280 likes | 500 Views
Marketing 4.0. Marketing 4.0 คืออะไร แล้วจะเอามาใช้กับธุรกิจเราได้อย่างไรบ้าง. Marketing 4.0 จริงๆ แล้วคืออะไรกันแน่
E N D
Marketing 4.0 คืออะไร แล้วจะเอามาใช้กับธุรกิจเราได้อย่างไรบ้าง Marketing 4.0 จริงๆ แล้วคืออะไรกันแน่ มีหลายคนให้คำจำกัดความของ Marketing 4.0 ไว้มากมาย แต่ถ้าให้พูดแบบเข้าใจง่ายๆ เลยก็คือ“การตลาดที่เอาเทคโนโลยีต่างๆ เข้ามาช่วย เพื่อให้เข้าถึงผู้บริโภคหรือลูกค้ามากยิ่งขึ้น” การขายของ หรือการทำการตลาดจะไม่หยุดแค่ที่หน้าร้านอีกต่อไป แต่มันจะก้าวมาสู่โลกออนไลน์ด้วย ดูเผินๆ อาจดูเหมือนการตลาดที่เกี่ยวข้องกับอะไรก็ได้ที่เรียกว่าเทคโนโลยี แต่ความจริงแล้วเทคโนโลยีไม่ใช่หัวใจสำคัญของการตลาด 4.0 เพียงอย่างเดียว แต่มันคือการตลาดที่มี“มนุษย์”เป็นจุดศูนย์กลางด้วย เพราะต้องอย่าลืมว่า เรากำลังใช้เทคโนโลยีให้เข้าถึงลูกค้าที่เป็น“มนุษย์”เรานี่เอง • เราก็คงได้ยินคำว่า Marketing 4.0 อยู่บ่อยๆ แล้วเคยสงสัยไหมว่าจริงๆ แล้ว สิ่งนี้หมายถึงอะไร การตลาดออนไลน์เหรอ การขายของผ่านโซเชียลมีเดียหรือเปล่า วันนี้จะพามาทำความรู้จักกับ Marketing 4.0 แบบเข้าใจได้ไม่ยากกัน
(Photo Credit: http://thaiembdc.org) Marketing 4.0 และ Thailand 4.0 เกี่ยวข้องกันหรือไม่?
หลายคนคงเคยได้ยินทั้ง Marketing 4.0 และ Thailand 4.0 กันใช่ไหม 4.0 เหมือนกัน แล้วมันมีความเกี่ยวข้องกันหรือเปล่าก่อนอื่นเรามาดูกันก่อนว่า Thailand 4.0 คืออะไร “Thailand 4.0 คือ โมเดลพัฒนาเศรษฐกิจของรัฐบาลไทย” ซึ่งก่อนจะมาถึง 4.0 มันก็จะมี 1.0 เน้นทางลงทุนทางเกษตรกรรม 2.0 เน้นอุตสาหกรรมเบา แต่หันมาใช้แรงงานจำนวนมากแทน 3.0 ยุคของอุตสาหกรรมหนักและการส่งออก ส่วน Thailand 4.0 จะเน้นการขับเคลื่อนธุรกิจด้วยนวัตกรรมนั่นเอง
หลักการของ Thailand 4.0 จะเน้นอยู่ 3 เรื่องใหญ่ๆ คือ 1.) เปลี่ยนแปลงจากการผลิตสินค้าทั่วไป เป็นสินค้าเชิงนวัตกรรมมากขึ้น2.) มีการใช้เทคโนโลยี นวัตกรรม และความคิดสร้างสรรค์มาใช้ในอุตสาหกรรม3.) เปลี่ยนจากประเทศที่รับจ้างการผลิตในเชิงอุตสาหกรรม เป็นการเน้นภาคบริการมากกว่าเดิม ส่วน Marketing 4.0 นั้นเป็นคำที่โด่งดังขึ้นมา จากหนังสือ Marketing 4.0 เขียนโดย Philip Kotler แม้จุดกำเนิดจะต่างกัน แต่ว่าคอนเซปต์ 4.0 ของทั้งคู่ก็มีส่วนเกี่ยวโยงกัน ตรงที่เอาเรื่องของเทคโนโลยีเข้ามาช่วย ตัวอย่างเช่น การเกษตรแบบดั้งเดิม ที่ใช้แรงงานคนในการเก็บเกี่ยว ก็จะหันมาใช้เทคโนโลยี ใช้อุปกรณ์ช่วยเก็บเกี่ยวที่ทันสมัย เพื่อเพิ่มผลผลิตมากขึ้นกว่าเดิม หรือจะเป็นกลุ่มธุรกิจ SMEs ธรรมดา ก็จะยกระดับให้กลายเป็น SMEs ผสมกับ Startups ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
5A กลยุทธ์มัดใจลูกค้าจาก Marketing 4.0 หลังจากที่เข้าใจคอนเซปต์ของ Marketing 4.0 กันแล้ว คราวนี้เราลองมาดูกลยุทธ์ใหม่ที่มาจาก Marketing 4.0 สมัยก่อนถ้าเราพูดถึงเรื่องกลยุทธ์ทางการตลาด คงเคยได้ยินคำว่าAIDAที่ย่อมาจากว่าA: Attentionเรียกความสนใจให้ลูกค้าเห็นสินค้าเราI: Interestหรือความรู้สึกที่ลูกค้าเริ่มสนใจในตัวสินค้าD: Desireคือความต้องการอยากได้ตัวสินค้านั้น และA: Actionการซื้อสินค้า แต่ปัจจุบันนี้ คงจะหมดยุคของ AIDA แล้ว ถ้าจะก้าวสู่ยุคมาร์เก็ตติ้ง 4.0 ก็ต้องใช้กลยุทธ์ใหม่ที่มัดใจลูกค้าได้ดีกว่าเดิม นั่นก็คือ กลยุทธ์ 5A ซึ่งเป็นกลยุทธ์ที่ Phillip Kotlerปรมาจารย์ด้านมาร์เก็ตติ้งได้กล่าวเอาไว้ในหนังสือ “Marketing 4.0”เล่มล่าสุดของเขา ว่าแต่กลยุทธ์ 5A คืออะไร ตามมาทำความรู้จักกันเลย
1. Aware รู้จักสินค้า Aware หมายถึงช่วงที่ลูกค้าเราจะรู้จักสินค้าค่ะ ประมาณว่า เราเราสร้างสินค้าแบรนด์ A ขึ้นมา สเตทนี้ก็คือ ลูกค้าได้รับรู้ว่ามีสินค้าแบรนด์ A อยู่ในโลกใบนี้ 2. Appeal ชื่นชอบสินค้า A ตัวที่สอง ก็คือคำว่า “Appeal” ตรงตามความหมายเลยว่า เป็นช่วงที่นักการตลาดต้องดึงดูดให้ลูกค้าสนใจ ชื่นชอบสินค้าเราท่ามกลางแบรนด์คู่แข่งหลายๆ เจ้า ทำยังไงก็ได้ ให้เปลี่ยนจาก Long list ให้เรากลายเป็น Short list ให้ได้ 3. Ask ถามต่อ ต่อมาก็คือการที่ลูกค้าเรียนรู้สินค้าจากการถาม ลูกค้าที่สนใจจะเริ่มมีการซักถามถึงรายละเอียดสินค้า หรือเช็กราคา และรวมถึงลูกค้าเริ่มถามเพื่อนหรือคนใกล้ตัวที่เคยใช้สินค้านั้นๆ
4. Act การตัดสินใจซื้อ หลังจากการถามถึงสินค้าแล้ว ถ้าลูกค้าพอใจ และรู้สึกว่าสินค้าตัวนี้แหละที่ฉันตามหามานาน ก็จะเกิดสิ่งที่เรียกว่า “Act” หรือการตัดสินใจซื้อสินค้านั่นเอง แต่ซื้อแล้ว ก็ยังไม่จบแค่นี้ 5. Advocate เกิดการแนะนำสินค้าจากผู้อื่น “Advocate” หรือการเกิดการแนะนำสินค้าจากลูกค้าไปสู่ผู้อื่น เช่น ครีมตัวนี้ใช้แล้วผิวสวยขึ้น ใช้ดีมากจนลูกค้านำไปรีวิว หรือเอาไปบอกต่อเพื่อนๆ ซึ่งเป็นช่วงที่สำคัญมาก เพราะการที่ลูกค้าบอกต่อสินค้าเรา จะเป็นการประชาสัมพันธ์ไปในตัว จะเกิดพลังของ “การบอกต่อแบบปากต่อปาก” เลยบอกไว้ตอนต้นเรื่องว่า มาร์เก็ตติ้ง 4.0 เนี่ย มันเกี่ยวกับเทคโนโลยีก็จริง แต่ธุรกิจจะสำเร็จหรือไม่ มันขึ้นอยู่กับพลังของผู้คนด้วย
Figure 5.2 Mapping the Customer Path throughout the Five A’sจากหนังสือ Marketing 4.0 โดย Philip Kotler, HermawanKartajaya, IwanSetiawan
เราจะใช้ Marketing 4.0 กับธุรกิจเราได้อย่างไรบ้าง (การประยุกต์ใช้) ทีนี้เรามาสู่ภาคปฏิบัติกัน เราสามารถเอาความเป็นมาร์เก็ตติ้ง 4.0 มาใช้ได้ไม่ยากเลย ด้วย 3 วิธีนี้ 1. นำเสนอสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ ทุกวันนี้ลูกค้าไม่ได้ไปหาสินค้าทางหน้าร้านอย่างเดียวแล้ว แต่สมัยนี้เป็นยุคของข้อมูล ใครอยากซื้ออะไร อยากรู้รายละเอียดสินค้าตัวไหน ก็แค่เสิร์ช ค้นหาข้อมูลผ่านคอมพิวเตอร์หรือสมาร์ทโฟน ดังนั้น เพื่อไม่ให้เสียโอกาสทางด้านธุรกิจ ก็จะดีไม่น้อยเลย ถ้าคุณจะเปิดเว็บไซต์ หรือสร้างเพจเฟซบุ๊คนำเสนอสินค้าผ่านช่องทางเหล่านี้ คราวนี้ใครเสิร์ชมาก็เห็น ตัวอย่างเช่น ธุรกิจร้านอาหารร้านเล็กๆ ร้านหนึ่งที่เราเองเคยไปใช้บริการค่ะ วิธีการของเขาคือ จากที่แค่ขายอาหารอยู่ในร้าน เขาก็เปิดเพจ Facebook โพสต์เกี่ยวกับอาหารในร้านลงไปในเพจ และที่น่าสนใจก็คือ ร้านนี้จะมีเมนูเซอร์ไพร้ส์ทุกวัน แต่ละวันเมนูอาหารจะไม่เหมือนกัน ลูกค้าต้องรอเมนูที่ทางร้านจะอัพเดทผ่านทาง Facebook Page เท่านั้น ส่วนใครอยากกินอะไร ก็สั่งผ่านทาง Inbox หรือทางโทรศัพท์ไว้ก่อนเลยก็ได้ พอไปถึงร้านก็มีเมนูรออยู่ตรงหน้าเรียบร้อย ไม่ต้องไปเสียเวลาไปนั่งรออาหารที่ร้านอีก ซึ่งก็เป็นวิธีที่เรียกความสนใจจากลูกค้าได้ไม่น้อยเลย ซึ่งการทำการตลาดออนไลน์ผ่าน Facebookทำได้ไม่ยากเลย
2. เชื่อมโยงหน้าร้านออฟไลน์กับออนไลน์เข้าด้วยกัน เราสามารถมีทั้งหน้าร้านออฟไลน์ และหน้าร้านออนไลน์ควบคู่กันไป โดยสร้างกิจกรรมที่ทำให้สองโลกนี้เชื่อมต่อกันได้ อย่างเช่น Macy’s ห้างค้าปลีกที่ขายสินค้าหลากหลายชนิดในสหรัฐอเมริกา โดยปกติแล้วปัญหาที่เราจะเจอพอสร้างแพล็ตฟอร์มออนไลน์ขึ้นก็คือ ลูกค้าที่ชอบช้อปออนไลน์ก็จะไม่ค่อยเข้าหน้าร้านเลย ส่วนลูกค้าที่ชอบซื้อของผ่านหน้าร้าน ก็จะไม่ค่อยสนใจการซื้อของผ่านออนไลน์ Macy’s เลยหาวิธีที่จะเชื่อมหน้าร้านออฟไลน์กับออนไลน์เข้าด้วยกันค่ะ โดยการสร้างแอพลิเคชั่น GPS บอกตำแหน่งของสินค้าที่ลูกค้าต้องการ Photo Credit: mashable.com
3. สร้างช่องทางให้ลูกค้าได้แสดงความคิดเห็น สมัยนี้เป็นยุคที่พลังปากต่อปากค่อนข้างมีพลังสูง ใครๆ ก็ใช้ชีวิตไปกับเทคโนโลยี หรือโซเชียลมีเดีย จะซื้ออะไรทั้งทีก็ต้องอ่านรีวิวสักหน่อย ดังนั้น เพื่อให้สินค้าเราดูน่าเชื่อถือ และดึงดูดใจมากยิ่งขึ้น เราอาจจะสร้างพื้นที่ในเว็บไซต์ให้ลูกค้าของเราเข้ามาแสดงความคิดเห็น หรือรีวิวสินค้าเรา นอกจากจะเป็นการประชาสัมพันธ์จากลูกค้าที่ใช้สินค้าจริงแล้ว เรายังสามารถนำความคิดเห็นเหล่านี้มาพัฒนาสินค้าของเราให้ดียิ่งขึ้นไปอีก ตัวอย่างธุรกิจที่เปิดพื้นที่ให้ลูกค้าเข้าไปร่วมแชร์ความคิดเห็นก็อย่างเช่นร้านนี้ SEPHORA ร้านขายเครื่องสำอาง สกินแคร์ที่โด่งดังนั่นเอง ในเว็บไซต์ของเขาไม่ได้แค่มีรายละเอียดของสินค้า หรือช่องทางในการซื้อของผ่านออนไลน์เท่านั้น แต่ยังมีส่วนของ “Community” ที่ให้ลูกค้าเข้ามาถาม-ตอบปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับสินค้า หรือปัญหาทั่วไปเกี่ยวกับเรื่องผิว หรือเรื่องความสวยความงาม และยังสามารถมารีวิวผลิตภัณฑ์ที่ชื่นชอบได้อีกด้วย Photo Credit: sephora.com
สรุป Marketing 4.0 คือ การตลาดที่เอาเทคโนโลยีต่างๆ เข้ามาช่วย เพื่อให้เข้าถึงผู้บริโภคหรือลูกค้ามากยิ่งขึ้น แต่สิ่งที่สำคัญยิ่งกว่าการใช้เทคโนโลยีก็คือ การเอาใจใส่ “ผู้คน” ยิ่งคุณนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในแบบที่ถึงใจผู้บริโภคได้มากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งดึงดูดลูกค้าได้มากยิ่งขึ้นเท่านั้น
Marketing 4.0 เป็นยุคของการนำเทคโนโลยีเข้ามาประยุกต์ใช้ เพื่อเชื่อมโยงธุรกิจกับลูกค้าให้ถึงกันได้ง่ายขึ้น มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน เรามาดูกันว่า วิธีการทำการตลาดแบบ Marketing 4.0 จะเหมาะกับธุรกิจของคุณหรือไม่ 1. ยุคแห่งข้อมูล ทุกวันนี้ ไม่ว่าจะซื้อของกิน ของใช้ จะชิ้นเล็ก ชื้นใหญ่ สิ่งแรกที่เราทำ คือ หยิบมือถือมา search หาข้อมูลสินค้า หารีวิว เปรียบเทียบราคา ก่อนตัดสินใจซื้อ ดังนั้น หากกลุ่มเป้าหมายของคุณ มีพฤติกรรมค้นหาข้อมูลสินค้าบนอินเทอร์เน็ตก่อนตัดสินใจซื้อ การตลาดที่คุณควรทำ คือ นำเสนอสินค้าและธุรกิจของคุณบนสื่อออนไลน์ และทำให้เข้าถึงข้อมูลได้ง่าย เช่น เมื่อกลุ่มเป้าหมายค้นหาสินค้า ชื่อสินค้าของคุณควรอยู่ในหน้าแรกของผลการค้นหา การโฆษณาบน social network หรือแม้แต่การทำวิดีโอโฆษณาบนYouTube โฆษณาให้เห็นประโยชน์ของสินค้า ว่าจะช่วยให้ชีวิตของลูกค้าดีขึ้นอย่างไร เจาะกลุ่มเป้าหมาย อย่าเน้นปริมาณ การโฆษณาที่ไม่ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย นอกจากจะไม่ได้รับความสนใจแล้ว หลายครั้งเป็นการรบกวนผู้รับเสียอีก
2. สังคมแห่งความคิดเห็น การเปิดกว้างในการแสดงความคิดเห็นเช่นปัจจุบัน ลูกค้ายินดีในการมีส่วนร่วมในการแสดงความเห็นในการปรับปรุงสินค้า และการให้บริการ ซึ่งธุรกิจควรมองว่า คำแนะนำของลูกค้า คือ หนึ่งในกระบวนการพัฒนาสินค้า ดังนั้น หากกลุ่มลูกค้าของคุณเป็นผู้ใช้ social network ในชีวิตประจำวัน การตลาดที่คุณควรทำ คือ สร้างช่องทางให้ลูกค้าได้แสดงความคิดเห็นโดยตรงกับบริษัท ไม่ว่าจะเป็นFacebook, LINE หรือผ่านหน้า website จัดตั้งทีมงานที่คอยดูแลรับความคิดเห็น คำติชมจากลูกค้า และสามารถตอบคำถามหรือคลายความสงสัยให้กับลูกค้าได้ในเบื้องต้น รักษาคุณภาพ และภาพพจน์ของธุรกิจบนโลกออนไลน์ 3. เชื่อมโยง “ลูกค้าไปเดินเล่นห้างสรรพสินค้าแล้วเกิดถูกใจรองเท้าในร้านของคุณ เธอลองสี ลอง size เรียบร้อยแล้วแต่ยังไม่ได้ตัดสินใจซื้อ จนกลับไปถึงบ้านแล้วเกิดอยากได้ขึ้นมา เธอจึงสั่งซื้อผ่านช่องทางออนไลน์แทน” เหตุการณ์เช่นนี้เป็นเรื่องปกติใช่ไหม ดังนั้น หากกลุ่มลูกค้าของคุณ มีประสบการณ์ในการซื้อของออนไลน์เป็นประจำอยู่แล้ว การตลาดที่คุณควรทำ คือ สร้างช่องทางการขายสินค้าออนไลน์ เพิ่มเติมจากบริการหน้าร้าน เตรียมระบบ เช่น รวบรวมฐานข้อมูลของสมาชิกจากระบบหน้าร้าน และระบบออนไลน์เข้าด้วยกัน เชื่อมโยงเพราะไม่ว่าจะหน้าร้านหรือโลกออนไลน์ก็คือร้านเดียวกัน เช่น ลูกค้าที่เป็นสมาชิกอยู่ เมื่อสะสมแต้มได้ถึงยอด สามารถไปรับของสมนาคุณได้ที่สาขาของร้าน
4. Virtual Experience อันนี้อาจจะล้ำอยู่สักหน่อย แต่เป็นหนึ่งในวิธีการตลาดที่เริ่มใช้กันบ้างแล้ว โดยเชื่อมโยงสินค้าเข้าสู่โลกเสมือนจริง เช่น ลูกค้าสามารถทดลองใช้ไม้กอล์ฟในร้าน ตีลูกกอล์ฟที่เชื่อมต่อเข้ากับระบบวัดความแรงและทิศทางของการตี และแสดงผลเสมือนจริงให้เห็นในจอ Projector ว่าลูกตีไปไกลแค่ไหน และไปในทิศทางใด เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของไม้ ทำให้ลูกค้าสามารถลองใช้งานได้จริงโดยที่ยังไม่ต้องซื้อสินค้า และมีประสบการณ์ในการเลือกซื้อสินค้าที่ดีอีกด้วย หรือการเล่นเกมส์เก็บคะแนน เพื่อนำมาใช้แลกสินค้าที่ใช้ได้ในชีวิตจริงหรือใช้เป็นส่วนลดจากร้านค้า โดยวิธีเหล่านี้ ธุรกิจสามารถเก็บข้อเสนอแนะจากลูกค้า ทั้งใช้เป็นช่องทางในการโฆษณาสินค้า ก่อนวางออกขายได้ด้วย ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยี และการใช้งานอย่างแพร่หลายของโลกอินเทอร์เน็ต ทำให้ธุรกิจและลูกค้ามีความเชื่อมโยงกันมากขึ้น การปรับใช้กลยุทธ์ทางการตลาดที่เหมาะสมกับพฤติกรรมของผู้บริโภคจึงนับเป็นสิ่งจำเป็นในการอยู่รอดของธุรกิจในยุคสมัยนี้
ธุรกิจค้าปลีกที่มีสาขาเริ่มทะยอยปิดตัวลงเพราะการปรับที่ช้ากว่าการพัฒนาของเทคโนโลยี และคู่แข่งมีการปรับโมเดลในการทำธุรกิจและดึงลูกค้าไปเป็นจำนวนมาก ทำให้ธุรกิจที่ปรับตัวช้ากว่าไม่สามารถพยุงสาขาทั้งหมดไว้ได้ จึงเป็นเหตุให้บางสาขาต้องทะยอยปิดตัวไป ธุรกิจค้าปลีกที่ยังอยู่ยังมีทางออกที่จะสามารถดำเนินงานให้ทุกที่อยู่รอดไปด้วยกัน หากธุรกิจของคุณอยู่ในสถานการณ์ดังกล่าวอาจเลือกนำกลยุทธ์ต่างๆ เหล่านี้ไปประยุกต์ใช้เพื่อให้เหมาะสมกับธุรกิจของคุณได้ • 1. สร้าง Digital Marketingให้เข้ากับการใช้งานของผู้บริโภคเพื่อให้เข้าถึงสินค้าและบริการได้ง่ายและรวดเร็วที่สุดในทุกที่ทุกเวลา เพราะเป็นการดึงลูกค้าให้มาใช้จ่ายในสาขาต่างๆ ของธุรกิจ เนื่องจากการทำโปรโมชั่นอาจจะไม่เพียงพอในการดึงดูดลูกค้า ในปัจจุบันผู้บริโภคใช้แอปพลิเคชันในการค้นหาหรือรับข้อมูลต่างๆ ถ้าธุรกิจที่เป็น Retail มีแอปพลิเคชันเป็นของตัวเองในการกระจายข้อมูลหรือสั่งสื้อสินค้าและบริการเป็นของตัวเอง จะยิ่งทำให้ผู้บริโภคซื้อของได้ง่ายขึ้นเท่านั้น
2. สร้างประสบการณ์ใหม่ในการซื้อให้ลูกค้า เช่น การทำ pop-up store หรือที่เรียกว่าหน้าร้านชั่วคราว อย่าง IKEA ที่เปิดหน้าร้านชั่วคราวให้ลูกค้าได้สัมผัสการตกแต่งบ้านและราคาที่ชัดเจนในทุกรายละเอียด หรือไม่ว่าจะเป็นการจ่ายเงินในรูปแบบออนไลน์ต่างๆ (Cashless Society) ที่ทำให้ลูกค้าได้รับความสะดวกสบายในการใช้จ่ายมากขึ้น ทำให้เราได้เงินจากลูกค้าได้ง่ายกว่าเดิม 3. สร้างการ Entertainment ให้กับลูกค้า โดยนำเอาเทคโนโลยีที่สามารถเข้าถึง Smartphone ของลูกค้าได้ง่ายและทำให้ลูกค้ามีส่วนร่วมในการโปรโมทหรือทำกิจกรรม เช่น การเล่นเกมผ่านแอปพลิเคชัน หรือการ Live streaming เพื่อสร้างความสนุกสนานและให้ลูกค้ามีส่วนร่วมผ่านเทคโนโลยี 4. จัดส่งสินค้าและรับคืนสินค้าอย่างรวดเร็ว เพราะลูกค้าบางคนต้องการซื้อของออนไลน์แต่ต้องการได้สินค้าทันที ดังนั้น เราควรมีระบบจัดการเช็คสต๊อกสินค้าที่สามารถกำหนดเวลาสำหรับลูกค้าเพื่อรอรับสินค้าได้อย่างแน่นอน และมีระบบการคืนสินค้าที่ไม่ยุ่งยาก 5. สร้าง Partner ทางการค้า คือการสร้างผลประโยชน์ร่วมกันระหว่างคู่ค้า เพื่อให้ลูกค้าเดินทางมาที่ร้านของเราเพราะสนใจโปรโมชั่นและสิทธิพิเศษที่ลูกค้าจะได้รับเมื่อเข้ามาซื้อสินค้าและบริการ เป็นการได้ผลประโยชน์ร่วมกันทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็น Retail ขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่สามารถใช้กลุยุทธ์ทั้ง 5 ข้อนี้ได้ เพราะปัจจุบันเราเข้าสู่ยุคดิจิทัลอย่างสมบูรณ์ ดังนั้นการเข้าถึงลูกค้าให้ง่ายและเร็วที่สุดถือว่าเป็นเรื่องได้เปรียบทางการค้าอย่างมาก