460 likes | 667 Views
บทที่ 2. ระบบย่อยของ ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ. โครงสร้างองค์กร. โครงสร้างองค์กรตามหน้าที่การทำงาน ( Functional structure). โครงสร้างองค์กร. โครงสร้างตามฝ่าย ( Division structure) โครงสร้างองค์กรที่จัดตามฝ่ายที่เน้นกลุ่มสินค้า. โครงสร้างองค์กร. โครงสร้างตามฝ่าย ( Division structure)
E N D
บทที่ 2 ระบบย่อยของ ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
โครงสร้างองค์กร โครงสร้างองค์กรตามหน้าที่การทำงาน (Functional structure)
โครงสร้างองค์กร โครงสร้างตามฝ่าย (Division structure) โครงสร้างองค์กรที่จัดตามฝ่ายที่เน้นกลุ่มสินค้า
โครงสร้างองค์กร โครงสร้างตามฝ่าย (Division structure) โครงสร้างตามฝ่ายที่เน้นพื้นที่การขาย
โครงสร้างองค์กร โครงสร้างตามโครงการ (Project structure)
โครงสร้างองค์กร โครงสร้างองค์กรแบบเมทริกซ์ (Matrix structure)
ระบบย่อยของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการระบบย่อยของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ แบ่งออกเป็น 4 ระบบ • ระบบปฏิบัติการทางธุรกิจ (transaction processing system) • ระบบจัดทำรายงานสำหรับการจัดการ (management reporting system) • ระบบสารสนเทศสำนักงาน (office information system :OIS) • ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (decision supporting system)
ระบบย่อยของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการระบบย่อยของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ระบบสารสนเทศที่เกี่ยวกับการดำเนินงานภายในองค์การ สนับสนุนการดำเนินงานในแต่ละวันขององค์การให้เรียบร้อย ระบบที่รวบรวม ประมวลผล และจัดทำรายงานหรือเอกสารสำหรับใช้ในการบริหาร ระบบที่จัดเตรียมข้อมูลสำหรับผู้บริหารเพื่อช่วยในการตัดสินใจ ระบบที่ช่วยในการทำงานในสำนักงานให้มีประสิทธิภาพ OIS จะประกอบด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ และเทคโนโลยีเครื่องใช้สำนักงาน
1.ระบบปฏิบัติการทางธุรกิจ(transaction processing system:TPS) • ระบบสารสนเทศที่ถูกออกแบบและพัฒนาขึ้นเพื่อให้ทำงานเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานภายในองค์การ • ใช้เครื่องมือทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์เข้ามาเป็นอุปกรณ์หลัก • สนับสนุนการดำเนินงานในแต่ละวันขององค์กร
TPS มีหน้าที่หลักอยู่ 3 ประการ • การทำบัญชี (bookkeeping)ทำหน้าที่ในการเก็บบันทึกการปฏิบัติงานหรือเหตุการณ์ทางการบัญชีที่เกิดขึ้นในแต่ละวันขององค์การ โดยการปฎิบัติงานที่เกิดขึ้นมักจะเกี่ยวข้องกับบุคคล 2 กลุ่มคือ ลูกค้า และ ผู้ขายวัตถุดิบ • การออกเอกสาร (document issuance)ทำหน้าที่เกี่ยวกับการออกเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานในแต่ละวันขององค์การ
TPS 3. การทำรายงานควบคุม (control reporting)ทำหน้าที่เกี่ยวกับการออกเอกสารต่างๆ ที่มีผลมาจากการดำเนินงานขององค์การ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบและควบคุมการดำเนินงานขององค์การ
ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศต่องานทางธุรกิจประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศต่องานทางธุรกิจ • ความผิดพลาดที่เกิดจากความสะเพร่าโดยทั่วไปการดำเนินงานโดยใช้แรงงานมนุษย์อาจเกิดการผิดพลาดได้ง่าย • ใช้แรงงานมาก การบันทึกลงในระบบข้อมูลหลายประเภท อาจทำให้เกิดการทำงานที่ซ้ำๆ กัน • การสูญหายของข้อมูล อาจเกิดจากการเก็บแฟ้มเอกสารผิดพลาด ทำให้ไม่สามารถค้นหาข้อมูลได้เมื่อผู้ใช้เกิดความต้องการ • การตอบสนองที่ล่าช้า การทำงานโดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์สนับสนุนทำให้การตอบสนองต่อสถานการณ์รวดเร็ว ตลอดจนช่วยให้การพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือการให้บริการมีประสิทธิภาพสูงขึ้น
วงจรการทำงานของระบบปฏิบัติงานทางธุรกิจวงจรการทำงานของระบบปฏิบัติงานทางธุรกิจ • การป้อนข้อมูล (data entry)ซึ่งเป็นส่วนแรกหรือจุดเริ่มต้นของวงจรการปฏิบัติงานทางธุรกิจโดยข้อมูลส่วนมากจะเป็นข้อมูลที่ได้มาจากเอกสารที่เกิดจากการดำเนินงานของธุรกิจในแต่ละวัน เช่นใบสั่งซื้อสินค้า ใบส่งสินค้า เป็นต้น • การประมวลผลหรือการปฏิบัติงานกับข้อมูล (transaction processing)ซึ่งทำหลังจากป้อนข้อมูลเสร็จซึ่งมี 2 แบบ - batch processing เป็นการรวบรวมข้อมูลไว้ระยะหนึ่ง เพื่อรอให้มีปริมาณข้อมูลเพียงพอแล้วจึงทำการประมวลผล เพื่อให้ได้สารสนเทศสำหรับการใช้งานการประมวลผลแบบครั้งต่อครั้ง
วงจรการทำงานของระบบปฏิบัติงานทางธุรกิจวงจรการทำงานของระบบปฏิบัติงานทางธุรกิจ - real time processing เป็นการประมวลผลที่เกิดขึ้นทันทีที่ข้อมูลถูกป้อนเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ จะเป็นสารสนเทศที่เป็นไปตามสถานการณ์ การประมวลผลแบบนี้เหมาะสำหรับธุรกิจที่ต้องตอบสนองกับสิ่งแวดล้อมอย่างรวดเร็ว 3) การปรับปรุงฐานข้อมูล(file/database updating) ผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผล จะถูกนำไปปรับปรุงและจัดเก็บอย่างเป็นระบบในฐานข้อมูล การปรับปรุงจะทำเป็นระยะ เช่น รายวัน รายสัปดาห์ หรือรายเดือน
4) การผลิตรายงานและเอกสาร (document and report generation) - เอกสารที่เกี่ยวกับสารสนเทศ (information document) เป็นเอกสารแสดงให้เห็นรายละเอียดของการทำงานในแต่ละกระบวนการที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน เช่น ใบเสร็จรับเงิน ใบรายงานการสั่งซื้อสินค้า - เอกสารการปฏิบัติการ (action document) เป็นเอกสารที่ก่อให้เกิดการปฏิบัติงานของผู้รับเอกสาร เช่น ใบสั่งซื้อสินค้า - เอกสารหมุนเวียน (circulating document) เป็นเอกสารที่ถูกส่งออกไปแล้วจะมีการหมุนเวียนไปยังผู้เกี่ยวข้องต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกองค์การ เช่น ใบเรียกเก็บเงินลูกค้า
5) การให้บริการสอบถาม (inquiring processing)เช่นลูกค้าต้องการอยากทราบถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจก็จะทำการสอบถาม เช่น ยอดบัญชีค้างชำระ หรือยอดเงินฝากในบัญชีธนาคาร
วงจรการทำงานของระบบปฏิบัติงานทางธุรกิจวงจรการทำงานของระบบปฏิบัติงานทางธุรกิจ
ระบบย่อยของระบบปฏิบัติการทางธุรกิจระบบย่อยของระบบปฏิบัติการทางธุรกิจ • ระบบจ่ายเงินเดือน (Payroll Processing System) • ระบบบันทึกคำสั่งซื้อ (Order Entry System) • ระบบสินค้าคงคลัง (Inventory System) • ระบบใบกำกับสินค้า (Invoicing System) • ระบบส่งสินค้า (Shipping System)
ระบบย่อยของระบบปฏิบัติการทางธุรกิจระบบย่อยของระบบปฏิบัติการทางธุรกิจ 6. ระบบบัญชีลูกหนี้ (Accounts Receivable System) 7. ระบบสั่งซื้อสินค้า (Purchasing System) 8. ระบบรับสินค้า (Receiving System) 9. ระบบบัญชีเจ้าหนี้ (Account Payable) 10.ระบบบัญชีแยกประเภททั่วไป (General Ledger System)
ระบบย่อยของระบบปฏิบัติการทางธุรกิจระบบย่อยของระบบปฏิบัติการทางธุรกิจ 1 ระบบจ่ายเงินเดือน (Payroll Processing System) ควบคุมการจ่ายเงินเดือน การคำนวณหักภาษี ณ ที่จ่าย ซึ่งแต่ละที่จะมีการบริหารจัดการเงินเดือนที่หลากหลาย 2 ระบบบันทึกคำสั่งซื้อ (Order Entry System) เพื่อบันทึกการสั่งซื้อสินค้าจากลูกค้า ให้สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าไม่บกพร่อง
ระบบย่อยของระบบปฏิบัติการทางธุรกิจระบบย่อยของระบบปฏิบัติการทางธุรกิจ 3 ระบบสินค้าคงคลัง (Inventory System) ดูแลให้สินค้าแต่ละชนิดมีปริมาณและสภาพที่เหมาะสมต่อการดำเนินงานธุรกิจ ไม่ให้เกิดค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษา หรือค่าเสียโอกาสทางการค้ามากเกินไป 4 ระบบใบกำกับสินค้า (Invoicing System) เพื่อออก Packing Slip และใบกำกับสินค้าส่งไปยังลูกค้า เพื่อสะดวกในการอ้างอิง ตรวจสอบการจัดส่ง และตรวจรับสินค้า
ระบบย่อยของระบบปฏิบัติการทางธุรกิจระบบย่อยของระบบปฏิบัติการทางธุรกิจ 5 ระบบส่งสินค้า (Shipping System) • ควบคุมการจัดส่งตามวิธีการที่กำหนด เช่น ทางอากาศ ทางเรือ ทางบก • ตรวจสอบสภาพสินค้าในตำแหน่งต่างๆ เปรียบเทียบกันได้ 6 ระบบบัญชีลูกหนี้ (Accounts Receivable System) • ดูแลการสั่งซื้อสินค้า การชำระเงิน ยอดงบดุลของลูกค้าแต่ละคน • เพื่อทราบสถานะของลูกค้า เพื่อประกอบการตัดสินใจในการขายและให้สินเชื่ออย่างมีประสิทธิภาพ
ระบบย่อยของระบบปฏิบัติการทางธุรกิจระบบย่อยของระบบปฏิบัติการทางธุรกิจ 7 ระบบสั่งซื้อสินค้า (Purchasing System) เพื่อจัดซื้อสินค้าตามความต้องการในการดำเนินธุรกิจ ปัจจุบันสามารถเชื่อมต่อระบบสั่งซื้อสินค้า ทั้งผู้ขายวัตุดิบและลูกค้า เพื่อให้การซื้อ ขาย และจัดส่ง มีประสิทธิภาพ 8 ระบบรับสินค้า (Receiving System) อยู่ในแผนกตรวจรับสินค้า เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้ในการตรวจรับสินค้าที่ส่งมาจากผู้ขายวัตถุดิบ โดยตรวจสอบคุณภาพของสินค้าก่อนที่ได้รับ หรือทำการปฏิเสธสินค้าที่จะรับ หากสินค้าไม่ตรงกับความต้องการ
ระบบย่อยของระบบปฏิบัติการทางธุรกิจระบบย่อยของระบบปฏิบัติการทางธุรกิจ 9 ระบบบัญชีเจ้าหนี้ (Account Payable) ช่วยให้ผู้ใช้ดูแลการจ่ายเงินให้แก่ผู้ขายวัตถุดิบ ตามใบกำกับสินค้าที่ส่งมาพร้อมสินค้า รวมถึงการจ่ายเช็คเพื่อออกเงิน และกำหนดเวลาการจ่ายหนี้ที่เหมาะสม 10 ระบบบัญชีแยกประเภททั่วไป (General Ledger System) รวบรวมข้อมูลทางการบัญชีจากระบบย่อยอื่นๆ โดยจะประมวลผลข้อมูลทางการบัญชี การวางแผนงบประมาณทางธุรกิจ เป็นแหล่งข้อมูลในการจัดทำสารสนเทศสำหรับการบริหาร
2. ระบบจัดทำรายงานสำหรับการจัดการ(management reporting system:MRS) • เพื่อรวบรวมข้อมูล ประมวลผลข้อมูล จัดระบบและจัดทำรายงานหรือเอกสาร • ช่วยในการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับการบริหาร • ถูกใช้สำหรับการวางแผน การตรวจสอบ และการควบคุมการจัดการ
คุณสมบัติของ MRS • สามารถที่จะสนับสนุนการตัดสินใจทั้งที่เป็นแบบโครงสร้างและกึ่งโครงสร้างอย่างประสิทธิภาพเนื่องจากปัญหาของผู้บริหารจะมีความหลากหลายและไม่มีรูปแบบที่แน่นอน ดังนั้นจึงต้องยืดหยุ่นในการจัดการสารสนเทศให้เหมาะสม(ประเภทการตัดสินใจ) • ผลิตเอกสารหรือรายงานตามตารางที่กำหนด และนำเสนอให้ผู้จัดการหรือผู้ใช้เพื่อทำการตรวจสอบ แก้ไข • ถูกผลิตออกมาในรูปแบบที่คงที่หรือถูกกำหนดไว้ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถนำไปใช้งานตามความต้องการ ตลอด
คุณสมบัติของ MRS 4. สารสนเทศที่อยู่ในรูปรายงานหรือเอกสาร มักเป็นสารสนเทศที่เกิดขึ้นในอดีต MRS จะรวบรวมและประมวลผลข้อมูลที่เกิดขึ้นแล้วเสนอต่อผู้จัดการเพื่อทำการศึกษา วิเคราะห์ และตัดสินใจ 5. เอกสารส่วนใหญ่ผลิตในรูปแบบของกระดาษ ซึ่งจะใช้กับผู้จัดการที่ไม่คุ้นเคยกับเทคโนโลยีสารสนเทศที่ไม่ใช้กระดาษ
ประเภทของรายงาน (report) 1. รายงานที่ออกตามตาราง (schedule report) - เป็นรายงานที่จัดทำขึ้นตามระยะเวลาที่กำหนดแน่นอน เช่นประจำวัน ประจำสัปดาห์ หรือประจำเดือน - จะสรุปผลการดำเนินงานในแต่ละช่วงที่ผ่านมา 2. รายงานที่ออกในกรณีพิเศษ (exception report) - เป็นรายงานที่จัดทำขึ้นเมื่อมีสิ่งผิดปกติหรือปัญหาเฉพาะหน้าเกิดขึ้น ซึ่งต้องให้ผู้บริหารรับทราบ - เช่น รายชื่อลูกคค้าที่ค้างชำระ
ประเภทของรายงาน (report) 3. รายงานที่ออกตามความต้องการ (demand report) - เป็นรายงานที่จัดทำขึ้นตามความต้องการของผู้บริหารเพื่อให้ผู้บริหารเกิดความเข้าใจปัญหาและสามารถตัดสินใจอย่างเหมาะสม 4. รายงานที่ออกเพื่อพยากรณ์ (predictive report) - เป็นรายงานที่ให้ข้อสารสนเทศที่ช่วยในการตัดสินใจของผู้บริหาร - ช่วยให้ผู้บริหารสามารถมีแนวทางในการเลือกตัดสินใจ
คุณสมบัติของสารสนเทศในระบบการจัดทำรายงาน 1. ตรงประเด็น (relevance) รายงานที่ออกควรจะบรรจุด้วยสารสนเทศที่เป็นประโยชน์ต่อผู้บริหาร 2. ความถูกต้อง (accuracy)รายงานต้องมีสารสนเทศที่ถูกต้อง ไม่มีข้อผิดพลาด และเป็นที่เชื่อถือ 3. ถูกเวลา (timeliness)จะต้องเป็นสารสนเทศที่ทันสมัยและทันเวลา 4. สามารถพิสูจน์ได้ (verifiability)สามารถตรวจสอบแหล่งที่มาได้ และเป็นที่น่าเชื่อถือเพียงใด
คุณสมบัติของสารสนเทศในระบบการจัดทำรายงาน ตรงประเด็น Relevance คุณสมบัติ ถูกต้อง Accuracy สามารถพิสูจน์ได้ Verifiability ถูกเวลา Timeliness
3.ระบบสารสนเทศสำนักงาน(office information system:OIS) • ประกอบขึ้นจากเทคโนโลยีสารสนเทศและเทคโนโลยีเครื่องใช้สำนักงานที่ถูกออกแบบให้ปฏิบัติงานร่วมกัน • เพื่อช่วยให้การทำงานในสำนักงานมีประสิทธิภาพ • เพื่อที่จะอำนวยความสะดวกในการติดต่อสื่อสารระหว่างพนักงานภายในองค์การเดียวกัน
ประเภทของระบบสารสนเทศสำนักงานประเภทของระบบสารสนเทศสำนักงาน ระบบจัดการเอกสาร ระบบควบคุมและส่งผ่านข่าวสาร ระบบสารสนเทศสำหรับสำนักงาน ระบบประชุมทางไกล ระบบสนับสนุนการดำเนินงานในสำนักงาน
1.ระบบจัดการเอกสาร (document management system)ถูกพัฒนาขึ้นให้มีหน้าที่ดูแลเกี่ยวกับการจัดทำ กระจาย และเก็บรักษาเอกสารต่างๆ ภายในองค์การ ประกอบไปด้วยเครื่องมือสำคัญต่อไปนี้ - การประมวลคำ (word processing)เช่น การจัดรูปแบบงานพิมพ์ การทำตาราง การจัดเรียงหน้า การจัดทำสารบัญ และการตรวจสอบคำผิด - การผลิตเอกสารหลายชุด (repropaphics)เป็นการผลิตเอกสารแบบเดียวกันหลายๆชุด เพื่อที่จะเผยแพร่ทั้งภายในและภายนอกสำนักงาน
- การออกแบบเอกสาร (desktop publishing)เป็นชุดคำสั่งที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถผลิตเอกสารและสิ่งพิมพ์ให้มีคุณภาพ ออกแบบและจัดรูป เช่น สามารถใส่ตัวหนังสือ รูปภาพ หรือลวดลายต่างๆ ลงบนหน้ากระดาษ • การประมวลรูปภาพ (image processing)นำรูปภาพจากเอกสารต่างๆ มาเก็บไว้ในฐานข้อมูล และสามารถเรียกกลับมาทำการดัดแปลงเพื่อใช้งานได้ - การเก็บรักษา (archival storage)เป็นการเก็บรักษาข้อมูลในหน่วยความจำสำรอง เช่น เทปแม่เหล็ก ไมโครฟิลม์ (microfilm) แผ่นจานแม่เหล็กหรือแผ่น CD เป็นต้นโดยเฉพาะ
2. ระบบควบคุมและส่งผ่านข่าวสาร (message–handling system)เป็นระบบสารสนเทศที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อควบคุมการกระจายและการใช้งานข่าวสารในสำนักงาน ประกอบด้วย - โทรสาร (facsimile)หรือที่เรียกว่า เครื่องแฟกซ์ (FAX) - ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (electronic mail)หรือที่เรียกว่า e-mail - ไปรษณีย์เสียง (voice mail)เป็นการส่งผ่านข่าวสารที่เป็นเสียงจากที่หนึ่งไปสู่อีกทีหนึ่งโดยผ่านระบบโทรศัพท์
3. ระบบประชุมทางไกล (teleconferencing)เป็นระบบเชื่อมโยงบุคคลตั้งแต่ 2 คนซึ่งอยู่กันคนละที่ให้สามารถประชุมหรือโต้ตอบกันได้ แบ่งออกได้เป็น 5 ประเภท - การประชุมทางไกลที่ใช้ทั้งภาพและเสียง (video teleconferencing)เป็นระบบที่สนับสนุนให้คู่สนทนาสามารถมองเห็นและได้ยินเสียงซึ่งกันและกันได้ โดยรวมเอาเทคโนโลยีทางด้านเสียงและภาพโทรทัศน์เข้าด้วยกัน - การประชุมทางไกลใช้เฉพาะเสียง (audio teleconferencing)เป็นระบบที่สนับสนุนให้คู่สนทนาสามารถได้ยินเสียงและโต้ตอบกันอย่างมีประสิทธิภาพ
การประชุมโดยใช้คอมพิวเตอร์ (computer conferencing)เป็นระบบที่ใช้ส่งข่าวสารหรือช่วยให้คู่สนทนาสามารถโต้ตอบและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันโดยผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ - โทรทัศน์ภายใน (in-house television)การสร้างห้องส่งและออกอากาศรายการโทรทัศน์ภายในองค์การ โดยอาจเป็นการถ่ายทอดสดหรือการบันทึกเทปและนำมาออกอากาศหมุนเวียนกันเพื่อให้สมาชิกภายในองค์การได้รับทราบและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน -การปฏิบัติงานผ่านระบบสื่อสารทางไกล (telecommuting)โดยต่อเชื่อมคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์การทำงานเข้ากับระบบเครือข่ายของสำนักงาน ซึ่งจะช่วยให้บุคคลสามารถทำงานอย่างเต็มที่โดยไม่เสียเวลาให้กับการเดินทาง
4 ระบบสนับสนุนการดำเนินงานในสำนักงาน(office support system)เป็นระบบสารสนเทศที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อช่วยให้พนักงานในสำนักงานเดียวกันใช้เทคโนโลยีที่มีอยู่ในสำนักงานให้เกิดประโยชน์ในการทำงานร่วมกันอย่างเต็มที่ โดยแบ่งได้เป็นหลายระบบดังต่อไปนี้ - ชุดคำสั่งสำหรับกลุ่ม (group ware)เพื่อที่จะสนับสนุนให้พนักงานสามารถใช้บริการของอุปกรณ์หรือชุดคำสั่งที่ช่วยอำนวยความสะดวกในองค์การร่วมกัน เช่น E-mail, Word Processing, Fax, และ Voice Mail เป็นต้น
- ระบบจัดระเบียบงาน (desktop organizers)เป็นระบบที่ที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถจัดการกับตารางเวลา จดบันทึก และรายชื่อ ตลอดจนเลขหมายโทรศัพท์ของบุคคลที่เกี่ยวข้องอย่างมีประสิทธิภาพ - คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบ (computer aide design : CAD)เป็นการทำงานที่นำคอมพิวเตอร์มาช่วยในการออกแบบ โดยผู้ใช้สามารถออกแบบ ดูภาพเสมือน และทดสอบผลงานบนหน้าจอ
- การนำเสนอประกอบภาพ (presentation graphics)ช่วยให้การจัดเตรียมและการนำเสนองานมีประสิทธิภาพ โดยผู้ใช้สามารถวางแผน จัดขั้นตอนการนำเสนอข้อมูลและรูปภาพอย่างสอดคล้องกัน - กระดาษข่าวสารในสำนักงาน (in-house electronic bulletin board)เป็นระบบการเผยแพร่ข่าวสารทางอิเล็กทรอนิกส์ภายในสำนักงานผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อกระจายและแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารภายในหน่วยงานโดยไม่เสียเวลาและทรัพยากร
ประเภทการตัดสินใจ • การตัดสินใจแบบโครงสร้าง( Structure)บางครั้งเรียกว่าแบบกำหนดไว้ล่วงหน้าแล้ว( programmed) เป็นการตัดสินใจเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นประจำ จึงมีมาตรฐานในการตัดสินใจเพื่อแก้ปัญหาอยู่แล้ว โดยวิธีการในการแก้ปัญหาที่ดีที่สุดจะถูกกำหนดไว้อย่างชัดเจน ตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ - เช่น การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับสินค้าคงคลัง จะต้องสั่งของเข้า( Order Entry) ครั้งละเท่าไร เมื่อใด
ประเภทการตัดสินใจ 2. การตัดสินใจแบบไม่เป็นโครงสร้าง ( Unstructure)บางครั้งเรียกว่า แบบไม่เคยกำหนดล่วงหน้ามาก่อน ( Nonprogrammed) เป็นการตัดสินใจเกี่ยวกับปัญหาซึ่งมีรูปแบบไม่ชัดเจนหรือมีความซับซ้อน จึงไม่มีแนวทางในการแก้ปัญหาแน่นอน เป็นปัญหาที่ไม่มีการระบุวิธีแก้ไว้อย่างชัดเจนว่าต้องทำอะไรบ้าง การตัดสินใจกับปัญหาลักษณะนี้ จะไม่มีเครื่องมืออะไรมาช่วย มักเป็นปัญหาของผู้บริหารระดับสูง ต้องใช้สัญชาตญาณ ประสบการณ์ และความรู้ของผู้บริหารในการตัดสินใจ เช่น การวางแผนการบริการใหม่ , การว่าจ้างผู้บริหารใหม่เพิ่ม หรือการเลือกกลุ่มของโครงงานวิจัยและพัฒนาเพื่อนำไปใช้ในปีหน้า
ประเภทการตัดสินใจ 3. การตัดสินใจแบบกึ่งโครงสร้าง ( Semistructure ) เป็นการตัดสินใจแบบผสมระหว่างแบบโครงสร้างและแบบไม่เป็นโครงสร้าง คือบางส่วนสามารถตัดสินใจแบบโครงสร้างได้ แต่บางส่วนไม่สามารถทำได้ โดยปัญหาแบบกึ่งโครงสร้างนี้ จะใช้วิธีแก้ปัญหาแบบมาตรฐานและการพิจารณาโดยมนุษย์รวมเข้าไว้ด้วยกัน คือมีลักษณะเป็นกึ่งโครงสร้าง แต่มีความซับซ้อนมากขึ้น ขั้นตอนจึงไม่ชัดเจนว่า จะมีขั้นตอนอย่างไร ปัญหาบางส่วนเขียนเป็นแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ได้ แต่ปัญหาบางส่วนไม่สามารถเขียนออกมาในรูปของแบบจำลองได้ - ตัวอย่างการตัดสินใจแบบกึ่งโครงสร้าง เช่น การทำสัญญาทางการค้า , การกำหนดงบประมาณทางการตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์ BACK