1.07k likes | 2.57k Views
แผนการให้บริการช่วยเหลือเฉพาะครอบครัว Individualized Family Service Plan. IFSP. ดร.สมพร หวานเสร็จ ผู้อำนวยการเชี่ยวชาญ โรงเรียนพิบูลประชาสรรค์. ขั้นตอนกระบวนการปรับเปลี่ยนทางอารมณ์ ของผู้ปกครอง ตั้งแต่รู้ว่ามีลูกพิการ. ยอมรับ. เรียบเรียงความคิด. ไม่ตอบสนอง. เศร้า. โกรธ. ปฏิเสธ.
E N D
แผนการให้บริการช่วยเหลือเฉพาะครอบครัวแผนการให้บริการช่วยเหลือเฉพาะครอบครัว Individualized Family Service Plan IFSP ดร.สมพร หวานเสร็จผู้อำนวยการเชี่ยวชาญ โรงเรียนพิบูลประชาสรรค์
ขั้นตอนกระบวนการปรับเปลี่ยนทางอารมณ์ ของผู้ปกครอง ตั้งแต่รู้ว่ามีลูกพิการ ยอมรับ เรียบเรียงความคิด ไม่ตอบสนอง เศร้า โกรธ ปฏิเสธ ตกใจ
รูปแบบการพัฒนาศักยภาพเด็กพิการโดยครอบครัวรูปแบบการพัฒนาศักยภาพเด็กพิการโดยครอบครัว รูปแบบที่ 1 ปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ (Expert Model) รูปแบบที่ 2 การส่งต่อความรู้ (Transplant Model) รูปแบบที่ 3 ผู้ปกครองเป็นลูกค้าที่มารับบริการ (Consumer Model) รูปแบบที่ 4 การมีส่วนร่วมระหว่างผู้ปกครอง กับผู้เชี่ยวชาญ (Partnership Model )
หลักการสำคัญของ IFSP • ตระหนักว่าครอบครัวเป็นรากฐานที่สำคัญของชีวิต • อื้ออำนวยให้เกิดการประสานความร่วมมือระหว่าง ครอบครัวและบุคลากรที่เกี่ยวข้อง • รู้และเข้าใจถึงศาสนา วัฒนธรรมและฐานะทางการเงินของครอบครัว • เข้าใจถึงจุดแข็งและความแตกต่างของวิถีชีวิตของแต่ละครอบครัว • ครอบครัวได้แลกเปลี่ยนข้อมูลต่างๆ เพื่อช่วยในการตัดสินใจช่วยเหลือ • ตระหนักถึงความสำคัญของพัฒนาการที่จำเป็นของเด็กและครอบครัว • จัดหาบริการต่างๆ อย่างต่อเนื่องให้กับครอบครัว • จัดให้มีบุคลากรที่เกี่ยวข้องทำการประเมิน รักษา แนะนำ และให้บริการอย่างมีคุณภาพ
หลักการสำคัญของ IFSP • จัดให้มีบริการสนับสนุนและบรรเทาความเครียด ด้านอารมณ์ การเงิน การศึกษา การรักษาพยาบาลแก่ครอบครัว • สนับสนุนการสร้างเครือข่ายของผู้ปกครอง • เคารพสิทธิของครอบครัวในการเลือกรับบริการ • จัดทำแผนการช่วยเหลือตามลำดับและตรงตามความต้องการของครอบครัว • มีความยืดหยุ่น เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและเป็นประโยชน์ต่อเด็ก
ความหมาย The Nebraska Department of Education (2004) “เป็นแผนที่บันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรซึ่งเกิดจากกระบวนการประชุมกันระหว่างครอบครัวและนักวิชาชีพ เพื่อพัฒนาเด็กพิการตั้งแต่แรกเกิดถึง 3 ขวบ ถือเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายด้านการศึกษาพิเศษ”
ขั้นตอนการส่งต่อ(Referral) เพื่อประสานการรับบริการ • คำนึงถึงการยินยอมจากครอบครัวและประโยชน์ที่เด็กจะได้รับ
2. ครอบครัวเด็กพบผู้ประสานงานเพื่อรับบริการในครั้งแรก • ครอบครัวมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลและพูดถึงปัญหาความต้องการของเด็ก • ผู้ประสานงานให้ความรู้เกี่ยวกับสิทธิและการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่ม บทบาทหน้าที่ของครอบครัว
3. ทีมสหวิชาการ (นักการศึกษา นักจิตวิทยา นักแก้ไขการพูด นักกายภาพบำบัด นักกิจกรรมบำบัด นักตรวจการได้ยิน พยาบาล แพทย์ ฯลฯ) ประเมินความสามารถพื้นฐาน/พัฒนาการ
4. ประชุมทีมสหวิทยาการ เพื่อจัดทำร่าง IFSP
5. ชี้แจงและแลกเปลี่ยน ข้อมูลผลการประเมินกับครอบครัว
ถ้าครอบครัวไม่เห็นด้วยถ้าครอบครัวไม่เห็นด้วย ส่งต่อเพื่อรับบริการอื่นหรือ ออกจากบริการ ถ้าครอบครัว เห็นด้วย จัดทำแผนให้บริการเฉพาะครอบครัว
6. การจัดตั้งทีมให้บริการ ได้แก่ 6.1 ครอบครัว พ่อแม่ เพราะมีข้อมูล รับรู้ความต้องการ ของเด็ก และเป็นผู้ตัดสินใจรับบริการ 6.2 สมาชิกในครอบครัวคนอื่นที่พ่อแม่พิจารณาเห็นว่ามีส่วนช่วยในการดูแลเด็ก 6.3 บุคคลอื่นที่พ่อแม่เห็นว่ามีส่วนสนับสนุนการให้บริการตาม IFSP 6.4 ผู้ประสานงานหรือผู้รับผิดชอบหลักในการจัดทำ IFSP 6.5 ผู้ประเมินความสามารถ/พัฒนาการของเด็ก 6.6 บุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการ เช่นแพทย์ นักแก้ไขการพูด ฯลฯ
7.การประเมินโดยละเอียด ก่อนการให้บริการตาม IFSP รวบรวมข้อมูลที่ได้จากการสังเกต การประเมิน และสัมภาษณ์ เช่น • ความสามารถหรือพัฒนาการเด็ก • กิจวัตรประจำวันของเด็กและครอบครัว • ความสามารถของครอบครัวในการดูแลเด็ก • สภาพแวดล้อมของเด็ก • โอกาสในการใช้สิ่งแวดล้อม เพื่อการเรียนรู้ เช่น สนามหญ้า เพื่อใช้ฝึกการคลาน การนั่งบนกะบะทราย • ปัญหาและความต้องการของครอบครัว • จุดแข็งและสิ่งที่สามารถช่วยสนับสนุน ครอบครัวให้เผชิญกับปัญหา
8. ประชุมทีมผู้ให้บริการเพื่อวางแผนการให้บริการ โดยคำนึงถึง • ความสะดวกของครอบครัว วัฒนธรรมและภาษาที่ใช้ในการสื่อสารภายในครอบครัว • ลำดับความสำคัญของกิจกรรม • กำหนดกิจวัตรประจำวัน การเก็บรวบรวมข้อมูล การกำหนดกำหนดเป้าหมายและแผนการดำเนินกิจกรรมร่วมกัน
9. เริ่มแผนการบริการตามแผน ภายใน 5 วันหลังการได้รับการยินยอมจากครอบครัว ซึ่งครอบครัวมีสิทธิปฏิเสธแผนฯได้ หากเห็นว่าไม่เหมาะสม
10. ทบทวน IFSPภายใน 6 เดือนหรือตามเหมาะสม
10. ออกจากบริการ เมื่อ • บุคลากรลงความเห็น ตรงกัน • เด็กมีพัฒนาการก้าวหน้า ตามเป้าหมาย • ผู้ปกครองตัดสินใจไม่รับ บริการต่อ • อายุเกิน
องค์ประกอบของ IFSP • ระดับพัฒนาการของเด็ก • การรวบรวมความต้องการจำเป็น • การกำหนดเป้าหมาย และ เกณฑ์การชี้วัดความสำเร็จ • บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่ม • บริการที่เหมาะสมกับแต่ละครอบครัว
องค์ประกอบของ IFSP • ระบุวันเริ่มรับบริการ ช่วงระยะเวลาที่คาดการณ์ไว้สำหรับให้บริการ • ระบุชื่อผู้ประสานงาน • การเตรียมการเพื่อนำไปสู่การปรับแผนครั้งต่อไป
ประโยชน์ของ IFSP • มีแนวทางในการพัฒนาเด็กอย่างถูกวิธี • ครอบครัวทราบเกี่ยวกับบริการ สถานที่ ระยะเวลาและกระบวนการช่วยเหลือ • ครอบครัวได้พัฒนาศักยภาพและมีส่วนร่วมในการกระตุ้นพัฒนาการเด็ก • ครอบครัวและบุคลากรที่เกี่ยวข้องเข้าใจพัฒนาการและความต้องการของเด็ก • ทำให้เกิดการเรียนรู้และมีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างผู้เกี่ยวข้อง ทีมงาน ในการช่วยเหลือเด็กอย่างมีประสิทธิภาพ
ตัวอย่างกิจกรรมในแผนการให้บริการช่วยเหลือเฉพาะครอบครัวตัวอย่างกิจกรรมในแผนการให้บริการช่วยเหลือเฉพาะครอบครัว Individual Family Services Plan: IFSP
ภาษา รัก จากแม่ สู่ลูกออทิสติก
น้องอาร์ม เป็นเด็กชายอายุ 5 ขวบ กรณีศึกษา วิ่งซุกซนไปมาอยู่ไม่นิ่ง ไม่สบตา ไม่มีภาษาพูด ไม่ชอบตัดเล็บ และไม่ชอบสวมหมวก มักจะเดินหมุนตัวเองอยู่เสมอคุณแม่ไม่รู้ว่าจะต้องดูแลอย่างไร
กรณีศึกษา น้องเจน อายุ 4 ขวบ เดินไปมาแต่ไม่คล่องแคล่วมักเดินชนสิ่งกีดขวางไม่รู้จักเจ็บ ไม่รู้ร้อนไม่รู้หนาว สบตาน้อย ไม่สนใจใคร พูด และสื่อสารโดยภาษาท่าทางยังไม่ได้ เดินได้ตอนอายุ 2 ขวบ คุณหมอบอกว่าน้องเป็นออทิสติก
มุมนี้ คุณแม่ใช้ฝึกผมทุกวันครับ
กระตุ้นการรับรู้เอ็นและข้อต่อกระตุ้นการรับรู้เอ็นและข้อต่อ ลูกบอลห้อยติดเพดาน รอยเท้า
ฝึกการทรงตัวและ รับรู้ส่วนต่างๆของร่างกาย ถังกลิ้ง PVC
เก้าอี้หมุน เปลญวน
รถบั๊ม ลวดมัดล้อติดกับไม้
กลิ้งลูกกลมเสียบหลัก เกมข้าวต้มมัด
กระตุ้นการสบตา จ๊ะเอ๋ !
ฝึกการนับ ต่อตัวอักษร รู้จักสีต่าง ๆ