1 / 27

จลนพลศาสตร์วิศวกรรมเคมีและการออกแบบเครื่องปฏิกรณ์ Chemical Engineering Kinetics and Reactor Design

จลนพลศาสตร์วิศวกรรมเคมีและการออกแบบเครื่องปฏิกรณ์ Chemical Engineering Kinetics and Reactor Design. ดร . แดง แซ่เบ๊. สมการสมดุลมวลและสมการสำหรับการออกแบบเครื่องปฏิกรณ์. สมการสมดุลโมลทั่วไป

mikko
Download Presentation

จลนพลศาสตร์วิศวกรรมเคมีและการออกแบบเครื่องปฏิกรณ์ Chemical Engineering Kinetics and Reactor Design

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. จลนพลศาสตร์วิศวกรรมเคมีและการออกแบบเครื่องปฏิกรณ์Chemical Engineering Kinetics and Reactor Design ดร.แดง แซ่เบ๊

  2. สมการสมดุลมวลและสมการสำหรับการออกแบบเครื่องปฏิกรณ์

  3. สมการสมดุลโมลทั่วไป ในขั้นตอนแรกของการทำสมดุลโมลเริ่มจากการกำหนดขอบเขต (Boundary) ของระบบ ปริมาตรที่อยู่ภายใต้ขอบเขตนี้เรียกว่า ปริมาตรระบบหรือปริมาตรควบคุม (system volume หรือ controlled system) Gj0 Fjo Fj ปริมาตรควบคุม รูปแสดงสมดุลมวลของระบบคิดที่ปริมาตรควบคุม

  4. สมดุลมวลของสาร j สามารถเขียนได้ดังนี้ อัตราการสะสมของสาร j ในระบบ (mol/time) อัตราการไหลของสาร j เข้าสู่ระบบ Fjo(mol/time) อัตราการไหลของสาร j ออกจากระบบ Fj(mol/time) อัตราการเกิดของสาร j ในระบบ Gj(mol/time) Fj0 = อัตราการไหลเชิงโมลขาเข้าถังปฏิกรณ์ (mol/time) Fj = อัตราการไหลเชิงโมลขาออกถังปฏิกรณ์ (mol/time) Gj = การเกิดของสาร j ในถังปฏิกรณ์ Nj = จำนวนโมลของสาร j ที่อยู่ในระบบที่เวลา t ใดๆ

  5. อัตราการเกิดของสาร j ในระบบ (Gj) จึงสามารถเขียนได้เป็น rj = อัตราการเกิดปฏิกิริยาของสาร j V = ปริมาตรของถังปฏิกรณ์ ดังนั้นสมการสมดุลโมลสำหรับการออกแบบเครื่องปฏิกรณ์เคมีทั่วไป คือ ในกรณีที่คุณสมบัติภายในระบบมีความสม่ำเสมอเหมือนกันทุกตำแหน่ง (well-mixed condition) สมการสมดุลโมลสามารถเขียนอยู่ในรูปอย่างง่าย คือ

  6. เครื่องปฏิกรณ์แบบกะ (Batch reactor) เครื่องปฏิกรณ์แบบกะเป็นเครื่องปฏิกรณ์ ไม่มีสารป้อนเข้าและออกจากระบบอย่างต่อเนื่องในระหว่างการดำเนินการ ดังนั้น (F­j0=Fj=0) ดังนั้น ถ้าสมมติฐานว่าสารที่อยู่ในถังปฏิกรณ์เคมีมีการผสมกันเป็นเนื้อเดียวกันอย่างทั่วถึง สมการสำหรับการออกแบบเครื่องปฏิกรณ์แบบกะ สามารถอธิบายได้ดังนี้

  7. เครื่องปฏิกรณ์แบบกะ (Batch reactor) 1 กรณีแรก: ปริมาตรคงที่ การดำเนินงานเครื่องปฏิกรณ์แบบกะที่ปริมาตรคงที่ ในกรณีนี้เป็นการเกิดปฏิกิริยาของของเหลว และมีการเปลี่ยนแปลงความหนาแน่นน้อยมาก หรือการเกิดปฏิกิริยาในของวัฏภาคแก๊สแต่อยู่ในภาชนะที่ปริมาตรคงที่ เป็นต้น

  8. เครื่องปฏิกรณ์แบบกะ (Batch reactor) 1 กรณีสอง : ปริมาตรไม่คงที่ การดำเนินงานเครื่องปฏิกรณ์แบบกะที่ปริมาตรไม่คงที่ ในกรณีนี้เป็นการเกิดปฏิกิริยาของวัฏภาคแก๊สและความดันคงที่ โดยจำนวนโมลของผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นจากปฏิกิริยาไม่เท่ากับจำนวนโมลของสารตั้งต้นที่ถูกใช้

  9. เครื่องปฏิกรณ์แบบถังกวน (Continuous stirred tank reactor: CSTR) • เครี่องปฏิกรณ์แบบถังกวนแบบต่อเนื่อง ในการดำเนินงานมีการป้อนสารตั้งต้นเข้ามา และผลิตภัณฑ์ออกจากถังปฏิกรณ์อย่างต่อเนื่อง • โดยสารภายในเครื่องปฏิกรณ์ถูกผสมกันเป็นเนื้อเดียวกัน เมื่อพิจารณาการดำเนินการของเครื่องปฏิกรณ์ที่สภาวะคงตัว ไม่มีการเปลี่ยนแปลงของสารองค์ประกอบตามเวลา การดำเนินงานเครื่องปฏิกรณ์แบบถังกวน

  10. เครื่องปฏิกรณ์แบบถังกวน (Continuous stirred tank reactor: CSTR) • สมการสมดุลของเครี่องปฏิกรณ์แบบถังกวนสามารถแสดงได้ดังนี้ โดยอัตราการไหลของสารที่ออกจะขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของสารที่ออกและอัตราการไหลเชิงโมล ( ) โมล/เวลา = (โมล/ปริมาตร)(ปริมาตร/เวลา) ดังนั้น สมการออกแบบเครื่องปฏิกรณ์แบบถังกวนต่อเนื่อง สามารถอธิบายได้ในรูปของความเข้มข้นของสารที่ออกและอัตราการไหลเชิงโมลดังนี้

  11. เครื่องปฏิกรณ์แบบท่อไหล (Tubular reactor or PFR) • เครื่องปฏิกรณ์แบบท่อไหลต่อเนื่อง มีสารตั้งต้นป้อนเข้าและออกจากเครื่องปฏิกรณ์อย่างต่อเนื่อง • ความเข้มข้นของสารองค์ประกอบภายในมีการเปลี่ยนแปลงตามแนวความยาวท่อ ดังนั้นสมการในการออกแบบเครื่องปฏิกรณ์แบบท่อไหลที่สภาวะคงตัว อธิบายได้ดังนี้ dV หารด้วย V การดำเนินงานเครื่องปฏิกรณ์แบบท่อไหล ให้ limit V 0

  12. ตารางสรุปการออกแบบถังปฏิกรณ์ชนิดต่างๆในรูปของจำนวนโมล หรืออัตราการไหลเชิงโมล

  13. ตัวอย่างที่ 1 ปฏิกิริยา AB เป็นปฏิกิริยาอันดับหนึ่ง ดำเนินงานอยู่ในเครื่องปฏิกรณ์ อัตราการไหลเชิงปริมาตรมีค่าคงที่ ( ) จงหาปริมาตรของเครื่องปฏิกรณ์ที่ทำให้ความเข้มข้นของสารตั้งต้นขาออกจากเครื่องปฏิกรณ์มีค่าเป็น 10% ของค่าความเข้มข้นของสารตั้งต้นขาเข้า เมื่อให้อัตราการไหลเชิงปริมาตรเท่ากับ 10 dm3/min และค่าคงที่อัตราการเกิดปฏิกิริยา k=0.23 /min • เครื่องปฏิกรณ์แบบถังกวน • เครื่องปฏิกรณ์แบบท่อไหล ตัวอย่างที่ 2 จากตัวอย่างที่ 1 ถ้าต้องการหาเวลาในการเกิดปฏิกิริยาในถังปฏิกรณ์แบบกะ (Batch) ต้องใช้เวลาเท่าใด

  14. ค่าคอนเวอร์ชั่น และการหาขนาดของเครื่องปฏิกรณ์

  15. ค่าคอนเวอร์ชั่น และการหาขนาดของเครื่องปฏิกรณ์ ค่าคอนเวอร์ชั่น (Conversion) เพื่อความสะดวกต่อการพิจารณาค่าคอนเวอร์ชั่นภายในระบบสำหรับการออกแบบเครื่องปฏิกรณ์ เรามักยึดสารตัวใดตัวหนึ่งเป็นสารกำหนดปฏิกิริยา โดยสารตั้งต้นที่เป็นตัวกำหนดปฏิกิริยาจะเป็นสารที่หมดไปก่อนเมื่อปฏิกิริยาเกิดสมบูรณ์ สำหรับปฏิกิริยา: aA + bB  cC + d D กำหนดให้สาร A เป็นสารตั้งต้นที่จำกัดปฏิกิริยา A + (b/a)B  (c/a)C + (d/a) D

  16. ค่าคอนเวอร์ชั่น (Conversion) • ค่าคอนเวอร์ชั่น เป็นค่าที่บอกถึงการดำเนินไปของปฏิกิริยาว่าสมบูรณ์เพียงใด • ระบบแบบกะ = = จำนวนโมล A ที่ทำปฏิกิริยา/จำนวนโมล A ที่อยู่เริ่มต้นในระบบ • ระบบแบบต่อเนื่อง = = อัตราการทำปฏิกิริยาของสาร A/ อัตราการป้อนสาร A เข้าระบบ ค่าคอนเวอร์ชั่นอยู่ในรูปอัตราส่วน ค่าคอนเวอร์ชั่นอยู่ในรูปเปอร์เซนต์

  17. ตารางแสดงสมการในการออกแบบเครื่องปฏิกรณ์ทั้งสามชนิดในรูปค่าคอนเวอร์ชั่นตารางแสดงสมการในการออกแบบเครื่องปฏิกรณ์ทั้งสามชนิดในรูปค่าคอนเวอร์ชั่น

  18. การออกแบบเครื่องปฏิกรณ์แบบไหลต่อเนื่อง • อัตราการไหลโดยโมลของสาร A ที่เข้าเครื่องปฏิกรณ์แบบไหลต่อเนื่องสัมพันธ์กับความเข้มข้นของสาร A (mol/dm3) และอัตราการไหลเชิงปริมาตร (dm3/s) • สำหรับระบบที่วัฏภาคเป็นของเหลว การกำหนดความเข้มข้นของ A ในเทอมของโมลาริตี้ (molarity) เช่น • สำหรับระบบที่วัฏภาคเป็นของก๊าซ ความเข้มข้นของสาร A สามารถคำนวณได้จากอุณหภูมิและความดัน ที่ใช้กฎก๊าซอุดมคติ (ideal gas law)

  19. ตัวอย่างที่ 3 การใช้กฎของ ideal gas ไปคำนวณความเข้มของสาร CA0และ FA0 ก๊าซ A ที่ความดัน 830 kPa (8.2 atm) เข้าเครื่องปฏิกรณ์อัตราการไหลเชิงปริมาตร () 2 dm3/s ที่อุณหภูมิ 500 K จงคำนวณหาความเข้มข้น และอัตราการไหลของสาร A ที่เข้าเครื่องปฏิกรณ์

  20. การประยุกต์ใช้สมการการออกแบบสำหรับเครื่องปฏิกรณ์แบบไหลต่อเนื่องการประยุกต์ใช้สมการการออกแบบสำหรับเครื่องปฏิกรณ์แบบไหลต่อเนื่อง • โดยส่วนใหญ่ –rAจะเป็นฟังก์ชันของความเข้มข้นของสารต่างๆ และความเข้มข้นก็เป็นฟังก์ชันของ X ดังนั้น • สำหรับปฏิกิริยาอันดับ 1 • เมื่อเขียนกราฟระหว่างส่วนกลับของ –rAกับคอนเวอร์ชั่น จะได้ว่า

  21. แสดงความสัมพันธ์ระหว่างอัตราการเกิดปฏิกิริยากับคอนเวอร์ชั่นแสดงความสัมพันธ์ระหว่างอัตราการเกิดปฏิกิริยากับคอนเวอร์ชั่น

  22. ตัวอย่างที่ 4 การหาขนาดของเครื่องปฏิกรณ์ • ปฏิกิริยา AB ถูกดำเนินงานอยู่ในเครื่องปฏิกรณ์ ซึ่งมีอัตราการเกิดปฏิกิริยาสามารถอธิบายได้ดังตารางนี้ • โดยอัตราการไหลเข้าของสาร A มีค่าเท่ากับ 0.4 mol/s • จงคำนวณหาปริมาตรของเครื่องปฏิกรณ์แบบถังกวน (CSTR) ที่ทำให้ค่าคอนเวอร์ชั่นเท่ากับ 80% • จงคำนวณหาปริมาตรของเครื่องปฏิกรณ์แบบท่อไหล (PFR) ที่ทำให้ค่าคอนเวอร์ชั่นเท่ากับ 80% • จงแสดงของปริมาตรของเครื่องปฏิกรณ์แบบถังกวนและแบบท่อไหล ในความสัมพันธ์ของกราฟระหว่าง 1/-rAและค่าคอนเวอร์ชั่น

  23. Numerical Evaluation of Integrals

  24. Numerical Evaluation of Integrals

  25. Numerical Evaluation of Integrals

  26. Numerical Evaluation of Integrals

  27. จงแสดงของปริมาตรของเครื่องปฏิกรณ์แบบถังกวนและแบบท่อไหล ในความสัมพันธ์ของกราฟระหว่าง 1/-rAและค่าคอนเวอร์ชั่น รูปแสดงความสัมพันธ์ของปริมาตรในเครื่องปฏิกรณ์แบบท่อไหล รูปแสดงความสัมพันธ์ของปริมาตรในเครื่องปฏิกรณ์แบบถังกวน

More Related