310 likes | 850 Views
การรู้สารสนเทศ : ขั้นตอนที่ 5 การสังเคราะห์. อ.ศศิพิมล ประพินพงศกร ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มศว
E N D
การรู้สารสนเทศ: ขั้นตอนที่ 5การสังเคราะห์ อ.ศศิพิมล ประพินพงศกร ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มศว Tel : 02-2600122 อาคาร 6 ห้อง 631Contact : sasipimol@swu.ac.thHomepage: http://facstaff.swu.ac.th/sasipimol/
ขั้นตอนที่ 5 การสังเคราะห์ (Synthesis) จัดสารสนเทศที่ได้มาจากแหล่งต่างๆ (Organise from multiple sources)นำเสนอสารสนเทศ (Present the information) Key point: สามารถจัดการสารสนเทศที่ได้มาและนำมาสังเคราะห์ ตลอดจนนำเสนอสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม และตรงกับความต้องการ
การสังเคราะห์ คืออะไร การจัดกลุ่มข้อมูลเรื่องเดียวกัน หรือแนวคิดเดียวกันไว้ด้วยกัน (ที่ผ่านการวิเคราะห์มาแล้วจากแหล่งต่างๆ) แล้วนำมาจัดกลุ่มอีกครั้ง ในลักษณะลำดับชั้น หรือรูปแบบของโครงร่าง (outline) ซึ่งจะทำให้เห็นความสัมพันธ์ของกลุ่มข้อมูลแล้วรวบรวมหรือสรุปให้ได้ข้อมูล/เนื้อหาใหม่ ด้วยการใช้สำนวน ภาษาของตนเองที่มีความถูกต้อง ตลอดจนนำเสนอในรูปแบบที่เหมาะสม เพื่อแก้ไขปัญหา ตอบคำถามที่กำหนดไว้ หรือนำไปใช้ได้ตรงกับความต้องการ
ดังนั้นขั้นตอนนี้จึงต้องเรียนรู้ในเรื่องที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ การจัดกลุ่มความสัมพันธ์ของแนวคิด / เรื่อง การวางโครงร่าง (Outline) การเขียนการอ้างอิงและบรรณานุกรม
การจัดสารสนเทศโดยทั่วไปการจัดสารสนเทศโดยทั่วไป - จัดกลุ่ม (ประเด็นใหญ่ / ประเด็นย่อย) - เรียงตามลำดับอักษร - ตามลำดับเวลา (เช่น เหตุการณ์) - ตั้งแต่ต้นจนจบ (เช่น story) - ใช้หลายๆ วิธีข้างต้นผสมผสานกัน
วิธีการจัดสารสนเทศ สามารถทำได้แบบง่ายๆ ดังนี้ 1. นำเอกสาร หรือ ข้อมูลที่ได้มาจากแหล่งต่างๆ ที่ได้เลือกจากขั้นตอนที่ 4 แล้ว มาอ่านอีกครั้ง 2. ทำ Highlight / Mark ที่ประโยค หรือข้อความที่สำคัญที่จะใช้ 3. ลองจัดกลุ่มความสัมพันธ์ของเรื่องหรือข้อมูล โดยการใส่ตัวเลข หรือตัวอักษร ที่ข้อความนั้นๆ (อาจปรับเปลี่ยนภายหลังได้)
4. จัดเรียงข้อมูลที่ได้เพื่อจัดกลุ่มใหม่อีกครั้ง (หรืออาจเขียนเป็นโครงร่าง) เพื่อให้เห็นลำดับชั้นความสัมพันธ์ และความต่อเนื่องของข้อมูล 5. จะได้กลุ่มข้อมูล หรือ โครงร่างคร่าวๆ ที่มองเห็นภาพรวมของข้อมูล หรือคำตอบทั้งหมด (ใส่ข้อมูล มุมมอง เรียบเรียงข้อมูลด้วยภาษาของตนเอง) (*ทำให้เห็นภาพว่า เราได้คำตอบในทุกประเด็นปัญหา หรือตอบโจทย์ที่เราต้องการคำตอบแล้วหรือยัง ? หากยัง สามารถปรับปรุง แก้ไข เพิ่มเติมได้)
รูปแบบการจัดกลุ่มแนวคิด หรือเนื้อหาแบบง่ายๆ
I. A. 1. 2. 3. B. 1. 2. 3. C. 1. 2. 3.
การเขียนโครงร่าง (Outline)เป็นการกำหนดกรอบแนวคิดและขอบเขตของเรื่อง จัดลำดับหัวข้อให้มีความสัมพันธ์กัน และต่อเนื่องกัน
องค์ประกอบในการวางโครงร่างมี 3 ส่วน 1. บทนำ 2. ส่วนเนื้อหา - จัดลำดับหัวข้อและแนวคิดให้ต่อเนื่องกัน (อาจจัดข้อมูลด้วยการใช้ตัวเลขอย่างเดียว หรือตัวเลขสลับตัวอักษร) 3. บทสรุป
1. บทนำ 2. หัวข้อใหญ่ 2.1 หัวข้อรอง 2.1.1 หัวข้อย่อย 2.1.2 หัวข้อย่อย 2.2 หัวข้อรอง 2.2.1 หัวข้อย่อย 2.2.2 หัวข้อย่อย3. หัวข้อใหญ่ 3.1 หัวข้อรอง 3.2 หัวข้อรอง4. บทสรุป 1. บทนำ 2. หัวข้อใหญ่ ก. หัวข้อรอง 1) หัวข้อย่อย 2) หัวข้อย่อย ข. หัวข้อรอง 1) หัวข้อย่อย 2) หัวข้อย่อย3. หัวข้อใหญ่ ก. หัวข้อรอง ข. หัวข้อรอง4. บทสรุป
โครงร่าง(จะต้องตอบโจทย์ หรือครอบคลุมทุกคำตอบที่ ต้องการ) โจทย์ : ต้องการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับความเป็นมา และ วิธีการ หรือกระบวนการทอผ้าไหมแบบพื้นบ้าน ว่าทำอย่างไร?
1. บทนำ 2. ความเป็นมาของผ้าไหมไทย 3. กระบวนการทอผ้าไหมไทย 3.1 การปลูกหม่อนเลี้ยงไหม 3.1.1 หนอนไหม 3.1.2 การเลี้ยงไหม 3.2 การเตรียมเส้นไหม 3.3 การทอผ้าไหม 3.3.1 การทอผ้าไหมแบบพื้นบ้าน 3.3.2 การทอแบบใช้ตะกอสร้างลาย 4. บทสรุป ส่วนนี้เป็นส่วนที่จากการสืบค้นและเลือกใช้ข้อมูล และนำมาจัดกลุ่ม
การนำเสนอสารสนเทศ / การนำเสนอผล ขั้นตอนนี้ มีความเชื่อมโยงกันระหว่าง ขั้นตอนที่ 1 Task definition (ตอนแรกตั้งจุดประสงค์ไว้ว่าอย่างไร / สามารถปรับในภายหลังได้) ต้องพิจารณาด้วยว่ารูปแบบที่ใช้เหมาะสมกับหัวข้อ หรือปัญหาที่ได้รับหรือไม่
รูปแบบการนำเสนอ ปัจจุบันมีหลายทางเลือกที่ใช้ในการนำเสนอ นอกเหนือจากการนำเสนอแบบเดิมๆ (Paper) / อาจมีการผสมผสานหลายวิธีก็ได้ เทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญมากขึ้น เพราะเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้เราสามารถนำเสนอความคิดและสารสนเทศผ่านรูปแบบต่างๆ ได้ เช่น การใช้ word, desktop publishing, graphic program, audio/video editing, power point, database เป็นต้น
ตัวอย่างรูปแบบการนำเสนอตัวอย่างรูปแบบการนำเสนอ วีดิทัศน์ นิทรรรศการ E-book บอร์ด Booklet เกม สไลด์ การแสดงละคร Oral / Oral report รายงาน แผ่นพับ PPT โครงงาน Web page ภาพยนตร์
อย่าลืมเรื่องการอ้างอิงและบรรณานุกรมนะคะอย่าลืมเรื่องการอ้างอิงและบรรณานุกรมนะคะ
รูปแบบการเขียนการอ้างอิงและบรรณานุกรมรูปแบบการเขียนการอ้างอิงและบรรณานุกรม SWUAPAChicago
การเขียนอ้างอิงแทรกในเนื้อหาการเขียนอ้างอิงแทรกในเนื้อหา (ชื่อผู้แต่ง.//ปีที่พิมพ์:/หน้าที่อ้างอิง) (สุชา จันทร์เอม. 2541: 22) (Sebesta. 2002: 87-89) เอกสาร (Record) หมายถึง สารสนเทศที่บันทึกไว้ในสื่อแบบ ต่าง ๆ เช่น สื่อสิ่งพิมพ์ ไมโครฟิล์ม เทปบันทึกเสียง วีดิทัศน์ ภาพถ่าย ภาพนิ่ง เทปคอมพิวเตอร์ จานบันทึก แผ่นซีดีรอม หรือจานแสง (Optical disk) (Diamond. 2000: 1)
ตัวอย่างการเขียนอ้างอิงแทรกในเนื้อหาตัวอย่างการเขียนอ้างอิงแทรกในเนื้อหา • กรณีระบุชื่อผู้แต่งลงในเนื้อหา และต้องการอ้างถึงชื่อนั้น ไม่ต้องระบุชื่อผู้แต่งซ้ำอีก • กรณีไม่ปรากฏชื่อผู้แต่งในเนื้อหา ชม ภูมิภาค (2533: 268) อธิบายว่า วิทยากรเป็นบุคคลที่อยู่ในชุมชนนั้น ... ... การบริหารงานบุคคล หมายถึง ศิลปะในการเลือกสรรคนใหม่และใช้คนเก่า ในลักษณะที่จะให้ได้ผลงานและบริการจากการปฏิบัติของบุคคลเหล่านั้นมากที่สุด ทั้งในทางปริมาณและคุณภาพ (สมพงษ์ เกษมสิน. 2550: 437)
รูปแบบการเขียนบรรณานุกรมของ มศว หนังสือหนังสือภาษาไทย ชื่อ สกุล.//(ปีที่พิมพ์).//ชื่อเรื่อง.//ครั้งที่พิมพ์.//เมืองที่พิมพ์:/สำนักพิมพ์หรือผู้จัดพิมพ์. สุชา จันทร์เอม. (2541). จิตวิทยาทั่วไป. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช. หนังสือภาษาอังกฤษ สกุล, ชื่อ.//(ปีที่พิมพ์).//ชื่อเรื่อง.//ครั้งที่พิมพ์.//เมืองที่พิมพ์:/สำนักพิมพ์หรือผู้จัดพิมพ์. Shakespeare, William. (1915). Romeo & Juliet. 2nd ed. Boston: Addison Wesley.
“บทความจากวารสาร” สุริยวุฒิ สุขสวัสดิ์, ม.ร.ว. (2540, มีนาคม). พระพุทธรูปพระพุทธ ยอดฟ้าจุฬาโลก. ศิลปวัฒนธรรม. 18(5): 38-39. Jame, B. A.;& Levinson, A. A. (2002, Fall). Diamonds in Canada. Gems & Gemology. 38(3): 208-238.
“เว็บไซต์ทั่วไป” ผู้แต่ง.//(ปีพิมพ์หรือปีที่สืบค้น).//ชื่อเรื่อง.//สืบค้นเมื่อ/วัน/เดือน/ปี (หรือ Retrieved/เดือน/วัน,/ปี),/จาก (from)/ชื่อเว็บไซต์ ราชบัณฑิตยสถาน. (2543). รายงานผลการวิจัยเรื่องการออกเสียงคำไทย. สืบค้นเมื่อ 19 เมษายน 2551, จาก http://www.royin.go.th/report001.html Snowhill, Lucia. (2002). E-Book and Their Future in Academic Library. Retrieved June 16, 2008, fromhttp://www.dlib.org.dlib/july01/snowhill/07snowhill.html
บรรณานุกรม ชาวนากับงูเห่า. (2551). สืบค้นเมื่อ 2 ตุลาคม 2551, จาก http://www.dekkid.com/E-sop/test62.htmทักษะการรู้สารสนเทศ. (2548). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. สุนัขกับเงา. (2551). สืบค้นเมื่อ 2 ตุลาคม 2551, จาก http://www.dekkid.com/E-sop/test46.htm The Big 6: Information Literacy. (2008). Retrieved September 24, 2008, from http://www.librarianonfire.com/projects/ informationliteracy/big6_presentation2.htm
บรรณานุกรม (ต่อ) The Big 6 Research Outline. (2008). Retrieved September 24, 2008, from http://hunt.bsdvt.org /~dpawlusiak/HMSbig6/default.htm Eisenberg, Mike. (1998, September-October). Big 6 Tips: Teaching Information Problem Solving: #5 Synthesis— Putting It all Together. Teacher Librarian. 26(1). Retrieved October 2, 2008, from http://vnweb.hwwilsonweb.com/ hww/results/getResults.jhtml?_DARGS=/hww/results/ results_common.jhtml.20#record_4 - - - - - - - . (2007). What is the Big6? Retrieved September 24, 2008, from http://www.big6.com/what-is-the-big6/
บรรณานุกรม (ต่อ) Organizing Information. (2003). Retrieved September 24, 2008, from http://depts.alverno.edu/cil/mod3/orgsyn.htmlSamuels, Holly. (2004). The Big 6 Skills. Retrieved September 24, 2008, from http://www.crlsresearchguide.org /Big_Six_Steps.asp
แบบฝึกหัดขั้นตอนที่ 5- ฝึกการจัดกลุ่มข้อมูล - ฝึกการเขียนอ้างอิงและบรรณานุกรม