460 likes | 603 Views
การวิจัยคุณภาพ (Qualitative Research). โดย. รองศาสตราจารย์ ดร.สมาน งามสนิท Fulbright Scholar, Ohio U. U.S.A. กรรมการบริหารหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ ม.ราชภัฎวไลยอลงกรณ์. ในพระบรมราชูปถัมภ์. หมายเหตุ อย่าให้เอกสารนี้หาย จนกว่าจะจบเป็นด๊อกเตอร์แล้ว.
E N D
การวิจัยคุณภาพ (Qualitative Research) โดย รองศาสตราจารย์ ดร.สมาน งามสนิท Fulbright Scholar, Ohio U. U.S.A. กรรมการบริหารหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ ม.ราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ หมายเหตุ อย่าให้เอกสารนี้หาย จนกว่าจะจบเป็นด๊อกเตอร์แล้ว
การวิจัย มี ๒ ประเภท คือการวิจัยปริมาณ (quantitative research) เป็นหาคำตอบให้กับปัญหาโดยใช้ตัวเลขยืนยันความถูกต้องและอธิบายปรากฏการณ์ อีกวิธีหนึ่งแต่เดิมเรียกว่า การวิจัยคุณภาพ (qualitative research) นักวิจัยยุคใหม่ ไม่เรียกชื่อนี้ เพราะเมื่อเรียกว่า การวิจัยคุณภาพ ทำให้นักวิจัยปริมาณถามทันทีว่า ของเขาไม่มีคุณภาพตรงไหน นักวิจัยคุณภาพยุคนี้จึงเรียกชี่อใหม่ว่า การวิจัยที่ไม่ใช่ปริมาณ (non-quantitative research) ศัพท์เฉพาะทางเช่น ผู้ให้ข้อมูลหลัก(key informants) ก็เรียกว่า ผู้มีส่วนร่วมในการวิจัย (research participants)
Basic Concept in Research แนวคิดหลักในการวิจัย Concept Meaning Relevance TheoryA set of explanatory Concepts Usefulness HypothesisA testable proposition Validity MethodologyA general approach to Usefulness Studying research topics MethodA specific research technique Good fit with theory, hypothesis & methodology Sman Ngamsnit
Basic Elements of Theory 1. Philosophical Assumptions Basic beliefs that underlie the theory 2. Concepts or Building Blocks 3. Explanations or dynamic connections made by the theory 4. Principlesguideline for action
Three major types of Philosophical Assumptions: • Assumptions aboutEpitemology • questions of knowledge. How knowledge arise? 2. Assumptions about Ontology, questions of existence 3. Assumptions about Axiology, questions of value
Epistemology: 1. To what extent can knowledge exist before experience? 2. To what extent can knowledge be certain? 3. By what process does knowledge arise? 4. Is knowledge best conceived in parts or wholes? 5. To what extent is knowledge explicit?
Ontology: ภาววิสัย ชีวภาวะ Ontology เป็นสาขาหนึ่งของปรัชญา ว่าด้วยธรรมชาติของภาวะความเป็น Epistemology และ Ontology เป็นศาสตร์คู่ขนานกัน กล่าวถึง องค์ความรู้ ที่เรารู้ ในทางสังคมวิทยา Ontology กล่าวถึงธรรมชาติของความเป็น(ไม่ตาย)ของมนุษย์ (nature of human existence) ในทางการสื่อสาร ontology ศึกษาปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์กับสังคมด้วยการสื่อสาร
การแสวงความรู้ในระดับของ Ontology ประกอบด้วยชุดคำถามอย่างน้อย ๔ คำถามหลัก ดังนี้ 1.To what extent do humans make real choices? 2. Whether human behavior is best understood in terms of states or traits States; temporary dynamic conditions affecting peoplein the course of a day, year and lifetime. Traits;นิสัย สันดาน กรรมพันธุ์ do not change easily
3. Is human experience primarily individual or social? ใคร บุคคลหรือกลุ่ม มีบทบาทในการกระทำกิจกรรมต่างๆในสังคม กลุ่มที่มองว่า บุคคลเป็นผู้มีบทบาท จะใช้จิตวิทยาบุคคล เป็นกรอบในการวิเคราะห์ กลุ่มที่มองว่า สังคมกำหนด เพราะถือว่า มนุษย์ไม่ได้อยู่โดดเดี่ยว มีปฏิสัมพันธ์กับสังคมตลอดเวลา
4.To what extent is communication contextual? Universal and situational factors สำหรับวิเคราะห์หาความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมมนุษย์ Axiology: Axiology is a branch of philosophy concerned with studying values. Three axiological issues are especially important; Can research be value free, what are the ends for Which scholarship is conducted, and to what extent should scholarship aim to effect the social change?
Theories are intimately tied to action. How we think, our theories guide how to act, and how we act, our practices guide how we think. James Anderson “Theory…contains a set of instructions for reading the world and acting in it…….” “What do I believe to be true…?”
การวิจัยสังคมศาสตร์ นิยมใช้ทฤษฎี ต่อไปนี้ Functionalism looks at functions of social institution Behaviorism defines all behavior in term of ‘stimulus’ and ‘response’ Symbolic interactionism focuses on how we attach meanings to interpersonal relations หลักความจริง ทฤษฎี และสมมติฐาน ไม่มีผิด หรือ ถูก เพียงแต่มีประโยชน์มากหรือน้อยเท่านั้น Theories, methodologies cannot be true or false, only more or less useful.(Silverman, Interpreting qualitative Data p.2) Sman Ngamsnit
การวิจัยคุณภาพ (Qualitative Research) • คือการศึกษาปรากฏการณ์ พฤติกรรมมนุษย์ในสังคมในสิ่งแวดล้อมที่เป็นจริงโดยภาพรวม (Holistic) แล้วพรรณนาความรู้ที่ได้ด้วยภาษาพูดหรือภาษาเขียน มีลักษณะสำคัญดังนี้ • เป็นการค้นหาความจริงในสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติของสิ่งที่ศึกษา จึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า การวิจัยตามธรรมชาติ (naturalistic research) Sman Ngamsnit
2. การวิจัยประเภทนี้ผู้วิจัยเป็นนักพรรณนา ศึกษาหาความจริงโดยใช้เหตุการณ์หนึ่งขึ้นมาวิเคราะห์หาความสัมพันธ์กับเหตุการณ์อื่นๆโดยการสัมภาษณ์ สังเกต สอบถามและจดบันทึกเร่องราวเอง แล้วพรรณนาความตามแนวที่นักชาติพันธุ์วรรณาใช้ จึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Ethnographic research 3. ส่วนใหญ่เป็นการวิจัยข้อมูลทางสังคม วัฒนธรรม อัตชีวประวัติ โลกทัศน์ ความคาดหวัง อุดมคติ ข้อมูลที่เป็นนามธรรม ที่ไม่สามารถวิจัยในรูปปริมาณได้เหมาะสม 4.การวิเคราะห์ข้อมูลโดยความสามารถของผู้วิจัย เนื่องจากผู้วิจัยลงพื้นที่ อยู่ในสนามเอง ไม่จำเป็นต้องใช้สถิติชั้นสูง แต่ใช้หลักตรรกวิทยาแบบอุปนัยเป็นสำคัญ Sman Ngamsnit
ประเภทของการวิจัยคุณภาพที่นิยมใช้ 1. การวิจัยประวัติศาสตร์บอกเล่า เป็นการศึกษาคำบอกเล่าของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ที่ศึกษาโดยตรง หรือรู้เห็นเหตุการณ์ ผู้วิจัยเป็นผู้สัมภาษณ์เจาะลึกบุคคลเหล่านั้นด้วยตนเอง วิธีวิจัยประวัติศาสตร์บอกเล่า 1. เลือกกลุ่มเป้าหมาย 2. สัมภาษณ์เจาะลึก 3. รวบรวมข้อมูลเป็นระบบ 4. วิเคราะห์ข้อมูล Sman Ngamsnit
2. การวิจัยแบบมีส่วนร่วม(Participatory Action Research) มักนิยมเรียกว่า PAR เป็นการวิจัยเน้นบุคคลเป็นสำคัญ เพื่อสร้างพลังอำนาจให้แก่ประชาชนด้วยกระบวนการพัฒนาอย่างมีส่วนร่วมผ่านการวิจัย เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Action Research. ผู้เกี่ยวข้องกับการวิจัยประกอบด้วย นักวิชาการ นักวิจัย แกนนำชุมชน ร่วมกันประเมินปัญหา ร่วมกันระบุปัญหา แสดงความต้องการของชุมชน หาแนวทางแก้ปัญหาร่วมกันโดยใช้ทรัพยากรทั้งจากภายในและภายนอกชุมชน Sman Ngamsnit
วัตถุประสงค์ของการวิจัยแบบมีส่วนร่วม Action Research • เพื่อปลุกจิตสำนึกให้ชุมชนรู้จักบทบาทหน้าที่ของตนในการมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา • เพื่อร่วมกับชุมชนในการศึกษาพัฒนา เศรษฐกิจ สังคมและการเมือง • ๓. เพื่อส่งเสริมการรวมกลุ่มและทำงานร่วมกันระหว่างนักพัฒนาและชุมชน Sman Ngamsnit
คุณสมบัติของนักวิจัยแบบมีส่วนร่วม • Empathy มีความรู้สึกร่วมในการพัฒนา • Credible น่าเชื่อถือ • Friendly เป็นมิตร จริงใจ • 4. Positive ness เชื่อในการทำดี มองโลกในแง่ดี 5. Cooperative/Helpful ให้ความร่วมมือช่วยเหลือผู้อื่น 6. Good listener/Open minded เป็นผู้ฟังที่ดี ใจกว้าง 7. Respectful เคารพผู้อื่น S.Ngamsnit
การวิจัยกรณีศึกษา (Case Study Research) มุ่งที่บรรยายเรื่องราวที่สนใจ เน้นการสืบสวนและวิเคราะห์เจาะลึกปรากฏการณ์ สภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ (Broomley 1990) วิธีการและเครื่องมือในการวิจัยกรณีศึกษา มีวิธีการวิจัยและเก็บข้อมูลหลากหลาย ที่นิยมกันมี ๕ วิธี ได้แก่ ๑. การวิจัยเอกสารหรือการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์ แหล่งข้อมูลเช่นรายงานการประชุม จดหมายเหตุ วัตถุ พยานหลักฐาน ของจริง ๒. สัมภาษณ์ เดี่ยวหรือสัมภาษณ์กลุ่ม แบบมีโครงสร้างหรือไม่มีโครงสร้าง S.Ngamsnit
๓. สังเกต มีการสังเกตโดยตรง และสังเกตแบบมีส่วนร่วม ๔. การสำรวจ มุ่งหาข้อมูลเบื้องต้น สภาพแวดล้อม เหตุการณ์ โดยใช้แบบสำรวจ แบบสอบถามเป็นเครื่องมือวิจัย ๕. การทดลอง โดยการสร้างสถานการณ์หรือเงื่อนไขต่างๆขึ้นมาทดลอง สมาน งามสนิท
การวิจัยอนาคต (Future Research) เป็นวิธีวิจัยที่ใช้ในการศึกษาอนาคต( future studies) เพื่อเป็นเครื่องมือทำนาย คาดการ บ่งชี้แนวโน้มสิ่งที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ได้รับการพัฒนาขึ้นโดย Olaf Helmer และ Norman Dalkey แห่งบริษัทแรนด์(Rand Corporation) เมื่อ พ.ศ. 2505 ลักษณะสำคัญของอนาคตศึกษาประกอบด้วย ๑. เวลา มีการระบุช่วงเวลา เช่น ๕ ปี ๑๐ ปี ๒๕ ปี เป็นต้น ๒. ปัญหา ไม่ใช่ปัญหาในความรับผิดชอบของใครคนใดคนหนึ่ง ๓. ทฤษฎี เป็นความพยายามที่จะใช้และสร้างทฤษฎีในการศึกษา ๔. เทคนิคการวิเคราะห์ ผสมผสานระหว่างวิธีการทางวิทยาศาสตร์และเชิงพรรณนา ๕. การนำผลที่ได้ไปใช้ เพื่อประกอบการวางแผนและการตัดสินใจเกี่ยวกับอนาคต สมาน งามสนิท
วิธีการวิจัยอนาคต • การวิจัยอนาคตมีหลายวิธี ที่นิยมกัน มี • Delphi Technique เทคนิคเดลไฟ • Ethnographic Future Research, EFR แบบชาติพันธุ์วรรณา • Ethnographic Delphi Future Research, EDFR ชาติพันธุ์วรรณาแบบเดลไฟ • 4. Focus Group Technique เทคนิคโฟกัสกรุ๊ป สมาน งามสนิท
Delphi Technique เป็นการประมวลความคิดเห็นและการตัดสินใจของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญในเรื่องที่ศึกษาอย่างมีระบบ โดยรวมกลุ่มผู้เชี่ยวชาญในเรื่องที่ศึกษา ตั้งแต่ ๑๗ คนขึ้นไป (Thomas T. MacMillan) ออกแบบสอบถาม ๓รอบ หรือ จนกว่าคำตอบจะนิ่ง Victoria Dennington and the Psychology Subject Advisory Committee(2004) เสนอขั้นตอนการวิจัยแบบเดลไฟ ๑๐ ขั้นตอน ใช้เวลา ประมาณ ๘ สัปดาห์ ดังนี้ ขั้นตอนที่ ๑-๓ ใช้เวลาประมาณ ๑ สัปดาห์ ได้แก่ ๑. เลือกคำถามวิจัย ๒. เลือกกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ ๓. ติดต่อผู้เชี่ยวชาญเพื่อยืนยันการเข้าร่วมการวิจัย Sman Ngamsnit
ขั้นตอนที่ ๔-๕ ใช้เวลา ประมาณ ๒ สัปดาห์ ได้แก่ ๔. ส่งคำถามให้ผู้เชี่ยวชาญตอบ ๕. รับแบบสอบถามคืน ขั้นตอนที่ ๖-๘ ใช้เวลาประมาณ ๒ สัปดาห์ ได้แก่ ๖. ประมวลและวิเคราะห์คำตอบ ๗. ส่งคำตอบที่ปรับแล้วให้ผู้เชี่ยวชาญตอบ ๘. รับคำตอบรอบที่ ๒ คืน เพื่อวิเคราะห์คำตอบ Sman Ngamsnit
ขั้นตอนที่ ๙-๑๐ ใช้เวลาประมาณ ๒ สัปดาห์ ได้แก่ ๙. วิเคราะห์คำตอบ ๑๐. เขียนรายงาน เทคนิคเดลไฟ ใช้ชุดแบบสอบถามเป็นเครื่องมือวิจัย โดยการถามซ้ำหลายรอบ ต่อเนื่อง แบบสอบถามรอบที่ ๑ เป็นแบบสอบถามเปิด เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญแสดงความเห็นกว้างๆ เพื่อเก็บรวบรวมความคิดเห็นผู้เชี่ยวชาญ แบบสอบถามรอบที่ ๒ พัฒนาจากรอบที่ ๑ เพื่อนำมาสร้างประโยคหรือประเด็นที่ต้องการศึกษา เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญตอบในรูปค่าร้อยละหรือ rating scale หรือรูปแบบอื่นที่เหมาะสม Sman Ngamsnit
Ethnographic Future Research, EFR การวิจัยอนาคตแบบชาติพันธุ์วรรณา Dr.Robert B. Textor ศาสตราจารย์ด้านมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยสแตนฝอร์ด สหรัฐ ได้พัฒนาขึ้น มีขั้นตอนดังนี้ ๑. กำหนดเรื่องที่จะศึกษาและกำหนดกลุ่มผู้เชี่ยวชาญที่จะสัมภาษณ์ อาจจะเป็นกลุ่มที่เจาะจงหรือตามหลักสถิติ ๒. สัมภาษณ์แบบเปิด ไม่ชี้นำ เป็นแบบกึ่งโครงสร้าง เตรียมคำถามล่วงหน้า ๓. สัมภาษณ์ ให้ภาพอนาคตที่เป็นทางเลือก ๓ ภาพ คือภาพที่ดี ภาพที่ไม่ดีและภาพที่น่าจะเป็นได้มากที่สุด ซึ่งมีแนวโน้มที่ผู้ให้สัมภาษณ์คาดว่าจะเกิดได้มากที่สุด ๔. ประมวลสรุปความคิดเห็นให้ผู้ให้สัมภาษณ์ฟังทั้งหมด เพื่อให้ยืนยันหรือเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมได้ Sman Ngamsnit
๕. วิเคราะห์ สังเคราะห์หาฉันทามติของแนวโน้มแต่ละประเด็น ๖. นำแนวโน้มนั้นมาเขียนอนาคตภาพ(Scenario) Ethnographic Delphi Future Research, EDFR การวิจัยอนาคตแบบชาติพันธุ์วรรณาด้วยวิธีเดลไฟ เป็นวิธีการผนวกการวิจัยอนาคตแบบชาติพันธ์วรรณากับเทคนิคเดลไฟเข้าด้วยกัน โดยนำจุดเด่นของทั้งสองวิธีเข้าด้วยกัน เพื่อความเหมาะสมและยืดหยุ่นมากขึ้น Focus Group Technique เทคนิคโฟกัสกรุ๊ป เป็นการใช้ปฏิสัมพันธ์กลุ่มเพื่อให้ได้ข้อมูลเจาะลึกซึ่งทำได้ยากหากไม่มีปฏิสัมพันธ์กลุ่ม Focus group discussion Sman Ngamsnit
วิธีการเก็บข้อมูลทางการวิจัยคุณภาพ • การสัมภาษณ์เจาะลึก (In-depth-interview) • เป็นวิธีการเก็บข้อมูลทางการวิจัยคุณภาพ มีลักษณะการสัมภาษณ์เชิงลึกดังนี้ • ๑. ใช้จำนวนกลุ่มผู้เชี่ยวชาญขนาดเล็ก ประมาณ ๑๗ คน (Smaller samples) (Thomas T. MacMillan) • ๒. ผู้ตอบให้คำตอบที่ชี้ชัดในแต่ละประเด็น (specific answer) ๓.สัมภาษณ์เป็นรายบุคคล (personal interview) ๔. อาจกลับไปสัมภาษณ์เพิ่มเติมอีกได้ แต่ควรให้เสร็จในครั้งเดียว Sman Ngamsnit
ขั้นตอนการสัมภาษณ์เจาะลึก ๑. ขั้นตอนก่อนสัมภาษณ์ (pre-interview) ๑.๑ เลือกกลุ่มตัวอย่างที่จะสัมภาษณ์ นัดหมาย ให้ประเด็นคำถาม ๑.๒ เตรียมอุปกรณ์บันทึกข้อมูล เครื่องบันทึกเสียง กล้องถ่ายรูป อุปกรณ์การจดบันทึก ๑.๓ แต่งกายให้สุภาพ เหมาะสมกับกาลเทศะ ๒. ขั้นตอนการสัมภาษณ์ (Interview) ๒.๑ แนะนำตนเอง ให้ความสำคัญแก่ผู้ให้สัมภาษณ์ อ่อนน้อม ถ่อมตน ๒.๒ บอกวัตถุประสงค์ในการสัมภาษณ์ให้ชัดเจน บอกประโยชน์ที่จะได้รับจากการให้สัมภาษณ์ สมาน งามสนิท
๒.๓ สร้างบรรยากาศเป็นกันเอง ให้ความมั่นใจว่าข้อมูลจะเก็บเป็นความลับ ใช้ในการศึกษาเท่านั้น ๒.๔ ถ้ามีการบันทึกเสียงหรือถ่ายภาพ ถ่านวีดิโอ ต้องแจ้งให้ผู้ให้สัมภาษณ์รับทราบและต้องได้รับอนุญาตก่อน ๓. ขั้นปิดการสัมภาษณ์ (post interview) ๓.๑ ตรวจสอบคำถามว่าครบถ้วนหรือไม่ ตรวจสอบเครื่องบันทึกเสียงว่าทำงานหรือไม่ ๓.๒ กล่าวขอบคุณ แสดงมารยาทที่รู้สึกซาบซึ้งในความร่วมมือของผู้ให้สัมภาษณ์ ๓.๓ มอบของที่ระลึกหรือค่าตอบแทนที่เหมาะสม สมาน งามสนิท
๒. การสนทนากลุ่มเฉพาะ (Focus group discussion) เป็นวิธีการเก็บข้อมูลของการวิจัยคุณภาพวิธีหนึ่ง กลุ่มสนทนาประกอบด้วยสมาชิกจากหลากหลายอาชีพ ต่างวัย ต่างการศึกษา กลุ่มหนึ่งประกอบด้วยสมาชิกประมาณ ๖ ถึง ๑๒ คน มีขั้นตอนการดำเนินการดังนี้ 1. Define the problem กำหนดประเด็นปัญหา 2. Select a sample เลือกกลุ่มตัวอย่าง 3. Determine the number of group necessary กำหนดจำนวนกลุ่มที่จำเป็น ปกติจะใช้อย่างน้อย ๒ กลุ่มสนทนาในหัวข้อเดียวกันเพื่อการเปรียบเทียบ สมาน งามสนิท
4. Conduct the session ดำเนินการสนทนากลุ่ม ให้มีผู้ดำเนินการสนทนา นำการสนทนา ควบคุมไม่ให้สมาชิกคนใดคนหนึ่งพูดมากกว่าคนอื่น ให้ทุกคนแสดงความคิดเห็นเท่าๆกัน ถ้ามีการบันทึกเสียง ต้องบอกกลุ่มเพื่อขออนุญาต 5. Analyze the data and prepare a summary วิเคราะห์ข้อมูลและรายงานสรุป การเตรียมการสนทนากลุ่ม เตรียม ค่าตอบแทน เตรียมสถานที่ เตรียมอาหาร ที่พัก สำหรับกลุ่ม สมาน งามสนิท
การเลือกกลุ่มตัวอย่าง เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยไม่ใช้ทฤษฎีความน่าจะเป็น เป็นการเลือกแบบเจาะจง (purposive sampling) เช่นกำหนดสมาชิกในกลุ่ม ๑๐ คน ก็แบ่งเป็นชาย ๕ คน เป็นหญิง ๕ คน หรือ ผู้นิยมพรรคพลังประชาชน ๔ คน พรรคประชาธิปัตย์ ๔ คน ไม่สังกัดพรรคอีก ๒ คน หรืออาจจะเลือกจาก การศึกษา รายได้ อาชีพ ขึ้นอยู่กับหัวข้อที่ศึกษา ไม่ควรเลือกซ้ำกับกลุ่มที่เคยเลือกแล้ว Snowball samplingเป็นการเลือกกลุ่มตัวอย่าง ที่หาได้ยาก เพียงจำนวนน้อย เมื่อสัมภาษณ์คนที่หนึ่งเสร็จแล้ว ขอให้ท่านแนะนำต่อว่า เรื่องนี้ ควรจะถามใครต่อดี แล้วตามไปถามคนที่หนึ่งแนะนำในเรื่องเดียวกัน และทำอย่างนี้ไปจนกว่าคำตอบจะนิ่งหรือเป็นแนวเดียวกัน (Earl Babbie 2001:180) สมาน งามสนิท
การวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยคุณภาพการวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยคุณภาพ เมื่อได้ข้อมูลมาแล้ว ให้ตรวจสอบข้อมูล เพื่อลดปริมาณ ถ้าจำเป็น จากนั้นจัดทำเรื่องที่ศึกษาให้เป็นระบบ(systemize) จัดทำระบบให้เป็น Data และจัดทำดาต้าให้เป็นปริมาณ Quantity เพื่อการอภิปรายเชิงปริมาณประกอบ ความน่าเชื่อถือและความเที่ยงตรงของการวิจัย(Reliability and Validity) 1.Reliability ความน่าเชื่อถือ ครอบคลุม ความคงที่ ความเหมือนเดิม และความแม่นยำ 2. Validity ความเที่ยงตรง ครอบคลุม ความเที่ยงตรงของข้อมูล ความเที่ยงตรงของความหมาย ความเที่ยงตรงตามการสุ่ม ความเที่ยงตรงตามวิธีการ และความเที่ยงตรงตามทฤษฎี สมาน งามสนิท
Triangulation การตรวจสอบสามด้าน ได้แก่การตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลจาก ๓ แหล่ง ได้แก่ การสังเกต ศึกษาเอกสาร และสัมภาษณ์ (David Silverman,p.156) Functionalism looks at functions of social institution Behaviorism defines all behavior in term of ‘stimulus’ and ‘response’ Symbolic interactionismfocuses on how we attach symbolic meanings to interpersonal relations Sman Ngamsnit
แหล่งข้อมูลในการมองปัญหา ปรโตโฆสะ External โยนิโสมนสิการ internal source source Bird eye view Sman Ngamsnit
หลักการแก้ปัญหาอริยสัจ ๔ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ปัญหา สาเหตุของปัญหา สภาพที่หมดปัญหา วิธีการแก้ปัญหา Problems Causessolved methods นิโรธ Salvation Sman Ngamsnit
การตั้งชื่อวิทยานิพนธ์การตั้งชื่อวิทยานิพนธ์ มีหลายหลักการ ขึ้นอยู่กับหัวข้อวิจัยและรูปแบบการวิจัย ถ้าเป็นการวิจัยปริมาณ ที่ต้องใช้สถิติ ตัวเลขเป็นส่วนประกอบในการอธิบาย มักจะตั้งชื่อให้มีลักษณะตัวแปรต้นและตัวแปรตามให้ปรากฏในชื่อเรื่อง ถ้าเป็นการวิจัยที่ไม่ใช่ปริมาณ มักจะเขียนเป็นประโยคบอกเล่าหรือวลีบอกเล่าให้เข้าใจได้ว่า เนื้อหาภายในเรื่องจะเป็นอย่างไร หัวข้อการวิจัยทั้ง ๒ แบบ มักจะตั้งชื่อตามแนวของ SOSE, ได้แก่ S, Subject คำประธาน O, Object คำกรรมที่ถูกกระทำ S, Setting บริบทคือที่เกิดการวิจัย E, Effects ผลของการวิจัย ตัวอย่างเช่น การซื้อสินค้าทางอินเทอร์เน็ต ภูมิคุ้มกันด้านศีลธรรมกับการเปิดบ่อนกาสิโนในประเทศไทย การนำทฤษฎีรัฐประศาสนศาสตร์ไปใช้ในชุมชน ฯลฯ
พุทธธรรมกับการเปิดบ่อนการพนันในประเทศไทยพุทธธรรมกับการเปิดบ่อนการพนันในประเทศไทย S, Subject คือพุทธธรรม O, Object คือบ่อนการพนัน S, Setting คือประเทศไทย E, Effects คือผลที่คาดว่าจะตามมา อาจจะยังไม่ปรากฏตอนตั้งชื่อ แต่จะปรากฏในตอนทำวิจัยแล้ว หลังจากได้ชื่อแล้ว กำหนดกรอบ หรือแผนที่ หรือโครงสร้างของการวิจัย ในรูปแบบของ Causal Model คือกำหนดให้ได้ว่า อะไร เป็นเหตุ อะไรเป็นผล ตัวแปรเหตุ เรียกว่า Independent variables ได้แก่สิ่งที่เป็นต้นเหตุแห่งปรากฏการณ์ ส่วนผลที่เกิดจากสิ่งที่เป็นต้นเหตุเรียกว่าตัวแปรตาม (Dependent Variables)
กรอบในการกำหนดตัวแปร กรอบในการกำหนดตัวแปร เราอาจใช้ Systems Model or Theory ทฤษฎีระบบซึ่งประกอบด้วย Input, Process, Output and Feedback มาเป็นกรอบได้เช่นการวิจัยเรื่อง การศึกษากับการเลื่อนชั้นทางสังคม Education and Social Mobility หรือ การศึกษามีผลต่อการเลื่อนชั้นทางสังคม Education Induces Social Mobility ทฤษฎีระบบ จะเป็นดังนี้ Input Process Output Education Learning Graduates Good job, Good position
ส่วนที่เป็น Input เป็นตัวแปรต้น ส่วนที่เป็น Output เป็นตัวแปรตาม โลกแห่งความรู้ ความคิด กับโลกแห่งความจริง โลกแห่งความรู้ โลกแห่งความจริง องค์ความรู้เดิม วิธีการแสวงหาความรู้จากแหล่งต่างๆ สรรพสิ่งมีความสัมพันธ์กัน หรือลวงตา
ความสัมพันธ์ระหว่างหญิงกับชาย โปรดดูคำอธิบายต่อไปนี้ ผู้ชายเป็นช้างเท้าหน้า ผู้หญิงเป็นช้างเท้าหลัง ผู้ชายและผู้หญิงเป็นเสมือนล้อ ๒ ข้างของเกวียน ชายเป็นแห หญิงเป็นข้อง ชายก่อ หญิงสาน ผู้หญิงคือผู้ชายที่ทำบุญมาน้อยกว่า ผู้ชายคือผู้หญิงที่ได้วิวัฒนาการมาจนอยู่ในขั้นที่สูงกว่า แล้วท่านละ จะอธิบายอย่างไร?
ระดับต่างๆของการอธิบายความจริงระดับต่างๆของการอธิบายความจริง 4. ปัญญา Wisdom 3. ความรู้ Knowledge 2. สารสนเทศ Information 1. ข้อมูล Data (Datum)
ระดับขององค์ความรู้ Body of Knowledge 4. ความคิดแม่แบบ/กระบวนทัศน์/ภูมิปัญญารู้แจ้ง Paradigm*/Wisdom 3. ทฤษฎี Theory 3. ทฤษฎี 2.แบบจำลอง/กรอบความคิด Model/Construct 1. สมมติฐาน Hypothesis *Paradigm is a clear and typical example of something, an example or model for something which explains it or shows how it can be produced.
1. สมมติฐาน คือคำอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างสองสิ่งหรือหลายสิ่ง โดยมีเงื่อนไขเรื่องเวลา สถานที่เข้ามาเกี่ยวข้อง (time and space bound) คือการคาดเดาที่เป็นระบบ (systematic guess) 2.แบบจำลอง กรอบความคิด ข้อสันนิษฐาน ได้แก่สมมติฐานที่ผ่านการตรวจสอบและพิสูจน์มาหลายครั้ง ในหลายเวลาและสถานที่ จนสามารถกล่าวได้ว่าความสัมพันธ์ของสองสิ่งที่ศึกษานั้นเป็นความจริงในทุกเงื่อนไข เช่นพระจันทร์ ไม่ว่าจะอยู่ในที่ใดๆ มีข้างขึ้นข้างแรม มีความสัมพันธ์กับน้ำทะเลขึ้น-ลง 3. ทฤษฎี คือคำอธิบายที่สูงขึ้นกว่าแบบจำลอง แบบจำลองอธิบายได้ในระดับอะไรสัมพันธ์กับอะไร ระดับ What ส่วนทฤษฎีอธิบายได้ในระดับสาเหตุ Why และความสัมพันธ์จะดำเนินไปได้อย่างไร How 4. ภูมิปัญญารู้แจ้ง เป็นองค์ความรู้ระดับสูงที่เกิดจากทฤษฎี ได้ผ่านการเวลาพิสูจน์มานานจนกลายเป็นแม่บททางความคิด ความรู้ย่อยอื่นๆแตกตัวออกจากความรู้แม่บทนี้ เช่นเรื่องระบบโลกของเซอร์ ไอแซก นิวตัน หรือ เรื่องปฏิจจสมุปปบาท ที่กล่าวถึงสรรพสิ่งสัมพันธ์กัน ของพระพุทธเจ้า
องค์ประกอบของการวิจัยที่นักวิจัยต้องมี 1. ต้องมีแนวคิดแม่แบบ Conceptual Model /paradigm 2.ต้องมีหลักหรือระเบียบการศึกษา (methodology) จะใช้วิธีการใดให้ได้ความจริง 3. ต้องมีวิธีหรือเทคนิคศึกษา (method) ทำ อย่างไรให้ได้ความจริง 4. ต้องมีเครื่องมือในการศึกษา (artifacts) ต้องมีประเด็น ปัญหา วัตถุดิบและมีเครื่องมือในการเก็บรวบรวมความจริง อ้างอิง:Earl Babbie, The Practice of Social Research, 9th Edition David Silverman, Doing Qualitative Research John W. Creswell, Research Design: Qualitative & Quantitative Approach Etc.