1 / 95

หัวหน้าส่วนราชการ, อปท., กลุ่มผู้ใช้น้ำ ฝ่ายส่งน้ำและบำรุงรักษาที่ 2 (บ้านพร้าว)

ยินดีต้อนรับ. หัวหน้าส่วนราชการ, อปท., กลุ่มผู้ใช้น้ำ ฝ่ายส่งน้ำและบำรุงรักษาที่ 2 (บ้านพร้าว) โครงการชลประทานพัทลุง. การจัดตั้งคณะกรรมการจัดการชลประทาน ( Joint Management Committee For Irrigation : JMC) อ่างเก็บน้ำป่าพะยอม โครงการฝายคลองบ้านพร้าว อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง.

nona
Download Presentation

หัวหน้าส่วนราชการ, อปท., กลุ่มผู้ใช้น้ำ ฝ่ายส่งน้ำและบำรุงรักษาที่ 2 (บ้านพร้าว)

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ยินดีต้อนรับ หัวหน้าส่วนราชการ, อปท., กลุ่มผู้ใช้น้ำ ฝ่ายส่งน้ำและบำรุงรักษาที่ 2 (บ้านพร้าว) โครงการชลประทานพัทลุง

  2. การจัดตั้งคณะกรรมการจัดการชลประทานการจัดตั้งคณะกรรมการจัดการชลประทาน (Joint Management Committee For Irrigation : JMC) อ่างเก็บน้ำป่าพะยอม โครงการฝายคลองบ้านพร้าว อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง ฝ่ายส่งน้ำและบำรุงรักษาที่ 2 (บ้านพร้าว) โครงการชลประทานพัทลุง สำนักชลประทานที่ 16

  3. โครงการชลประทานพัทลุง สำนักชลประทานที่ 16 ลำดับการนำเสนอ • การมีส่วนร่วมการบริหารจัดการน้ำชลประทานตามรัฐธรรมนูญ ปี 2550 • การบริหารจัดการน้ำอ่างเก็บน้ำป่าพะยอม โครงการฝายคลองบ้านพร้าว โดยให้เกษตรกรมีส่วนร่วม • ความเป็นมาอ่างเก็บน้ำป่าพะยอม โครงการฝายคลองบ้านพร้าว และกลุ่มบริหารการใช้น้ำ • หลักการและเหตุผล วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งคณะกรรมการจัดการชลประทานอ่างเก็บน้ำป่าพะยอม โครงการฝายคลองบ้านพร้าว (JMC) • ขั้นตอนการจัดตั้งคณะกรรมการจัดการชลประทาน (JMC)

  4. โครงการชลประทานพัทลุง สำนักชลประทานที่ 16 ลำดับการนำเสนอ 6. โครงสร้างคณะกรรมการจัดการชลประทานอ่างเก็บน้ำป่าพะยอม โครงการฝายคลองบ้านพร้าว 7. ประโยชน์ที่ได้รับจากการมีส่วนร่วมของเกษตรกรในการบริหารจัดการน้ำชลประทาน 8. ปัจจัยสำคัญในการสร้างความสำเร็จในการบริหารจัดการน้ำชลประทานโดยให้เกษตรกรมีส่วนร่วม 9. แนวทางการดำเนินงานของคณะกรรมการจัดการชลประทานอ่างเก็บน้ำป่าพะยอม โครงการฝายคลองบ้านพร้าวเพื่อให้มีความเข้มแข็ง 10. การเสนอขอแต่งตั้งคณะกรรมการจัดการชลประทาน และตัวอย่างหนังสือแต่งตั้ง โดย ผู้ว่าราชการ

  5. โครงการชลประทานพัทลุง สำนักชลประทานที่ 16 1. การมีส่วนร่วมการบริหารจัดการน้ำชลประทาน ตามรัฐธรรมนูญปี 2550 1. หลักการและเหตุผล ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ได้กำหนดและให้สิทธิแก่ประชาชนในการเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจของภาครัฐ ซึ่งได้ระบุในมาตรา 56 – 57 – 58 – 66 - 67 – 85 และมาตรา 86 และประกอบกับระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน พ.ศ. 2548 กำหนดให้ส่วนราชการ ก่อนเริ่มดำเนินโครงการของรัฐ ต้องเผยแพร่ข้อมูลโครงการ และหรือรับฟังความคิดเห็นของประชาชน เพื่อมุ่งให้ประชาชนมีความเข้าใจที่ถูกต้อง และรวบรวมความคิดเห็น ความเดือดร้อนหรือเสียหาย ของประชาชน เพื่อนำไปเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาดำเนินการโครงการนั้น ๆ ต่อไป

  6. โครงการชลประทานพัทลุง สำนักชลประทานที่ 16 ในการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการน้ำของกรมชลประทาน ซึ่งดำเนินการส่งน้ำและบำรุงรักษาซ่อมแซม ปรับปรุง และก่อสร้างอาคารชลประทานเพิ่มเติม ในเขตพื้นที่ชลประทาน จึงมีความจำเป็นที่จะต้องเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในขั้นตอนการดำเนินงานต่างๆ ตั้งแต่ร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ร่วมดำเนินการ ร่วมรับผมประโยชน์ และร่วมประเมินผล เพื่อให้พันธกิจของกรมชลประทาน “เสริมสร้างด้านการบริหารจัดการน้ำ เพื่อให้ทุกภาคส่วนได้รับน้ำอย่างทั่วถึงสร้างความยั่งยืนในการบริหารจัดการน้ำ ฝ่ายส่งน้ำและบำรุงรักษาที่ 2 (บ้านพร้าว) โครงการชลประทานพัทลุงได้ดำเนินการบริหารจัดการน้ำชลประทาน โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมมาตั้งแต่ปี 2542 เป็นต้นมา

  7. โครงการชลประทานพัทลุง สำนักชลประทานที่ 16 2. วัตถุประสงค์ 2.1 เพื่อให้เกษตรกรผู้ใช้น้ำ ประชาชนผู้มีส่วนได้เสียจากการบริหาร จัดการน้ำในระดับโครงการ หรือตลอดจนเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการน้ำระดับลุ่มน้ำ 2.2 เพื่อให้เกษตรกร สมาชิกผู้ใช้น้ำ และองค์กรผู้ใช้น้ำชลประทาน ได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและตัดสินใจในการปรับปรุงและก่อสร้างเพิ่มเติมในระบบชลประทาน ตลอดจนงานซ่อมแซมและบำรุงรักษาอาคารชลประทานในเขตพื้นที่โครงการชลประทาน 2.3 เพื่อให้เกษตรกรในพื้นที่ส่งน้ำ มีความเข้าใจในการมีส่วนร่วมการจัดทำข้อตกลงการมีส่วนร่วมกับกรมชลประทาน ให้ความร่วมมือในการบริหารจัดการน้ำชลประทาน

  8. โครงการชลประทานพัทลุง สำนักชลประทานที่ 16 3. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ได้กำหนดและให้สิทธิแก่ประชาชนในการเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจของภาครัฐ ซึ่งได้ระบุในมาตรา 56-57-58-66-67-85 และ มาตรา 86

  9. โครงการชลประทานพัทลุง สำนักชลประทานที่ 16 ส่วนที่ 10สิทธิในข้อมูลข่าวสารและการร้องเรียน มาตรา 56 บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับทราบและเข้าถึงข้อมูลหรือข่าวสารสาธารณะในครอบครองของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น เว้นแต่การเปิดเผยข้อมูลหรือข่าวสารนั้นจะกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ความปรอดภัยของประชาชนหรือส่วนได้เสียอันพึงได้รับความคุ้มครองของบุคคลอื่น หรือเป็นข้อมูลส่วนบุคคล ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ

  10. โครงการชลประทานพัทลุง สำนักชลประทานที่ 16 มาตรา 57 บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับข้อมูล คำชี้แจง และเหตุผลจากหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น ก่อนการอนุญาตหรือการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมใดที่อาจมีผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพอนามัย คุณภาพชีวิต หรือส่วนได้เสียสำคัญอื่นใดที่เกี่ยวกับตน หรือชุมชนท้องถิ่นและมีสิทธิแสดงความคิดเห็นของตนต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อนำไปประกอบการพิจารณาในเรื่องดังกล่าว การวางแผนพัฒนาสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรม การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ การวางผังเมือง การกำหนดเขตการใช้ประโยชน์ในที่ดิน และการออกกฎที่อาจมีผลการทบต่อส่วนได้เสียสำคัญของประชาชนให้รัฐจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนอย่างทั่วถึงก่อนดำเนินการ

  11. โครงการชลประทานพัทลุง สำนักชลประทานที่ 16 มาตรา 58 บุคคลย่อมมีสิทธิมีส่วนร่วมในกระบวนการพิจารณาของเจ้าหน้าที่ของรัฐในการปฏิบัติราชการทางปกครองอันมีผลหรืออาจมีผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของตน

  12. โครงการชลประทานพัทลุง สำนักชลประทานที่ 16 ส่วนที่ 12สิทธิชุมชน มาตรา 66 บุคคลซึ่งรวมกันเป็นชุมชน ชุมชนท้องถิ่น หรือชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม ย่อมมีสิทธิอนุรักษ์หรือฟื้นฟูจารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น และของชาติ และมีส่วนร่วมในการจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม รวมทั้งความหลากหลายทางชีวภาพอย่างสมดุลและยั่งยืน

  13. โครงการชลประทานพัทลุง สำนักชลประทานที่ 16 มาตรา 67 สิทธิของบุคคลที่จะมีส่วนร่วมกับรัฐและชุมชนในการอนุรักษ์ บำรุงรักษา และการได้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ และในการคุ้มครองส่งเสริม และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ดำรงชีพอยู่ได้อย่างปกติและต่อเนื่องในสิ่งแวดล้อม ที่จะไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัย สวัสดิภาพ หรือคุณภาพชีวิตของตน ย่อมได้รับความคุ้มครองตามความเหมาะสม

  14. โครงการชลประทานพัทลุง สำนักชลประทานที่ 16 การดำเนินโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพ จะกระทำมิได้ เว้นแต่จะได้ศึกษาและประเมินผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนในชุมชุน และจักให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียก่อน รวมทั้งได้ให้องค์การอิสระซึ่งประกอบด้วยผู้แทนองค์การเอกชนด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ และผู้แทนสถาบันอุดมศึกษาที่จัดการการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมหรือทรัพยากรธรรมชาติหรือด้านสุขภาพ ให้ความเห็นประกอบด่อนมีการดำเนินการดังกล่าว สิทธิของชุมชนที่จะฟ้องหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ ราชการส่วนท้องถิ่นหรือองค์กรอื่นของรัฐที่เห็นนิติบุคคล เพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามบทบัญญัตินี้ ย่อมได้รับความคุ้มครอง

  15. โครงการชลประทานพัทลุง สำนักชลประทานที่ 16 ส่วนที่ 8แนวนโยบายด้านที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม มาตรา 85 รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมดังต่อไปนี้ (1) กำหนดหลักเกณฑ์การใช้ที่ดินให้ครอบคลุมทั่วประเทศ โดยให้คำนึงถึงความสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ ทั้งผืนดิน ผืนน้ำ วิถีชีวิตของชุมชนท้องถิ่น และการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ และกำหนดมาตรฐานการใช้ที่ดินอย่างยั่งยืน โดยต้องให้ประชาชนในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากหลักเกณฑ์การใช้ที่ดินนั้นมีส่วนร่วมในการตัดสินใจด้วย

  16. โครงการชลประทานพัทลุง สำนักชลประทานที่ 16 (2) กระจายการถือครองที่ดินอย่างเป็นธรรมและดำเนินการให้เกษตรกรมีกรรมสิทธิ์ หรือสิทธิในที่ดินเพื่อประกอบเกษตรกรรมอย่างทั่วถึงโดยการปฏิรูปที่ดินหรือวิธีอื่น รวมทั้งจัดหาแหล่งน้ำเพื่อให้เกษตรกรมีน้ำใช้อย่างพอเพียงและเหมาะสมแก่การเกษตร (3) จัดให้มีการวางผังเมือง พัฒนา และดำเนินการตามผังเมืองอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เพื่อประโยชน์ในการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน (4) จัดให้มีการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและทรัพยากรธรรมชาติอื่นอย่างเป็นระบบและเกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม ทั้งต้องให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการสงวน บำรุงรักษาและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพอย่างสมดุล

  17. โครงการชลประทานพัทลุง สำนักชลประทานที่ 16 (5) ส่งเสริมบำรุงรักษาและคุ้มครองคุณภาพสิ่งแวดล้อมตามหลักการพัฒนาที่ยั่งยืนตลอดจนควบคุมและกำจัดภาวะมลพิษที่มีผลต่อสุขภาพอนามัย สวัสดิภาพ และคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยประชาชน ชุมชนท้องถิ่น และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ต้อมีส่วนร่วมในการกำหนดแนวทางการดำเนินงาน

  18. โครงการชลประทานพัทลุง สำนักชลประทานที่ 16 ส่วนที่ 9แนวนโยบายด้านวิทยาศาสตร์ ทรัพย์สินทางปัญญา และพลังงาน มาตรา 86 รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านวิทยาศาสตร์ ทรัพย์สินทางปัญญาและพลังงานดังต่อไปนี้ (1) ส่งเสริมให้มีการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมด้านต่างๆ โดยจัดให้มีกฎหมายเฉพาะเพื่อการนี้ จัดงบประมาณสนับสนุนการศึกษา ค้นคว้า วิจัย และมีการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพ และการพัฒนาบุคลากรที่เหมาะสม รวมทั้งเผยแพร่ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีสมัยใหม่ให้ประชาชนใช้หลักด้านวิทยาศาสตร์ในการดำรงชีพ

  19. โครงการชลประทานพัทลุง สำนักชลประทานที่ 16 (2) ส่งเสริมการประดิษฐ์หรือการค้นคิดเพื่อให้เกิดความรู้ใหม่ รักษาและพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นและภูมิปัญญาไทย รวมทั้งให้ความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา (3) ส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัย พัฒนา และใช้ประโยชน์จากพลังงานทดแทนซึ่งได้จากธรรมชาติและเป็นคุณต่อสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ

  20. โครงการชลประทานพัทลุง สำนักชลประทานที่ 16 2. การบริหารจัดการน้ำอ่างเก็บน้ำป่าพะยอม โครงการฝายคลองบ้านพร้าวโดยให้เกษตรกรมีส่วนร่วม

  21. โครงการชลประทานพัทลุง สำนักชลประทานที่ 16 ฝ่ายส่งน้ำและบำรุงรักษา ที่ 2มีพื้นที่เขตรับผิดชอบ 3 อำเภอ • อ.ป่าพะยอม จ.พัทลุง • อ.ศรีบรรพต จ.พัทลุง • อ.ควนขนุน จ.พัทลุง และพื้นที่บางส่วนใน ต.ขอนหาด อ.ชะอวด จ.นครศรีธรรมราช

  22. โครงการชลประทานพัทลุง สำนักชลประทานที่ 16 1. โครงการฝายบ้านพร้าวและอ่างเก็บน้ำป่าพะยอม อยู่ในลุ่มน้ำคลองป่าพะยอม W.A.=463.67 กม.2 น้ำท่า 183.05 ล้านลบ.ม. 2.โครงการท่าแนะ อยู่ในลุ่มน้ำคลองท่าแนะ W.A.=625.68 กม.2 น้ำท่า 247.01 ล้านลบ.ม. 3.ลุ่มน้ำคลองนาท่อม W.A.=530.71 กม.2 น้ำท่า 209.52 ล้านลบ.ม. 4.ลุ่มน้ำคลองสะพานหยี W.A.=558.64 กม.2 น้ำท่า 220.54 ล้านลบ.ม. 5.ลุ่มน้ำท่าเชียด-บางแก้ว W.A.=586.57 กม.2 น้ำท่า 231.57 ล้านลบ.ม. 6.ลุ่มน้ำคลองป่าบอน 7.ลุ่มน้ำคลองพรุพ้อ W.A.=659.20 กม.2 น้ำท่า 260.24 ล้านลบ.ม. 8.ลุ่มน้ำคลองลำโลน

  23. โครงการชลประทานพัทลุง สำนักชลประทานที่ 16 อ่างเก็บน้ำป่าพะยอม • อ่างเก็บน้ำป่าพะยอม พื้นที่รับประโยชน์ พื้นที่โครงการ ชลประทานบ้านพร้าว สถานที่ตั้ง ตำบลเกาะเต่า อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง ความจุ 20.50 ล้าน ลบ.ม. สันเขื่อน ยาว 255 ม. เขื่อนสูง 33 ม.

  24. โครงการชลประทานพัทลุง สำนักชลประทานที่ 16 • โครงการฝายคลองบ้านพร้าว • พื้นที่ชลประทาน 35,700 ไร่ • สถานที่ตั้ง • ตำบลเกาะเต่า อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง • ฝาย ยาว 26.00 ม. สูง 2 .00 ม.

  25. โครงการฝายคลองบ้านพร้าว ระบบส่งน้ำ • RMC 11.90 กม. • 1L-RMC 8.40 กม. • 2L-RMC 11.50 กม. • LMC 13.60 กม. • 1R - LMC 9.80 กม.

  26. โครงการชลประทานพัทลุง สำนักชลประทานที่ 16 การบริหารจัดการน้ำแบบดั้งเดิมก่อนที่จะมีการจัดตั้งกลุ่มผู้ใช้น้ำชลประทาน • ขาดการประชาสัมพันธ์ถึงสถานการณ์น้ำให้เกษตรกรได้รับทราบ • ชลประทานจะเป็นผู้บริหารจัดการน้ำให้เกษตรกรทั้งสิ้น • ปัญหาการแย่งน้ำระหว่างเกษตรกรกันเอง • การขัดแย้งระหว่างเกษตรกร กับ เจ้าหน้าที่ชลประทาน • ปัญหาการร้องเรียนเรื่องน้ำ

  27. โครงการชลประทานพัทลุง สำนักชลประทานที่ 16 3. ความเป็นมาของอ่างเก็บน้ำป่าพะยอม โครงการฝายคลองบ้านพร้าวและกลุ่มบริหารการใช้น้ำ • ตั้งแต่โครงการชลประทานบ้านพร้าวก่อสร้างเสร็จในปี 2512 และได้ก่อสร้างระบบส่งน้ำ รวม 5 สาย เสร็จในปี พ.ศ.2516 ได้ทำการส่งน้ำสู่พื้นที่เพาะปลูกแต่ไม่เพียงพอ ได้ก่อสร้างอ่างเก็บน้ำเพื่อช่วยเหลือพื้นที่เพาะปลูกในปี 2531 แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2535 และในปีเดียวกัน โครงการก่อสร้างคันคูน้ำและจัดรูปที่ดิน ได้เข้ามาทำการก่อสร้างคูส่งน้ำในแปลงนาเสร็จเต็มพื้นที่ทั้งโครงการในปี พ.ศ. 2539 จำนวน 182 คู พร้อมกันนี้ได้ก่อตั้งกลุ่มผู้ใช้น้ำพื้นฐานทุกสายคู และมีกลุ่มบริหารการใช้น้ำ 2 กลุ่ม คือ

  28. โครงการชลประทานพัทลุง สำนักชลประทานที่ 16 1. กลุ่มบริหารการใช้น้ำบ้านพร้าวฝั่งขวา ประกอบด้วย คลองส่งน้ำสายใหญ่ฝั่งขวา, คลองซอย 1 ขวา – สายใหญ่ฝั่งขวา และคลองซอย 2 ขวา – สายใหญ่ฝั่งซ้าย มีสมาชิก 431 คน พื้นที่ 20,060 ไร่ 2. กลุ่มบริหารการใช้น้ำบ้านพร้าวฝั่งซ้าย ประกอบด้วย คลองส่งน้ำสายใหญ่ฝั่งซ้าย และคลองซอย 1 ขวา – สายใหญ่ฝั่งซ้าย มีสมาชิก 318 คน พื้นที่ 15,640 ไร่

  29. โครงการชลประทานพัทลุง สำนักชลประทานที่ 16 องค์กรผู้ใช้น้ำชลประทานในปัจจุบัน จำนวน 2 กลุ่มบริหารการใช้น้ำ พื้นที่ชลประทาน 35,700 ไร่ หลังจากการจัดตั้งกลุ่มบริหารแล้ว สมาชิกของกลุ่มและเกษตรกรส่วนใหญ่ให้ความร่วมมือด้วยดี ทำให้การดำเนินกิจกรรมของกลุ่มเป็นไปด้วยดี โดยที่เจ้าหน้าที่ของโครงการเข้าร่วมประชุมกับกลุ่มองค์กรผู้ใช้น้ำอย่างน้อยละ 2 ครั้ง

  30. โครงการชลประทานพัทลุง สำนักชลประทานที่ 16 การจัดตั้งกลุ่มบริหารการใช้น้ำโครงการฝายคลองบ้านพร้าว

  31. โครงการชลประทานพัทลุง สำนักชลประทานที่ 16 แผนที่แสดงพื้นที่กลุ่มบริหารการใช้น้ำ 2 กลุ่ม

  32. โครงการชลประทานพัทลุง สำนักชลประทานที่ 16

  33. โครงการชลประทานพัทลุง สำนักชลประทานที่ 16 คณะกรรมการกลุ่มบริหารการใช้น้ำบ้านพร้าวฝั่งซ้าย • จดทะเบียนเมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2542 • จำนวนสมาชิกผู้ใช้น้ำ 318 ราย • ประธานกลุ่มผู้ใช้น้ำคนแรก นายสุวัฒน์ ณะกลับ • เลือกตั้งคณะกรรมการกลุ่มบริหารการใช้น้ำใหม่ เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2552 • ประธานกลุ่มฯ คนปัจจุบัน นายสุวัฒน์ ณะกลับ • คณะกรรมการบริหาร จำนวน 13 คน • พื้นที่การเกษตรที่รับผิดชอบ 15,640 ไร่ • แบ่งพื้นที่การส่งน้ำออกเป็น 5 เขต • อยู่ในเขตพื้นที่ อบต.เกาะเต่า, อบต.ป่าพะยอม, อบต.แหลมโตนด, อบต.ขอนหาด

  34. โครงการชลประทานพัทลุง สำนักชลประทานที่ 16

  35. โครงการชลประทานพัทลุง สำนักชลประทานที่ 16 คณะกรรมการกลุ่มบริหารการใช้น้ำบ้านพร้าวฝั่งขวา • จดทะเบียนเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2542 • จำนวนสมาชิกผู้ใช้น้ำ 431 ราย • ประธานกลุ่มผู้ใช้น้ำคนแรก นายมนตรี แก้วขาว • เลือกตั้งคณะกรรมการกลุ่มบริหารการใช้น้ำใหม่ เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2552 • ประธานกลุ่มฯ คนปัจจุบัน นายสุพิณ นวลเกื้อ • คณะกรรมการบริหาร จำนวน 13 คน • พื้นที่การเกษตรที่รับผิดชอบ 20,060 ไร่ • แบ่งพื้นที่การส่งน้ำออกเป็น 5 เขต • อยู่ในเขตพื้นที่ อบต.บ้านพร้าว, อบต.ปันแต, อบต.แหลมโตนด, อบต.ขอนหาด

  36. โครงการชลประทานพัทลุง สำนักชลประทานที่ 16 กิจกรรมของกลุ่มบริหารการใช้น้ำชลประทาน

  37. 1. มีประชุมใหญ่สมาชิกก่อนการส่งน้ำปีละ 2 ครั้ง เพื่อกำหนดแผนการบำรุงรักษาคูส่งน้ำ และแจ้งแผนการส่งน้ำ

  38. โครงการชลประทานพัทลุง สำนักชลประทานที่ 16 2. มีการบำรุงรักษาคูส่งน้ำก่อนการส่ง น้ำทุกฤดูกาล โดยมีการดำเนินการ 2 วิธี แรงคน เครื่องจักร

  39. โครงการชลประทานพัทลุง สำนักชลประทานที่ 16 3. มีการบำรุงรักษาระบบชลประทาน ในคูส่งน้ำ

  40. โครงการชลประทานพัทลุง สำนักชลประทานที่ 16 4. คณะกรรมการกลุ่มฯ สมาชิก จะเข้าร่วมการฝึกอบรม / สัมมนาเพื่อสร้างความเข้มแข็งขององค์กร

  41. โครงการชลประทานพัทลุง สำนักชลประทานที่ 16 5. มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการน้ำตั้งแต่ในคลองส่งน้ำ คูส่งน้ำ และแปลงนา

  42. โครงการชลประทานพัทลุง สำนักชลประทานที่ 16 หลังจากมีการจัดตั้งกลุ่มบริหารการใช้น้ำชลประทานทั้ง 2 กลุ่มบริหาร และขึ้นทะเบียนกับสำนักชลประทานที่ 16 แล้ว ได้ดำเนินการให้กลุ่มบริหารฯ ร่วมกันบริหารจัดการน้ำในคลองส่งน้ำของแต่ละกลุ่มบริหาร โดยเจ้าหน้าที่ชลประทานจะควบคุมการส่งน้ำที่ปากคลอง

  43. โครงการชลประทานพัทลุง สำนักชลประทานที่ 16 4. หลักการและเหตุผล วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งคณะกรรมการจัดการชลประทานอ่างเก็บน้ำป่าพะยอม โครงการฝายคลองบ้านพร้าว (JMC) หลักการและเหตุผล ด้วยกรมชลประทาน โดยโครงการชลประทานพัทลุง มีแผนงานจะจัดตั้งคณะกรรมการจัดการชลประทานอ่างเก็บน้ำป่าพะยอม โครงการฝายคลองบ้านพร้าว อ.ป่าพะยอม จ.พัทลุง เพื่อให้การบริหารจัดการน้ำและกิจกรรมในส่วนที่เกี่ยวข้องเกิดประโยชน์สูงสุด โดยเกษตรกรมีส่วนร่วมตามรูปแบบบูรณาการ 4 ประสาน ประกอบด้วย

  44. โครงการชลประทานพัทลุง สำนักชลประทานที่ 16 • องค์กรผู้ใช้น้ำฯ • องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น • เจ้าหน้าที่ชลประทาน • ส่วนราชการทุกหน่วยงานที่สนับสนุน โครงการชลประทานพัทลุงจึงได้เรียนเชิญบุคคลที่เกี่ยวข้องดังกล่าวเข้าร่วมประชุมและแต่งตั้งคณะกรรมการจัดการชลประทานอ่างเก็บน้ำป่าพะยอม โครงการฝายคลองบ้านพร้าว โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้

  45. โครงการชลประทานพัทลุง สำนักชลประทานที่ 16 วัตถุประสงค์ • กำหนดหลักเกณฑ์การแบ่งปันน้ำที่เป็นธรรมรวมทั้งกำหนดมาตรการการใช้น้ำให้เป็นไปอย่างคุ้มค่าและได้ประโยชน์สูงสุด โดยให้องค์กรผู้ใช้น้ำชลประทานมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการน้ำ • กำหนดมาตรการควบคุมพื้นที่ใช้น้ำไม่ให้มากเกินปริมาณที่จะใช้ตลอดฤดูกาล • กำหนดระยะเวลาการส่งน้ำ จัดทำปฏิทินการส่งน้ำ พิจารณาการจัดรอบเวรน้ำ • ร่วมกันพิจารณาจัดทำปฏิทินการปรับปรุง ซ่อมแซมบำรุงรักษา เพื่อให้เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานได้ตลอดเวลา

  46. โครงการชลประทานพัทลุง สำนักชลประทานที่ 16 วัตถุประสงค์ (ต่อ) 5. สร้างความเข้าใจและรับทราบข้อตกลงเกี่ยวกับหลักเกณฑ์มาตรการควบคุมการแบ่งน้ำและข้อมูลที่สำคัญอื่นๆ โดยให้สอดคล้องกับพระราชบัญญิติการชลประทานหลวง พ.ศ. 2485 พระราชบัญญัติคันและคูน้ำ พ.ศ. 2505 พระราชบัญญัติการกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 และอื่นๆที่เกี่ยวข้อง 6. เป็นคณะดำเนินการในกรณีฉุกเฉิน หรือเร่งด่วน เช่น เกิดความขัดแย้งระหว่างองค์กรไปจนถึงกรณีเกิดภัยธรรมชาติต่างๆด้วย

  47. โครงการชลประทานพัทลุง สำนักชลประทานที่ 16 วัตถุประสงค์ (ต่อ) • เพื่อจัดทำแผนขอรับการสนับสนุนงบประมาณจาก ส่วนราชการหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาทำการซ่อมแซมบำรุงรักษา เช่น ซ่อมแซมคูส่งน้ำ ซ่อมแซมผิวถนนลูกรังบนคันคลองส่งน้ำ อื่นๆ ให้สามารถส่งน้ำได้รวดเร็วทั่วถึงทุกแปลงนา และสามารถใช้สัญจรรถบนคันคลองส่งน้ำได้สะดวกตามความเหมาะสม • พิจารณาสนับสนุนงบประมาณการพัฒนา ส่งเสริมอาชีพด้านการเกษตร ปัจจัยการผลิตอื่นๆ จากส่วนราชการ องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น โดยร่วมกัน บูรณาการทุกภาคส่วนในเขตพื้นที่ชลประทานท้ายอ่างเก็บน้ำป่าพะยอม และเหนืออ่างเก็บน้ำป่าพะยอมโครงการฝายคลองบ้านพร้าว หรือกิจกรรมอื่นๆที่มีผลกระทบเกี่ยวข้อง เพื่อให้ผลผลิตทางการเกษตรมีคุณภาพ ราคา และผลิตสูงขึ้น ยังผลให้เกษตรกรมีรายได้และมีความมั่นคงอย่างยั่งยืน

  48. โครงการชลประทานพัทลุง สำนักชลประทานที่ 16 วัตถุประสงค์ (ต่อ) 9. จัดประชุมติดตาม และประเมินผลการดำเนินงาน เพื่อปรับปรุงการส่งน้ำในฤดูกาลต่อไป ติดตามงบประมาณสนับสนุนจากส่วนราชการ องค์การบริหารส่วนตำบลและหน่วยงานที่สนับสนุน พร้อมจัดทำรายงานผลการประชุมเสนอให้ กรมชลประทานและท่านผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุง ทราบต่อไป

  49. โครงการชลประทานพัทลุง สำนักชลประทานที่ 16 5. ขั้นตอนการจัดตั้งคณะกรรมการจัดการชลประทาน (JMC) 1. คัดเลือกคนที่จะมาเป็นคณะกรรมการฯ 2. โครงการ ฯ จัดทำหนังสือ เชิญคณะกรรมการฯ ประชุม 3. โครงการ ฯ ชี้แจงเหตุผลในการจัดตั้งคณะกรรมการ บทบาทและหน้าที่ของคณะกรรมการฯ แต่ละฝ่าย 4. มีการเลือกตั้ง ประธาน รองประธาน โดยมีเลขานุการเป็น ผอ . โครงการ ฯ 5. เมื่อดำเนินการเสร็จแล้ว ทำเรื่องให้ ผู้ว่าราชการจังหวัดลงนามแต่งตั้ง 6. จัดให้มีการฝึกอบรม คณะกรรมการฯ

  50. โครงการชลประทานพัทลุง สำนักชลประทานที่ 16 กิจกรรมในการดำเนินการของคณะกรรมการจัดการชลประทาน • 1. คณะกรรมการจะต้องมีการดำเนินการประชุมก่อนการส่งน้ำทุกฤดูกาล • 1.1 เพื่อกำหนดแผนการส่งน้ำ กำหนดการหยุดส่งน้ำ • 1.2 กำหนดเขตการรับน้ำ • 1.3 กำหนดพื้นที่เพาะปลูกพืช • 1.4 กำหนดการบำรุงรักษา คู – คลองส่งน้ำ

More Related