130 likes | 298 Views
E-Seminar. การจัดการความรู้. องค์ประกอบพื้นฐานของการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ( PMQA). โครงการสัมมนาวิชาการแบบออนไลน์. การจัดการความรู้ : องค์ประกอบพื้นฐานของการพัฒนาคุณภาพ การบริหารจัดการภาครัฐ ( PMQA) ตอนที่ 1 PMQA : เครื่องมือทางการบริหารจัดการภาครัฐสมัยใหม่ โดย
E N D
E-Seminar การจัดการความรู้ องค์ประกอบพื้นฐานของการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA) โครงการสัมมนาวิชาการแบบออนไลน์ การจัดการความรู้ : องค์ประกอบพื้นฐานของการพัฒนาคุณภาพ การบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA) ตอนที่ 1 PMQA :เครื่องมือทางการบริหารจัดการภาครัฐสมัยใหม่ โดย นายณัฏฐ์ พิศประเทือง หลักสูตร M.S.ITM Online หลักสูตร M.S.ITM Online หลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ
E-Seminar การจัดการความรู้ องค์ประกอบพื้นฐานของการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA) PMQA: เครื่องมือทางการบริหารจัดการภาครัฐสมัยใหม่ • ความเป็นมาของ PMQA • เหตุผลและความจำเป็นของการดำเนินงาน PMQA • แนวคิดและความเป็นมาของเกณฑ์ PMQA • ความเชื่อมโยงของการพัฒนาระบบราชการกับเกณฑ์คุณภาพบริหารจัด • การภาครัฐ • ประโยชน์ต่อส่วนราชการ • กรอบการประเมินปี • แนวทางการดำเนินงาน ภาพรวมของการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐสมัยใหม่ หลักสูตร M.S.ITM Online หลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ
E-Seminar การจัดการความรู้ องค์ประกอบพื้นฐานของการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA) • ความเป็นมาของ PMQA ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย (พ.ศ. 2546 – 2550) กำหนดให้มีการปรับเปลี่ยนกระบวนการและวิธีการทำงานเพื่อยกระดับขีดความสามารถและมาตรฐานการทำงานของหน่วยงานราชการ ให้อยู่ในระดับสูงเทียบเท่ามาตรฐานสากล โดยยึดหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีสำนักงาน ก.พ.ร. จึงได้ดำเนินการโครงการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐโดยได้จัดทำเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐขึ้น เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ส่วนราชการต่างๆ นำไปใช้ในการยกระดับและพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดให้เป็นหน่วยงานที่มีผลการปฏิบัติงานสูง และมีมาตรฐานการทำงานเทียบเคียงมาตรฐานสากล รางวัลคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (Public Sector Management Quality Award: PMQA) เป็นรางวัลสูงสุดที่มอบให้แก่หน่วยงานภาครัฐ ที่มีการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการได้ทัดเทียมมาตรฐานสากล หลักสูตร M.S.ITM Online หลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ
E-Seminar การจัดการความรู้ องค์ประกอบพื้นฐานของการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA) • เหตุผลความจำเป็นของการดำเนินงาน PMQA สำนักงาน ก.พ.ร. ต้องการให้หน่วยงานภาครัฐมีการยกระดับคุณภาพมาตรฐานการทํางานไปสู่องค์กรที่มีขีดสมรรถนะสูง (High Performance Organization :HPO) โดยที่องค์กรสมรรถนะสูง คือ องค์กรที่เก่ง มีแผนรองรับกับสภาวะต่างๆ อย่างชัดเจน มีการวิเคราะห์สถานการณ์ที่สามารถกระทบต่อการทำงานจากรอบด้านทุกมุมมองจึงได้ดำเนินการโครงการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐโดยได้จัดทำเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐขึ้น PMQA (Public Sector Management Quality Award) เป็นรางวัลสูงสุดที่มอบให้แก่หน่วยงานภาครัฐ ที่มีการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการได้ทัดเทียมมาตรฐานสากล หลักสูตร M.S.ITM Online หลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ
E-Seminar การจัดการความรู้ องค์ประกอบพื้นฐานของการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA) • แนวคิดและความเป็นมาของเกณฑ์ PMQA ในปัจจุบัน ทั้งผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ต่างก็มีความคาดหวังต่อองค์กรสูงขึ้น ในขณะที่ทรัพยากรต่างๆมีแนวโน้มที่จะน้อยลง องค์กรจึงจำเป็นต้องหาวิธีขับเคลื่อนให้เร็วขึ้น ถ้ามีการปรับระบบการจัดการให้คล่องตัวขึ้นทำให้องค์กรสามารถบริหารงานภายในได้คล่องตัวขึ้น ซึ่งจะทำให้องค์กรสามารถบรรลุเป้าหมายและเกิดผลสัมฤทธิ์ของงานได้อย่างมีประสิทธิภาพคนในองค์กรต้องเรียนรู้ร่วมกัน มีความเข้าใจร่วมกัน ซึ่งเครื่องมือที่สามารถช่วยได้คือ การพัฒนาคุณภาพ โดยมององค์รวมของการบริหารองค์กร เพื่อสร้างสินค้าและบริการที่มีคุณค่าที่เหมาะสมกับผู้ให้บริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยนำหลักคิดด้านการจัดการคุณภาพทั่วทั้งองค์กร (TQM: Total Quality Management) มาปรับใช้ ต่อมามีการนำมาปรับให้สอดคล้องกับระบบราชการโดยปรับเกณฑ์ดังกล่าวให้สอดคล้องกับระบบราชการไทยเป็น PMQA (Public Management Quality Award) เพื่อพัฒนาระบบราชการไทย หลักสูตร M.S.ITM Online หลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ
E-Seminar การจัดการความรู้ องค์ประกอบพื้นฐานของการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA) • ความเชื่อมโยงของการพัฒนาระบบราชการกับเกณฑ์คุณภาพ การพัฒนาระบบราชการกับเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐทั้ง 7 หมวด เกี่ยวข้องกับเครื่องมือการบริหารจัดการภาครัฐและผลการดำเนินการตามตัวชี้วัดอื่น ๆ ที่ผ่านมา ดังนี้ หมวด ๑ การนำองค์กร หมวด ๒ การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ หมวด ๓ การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หมวด ๔ การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ หมวด ๕ การมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล หมวด ๖ การจัดการกระบวนการ หมวด ๗ ผลลัพธ์การดำเนินการ หลักสูตร M.S.ITM Online หลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ
E-Seminar การจัดการความรู้ องค์ประกอบพื้นฐานของการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA) • ความเชื่อมโยงของการพัฒนาระบบราชการกับเกณฑ์คุณภาพ หลักสูตร M.S.ITM Online หลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ
E-Seminar การจัดการความรู้ องค์ประกอบพื้นฐานของการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA) • ประโยชน์ต่อส่วนราชการ ส่วนราชการที่นำเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ซึ่งเป็นกรอบการประเมินระดับมาตรฐาน สากลไปเปรียบเทียบกับระบบการบริหารจัดการของส่วนราชการ จะได้รับประโยชน์ในทุกขั้นตอนเพื่อยกระดับการบริหารจัดการของส่วนราชการ เพื่อให้สามารถส่งมอบคุณค่าที่ดีขึ้น ทั้งผลผลิตและบริการ ให้แก่ผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้เสีย ซึ่งนับเป็นการตอบสนองต่อเป้าหมายของพระราชกฤษฏีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 ด้วย ส่วนราชการที่มีการบริการที่เป็นเลิศจะมีภาพลักษณ์ที่ดี ได้รับความนิยมชมชอบจากผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้เสีย หลักสูตร M.S.ITM Online หลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ
E-Seminar การจัดการความรู้ องค์ประกอบพื้นฐานของการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA) • กรอบการประเมินปี 2552 เพื่อแสดงให้เห็นถึงการบริหารจัดการที่ดีต้องมีความสอดคล้องและบูรณาการกันอย่างเป็นระบบเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ประกอบด้วย 7 หมวด ซึ่งสามารถอธิบายได้เป็น 2 ส่วน ได้แก่ 1 ส่วนที่เป็นกระบวนการ(หมวด1-6) 2 ส่วนที่เป็นผลลัพธ์ (หมวด 7 ) โดยใช้ประเมินประสิทธิผลของส่วนราชการใน 4 มิติ คือ มิติด้านประสิทธิผล มิติด้านคุณภาพการให้บริการ มิติด้านประสิทธิภาพของการปฏิบัติราชการ มิติด้านการพัฒนาองค์กร หลักสูตร M.S.ITM Online หลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ
E-Seminar การจัดการความรู้ องค์ประกอบพื้นฐานของการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA) • กรอบการประเมินปี (ต่อ) เกณฑ์ทั้ง 7 หมวดสามารถอธิบายได้เป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่เป็นกระบวนการ และส่วนที่เป็นผลลัพธ์ ส่วนที่เป็นกระบวนการ (หมวด 1-6) เป็นเกณฑ์เพื่อใช้ประเมินประสิทธิภาพของ ส่วนราชการ สามารถจัดได้ เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มการนำองค์กร ประกอบด้วย หมวด 1 การนำองค์กร หมวด 2 การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ หมวด 3 การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หลักสูตร M.S.ITM Online หลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ
E-Seminar การจัดการความรู้ องค์ประกอบพื้นฐานของการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA) • กรอบการประเมินปี (ต่อ) 2) กลุ่มพื้นฐานของระบบ ประกอบด้วย หมวด 4 การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ 3) กลุ่มปฏิบัติการ ประกอบด้วย หมวด 5 การมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล หมวด 6 การจัดการกระบวนการ หลักสูตร M.S.ITM Online หลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ
E-Seminar การจัดการความรู้ องค์ประกอบพื้นฐานของการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA) • กรอบการประเมินปี (ต่อ) • ส่วนที่เป็นผลลัพธ์ (หมวด 7) เป็นเกณฑ์เพื่อใช้ประเมินประสิทธิผลของส่วนราชการ • ใน 4 มิติ ที่มีความสอดคล้องตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ ได้แก่ • มิติด้านประสิทธิผล • มิติด้านคุณภาพการให้บริการ • มิติด้านประสิทธิภาพของการปฏิบัติราชการ • มิติด้านการพัฒนาองค์กร หลักสูตร M.S.ITM Online หลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ
E-Seminar การจัดการความรู้ องค์ประกอบพื้นฐานของการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA) • แนวทางดำเนินการ ขั้นตอนการดำเนินการตามตัวชี้วัด ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน คือ 1. การวิเคราะห์และจัดทำแผนพัฒนาองค์การ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 2. การจัดทำตัวชี้วัดความสำเร็จของกระบวนการและผลลัพธ์ของแผนพัฒนาองค์การ 3. ดำเนินการปรับปรุงองค์กรตามแผนพัฒนาองค์การของปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 4. การประเมินองค์กรด้วยตนเองประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ตามเกณฑ์คุณภาพการ บริหารจัดการภาครัฐ ในระดับพื้นฐาน เพื่อการจัดทำแผนพัฒนาองค์การประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2553 5. การรายงานผลการดำเนินการตามตัวชี้วัด 6. การตรวจประเมินจากผู้ตรวจประเมินภายนอก หลักสูตร M.S.ITM Online หลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ