจ (J-Shaped Curve)
Frequency’s Curves โค้งสองยอด (Bimodal Curve)
Frequency’s Curves โค้งหลายยอด (Multi-modal Curve)
การวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลางการวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง Measures of Central Tendency เป็นระเบียบวิธีทางสถิติในการหาค่าเพียงค่าเดียวที่จะใช้เป็นตัวแทนของข้อมูลทั้งชุด เรียกว่า ค่ากลาง ประเภทของการวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลางประกอบด้วย 1.มัชฌิมเลขคณิต (Arithmetic Mean) 2.มัธยฐาน (Median) 3.ฐานนิยม (Mode)
Assignment: How many statistics method and May you have explain each method? 감사합니다.( คัม-ซา-ฮัม-นิ-ดะ )