1 / 74

การจัดหมวดหมู่ 1 (การวิเคราะห์เลขหมู่ 1) CLASSIFICATION 1

การจัดหมวดหมู่ 1 (การวิเคราะห์เลขหมู่ 1) CLASSIFICATION 1. รองศาสตราจารย์ปัญญา สุขแสน โปรแกรมวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ ผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการ สถาบันราชภัฏอุตรดิตถ์. บทที่ 10 สื่อการสอน. รองศาสตราจารย์ปัญญา สุขแสน โปรแกรมวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์.

sahirah
Download Presentation

การจัดหมวดหมู่ 1 (การวิเคราะห์เลขหมู่ 1) CLASSIFICATION 1

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การจัดหมวดหมู่ 1 (การวิเคราะห์เลขหมู่ 1)CLASSIFICATION 1 รองศาสตราจารย์ปัญญา สุขแสน โปรแกรมวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ ผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการ สถาบันราชภัฏอุตรดิตถ์

  2. บทที่ 10สื่อการสอน รองศาสตราจารย์ปัญญา สุขแสน โปรแกรมวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์

  3. ให้นักศึกษาแนะนำตัว

  4. ข้อเสนอแนะจากผู้สอน รักการอ่านและรักการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ฝึกทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ เรียนรู้และใช้คอมพิวเตอร์พื้นฐานได้ รวมทั้ง สามารถใช้อินเตอร์เน็ตได้ บุกคลิกภาพเปิดเผย เบิกบาน และแข็งแรง Globalized Culture

  5. Source Http://library.riu.ac.th Books Online Library links Interesting links การค้นคว้าวัสดุห้องสมุด www.Google.com

  6. Search Engines Google.com LIBRARY AUTOMATION SOFTWARE 020-029 Periodical Index Dewey Decimal Classification Handbooks (3 vols) Sear's list of subject Headings

  7. LIBRARY SYSTEM งานเทคโนโลยีสารสนเทศ งานพัฒนาทรัพยากร งานโสตทัศนวัสดุ งานบริการ งานเทคนิค งานสำนักงาน : บริหาร/จัดการ/ธุรการ งานสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง พัสดุ/สิ่งแวดล้อม

  8. งานพัฒนาทรัพยากร จัดซื้อ / จัดหา / จ้าง การประสานงานกับส่วนราชการ หรือส่วนงานที่เกี่ยวข้อง ฐานข้อมูลร้านค้า / บรรณานุกรม งบประมาณ ระเบียบพัสดุที่เกี่ยวข้อง

  9. งานเทคนิค เลขหมู่ + หัวเรื่อง รายการค้น ฐานข้อมูล เตรียมเล่มเพื่อบริการ การสร้างเสริมตัววัสดุ

  10. งานเลขหมู่ + หัวเรื่อง เรียนรู้ระบบจัดหมู่ของโลก หัวเรื่อง / Subject Headings

  11. นักศึกษาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์นักศึกษาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ เรียนรู้ หนังสือทฤษฎีระบบการจัดหมู่ แหล่งรวมข้อมูลว่าโลกมี เนื้อหาสาระวิชาสำคัญอะไรบ้าง

  12. หนังสือทฤษฎีระบบการจัดหมู่มีมากกว่า 10 ระบบที่นิยมทั่วโลก ดูจาก Books Online (http://library.riu.ac.th) ระบบการจัดหมู่ที่นิยมทั่วโลก D.C. = Dewey Decimal Classification System LC = Library of Congress Classification

  13. ระบบ DC = ระบบเลขหมู่ทศนิยมของดิวอี้ 000 เบ็ดเตล็ด 100 ปรัชญา 200 ศาสนา 300 สังคมศาสตร์ 400 ภาษาศาสตร์ 500 วิทยาศาสตร์ 600 เทคโนโลยี 700 ศิลป การบันเทิง นันทนาการ 800 วรรณคดี 900 ภูมิศาสตร์ - ประวัติศาสตร์

  14. ระบบดิวอี้ ใช้เลขอารบิค 3 ตัว แทนเนื้อหาของวัสดุห้องสมุด หากมีเนื้อหาที่ละเอียด จะใช้เลขทศนิยมต่อท้าย ตัวเลขใหญ่ จะแทนเนื้อหากว้างๆ ตัวเลขย่อย จะแทนเนื้อหาเฉพาะ

  15. วิธีการกระจายตัวเลขของระบบดิวอี้วิธีการกระจายตัวเลขของระบบดิวอี้ 000 300 370 100 310 371 200 320 372 300 330 373 400 340 374 378.1 500 350 375 378.2 600 360 376 378.3 700 370 377 378.34 800 380 378 378.9 900 390 379 หมวดใหญ่ หมวด หมู่ หมู่ย่อย

  16. ดาวตก ดาวหาง การสำรวจอวกาศ สะเก็ดดาว ดาวพูลโต บรรยากาศนอกโลก ดาราศาสตร์ D.C. 520 520-529 500 Service Books

  17. ยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ โปรแกรมห้องสมุดอัตโนมัติ ฐานข้อมูลเลขหมู่ ฐานข้อมูลหัวเรื่อง ป้อนหัวเรื่อง / เนื้อหาสำคัญ สร้างฐานข้อมูล Worksheet Database วัสดุห้องสมุด วัสดุห้องสมุด

  18. การจัดหมู่ =CLASSIFICATION กระบวนการวิเคราะห์เนื้อหา วัสดุห้องสมุดให้ได้ประเด็นว่ามีเนื้อหาเจาะจงอะไร จากนั้นใช้หนังสือระบบจัดหมู่ เลือกสรรตัวเลข หรือสัญลักษณ์ ที่ตรงกับเนื้อหาของวัสดุห้องสมุดแทนวัสดุห้องสมุดนั้นๆ ดังนั้น ตัวเลขหรือสัญลักษณ์ที่ได้คือ ตัวแทนเนื้อหาของวัสดุห้องสมุด

  19. การจัดหมู่ การพิจารณากำหนดสัญลักษณ์ให้ตรงกับเนื้อหาของวัสดุห้องสมุด ตามคู่มือแผนการจัดหมู่ สัญลักษณ์ที่ได้คือ ตัวแทนของหนังสือ

  20. ซอเยอร์ส (Sayers)ผู้เชี่ยวชาญด้านบรรณารักษศาสตร์ กล่าวว่า พื้นฐานที่สำคัญของห้องสมุด (Library) คือ หนังสือ (Books) และพื้นฐานสำคัญที่สุดของวิชาบรรณารักษศาสตร์ คือ การจัดหมู่หากไม่มีการจัดหมู่ และระบบการจัดหมู่ที่ดีคงไม่มีบรรณารักษ์ (Librarian) คนใดสร้างบริหารบริการห้องสมุดได้ และมนุษย์จะไม่มีระบบจัดเก็บสิ่งที่มนุษย์บันทึกไว้ เพื่อศึกษาและส่งต่อให้มนุษย์ในยุคต่อไป

  21. บรรณารักษ์ฝ่ายจัดหมู่บรรณารักษ์ฝ่ายจัดหมู่ รักการอ่านติดตามความเคลื่อนไหวสารสนเทศใหม่ ๆ เข้าใจระบบการจัดหมู่สำคัญของโลกได้ดีพอสมควร มีความสามารถในการใช้หนังสือแผนการจัดหมู่ มีความแม่นยำในการสรุปเนื้อหาของวัสดุห้องสมุดได้อย่างถูกต้อง มีจิตใจมุ่งมั่น บากบั่น ไม่ท้อถอย ให้การยอมรับคำแนะนำจากผู้รู้ผู้เชี่ยวชาญ เร่งรัดที่จะกำหนดเลขหมู่แก่วัสดุห้องสมุดด้วยความรวดเร็วเพื่อออกสู่การให้บริการแก่ผู้ค้นคว้า สามารถปฏิบัติงานโดยอิสระ ไม่พะวงว่ามีผู้ใดจะเห็นสิ่งที่ตนปฏิบัติหรือไม่

  22. ประโยชน์ของการจัดหมู่ประโยชน์ของการจัดหมู่ - อำนวยประโยชน์ต่อการจัดเก็บ และบริการวัสดุห้องสมุด - เป็นระบบที่เป็นสากลทุกคนเข้าใจได้ - ใช้ตรวจสอบว่ามีวัสดุห้องสมุดแต่ละสาขาเพียงพอหรือไม่ - เป็นกติกากลางที่ผู้ปฏิบัติงานใช้เป็นคู่มือในการทำงานร่วมกัน หรือต่องานกัน - วัสดุห้องสมุดมีสัญลักษณ์ประจำตัว - วัสดุห้องสมุดที่มีเนื้อหาเหมือนกันจะอยู่ที่เดียวกัน เนื้อหาที่ ใกล้เคียงกันจะอยู่ใกล้กัน

  23. - เป็นจุดเริ่มต้นของงานบริการ หลังจากจัดหาวัสดุห้องสมุด มาให้บริการ - ประยุกต์ใช้กับเทคโนโลยีสารสนเทศไทย - ประยุกต์ใช้กับระบบงานอื่น ๆ ได้

  24. การกำหนดเลขหมู่ หมวดใหญ่ หมวด หมู่ หมู่ย่อย นำไปใช้ หมู่ย่อย + ตาราง 300 370 370 - 379 371 371 - 379 373.9 + (-593) 373.9 นำไปใช้ 373.9593

  25. กิจกรรม 1 แบ่งนักศึกษาออกเป็น 10 กลุ่ม แต่ละกลุ่มให้จัดหมวดใหญ่ของระบบ DC รวมทั้งเนื้อหาสาระภายในหมวด นำข้อมูลที่ได้มาบรรยายหน้าชั้น ให้แต่ละกลุ่มเขียนเนื้อหาของวิชาในหมวดที่รับผิดชอบ กลุ่มละ 20 ประเด็น สับเปลี่ยน / และทดสอบ D.C.

  26. การทดสอบ นำผลงานของแต่ละกลุ่มมาคละกัน ให้แต่ละกลุ่มกำหนดเลขหมู่ การแบ่งครั้งที่ 1 ใช้เวลากลุ่มละ 15 นาที ส่งข้อมูลที่อาจารย์

  27. กิจกรรมที่ 2 ให้แต่กลุ่มค้นหาหนังสือจากโปรแกรมห้องสมุดอัตโนมัติ หรือที่ http://library.riu.ac.th กลุ่มละ 20 ชื่อเรื่อง เขียนลง Card Exam : การก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำ คละ และแลกเปลี่ยนระหว่างกลุ่ม ใช้คู้มือ D.C. ชั้น 5 กำหนดเลขหมู่การแบ่ง ครั้งที่ 2

  28. วิธีเพิ่มคุณภาพ ตัวเลขในแผน ตัวเลขในตาราง เนื้อหาที่เฉพาะลึก และละเอียด

  29. การใช้ตาราง เพิ่มเลขหมู่จากหนังสือแผนการจัดหมู่ ตัวเลขเฉพาะเจาะจง รองรับการขยายตัวของเนื้อหาที่ต้องการความเฉพาะเจาะจง แสดงศักยภาพทางการวิเคราะห์เนื้อหา และการกำหนดเลขหมู่ของบรรณารักษ์ แสดงความแตกต่างของเนื้อหาที่ต่างกัน และเฉพาะเจาะจง

  30. 300 หมวดใหญ่ 310 320 330 340 350 หมวด 360 370 380 390

  31. 370หมวด 371 372 373 374 375 หมู่ 376 377 378 379

  32. 373หมู่ 373.1 373.2 373.3 373.5 หมู่ย่อย 373.9

  33. 373.9 ในแผนการจัดหมู่กำหนด หรือระบุว่าให้ใช้ กับตารางที่ 2 ได้ ตารางที่ 2 ตารางเลขแสดงภูมิภาค ( -42 ) = UK. 373.9 + (-42) = 373.942

  34. ตารางที่ 1 = เลขแสดงวิธีเขียน -01 ปรัชญา ทฤษฎี -02 ย่อเรื่อง / คู่มือ / หลักสูตร / ตาราง -03 พจนานุกรม สารานุกรม ปทานุกรม -04 (งด) -05 วารสาร / หนังสือรายปี -06 องค์การ / สมาคม -07 การศึกษาและการสอน -08 รวมเรื่อง -09 ประวัติศาสตร์ / ภูมิศาสตร์

  35. 500 =SCIENCE 500 + (-01) 501 (-02) 502 (-03) 503 (-05) 505 (-06) 506 (-07) 507 (-08) 508 (-09) 509

  36. หลักการ 1. ใช้ตารางที่ 1 เมื่อแผนจัดหมู่ระบุให้ใช้ 2. หากเป็นเลขหมวดใหญ่ (การแบ่ง ครั้งที่ 2) ให้ตัด 0 ออก 2 ตัว 500 + (-03) 503 3. หากเป็นเลขหมวด (การแบ่ง ครั้งที่ 2 ) ให้ตัด 0 ออก 1 ตัว และเพิ่มจุดทศนิยมหลังหลักหน่วย 370 + (-03) 370.3

  37. 4. หากเป็นหมู่ (การแบ่ง ครั้งที่ 3) ให้เติมจุดทศนิยมก่อน 711 + (-03) 711.03 5. หากเป็นเลขหมู่ย่อย (การแบ่ง ครั้งที่ 4) ให้เติมเลขตารางที่ 1 ได้เลย 495.91 + (-03) 495.9103

  38. EXERCISE ให้แต่ละกลุ่มจัดหาตัวเลขที่ใช้ตารางที่ 1 ได้กลุ่มละ 5 ตัว และให้แสดงการใช้ตัวเลขดังกล่าวพร้อมความหมาย EXAMPLE 495.91 = ภาษาไทย (เติมตารางที่ 1 ได้) 495.91 + (-01) = 495.9101 (ความหมาย) 495.91 + (-02) = 495.9102 (ความหมาย) 495.91 + (-09) = 495.9109 (ความหมาย)

  39. ตารางที่ 2 เลขแสดงพื้นที่ / เขต / ภูมิภาค กติกา 1. นำตัวเลขจากตารางที่ 2 ไปใช้ตามลำพังไม่ได้ 2. ใช้เมื่อระบุให้ใช้ได้ในหนังสือแผนการจัดหมู่เท่านั้น

  40. EXAMPLE แผนการจัดหมู่ 331.29 = อัตราจ้างแรงงาน (สามารถใช้ตารางที่ 2 เติมได้ ) (-52) = ประเทศญี่ปุ่น (ตารางที่ 2 ) 331.29 + (-52) 331.29 52

  41. EXAMPLE 379.9 = นโยบายการศึกษา (-593) = ประเทศไทย (ตารางที่ 2 ) 379.9 + (-593) 379.9593 นโยบายการศึกษาไทย

  42. ตารางที่ 2 เลขแสดงพื้นที่ / เขต / ภูมิภาค -1 ภูมิภาค สถานที่ทั่วไป -2 บุคคล (ไม่คำนึงสถานที่อยู่อาศัย) -3 โลกยุคโบราณ -4 ยุโรป -5 เอเชีย -6 อัฟริกา -7 อเมริกาเหนือ -8 อเมริกาใต้ -9 ส่วนอื่น ๆ ของโลก / หมู่เกาะสำคัญ

  43. EXAMPLE : 591.9 = การจำแนกสัตว์ตามภูมิภาคทวีป ประเทศ (สามารถใช้ ตารางที่ 2 เพิ่มท้ายเลขหมู่ใด้) ถ้า (-82) = ประเทศอาร์เจนตินา 591.9 + (-82) 591.982 = สัตว์ในประเทศอาร์เจนติน่า

  44. ตัวอย่าง : การกำหนดเลขหมู่เฉพาะที่ให้ใช้ตารางที่ 2 ให้จัดเลขหมู่ การไปรษณีย์ในประเทศเกาหลีใต้ วิธีการดำเนินการ 1. เปิดแผนการจัดหมู่ ค้นหา คำว่า “การไปรษณีย์” 2. ต้องแน่ใจว่าเลขหมู่ของการไปรษณีย์ระบุให้ใช้ตารางที่ 2 เติมได้ 3. เปิดตารางที่ 2 ค้นหาชื่อประเทศเกาหลีใต้

  45. 383.49 + (-5195) 383.495195

  46. เราอาจเติม ตารางที่ 2 ได้ 2 ครั้ง (ตามหนังสือแผนการจัดหมู่กำหนด) 382.09 = การค้าระหว่างประเทศจำแนกตามภูมิภาคประเทศ (สามารถใช้ตารางที่ 2 เติมได้ 2 ครั้ง ) 382.09 + (-41) = 382.0941 การค้าระหว่างประเทศของประเทศอังกฤษ ถ้า (-591) คือ ประเทศเมียนม่า 382.09410591 การค้าระหว่างประเทศอังกฤษกับประเทศเมียนม่า

  47. ให้จัดเลขหมู่ การค้าระหว่างประเทศจีนกับไทย 382.09 = การค้าระหว่างประเทศ (-51) = จีน (-593) = ไทย 382.09510593

  48. กิจกรรม ให้นักศึกษาศึกษาตัวเลขหมู่ที่สามารถใช้ตารางที่ 2 ต่อเติมได้ 10 เลขหมู่ จากนั้นให้จัดหาประเทศตามทวีป ๆ ละ 1 - 2 ประเทศมาต่อเติมพร้อมให้ความหมาย เลขหมู่ ตารางที่ 2 ตัวเลขใหม่ ความหมาย

  49. ตารางที่ 3 : เลขแสดงรูปแบบวรรณ (วรรณคดี) -1 ร้อยกรอง -2 บทละคร -3 นวนิยาย -4 ความเรียง -5 สุนทรพจน์ คำปราศรัย -6 จดหมาย -7 ประชดประชัน ตลกขบขัน -8 เบ็ดเตล็ด ปกิณกะ บันทึกประจำวัน

  50. 820 = วรรณคดีอังกฤษ 820 + (-1) = 821 ร้อยกรองอังกฤษ 820 + (-2) = 822 บทละครอังกฤษ 820 + (-3) = 823 นวนิยายอังกฤษ 820 + (-4) = 824 ความเรียงอังกฤษ 820 + (-5) = 825 สุนทรพจน์อังกฤษ 820 + (-6) = 826 จดหมายอังกฤษ 820 + (-7) = 827 ประชดประชันอังกฤษ 820 + (-8) = 828 เบ็ดเตล็ดอังกฤษ

More Related