430 likes | 663 Views
นวัตกรรมการเรียนการสอนกับเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร กรอบมาตรฐานคุณวุฒิ มาตรฐานสถาบันอุดมศึกษาและการประกันคุณภาพการศึกษา. Measurement (KPIs). มรภ. มทร. อ้างอิง : เลขาธิการ กกอ. (ศ.พิเศษทศพร ศิ ริสัมพันธ์) ). Criteria (objectivity). Capacity-building Program.
E N D
นวัตกรรมการเรียนการสอนกับเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร กรอบมาตรฐานคุณวุฒิ มาตรฐานสถาบันอุดมศึกษาและการประกันคุณภาพการศึกษา
Measurement (KPIs) มรภ. มทร. อ้างอิง: เลขาธิการ กกอ. (ศ.พิเศษทศพร ศิริสัมพันธ์))
Criteria (objectivity) Capacity-building Program Quick win Program (the winners) มรภ. เน้นการพัฒนาท้องถิ่นและชุมชน มทร. เน้นด้านเทคนิคและการปฏิบัติ พัฒนาเพื่อให้ได้คุณภาพมาตรฐานระดับประเทศ พัฒนาเพื่อเข้าสู่อันดับโลก (World Ranking: QS100) ต้องการการพัฒนาเพื่อยกระดับ เข้าไปสู่ระดับนานาชาติในระยะต่อไป อ้างอิง: เลขาธิการ กกอ. (ศ.พิเศษทศพร ศิริสัมพันธ์)
ทิศทางนโยบายด้านการอุดมศึกษาของไทยทิศทางนโยบายด้านการอุดมศึกษาของไทย • เน้นเรื่องคุณภาพมาตรฐาน • ปรับปรุงและยกระดับมาตรฐานหลักสูตร e-Learning • International Programs / ASEAN • เน้นความร่วมมือระหว่างสถาบันอุดมศึกษาและภาคอุตสาหกรรม • พัฒนาธรรมาภิบาลในการบริหารมหาวิทยาลัย • ก้าวสู่ World Class University • อ้างอิง: เลขาธิการ กกอ. (ศ.พิเศษทศพร ศิริสัมพันธ์)
ระดับนโยบาย พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๔๕ กับ TQF พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๔๕ มาตรฐานการศึกษาของชาติ มาตรฐานที่ ๒ : แนวการจัดการศึกษาจัดการเรียนรู้ ที่มุ่งพัฒนาผู้เรียนเป็นสำคัญ และการบริหารโดยใช้สถานศึกษา เป็นฐาน มาตรฐานที่ ๓ : แนวการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้/สังคมแห่งความรู้ การสร้างวิถีการเรียนรู้และแหล่งการเรียนรู้ให้เข้มแข็ง มาตรฐานที่ ๑ : คุณลักษณะของคนไทยที่ พึงประสงค์ทั้งในฐานะพลเมืองและพลโลก คนไทยเป็นคนเก่ง คนดี และมีความสุข มาตรฐาน การศึกษาปฐมวัย สพฐ. มาตรฐาน การอาชีวศึกษา สอศ. มาตรฐาน การศึกษาขั้นพื้นฐาน สพฐ. มาตรฐานการอุดมศึกษา สกอ.
ระดับนโยบาย ระดับการนำไปสู่การปฏิบัติ มาตรฐานการอุดมศึกษา มาตรฐานด้านการบริหาร จัดการการอุดมศึกษา มาตรฐานด้านการสร้างและพัฒนาสังคมฐานความรู้ และสังคมแห่งการเรียนรู้ มาตรฐานด้านคุณภาพบัณฑิต กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา (TQF) มาตรฐานคุณวุฒิสาขา/สาขาวิชาที่ ๑ มาตรฐานคุณวุฒิ สาขา/สาขาวิชาที่ ๒ สกอ. มาตรฐานคุณวุฒิสาขา/ สาขาวิชาที่ ๓ รายละเอียดของหลักสูตร(Programme Specification) ในแต่ละสาขาวิชาของสถาบันฯต่างๆ ม/ส
กรอบคุณวุฒิแห่งชาติ (National Qualifications Framework: Thailand NQF) * ความรู้ * ทักษะ * คุณลักษณะที่พึงประสงค์ * ผลลัพธ์การเรียนรู้ตามระดับคุณวุฒิการศึกษา จากการประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะที่พึงประสงค์
มาตรฐานผลการเรียนรู้(Domains of Learning) ของคุณวุฒิทุกระดับในประเทศไทย 1. ด้านคุณธรรม จริยธรรม (Ethics and Morals) 2. ด้านความรู้ (Knowledge) 3. ด้านทักษะทางปัญญา (Cognitive Skills) 4. ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ (Interpersonal Skills and Responsibility) 5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (Numerical Analysis, Communication and Information Technology Skills) บางสาขาวิชาอาจเพิ่มมาตรฐานผลการเรียนรู้ทางด้านทักษะพิสัย (Domain of Psychomotor Skills) หรือบางสาขาวิชาต้องการให้บัณฑิตของสาขาวิชามีมาตรฐานผลการเรียนรู้มากกว่าหรือพิเศษกว่าบัณฑิตในสาขาวิชาอื่นก็สามารถกำหนดเพิ่มเติมได้ 8
การปฏิบัติตามแบบ มคอ.1-7 มคอ.1 มคอ.2 มคอ.3 มคอ.4 มคอ.5 มคอ.6 มคอ.7 ผู้ดำเนินการ สกอ.ร่วมกับ คณาจารย์ ผู้ทรงคุณวุฒิ ในสาขา ผู้ใช้บัณฑิต และผู้แทน องค์กร วิชาชีพ (ถ้ามี) -คณะกรรมการ พัฒนาหลักสูตร -อาจารย์ผู้รับผิด ชอบหลักสูตร -จัดทำก่อนขอ อนุมัติต่อสภา สถาบันอุดมศึกษา -เป็น มคอ. เพียง ฉบับเดียวที่ส่ง สกอ. -อาจารย์ ผู้สอน -จัดทำก่อน เปิดสอน -อาจารย์ ผู้ดูแลการฝึก งาน/สหกิจ ศึกษา -จัดทำก่อน เปิดสอน -อาจารย์ ผู้สอน -จัดทำเมื่อ สอบเสร็จ สิ้นในแต่ ละภาค -อาจารย์ ผู้ดูแลการ ฝึกงาน/ สหกิจศึกษา -จัดทำเมื่อ เสร็จสิ้น การฝึกภาค สนาม -อาจารย์ ผู้รับผิดชอบ หลักสูตร -จัดทำเมื่อ สิ้นปีการศึกษา /สิ้นภาค การศึกษา 9
สัญญาว่าจะทำอะไร ทำแล้วตามสัญญาหรือไม่ Field Experience Report Field Experience Field Experience Field Experience Repport มคอ.4Field Experience Spec มคอ.6Field Experience Report Course Specification Course Report Course Report Course Specification มคอ. 5Course Report มคอ.3Course Specification มคอ. 7Program Report มคอ.2Program Specification 10
ตัวบ่งชี้การประกันคุณภาพตัวบ่งชี้การประกันคุณภาพ
ตัวบ่งชี้ที่ 2.1 : ระบบและกลไกการพัฒนาและบริหารหลักสูตร ชนิดของตัวบ่งชี้ : กระบวนการ คำอธิบายตัวบ่งชี้ : สถาบันอุดมศึกษามีหน้าที่พัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับปรัชญา ปณิธาน วิสัยทัศน์ พันธกิจและความพร้อมของสถาบัน ตลอดจนสอดคล้องกับความต้องการทางด้านวิชาการและวิชาชีพของสังคม มีการประเมินหลักสูตรอย่างสม่ำเสมอตามหลักเกณฑ์และตัวบ่งชี้ของการประกันคุณภาพหลักสูตร มีการวางระบบและกลไกบริหารหลักสูตรอย่างมีประสิทธิภาพและมีการปรับปรุงหลักสูตรให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง
เกณฑ์มาตรฐานทั่วไป 1. มีระบบและกลไกการเปิดหลักสูตรใหม่และปรับปรุงหลักสูตรตามแนวทางปฏิบัติที่กำหนดโดยคณะกรรมการการอุดมศึกษา และดำเนินการตามระบบที่กำหนด 2. มีระบบและกลไกการปิดหลักสูตรตามแนวทางปฏิบัติที่กำหนดโดยคณะกรรมการการอุดมศึกษา และดำเนินการตามระบบที่กำหนด 3. ทุกหลักสูตรมีการดำเนินงานให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา และกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (การดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ หมายถึง ต้องมีการประเมินผลตาม “ตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานตามประกาศมาตรฐานคุณวุฒิสาขาหรือสาขาวิชา เพื่อการประกันคุณภาพหลักสูตรและการเรียนการสอน” กรณีที่หลักสูตรใดยังไม่มีประกาศมาตรฐานคุณวุฒิสาขาหรือสาขาวิชา ให้ประเมินตามตัวบ่งชี้กลางที่กำหนดในภาคผนวก ก) สำหรับหลักสูตรสาขาวิชาชีพต้องได้รับการรับรองหลักสูตรจากสภาหรือองค์กรวิชาชีพที่เกี่ยวข้องด้วย
4. มีคณะกรรมการรับผิดชอบควบคุมกำกับให้มีการดำเนินการได้ครบถ้วน ทั้งข้อ 1 ข้อ 2 และ ข้อ 3 ข้างต้นตลอดเวลาที่จัดการศึกษา และมีการประเมินหลักสูตร ทุกหลักสูตรอย่างน้อยตามกรอบเวลาที่กำหนดในเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรฯ กรณีหลักสูตรที่ดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ จะต้องควบคุมกำกับให้การดำเนินงานตามตัวบ่งชี้ในข้อ 3 ผ่านเกณฑ์การประเมิน 5 ข้อแรกและอย่างน้อยร้อยละ 80 ของตัวบ่งชี้ที่กำหนดในแต่ละปี ทุกหลักสูตร 5. มีคณะกรรมการรับผิดชอบควบคุมกำกับให้มีการดำเนินการได้ครบถ้วนทั้งข้อ 1 ข้อ 2 และ ข้อ 3 ข้างต้นตลอดเวลาที่จัดการศึกษา และมีการพัฒนาหลักสูตรทุกหลักสูตรตามผลการประเมินในข้อ 4 กรณีหลักสูตรที่ดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ จะต้องควบคุมกำกับให้การดำเนินงานตามตัวบ่งชี้ในข้อ 3 ผ่านเกณฑ์การประเมินครบ ทุกตัวบ่งชี้และทุกหลักสูตร
เกณฑ์การประเมิน : 1. เกณฑ์ทั่วไป 2. เกณฑ์เฉพาะสถาบันกลุ่ม ค 1 ค 2 และ ง
การทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษา การทวนสอบ หมายถึง การดำเนินการหาหลักฐานด้วยวิธีการใด ๆ เช่น การสังเกต การตรวจสอบ การประเมิน การสัมภาษณ์ ฯลฯ เพื่อยืนยันพิสูจน์ว่า สิ่งที่กำหนดขึ้นนั้นได้มีการดำเนินการและบรรลุเป้าหมายตามวัตถุประสงค์ การทวนสอบมาตรฐานผลการเรียนรู้ของนักศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของความรับผิดชอบในระบบการประกันคุณภาพภายในของสถาบันอุดมศึกษา กลยุทธ์ที่ใช้โดยปกติทั่วไปของสถาบันอุดมศึกษาในการทวนสอบมาตรฐานผลการเรียนรู้ของนักศึกษา ได้แก่ การตรวจสอบการให้คะแนนจากกระดาษคำตอบข้อสอบของนักศึกษาและงานที่รับมอบหมาย การประเมินหลักสูตรโดยนักศึกษาและผู้สำเร็จการศึกษา การประเมินภาควิชาและหลักสูตรโดยบุคลากรภายนอก และการรายงานเกี่ยวกับทักษะของบัณฑิตโดยผู้ใช้บัณฑิต การทวนสอบมาตรฐานบางส่วนอาจจะดำเนินการโดยสถาบันอุดมศึกษาอื่นๆ ที่มีความร่วมมือทางการศึกษา
กลยุทธ์ในการทวนสอบมาตรฐานผลการเรียนรู้กลยุทธ์ในการทวนสอบมาตรฐานผลการเรียนรู้ กลยุทธ์ที่ใช้โดยปกติทั่วไปของสถาบันอุดมศึกษาในการทวนสอบมาตรฐานผลการเรียนรู้ของนักศึกษา ได้แก่ การตรวจสอบการให้คะแนนจากกระดาษคำตอบข้อสอบของนักศึกษาและงานที่รับมอบหมาย การประเมินหลักสูตรโดยนักศึกษาและผู้สำเร็จการศึกษา การประเมินภาควิชาและหลักสูตรโดยบุคลากรภายนอก และการรายงานเกี่ยวกับทักษะของบัณฑิตโดยผู้ใช้บัณฑิต การทวนสอบมาตรฐานบางส่วนอาจจะดำเนินการโดยสถาบันอุดมศึกษาอื่นๆ ที่มีความร่วมมือทางการศึกษา
-ร่าง- ตัวอย่างการประเมินผลการดำเนินงานตามรายละเอียดหลักสูตร ตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงาน (Key Performance Indicators) ของหลักสูตร ชนิดของตัวบ่งชี้ : กระบวนการเกณฑ์มาตรฐาน :ระดับ * ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงานให้เป็นไปตามที่ระบุในแต่ละหลักสูตร **โปรดทำเครื่องหมาย “X” ตามดัชนีบ่งชี้ที่ระบุในหลักสูตรของปีการศึกษาที่ประเมิน
การประกันคุณภาพ กับ มคอ.2 หมวด 7 การประกันคุณภาพหลักสูตร 1. การบริหารหลักสูตร 2. การบริหารทรัพยากรการเรียนการสอน 3. การบริหารคณาจารย์ 4. การบริหารบุคลากรสนับสนุนการเรียนการสอน 5. การสนับสนุนและให้คำแนะนำนักศึกษา 6. ความต้องการของตลาดแรงงาน สังคม และหรือความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต 7. ตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานของหลักสูตร (สอดคล้องกับ IQA และ EQA) หมวด 8 การประเมินและปรับปรุงการดำเนินการของหลักสูตร 1.การประเมินประสิทธิผลของการสอน 2. การประเมินหลักสูตรในภาพรวม 3. การประเมินผลการดำเนินงานตามรายละเอียดของหลักสูตร 4. การทบทวนผลการดำเนินงานและการวางแผนปรับปรุง
-ร่าง- ตัวอย่างกลไกการดำเนินการภายในสถาบันฯ จากกรณีศึกษาของ มศก. มหาวิทยาลัยอาจใช้แบบฟอร์มอื่นๆ เพื่อยืนยันการดำเนินการของตนเอง การประเมินผลการดำเนินงานตามที่วางแผนไว้ในหมวดที่ 8 ข้อ 3 ของรายละเอียดหลักสูตร (มคอ.2) ประจำปีการศึกษา 255….. วัน-เวลาที่ประเมิน.................................................................. สถานที่.................................................................................. • 1. ชื่อหลักสูตร ภาษาไทย………………………………………………………………………………………………….. ภาษาอังกฤษ………………………………………………………………………………………………. • 2. สถานภาพของหลักสูตร หลักสูตร (ใหม่/ปรับปรุง) พ.ศ. .................................... เริ่มเปิดสอนภาคการศึกษา..........................................ปีการศึกษา................................................... • 3 รายชื่อคณะกรรมการประเมินหลักสูตร
กลไกของสถาบันอุดมศึกษากับการดำเนินการตาม TQF • สร้างความรู้ ความเข้าใจในหลักการ/วัตถุประสงค์ของ TQF และนำไปใช้ประโยชน์ในการจัดการเรียนการสอนให้คุ้มค่า • สร้าง Model ในการพัฒนาคุณภาพบัณฑิตของสถาบัน อุดมศึกษาให้ชัดเจน โดยวิเคราะห์วิสัยทัศน์ พันธกิจ ทิศทางของสถาบันฯ • สร้างขวัญกำลังใจและส่งเสริมนวัตกรรมการเรียนการสอนแบบใหม่ๆ • สร้างเครือข่ายและเทียบเคียงคุณภาพและมาตรฐานการจัดการเรียนการสอนในระดับชาติ/สากลอย่างสม่ำเสมอ
กลไกของสถาบันอุดมศึกษากับการดำเนินการตาม TQF (ต่อ) 5. จัดระบบภายในสถาบันอุดมศึกษาโดยอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศในการส่งเสริมและพัฒนากลยุทธ์การสอนของคณาจารย์ การพัฒนากระบวนการเรียนการสอน การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับรายละเอียดของหลักสูตรที่พัฒนาขึ้นมาตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิสาขาวิชา 6. พัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาระบบติดตามและประเมินการดำเนินการตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิมาตรฐานคุณวุฒิสาขาวิชา หรือปรับระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาให้ครอบคลุมการติดตามและประเมินผลการดำเนินการตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ฯหรือมาตรฐานคุณวุฒิสาขาวิชา
แบบ มคอ. ๓ เปรียบเทียบกับ มคอ. ๕ รายละเอียดของรายวิชา (ต่อ)
หลักสูตรและการรายงานผลการดำเนินการหลักสูตรและการรายงานผลการดำเนินการ มคอ.๒ หมวดที่ ๑ ข้อมูลทั่วไป หมวดที่ ๒ ข้อมูลเฉพาะของหลักสูตร หมวดที่ ๓ ระบบการจัดการศึกษา การดำเนินการ และโครงสร้างหลักสูตร หมวดที่ ๔ ผลการเรียนรู้ กลยุทธ์การสอน และการประเมินผล หมวดที่ ๕ หลักเกณฑ์ในการประเมินผล นักศึกษา หมวดที่ ๖ การพัฒนาคณาจารย์ หมวดที่ ๗ การประกันคุณภาพหลักสูตร หมวดที่ ๘ การประเมินและปรับปรุงการ ดำเนินการของหลักสูตร มคอ.๗ หมวดที่ ๑ ข้อมูลทั่วไปของหลักสูตร หมวดที่ ๒ข้อมูลเชิงสถิติของผลการ ดำเนินการของหลักสูตร หมวดที่ ๓ การเปลี่ยนแปลงที่มี ผลกระทบที่มีต่อหลักสูตร หมวดที่ ๔ ข้อมูลสรุปรายวิชาของ หลักสูตร หมวดที่ ๕ การบริหารหลักสูตร หมวดที่ ๖ สรุปการประเมินหลักสูตร หมวดที่ ๗ คุณภาพของการสอน หมวดที่ ๘ ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ เกี่ยวกับคุณภาพหลักสูตรจาก ผู้ประเมินอิสระ หมวดที่ ๙ แผนการดำเนินการเพื่อพัฒนา หลักสูตร
นวัตกรรม หมายถึง ความคิดและการกระทำใหม่ ๆ ที่ไม่เคยมีมาก่อนหรือการพัฒนาดัดแปลงจากของเดิมให้ดีขึ้นและเมื่อนำมาใช้งานก็ทำให้งานมีประสิทธิภาพมากขึ้น นวัตกรรมการศึกษา นวัตกรรมการศึกษา หมายถึง สิ่งที่ก่อให้เกิดประโยชน์ทางการศึกษา เป็นการสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่หรือปรับปรุงสิ่งเดิมเพื่อลดต้นทุนทางการศึกษา ลดระยะเวลา และปรับปรุงวิธีปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
หลักสำคัญในการพิจารณาว่าเป็นนวัตกรรม(ชัยยงค์ พรหมวงศ์) • เป็นสิ่งใหม่ทั้งหมดหรือบางส่วน • มีการนำวิธีการจัดระบบมาใช้ โดยพิจารณาองค์ประกอบทั้งส่วนข้อมูลที่ใส่เข้าไป กระบวนการ และผลลัพธ์ ให้เหมาะสมก่อนที่จะทำการเปลี่ยนแปลง • มีการพิสูจน์ด้วยการวิจัย หรืออยู่ระหว่างการวิจัยว่าจะช่วยให้การดำเนินงานบางอย่างมีประสิทธิภาพสูงขึ้น • ยังไม่เป็นส่วนหนึ่งของระบบงานในปัจจุบัน หากกลายเป็นส่วนหนึ่งของระบบงานที่ดำเนินอยู่ในขณะนี้ ไม่ถือว่าเป็นนวัตกรรม
หลักสำคัญในการนำนวัตกรรมเข้ามาใช้(กิดานันท์มลิทอง)หลักสำคัญในการนำนวัตกรรมเข้ามาใช้(กิดานันท์มลิทอง) • นวัตกรรมที่จะนำมาใช้นั้นมีจุดเด่นที่เห็นได้ชัดกว่าวัสดุ อุปกรณ์ หรือวิธีการที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมากน้อยเพียงใด • นวัตกรรมนั้นมีความเหมาะสมหรือไม่กับระบบหรือสภาพที่เป็นอยู่ • มีการวิจัยหรือกรณีศึกษาที่ยืนยันแน่นอนแล้วว่า สามารถนำมาใช้ได้ดีในสภาวการณ์ที่คล้ายคลึงกันนี้ • นวัตกรรมนั้นมีความเกี่ยวข้องกับความต้องการของผู้ใช้อย่างจริงจัง
ประเภทของนวัตกรรมการศึกษาประเภทของนวัตกรรมการศึกษา ครอบคลุมนวัตกรรมการจัดการศึกษาประกอบด้วย หลักสูตร การเรียนการสอน สื่อและเทคโนโลยีทางการศึกษา การวัดและประเมินผลการศึกษา การบริหารการศึกษา
นวัตกรรมทางด้านหลักสูตรนวัตกรรมทางด้านหลักสูตร เป็นการใช้วิธีการใหม่ ๆ ในการพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมในท้องถิ่นและตอบสนองความต้องการของบุคคลให้มากขึ้น นวัตกรรมทางด้านการเรียนการสอน เป็นการใช้วิธีการใหม่ ๆ ในการพัฒนาวิธีสอนที่ตอบสนองการเรียนรายบุคคล การสอนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง การเรียนแบบมีส่วนร่วม การเรียนรู้แบบแก้ปัญหา
นวัตกรรมทางด้านสื่อการเรียนการสอนนวัตกรรมทางด้านสื่อการเรียนการสอน เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองทั้งแบบบุคคล กลุ่ม หรือมวลชน นวัตกรรมทางด้านการวัดและประเมินผล เป็นการใช้เครื่องมือเพื่อการวัดผลและประเมินผล รวมทั้งการวิจัยทางการศึกษา ด้วยการประยุกต์ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ นวัตกรรมทางด้านการบริหารจัดการ เป็นการใช้สารสนเทศในการบริหารจัดการเพื่อการตัดสินใจของผู้บริหารให้มีความทันสมัย และมีความเป็นปัจจุบันมากที่สุด
กระบวนการสร้างนวัตกรรมกระบวนการสร้างนวัตกรรม Conception Self Assessment Implementation Improvement Develop Ideas (Idea Generation) Check compatibility with company objectives (Screening) Check commercial and technical feasibility (Feasibility) Implementation
การประเมินนวัตกรรมการศึกษาการประเมินนวัตกรรมการศึกษา ความมีประสิทธิภาพ (Efficiency)พิจารณาว่าผู้เรียนมีพฤติกรรมการเรียนรู้ตรงตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ภายหลังการใช้นวัตกรรมการสอน ความมีประสิทธิผล (Productivity) พิจารณาจากนวัตกรรมช่วยให้ผู้เรียนบรรลุเป้าหมาย และวัตถุประสงค์การเรียนการสอน โดยผู้เรียนเกิดพฤติกรรมการเรียนรู้ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ความประหยัด (Economy) เมื่อนำนวัตกรรมไปใช้สอนแล้วเกิดความคุ้มค่าการลงทุน แรงงาน เวลา ความคงทนถาวร คุณลักษณะที่ดี นวัตกรรมมีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ เหมาะสมกับวัย เนื้อหา สถานการณ์