1 / 58

อย่าลืม ! Update สถานการณ์โรคก่อนบรรยาย

อย่าลืม ! Update สถานการณ์โรคก่อนบรรยาย. สถานการณ์การระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ เอช 1 เอ็น 1 โดยเข้าไปที่เว็บไซต์ของสำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ http://beid.ddc.moph.go.th หรือเว็บไซต์องค์การอนามัยโลก http://www.who.int/csr/disease/swineflu/updates/en/index.html

mauli
Download Presentation

อย่าลืม ! Update สถานการณ์โรคก่อนบรรยาย

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. อย่าลืม!Update สถานการณ์โรคก่อนบรรยาย • สถานการณ์การระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ เอช1เอ็น1 โดยเข้าไปที่เว็บไซต์ของสำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ http://beid.ddc.moph.go.thหรือเว็บไซต์องค์การอนามัยโลก http://www.who.int/csr/disease/swineflu/updates/en/index.html • Update แผนที่แสดงพื้นที่ที่มีการระบาด เข้าไปที่เว็บไซต์ขององค์การอนามัยโลกhttp://www.who.int/csr/disease/swineflu/updates/en/index.htmlแล้ว click ที่หัวข้อ “situation update” และต่อด้วยหัวข้อ “map”

  2. ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ เอช1เอ็น1 กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข วันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2552

  3. เม็กซิโก เริ่มมีรายงานผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่และปอดอักเสบสูงขึ้นผิดปกติ ตั้งแต่ 18 มีนาคม 2552 และมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

  4. ปลายเดือนเมษายน 2552 สหรัฐอเมริการายงานผู้ป่วยยืนยันไข้หวัดสุกร (swine flu) ใน 2 มลรัฐที่มีชายแดนติดกับประเทศเม็กซิโก (แคลิฟอร์เนียและเท็กซัส)

  5. ประกาศเตือนขององค์การอนามัยโลก (1) เมื่อวันที่ 25 เมษายน 52 องค์การอนามัยโลกได้ประกาศให้สถานการณ์โรคไข้หวัดใหญ่ที่ระบาดในเม็กซิโก เป็นภาวะฉุกเฉินทางด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ (Public Health Emergency of International Concern : PHEIC )

  6. วันที่ 27 เมษายน 52 ได้ประกาศปรับเตือนการระบาดจากเดิม ระดับ 3 เป็นระดับ 4 (มีการระบาดอย่างต่อเนื่องในระดับชุมชน) จากความรุนแรง 6 ระดับ แนะนำมาตรการว่า ไม่ควรจำกัดการเดินทางหรือปิดพรมแดน หากประชาชนมีอาการป่วยคล้ายไข้หวัดใหญ่ ควรเลื่อนการเดินทางระหว่างประเทศและหากเริ่มป่วยหลังจากการเดินทางระหว่างประเทศ ควรไปพบแพทย์ทันที การบริโภคเนื้อหมูหรือผลิตภัณฑ์จากหมูที่ปรุงสุก ไม่มีความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสชนิดนี้ ประชาชนทั่วไปควรล้างมือด้วยสบู่และน้ำ บ่อยๆ และหากเริ่มมีอาการป่วยคล้ายไข้หวัดใหญ่ ควรไปพบแพทย์ ประกาศเตือนขององค์การอนามัยโลก (2)

  7. วันที่ 29 เมษายน 2552 องค์การอนามัยโลกได้ประกาศยกระดับการเตือนการระบาดเป็นระดับ 5 (มีการระบาดอย่างน้อย 2 ประเทศในภูมิภาคเดียวกัน) เน้นย้ำให้ทุกประเทศเริ่มปฏิบัติการตามแผนเตรียมความพร้อมสำหรับการระบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มาตรการเฝ้าระวังโรคอย่างเข้มข้น การค้นหาโรคได้รวดเร็ว การรักษาพยาบาล และการป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาลในสถานบริการสาธารณสุข 29 เมษายน 2552 WHO ประกาศเปลี่ยนชื่อจากเดิม Swine Influenza หรือไข้หวัดสุกร เป็น Influenza A (H1N1)เนื่องจากพบว่า เชื้อไวรัสที่พบเป็นสายพันธุ์ใหม่ ไม่เคยพบมาก่อนในโลก และการระบาดครั้งนี้ไม่มีผู้ติดเชื้อนี้จากสุกร ประกาศเตือนขององค์การอนามัยโลก (3)

  8. การตอบสนองต่อสถานการณ์ทั่วโลกการตอบสนองต่อสถานการณ์ทั่วโลก องค์การอนามัยโลกเร่งประสานการผลิตวัคซีนป้องกันโรค ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ H1N1 ทั่วโลกมีการเตรียมพร้อม/ปฏิบัติตามแผนงานสำหรับการระบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่ หลายประเทศออกประกาศแนะนำหลีกเลี่ยงการเดินทางไปในประเทศที่เป็นแหล่งโรค และมีมาตรการคัดกรองผู้เดินทางระหว่างประเทศ มีการเฝ้าระวังผู้ที่เดินทางเข้าประเทศอย่างใกล้ชิด บางแห่งมีการกักกันผู้เดินทางจากพื้นที่ระบาดไว้ที่โรงแรม ประกาศหยุดราชการ/ห้ามการชุมนุม ในพื้นที่ระบาด อพยพคนจากพื้นที่ระบาด ลดเที่ยวบินไปยังพื้นที่ระบาด สำรองยาต้านไวรัส (โอเซลทามิเวียร์) แจกจ่ายยา/อุปกรณ์ป้องกันให้ประชาชน จำกัดการนำเข้าสุกร/ผลิตภัณฑ์จากสุกร รวมทั้งบางแห่งทำลายสุกร

  9. สถานการณ์การรายงานขององค์การอนามัยโลกสถานการณ์การรายงานขององค์การอนามัยโลก ข้อมูล ณ วันที่ 8 มิถุนายน 2552 พบผู้ป่วยยืนยันการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ เอช1เอ็น1 จำนวน73 ประเทศ ผู้ป่วยยืนยันรวม 25,288 ราย เสียชีวิต 139 ราย (คิดเป็นอัตราป่วยตายร้อยละ 0.55) สถานการณ์รายวัน ติดตามได้จากเว็บไซต์ กระทรวงสาธารณสุข www.moph.go.thหรือ องค์การอนามัยโลก www.who.int

  10. แผนที่การกระจายของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ เอช1เอ็น1 ข้อมูลองค์การอนามัยโลก ณ วันที่ 8 มิ.ย.52 รวมผู้ป่วยทั้งสิ้น 25,288 ราย ใน 73 ประเทศ เสียชีวิต 139 ราย

  11. สถานการณ์การรายงานของประเทศไทย • ตั้งแต่วันที่ 12 พ.ค.52 - 8 มิ.ย. 52 สธ.ประกาศพบผู้ป่วยยืนยันโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิด A (H1N1) ชาวไทยจำนวน 10 ราย ซึ่งติดเชื้อมาจากประเทศกลุ่มเสี่ยง เริ่มมีไข้หลังจากเดินทางมาถึงไทยในจำนวนนี้ 1 ราย ไม่มีประวัติเดินทางไปต่างประเทศ • ผู้ป่วย มีอาการไม่รุนแรง ได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสครบชุด รายล่าสุดอาการทุเลาแล้ว • ผู้สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย ได้รับยาต้านไวรัสครบชุดและติดตามเฝ้าสังเกตอาการอย่างต่อเนื่อง พบว่ากลายเป็นผู้ป่วยยืนยัน 1 ราย (รายที่ 7)

  12. การติดต่อและอาการของโรคการติดต่อและอาการของโรค เชื้อไวรัสอยู่ในเสมหะ น้ำมูก น้ำลาย ระยะฟักตัว: 1-3 วัน (อาจยาวนานได้ถึง 7 วัน) ช่องทางติดต่อ - โดยการถูกผู้ป่วยไอจามรดโดยตรง - รับเชื้อทางอ้อมผ่านทางมือหรือสิ่งของเครื่องใช้ที่ปนเปื้อนเชื้อ ระยะแพร่เชื้อ: 1 วันก่อนปรากฏอาการ จนถึงวันที่ 7 หลังวันเริ่มป่วย อาการ ใกล้เคียงกับไข้หวัดใหญ่ เช่น ไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ไอ เจ็บคอ อาจมีอาการอาเจียน ท้องเสีย และหากมีอาการรุนแรงจะมีอาการปอดอักเสบรุนแรง หอบ หายใจลำบาก

  13. การรักษา ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงต้องรีบไปโรงพยาบาลทันที ซึ่งแพทย์จะพิจารณาให้ยาต้านไวรัส คือ ยาโอเซลทามิเวียร์ (oseltamivir) เป็นยาชนิดกิน หากผู้ป่วยได้รับยาภายใน 2 วันหลังเริ่มป่วย จะให้ผลการรักษาดี

  14. 6. การระบาดกระจาย หลายภูมิภาคของโลก (Pandemic) 5. การระบาดขยายตัว ภายในประเทศ หรือ หลายประเทศ ในภูมิภาคเดียว 4. เชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ ติดต่อจากคนสู่คน มีผู้ป่วย/ตาย แต่ยังอยู่ในวงจำกัด 3. คนติดเชื้อสายพันธุ์ใหม่ และป่วย/ตาย แต่ยังไม่ ติดต่อจากคนสู่คน 2.เชื้อสายพันธุ์ใหม่ มีความเสี่ยงที่จะติดต่อ มายังคนสูงขึ้น ขั้นตอนการเกิดการระบาดใหญ่ (WHO 2005) 1. พบเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ในสัตว์ ความเสี่ยงในคนต่ำ 10 Sep 06

  15. ระดับการเตือนภัยการระบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่ปรับปรุง โดยองค์การอนามัยโลก (2009) ระดับที่ 5-6 / การระบาดใหญ่ หลังการระบาดระลอกที่มีผู้ป่วยสูงสุด ระดับที่ 4 หลังการระบาดใหญ่ ระดับที่ 1-3 เวลา มีความเป็นไปได้ ที่จะมีการระบาดระลอกถัดไป มีการแพร่กระจายเชื้อ จากคนสู่คนเป็นวงกว้าง การระบาดอยู่ในระดับใกล้เคียงกับการระบาดของไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล มีการติดเชื้อในสัตว์/พบคนติดเชื้อจำนวนน้อย พบการติดต่อจากคนสู่คนอย่างต่อเนื่อง

  16. ระดับการเตือนภัยการระบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่ปรับปรุง โดยองค์การอนามัยโลก (2009) ระดับ 1 ไม่พบรายงานเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ในสัตว์ ที่จะเป็นสาเหตุการเกิดโรคในคน ระดับ 2 เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ในสัตว์ ทำให้เกิดการ ติดเชื้อเกิดขึ้นในคน และมีโอกาสทำให้เกิด การแพร่ระบาดของโรค

  17. ระดับการเตือนภัยการระบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่ระดับการเตือนภัยการระบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่ ระดับ 3 เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่กลายพันธุ์ ทำให้พบ ผู้ป่วยเป็นกลุ่มเล็ก การติดต่อระหว่าง คนสู่คนอยู่ในวงจำกัด เช่น การสัมผัส ใกล้ชิดระหว่างผู้ติดเชื้อกับผู้ดูแลผู้ป่วยที่ ไม่ได้มีการป้องกันการติดเชื้อ ระดับการเตือนภัยการระบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่ปรับปรุง โดยองค์การอนามัยโลก (2009)

  18. ระดับการเตือนภัยการระบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่ระดับการเตือนภัยการระบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่ ระดับ 4เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ที่กลายพันธุ์จากการผสม ข้ามสายพันธุ์ (reassortant) สามารถทำให้เกิด การระบาดในระดับชุมชน มีความเสี่ยงของการ เกิดการระบาดใหญ่เพิ่มขึ้น บ่งชี้ถึงการเพิ่มขึ้น ของความเสี่ยงของการเกิดการระบาดใหญ่ ระดับการเตือนภัยการระบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่ปรับปรุง โดยองค์การอนามัยโลก (2009)

  19. ระดับการเตือนภัยการระบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่ระดับการเตือนภัยการระบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่ ระดับ 5 มีการแพร่เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ดังกล่าวจากคนสู่ คนอย่างน้อย 2 ประเทศในภูมิภาคเดียวกันของ WHO ประเทศส่วนใหญ่ยังไม่มีการติดเชื้อ ระดับ 6 มีการระบาดของโรคในประเทศอื่นอย่างน้อย 1 ประเทศในภูมิภาคอื่นขององค์การอนามัยโลก นอกเหนือจากเกณฑ์ในระดับ 5 ซึ่งเป็นระดับการ ระบาดใหญ่ไปทั่วโลก ระดับการเตือนภัยการระบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่ปรับปรุง โดยองค์การอนามัยโลก (2009)

  20. โอกาสทองของ การควบคุมโรค ; Early phase Ro = 2 Later stage Ro = 4 16 Nov 05

  21. ครม. เห็นชอบ 10 กค. 2550 คณะรัฐมนตรี คณะกรรมการอำนวยการป้องกันและแก้ไขสถานการณ์ไข้หวัดนกและ การระบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่ระบาดใหญ่ (รองนายกฯ) แผนยุทธศาสตร์ป้องกัน แก้ไข และเตรียมพร้อมรับปัญหาโรคไข้หวัดนก และการระบาดใหญ่ของโรคไข้หวัดใหญ่ ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2551-2553)

  22. ไข้หวัดนก(Avian influenza) ไข้หวัดใหญ่ระบาดใหญ่ แผนยุทธศาสตร์ฯ ฉบับที่ 2 เลี้ยงสัตว์อย่างปลอดโรค เฝ้าระวัง/ควบคุมโรคในคน & สัตว์ ประสานความร่วมมือพหุภาคี เตรียมความพร้อมรับ Pandemic

  23. นายกรัฐมนตรี ภาครัฐและรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้อง ภาคเอกชน คณะกรรมการอำนวยการฯ (รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน) ประสานกับองค์กรระหว่างประเทศ/ นานาชาติ WHO US CDC ….… กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย (กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย) โครงสร้างคณะกรรมการอำนวยการเตรียมความพร้อมป้องกันและควบคุมแก้ไขสถานการณ์การระบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่ ในปัจจุบัน (รองนรม.พลตรีสนั่น ขจรประศาสน์ เป็นประธาน)

  24. การเตรียมความพร้อมโดย ความร่วมมือพหุภาคี Multi-sector cooperation ภาคเอกชน Private ภาครัฐ Public ภาคบริการพื้นฐาน (Essential services) พลังงาน ไฟฟ้า น้ำประปา ขนส่ง คมนาคม สื่อสาร / IT การเงิน / ธนาคาร รักษาความปลอดภัย 22 Aug 07

  25. การเตรียมพร้อม รับการระบาดใหญ่ ใช้หลายยุทธศาสตร์ ยาต้านไวรัส วัคซีน การดูแลผู้ป่วย อุปกรณ์ป้องกันตัว ด้านการ แพทย์/เวชภัณฑ์ (Medical/Pharma.) ส่งเสริมอนามัยบุคคล จำกัดการเดินทาง แยกกักผู้สัมผัสโรค จำกัดกิจกรรมทางสังคม ให้สุขศึกษา ประชาสัมพันธ์ ด้านสาธารณสุข/สังคม (Non-Pharmaceutical) ด้านเศรษฐกิจและสังคม (Social and economic systems - to keep the society running) รักษาความมั่นคง / กฎหมาย จัดหาอาหารและน้ำดื่ม จ่ายพลังงาน เชื้อเพลิง บริการคมนาคมขนส่ง บริการสื่อสารโทรคมนาคม จัดระบบการเงิน ธนาคาร Source: David Nabarro at APEC-HMM, Sydney 8 June 2007

  26. ระดับกรม เริ่ม มีนาคม 49 ทำแล้วทุกจังหวัด ระดับจังหวัด เมื่อรัฐบาลพร้อม ปฏิทินการ ซ้อมแผนบนโต๊ะ ระดับประเทศ 8 มีค. 50 ระดับกระทรวง เริ่ม กค.. 49

  27. การเตรียมความพร้อมภาคเอกชน(ประคองกิจการภายในองค์กร)การเตรียมความพร้อมภาคเอกชน(ประคองกิจการภายในองค์กร) • ประกันความปลอดภัย • พนักงานและผู้ประกอบการ • ลดผลกระทบต่อธุรกิจ • สามารถดำเนินธุรกิจอย่าง • ต่อเนื่องแม้ในช่วงวิกฤติ • ความสามารถฟื้นตัวได้รวดเร็ว • ภายหลังวิกฤติ • ให้ความร่วมมือ ช่วยเหลือ • ภาครัฐในการแก้ปัญหา บริษัทห้างร้าน ห้างสรรพสินค้า โรงงาน โรงกลั่นน้ามัน โรงไฟฟ้า อุตสาหกรรม รัฐวิสาหกิจ ธุรกิจข้ามชาติ ธนาคาร โรงแรม โรงพยาบาลอุตสาหกรรมการเดินทาง ท่องเที่ยว ฯลฯ พันธมิตร: สถานทูต ADPC, TCELS, ฯลฯ การเตรียม ความพร้อม 24 Apr 06

  28. แนวทางการป้องกัน และควบคุมโรค

  29. การดำเนินงานที่สำคัญของกระทรวงสาธารณสุขการดำเนินงานที่สำคัญของกระทรวงสาธารณสุข • เปิดศูนย์ปฏิบัติการ ทำการทุกวัน ตั้งแต่ 25 เม.ย. 2552 • เร่งรัดและเพิ่มระดับความเข้มข้นการเฝ้าระวังโรค โดยสถานบริการสธ., ทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็วทั่วประเทศและอาสาสมัครสาธารณสุขทั่วประเทศเกือบ 1 ล้านคน • เตรียมพร้อมด้านการตรวจยืนยันเชื้อทางห้องปฏิบัติการ ทราบผลตรวจใน 48 ชม. ด้วยเครือข่าย 14 แห่ง และรถตรวจเคลื่อนที่ 6 คัน พร้อมทั้งพันธมิตรทางห้องปฏิบัติการ • เตรียมความพร้อมด้านการดูแลรักษาพยาบาลผู้ป่วย ฝึกอบรมบุคลากรและเตรียมห้องแยกผู้ป่วยในรพ.ทุกแห่ง

  30. การดำเนินงานที่สำคัญของกระทรวงสาธารณสุขการดำเนินงานที่สำคัญของกระทรวงสาธารณสุข • สำรองเวชภัณฑ์ อุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อ เตรียมพร้อมด้วยยาต้านไวรัสสำหรับผู้ป่วยกว่า 3 แสนคนแลพร้อมเพิ่มปริมาณการผลิต ในกรณีจำเป็นฉุกเฉิน • ให้สุขศึกษาและประชาสัมพันธ์ ผ่านสื่อต่างๆ เช่น สื่อมวลชน เว็บไซต์ call center • ตรวจคัดกรองผู้โดยสารที่เดินทางมาจากต่างประเทศ ติดตั้งเครื่องตรวจวัดอุณหภูมิที่สนามบินนานาชาติและมีแพทย์ประจำจุดตรวจ พร้อมส่งผู้ป่วยทันทีหากพบผู้ป่วยสงสัยโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ • ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนทั้งในและต่างประเทศ เช่น เฝ้าระวังโรคในสถานศึกษา สายการบิน บริษัททัวร์ โรงแรม การซ้อมแผนทุกภาคส่วนระดับจังหวัด ร่วมกับก.การต่างประเทศชี้แจงข้อมูลและสร้างความมั่นใจให้กับสถานทูตต่างประเทศประจำประเทศไทย ประสานความร่วมมือกับ WHO และ ศูนย์ความร่วมมือไทย-สหรัฐ ด้านสาธารณสุข

  31. ผู้ที่เดินทางจากประเทศที่มีการระบาดผู้ที่เดินทางจากประเทศที่มีการระบาด นักท่องเที่ยว ประชาชนที่เดินทาง กลุ่มเสี่ยง • ผู้สัมผัสโรค • ครอบครัว ชุมชน • ผู้ให้บริการ : โรงแรม เกสต์เฮ้าส์ ร้านอาหาร

  32. คำแนะนำสำหรับผู้ที่เดินทางกลับจากพื้นที่มีการระบาดของโรค (1) หากมีอาการไข้ ขอให้แจ้งต่อเจ้าหน้าที่สายการบินหรือพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน เพื่อให้การดูแลท่าน และประกันความปลอดภัยของผู้โดยสารคนอื่นในสนามบินและบนเครื่องบิน ประเทศไทย มีการตรวจคัดกรองด้วยเครื่องตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย (Thermo Scanner)ที่สนามบินนานาชาติทุกแห่ง

  33. คำแนะนำสำหรับผู้ที่เดินทางกลับจากพื้นที่มีการระบาดของโรค (2) ผู้ที่ไม่มีไข้และไม่มีอาการป่วยควรสังเกตอาการตนเอง 7 วัน ระหว่างสังเกตอาการ หากท่านมีไข้ร่วมกับอาการใดอาการหนึ่ง ดังต่อไปนี้ ไอ เจ็บคอ อาเจียน ถ่ายเหลว ให้หลีกเลี่ยงการคลุกคลีกับผู้อื่น รีบสวมหน้ากากอนามัย หรือปิดปากและจมูกด้วยกระดาษ ทิชชูทุกครั้งที่ไอหรือจาม และล้างมือด้วยน้ำและสบู่ หรือทำความสะอาดมือด้วยเจลแอลกอฮอล์บ่อยๆ และไปพบแพทย์ พร้อมแสดงบัตรเตือนเรื่องสุขภาพที่ได้รับจากด่านควบคุมโรคที่สนามบิน เพื่อรับการตรวจอย่างละเอียดต่อไป

  34. คำแนะนำสำหรับผู้ที่เดินทางกลับจากพื้นที่มีการระบาดของโรค (3) • หากแพทย์อนุญาตให้กลับบ้านได้ ควรหยุดงานหรือหยุดเรียน พักอยู่ที่บ้านหรือที่พัก และสังเกตอาการตนเองเป็นเวลา 7 วัน • ควรปิดปากปิดจมูกทุกครั้งด้วยผ้าเช็ดหน้าหรือกระดาษทิชชูทุกครั้งเมื่อท่านไอจาม และทิ้งลงในถังขยะ หรือสวมหน้ากากอนามัยเมื่ออยู่กับผู้อื่น

  35. หากไม่มีความจำเป็น ควรชะลอการเดินทางไปยังประเทศที่เป็นพื้นที่เกิดการระบาดจนกว่าสถานการณ์จะยุติลง ถ้าจำเป็นต้องเดินทางไปพื้นที่เกิดการระบาด ให้หลีกเลี่ยงการใกล้ชิดกับผู้ที่มีอาการไอ หลีกเลี่ยงสถานที่แออัด หมั่นล้างมือด้วยน้ำและสบู่บ่อย ๆ หรือใช้เจลแอลกอฮอล์สำหรับทำความสะอาดมือ ติดตามข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน และปฏิบัติตามข้อแนะนำของทางการในพื้นที่นั้นๆ อย่างเคร่งครัด คำแนะนำสำหรับประชาชน (1)

  36. รักษาสุขภาพให้แข็งแรง โดย - รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะผักและผลไม้ ดื่มน้ำ สะอาดและนอนหลับพักผ่อนให้พอเพียง ออกกำลังกายอย่าง สม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และสุรา - หมั่นล้างมือบ่อยๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังการไอ จาม - หากพบว่ามีผู้ป่วยที่มีอาการคล้ายโรคไข้หวัดใหญ่ภายในบ้าน หรือสถานที่ทำงานเดียวกัน ต้องรีบแจ้งสำนักงาน สาธารณสุขหรืออาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเพื่อเข้า ดำเนินการป้องกันการแพร่ระบาดทันที คำแนะนำสำหรับประชาชน (2)

  37. ติดตามประกาศจากกระทรวงสาธารณสุขอย่างใกล้ชิดติดตามประกาศจากกระทรวงสาธารณสุขอย่างใกล้ชิด ค้นหาข้อมูลและรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ -เว็บไซต์กระทรวงสาธารณสุข www.moph.go.th - เว็บไซต์สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ http://beid.ddc.moph.go.th - เว็บไซต์กรมควบคุมโรค www.ddc.moph.go.th และหากมีข้อสงสัย สามารถติดต่อได้ที่ ศูนย์ปฏิบัติการ กรมควบคุมโรค หมายเลขโทรศัพท์ 0 2590 3333 และ สถาบันศูนย์ปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินด้านการแพทย์และศูนย์บริการข้อมูลฮอตไลน์  โทร 025901994 ตลอด 24 ชั่วโมง คำแนะนำสำหรับประชาชน (3)

  38. การประคองกิจการภายในองค์กรและเตรียมความพร้อมการประคองกิจการภายในองค์กรและเตรียมความพร้อม สำหรับการระบาดใหญ่โรคไข้หวัดใหญ่

  39. ผลกระทบเมื่อมีการระบาดใหญ่ผลกระทบเมื่อมีการระบาดใหญ่ ของโรคไข้หวัดใหญ่ จะมีผู้ป่วย 10 - 50 %ของประชากรทั้งหมด ผู้ป่วยทุกเพศ ทุกกลุ่มอายุโดยเฉพาะ 15 - 25 ปี ต้องหยุดงาน/ขาดเรียน 10 - 40 % ต้องเข้ารักษาในโรงพยาบาล 0.5 - 10 % เสียชีวิต 0.5 - 2.5 % การระบาดเป็นระลอก 1-2 เดือน และกระจายทั่วโลกภายใน 6-8 เดือน การให้บริการด้านการรักษาพยาบาลจะไม่พอเพียง โดยเฉพาะเวชภัณฑ์ & อุปกรณ์ทางการแพทย์ ผลกระทบทางเศรษฐกิจ ชนิดไม่รุนแรง - มีผู้เสียชีวิต 1.4 ล้านคน สูญเสียทางเศรษฐกิจ 13,200 พันล้านบาท ชนิดรุนแรง - จะมีผู้เสียชีวิต 142.2 ล้านคน สูญเสียทางเศรษฐกิจ 17.6 ล้านล้านบาท * (Warwick 1.Mckibbin & Alexandra A Sidormko, Feb 2006)

  40. ผลกระทบเมื่อมีการระบาดใหญ่ผลกระทบเมื่อมีการระบาดใหญ่ ของโรคไข้หวัดใหญ่ (ต่อ) • ทางราชการจะประกาศให้ทุกองค์กรและประชาชนทั่วไป • ทราบ และ ให้คำแนะนำเพื่อป้องกันการเกิดโรค • มาตรการต่าง ๆ เช่น • ปิดสถานที่สาธารณะ • ปิดโรงเรียน • จำกัดการเดินทางในพื้นที่เกิดการระบาดของโรค

  41. ก่อนระบาดใหญ่ เตรียมพร้อมไว้ ไม่ประมาท แต่ละบริษัทมีคนรู้ดี สอนได้ ประสานได้ จัดการได้ จัดทำแผนเหมาะสมกับองค์กร (แผน วิธีปฏิบัติ) เตรียมตัวได้ตามแผน (สอน/แนะนำ เตรียมข้าวของ ระบบงาน ข้อมูล) ซักซ้อมแผนเป็นระยะ เมื่อระบาดใหญ่ ไม่ตกใจ ทำได้ตามแผน คนที่ไม่จำเป็นต้องมาที่ทำงาน ให้ทำงานที่บ้าน ส่งงานทางโทรคมนาคม ให้ผู้ป่วยพักงาน จัดหาคนทำงานแทน ช่วยเหลือเจ้าหน้าที่และครอบครัวที่ประสบภัย ได้อย่างเหมาะสม คงการ สื่อสาร บริการแก่ลูกค้า ตามสถานการณ์ หลังระบาดใหญ่ ฟื้นตัวไว ไม่อับจน แนวคิดการเตรียมพร้อมประคองกิจการภายในองค์กร มิใช่เฉพาะภาคธุรกิจนะ ต้องทุกองค์กร ทั้งภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และเอกชนด้วยจ้ะ 29 May 08

  42. แผนประคองกิจการภายในองค์กรคืออะไร ? แผนประคองกิจการภายในองค์กร Business Continuity Plan : BCP • แผนงานกำหนดขั้นตอนการดำเนินการ เป็นลายลักษณ์อักษร • เพื่อรองรับการปฏิบัติงานปกติ ให้ดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่อง เมื่อมีเหตุการณ์ที่ทำให้การปฏิบัติงานปกติต้องหยุดชะงัก • เช่น ภัยธรรมชาติ อัคคีภัย การเกิดโรคระบาดร้ายแรง ฯลฯ

  43. ทำไม?ต้องจัดทำแผนประคองกิจการภายในองค์กรทำไม?ต้องจัดทำแผนประคองกิจการภายในองค์กร • จัดการหรือบรรเทาความรุนแรง จากเหตุการณ์/ภัย • ลดผลกระทบต่างๆ เช่น การเงิน กฎหมาย ชื่อเสียง และอื่นๆ • การมีส่วนร่วมของผู้บริหาร ในการกำหนดนโยบาย มาตรฐานและการทำงานของให้กลับคืนสู่ภาวะปกติอย่างรวดเร็ว • องค์การสามารถปฏิบัติงานต่อไป โดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ • องค์กรสามารถปรับแนวทางปฏิบัติ ให้เหมาะสมกับบทบาทหน้าที่ได้

  44. คงกิจการได้ ให้บริการสังคม อยู่รอดปลอดภัย ความเสียหายน้อย เตรียมความพร้อม ประคองกิจการภาย ในองค์กร (BCP) ทุกภาคส่วน ภาคเอกชน ภาครัฐ ภาคบริการพื้นฐาน

  45. 7 ขั้นตอนการประคองกิจการภายในองค์กร ขั้นที่ 7 ฝึกซ้อมและปรับปรุงแผน ขั้นที่2 ค้นหาความเสี่ยง ขั้นที่ 6 ประชาสัมพันธ์แผน ให้ผู้อื่นทราบ ขั้นที่3 ลดผลกระทบจาก ความเสี่ยง ขั้นที่ 5 เตรียมการ และปฏิบัติตามแผน ขั้นที่ 4 ระบุมาตรการสำหรับ ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น ขั้นที่ 1 ทำความเข้าใจใน กิจการของท่าน

  46. เนื้อหา แนวทางการเตรียมความพร้อมรับการระบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่ภาคธุรกิจ • ความรู้ และผลกระทบของการระบาดใหญ่โรคไข้หวัดใหญ่ • การแบ่งระยะการระบาดใหญ่ฯ • การจัดทำแผนเตรียมความพร้อมของหน่วยงานสาธารณสุขและภาคธุรกิจ • แนวคิดการเตรียมความพร้อมรับการระบาดใหญ่โรคไข้หวัดใหญ่ตามระดับความรุนแรง • การใช้แบบสำรวจตรวจความพร้อมฯ • ภาคผนวก : ข้อมูลอ้างอิงทางวิชาการ,เทคนิค และ,แนวปฏิบัติต่างๆ เว็บไซต์สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่http://beid.ddc.moph.go.th

  47. ก้าวต่อไป...... ชุดคู่มือการจัดทำแผนประคองกิจการเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการระบาดใหญ่ของโรคไข้หวัดใหญ่ ปี พ.ศ. 2552 • Fact Sheet • คู่มือการจัดทำแผนประคองกิจการฯ • โปสเตอร์ (การล้างมือ, หน้ากากอนามัย) • ซีดี (ไฟล์นำเสนอPower Point, วีดีทัศน์) ขณะนี้ download คู่มือได้จาก http://beid.ddc.moph.go.th

  48. หลักการจัดทำแผนเตรียมพร้อมรับการระบาดใหญ่ฯสำหรับองค์กร/ภาคธุรกิจหลักการจัดทำแผนเตรียมพร้อมรับการระบาดใหญ่ฯสำหรับองค์กร/ภาคธุรกิจ องค์ประกอบของแผนควรครอบคลุม6 ด้าน :- • การรับมือกับผลกระทบของการระบาดใหญ่ ต่อธุรกิจ • การรับมือกับผลกระทบของการระบาดใหญ่ ต่อพนักงานและลูกค้า • การกำหนดหลักเกณฑ์ที่ต้องดำเนินการในระหว่างเกิดการระบาดใหญ่ • การจัดสรรทรัพยากรเพื่อการป้องกัน พนักงานและลูกค้า • การติดต่อสื่อสารและการให้ความรู้แก่พนักงาน • การประสานงานกับหน่วยงานภายนอกและการช่วยเหลือชุมชน

  49. ด้าน1.การรับมือกับผลกระทบของการระบาดใหญ่ต่อธุรกิจด้าน1.การรับมือกับผลกระทบของการระบาดใหญ่ต่อธุรกิจ กำหนดผู้ประสานงานและทีมงานรับผิดชอบเรื่องการระบาดใหญ่ฯ กำหนดพนักงานและปัจจัยเฉพาะที่มีความจำเป็นต่อการดำเนินธุรกิจ ฝึกอบรมและเตรียมพนักงานทดแทน พัฒนาและเตรียมแผนตอบโต้ตามสถานการณ์สมมติ (ทุกระยะการระบาด ) ที่มีผลต่ออุปสงค์ที่เพิ่มขึ้น/ลดลง รวมทั้งการหยุดชะงักของบริการพื้นฐาน ประมาณการผลกระทบจากการระบาดใหญ่ที่มีต่อการเงินของธุรกิจโดยใช้สถานการณ์สมมุติ

  50. ประมาณการ ผลกระทบจากการระบาดใหญ่ที่มีต่อการเดินทางทั้งในและนอกประเทศ ติดตามข้อมูลเกี่ยวกับการระบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่จากหน่วยงานสาธารณสุข จัดทำแผนการติดต่อสื่อสารกรณีฉุกเฉินกับบุคคลสำคัญและมีการปรับเปลี่ยนเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง ทดสอบความพร้อมของแผน ( ซ้อมแผนบนโต๊ะหรือฝึกปฏิบัติจริง) ด้าน 1. การรับมือกับผลกระทบของการระบาดใหญ่ต่อธุรกิจ

More Related