340 likes | 552 Views
การจัดการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขสำหรับ ทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว ( SRRT) (Public Health Emergency Management,PHEM ). เป้าประสงค์. เตรียมความพร้อมองค์ความรู้เรื่องการเฝ้าระวังเหตุการณ์ฉุกเฉิน ประเมินและจัดการความเสี่ยง เตรียมความพร้อมรับสถานการณ์ภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้น
E N D
การจัดการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขสำหรับทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว(SRRT)(Public Health Emergency Management,PHEM)
เป้าประสงค์ • เตรียมความพร้อมองค์ความรู้เรื่องการเฝ้าระวังเหตุการณ์ฉุกเฉิน • ประเมินและจัดการความเสี่ยง • เตรียมความพร้อมรับสถานการณ์ภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้น • การประเมินสถานการณ์และการตอบโต้เหตุการณ์ฉุกเฉินอย่างฉับพลัน • อธิบายหลักการสอบสวนทางระบาดวิทยา • การจัดการระบบข้อมูล
โครงสร้างของเนื้อหา13 หน่วย • หน่วยที่ 1 บทนำ การจัดการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข (PHEM) • หน่วยที่ 2 การจัดการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขในประเทศไทย • หน่วยที่ 3 ความท้าทายและบทบาทหน้าที่ของ SRRT ใน งานตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข (PHER) • หน่วยที่ 4 การประเมินและการจัดการความเสี่ยงในภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข • หน่วยที่ 5 การเตรียมความพร้อมรับภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข • หน่วยที่ 6 การวิเคราะห์และแปลความหมายข้อมูลการเฝ้าระวังภาวะฉุกเฉิน ทางสาธารณสุข
โครงสร้างของเนื้อหา (ต่อ) • หน่วยที่ 7 การประเมินสถานการณ์ในภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข • หน่วยที่ 8 การสอบสวนทางระบาดวิทยา • หน่วยที่ 9 การควบคุมโรคและภัยในภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข • หน่วยที่ 10 การจัดส่งกำลังบำรุงในภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข • หน่วยที่ 11 การสื่อสารความเสี่ยง • หน่วยที่ 12 การจัดการระบบข้อมูลเพื่อการเฝ้าระวังโรคและภัย ในภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข • หน่วยที่ 13 การฟื้นฟูบูรณะ
หน่วยที่ 1 บทนำ การจัดการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข (PHEM)
วัตถุประสงค์ • อธิบายความหมาย ประเภท ผลกระทบของภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขได้ • อธิบายความหมาย เรื่อง การจัดการภาวะฉุกเฉินโดยรวม และแนวคิดทั้ง 3 ด้านได้ • เข้าใจระบบการจัดการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข และอธิบายกระบวนการฉุกเฉินทางสาธารณสุขทั้ง 4 ระยะได้ • เข้าใจระบบบัญชาการการเหตุฉุกเฉินที่เป็นสากล
ภาวะฉุกเฉิน (Emergency) • เหตุการณ์ที่ต้องรีบแก้ไขอย่างฉับพลันโดยไม่ได้คาดการณ์ไว้ เป็นภัยต่อความมั่นคง ความปลอดภัยต่อสังคม ชีวิต ทรัพย์สิน • ระดับ : บุคคล ครอบครัว ชุมชน ประเทศชาติ ภูมิภาคโลก • สาเหตุ : ไม่มีความรู้ ไม่ใส่ใจ ไม่ได้เตรียมการล่วงหน้า
ภัยพิบัติ (Disaster) • เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ หรือมนุษย์เป็นผู้ก่อให้เกิด มักเกิดขึ้นทันทีครั้งเดียว หรือต่อเนื่อง ส่งผลให้ชุมชนที่ได้รับผลกระทบรุนแรงต้องตอบโต้ด้วยมาตรการที่เกินขีดความสามารถของชุมชนอย่างฉับพลัน • ภาวะฉุกเฉินมีผลกระทบต่อระบบนิเวศ ชุมชนไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยตนเอง ต้องอาศัยความช่วยเหลือจากภายนอก
ประเภทภัยพิบัติ • ด้านกายภาพ : การบาดเจ็บ : อุบัติเหตุทางหลวง เครื่องบินตก ตึกถล่ม พายุไต้ฝุ่น แผ่นดินไหว น้ำท่วม ดินถล่ม ฯลฯ • ด้านวัตถุอันตรายรั่วไหล : สารเคมี รังสี : Methyl isocyanate in India,1984 • ด้านชีวภาพ : การระบาดของโรคติดต่ออันตราย : อหิวาตกโรค, กาฬโรค,ไข้หวัดนก,SARS • ด้านสังคม : การจลาจล การก่อการร้าย สงคราม
รถแก๊ซคว่ำและเพลิงไหม้, เพชรบุรีตัดใหม่ กันยายน 2532 • LPG Explosion, Bangkok, September 1989; Killed 81
ใต้ฝุ่นเกย์ พฤศจิกายน 2532 • Typhoon Gay Southern, November 1989; killed >600
Tsunami ธันวาคม2547 น้ำทะเลลดลงหลายร้อยเมตรขณะเกิดสึนามิ น้ำขึ้นอย่างรวดเร็ว
ภาวะวิกฤติ (Crisis) • สถานการณ์หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น จำเป็นต้องใช้กระบวนการตัดสินใจเพื่อกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง • เหตุการณ์หรือเรื่องราวที่ผิดปกติ ก่อให้เกิดผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อบุคคล ชุมชน สังคม • สถานการณ์ที่มีคุณลักษณะของความฉุกเฉินมีผลกระทบทั้งร่างกาย และจิตใจ จำเป็นต้องมีการปฏิบัติการอย่างฉับพลันทันที
ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข (Public Health Emergency-PHE) เหตุการณ์ที่เป็นโรคและภัยคุกคามสุขภาพ มีเกณฑ์อย่างน้อย 2 ใน 4 ประการ เกิดผลกระทบทางสุขภาพที่มีความรุนแรง เป็นเหตุการณ์ที่ผิดปกติ หรือไม่เคยพบมาก่อน มีโอกาสแพร่ไปสู่พื้นที่อื่น ต้องจำกัดการเคลื่อนที่ของผู้คนหรือสินค้า
ประเภทภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขประเภทภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข • อาวุธทางชีวภาพ : แอนแทรกซ์ ไข้ทรพิษ • ภาวะฉุกเฉินจากสารเคมี :Chlorine sarine • ภาวะฉุกเฉินจากรังสี : ก่อการร้าย • อุบัติเหตุกลุ่มชน : ระเบิด การบาดเจ็บ • ภัยจากธรรมชาติและภาวะอากาศเลวร้าย : วาตภัย อุทกภัย ฯลฯ • การระบาดของโรคที่พบบ่อยในพื้นที่ และอุบัติการณ์ของโรคที่สำคัญ : อาหารเป็นพิษ ไข้เลือดออก เลปโตสไปโรซิส
ผลกระทบของภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขผลกระทบของภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข • มีการป่วย การตายเพิ่ม • ผลกระทบต่อสุขภาพจิต • ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม • การสัมผัสสารพิษ สารเคมี รังสี • การทำลายระบบบริการพื้นฐานที่สำคัญต่อชีวิต • การทำลายระบบบริการและผู้ให้บริการพื้นฐานต่างๆ • การอพยพย้ายที่อยู่ของประชากร • การล่มสลายของระบบสังคม • การสูญเสียระบบข้อมูลข่าวสาร • ผู้ให้บริการทางการแพทย์และสาธารณสุข
การตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข(Public health Emergency response) • การดำเนินการต่างๆเพื่อหยุดภาวะฉุกเฉิน/สถานการณ์รุนแรงให้กลับสู่ภาวะปกติในระยะสั้นที่สุด • ด้วยมาตรการที่มีความพร้อมไว้รับมืออย่างมีประสิทธิผลสูงสุด • การป้องกัน ควบคุม ยับยั้งไม่ให้โรคและภัยสุขภาพแพร่กระจายออกไปในวงกว้าง
การจัดการภาวะฉุกเฉินโดยรวมการจัดการภาวะฉุกเฉินโดยรวม การเตรียมความพร้อมที่ใช้ครอบคลุมถึงอันตรายทุกประเภท ประกอบด้วย 3 แนวคิด คือ • แนวคิดที่ 1 การครอบคลุมอันตรายทุกด้าน • แนวคิดที่ 2 ภาคีเครือข่ายในการจัดการภาวะฉุกเฉิน • แนวคิดที่ 3 วงจรการจัดการภาวะฉุกเฉิน
วงจรการจัดการภาวะฉุกเฉิน มี 4 ระยะ • ระยะบรรเทาภัย (Mitigation) • ระยะเตรียมความพร้อม (Preparedness) • ระยะตอบโต้เหตุการณ์ฉุกเฉิน (Response) • ระยะฟื้นฟูบูรณะ (Recovery)
PHE. Management Cycle Impact Pre-impact Post-impact
Mitigation Phase • การจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อกำจัดหรือลดโอกาสการเกิด หรือลดผลกระทบของการเกิดภัยพิบัติ หรือเหตุการณ์ฉุกเฉินทางสาธารณสุข เช่น • จัดให้มีระบบเฝ้าระวังหรือข่าวกรองที่ดี เพื่อให้สามารถเตือนภัยล่วงหน้าได้ • มีการประเมินและค้นหาความเสี่ยง/ภัยคุกคามสุขภาพต่อเนื่อง แล้วหาทางลดปัจจัยเหล่านั้นลง
Preparedness Phase • เป็นระยะที่ต้องเตรียมความพร้อมทุกด้านก่อนที่จะเกิดภัยพิบัติหรือภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข เช่น • การพัฒนาบุคลากรให้มีความพร้อมในการรับมือกับภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข • การเตรียมแผนโต้ตอบภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข มีการซ้อมแผน และมีการเตรียมอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องใช้ไว้ให้พร้อม เป็นต้น
Response Phase เมื่อเกิดภัยพิบัติที่ถือเป็นภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข ทีมตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข จะเข้าพื้นที่ประสบภัยทันที เพื่อดำเนินการทุกวิถีทางที่จะให้การช่วยเหลือและบรรเทาความเสียหายต่อสุขภาพของคนในในพื้นที่ประสบภัย รวมทั้งดำเนินการป้องกันควบคุมโรคระบาดหรือผลแทรกซ้อนอื่นที่อาจเกิดตามหลังการเกิดภัยพิบัติหรือภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขด้วย
ระบบการจัดการภาวะฉุกเฉินแบบบูรณาการ(An Integrated Emergency Management System,IEMS) เป็นระบบจัดการภาวะฉุกเฉินที่อาศัยหลักการจัดการภาวะฉุกเฉินโดยรวม มีเป้าหมายหลัก ดังนี้ • ให้ความสนับสนุนการดำเนินการร่วมกันอย่างใกล้ชิดในทุกระดับ • มุ่งเน้นดำเนินงานตามมาตรการที่มีประสิทธิภาพ • บูรณาการแผนการจัดการในภาวะฉุกเฉินแต่ละพื้นที่ให้เป็นไปในทางเดียวกันกับนโยบายระดับจังหวัด เขต ส่วนกลาง • นำแผน ระบบการจัดการในภาวะฉุกเฉินที่มีอยู่แล้วในพื้นที่มาขยายความครอบคลุม ประยุกต์ใช้ได้กับภาวะฉุกเฉินทุกประเภท
ระบบบัญชาการเหตุฉุกเฉิน (Incident Command System-ICS) ระบบจัดการตอบโต้เหตุการณ์ฉุกเฉินอย่างเป็นระบบ ที่มีความยืดหยุ่น สามารถปรับขยายให้เหมาะสมกับเหตุการณ์ได้ มีประเด็นสำคัญที่ต้องคำนึงถึงในระบบ ICS ( 4 C ) คือ • การวางระบบบัญชาการและสั่งการที่ชัดเจน(Command) • การประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ(Coordination) • การสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือให้เกิดการผนึกกำลัง(Cooperation) • การสื่อสารและการประชาสัมพันธ์(Communication)
โครงสร้างระบบบัญชาการเหตุฉุกเฉิน (ICS) Incident Commander Command Staff Operation Logistics Planning Administration/ Finance
สรุปบทเรียนการเตรียมความพร้อมและการตอบโต้เหตุฉุกเฉินสรุปบทเรียนการเตรียมความพร้อมและการตอบโต้เหตุฉุกเฉิน • ทำความเข้าใจเรื่องการจัดการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข • ทำความเข้าใจว่างานในส่วนใดที่ SRRT ต้องให้ความร่วมมือหรือสนับสนุน หรือวางแผน ทั้งด้าน Mitigation, Preparedness, Response และ Recovery • สร้างภาคีเครือข่ายในการดำเนินงานในทุกระดับทั้งภาครัฐและเอกชน
สวัสดีค่ะ พบกันใหม่คราวหน้า(?)