660 likes | 801 Views
เศรษฐกิจไทย หลังสงครามโลก ค.ศ. 1950 - 1995 (พ.ศ. 2493 - 2538). เอกสารอ้างอิง James Ingram: Economic Change in Thailand during1850- 1970 , Chs . 11, 12 Chris Dixon: The Thai Economy: Uneven Development and Internationalisation , Chs . 3, 4. เอกสารอ้างอิง
E N D
เศรษฐกิจไทย หลังสงครามโลก ค.ศ. 1950 - 1995(พ.ศ. 2493 - 2538)
เอกสารอ้างอิง • James Ingram: Economic Change in Thailand during1850- 1970, Chs. 11, 12 • Chris Dixon: The Thai Economy: Uneven Development and Internationalisation, Chs. 3, 4
เอกสารอ้างอิง • Peter Warr (ed.) (2005), Thailand Beyond the CrisisCh.1 • อัมมาร สยามวาลา (2541), “เศรษฐกิจไทย: 50 ปีของการขยายตัว”, ความรู้นั้นสำคัญยิ่งใหญ่ • นิรมล สุธรรมกิจ (2551), สังคมกับเศรษฐกิจ กรณีศึกษาประเทศไทย (2500 – 2545) บทที่ 5
ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 (1939 – 1945) และก่อนวิกฤตการณ์เศรษฐกิจปี 1997 สามารถแบ่งได้เป็น 4 ยุค ตามการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญทางเศรษฐกิจ
ยุคที่ 1 : ฟื้นตัวหลังสงคราม (ค.ศ. 1946 – 1957 พ.ศ. 2489 - 2500) ยุคที่ 2: เริ่มความราบรื่น (ค.ศ. 1958 -1972 พ.ศ. 2501 - 2515) ยุคที่ 3 : ฝ่าคลื่นลมมรสุม (ค.ศ. 1973 -1985 พ.ศ. 2516 - 2528) ยุคที่ 4 : กระชุ่มกระชวย (ค.ศ. 1986 -1995 พ.ศ. 2529 - 2538)
ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยปัจจัยที่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย • ทรัพยากรธรรมชาติ • ทรัพยากรมนุษย์ • เทคโนโลยี • เศรษฐกิจโลก • นโยบายเศรษฐกิจ • สถานการณ์การเมือง
นายกรัฐมนตรีของไทยในช่วงเวลานี้นายกรัฐมนตรีของไทยในช่วงเวลานี้ • 2481 – 2487 : จอมพล ป. พิบูลสงคราม (สงครามโลกครั้งที่ 2 : 2482 – 2488) • 2487 – 2490 : พันตรีควง อภัยวงศ์, นายทวี บุณยเกตุ, ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช, ศ. ดร. ปรีดี พนมยงค์, พลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ (เริ่มมีรัฐประหาร)
นายกรัฐมนตรีของไทยในช่วงเวลานี้นายกรัฐมนตรีของไทยในช่วงเวลานี้ • 2490 – 2494 : พันตรี ควง อภัยวงศ์ • 2494 – 2500 : จอมพล ป. พิบูลสงคราม (มาจากการรัฐประหาร) • 2500 – 2501 : นายพจน์ สารสิน, จอมพลถนอม กิตติขจร • 2502 – 2506 : จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ (มาจากการรัฐประหาร)
นายกรัฐมนตรีของไทยในช่วงเวลานี้นายกรัฐมนตรีของไทยในช่วงเวลานี้ • 2506 – 2516 : จอมพลถนอม กิตติขจร • 2516 – 2520 : ศ. สัญญา ธรรมศักดิ์, ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช, ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช, นายธานินทร์ กรัยวิเชียร • 2520 – 2523: พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ (มาจากการรัฐประหาร)
นายกรัฐมนตรีของไทยในช่วงเวลานี้นายกรัฐมนตรีของไทยในช่วงเวลานี้ • 2532 – 2531: พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ • 2531 – 2534 : พลเอก ชาติชาย ชุณหวัณ • 2534 – 2535 : นายอานันท์ ปัณยารชุน (มาจากการรัฐประหาร)
นายกรัฐมนตรีของไทยในช่วงเวลานี้นายกรัฐมนตรีของไทยในช่วงเวลานี้ • 2535 – 2538 : นายชวน หลีกภัย • 2538 – 2539 : นายบรรหาร ศิลปอาชา • 2539 – 2540 : พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ • 2540 – 2544 : นายชวน หลีกภัย
ยุคที่ 1 + 2:ฟื้นตัวหลังสงคราม เริ่มความราบรื่น (1946-1972) • ผลกระทบจาก WW2 : • สินค้าขาดแคลน • อัตราเงินเฟ้อสูงมาก • แทบไม่เหลือทุนสำรองระหว่างประเทศ
ฟื้นตัวหลังสงคราม เริ่มความราบรื่น (1946-1972) ผลกระทบจาก WW2 : แพ้สงคราม ต้องชดใช้สัมพันธมิตรด้วยข้าว 2 ล้านตัน เก็บภาษีจากข้าวโดยใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนหลายอัตรา และต่อมาใช้เก็บ “พรีเมี่ยมข้าว” 13
ฟื้นตัวหลังสงคราม เริ่มความราบรื่น (1946-1972) ฟื้นตัวได้เร็วเพราะการส่งออก โดยข้าวและยางเป็นที่ต้องการมากในโลก เนื่องจากเกิดสงครามเกาหลีในต้นทศวรรษ 1950’s 14
ฟื้นตัวหลังสงคราม เริ่มความราบรื่น (1946-1972) • ลักษณะการฟื้นตัว การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจสูงถึงปีละ 6.6% ในช่วง 1951-1969 (เริ่มมีสถิติบัญชีรายได้ประชาชาติ) อัตราเงินเฟ้อต่ำ ~ 2% ต่อปี
ฟื้นตัวหลังสงคราม เริ่มความราบรื่น (1946-1972) • ประชากร : • 20 ล้านคนในปี 1951 • 35 ล้านคนในปี 1969 • ขยายตัวปีละ 3.1% (ค่อนข้างสูง : baby boom) • รายได้ต่อหัวเพิ่มปีละ 3%
ฟื้นตัวหลังสงคราม เริ่มความราบรื่น (1946-1972) • การส่งออกหลากหลายชนิดมากขึ้น พืชใหม่ เช่น ข้าวโพด มันสำปะหลัง • การนำเข้าสินค้าอุตสาหกรรม (โดยเฉพาะสินค้าทุน) เพิ่มอย่างเร็ว • ขาดดุลการค้าและบัญชีเดินสะพัดต่อเนื่องตั้งแต่ปลายทศวรรษ 1950’s
ฟื้นตัวหลังสงคราม เริ่มความราบรื่น (1946-1972) • ตั้งแต่ปี 1963การลงทุนในประเทศมีมูลค่ามากกว่าการส่งออก • ไม่จริงอีกต่อไป ว่าการลดส่งออกทำให้การนำเข้าลดลง บัญชีชำระเงินมีปัญหามากขึ้น เมื่อส่งออกลด • การลงทุนในประเทศทำให้การนำเข้าเพิ่มขึ้นและการค้าขาดดุล
ฟื้นตัวหลังสงคราม เริ่มความราบรื่น (1946-1972) • โครงสร้างเศรษฐกิจเปลี่ยนมาก: • สัดส่วนเกษตรใน GDP ลดลงต่อเนื่อง สัดส่วนอุตสาหกรรมเพิ่มอย่างเร็ว 19511968 เกษตร 50% 32% อุตสาหกรรม 18% 31% บริการ 32% 37%
ฟื้นตัวหลังสงคราม เริ่มความราบรื่น (1946-1972) • เกษตรก็ยังสำคัญในด้านแรงงาน (80% ของกำลังแรงงาน) และการส่งออก • ปลูกพืชใหม่มากขึ้น: ข้าวโพด มันสำปะหลัง ข้าวฟ่าง ถั่วเหลือง จากเดิม: ข้าว ยาง อ้อย และฝ้าย
ฟื้นตัวหลังสงคราม เริ่มความราบรื่น (1946-1972) • ข้าว: ผลผลิตต่อไร่ลดลงตลอดเป็นเวลาหลายปี เพราะการขยายพื้นที่นอกเขตชลประทาน แต่ผลผลิตต่อไร่กลับสูงขึ้นในทศวรรษ 1960’s เพราะการขยายเขตชลประทาน การปรับปรุงพันธุ์พืช และการใช้เครื่องจักร (ควายเหล็ก)
ฟื้นตัวหลังสงคราม เริ่มความราบรื่น (1946-1972) • ประเด็นถกเถียงเกี่ยวกับนโยบายเก็บภาษีส่งออกข้าว (พรีเมี่ยมข้าว Rice Premium) ระหว่างปี 1955 และกลางทศวรรษ 1980’s ....... ยกเลิกไปในที่สุด
ฟื้นตัวหลังสงคราม เริ่มความราบรื่น (1946-1972) • ข้อดีของพรีเมี่ยมข้าว: • รายได้เข้ารัฐ • ช่วยให้เงินเฟ้อต่ำ • ส่งเสริมให้เกษตรกรหันไปปลูกพืชอื่นนอกจากข้าว • เพิ่มราคาส่งออกข้าว (อำนาจในตลาดโลก) • ลดกำไรส่วนเกินของพ่อค้าคนกลาง
ฟื้นตัวหลังสงคราม เริ่มความราบรื่น (1946-1972) • ข้อเสียของพรีเมี่ยมข้าว: • กดราคาและรายได้ของชาวนา • ลดแรงจูงใจในการปรับปรุงผลผลิต • ทำให้ราคาข้าวในประเทศผันผวน
ฟื้นตัวหลังสงคราม เริ่มความราบรื่น (1946-1972) • พืชเศรษฐกิจอื่นๆ: • ขยายพื้นที่เกษตรได้เพราะถนนใหม่เชื่อมชนบท • ผลิตแยกตามภาค : ปอกระเจาในอีสาน ข้าวโพดในภาคกลาง ยางในภาคใต้ • เกษตรกรรายย่อยตอบสนองเร็วต่อราคา
ฟื้นตัวหลังสงคราม เริ่มความราบรื่น (1946-1972) • พืชเศรษฐกิจอื่นๆ: • ผลิตเพื่อส่งออกส่วนใหญ่ (ราคายางสูงขึ้นช่วงสงครามเกาหลีในทศวรรษ 1950’s) • ช่วยเพิ่มที่มาของเงินตราต่างประเทศ • พืชใหม่ + ยังปลูกข้าวอยู่ เพราะเหตุผลทางวัฒนธรรมและลดความเสี่ยง
ฟื้นตัวหลังสงคราม เริ่มความราบรื่น (1946-1972) • ในช่วงต้น 1950’s รัฐบาลเพิ่มบทบาทลงทุนในรัฐวิสาหกิจ (สิ่งทอ กระดาษ แก้ว น้ำตาล ........) • แรงจูงใจ/วัตถุประสงค์ 3 ประการ: • จำกัดอิทธิพลของคนจีน • รัฐบาลจำเป็นต้องริเริ่มเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรม • ประโยชน์ส่วนตัวของคนในรัฐบาล
ฟื้นตัวหลังสงคราม เริ่มความราบรื่น (1946-1972) • ในช่วงต้น 1950’s รัฐบาล จอมพล ป. พิบูลสงครามเพิ่มบทบาทลงทุนในรัฐวิสาหกิจ (สิ่งทอ กระดาษ แก้ว น้ำตาล กระสอบ........) โดยมี ”บริษัทส่งเสริมเศรษฐกิจ” เป็น holding company • รัฐวิสาหกิจส่วนใหญ่ไร้ประสิทธิภาพและขาดทุน
รัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ (1958-63) นโยบายเปลี่ยนเป็นการสนับสนุนให้เอกชนลงทุนในโรงงาน รัฐบาลลงทุนเฉพาะโครงสร้างพื้นฐาน (infrastructure) เช่น ไฟฟ้า ถนน โทรคมนาคม และการส่งเสริม (promotion) ฟื้นตัวหลังสงคราม เริ่มความราบรื่น (1946-1972) 37
รัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ (1959-63) เป็นจุดเริ่มของการปฏิรูปนโยบายเศรษฐกิจ โดยมี ดร. ป๋วย อึ๊งภากรณ์เป็นตัวจักรสำคัญ สถาบันใหม่: สภาพัฒนาฯ สนง. ส่งเสริมการลงทุน (BOI) สำนักงบประมาณ และสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ฟื้นตัวหลังสงคราม เริ่มความราบรื่น (1946-1972) 38
ทหาร-ข้าราชการ-นักธุรกิจจีน สัมพันธ์ใกล้ชิดขึ้น และเอื้อประโยชน์ให้กัน คอรัปชั่นกับเศรษฐกิจที่ขยายตัวได้ต่อเนื่อง ฟื้นตัวหลังสงคราม เริ่มความราบรื่น (1946-1972) 39
ฟื้นตัวหลังสงคราม เริ่มความราบรื่น (1946-1972) • ภาษีนำเข้าและการส่งเสริมการลงทุน การขยายตัวสูงในสาขาอุตสาหกรรม: 15% ของ GDP ในปี 1968 โดยโรงงานส่วนใหญ่เป็นการแปรรูปอาหาร และสินค้าผู้บริโภค
ฟื้นตัวหลังสงคราม เริ่มความราบรื่น (1946-1972) • สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (Board of Investment หรือ BOI) ก่อตั้งในปี 1959 • การส่งเสริมโดยให้สิทธิประโยชน์: ยกเว้นภาษีนำเข้า/การค้า/กำไร ต่างชาตินำเข้าช่างและซื้อที่ดินได้ ไม่มีการแข่งขันจากรัฐ • ในช่วงแรกมักจะส่งเสริมอุตสาหกรรมที่ผลิตทดแทนการนำเข้า
ฟื้นตัวหลังสงคราม เริ่มความราบรื่น (1946-1972) • เพิ่มอัตราภาษีนำเข้าเพื่อคุ้มครองอุตสาหกรรมในประเทศและรายได้เข้ารัฐ • อัตราภาษีสูงสำหรับสินค้าผู้บริโภค (สำเร็จรูป) และอัตราต่ำสำหรับสินค้าทุน “effective” rates of protection สำหรับสินค้าสำเร็จรูปยิ่งสูงกว่า
ฟื้นตัวหลังสงคราม เริ่มความราบรื่น (1946-1972) • สัดส่วนของสินค้าทุนในสินค้านำเข้าทั้งหมดสูงขึ้น (จาก 25% เป็น 47%) ในขณะที่สัดส่วนของสินค้าบริโภคลดลง • เป็นผลจากการขยายตัวด้านอุตสาหกรรม
ฟื้นตัวหลังสงคราม เริ่มความราบรื่น (1946-1972) • Ingram สรุปว่าการลงทุนด้านอุตสาหกรรม นำเข้าเครื่องจักรและวัตถุดิบมาเพื่อใช้ในการผลิตทดแทนการนำเข้าสินค้าบริโภคสำเร็จรูป ไม่มี economies of scale ไม่มีศักยภาพในการส่งออก
ฟื้นตัวหลังสงคราม เริ่มความราบรื่น (1946-1972) • ใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนหลายอัตรา (multiple exchange rate ช่วง 1947-1955) เพื่อเพิ่มทุนสำรองและควบคุมเงินเฟ้อ • ผู้ส่งออกสินค้าบางชนิดต้องขาย $ ให้ ธปท. ในอัตราทางการกำหนด ซึ่งต่ำกว่าอัตราตลาด (10 vs 24 baht/$)
ฟื้นตัวหลังสงคราม เริ่มความราบรื่น (1946-1972) • ระบบอัตราแลกเปลี่ยนหลายอัตรา (multiple exchange rate ช่วง 1947-1955) • ธปท. ขาย $ ในอัตราทางการสำหรับสินค้านำเข้าที่จำเป็น (น้ำมัน ยา) • นอกนั้น ซื้อขาย $ กันที่อัตราตลาด • เปลี่ยนมาเป็นอัตราเดียว ยึดคงที่กับ US$ ตั้งแต่ปี 1955
ฟื้นตัวหลังสงคราม เริ่มความราบรื่น (1946-1972) • นโยบายการเงินแบบอนุรักษ์นิยมปริมาณเงินเพิ่มตามการผลิต + การถือเงินสำรองระหว่างประเทศไว้มากๆ (เพิ่มทุนสำรองได้ทั้งที่ขาดดุลบัญชีเดินสะพัด เพราะการช่วยเหลือจากต่างชาติ การกู้ยืม การลงทุนจากต่างชาติ การใช้จ่ายทางทหารของสหรัฐฯ ในสงครามเวียดนาม) เสถียรภาพด้านราคา
ฟื้นตัวหลังสงคราม เริ่มความราบรื่น (1946-1972) • การถือเงินสำรองระหว่างประเทศไว้มากๆ เพราะกลัวว่าบัญชี BOP เกินดุลเพียงชั่วคราว เนื่องจาก • คาดว่าสหรัฐฯ จะถอนตัวจากสงครามเวียดนาม (กระทบต่อการใช้จ่ายทางทหารในไทย)
ฟื้นตัวหลังสงคราม เริ่มความราบรื่น (1946-1972) • แผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับแรก (1961-1966) และการจัดตั้งสภาพัฒน์(NESDB): กำหนดเป้าหมายทางเศรษฐกิจและแผนการลงทุนของรัฐในโครงสร้างพื้นฐาน (ไฟฟ้า ขนส่ง ชลประทาน การศึกษา ฯลฯ) • ปัจจุบันอยู่ในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 (2007-2011)