370 likes | 1.58k Views
โรคไข้เลือดออก. ไข้เลือดออก. # เป็นโรคติดเชื้อที่พบได้บ่อยมากโรคหนึ่ง. # พบมากในเด็กอายุ 2 - 10 ปี. #ส่วนเด็กโตและผู้ใหญ่ก็อาจพบได้ประปราย และอาการมักจะไม่รุนแรง. #มักพบระบาดในฤดูฝนในช่วงที่มียุงลายชุกชุม. สาเหต ุ. เกิดจากเชื้อ ไวรัส มีอยู่ 2 ชนิด. ได้แก่.
E N D
ไข้เลือดออก #เป็นโรคติดเชื้อที่พบได้บ่อยมากโรคหนึ่ง # พบมากในเด็กอายุ 2 - 10 ปี #ส่วนเด็กโตและผู้ใหญ่ก็อาจพบได้ประปราย และอาการมักจะไม่รุนแรง #มักพบระบาดในฤดูฝนในช่วงที่มียุงลายชุกชุม
สาเหตุ เกิดจากเชื้อไวรัส มีอยู่ 2 ชนิด ได้แก่ เด็งกี่(Dengue) ชิกุนคุนยา(Chigunkunya) ประมาณ 90 % ของผู้ป่วย จะมีสาเหตุจากเชื้อเด็งกี่
พาหะของโรค ยุงลาย ยุงลายจะไปกัดคนที่เป็นไข้เลือดออกก่อนแล้วไปกัดคนที่อยู่ใกล้เคียง(ในรัศมีไม่เกิน 400 เมตร) ก็จะแพร่เชื้อให้คนอื่นๆต่อไป เป็นยุงที่ออกหากิน(กัดคน)ในเวลากลางวัน เพาะพันธุ์ตามแหล่งน้ำนิ่งในบริเวณบ้าน เช่น น้ำในตุ่ม จานรองตู้กับข้าว ฝากะลา กระป๋อง หลุมที่มีน้ำขัง เป็นต้น เพาะพันธุ์ตามแหล่งน้ำนิ่งในบริเวณบ้าน เช่น น้ำในตุ่ม จานรองตู้กับข้าว ฝากะลา กระป๋อง หลุมที่มีน้ำขัง เป็นต้น
อาการของไข้เลือดออก • แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ 1.ระยะไข้สูง 2 ระยะช็อก และมีเลือดออก 3.ระยะฟื้นตัว
ไข้สูงลอย (39 - 40 องศาเซลเซียส) ซึ่งเกิดขึ้นฉับพลันหน้าแดง ตาแดง ปวดศีรษะ กระหายน้ำ ผู้ป่วยจะซึม มักมีอาการเบื่ออาหารและอาเจียนร่วมด้วย ปวดท้องบริเวณใต้ลิ้นปี่หรือชายโครงขวา หรือปวดท้องทั่วๆไป อาจ มีอาการท้องผูกหรือถ่ายเหลว ไม่ค่อยมีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหลหรือไอมาก แต่อาจมีอาการเจ็บคอ ในราววันที่ 3 ของไข้ อาจมีผื่นแดง ไม่คันขึ้นตามแขนขาและลำตัว ซึ่งจะเป็นอยู่ 2 - 3 วัน บางคนอาจมีจุดเลือดออกเป็นลักษณเป็นจุดแดงเล็กๆขึ้นตามหน้า แขน ขา ซอกรักแร้ ในช่องปาก
การทดสอบทูนิเคย์ ใช้เครื่องโดยการวัดความดัน หรือ ยางรัด รัดเหนือข้อศอกให้แน่นเล็กน้อย นาน 5 นาที ถ้าพบมีจุดเลือดออก/จุดแดงเกิดขึ้นบริเวณท้องแขนใต้ตำแหน่งที่รัดมากกว่า 10 จุดในวงกลมเส้นผ่านศูนย์กลาง 1 นิ้ว แสดงว่าผลการทดสอบเป็นบวก ส่วนใหญ่จะให้ผลบวกตั้งแต่วันที่ 2 ของไข้
ระยะช็อก และ มีเลือดออก
อาการจะเกิดในช่วงวันที่ 3 - 7 ของโรคซึ่งถือว่าเป็นช่วงวิกฤตของโรค อาการไข้จะเริ่มลดลง แต่ผู้ป่วยจะมีอาการทรุดหนัก มีอาการปวดท้องและอาเจียนบ่อยขึ้น ซึมมากขึ้น กระสับกระส่าย ตัวเย็น มือเท้าเย็น เหงื่อออก ปัสสาวะออกน้อย ชีพจรเบาเร็วและความดันต่ำ ซึ่งเป็นอาการของภาวะช็อก เกิดขึ้นเนื่องจากพลาสมาไหลซึมออกจากหลอดเลือดทำให้ปริมาตรของเลือดลดลงมาก ถ้าเป็นรุนแรงและไม่ได้รับการรักษาได้ทันท่วงที ก็อาจถึงตายได้ภายใน 1 - 2 วัน
ผู้ป่วยอาจมีอาการเลือดออกตามผิวหนัง เลือดกำเดาไหล อาเจียนเป็นเลือดสดๆหรือเป็นสีกาแฟ ถ่ายอุจจาระเป็นเลือดสดๆหรือเป็นสีน้ำมันดิบ ถ้าเลือดออกมากมักทำให้เกิดภาวะช็อกรุนแรงถึงตายได้ ระยะนี้จะกินเวลาประมาณ 24 - 72 ชั่วโมง ถ้าหากผู้ป่วยไม่ตาย สามารถผ่านช่วงวิกฤตไปได้ ก็จะเข้าสู่ระยะที่ 3
ในรายที่มีภาวะช็อกอ่อนๆ หรือแม้แต่ผู้ป่วยที่มีภาวะช็อกอย่างรุนแรง ถ้าได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและทันท่วงที ก็จะฟื้นตัวสู่สภาพปกติ อาการที่บ่งบอกว่าผู้ป่วยดีขึ้น คือ ผู้ป่วยเริ่มอยากกินอาหาร แล้วอาการต่างๆจะกลับคืนสู่สภาพปกติ
อาการแทรกซ้อน อาการแทรกซ้อนที่พบได้คือภาวะเลือดออกรุนแรง ภาวะช็อกซึ่งอาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้
1.ถ้าอาการไม่รุนแรง ยังไม่มีอาการเลือดออกเอง ภาวะช็อกแพทย์จะให้การรักษาตามอาการ ดังนี้ • ให้ผู้ป่วยนอนพักมากๆ • หากมีไข้สูง ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัวบ่อยๆ และให้ยาลดไข้ พาราเซตามอล ห้ามให้ แอสไพรินเพราะจะทำให้เลือดออกได้ง่ายขึ้น • ให้รับประทานอาหารอ่อนๆ เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก นม น้ำหวาน • ให้ดื่มน้ำมากๆ • สังเกตอาการเลือดออกจากส่วนต่างๆของร่างกาย เช่น มีจุดจ้ำเลือดตามตัว เลือดกำเดาไหล เลือดออกตามไรฟัน ปัสสาวะ/อุจจาระ มีเลือดปน
2.ถ้าผู้ป่วยมีอาเจียนมากหรือมีภาวะขาดน้ำ แพทย์จะให้น้ำเกลือทางหลอดเลือดดำ 3.แพทย์จะทำการเจาะเลือด ตรวจดูความเข้มข้นของเลือดเป็นระยะๆ ถ้าจำเป็นอาจจะให้เกล็ดเลือดทดแทน
1.ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย1.ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ปิดฝาโอ่งน้ำ และล้างโอ่งทุก 10 วัน จานรองตู้กับข้าวควรใส่น้ำเดือดลงไปทุก 10 วัน หรือใช้เกลือแกงใส่จานรองขาตู้ 2 ช้อนชาต่อน้ำ 1 แก้ว ทำลายกระป๋อง กะลา ยางรถยนต์เก่าหรือสิ่งที่จะเป็นที่ขังน้ำ ใส่ทราย อะเบต 1%ลงในภาชนะกักเก็บน้ำทุกชนิด ในอัตราส่วน 10 กรัมต่อน้ำ 100 ลิตร ควรเติมใหม่ทุก 2 - 3 เดือน น้ำที่ใส่ทรายอะเบตสามารถใช้และดื่มกินได้อย่างปลอดภัย
2.เด็กที่นอนกลางวัน ควรกางมุ้งอย่าให้ยุงลายกัด 3.ระมัดระวังอย่าให้ยุงลายกัด