E N D
รูปแบบของมหาวิทยาลัยอิสระที่พึงประสงค์มีพื้นฐานแนวคิดมาจาก 1. พรบ.การศึกษาแห่งชาติ ปี พ.ศ.2542 มาตรา 36 คือ “ให้สถานศึกษาของรัฐที่จัดการศึกษาระดับปริญญาเป็นนิติบุคคล และอาจจัดเป็นส่วนราชการหรือเป็นหน่วยงานในกำกับของรัฐ ยกเว้นสถานศึกษาเฉพาะทางตามมาตรา 21 ให้สถานศึกษาดังกล่าวดำเนินกิจการได้โดยอิสระ สามารถพัฒนาระบบบริหารและการจัดการที่
เป็นของตนเอง มีความคล่องตัว มีเสรีภาพทางวิชาการ และอยู่ภายใต้การกำกับ ดูแลของสภาสถานศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งสถานศึกษานั้น ๆ (ม.21 “กระทรวง ทบวง กรม รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐ อาจจัดการศึกษาเฉพาะทางตามความต้องการ และความชำนาญของหน่วยงานนั้นได้ โดยคำนึงถึงนโยบาย และมาตรฐานการศึกษาของชาติ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์, วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง”)
ตีความตาม ม.36 แสดงว่า สถานศึกษาของรัฐที่จัดการศึกษาระดับปริญญาตรี มีฐานะเป็นนิติบุคคล และอาจเป็นส่วนราชการ หรือเป็นหน่วยงานในกำกับของรัฐก็ได้ ซึ่งสถานศึกษาดังกล่าวสามารถดำเนินกิจการได้โดยอิสระ สามารถพัฒนาระบบบริหารและการจัดการที่เป็นของตนเอง มีความคล่องตัว มีเสรีภาพทางวิชาการ และอยู่ภายใต้การกำกับ ดูแลของสภามหาวิทยาลัย ของสถานศึกษาตาม พรบ. ว่าด้วยการจัดตั้งสถานศึกษานั้น
2.มติที่ประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “มิติใหม่ของการปฏิรูปอุดมศึกษาไทย : หัวใจแห่งการพัฒนาชาติ” ของที่ประชุมประธานสภาอาจารย์ มหาวิทยาลัยทั่วประเทศ ประจำปี พ.ศ.2544 ระหว่างวันที่ 9-10 สิงหาคม 2544 ณ โรงแรมอัมรินทร์ลากูน จังหวัดพิษณุโลก ซึ่งผลการประชุมกลุ่มย่อยที่ 6 เรื่อง มหาวิทยาลัยอิสระ มีมติว่า รูปแบบมหาวิทยาลัยอิสระที่เหมาะสม ไม่ควรมีรูปแบบเดียวที่เหมือนกันหมด แต่ควรมีรูปแบบที่หลากหลาย ขึ้นกับ พื้นฐาน ความถนัด ความ-
เข้มแข็ง ศักยภาพ ปัจจัยสนับสนุน วิสัยทัศน์อนาคต และเอกลักษณ์เฉพาะด้านของแต่ละมหาวิทยาลัย โดยรูปแบบการบริหาร อาจจะเป็นนอกระบบราชการ ในระบบราชการ หรือกึ่งระบบราชการหรือรูปแบบอื่น ๆ ส่วนพันธกิจ อาจเป็นมหาวิทยาลัยเฉพาะทาง ที่มุ่งเน้นวิจัยและบัณฑิตศึกษา, มหาวิทยาลัยที่สอนทุกสาขา มหาวิทยาลัยชุมชน ที่มุ่งการบริการวิชาการ โดยมหาวิทยาลัยอิสระ ควรมีหลักการ ดังนี้
1. สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ ต้องมุ่งความเป็นเลิศตามพันธกิจของแต่ละมหาวิทยาลัย และตอบสนองความต้องการของสังคม2. มหาวิทยาลัย ต้องมีความคล่องตัวในการบริหารงาน และมีการตรวจสอบผู้บริหารและบุคลากร อย่างโปร่งใส3. อาจารย์ต้องมีเสรีภาพทางวิชาการ มีความคล่องตัว และชี้นำสังคมได้4. ข้าราชการมหาวิทยาลัย และบุคลากร มีความมั่นคงในการดำรงสถานภาพ
6.สถาบันอุดมศึกษาทุกแห่ง ต้องทุ่มเทในการอบรม สั่งสอน หากลยุทธ์ กิจกรรมต่าง ๆ เพื่ออบรมนักศึกษาให้เป็นบัณฑิตอย่างแท้จริง (คนเก่ง คนดี คนมีความสุข) โดยจัดให้เป็นภาระงานของอาจารย์ในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกับภาระงานวิจัย และการบริการวิชาการ7. สถาบันอุดมศึกษาทุกแห่ง ต้องเป็นขุมปัญญาของชุมชน ด้วยการมีส่วนร่วมในการศึกษาและร่วมแก้ไขปัญหาชุมชนอย่างแท้จริง
8. สถาบันอุดมศึกษาของรัฐทุกแห่ง ต้องเป็นองค์กรที่ไม่แสวงหากำไร (Non-profit Organization)9. สถาบันอุดมศึกษาทุกแห่ง ต้องสร้างระบบบริหารที่เป็นไปด้วยความเกื้อกูล เอื้ออาทรและสมานฉันท์ โปร่งใส ตรวจสอบได้ ประชากรมีส่วนร่วมในการบริหารทุกระดับ10. สภามหาวิทยาลัย สภาคณาจารย์ และองค์กรอิสระที่แต่งตั้งโดยรัฐบาลต้องร่วมกันรับผิดชอบ ดูแล ควบคุมค่าใช้จ่ายทางการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่ประชาชนต้องจ่าย ให้สอดคล้องกับสภาวะ
เศรษฐกิจของประชาชนส่วนใหญ่3. ปรัชญาความเชื่อเกี่ยวกับมนุษย์ในการพัฒนาชุมชน 7 ประการ คือ1. มนุษย์ทุกคนมีศักยภาพที่จะพัฒนาตนเองได้ หากโอกาสอำนวยและมีผู้คอยชี้แนะที่ถูกต้อง2. มนุษย์ทุกคน ต้องการความยุติธรรมที่จะมีชีวิตอยู่ในสังคม (Social Justice) ต้องการอยู่ในสังคมด้วยความสุขกาย สบายใจ (Socil Satisfaction) และต้องการอยู่ร่วมในสังคมให้เป็นที่ยอมรับใน-
สังคมด้วย (Social Acceptability)3. มนุษย์เป็นทรัพยากรที่ประเสริฐ มีค่า และมีความสำคัญที่สุด ดังนั้น จุดเริ่มต้นของการพัฒนา จึงเริ่มที่มนุษย์และความสำเร็จที่สำคัญที่สุด คือการพัฒนามนุษย์4. การพัฒนาต้องเน้นตามแนวทางประชาธิปไตย เน้นถึงความเป็นธรรม มีเหตุผล มีเมตตาธรรม มีศรัทธาในตัวมนุษย์ และการเคารพในศักยภาพและเกียรติภูมิแห่งมนุษย์
5. กระบวนการให้การศึกษา จะช่วยดึงเอาศักยภาพของมนุษย์แต่ละคนที่ซ่อนเร้นอยู่ในตัวให้ออกมาใช้เป็นประโยชน์ต่อตนเอง และชุมชน ส่วนพฤติกรรมของมนุษย์ ทำให้มนุษย์มีคุณภาพและคุณธรรม6. การพัฒนาต้องมีความสมดุลย์กันทั้งการพัฒนาด้านวัตถุและการพัฒนาทางด้านจิตใจ7. การพัฒนาชุมชน ต้องอาศัยการรวมกลุ่ม และการทำงานในกลุ่ม เพื่อก่อให้เกิดพลังกลุ่ม ซึ่งจะ-ทำให้งานพัฒนาต่าง ๆ บรรลุผลสำเร็จได้
4. สถานการณ์วิกฤตทางเศรษฐกิจของประเทศในปัจจุบัน ที่ส่งผลทำให้จำนวนประชากร ที่มีฐานะยากจนมีจำนวนมากขึ้นรายได้ประจำต่อเดือนของคนไทย พ.ศ.2541ขั้นรายได้ ร้อยละของประชากร กทม. กลาง เหนือ อีสาน ใต้ < 2,000 บาท 4.1 33.1 50.7 63.9 45.5 2,000-3,999 บาท 23.4 36.8 29.5 21.8 31.8 4,000-5,999 บาท 21.7 13.6 8.8 7.0 10.3 6,000-7,999 บาท 17.9 7.1 4.3 3.6 5.0 8,000-9,999 บาท 9.3 3.6 2.6 1.9 2.3 10,000-11,999 บาท 6.6 1.7 1.2 0.9 1.6 12,000-14,999 บาท 5.5 1.7 1.0 0.8 0.9 > 15,000 บาท 11.5 2.4 1.9 1.1 2.6