751 likes | 3.46k Views
กลุ่มกิจกรรม คิวซี ( Quality Control Circle : QCC ). กลุ่มกิจกรรม คิวซี.
E N D
กลุ่มกิจกรรม คิวซี ( Quality Control Circle : QCC )
กลุ่มกิจกรรม คิวซี • กลุ่มกิจกรรม คิว ซี หรือกิจกรรมกลุ่มคุณภาพหรือ Quality Control Circle : QCC เป็นกิจกรรมที่พนักงานกลุ่มเล็ก ๆ ประมาณ 3 – 10 คนร่วมมือร่วมใจกันนำปัญหาในบริษัทหรือโรงงานอุตสาหกรรมของกลุ่มตนมาศึกษาวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ ใช้เหตุผล ใช้ข้อมูล และวิธีการทางสถิติประกอบการตัดสินใจโดยยึดหลักการของวงจร PDCA และเครื่องมือในการแก้ปัญหา ทั้งนี้ การทำกิจกรรมกลุ่มคุณภาพจะต้องไม่ขัดต่อนโยบายของบริษัทหรือโรงงานอุตสาหกรรม และกระทำอย่างต่อเนื่องสามารถนำผลงานที่ทำสำเร็จมาแสดงได้
กลุ่มกิจกรรม คิว ซี ( QCC ) มีรากฐานมาจากการควบคุมคุณภาพเชิงสถิติ หรือ SQC ของสหรัฐอเมริกา โดยประเทศญี่ปุ่นนำมาใช้หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เพื่อควบคุมผลิตภัณฑ์ได้มาตรฐานและส่งมอบให้ลูกค้าทันเวลาตามกำหนด นำรายได้เข้าประเทศเพื่อพัฒนาทางด้านต่าง ๆ ความตระหนักในเรื่องคุณภาพ ทำให้ญี่ปุ่นให้ความสำคัญกับการควบคุมอย่างจริงจัง มีการส่งเสริมกันอย่างแพร่หลายในประเทศญี่ปุ่นและธุรกิจอุตสาหกรรมญี่ปุ่นดำเนินการในต่างประเทศ สำหรับประเทศไทยก็ไดรับอิทธิพลมาจากธุรกิจญี่ปุ่นที่มาตั้งรกรากอยู่ในประเทศไทย โดยการนำมาใช้ทั้งในภาครัฐบาล รัฐวิสาหกิจ และเอกชน ซึ่งได้รับผลดีเป็นที่น่าพอใจ
วัตถุประสงค์ของกลุ่มกิจกรรม QCมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ 1. เพื่อให้เกิดความร่วมมือจากพนักงานในการปรับปรุง และพัฒนางานของตน 2. เพื่อให้มีการแก้ไขปัญหาของกลุ่มด้วยกลุ่ม 3. เพื่อให้เปิดโอกาสให้พนักงานได้คิดสร้างสรรค์ และแสดงความสามารถอย่างอิสระภายใต้ขอบเขต และความเหมาะสม 4. เพื่อให้มีการยอมรับและรับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกัน
หลักการของกลุ่มกิจกรรม คิว ซี มีรายละเอียดดังต่อไปนี้ 1. พนักงานทุกคนในกลุ่มส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาและปรับปรุงงาน 2. การปฏิบัติกิจกรรมเป็นไปอย่างอิสระ โดยนำเครื่องมือและเทคนิคการบริหารมาใช้ในการแก้ไขปัญหา 3. มีการควบคุมและติดตาม ตลอดจนกำเนินการปรับปรุงย่างต่อเนื่อง
หัวข้อเรื่องในการทำกิจกรรมอาจเป็นเรื่องต่อไปนี้หัวข้อเรื่องในการทำกิจกรรมอาจเป็นเรื่องต่อไปนี้ 1. ความปลอดภัย เพื่อลดการสูญเสียทางด้านชีวิตและทรัพย์สิน ตลอดจนการได้รับบาดเจ็บต่าง ๆ 2. คุณภาพสินค้า ซึ่งถือได้ว่าเป็นจุดที่สำคัญสำหรับการแก้ปัญหา ของกลุ่มคุณภาพ 3. ประสิทธิภาพในการทำงานในบริษัทหรือโรงงานอุตสาหกรรม 4. ความสะอาดและเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีและพัฒนา 5. การประหยัดหรือลดค่าใช้จ่าย เพื่อลดการสูญเสียในสิ่งที่ไม่จำเป็นให้น้อยลง
ประโยชน์ของการทำกิจกรรมกลุ่มคุณภาพ มีประโยชน์ดังรายละเอียดต่อไปนี้ 1. พนักงานภาพในบริษัทหรือโรงงานอุตสาหกรรม 2. บริษัทหรือโรงงานอุตสาหกรรม 3. ประเทศชาติ
การจัดตั้งกลุ่มคุณภาพการจัดตั้งกลุ่มคุณภาพ การเริ่มต้นทำกิจกรรมกลุ่มคุณภาพ คือ การจัดตั้งกลุ่มก่อนโดยทั่วไป สำหรับบริษัทหรือโรงานอุตสาหกรรมที่เริ่มต้นทำกิจกรรมกลุ่มคุณภาพใหม่ ๆ ในครั้งแรกจะให้ผู้ที่เป็นหัวหน้างาน ( Supervisor ) ตามสายงานเป็นหัวหน้ากลุ่มไปก่อน เมื่อตั้งกลุ่มได้แล้วก็ต้องมีการจดทะเบียนกลุ่มปกติจะกำหนดให้มีการประชุมกลุ่มอย่างสม่ำเสมอทุกเดือนหรือทุกสัปดาห์ หัวหน้ากลุ่ม เลขานุการดำเนินกลุ่มจะต้องมีการเตรียมตัวให้พร้อมก่อนการประชุม เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการดำเนินกลุ่มคุณภาพที่กำลังดำเนินกิจกรรม
ขั้นตอนในการทำกิจกรรมกลุ่มคุณภาพมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ขั้นตอนในการทำกิจกรรมกลุ่มคุณภาพมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ 1. การค้นหาปัญหา 2. กำหนดเป็นหัวข้อเรื่อง 3. กำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนเป็นตัวเลข 4. สำรวจสภาพปัจจุบัน 5. แก้ไขตามขั้นตอน P.D.C.A ( Deming Cycle ) 6. กำหนดเป็นมาตรฐาน 7. สรุปผล
8. วางแผนการกำหนดกิจกรรมเรื่องต่อไป
ขั้นตอนการทำกิจกรรมกลุ่มคุณภาพขั้นตอนการทำกิจกรรมกลุ่มคุณภาพ เครื่องมือ 7 ประเภท ( QC 7 Tool ) ในการทำกิจกรรมกลุ่ม คิว ซี มีรายละเอียดดังต่อไปนี้ 1. ในตรวจสอบ (Check Sheet) 2. แผนภูมิพาเรโต (Pareto Diagram) 3. แผนภูมิการกระจายกลุ่ม (Scatter Diagram) 4. ฮิสโตแกรม (Histogrem) 5. แผนภูมิก้างปลา (Fish – bone : Cause – Effect : Ishikawa Diagram) 6. แผนภูมิควบคุม (Control Chart) 7. กราฟ (Graph)
รายซื่อผู้จัดทำ 1.ดอนทอง พูนสวัสดิ์ รหัส 4631050102 เลขที่ 6 2.ดุลสิทธิ์ ประวัติชอบ รหัส 4631050103 เลขที่ 7 3.เดชา ตระกูลทิม รหัส 4631050104 เลขที่ 8 4.ธรรมรัตน์ ปิงเมือง รหัส 4631050106 เลขที่ 9 5.ธีรเชน ธรรมชัย รหัส 4631050107 เลขที่ 10 ปวส.3 คอมฯ ม.6 อิเล็กทรอนิกส์