660 likes | 1.77k Views
ธีระ ลีลานันทกิจ พ.บ. นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านเวชกรรม สาขาจิตเวช) ที่ปรึกษาสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จ เ จ้าพระยา กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข โครงการมหกรรมคุณภาพ : การพัฒนาคุณภาพเชิงวิชาการ ครั้งที่ 9 ณ โรงแรมอมารี ดอนเมือง กรุงเทพมหานคร วันที่ 3 สิงหาคม 2554.
E N D
ธีระ ลีลานันทกิจ พ.บ. นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านเวชกรรม สาขาจิตเวช) ที่ปรึกษาสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข โครงการมหกรรมคุณภาพ : การพัฒนาคุณภาพเชิงวิชาการ ครั้งที่ 9 ณ โรงแรมอมารี ดอนเมือง กรุงเทพมหานคร วันที่ 3 สิงหาคม 2554 Neuroleptic Malignant Syndrome (NMS) [กลุ่มอาการนิวโรเล็พติกที่ร้ายแรง]
- ค้นพบยา chlorpromazine (CPZ) ครั้งแรก 1950 - Syndromemalin des neuroleptiques (อาการที่น่ากลัวซึ่งเกิดจากยารักษาโรคจิต) ไข้สูง การเคลื่อนไหวผิดปกติ ซีด (pallor) - 1968 neuroleptic malignant syndrome (NMS) - กลางปี 1970 : เริ่มตระหนักและสนใจ - 1980 มีรายงาน NMS 60 ราย - รู้ล่าช้า เพราะคิดว่าเป็น tardive dyskinesia (late) แต่ NMS เกิดไว - โอกาสเกิด NMS จากยารักษาโรคจิต พบร้อยละ 0.5 - 1 ถ้าเป็น NMS ตายร้อยละ 30 Neuroleptic Malignant Syndrome (NMS) ประวัติ
การรักษาผู้ป่วยโรคจิตเภท (Schizophrenia) โดยใช้ยารักษาโรคจิต ซึ่งยาขนานนี้มีคุณประโยชน์อย่างมากมาย แต่ยาทุกขนานต่างก็มีฤทธิ์ข้างเคียง (side effect) และ/หรือ ฤทธิ์อันไม่พึงประสงค์ (adverse effect) Neuroleptic drug Antipsychoticdrug ยารักษาโรคจิตอาจมีฤทธิ์ข้างเคียงที่คุกคามต่อชีวิต เช่น เกิดกลุ่มอาการ NMS Neuroleptic Malignant Syndrome (NMS)
ยารักษาโรคจิตที่มีฤทธิ์ด้าน dopamine receptor antagonist (DRA) เช่น chlorpromazine(CPZ) ทำให้เกิดความเคลื่อนไหวผิดปกติ (medication induce movement disorder) ดังนี้ :- 1. โรคพาร์กินสัน (parkinsonism) 2. กลุ่มอาการ neuroleptic malignant syndrome (NMS) กล้ามเนื้อมีสภาพแข็งเกร็ง (muscle rigidity) ไข้สูง (hyperthermia) ฤทธิ์ข้างเคียงของยารักษาโรคจิต
3. หรือความตึงของกล้ามเนื้อผิดปกติอย่างเฉียบพลัน (acute dystonia) หมายถึง กล้ามเนื้อ หดเกร็ง (muscle spasm) 4. อาการนั่งไม่ติดอย่างเฉียบพลัน (acute akathisia) 5. อาการ tardive dyskinesia (choreiform movement) 6. อาการสั่นขณะจะทำการ (postural tremor) 7. Laryngeal pharyngeal dyskinesia การหดเกร็ง ปิดช่องกล่องเสียง (laryngospasm) และถ้าจำเป็น จิตแพทย์ควรเตรียมเครื่องช่วยให้หายใจ ได้สะดวก ฤทธิ์ข้างเคียงของยารักษาโรคจิต (ต่อ 1)
นอกจากทำให้เกิดการเคลื่อนไหวผิดปกติแล้ว นอกจากทำให้เกิดการเคลื่อนไหวผิดปกติแล้ว ยารักษาโรคจิตยังก่อให้เกิดฤทธิ์ข้างเคียงดังต่อไปนี้ได้ เช่น 1. sedation 2. autonomic reaction 3. ความตันเลือดลดลงทันที 4. ดีซ่าน 5. agranulocytosis 6. ผิวหนังคล้ำ 7. endocrine change เช่น น้ำหนักตัวมากขึ้น ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ ผู้ป่วยเพศหญิง/เพศชาย มีน้ำนมไหล สมรรถภาพทางเพศลดลง 8. cardiovascular effect หัวใจเต้นผิดปกติ ฤทธิ์ข้างเคียงของยารักษาโรคจิต (ต่อ 2)
แต่ในที่นี้จะกล่าวเฉพาะฤทธิ์ข้างเคียง ของยารักษาโรคจิตซึ่งคุกคามต่อชีวิตที่เรียกว่า กลุ่มอาการ neuroleptic malignant syndrome (NMS) ฤทธิ์ข้างเคียงของยารักษาโรคจิต (ต่อ 3)
สถิติโรคจิตเภท ของสถานบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา(ผู้ป่วยนอก) พ.ศ. 2544 - 2546
สถิติโรคจิตเภท ของสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา(ผู้ป่วยใน) พ.ศ. 2544 - 2546
เป็นฤทธิ์ข้างเคียงที่ร้ายแรงที่สุด จากการรักษาด้วยยารักษาโรคจิต เป็นฤทธิ์ข้างเคียงทางระบบประสาท ซึ่งเกิดจาก ยารักษาโรคจิตกลุ่มดั้งเดิม เป็นฤทธิ์ข้างเคียงทางประสาทจิตเวชศาสตร์ (neuropsychiatric side effect) เป็นอาการอันไม่พึงประสงค์ (adverse effect) ที่เกิดจากยารักษาโรคจิต เป็นอาการเคลื่อนไหวผิดปกติที่เกิดจากยา โดยเกิดจากยาที่มีฤทธิ์ด้าน dopaminereceptor antagonist เช่น ยา chlorpromazine เป็นโรคแทรกซ้อน ที่เกิดจากยารักษาโรคจิต ที่คุกคามต่อชีวิตทำให้ถึงตาย ได้ จึงจัดอยู่ในหัวข้อหนึ่งของจิตเวชฉุกเฉิน (psychiatric emergency) กลุ่มอาการ neuroleptic malignant syndrome (NMS)
ยารักษาโรคจิต ชนิดฉีดเข้ากล้ามเนื้อ ที่ออกฤทธิ์นาน (depot antipsychotic medication) อาจจะทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตจากกลุ่มอาการ NMS ได้สูงกว่าชนิดรับประทาน กลุ่มอาการ NMS นี้ สามารถเกิดขึ้นได้ ไม่ว่าช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง ที่ให้การรักษาด้วยยารักษาโรคจิต และเป็นอันตรายถึงชีวิตสูงถึงร้อยละ 20 – 30 กลุ่มอาการ neuroleptic malignant syndrome (NMS)
สถิติ NMS ที่พบในสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยาเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2545 – เดือนมกราคม พ.ศ. 2547
สถิติ NMS ที่พบในสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยาเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2545 – เดือนมกราคม พ.ศ. 2547
สถิติ NMS ที่พบในสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยาเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2545 – เดือนมกราคม พ.ศ. 2547
สถิติ NMS ที่พบในสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยาเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2545 – เดือนมกราคม พ.ศ. 2547
สถิติ NMS ที่พบในสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยาเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2545 – เดือนมกราคม พ.ศ. 2547
สถิติ NMS ที่พบในสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยาเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2545 – เดือนมกราคม พ.ศ. 2547
สถิติ NMS ที่พบในสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยาเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2545 – เดือนมกราคม พ.ศ. 2547 = 100% = 100% = 100%
กลุ่มอาการ NMS พบร้อยละ 0.1 - 1 บางรายงานกล่าวว่า ผู้ป่วยที่ได้รับยา dopamine receptor antagonist (DRA) เกิดกลุ่มอาการ NMS ได้ประมาณร้อยละ 0.02 - 2.4 ผู้ป่วยที่ได้รับยารักษาโรคจิตกลุ่มใหม่ Serotonin – dopamine antagonists (SDAs) เช่น ยา clozapine ก็ทำให้เกิด NMS ได้แต่พบน้อยมาก ความชุก (prevalence)
อุบัติการณ์ของกลุ่มอาการ NMS พบไม่บ่อย แต่ถ้าเกิดกลุ่มอาการ NMS ขึ้นแล้ว ผู้ป่วยมีโอกาสเสียชีวิตร้อยละ 10 - 30 บางรายงานกล่าวว่าเป็นอันตรายถึงชีวิต ได้สูงถึงร้อยละ 20 - 30 จึงถือว่า การเกิดกลุ่มอาการ NMS มีความสำคัญ ผู้สูงอายุก็พบว่ากลุ่มอาการ NMS ได้เช่นกัน เคยมีรายงานว่า เด็กวัยรุ่น ที่เกิดอาการ NMS อันตรายถึงตายได้ อุบัติการณ์ (incidence)
องค์ประกอบ ที่ทำให้ผู้ป่วยเสี่ยงต่อการเกิด NMS (risk factors) เพศ : ผู้ชายเกิด NMS บ่อยกว่าผู้หญิง = 2 ต่อ 1 อายุ : อายุต่ำกว่า 40 ปี เกิดกลุ่มอาการ NMS ร้อยละ 80 ผู้ป่วยอายุน้อย เกิดกลุ่มอาการ NMS ได้เช่นเดียวกัน ผู้ป่วยสูงอายุเสี่ยงต่อการเกิด NMS สูงขึ้น ในกรณีที่ เคยมีประวัติบาดเจ็บทางสมองมาก่อน เคยเป็นโรคทางสมองอื่น ๆ และมีอาการอ่อนเพลีย ป่วยโรคหลงลืม (dementia) หรือป่วยเป็นโรค พาร์กินสัน (parkinson’s diseases) แล้วมารักษาโรคด้วยยารักษาโรคจิต ประกอบด้วย
สถานที่ รักษาแบบผู้ป่วยใน ของแผนกนิติจิตเวชอาจเป็นสถานที่ เสี่ยงต่อการเกิดกลุ่มอาการ NMS อาการทางจิตที่แสดงออก : ก่อนที่ผู้ป่วยจะเกิดกลุ่มอาการ NMS ผู้ป่วยจะมีอาการวุ่นวายกว่าธรรมดา ผู้ป่วยจะมีสภาวะกายใจไม่สงบ (agitation) ผู้ป่วยแลดูว่าป่วยมาก ผู้ป่วยกำลังอยู่ในช่วงวิกฤติ (critical time) ผู้ป่วยคนเดิม ที่เคยเกิดกลุ่มอาการ NMS มาก่อนไม่จำเป็นต้องเกิดกลุ่ม อาการ NMS นี้อีก ผู้ป่วยที่วินิจฉัยว่า มีโรคทางอารมณ์ ( affective disorder) ร่วมด้วย องค์ประกอบ ที่ทำให้ผู้ป่วยเสี่ยงต่อการเกิด NMS (risk factors) (ต่อ 1)
ส่วนใหญ่ช่วงระยะเวลาที่เกิด NMS จะเกิดหลังจากเริ่มต้นให้การรักษาด้วยยารักษาโรคจิต ไปแค่ช่วงเวลาสั้น ๆ หรือเกิดขึ้นตอนเปลี่ยนยารักษาโรคจิตขนานหนึ่งไปเป็นอีกขนานหนึ่ง ยาที่ก่อให้เกิดNMS บ่อย คือ ยารักษาโรคจิต ยารักษาโรคจิตชนิด high – potency เกิดกลุ่มอาการ NMS บ่อยที่สุด ยาโรคจิตชนิด low-potency ก็มีเกิดกลุ่ม NMS ได้เช่นเดียวกัน ช่วงการรักษาด้วย ยา dopamine receptor antagonists (DRAS)จะเกิด NMS ได้ทุกเวลา ยา serotonin – dopa mine antagonists (SDAS) ทำให้เกิด NMS น้อยเช่น ยา clozapine องค์ประกอบ ที่ทำให้ผู้ป่วยเสี่ยงต่อการเกิด NMS (risk factors) (ต่อ 2)
ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาโรคจิตในขนาดสูง และเพิ่มขนาดยาเร็ว ผู้ป่วยที่ได้รับยารักษาโรคจิตโดยวิธีการฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อ ผู้ป่วยที่ได้รับยา antiparkinsonian agent แล้วหยุดยาดังกล่าว ผู้ป่วยที่เคยมีประวัติสมองเสื่อม ผู้ป่วยที่ได้รับยา clozapine ร่วมกับยา lithium เกิด NMS ได้ ดังนั้น ควรหลีกเลี่ยงการให้ยาสองขนานนี้ร่วมกัน แต่ถ้าจำเป็นต้องรักษา ต้องติดตามดูอย่างใกล้ชิดว่าเกิดโรคแทรกซ้อน NMSขึ้นหรือไม่ สำหรับบุคคลที่เคยมีประวัติ ว่าเคยเกิดกลุ่มอาการ NMS มาก่อน ก็ไม่ควรให้ยา clozapine ร่วมกับยา lithium ผู้ป่วยที่ได้รับยา risperidone ก็เกิดอาการ NMS ได้ องค์ประกอบ ที่ทำให้ผู้ป่วยเสี่ยงต่อการเกิด NMS (risk factors) (ต่อ 3)
การเกิด NMS หลังจากรับผู้ป่วยไว้รักษาในสถาบันฯย้อนหลัง 5 ปี (มกราคม 2545 - ธันวาคม 2549)
ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิด NMS ศึกษาย้อนหลัง 5 ปี (มกราคม 2545 – ธันวาคม 2549) ณ สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา
มีไข้ (fever) แต่ผู้ป่วยวัยรุ่นอาจไม่มีไข้ กล้ามเนื้อแข็งเกร็ง ( muscle rigidity) กล้ามเนื้อหดเกร็งผิดปกติ หรือ การตึงตัวของกล้ามเนื้อผิดปกติด้วย (dystonia) มีภาวะเสียความเคลื่อนไหว (akinesia) มีการไม่ยอมพูด หรือมีการพูดไม่ได้ (mutism) มีการแกว่งไปมา ระหว่างอาการหมดแรงกับสภาวะกายใจไม่สงบ (oscillation between obtundention and agitation) อาการและอาการแสดงของ NMSประกอบด้วย
อาการและอาการแสดงของ NMS (ต่อ) มีเหงื่อไหลออกมาก (diaphoresis) มีอาการกลืนไม่ลง หรือกลืนลำบาก (dysphasia) มีอาการสั่น (tremor) มีความดันเลือด ไม่คงที่เปลี่ยนแปลงง่าย (labile blood pressure ) มีการกลั้นอุจจาระไม่อยู่ (incontinence) มีระดับ creatine phosphokinase (CPK)ในเลือดสูงขึ้น ( ปกติ CPK ในเพศชาย = 60 - 280 IU/L เพศหญิง = 40 - 190 IU/L ) มีจำนวนเม็ดเลือดขาวในเลือดเพิ่มมากขึ้น (leukocytosis) มีระดับโกลบินของกล้ามเนื้อในปัสสาวะ (myoglobinuria) สูงขึ้น
อาการในกลุ่ม NMS ที่พบบ่อย ๆ ได้แก่ มีอาการกล้ามเนื้อแข็งเกร็ง มีอาการเพ้อ (delirium) มีเหงื่อไหลออกมามาก (diaphoresis) พบว่าร้อยละ 60 มีอาการ extrapyramidal symptoms มีการควบคุมระบบประสาทอัตโนมัติเสีย (autonomic deregulation) มีจำนวน CPK สูงขึ้น (elevated CPK) ในเลือด มีจำนวนเม็ดเลือดขาวในเลือดเพิ่มมากขึ้น (leukocytosis) มีเนื้อกล้ามเนื้อลายเสื่อมโทรม (rhabdomyolysis)
NMS ที่แสดงอาการแบบฉุกเฉิน (emergency manifestation) มีกล้ามเนื้อแข็งเกร็ง (muscle rigidity) มีไข้สูง (hyperthermia) มีอาการและอาการแสดงทางระบบประสาท (neurological signs) มีอาการเคลื่อนไหวน้อย จนเกิดอาการเงียบงัน (catatonic stupor) มีอาการพาร์กินสัน มีระบบประสาทอัตโนมัติ ทำงานไม่คงที่ (autonomic instability)
พยาธิสรีวิทยา (pathophysiology) ของ NMS ปัจจุบันยังไม่ทราบ แต่คิดว่า เกิดจาก 1. ยารักษาโรคจิต โดยยาไปปิดกั้นหน่วยรับความรู้สึก โดปามิน (dopamine receptor) ในสมองส่วนกลาง (บริเวณ basal ganglia และ hypothalamus) ทำให้จำนวน โดปามินในสมองลดลงอย่างมาก และกดประสาทส่วนปลายที่บริเวณ post-ganglionic sympathetic neurons และกล้ามเนื้อเรียบ (smooth muscle)
พยาธิสรีวิทยาของ NMS (ต่อ) แต่คิดว่า เกิดจาก (ต่อ) 2. โดปามินและหรือเกิดจากเซโรโทนินเสียสมดุล 3. หรือโดปามินและหรือ adrenergic tone เสียสมดุล 4. หรือเกิดจาก non-dopamine monoamine ด้วย เพราะยา selective serotonin reuptake inhibitors [SSRIs] ก็ทำให้เกิด NMS ได้ 5. หรือธาตุเหล็กในซีรัมต่ำ 6. หรือเกี่ยวพันกับ - norepinephrine (NE) - -Aminobutyric acid (GABA) - เซโรโทนิน (5HT) และ opioid neurotransmitter
เกี่ยวข้องกับสมองในส่วน hypothalamus ผลิตความร้อน ทำให้อุณหภูมิในร่างกายสูง ( heat production) การกระจายความร้อนเสีย ทำให้ร่างกายเย็นได้น้อยลง ( heat dissipation ) เงื่อนไขและกลไก การเกิดกลุ่มอาการ NMS
การดำเนินการทางคลินิค และการพยากรณ์โรค (clinical course and prognosis) กลุ่มอาการ NMS จัดอยู่ในจิตเวชฉุกเฉิน ในอายุรกรรมจิตเวชฉุกเฉิน (emergency psychiatric medicine) เพราะกลุ่มอาการ NMS เกิดขึ้นได้อย่างเฉียบพลัน (rapid onset) และกลุ่มอาการ NMS อาจเกิดขึ้นช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง ที่ให้การรักษาด้วย ยาจิตเวช แม้กระทั่ง ผู้ป่วยที่เคยเกิดกลุ่มอาการ NMS มาแล้ว และรักษาหายแล้ว ก็ยังเกิด NMS ซ้ำครั้งใหม่ได้ หรือ ผู้ป่วยได้รับการรักษาโรคจิตแล้วต่อมาหยุดรักษาด้วยยารักษาโรคจิต ก็เกิด NMS ได้เช่นกัน
การดำเนินการทางคลินิค และการพยากรณ์โรค (clinical course and prognosis) (ต่อ) ช่วงระยะเริ่มต้นของการเกิด MNS ที่เกิดจากยารักษาโรคจิต มักจะวินิจฉัยโรคผิดพลาด โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคจิต ที่ได้รับการรักษาด้วยยารักษาโรคจิตแล้ว ผู้ป่วยเกิดอาการแยกตัว (withdrawal) หรือ ผู้ป่วยเกิดภาวะกายใจไม่สงบ (agitation) ซึ่งอาจทำให้เข้าใจผิดว่า ผู้ป่วยเกิดอาการทางจิตกำเริบ (exacerbation of the psychosis) แต่ที่แท้จริงผู้ป่วยกำลังเกิดโรคแทรกซ้อนช่วงระยะเริ่มต้นของกลุ่มอาการ NMS
การดำเนินการทางคลินิค และการพยากรณ์โรค (clinical course and prognosis) (ต่อ) กลุ่มอาการ NMS มักจะค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงในเวลา 24 - 72 ชั่วโมง ถ้าไม่ได้รับการรักษา - จะเป็นอยู่นาน 10 - 14 วัน - เป็นอันตรายถึงชีวิต ร้อยละ 10 - 30 หลังจากเป็น NMS แล้ว สามารถคงอยู่นาน 2 สัปดาห์ หรือนานกว่านี้
- หัวใจหยุดเต้นกะทันหัน - ภาวะสิ่งหลุดอุดหลอดเลือดในปอด - การจับลิ่มเลือดแพร่กระจายในหลอดเลือด - ไตวาย - ปอดบวม ถ้าผู้ป่วยมีอาการกล้ามเนื้อเกร็ง และมีสภาพจิตเปลี่ยนแปลง จะมีโอกาสตายสูง ผู้ป่วย NMS มักตายจาก
ผู้ป่วยที่เกิด NMSแล้วมีโอกาสเกิด NMS ซ้ำได้ หรือไม่ มีโอกาสเกิด NMS ซ้ำใหม่ได้ร้อยละ 30 ผู้ป่วยที่เกิด NMSแล้วมีโอกาสเกิด NMS ซ้ำทุกราย หรือไม่ ไม่จำเป็นต้องเกิด NMS ซ้ำครั้งใหม่
กรณีผู้ป่วยเกิด NMS แล้ว แพทย์มีวิธีรักษาโรคจิตที่เกิดขึ้นครั้งใหม่อย่างไร เพื่อจะได้ป้องกันไม่ให้เกิด NMS ครั้งใหม่ เมื่อเกิด NMS ให้หยุดยารักษาโรคจิต 2 สัปดาห์ แล้วเปลี่ยนไปใช้ - ยารักษาโรคจิตชนิด low – potency - หรือ ให้ยารักษาโรคจิตชนิด serotonin- dopamine antagonists (SDAS) ทั้งยา clozapine และยา risperidone เกี่ยวพันกับการทำให้เกิดกลุ่มอาการ NMS แต่ยา clozapine ทำให้เกิดกลุ่มอาการ NMS น้อยมาก หรือให้ยากลุ่ม benzodiazepine แทน เช่น ยา diazepam หรืออาจให้การรักษาด้วยไฟฟ้า{Electroconvulsive therapy (ECT)}
วิธีลดโอกาส ที่ผู้ป่วยจะเกิด NMS ควรใช้ยารักษาโรคจิต ในขนาดต่ำที่สุดซึ่งมีประสิทธิภาพในการรักษาโรค ใช้ยารักษาโรคจิต ชนิดที่มีฤทธิ์ anticholinergic
วิธีบริหารจัดการการรักษา (management) สำหรับ NMS เมื่อสงสัยว่าผู้ป่วยเกิดNMS ต้องดำเนินการดังนี้ ตรวจร่ายกายผู้ป่วย อย่างละเอียด (organic workup) ตรวจหาการติดเชื้อ (septic workup) แยกโรคทางอายุกรรมอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดอาการเหมือน NMS นี้ ถ้าตรวจแล้วไม่พบสาเหตุอื่น ให้ดำเนินการดังนี้ ให้หยุดการรักษาด้วยยารักษาโรคจิตทันที ถ้าขณะนั้นผู้ป่วยกำลังได้ยา lithium รักษา ก็ให้หยุดยา lithium ด้วย ให้รักษาแบบประคับประคอง อย่างเต็มที่
มาตรการการบำบัดแบบประคับประคองอย่างเข้มข้นและเต็มที่มาตรการการบำบัดแบบประคับประคองอย่างเข้มข้นและเต็มที่ การบำบัดรักษา NMS ประกอบด้วย 1. ให้รับไว้รักษาแบบผู้ป่วยใน หากเป็นผู้ป่วยนอก 2. ให้หยุดใช้ยาที่สงสัย (suspected drug) ว่าเป็นสาเหตุ ที่ทำให้เกิด NMS ในทันที 3. ให้หยุดใช้ยารักษาโรคจิต ที่กำลังใช้อยู่ในทันที 4. ให้ล้างท้อง ในกรณีที่ผู้ป่วยรับประทานยาเกินขนาด และอยู่ในช่องเวลา 8 ชั่วโมง หลังจากรับประทานยาเกินขนาด 5. ให้การรักษาแบบประคับประคอง 6. ให้น้ำเข้าร่างกายผู้ป่วยอย่างเพียงพอ
7. ให้การเช็ดตัว หรือให้ยาลดไข้ เพื่อให้อุณหภูมิให้ร่างกายผู้ป่วยลดลง 8. ให้ยาหรือให้อาหารตามสายยางตามความเหมาะสม 9. ให้การรักษาด้วยยา แบบประคับประคอง 9.1 ใช้ยา bromocriptine 9.2 ใช้ยา amantadin 9.3 ใช้ยา dantrolene 9.4 ใช้ยา caridopa-levadopa (Sinemet) 9.5 ใช้ยา lisuride 10. ให้การรักษาโดยใช้ไฟฟ้ารักษา {Electroconvulsive therapy (ECT)} ในผู้ป่วยที่จำเป็น มาตรการการบำบัดแบบประคับประคองอย่างเข้มข้นและเต็มที่ (ต่อ)
การรักษา NMS ขั้นตอนแรก (first step) 1. ให้หยุดใช้ยารักษาจิตใจ ที่เป็นยาdopamine receptor antagonist ทันที 2. ให้การรักษาตามอาการในเรื่องไข้สูง เช่น การเช็ดตัวผู้ป่วยด้วยผ้าชุบน้ำ 3. ให้ยาประคับประคอง เพื่อให้อุณหภูมิของร่างกายผู้ป่วยลดลง 4. ให้ตรวจตราสิ่งต่อไปนี้ 4.1 สัญญาณชีพ 4.2 electrolytes 4.3 ความสมดุลของน้ำ ภายในร่างกายของผู้ป่วย (fluid balance) 4.4 ปริมาณปัสสาวะ ที่ผู้ป่วยขับถ่ายออกมา (renal output)
การรักษา NMS (ต่อ 1) กรณีเมื่อเกิดกลุ่มอาการ NMS แล้ว ผู้ป่วยเกิดมีอาการทางจิตร่วมด้วยอีก ก็ควรจะหยุดให้การรักษาด้วยยารักษาโรคจิต ผ่านไปสองสัปดาห์ก่อน ถึงจะให้การรักษาด้วยยารักษาโรคจิตครั้งใหม่ต่อไป
สำหรับการเลือกให้ยารักษาโรคจิตครั้งใหม่ เลือกใช้ยารักษาโรคจิตชนิด low – potency ในกลุ่มที่ต่างไปจากเดิม และให้ยาขนาดต่ำที่เพียงพอต่อการมีประสิทธิภาพในการรักษาโรคจิต และให้ตรวจติดตาม ควบคุมด้านต่าง ๆ ต่อไปนี้ 1. สัญญาณชีพ 2. ตรวจสภาพจิต 3. ฤทธิ์ข้างเคียง ด้าน extrapyramidal symptoms 4. ขั้นตอนต่อไป คือ การรักษาแบบประคับประคอง การรักษา NMS (ต่อ 2)
การวิจัย (NMS) การวิจัยNeuroleptic Malignant Syndrome ( NMS ) ข้อบ่งชี้ได้จากคู่มือ สถิติ และการวินิจฉัยโรคทางจิตเวช โดย สมาคมจิตแพทย์อเมริกัน ฉบับพิมพ์ ครั้งที่ 4 text rev. (DSM – IV - TR) มีดังนี้