501 likes | 1.02k Views
ภาวะผู้นำทางวิชาการ Instructional Leadership. อัญชลี ธรรมะวิธีกุล หัวหน้าหน่วยศึกษานิเทศก์ 25 เมษายน 2555. ความหมายของผู้นำ. ผู้นำหมายถึงบุคคลที่สามารถชักจูงหรือชี้นำหรือโน้มน้าว จูงใจบุคคลอื่นให้ปฏิบัติงาน สำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ. ประเภทของผู้นำ.
E N D
ภาวะผู้นำทางวิชาการ Instructional Leadership อัญชลี ธรรมะวิธีกุล หัวหน้าหน่วยศึกษานิเทศก์ 25 เมษายน 2555
ความหมายของผู้นำ • ผู้นำหมายถึงบุคคลที่สามารถชักจูงหรือชี้นำหรือโน้มน้าว จูงใจบุคคลอื่นให้ปฏิบัติงาน สำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ประเภทของผู้นำ • ผู้นำแบบเป็นทางการ (Formal Leaders) • ผู้นำแบบไม่เป็นทางการ (Informal Leaders)
ภาวะผู้นำ : Leadership Kelley แบ่งผู้นำออกเป็น 2 ประเภท • ผู้นำ “ผู้อหังการ” จะเชื่อว่าตนจะต้องได้ทุกอย่างที่ต้องการ บทบาทของเขาคือคอยออกคำสั่ง ทำการตัดสินใจ และจัดรูปแบบองค์กร • ผู้นำ “ผู้ถ่อมตน” จะไม่มีท่าทางผยอง เขาจะนำเมื่อจำเป็นเท่านั้น และจะให้โอกาสผู้อื่นนำเมื่อสถานการณ์เหมาะสม
ภาวะผู้ตาม Kelley ได้นิยามภาวะผู้ตาม 5 ประเภท • พวกลูกแกะ(Sheep) จะทำตามข้อเรียกร้องอย่างเชื่อฟังและไม่วิพากษ์วิจารณ์สิ่งใด ๆ เขาต้องการชี้นำ และมักจะทำตามโดยไม่ลังเลเลย • พวกลูกขุนพลอยพยัก(Yes – people) จะทำตามข้อเรียกร้องอย่างกระตือรือร้น ผู้บังคับบัญชาจะได้ยินแต่ข่าวดี ๆ จากเขา หรือได้ยินแต่เรื่องที่พวกเขาเชื่อว่าผู้บังคับบัญชาต้องการได้ยิน
ผู้ตามที่ห่างเหิน (Alienated Followers) เป็นผู้ที่มีความเฉลียวฉลาด มีความสามารถ แต่มักไม่พอใจในผู้นำและองค์กรของตน • ผู้ตามที่รู้รักษาตัวรอด (Pragmatist Followers) เป็นคนที่มีความสามารถ การทำงานจะพิจารณาบรรยากาศ ของเกมการเมืองในองค์กรเป็นหลัก ไม่ชอบความเสี่ยง ถือคติ “กันไว้ดีกว่าแก้”
พวกผู้ตามชั้นยอด (Star Followers) • เป็นผู้กล้าหาญ มุ่งไปที่เป้าหมายองค์กร มีสมรรถนะ บริหารตนเองได้อย่างดีเยี่ยม เป็นตัวของตัวเอง และมีความสามารถในการ “ไม่คล้อยตามผู้อื่น ได้อย่าไม่น่าเกลียด”
การตัดสินใจว่าควรจะนำเมื่อไรการตัดสินใจว่าควรจะนำเมื่อไร • ความรู้/ความชำนาญ โดยพิจารณาความสามารถ/สมรรถนะ ของตนเป็นหลัก • ทักษะในการประสานสัมพันธ์ โดยพิจารณาความสามารถในการทำงานเป็นทีม • แรงผลักดัน พิจารณาความมุ่งมั่นต่อเป้าหมายของงานเป็นหลัก
ความหมายของภาวะผู้นำ • W.H. Drathและ C.J. Palusได้ให้ความหมายของภาวะผู้นำ ดังนี้ • ภาวะผู้นำ เป็นกระบวนการที่จะช่วยให้คนเข้าใจความหมายของสิ่งที่จะทำร่วมกันเพื่อที่จะได้เกิดพันธะต่อสิ่งที่กำลังทำ ซึ่งกระบวนการนี้จะทำให้ผู้นำมีอิทธิพลมากขึ้น เพราะการที่คนจะทำตามความต้องการของผู้อื่นก็ต่อเมื่อเขาเห็นว่าการกระทำนั้นเป็นเรื่องที่สมเหตุสมผล
หน้าที่และความรับผิดชอบของครูหน้าที่และความรับผิดชอบของครู • จัดการเรียนการสอน • ส่งเสริมการเรียนรู้ • พัฒนาผู้เรียน • ปฏิบัติงานวิชาการของสถานศึกษา • พัฒนาตนเองและวิชาชีพ • ประสานความร่วมมือกับผู้ปกครอง บุคคลในชุมชน และ/หรือสถานประกอบการเพื่อร่วมพัฒนาผู้เรียน
บริการสังคมด้านวิชาการบริการสังคมด้านวิชาการ • ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
ประเภทของงานวิชาการ • งานวิชาการในสถานศึกษา แบ่งเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 4 ประเภท • การพัฒนาหลักสูตร • การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ผู้เรียนเป็นสำคัญ • การพัฒนาสื่อ และเทคโนโลยีการเรียนรู้ • การพัฒนาแหล่งการเรียนรู้
การพัฒนาหลักสูตร • หลักสูตรสถานศึกษา • หลักสูตรท้องถิ่น • หลักสูตรรายวิชาเลือก • หลักสูตรการศึกษาอาชีพ • หลักสูตรทักษะชีวิต • หลักสูตรพัฒนาสังคมและชุมชน
การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ผู้เรียนเป็นสำคัญการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ผู้เรียนเป็นสำคัญ • การเรียนรู้จากการทำโครงงาน(Project – based Learning) • การเรียนรู้ด้วยกระบวนการวิจัย • การเรียนรู้ด้วยตนเอง(Self – directed Learning) • การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม(Participatory Learning) • เวทีประชาคม(Civic Forum) • การเรียนรู้แบบ บูรณาการ (Intergrated Learning)
การพัฒนาสื่อ และเทคโนโลยี • เอกสารประกอบการเรียน • บทเรียนสำเร็จรูป • หนังสือเรียน • บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
การพัฒนาแหล่งการเรียนรู้การพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ • ห้องสมุด • พิพิธภัณฑ์ • สวนสัตว์ • สวนสาธารณะ • ศูนย์กีฬาและนันทนาการ
John van Maurik • ได้สร้างเครื่องมือที่บอกลักษณะภาวะผู้นำที่ดี ต้องมี WIST • และได้นิยามองค์ประกอบของภาวะผู้นำที่ดีว่า สมรรถนะในการเป็นผู้นำ
สมรรถระในการเป็นผู้นำทางวิชาการ : WIST • W : Wisdom (ปัญญา) • I : Integrity (ความซื่อตรง) • S : Sensitivity(ความรู้สึกไว) • T : Tenacity(ความแกร่ง)
W : Wisdom (ปัญญา) • สามารถสร้างวิสัยทัศน์เกี่ยวกับอนาคตและดำเนินการตามวิสัยทัศน์ได้ • มีการริเริ่มและฉลาดรอบคอบในการดำเนินการตามวิสัยทัศน์ • มีความคิดเกี่ยวกับวิธีการทำงานและลักษณะของงานในอนาคต • สร้างแรงจูงใจในการทำงานให้แก่ผู้ร่วมงาน และสามารถเป็นพี่เลี้ยงที่ปรึกษาได้ • สามารถเข้าใจสถานการณ์โดยรวมและมองแนวโน้มต่าง ๆ ออก • สามารถจัดการปัญหาต่าง ๆในการทำงานในองค์กรได้ และเป็นนักสื่อสารและทำงานเป็นเครือข่าย
I : Integrity (ความซื่อตรง) • แสดงให้เพื่อร่วมงานรู้ ว่าเรามีค่าควรแก่ความไว้วางใจ • อย่าดำเนินการใด ๆ โดยมีวาระซ่อนเร้น(Hidden Agendas) • ปฏิบัติต่อผู้อื่นอย่างซื่อสัตย์ ตรงไปตรงมา • เมื่อถึงคราวจำเป็น อย่ากลัวที่จะเปิดเผย • สามารถที่จะบอกข่าวร้ายแก่ผู้อื่นได้
S : Sensitivity(ความรู้สึกไว) • ความรู้สึกไวในเชิงจัดการ • สามารถทำงานเป็นผู้ฝึกสอนได้ • เป็นผู้ฟังที่ดี • สามารถพัฒนาผู้อื่นได้ • เข้าใจถึงพลังของทีม และรู้ว่าจะทำงานกับทีมต่าง ๆ ได้อย่างไร • เข้าใจกระบวนการที่ดีประกอบด้วยอะไรบ้าง และรู้ว่าทำอย่างไรจึงจะเกิดกระบวนการที่ดี
S : Sensitivity(ความรู้สึกไว) (ต่อ) • สามารถเรียนรู้ได้ตลอดเวลา • เป็นผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้และในสถานการต่าง ๆ • มองหาโอกาสสำหรับอนาคตจากทุก ๆ เหตุการณ • มองหาโอกาสในการจูงใจผู้อื่น • สามารถโน้มน้าวชักจูงใจผู้อื่นได้
ความรู้สึกไวในเชิงคิด (Sensitivity in Thinking) • ปรับตัวให้เข้ากับวิธีการเมื่อจำเป็น แต่ไม่จำกัดตัวเองอยู่ในกรอบการปฏิบัติแบบเก่า สามารถท้าทายความรู้ที่สืบทอดกันมา เพื่อทำลายกระทัศน์ต่าง ๆ ได้ • สามารถรับมือกับวิธีการและความคิดเห็นอันหลากหลายได้เข้าใจว่าสิ่งจูงใจสำหรับคนแต่ละคนนั้นไม่เหมือนกัน และสามารถนำความเข้าใจไปใช้ประโยชน์ได้ • มีความคิดสร้างสรรค์ สามารถคิดนอกกรอบได้ • สามารถคิดในเชิงกลยุทธ์ และสื่อสารกลยุทธ์นี้ออกไป โดยการสร้างทิศทางที่เป็นศูนย์กลางขององค์กร
T : Tenacity(ความแกร่ง) • มีความคุ้นเคยกับเครื่องมือทางกลยุทธ์ต่าง ๆ • ยอมรับความเสี่ยงเมื่อจำเป็น ใจกล้าและชอบเสี่ยง
ความแกร่ง (Tenacity) • ไม่หยุดนิ่งและมีพลังใจ • มุมานะในการทำงาน แต่ก็สามารถรักษาความสมดุลระหว่างชีวิตครอบครัวกับวิธีการทำงานได้ • สามารถรับมือกับความเครียดของตนเอง และของผู้อื่นได้ • สามารถควบคุมท่าทีของตนเอง สามารถรับมือกับความล้มเหลว และความปราชัยได้ • ไม่ย่อท้อ ไม่ยอมแพ้
ความแกร่ง (Tenacity) (ต่อ) • เข้าใจและสามารถจัดการกับแรงกดดันของอำนาจได้ • สามารถรับมือกับความไม่แน่นอนและช่วยให้ผู้อื่นรับมือกับมันได้ • แสดงออกถึงการมองโลกในแง่ดี • จัดการการเปลี่ยนแปลงได้ดี มีการวางแผนและดำเนินการจนสำเร็จ
Peter Senge : ภาวะผู้นำแบบใหม่ • นักออกแบบ (Designer) • ผู้ให้บริการ (Steward) • ครู (Teacher)
นักออกแบบ : Designer • การออกแบบไม่ใช่การออกคำสั่ง และไม่ใช่วิธีในการควบคุม แต่เป็นการคิดอย่างเป็นระบบจะช่วยให้ผู้นำออกแบบ กลยุทธ์และระบบต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี เพราะหัวใจสำคัญของการออกแบบที่ดีอยู่ที่ผู้ออกแบบต้องเข้าใจว่าส่วนต่าง ๆ จะทำงานสอดประสานเป็นหนึ่งเดียวได้อย่างไร • การออกแบบทางวิชาการ ต้องอาศัยความเข้าใจบริบทต่าง ๆ ของการจัดการศึกษา ที่มีความเกี่ยวข้องกันแล้วยังจะต้องเข้าใจถึงความสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมภายนอก
นักออกแบบ : Designer (ต่อ) • ขั้นตอนของการออกแบบ • ขั้นที่ 1 กำหนดวิสัยทัศน์ ค่านิยม และจุดมุ่งหมาย • ขั้นที่ 2 การทำตามวิสัยทัศน์ ค่านิยม และจุดมุ่งหมายที่กำหนด • ขั้นที่ 3 จัดทำกลยุทธ์ให้เหมาะสม
ผู้ให้บริการ : Steward • ผู้นำในฐานะผู้ให้บริการจะต้องทำให้ผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในวิสัยทัศน์องค์กร • ผู้นำที่มีความสามารถหลาย ๆ คนไม่อาจเป็นผู้นำที่มีประสิทธิภาพได้อย่างแท้จริง • เนื่องจากขาดทรรศนะที่กว้างไกล ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญต่อการเป็นผู้นำ • ผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ที่แท้จริง จะมององค์กรว่าองค์กรจะต้องเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ • จะต้องสร้างกระบวนการเรียนรู้ ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ • สร้างความสัมพันธ์ระหว่างวิสัยทัศน์ส่วนตัวกับวิสัยทัศน์องค์กร
ครู : Teacher • ผู้นำในฐานะครูต้องช่วยให้คนเข้าใจความเป็นจริงต่าง ๆ • โดยมุ่งไปที่จุดมุ่งหมายและโครงสร้างที่เป็นระบบ • ซึ่งเป็นเรื่องของการคิดอย่างเป็นระบบและแบบแผนความคิดอ่าน • จากนั้นก็สอนให้ผู้อื่นทำแบบเดียวกันนี้ • ผู้นำต้องช่วยให้คนอื่นมองเห็นภาพรวมของสิ่งต่าง ๆ และเข้าใจถึงความสัมพันธ์ภายใน
ครู : Teacher (ต่อ) • จะจำให้คนตระหนักถึงจุดมุ่งหมายของการดำเนินการ • ผู้นำที่มีประสิทธิผลที่แท้จริงจะต้องช่วยให้ผู้อื่นเข้าใจเชิงระบบ กำหนดรูปแบบของการเปลี่ยนแปลงได้ • ผู้นำต้องสามารถทำความเข้าใจเชิงกลยุทธ์ขององค์ที่มีลักษณะเป็นรูปธรรม • เพื่อให้คนทั่วไปเกิดความเข้าใจด้วย
การเป็นผู้นำในฐานะครู ไม่ได้หมายความว่าให้ผู้นำไปสอนวิธีบรรลุวิสัยทัศน์แก่คนในองค์กร • แต่หมายถึงการที่ผู้นำจะต้องส่งเสริมการเรียนรู้ พัฒนาความเข้าใจอย่างเป็นระบบ และทำให้ทุกคน(รวมทั้งตัวเอง) สามารถเข้าใจความเป็นจริงได้