250 likes | 528 Views
Business Innovation, Technology and Policy. Prachya Teocharoen ปรัชญา เตียวเจริญ Mon 18, 13.30 – 16.20 p rachya.academic@gmail.com. Content. Introduction of Innovation - As The Innovation Catches You - Innovation = Inner + Motivation - Innovation; Thailand’s Perspective
E N D
Business Innovation, Technology and Policy PrachyaTeocharoen ปรัชญา เตียวเจริญ Mon 18, 13.30 – 16.20 prachya.academic@gmail.com
Content • Introduction of Innovation - As The Innovation Catches You - Innovation = Inner + Motivation - Innovation; Thailand’s Perspective - The World of Innovation • Innovation and Technology - Inno – Sci & Tech; Case Study - Inno Brand & Marketing; Case Study - Inno -Entrepreneurship • Innovation Invasion - Trade Up consumer and product; Case Study - Trend Setter; Case Study - Standard Setting - Change Behavior • Innovation 3.0 - Concept and Case Study
Introduction of Innovation • Innovation ตรงกับภาษาไทยว่า นวัตกรรม มีความหมายถึง ความคิด การปฎิบัติ หรือสิ่ง ประดิษฐใหม่ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว ให้ทันสมัยและใช้ได้ผลยิ่งขึ้น • เมื่อนำนวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้นและมีประสิทธิผลที่ดีกว่าเดิม • Innovation ก็คือเครื่องมือสำคัญที่เข้ามาช่วยสร้างความแตกต่างเดิมจากสิ่งที่ตลาดมีอยู่ ซึ่งถือว่าเป็นหัวใจสำคัญอย่างมาก เพราะความสำเร็จที่เกิดขึ้นในแต่ล่ะครั้งมักจะยืนอยู่บนพื้นฐานของความแตกต่างหรือการมีแนวคิดที่แตกต่างไปจากสิ่งที่เคยมีอยู่เดิมในตลาด
As The Innovation Catches You • Traditional Business come from Efficiency and Effectiveness - คือทำให้ต้นทุนต่ำที่สุด และมีส่วนแบ่งการตลาดมากที่สุด มุ่งเน้น Cost Leadership เพื่อครอง Market Share - eg. Colgate, Dentiste, Systema • Nokia case study too focus on cost leadership and too variety - House Brand; i-mobile, G-Net • iPhone, BB, Samsung focus on innovation
As The Innovation Catches You • Innovative Thinking การเกิดความคิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรม มักจะเกิดจากการเชื่อมต่อจุดกระบวนการ หรือกล่องต่างๆ เข้าด้วยกัน เช่น การประสานงานระหว่างงานตลาด และ งานผลิตในการพัฒนาสินค้าใหม่ การร่วมมือระหว่างบริษัทกับผู้จำหน่ายวัตถุดิบในการปรับปรุงคุณภาพสินค้า ความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานต่างๆ การต่อยอดทางความคิด เช่น Apple-iPod กับ BMW
Innovation & Competitive Advantage • การตลาดในสมัยนี้มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ผู้ที่ไม่ได้ก้าวไปข้างหน้า คงไม่ต่างจากการที่บริษัทเดินถ้อยหลัง • การปรับตัวเพื่อให้บริษัทมี advantage อย่างเช่น Wal-Mart ได้เป็นผู้ริเริ่มนำระบบ Supply Chain Management มาสร้างความได้เปรียบในการบริหารสินค้าคงคลังทั้งระบบ และสร้างความได้เปรียบของตัวเอง • บริษัทควรจะ Renew, Reshape และ Refocus อย่างต่อเนื่อง • Innovation เป็นสิ่งที่นอกจากบริษัทจะต้องให้ความใส่ใจแล้วพนักงานทุกคนก็ควรมีส่วนร่วม (Dedicate/Commitment/Motivate/Hearts) ทั้งหมดจะช่วยให้บริษัทมี Creative Thinking อย่างต่อเนื่อง • แต่จริงๆแล้วในโลกเรามีบริษัทเพียง 20% ที่ดำเนินนโยบายด้าน innovation
Process and Innovation • Efficiency and Effectiveness - Innovation (+) • Line Connecting the Boxes and How Boxes Fit Together สำคัญกว่าการให้น้ำหนักกับสิ่งที่อยู่ในแต่ล่ะหน่วยงาน • ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรม (Innovation Ideas & Insights) ที่ส่งผลรวมต่อภาพรวมของบริษัทจึงมักเกิดขึ้นจากการประสานงานระหว่างกระบวนการ มากกว่าเกิดขึ้นภายใน กระบวนการใดกระบวนการหนึ่ง eg. ตอนที่ Steve Jobs ไปเจอ mouse ที่ หน่วยงาน research คิดค้นไว้ แล้วถึงเทคโนโลยีนั้นมาทำเป็น mouse
Redical Innovation vs. Incremental Innovation • Redical: เปลี่ยนแปลงกระบวนการหลักใหม่ • Incremental: เปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไปจากกระบวนการเดิม • หนึ่งในทางที่ดีที่สุดคือ ควรผสมผสานระหว่างทั้งสองแบบ • ข้อแตกต่างระหว่าง Research and Development • Incremental Innovation พวกรถยนตร์ที่เปลี่ยนโฉมเรื่อยๆทุกๆ 3-5 ปี ส่วน Redical Innovation เช่นเทคโนโลยีของพวก วิดีโอคอนเฟอเรนซ์ที่ได้รับความนิยมมากขึ้น ทำให้คนเดินทางมากขึ้น และนี้แหละที่การเปลี่ยนแปลงที่สามารถเปลี่ยนแปลงการดำเนินชีวิตของผู้คน
YTD Thailand case • "แหลมเจริญ"รุกโมเดลใหม่ ผุดร้าน"เดอะเคป"ขยายลูกค้า • updated: 13 มิ.ย. 2555 เวลา 11:40:56 น. • ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ • นายศุภโชค กิจวิมลตระกูล" กรรมการผู้บริหารร้าน "แหลมเจริญ ซีฟู้ด" กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า บริษัทได้เปิดแบรนด์ใหม่ ภายใต้ชื่อ "เดอะเคป บาย แหลมเจริญ" (The Cape) เปิดให้บริการในฟู้ดรีพับลิก เซ็นทรัลพระราม 9 ตั้งแต่กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา เพื่อขยายฐานลูกค้า เนื่องจากเป็นราคาที่เข้าถึงได้ง่ายขึ้น โดยนำเมนูอาหารยอดฮิตของแหลมเจริญมาจัดเป็นชุด ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 100 บาทต้น ๆ ซึ่งอิ่มพอดีสำหรับ 1 คน หากเทียบกับร้านแหลมเจริญ ต่อหัวเฉลี่ยอยู่ที่ 300-400 บาท ทั้งนี้ หลังจากเปิดตัวมา 3-4 เดือน พบว่าได้รับการตอบรับอย่างดีจากผู้บริโภค นอกจากกลุ่มลูกค้าใหม่ที่มีกำลังซื้อไม่มากนัก ยังสามารถตอบสนองผู้บริโภคหนุ่มสาวออฟฟิศที่ต้องการความรวดเร็ว โดยเฉพาะในช่วงมื้อกลางวัน จากการสำรวจพบว่าทัศนคติผู้บริโภคมองการบริโภคอาหารซีฟู้ดว่าต้องใช้เวลานาน สังเกตได้จากพฤติกรรมลูกค้าที่ใช้บริการร้านแหลมเจริญ มักจะมาในช่วงเวลาเย็น และเสาร์-อาทิตย์ เดอะเคปจึงเป็นการแก้โจทย์ดังกล่าวได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังช่วยให้บริษัทสามารถขยายธุรกิจได้ง่ายขึ้น เนื่องจากใช้งบฯลงทุนน้อยกว่าแหลมเจริญถึง 5 เท่า โดยแหลมเจริญเฉลี่ยลงทุนต่อสาขา 10 ล้านบาท ขณะที่เดอะเคปประมาณ 2 ล้านบาท อีกทั้งใช้พื้นที่เพียง 50-100 ตารางเมตร โดยแนวคิดจากนี้จะเน้นเปิดในลักษณะโอเพ่นสเปซในศูนย์การค้า หรือจะเป็นตามสำนักงาน ออฟฟิศต่าง ๆ แต่ขณะนี้ยังไม่ได้สรุปว่าจะเป็นที่ไหน ภารกิจสำคัญปีนี้คือสร้างแบรนด์เดอะเคปให้เป็นที่รู้จักในวงกว้างก่อน นายศุภโชคกล่าวว่า สำหรับแบรนด์แหลมเจริญยังเปิดสาขาต่อเนื่อง โดยปัจจุบันมี 8 สาขา และปลายปีจะเปิดอีก 1 สาขา ที่สีลม คอมเพล็กซ์ ซึ่งตัวศูนย์อยู่ระหว่างรีโนเวต จากที่ผ่านมาเฉลี่ยเปิดปีละ 2 สาขา เพราะต้องการเลือกโลเกชั่นที่เหมาะ และไม่กระจุกตัวอยู่ในย่านเดียวกันมากเกินไป เพราะอาจแย่งลูกค้ากันเอง ทั้งนี้ ตั้งแต่ปรับโมเดลมาเปิดร้านในศูนย์การค้าในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา แหลมเจริญยังมีการเติบโตต่อเนื่องแบบก้าวกระโดด เพราะมีการเปิดสาขาใหม่ต่อเนื่อง หากคิดการเติบโตของสาขาเดิมเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 10% สำหรับปีนี้คาดหวังเติบโต 15-20% เพราะมีแบรนด์ใหม่เข้ามา และจะรุกหนักในส่วนต่าง ๆ มากขึ้น
มาแล้ว!! H&Mโหมกระแสยั่วใจสาวก เปิดพารากอนที่แรกปลายปี • updated: 13 มิ.ย. 2555 เวลา 19:00:02 น. • ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ • หลังจากมีข่าวมาเป็นระยะ ๆ ว่า แบรนด์แฟชั่นชื่อดังจากสวีเดน "เอชแอนด์เอ็ม" หรือเฮนเนสแอนด์มอริตซ์ (Hennes & Mauritz) จะเข้ามาเปิดสาขาในเมืองไทย ล่าสุดมีความเคลื่อนไหวในการจดทะเบียนตั้งบริษัทในเมืองไทย ในนามบริษัท เอชไทย (ประเทศไทย) จำกัด มีทุนจดทะเบียน 100 ล้านบาท และอยู่ระหว่างเตรียมการที่จะเปิดสาขา 2 แห่งแรกในเมืองไทยนายคาร์ล โยฮาน แพร์ลสัน ซีอีโอ เอชแอนด์เอ็มกล่าวว่า การตัดสินใจเปิดสาขาในประเทศไทย เนื่องจากมองว่ากรุงเทพฯเป็นเมืองหลวง แฟชั่นที่สำคัญแห่งหนึ่งในเอเชีย และเป็นแผนการที่วางไว้ตั้งแต่แรกแล้ว หวังว่าสินค้าและแฟชั่นเสื้อผ้าที่มีคุณภาพสูงของเอชแอนด์เอ็มจะมีราคาเป็นที่ถูกใจลูกค้าในประเทศไทย โดย 2 สาขาแรกจะเปิดที่ห้างสรรพสินค้าสยามพารากอน และห้างเดอะมอลล์ สาขาบางกะปิ โดยกำหนดเปิดให้บริการในช่วงปลายปี 2555 นี้ ด้านนายแจ็กเดฟ ซิงห์ กิลล์ ซีอีโอ บริษัท เอชไทย (ประเทศไทย) กล่าวว่า ลูกค้าของเอชแอนด์เอ็มในไทยรอคอยการเปิดตัวอย่างเป็นทางการของเอชแอนด์เอ็มมานาน จึงไม่น่าแปลกใจที่เห็นการลงทุนในไทยครั้งนี้ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะนี้เอชไทยยังได้ประกาศรับสมัครพนักงานเป็นจำนวนมาก เพื่อรองรับการเปิดช็อปขนาดใหญ่ที่กำลังจะมีขึ้นในช่วงปลายปี นอกจากนี้ยังได้เตรียมเปิดตัวโชว์รูม "เอชแอนด์เอ็ม" เพื่อให้ลูกค้าชาวไทยได้เข้าไปสัมผัสเสื้อผ้าและสินค้าต่าง ๆ ที่เซ็นทรัลเวิลด์ในช่วงปลายเดือนมิถุนายน เป็นการสร้างแรงกระเพื่อมระลอกแรกก่อน ซึ่งไม่เพียงการทำตลาดในเมืองไทยเท่านั้น บริษัทเอชไทยยังได้สิทธิ์ในการทำตลาดในภูมิภาค ซึ่งลำดับต่อไปคือ อินโดนีเซีย แหล่งข่าวในวงการแฟชั่นมองว่า การที่เอชแอนด์เอ็มตัดสินใจเข้ามาเปิดตลาดในไทยครั้งนี้เป็นการสะท้อนถึงกำลังซื้อของคนไทยที่มีมากขึ้น และทำให้ตลาดมีการเติบโต ซึ่งการเปิดร้านที่ย่านใจกลางเมือง และชานเมืองน่าจะเป็นการวางยุทธศาสตร์ที่มีความหมายในแง่ของการขยายตลาดในอนาคตอย่างแน่นอนผู้สื่อข่าวรายงานว่าบริษัทเอชไทย(ประเทศไทย)มีผู้ถือหุ้นประกอบด้วย เอ็มไทย (เอส) พีทีอี ลิมิเต็ด สัญชาติสิงคโปร์ 99.99% นายแจ็กเดฟ ซิงห์ กิลล์ 0.0001% และนางซาจนี กิล 0.0001%ทั้งนี้ บริษัท H&M Hennes & Mauritz AB (มหาชน) ก่อตั้งขึ้นในสวีเดนเมื่อปี พ.ศ. 2490 แนวคิดด้านธุรกิจขององค์กรคือการนำเสนอแฟชั่นและเครื่องแต่งกายที่มีคุณภาพในราคาที่เหมาะสม นอกเหนือจากแบรนด์ของ H&M แล้ว กลุ่มของบริษัทยังประกอบด้วยแบรนด์ย่อยอื่น ๆ ได้แก่ COS, Monki, Weekday, และ Cheap Monday รวมถึง H&M Home ด้วยเครือบริษัท H&M Group มีร้านค้าของตนเองทั้งสิ้นรวม 2,500 สาขา ใน 44 กลุ่มตลาดทั่วโลก รวมถึงตลาดแฟรนไชส์ด้วย ในปี พ.ศ. 2554 ยอดขายรวมภาษีมูลค่าเพิ่มคิดเป็นมูลค่ารวมได้ถึง 129,810 ล้านโครนาสวีเดน
"สตาร์บัคส์"สร้างปรากฎการณ์เปิด ร้านกาแฟแบบ "ไดร์ฟ-ทรู" สาขาแรกริมถ.พระราม2 • "สตา ร์บัคส์" สร้างปรากฏการณ์ร้านกาแฟรอบใหม่ ประเดิมเปิด "ไดรฟ์-ทรู" สาขาแรกคอมมิวนิตี้มอลล์ ริมถนนพระรามที่ 2 ย้ำภาพ Trend Setter สร้างความแปลกใหม่ในวงการ ชี้พร้อมเอาจริงไม่ใช่แค่ทดลอง ระบุโมเดลใหม่ตอบโจทย์พฤติกรรมผู้บริโภคยุคใหม่ หลังเทรนด์กาแฟกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต • สตาร์บัคส์ ร้านกาแฟชื่อก้อง กำลังสร้างปรากฏการณ์ใหม่ โดยเฉพาะผู้นิยมกาแฟพรีเมี่ยม ด้วยการเปิดร้านในแบบ "ไดรฟ์-ทรู" แห่งแรกในประเทศไทย จากที่ผ่านมา ร้านกาแฟหมายเลขหนึ่งของโลกรายนี้มักเป็น Trend Setter สร้างความแปลกใหม่ให้เกิดขึ้นกับธุรกิจประเภทนี้อยู่เสมอ สาขาใน รูปแบบ "ไดรฟ์-ทรู" ดังกล่าว อยู่ภายใน "พอร์โต ชิโน่" คอมมิวนิตี้มอลล์แห่งใหม่ ริมถนนพระรามที่ 2 ใกล้ตัวเมืองมหาชัย สุมทรสาคร เส้นทางสู่เมืองท่องเที่ยวชายทะเลยอดนิยม ทั้งชะอำ และหัวหิน ประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งสตาร์บัคส์คาดหวังว่าจะเป็นลูกค้าเป้าหมายสำคัญ ที่ ผ่านมา ผู้บริโภคคนไทยคุ้นเคยกับบริการ "ไดรฟ์-ทรู" ดีอยู่แล้ว เนื่องจากแมคโดนัลด์ถือเป็นเครือข่ายฟาสต์ฟู้ดที่เปิดบริการลักษณะนี้มาแล้ว หลายปี เดินหน้าสาขา "ไดรฟ์-ทรู" นางสาวสุมน พินทุ์ โชติกะพุกกณะ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดและสื่อสารองค์กร บริษัท สตาร์บัคส์ คอฟฟี่ ไทยแลนด์ จำกัด กล่าวว่า สาขารูปแบบไดรฟ์-ทรู แห่งแรก ซึ่งมีกำหนดเปิดบริการในเร็ว ๆ นี้ จะตอบสนองความสะดวกสบายให้กับผู้ชื่นชอบกาแฟสตาร์บัคส์ สามารถขับรถเข้ามาออร์เดอร์และรับกาแฟไปดื่มโดยไม่ต้องลงจากรถ ประกอบกับคอมมิวนิตี้มอลล์แห่งนี้จะเป็นศูนย์รวม "ไดรฟ์-ทรู" ของรายอื่นๆ ด้วย
นวัตกรรม 3 ระดับ • นวัตกรรมเป็นกิจกรรมในการรวบรวมความคิด (Event Idea) - นวัตกรรมที่เกิดขึ้นเป็นครั้งคราว การระดมความคิด ซึ่งหลายๆแนวความคิดเป็นความคิดที่ดีที่เกิดขึ้นอย่าง post it ของ 3M (Innovation as an Event) • นวัตกรรมเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการทำงาน (Process Deliverable) - บริษัทมีกระบวนการในการระบุปัญหา และเลือกแนวความคิดเพื่อมาช่วยแก้ไขปัญหา โดยจัดทำแผนดำเนินการเพื่อให้นำแนวความคิดมาปฎิบัติอย่างเป็นรูปธรรม - ปัญหาของระดับนวัตกรรมที่2อยู่ที่ มักจะเกิดนวัตกรรมเป็นช่วงๆ ไม่ต่อเนื่องและจะเกิดก็ต่อเมื่อผู้บริหารระดับสูงตัดสินใจว่าจะต้องมีการทำนวัตกรรมกันแล้วนะ • นวัตกรรมเป็นสมรรถภาพหลักของบริษัท (Capability Environment) - พนักงานมีการสร้างนวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาอย่างต่อเนื่อง เช่นพวกงานบริการลูกค้าก็จะหาทาง serve ลูกค้าให้ไวที่สุด ยกตัวอย่าง McDonald ที่เมื่อก่อนมีปุ่มให้กดจับเวลา หรือพวกบริการ free delivery ก็จัดการปัญหา ค่าขนส่งให้ลูกค้า หรือ Starbucks ที่มีการจดชื่อลูกค้าที่แก้วเพื่อจะได้จำชื่อลูกค้าได้ หรือว่าจะเป็น Apple
ประเภทของนวัตกรรม • Disruptive Innovation คือนวัตกรรมที่มีผลกระทบรุนแรงต่อสภาวะการแข่งขันในอุตสาหกรรม หรือมีผลอย่างมีนัยสำคัญต่อความต้องการของลูกค้า ทำให้สินค้าเดิมในตลาดล้าสมัยและถูกทดแทนด้วยสินค้าใหม่ เช่นอุตสาหกรรม โทรศัพท์มือถือที่มาแทนโทรศัพท์บ้าน computer, Internet • Application Innovation เป็นนวัตกรรมที่เกิดขึ้นจากการนำเทคโนโลยี หรือสินค้าที่มีอยู่ในตลาดมาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพและก่อให้เกิดคุณประโยชน์อย่างมีนัยสำคัญต่อลูกค้า ทำให้สินค้าที่ดูเหมือนมีประโยชน์ในวงจำกัดเปลี่ยนแปลงไปเป็นสินค้าที่มีประโยชน์และได้รับความนิยมในคนหมู่มากได้ เช่น GPS(Global Positioning System) ที่เกิดขึ้นมานานแล้วแต่มีการใช้งานในวงแคบ กล่าวคือใช้งานในการทหาร การเดินเรือ แต่เมื่อมีการนำระบบนี้มาพัฒนากับระบบแผนที่ถนน ข้อมูลการจราจร ทำให้เกิดอุปกรณ์นำทางสำหรับรถยนต์ (Car Navigation System) ซึ่งในอนาคตอุปกรณ์ตัวนี้จะถูกติตั้งเป็นมาตรฐานในรถยนต์ทุกคัน
ประเภทของนวัตกรรม • Product Innovation เป็นประเภทของนวัตกรรมที่รู้จักกันมากที่สุด นั้นคือการพัฒนาสินค้าหรือบริการให้ดีขึ้น ใช้งานง่ายขึ้น มีประสิทธิภาพสูงขึ้น เช่นกล้องถ่ายรูปดิจิตอล ที่เมื่อก่อนมีราคาแพงมาก หรือมือถือ smart phone ที่ช่วยให้เราสะดวกสบายมากขึ้น • Process Innovation นวัตกรรมอีกรูปแบบหนึ่งที่สร้างความได้เปรียบในการแข่งขันรวมทั้งความแตกต่างที่ชัดเจน จากคู่แข่ง เช่น low cost airline หรือ Dell computer ที่ลูกค้าสามารถซื้อ computer ได้โดยไม่ต้องผ่านหน้าร้านทั้งสองทำให้ต้นทุนในการผลิตถูกลงและเป็นผลทำให้บริษัทสามารถเสนอราคาขายได้ถูกกว่าคู่แข่งในที่สุด ส่วนมากนวัตกรรมนี้จะเกิดขึ้นกับอุตสหกรรมที่มีการแข่งขันสูงและแต่ล่ะบริษัทก็อยู่ในช่วงของ Product lifecycle ที่ Growth Stage
ประเภทของนวัตกรรม • Marketing Innovation มักเกิดในอุตสหกรรมที่เริ่มเข้าสู่สภาวะอิ่มตัว Maturity เพื่อเป็นการหาวิธการที่แตกต่างในการเข้าถึงลูกค้าหรือให้บริการลูกค้าเพื่อทำให้เกิดความสะดวกสบายมากขึ้น และในขณะเดียวกันอาจทำให้ต้นทุนขององค์กรลดลงได้เช่นกัน ตัวอย่างเช่น การใช้เทคโนโลยีทางไอทีและเครือข่ายอินเตอร์เน็ตในการให้บริการหลังการขายกับลูกค้าโดยใช้ Web Services ที่ราคาต่ำกว่าการบริการหลังการขายทั่วไปและยังสามารถให้บริการได้ 24 ชั่วโมงอีกด้วย ถ้าเราทำก่อนก็จะสร้างความแตกต่างที่ชัดเจนได้เมื่อเทียบกับคู่แข่ง • Experiential Innovation การพัฒนาสินค้าที่มีอยู่โดยการปรับเปลี่ยนคุณสมบัติบางประการของสินค้าหรือบริการ ทำให้สินค้าของเราน่าใช้ และสร้างความพึงพอใจให้ลูกค้าได้มากกว่าคู่แข่งอย่างชัดเจน เช่น Fedex ที่เพิ่มความสามารถในการติดตามสถานะในการส่งสินค้าโดยใช้ Tracking Number ผ่านทางเว็บไซต์ให้กับลูกค้าโดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมแต่อย่างใด
ประเภทของนวัตกรรม • Business Model Innovation คือนวัตกรรมที่เกิดจากการเปลี่ยนรูปแบบการทำธุรกิจ เพื่อให้เกิดความแตกต่าง ตัวอย่างเช่น ไอบีเอ็ม แต่เดิมขายอุปกรณ์และคอมพวเตอร์เป็นหลัก ช่วงหลังๆนี้กำไรและราคาขายของเครื่องคอมพิวเตอร์ลดลงไปมากเลยเปลี่ยนรูปแบบเป็นจากเดิมเป็นการขายบริการทางไอทีแทน โดยไอบีเอ็มจะสร้างศูนย์คอมพิวเตอร์ที่เรียกกันว่า Data Center ขึ้นลูกค้าสามารถเช่าใช้ และฝากข้อมูลการดำเนินงานไว้กับศูนย์ หรือธุรกิจ printer ที่เน้นการขายหมึกแทนเครื่อง โดยเสนอราคาเครื่องPrintที่ต่ำมาก หรือธุรกิจมือถือที่เสนอแพคเก็จราคาถูกเพื่อให้คนมาใช้บริการเรือข่ายมากขึ้น • Structural Innovation ประเภทสุดท้ายของการสร้างนวัตกรรม เพื่อความได้เปรียบเชิงการแข่งขัน โดยใช้การเปลี่ยนโครงสร้างองค์กรให้เหมาะสมกับสภาวะที่เปลี่ยนแปลงไปของอุตสาหกรรม ตัวอย่างเช่นแบงค์ที่มีการควบรวมของ สินเชื่อส่วนบุคคล ประกันชีวิต และอุบัติภัย
Innovation = Inner + Motivation • Innovation เป็นสิ่งที่สำคัญเพราะบริษัทคงไม่สามารถ สร้างผลกำไรและรักษา share ในตลาดได้ด้วย product เดิมๆที่ทำการตลาดอยู่ • การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาทำให้เราต้อง เปลี่ยนแปลงและปรับปรุง องค์กรเพื่อพัฒนาสินค้าหรือบริการใหม่ที่แตกต่างจากคู่แข่ง • การสร้างนวัตกรรมนั้นต่างจาก Incremental Product Improvement • ถ้าหารเราสร้างนวัตกรรมได้ ก็จะทำให้คู่แข่งเราเป็นผู้ตาม (Followers) ในทันที ยก case iPhone Vs Nokia
Innovation = Creative Solution • การสร้างสิ่งใหม่ๆที่เรียกว่านัวตกรรมนี้เกิดขึ้นจากกระบวนการการคิดของบุคคล • ผู้นำองค์กรต้องคิดและหาทิศทางการเดินในอนาคตของกิจการที่เรียกว่า Path Finding ที่จะทำให้องค์กรแข่งขัยได้ในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป • Innovation นั้นสามารถให้ความจำกัดความได้ว่า มันคือทางออกที่สร้างสรรค์ที่สามารถทำให้เราผ่านจุดหรือปัญหาที่ติดขัดได้ (Creative Solutions) • Divergent Thinking เป็นการคิดนอกกรอบโดยไม่มีข้อจำกัดทางทฤษฎีหรือหลักการมากมายนัก โดยใช้หลักการนี้เพื่อหาคำตอบที่ไม่ถูกจำกัดโดยกรอบหรือกฏต่างๆ • Convergent Thinking วิธีการคิดและวิเคราะห์โดยใช้ตรรกะและหลักการ จะนำมาใช้หลังจากที่ได้คำตอบที่หลากหลายจากกระบวนการคิดแบบ Divergent และ Creative Thinking วัตถุประสงค์เพื่อแยกความคิดที่ใช้ไม่ได้ออกไปเลือกแต่แนวคิดที่ใช้ได้จริง หากไม่มี Convergent มีแต่ Divergent อย่างเดียวอาจกลายเป็นความคิดที่ฟุ้งซ่านไปได้
แรงผลักดันสร้างนวัตกรรมแรงผลักดันสร้างนวัตกรรม • การสร้างนวัตกรรมไม่ใช่ของง่าย ต้องอาศัยพลังผลักดัน (Motivation) อย่างสูง ซึ่งเราสามารถแยกออกได้2ประเภท • Extrinsic Motivation - การที่ถูกเอาผลประโยชน์มาล่อ แรงจูงใจเพื่อให้เกิดการพยายามาเพื่อหาทางออก Carrot and Stick Approach - การที่บริษัทใช้ผลประโยชน์ทางด้านการเงิน เพื่อมาล่อใจเพื่อให้เกิดงานที่ต้องการ เช่นเงินรางวัล หุ้น เงินเดือน โบนัสที่สูง - Performance indicators • Intrinsic หรือ Inner Motivation เป็นแรงผลักดันที่เกิดโดยไม่มีใครมาบังคับ หรือความตั้งใจพยายามที่จะทำให้เกิดผลสำเร็จ อาจนำมาสู่นวัตกรรมได้มากกว่าการใช้แรงผลักดันจากภายนอก - เป็นพลังที่ขับเคลื่อนที่เกิดขึ้นในตัวบุคคล - เป็นความท้าทาย - เป็นความพยายามที่จะทำในสิ่งที่ดีเลอศมากกว่าคู่แข่งขัน - งานละปัญหา - สำหรับคนที่มีแรงผลักที่มาจากภายในนั้น คงต้องยอมรับว่าการสร้างนวัตกรรมสำหับเขาก็คงไม่ได้ยากอะไร
ตัวสกัดกั้น นวัตกรรม • บางทีองค์กรจำนวนไม่น้อยเลยขาดความสามารถในการสร้างนวัตกรรม เพราะเกิดจากข้อขัดข้องและอุปสรรคที่เกิดขึ้นในองค์กร หรือที่เรียกว่า Red Tapeทำให้ความคิดสร้างสรรค์จำนวนมากถูกฆาตกรรมในองค์กรโดยอาศัยเหตุผลต่างๆนานา เพื่อล้มเลิกหความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรมที่เกิดขึ้น • เราจะพบว่าจะเจอข้อโต้แย้งต่างๆจากเจ้านายเช่น ความคิดนี้คงไม่เหมาะกับองค์เรา หรือหน่วยงานเราไม่มีทีมที่จะมารองรับการพัฒนาตรงนี้ • แต่เราจะเห็นได้ว่าองค์ที่ประสบความสำเร็จสูงมากๆนั้นมาจากการสร้างนวัตกรรมโดยตัวผู้นำเช่น Steve Jobs แห่ง Apple หรือ เจฟฟ์ เบโซ จาก Amazon.com
ความคิดสร้างสรรค์ที่นำมาสู่นวัตกรรมมีองค์ประกอบสำคัญอยู่ 5 รายการ • Associating Process การนำสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องกันมาผูกโยงและต่อเชื่อมกันได้อย่างได้ผลดี ตัวอย่างเช่น eBay เกิดจากมีคนต้องการหาสินค้าหายาก และถ้าโฆษณาผ่านสื่อเก่าซึ่งมีต้นทุนสูง และไม่มีประสิทธิภาพเช่นโฆษณาหาของหายากตามหนังสือพิพม์ แต่ eBay ทำหน้าที่ Matching ทั้งหมดเกิดจากการนำ Demand มาเชื่อมโยงกัน • Questioning process ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อเราสามารถหาคำตอบที่ดีสำหรับปัญหา ยกตัวอย่างเช่นไมเคิล เดลล์ สร้าง Dell Computer ซึ่งตัดค่าต้นทุนหน้าร้านและการ stock inventory • Observing Process การสังเกตและวิเคราะห์รายละเอียดที่สามารถนำไปสู่คำตอบได้ เช่น Tata motors ที่สังเกตการเดินทางในอินเดียที่มักเดินทางโดย จักรยานยนต์คันจิ๋วๆซ้อนสาม เลยทำรถยนตร์คันเล็กที่รองรับกำลังซื้อขนาดย่อย • Experimenting process การทดลอง และการลองผิดลองถูก เช่น ธนาคารที่ใช้โอนเงินผ่านทางตู้ Thomas Edison • Networking Process ยกตัวอย่างคนสองคนที่มีพฤติกรรมการค้นคว้าที่ต่างกัน เรียนรู้จากคนที่ประสบความสำเร็จ อย่างเช่น Michael Lazaridisได้แนวคิดในการสร้างโทรศัพท์ BlackBerry มาจากนักประดิษฐ์ที่นำ เครื่อง Vending Machine ที่ใช้ในการขายน้ำอัดลมโดยมีการติดตั้งโทรศัพท์มือถือไว้ภายในเครื่อง เมื่อจำนวนสินค้าลดลง ระบบควบคุมจะส่งsms ไปที่บริษัทเพื่อให้พนักงานเอาน้ำอัดลมมาเติม แนวคิดนี้นำมาสู่ระบบ Push Mail