150 likes | 250 Views
MUS3803 การตลาดด้านดนตรี. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศันสนีย์ จะ สุวรรณ์. คำอธิบายรายวิชา. การสำรวจและวิจัยเพื่อสร้างแผนการตลาดด้านดนตรี แผนกลยุทธ์ แผนการต่อรอง แผนการโฆษณาประชาสัมพันธ์ เพื่อสร้างสัดส่วนการตลาดด้านดนตรี. วัตถุประสงค์.
E N D
MUS3803 การตลาดด้านดนตรี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศันสนีย์ จะสุวรรณ์
คำอธิบายรายวิชา • การสำรวจและวิจัยเพื่อสร้างแผนการตลาดด้านดนตรี • แผนกลยุทธ์ • แผนการต่อรอง • แผนการโฆษณาประชาสัมพันธ์ • เพื่อสร้างสัดส่วนการตลาดด้านดนตรี
วัตถุประสงค์ • เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจในการวางแผนการตลาดด้านดนตรี แผนกลยุทธ์ แผนการต่อรอง และแผนการโฆษณาประชาสัมพันธ์ • เพื่อให้นักศึกษาสามารถวางแผนงานดนตรีเพื่อการสร้างส่วนแบ่งในตลาดด้านดนตรี
การประเมินผล • งานวิจัยตลาด 30 คะแนน • กิจกรรมระหว่างเรียน 30 คะแนน ประกอบด้วย • แผนกลยุทธ์งานคอนเสิร์ต 10 คะแนน • แผนการประชาสัมพันธ์คอนเสิร์ต 10 คะแนน • การประเมินผลคอนเสิร์ต 10 คะแนน • สอบปลายภาค 40 คะแนน • รวม 100 คะแนน
ความหมายของการตลาด • คือการกระทำกิจกรรมต่าง ๆ ในธุรกิจที่ทำให้เกิดการนำสินค้าหรือบริการจากผู้ผลิตไปสู่ผู้บริโภค หรือผู้ใช้บริการนั้น ๆ โดยได้รับความพอใจ ขณะเดียวกันก็บรรลุวัตถุประสงค์ของกิจการ • กระบวนการธุรกิจในการทำให้เกิดการซื้อขายและนำความพอใจสูงสุดมาสู่ผู้ผลิตและผู้บริโภค • กระบวนการดำเนินการธุรกิจที่กำหนดขึ้นเพื่อวางแผนผลิตภัณฑ์และหรือการบริการกำหนดราคา ส่งเสริมการตลาดและการจัดจำหน่าย เพื่อให้ลูกค้าได้รับความพอใจ
ความเป็นมาของการตลาด • เริ่มจากกิจกรรมของมนุษย์ที่มุ่งสนองความต้องการ โดยกระบวนการแลกเปลี่ยน เพื่อความต้องการและความพอใจ การที่จะมีการตลาดจะต้องมีการแลกเปลี่ยนเข้ามาเกี่ยวข้องโอกาสที่มนุษย์จะได้สินค้าที่จะทำให้เขาพอใจ อาจแบ่งออกได้เป็น 4 ทางเลือก คือ • การช่วยตัวเอง คือ เมื่อมนุษย์เกิดความต้องการทางอาหาร ก็จะดับความต้องการของตนโดยพยายามตกปลา ล่าสัตว์ หรือเก็บผลไม้รับประทานเอง โดยไม่ต้องไปยุ่งเกี่ยวกับใคร ในกรณีนี้ถือว่าไม่มีตลาด และไม่มีการตลาดเข้ามาเกี่ยวข้อง • การบังคับขู่เข็ญ เมื่อมนุษย์เกิดความหิวและไม่มีความสามารถหาอาหารได้ ก็อาจจะขโมยอาหารของคนอื่น • การอ้อนวอน เมื่อเกิดความต้องการ มนุษย์จะขอความกรุณาจากผู้อื่นให้บริจาคอาหาร • การแลกเปลี่ยน เมื่อมนุษย์เกิดความต้องการจะพยายามติดต่อผู้ที่มีอาหารและจะยื่นข้อเสนอบางสิ่งบางอย่างเป็นการแลกเปลี่ยนอาหารนั้น โดยการให้เงิน สินค้าอื่น หรือบริการใดๆ ก็ได้เป็นการแลกเปลี่ยน
ที่มาของการตลาด • ดังนั้นการตลาดเกี่ยวข้องกับทางเลือกสุดท้าย คือการแลกเปลี่ยนเพื่อให้ได้สินค้าและบริการเพื่อให้มนุษย์พอใจ และสนองความต้องการ การแลกเปลี่ยนจะต้องประกอบด้วยสภาวการณ์ดังต่อไปนี้ • ต้องมีบุคคล 2 กลุ่ม • แต่ละกลุ่มต้องมีสิ่งที่มีคุณค่าต่ออีกฝ่ายหนึ่ง • แต่ละกลุ่มจะต้องมีความสามารถในการสื่อสารคมนาคม และการขนส่ง • แต่ละกลุ่มต้องมีอิสรภาพในการตอบรับหรือปฏิเสธข้อเสนอ
ขนาดของตลาด • ตัวอย่าง สมมุติว่านักดนตรีผู้หนึ่งใช้เวลาประมาณ 1 เดือนในการเขียนบทเพลงเพลงหนึ่งอย่างไพเราะงดงาม เขาได้กำหนดระดับราคาหนึ่งเอาไว้ในใจสำหรับบทเพลงนี้ คำถามที่เขาคำนึงคือ จะมีใครเต็มใจแลกเปลี่ยนเงินจำนวนนั้นกับเพลงนี้หรือไม่ ถ้ามีอย่างน้อย 1 คน เราเรียกได้ว่ามีตลาด ส่วนขนาดของตลาดจะแตกต่างกันตามราคา นักดนตรีผู้นี้อาจจะเรียกร้องราคาสูงมาก จนกระทั่งไม่มีผู้ใดซื้อบทเพลงนั้น แต่ถ้าเขาลดราคาลงขนาดของตลาดเพิ่มขึ้น เพราะคนสามารถจะมีเงินจ่ายเพื่อบทเพลงนั้นได้ ดังนั้นขนาดของตลาดขึ้นกับจำนวนคนที่จะต้องมีทั้ง • ความสนใจในสินค้า • ความเต็มใจที่จะเสนอแลกเปลี่ยนเพื่อสินค้านั้น
ประเภทตลาด • ที่ใดมีโอกาสจะมีการค้าเกิดขึ้น ที่นั่นมีตลาด คำว่า “ตลาด” ถูกใช้บ่อยในความหมายของความต้องการมนุษย์ หรือความต้องการประเภทสินค้า กลุ่มประชากรศาสตร์ และตำแหน่งที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ เช่น • ตลาดความต้องการมนุษย์ คือ การพักผ่อน คนเต็มใจที่จะแลกเปลี่ยนเงินกับการฝึกหัดโยคะหรือการหัดทำอาหาร เป็นต้น • ตลาดสินค้า คือตลาดรองเท้า คนเต็มใจที่จะแลกเงินกับสิ่งของคือรองเท้า • ตลาดเชิงประชากรศาสตร์ คือ ตลาดเด็กทารก หรือตลาดเด็กวัยรุ่น ที่ชอบแลกเปลี่ยนเงินกับเครื่องเสียงและเครื่องกีฬาเป็นต้น • ตลาดเชิงภูมิศาสตร์ได้แก่ ตลาดคนไทย ตลาดคนญี่ปุ่น เป็นต้น
แนวความคิดของตลาด • การตลาดหมายถึงการทำงานเกี่ยวข้องกับตลาด การพยายามที่จะทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเพื่อจุดประสงค์ที่จะให้มนุษย์ได้รับความพอใจต่อสิ่งที่ต้องการ นั่นคือคำจำกัดความของการตลาด คือการกระทำของมนุษย์ที่มุ่งให้เกิดความพอใจในการสนองความต้องการ โดยกระบวนการ การแลกเปลี่ยน
บทบาทและหลักความสำคัญของการตลาดบทบาทและหลักความสำคัญของการตลาด • การตลาดเป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับกิจการ องค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน การดำเนินการทางด้านการตลาดจะส่งผลกระทบอย่างกว้างขวางทั้งในแง่ของทั้งในแง่ของผลดี หรือผลประโยชน์ที่จะได้รับ และผลกระทบด้านผลเสียทั้งภายในและภายนอกประเทศ สามารถจำแนกความสำคัญของการตลาดได้ดังต่อไปนี้ • ความสำคัญของการตลาดที่มีต่อสังคมและบุคคล • ความสำคัญของการตลาดที่มีต่อระบบเศรษฐกิจ
ความสำคัญของการตลาดที่มีต่อสังคมและบุคคลความสำคัญของการตลาดที่มีต่อสังคมและบุคคล • การตลาดเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการซื้อของบุคคล • การตลาดช่วยยกระดับมาตรฐานการครองชีพของประชาการในสังคมให้สูงขึ้น • การตลาดทำให้เกิดงานอาชีพต่าง ๆ แก่บุคคลเพิ่มมากขึ้น
ความสำคัญของการตลาดที่มีต่อระบบเศรษฐกิจความสำคัญของการตลาดที่มีต่อระบบเศรษฐกิจ • การตลาดช่วยให้ประชาการมีรายได้สูงขึ้น • การตลาดทำให้เกิดการหมุนเวียนของปัจจัยการผลิต • การตลาดช่วยสร้างความต้องการในสินค้าและบริการ • การตลาดทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจของประเทศ
แนวความคิดทางการตลาด • แนวความคิดเกี่ยวกับการผลิต (The Production Concept) • แนวความคิดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ (The Product Concept) • แนวความคิดเกี่ยวกับการขาย (The Selling Concept) • แนวความคิดเกี่ยวกับการตลาด (The Marketing Concept) • แนวความคิดเกี่ยวกับการตลาดเพื่อสังคม (The Societal Marketing Concept) • แนวความคิดมุ่งการตลาดเชิงยุทธ์ (The Strategic Marketing Concept)
กลยุทธ์ทางการตลาด ประกอบด้วย • กำหนดตลาดเป้าหมาย คือการกำหนดกลุ่มลูกค้า หรือตลาด ซึ่งสามารถแบ่งได้ 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ • บุคคลธรรมดาในตลาดผู้บริโภค • ผู้ที่ซื้อเป็นสถาบันหรือองค์กรในอุตสาหกรรม • กำหนดส่วนผสมทางการตลาด ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ คือ • ผลิตภัณฑ์ (Product) • ราคา (Price) • การจัดจำหน่าย (Place) • การส่งเสริมการขาย (Promotion)