1 / 24

Strategic Alliances and Partnerships

Strategic Alliances and Partnerships. When it comes to the tricky of merging a successful group of companies, it is clear that two and two don’t always make four Price Waterhouse.

rosalyn
Download Presentation

Strategic Alliances and Partnerships

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. Strategic Alliances and Partnerships When it comes to the tricky of merging a successful group of companies, it is clear that two and two don’t always make four Price Waterhouse

  2. Mergers, alliances และ partnerships เป็นเหตุการณ์ทางเศรษฐกิจที่โดดเด่นในทศวรรษที่ 1980 และ 1990 การเป็นพันธมิตรกันเกิดขึ้นเพื่อความมีประสิทธิภาพและอ้างว่าเพื่อประโยชน์ของผู้บริโภค การเป็นพันธมิตรกันนี้มีเหตุผลทางเศรษฐศาสตร์หรือไม่? ทำไมส่วนใหญ่จึงล้มเหลว? อะไรเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ยังคงความเป็นพันธมิตรกัน?

  3. Configuring competition – market power versus market size ในทางเศรษฐศาสตร์ หน่วยธุรกิจสามารถขยายตัวได้ทั้งโดยเส้นทางภายในหรือเส้นทางภายนอก การพัฒนาจากภายในต้องการการลงทุนในโรงงาน เทคโนโลยีและผู้คน ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลา ถ้าบริษัทดำเนินการได้ดีก็จะถึงเวลาที่ต้องเผชิญกับความจำเป็นต้องขยายตัว ซึ่งการซื้อ การควบกิจการ หรือการเป็นพันธมิตรกลายเป็นแนวทางที่มีประสิทธิภาพสุด ต้นทุนต่ำสุดสำหรับการขยายตัว เมื่อมีการควบรวมกิจการหรือการเข้ายึดครอง จะมีการสร้างเอกลักษณ์ใหม่ขึ้น แต่ในกรณีกิจการของการเป็นพันธมิตรหรือหุ้นส่วนทางกลยุทธ์ กิจการที่เกี่ยวข้องยังคงรักษาเอกลักษณ์เดิมอยู่

  4. การรวมตัวกัน (integration) มีสองประเภทคือ แนวดิ่งกับแนวราบ การรวมตัวกันแนวดิ่งเป็นการร่วมมือกันของการผลิตวัตถุดิบกับการผลิตสินค้าสำเร็จรูป เมื่อผู้ผลิตรวมตัวเข้ากับผู้สนองวัตถุดิบอย่างเดียวเราเรียกว่าเป็น backward vertical integration และเมื่อผู้ผลิตรวมตัวเข้ากับผู้กระจายสินค้าอย่างเดียวเราเรียกว่า forward vertical integration การรวมตัวกันแนวดิ่งน่าสนใจเมื่อมีความล้มเหลวทางตลาดเกิดขึ้นที่คุกคามต่อการทำกำไร การทำการผลิตภายในบริษัทช่วยให้ธุรกิจสามารถจัดการได้อยู่ภายในและเอาชนะความล้มเหลวของตลาดได้ แต่ต้องมีต้นทุนในรูปของประสิทธิภาพและราคา

  5. การรวมตัวกันแนวดิ่งมักเป็นทางออกที่ดีที่สุด เมื่อกิจกรรมมีความซับซ้อนและการคุ้มครองทางกฎหมายปกติไม่ครอบคลุมถึง มีปัญหาที่ไม่อาจเรียกร้องความเสียหายได้ถ้ามีการยกเลิกสัญญา และการรวมตัวกันแนวดิ่งก็น่าสนใจเมื่อผู้สนองปัจจัยภายนอกมีเพียงน้อยรายและมักจะฉกฉวยโอกาสหากำไรเกินควร ซึ่งอาจหลีกเลี่ยงได้ด้วยการทำการผลิตภายในธุรกิจเอง การรวมตัวแนวราบเกี่ยวกับการรวมเข้าด้วยกันของหน่วยธุรกิจที่อยู่ระดับเดียวกันทางการผลิตหรือมีกระบวนการผลิตคล้ายคลึงกัน ซึ่งปรากฏการณ์แบบ conglomeration กลายเป็นเรื่องปกติในทศวรรษที่ 1960 เพื่อรวมกันผลิตสินค้าให้หลากหลายเพื่อลดความเสี่ยงให้ต่ำสุด

  6. Why do companies merge or form alliances? • เพื่อปรับปรุงฐานะทางการแข่งขันของธุรกิจเมื่อเผชิญหน้ากับคู่แข่ง การเป็นพันธมิตรทางกลยุทธ์ใช้เพื่อป้องกันการเข้าสู่ตลาดของหน่วยธุรกิจใหม่ • หุ้นส่วนรายหนึ่งอาจใช้การเป็นพันธมิตรเพื่อให้ได้ความสามารถหลักอันใหม่สำหรับธุรกิจหลักของตน • เพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางการขายสำหรับตลาดส่งออก • เพื่อสนับสนุนการตลาดที่มีประสิทธิภาพผ่านทางผู้กระจายสินค้า • เพื่อสร้างธุรกิจใหม่

  7. เพื่อปรับปรุงฐานะทางการแข่งขัน เมื่อไม่มีหุ้นส่วนรายใดเตรียมที่จะเลิกกิจการอย่างสิ้นเชิง • เพื่อบรรลุการประหยัดจากขนาดและจากขอบเขต • เพื่อจัดโครงสร้างใหม่ให้กับภาคธุรกิจที่มีคู่แข่งหนาแน่น • เพื่อเปลี่ยนทิศทางของบรรษัท • เพื่อความร่วมมือกันทางด้าน R&D • เพื่อให้ธุรกิจมีมิติระดับโลก • เพื่อให้เป็นผู้เล่นที่สำคัญระดับโลก • เพื่อลดต้นทุนการลงทุนเสี่ยงอันใหม่ โดยเฉพาะการลงทุนเสี่ยงในไฮเทค

  8. เพื่อเอาชนะลักษณะพิเศษของตลาดท้องถิ่นเพื่อเอาชนะลักษณะพิเศษของตลาดท้องถิ่น • เพื่อบรรลุความมีประสิทธิผลทางการเงิน โดยการเข้ายึดครองธุรกิจอื่นเพื่อให้ได้สินทรัพย์ที่ตีค่าต่ำเกินจริง • เพื่ออยู่รอดในตลาด

  9. การเป็นพันธมิตรช่วยให้ได้ประโยชน์ที่ซ่อนเร้นอยู่การเป็นพันธมิตรช่วยให้ได้ประโยชน์ที่ซ่อนเร้นอยู่ • การเป็นพันธมิตรอาจเป็นแหล่งของนวัตกรรม – ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อนวัตกรรมคือการถ่ายโอนความรู้ • การเป็นพันธมิตรช่วยทดสอบการดำเนินการในสภาพแวดล้อมใหม่ ซึ่งอาจช่วยให้มีการปรับปรุงบางอย่างได้ • การเป็นพันธมิตรอาจช่วยปรับปรุงกระบวนการบริหาร • การเป็นพันธมิตรอาจนำมาซึ่งความท้าทายจากการแข่งขันให้เป็นส่วนหนึ่งขององค์กร ซึ่งก่อนหน้านี้มักถูกเก็บงำไว้ไม่ให้มีการแข่งขันกันภายใน

  10. การเป็นพันธมิตรทางกลยุทธ์เกิดขึ้นเพราะการเป็นพันธมิตรทางกลยุทธ์เกิดขึ้นเพราะ • ตลาดกลายเป็นตลาดระดับโลก • ขนาดและขอบเขตของธุรกิจขยายใหญ่ขึ้น • วงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์สั้นลง • มีความจำเป็นต้องลงทุนอย่างมหาศาล • ธุรกิจดำเนินการในตลาดที่มีความผันผวนสูง

  11. Strategic alliances and increasing returns การเป็นพันธมิตรสร้างการรวมตัวกันของระบบ โครงสร้าง พนักงานและเจ้าหน้าที่ ผลผลิตและกระบวนการผลิต ความสามารถและความรู้ที่รวมเข้าด้วยกันช่วยให้เกิดการทำงานร่วมกัน การเป็นพันธมิตรและการควบรวมกิจการนำไปสู่สถานการณ์ของ 2 + 2 = 5 อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัติการร่วมมือกันทำและความสำเร็จขึ้นอยู่กับการบรรลุความต้องการของทั้งองค์กรและผู้คน องค์กรมีความปรารถนาของตนเอง (what’s in it for us?) เช่นเดียวกับผู้คนในองค์กร (what’s in it for me?)

  12. Diseconomies of mergers, acquisitions and strategic alliances มีการศึกษาจำนวนมากถึงเหตุผลที่ทำให้การควบรวมกิจการและการเป็นพันธมิตรบางกรณีล้มเหลว จากการศึกษาของ Michael Porter พบว่า ความสำเร็จของการรวมกิจการส่วนใหญ่มักเป็นการขยายธุร กรรมอย่างหลากหลายไปสู่สาขาที่เกี่ยวข้อง การขยายไปสู่กิจกรรมที่ไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจเดิมมักล้มเหลว การพิจารณาว่าการควบรวมกิจการประสบความสำเร็จหรือล้มเหลว Harvard Business School ใช้ disinvestment rate ของกิจการที่ถูกควบรวมเข้ามาก่อนหน้านี้เป็นตัวตัดสิน

  13. ส่วน benchmark ที่ McKinsey ใช้เพื่อวัดความสำเร็จคือ ความสามารถของบริษัทที่ อย่างน้อย ต้องสามารถได้รับรายได้คืนเท่ากับต้นทุนที่ใช้ไปเพื่อเข้าควบรวมกิจการนั้นๆ ตามการศึกษาของ McKinsey พบว่าความผิดพลาดที่เกิดขึ้นมักเกิดจาก • ผู้เข้าควบรวมกิจการมักประเมินค่าสูงเกินไปสำหรับศักยภาพที่ได้จากการรวมกิจการนั้นๆ • มักประเมินศักยภาพทางตลาดสูงไป • การบริหารการรวมตัวกันหลังจากมีการควบรวมกิจการแล้วทำได้ไม่ดีเท่าที่ควร ซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญมาก

  14. Why failures occur เหตุผลที่เกิดความไม่ประหยัดและความล้มเหลวของการควบรวมกิจการคือ • ให้ความสนใจมากเกินไปกับกลยุทธ์ความสามารถทำกำไรระยะสั้นมากกว่าการลงทุนในระยะยาว • กลยุทธ์ที่ใช้ไม่เหมาะสม • มักสมมุติว่าความเชี่ยวชาญในธุรกิจหนึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ทันทีในอีกธุรกิจหนึ่ง • มีความขัดแย้งทางวัฒนธรรมระหว่างองค์กร • มีความแตกต่างในสไตล์การบริหารและเป้าหมายทางธุรกิจที่ไม่ชัดเจน

  15. กลยุทธ์หลังการควบรวมไม่ดีพอ ในบางกรณีไม่มีกลยุทธ์ดังกล่าว • บางธุรกิจมองว่าการควบรวมกิจการเป็นเป้าหมาย ที่จริงควรมองว่าการควบรวมเป็นกลยุทธ์การจัดตำแหน่งทางธุรกิจใหม่ในสภาพแวดล้อมที่มีการแข่งขัน • ข้อสมมุติที่มักใช้กันคือ ยิ่งสองกิจการมีความใกล้เคียงในทางธุรกิจมากเท่าใด ยิ่งมีประโยชน์ทางเศรษฐกิจมากเท่านั้น แต่ข้อเท็จจริงยังคลุมเครืออยู่ • การตรวจสอบบัญชีก่อนการควบรวมไม่สมบูรณ์ • ล้มเหลวในการพัฒนาความภักดีต่อองค์กรใหม่

  16. เสน่ห์ของการทำการตกลงมักนำไปสู่การหลงลืมความเป็นจริงของการทำธุรกิจ • ใช้เวลามากไปในการหาและเชื้อเชิญหุ้นส่วน โดยพิจารณาน้อยมากต่อการบริหารหลังการรวมตัวกัน • สิ่งที่เห็นไม่จำเป็นต้องเป็นสิ่งที่จะได้ • การเป็นพันธมิตรจะไม่มีทางประสบความสำเร็จ ถ้าไม่เรียนรู้ที่จะไว้ใจหุ้นส่วน

  17. What makes acquisitions work? • ทำความกระจ่างให้กับวัตถุประสงค์และเป้าหมาย • การบริหารที่ดีเมื่อมีการควบรวม • มีการใช้กลยุทธ์หลังการควบรวมอย่างจริงจัง • วิเคราะห์ทางการเงินอย่างถ้วนทั่ว • มีประสบการณ์การควบรวมมาก่อน • ให้ความสนใจต่อทรัพยากรมนุษย์ • ให้ความสนใจอย่างต่อเนื่องกับการสื่อสารระหว่างกัน • ตระหนักถึงระดับและความรุนแรงของความไม่เหมือนกัน

  18. Managing the integration process • ทำความเข้าใจว่า มูลค่าที่สร้างขึ้นสูงสุดจากการควบรวมเกิดหลังจากที่ตกลงกันแล้ว ไม่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นก่อนหน้านี้ • วางแผนสำหรับการรวมกันก่อนที่จะตกลงกัน ต้องมีการพิจารณาสิ่งที่ต้องทำ คนรับผิดชอบ กำหนดเวลา เป้าหมายที่ต้องการ • ลงไปในรายละเอียด อาจมีความแตกต่างในการลงบัญชี กฎหมายแรงงาน กฎเกณฑ์เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ฯลฯ • พัฒนาแผนการสื่อสารที่ชัดเจน และดำเนินไปตามนั้นตลอดกระบวนการทั้งหมด

  19. The new game for the new economy ความหมายของการแข่งขันเท่าที่ผ่านมาหมายถึง สงคราม (ฆ่า เอาชนะคู่แข่ง lock-in ผู้สนองปัจจัย สถานการณ์แบบ win-lose หรือ win-win) แต่ที่กำลังเพิ่มความสำคัญมากขึ้นในตอนนี้กลายเป็นสันติภาพมากขึ้น การร่วมมือกันเกิดขึ้นเพื่อสร้างสรรค์มูลค่า แทนที่จะแข่งขันกันเพื่อยึดครองมูลค่า ระบบเศรษฐกิจเป็นพลวัตรและมีวิวัฒนาการ ผู้เล่นสร้างตลาดใหม่และมีหลายบทบาท คาดว่า game theory จะกลายเป็นแก่นกลางของการวิเคราะห์ระบบเศรษฐกิจใหม่

  20. มีการร่วมมือกันระหว่างคู่แข่งอยู่มาก แต่การแพร่กระจายของสิ่งที่เราเรียกว่า “competitive collaboration” – joint venture, outsourcing agreement, product licensing, co-operative research – ยังไม่รู้ว่าจะมีผลลัพธ์ระยะยาวอย่างไร การเป็นพันธมิตรเชิงกลยุทธ์สามารถเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับหุ้นส่วนทั้งสองเมื่อเทียบกับบุคคลภายนอก แม้ว่าจะทำให้หุ้นส่วนคนหนึ่งอ่อนแอลงเมื่อเทียบกับหุ้นส่วนอีกคนหนึ่ง โดยเฉพาะการเป็นพันธมิตรระหว่างบริษัทเอเชียกับหุ้นส่วนตะวันตก การร่วมมือกันกลายเป็นเส้นทางต้นทุนต่ำสำหรับคู่แข่งรายใหม่ในการได้มาซึ่งเทคโนโลยีและความสามารถเข้าถึงตลาด

  21. การร่วมมือกันเป็นสิ่งที่จูงใจอย่างมาก เพราะต้องใช้เงินทุนอย่างมากในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่หนึ่ง และการรุกเข้าสู่ตลาดใหม่ ซึ่งมีเพียงสองสามบริษัทเท่านั้นที่สามารถทำได้เองโดยลำพังในทุกๆ สถานการณ์ บริษัทที่ได้ประโยชน์มากสุดจากการร่วมมือกันทางการแข่งขัน มักยึดมั่นอยู่กับกลุ่มของหลักเกณฑ์ธรรมดาแต่ทรงพลัง • การร่วมมือกันเป็นการแข่งขันในรูปแบบที่แตกต่างออกไป บริษัทที่ประสบความสำเร็จไม่เคยลืมว่า หุ้นส่วนใหม่ของตนอาจปลีกตัวไปเมื่อไหร่ก็ได้ การเป็นพันธมิตรมักมีเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ที่ชัดเจน และเป้าหมายของหุ้นส่วนนี้อาจกระทบต่อความสำเร็จทางธุรกิจของตน

  22. ความลงรอยกันไม่ใช่ตัววัดที่สำคัญสุดของความสำเร็จ ที่จริง การขัดแย้งกันในบางครั้งอาจเป็นการแสดงออกที่ดีที่สุดของการร่วมมือกันที่ยังประโยชน์ให้กันและกัน พันธมิตรน้อยรายที่จะดำรงสถานการณ์แบบ win-win ได้ตลอดไป • การร่วมมือกันมีขีดจำกัด บริษัทต้องต่อสู้กับการประนีประนอมกันทางการแข่งขัน พันธมิตรเชิงกลยุทธ์มักมีข้อต่อรองเกิดขึ้นตลอดนอกขอบข่ายของข้อตกลง สารสนเทศที่แลกเปลี่ยนกันเป็นการตัดสินใจวันต่อวัน บริษัทที่ประสบความสำเร็จจะบอกพนักงานทุกระดับว่า ความเชี่ยวชาญและเทคโนโลยีใดที่อยู่นอกขอบเขตสำหรับหุ้นส่วน

  23. การเรียนรู้จากหุ้นส่วนเป็นสิ่งสูงสุด บริษัทที่ประสบความสำเร็จมองพันธมิตรแต่ละรายว่าเป็น ประตูให้เข้าสู่ความสามารถของพันธมิตร จะใช้พันธมิตรเป็นบันไดไปสู่การสร้างความเชี่ยวชาญในขอบเขตที่อยู่นอกเหนือข้อตกลงอย่างเป็นทางการ และจะกระจายความรู้ใหม่นี้อย่างมีระบบไปทั่วทั้งองค์กรของตน

  24. Divestitures ธุรกิจจะเลิกดำเนินงานด้วยเหตุผลดังนี้ • To concentrate on their ‘core’ business activities • To release resources or growth • To restructure their corporate portfolio • To get rid of problem companies • To strength the balance sheet • To enhance their strategic fit

More Related