190 likes | 303 Views
Mood effects on eyewitness memory : Affective influences on susceptibility to misinformation ( Joseph P. forgas, Simon M. Laham, Patrick T. Vargas). อิทธิพลของอารมณ์ต่อความจำของพยาน : การตกอยู่ภายใต้ความรู้สึกที่ถูกครอบงำทาง จิตใจ นำไปสู่คำให้การที่ผิดพลาด.
E N D
Mood effects on eyewitness memory: Affective influences on susceptibility to misinformation(JosephP. forgas, Simon M. Laham, Patrick T. Vargas) อิทธิพลของอารมณ์ต่อความจำของพยาน: การตกอยู่ภายใต้ความรู้สึกที่ถูกครอบงำทาง จิตใจ นำไปสู่คำให้การที่ผิดพลาด Present by.. Pitipoom Amornmongkol
Introduction พยานบุคคล จัดว่าเป็นพยานประเภทที่สำคัญ และมีปัญหามากกว่าพยานประเภทอื่น เพราะพยานบุคคลขึ้นอยู่กับปัจจัยพื้นฐานหลายประการที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดการผันแปรหรือเกิดการเปลี่ยนแปลงได้ง่าย
Introduction (2) ปัจจัยที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดการผันแปรเปลี่ยนแปลง • สภาพจิตใจของพยาน • ความสามารถในการจดจำ • ทัศนคติหรือุปนิสัยพื้นฐานที่แตกต่างกัน • อารมณ์ และระยะเวลา ฯลฯ เป็นต้น
ความสามารถในการเป็นพยานบุคคล ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 95 “ ห้ามมิให้ยอมรับฟังพยานบุคคลใดเว้นแต่บุคคลนั้น (1) สามารถเข้าใจและตอบคำถามได้ และ (2) เป็นผู้ที่ได้เห็น ได้ยิน หรือทราบข้อความเกี่ยวในเรื่องที่จะให้การเป็นพยานนั้นมาด้วยตนเองโดยตรง แต่ความในข้อนี้ให้ใช้ได้ต่อเมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายโดยชัดแจ้งหรือคำสั่งของศาลว่าให้เป็นอย่างอื่น”
หลัก “Competency of witness” พยานบุคคลที่จะมาเบิกความต่อศาลต้องมีความรู้ด้วยตนเองในเรื่องที่จะเบิกความ
หลักการชั่งน้ำหนักพยานบุคคลความน่าเชื่อถือของคำเบิกความของพยานบุคคลที่เบิกความต่อศาล 1.การทดสอบความมั่นคง 2.การชั่งน้ำหนักความน่าเชื่อถือ
Objective วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้ได้มุ่งเน้นที่สภาวะทางอารมณ์ ที่มีผลกระทบต่อความสามารถในการจดจำของพยาน โดยมีการตั้งสมมติฐานที่ว่าสภาวะทางอารมณ์ที่ดีนั้นจะมีส่วนทำให้เกิดความสามารถในการจำได้แม่นยำกว่าสภาวะทางอารมณ์ที่ไม่ดีในการทดลองที่ 1 สำหรับการทดลองที่ 2 และการทดลองที่ 3 จะเป็นการตรวจสอบระดับความเข้าใจ และความเชื่อมั่นที่มีผลต่อความแม่นยำในการจดจำ
Experiment1 สมมติฐาน คือ สภาวะทางอารมณ์ที่ดีจะมีส่วนช่วยส่งเสริมในการจำได้ และสภาวะทางอารมณ์ที่ไม่ดีจะทำให้ความอ่อนไหวของคนลดลงได้ ในการได้รับข้อมูลที่ทำให้เกิดการเข้าใจผิด นอกจากนี้ความเหมาะสมของอารมณ์ยังเป็นตัวบ่งชี้ถึงผลกระทบที่มีต่อการจำได้
Experiment1 (2) วิธีการทดลอง ผู้เข้าร่วมการทดลองเป็นนักศึกษา จำนวน 96 คน (ชาย 42 คน, หญิง 54 คน) อายุเฉลี่ยที่ 19 ปี ภาพอุบัติเหตุทางรถยนต์ (เหตุการณ์ทางลบ) ภาพงานฉลองงานแต่งงาน (เหตุการณ์ทางบวก)
Result 1 ระดับอารมณ์ของผู้เข้าร่วมทดลองมีความสัมพันธ์กัน อย่างสูง พบว่าผู้ที่เข้าร่วมที่คิดทางด้านบวกต่อเหตุการณ์ที่ เกิดขึ้นในชีวิต จะมีความเชื่อมั่นทางระดับอารมณ์ที่มากกว่า ผู้ที่คิดในทางลบต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ผลการทดลองนี้เป็นการยืนยันได้ว่ามีผลกระทบเป็นอย่างสูง ต่อการเกิดความแตกต่างของระดับอารมณ์ ที่นำไปสู่การเกิดการเข้าใจผิดของข้อมูล
Experiment2 ใช้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตจริงซึ่งค่อนข้างมีผลกระทบมากกว่าการใช้รูปภาพที่แสดงภาพเหตุการณ์ที่ใช้ในการทดสอบ โดยมีการตั้งสมมติฐานว่าจะมีผลกระทบต่อความคิด ที่อยู่ในจิตใต้สำนึก การศึกษานี้ได้ชี้ให้เห็นว่ามีการเข้าถึงผลกระทบทางจิตใจโดยตรง และทำให้สามารถคาดเดาได้ว่าจะทำให้เกิดการรู้สึกตัวที่ส่งผลกระทบต่อข้อมูล
Experiment2 (2) วิธีการทดลอง ผู้ร่วมทำการทดลองทั้งหมด 144 คน (ชาย 61 คน, หญิง 83 คน) อายุเฉลี่ย 19 ปี ดูวิดีโอ เป็นเวลา 10 นาที ใช้เวลาทดสอบ 1 สัปดาห์
Result2 ผลการทดลองจะเห็นว่าอารมณ์ที่มีความสุขนั้น จะมีระดับความเชื่อมั่นสูงกว่าอารมณ์ปกติ และสภาวะอารมณ์ทางด้านลบนั้นไม่มีระดับความเชื่อมั่น ที่แตกต่างกันกับอารมณ์ที่เป็นปกติ
Experiment3 เป็นการทดลองการตรวจสอบผลกระทบของอารมณ์ที่มีต่อความสามารถในการจำของพยานที่พบได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งผู้รับการทดลองจะมีส่วนร่วม และมีบทบาทในการระงับผลกระทบทางอารมณ์ที่เกิดขึ้น เมื่อได้รับการชี้แนะต่อประเด็นที่มีผู้รับการทดลองมีความสนใจ
Experiment3 (2) วิธีการทดลอง ผู้ร่วมทำการทดลองทั้งหมด 80 คน (ชาย 31 คน, หญิง 49 คน) อายุเฉลี่ย 20 ปี ภาพเหตุการณ์ปล้นร้านค้า (เหตุการณ์ทางลบ) ภาพงานฉลองงานแต่งงาน (เหตุการณ์ทางบวก)
Result3 ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าการได้รับข้อมูลที่เป็นเท็จนั้นทำให้ระดับความเชื่อมั่นของการกระตุ้นทางระดับอารมณ์เพิ่มขึ้น และลดความสามารถของความแม่นยำในการจำลง
Conclusion โดยสรุปแล้วพบว่าในการสอบปากคำพยานผู้เห็นเหตุการณ์นั้นอารมณ์ทั้งทางด้านบวก และอารมณ์ทางด้านลบ ต่างมีส่วนส่งเสริมที่อาจทำให้เกิดการเข้าใจผิดของพยาน ที่อาจก่อให้เกิดการเข้าใจในข้อมูลไปในทางที่ผิดของข้อมูลในความสามารถการจำของพยาน
QUESTION& ANSWER
..Thank You.. ขอกราบขอบพระคุณ พันตำรวจโทหญิง สมวดี ไชยเวช