540 likes | 782 Views
สัญญาเช่าทรัพย์. 177227 Faculty of Law. ลักษณะของสัญญาเช่าทรัพย์. 1. สัญญาเช่าทรัพย์ มีลักษณะเป็นสัญญาต่างตอบแทน คู่สัญญาในสัญญาเช่าทรัพย์ต่างเป็นเจ้าหนี้ ลูกหนี้ซึ่งกันและกัน
E N D
สัญญาเช่าทรัพย์ 177227 Faculty of Law
ลักษณะของสัญญาเช่าทรัพย์ลักษณะของสัญญาเช่าทรัพย์ • 1. สัญญาเช่าทรัพย์ มีลักษณะเป็นสัญญาต่างตอบแทน • คู่สัญญาในสัญญาเช่าทรัพย์ต่างเป็นเจ้าหนี้ ลูกหนี้ซึ่งกันและกัน • ผู้ให้เช่ามีหน้าที่ให้ผู้เช่าได้ใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินที่เช่าตลอดเวลาเช่า ส่วนผู้เช่ามีหน้าที่จะต้องชำระค่าเช่าแก่ผู้ให้เช่า 177227 Faculty of Law
การใช้ประโยชน์ ผู้เช่า ผู้ให้เช่า ค่าเช่า 177227 Faculty of Law
2. สัญญาเช่าทรัพย์เป็นสัญญาที่ไม่มีแบบ • ดังนั้น สัญญาเช่าทรัพย์จึงสมบูรณ์เมื่อคำเสนอคำสนองถูกต้องตรงกัน 177227 Faculty of Law
3. สัญญาเช่าทรัพย์ก่อให้เกิดเพียงบุคคลสิทธิเท่านั้นไม่ก่อให้เกิดทรัพยสิทธิในทรัพย์สินที่เช่า • แต่ผู้เช่าอาจจะมีทรัพยสิทธิ(สิทธิครอบครอง) เหนือทรัพย์สินที่เช่าได้ โดยการเข้าครอบครองทรัพย์สินที่เช่า ตัวอย่างเช่น ก. เช่าบ้านจาก ข. ปรากฏว่า ขณะที่ ก. จะย้ายเข้าไปอยู่ปรากฏว่า ค. ได้ครอบครองอยู่ก่อนแล้ว เช่นนี้ ก. จะฟ้องขับไล่ ค. ออกจากบ้านดังกล่าวได้หรือไม่ 177227 Faculty of Law
4. สัญญาเช่าทรัพย์มีเพียงวัตถุประสงค์ในการโอนสิทธิครอบครองในตัวทรัพย์เท่านั้น มิได้มีวัตถุประสงค์โอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ให้เช่า • ดังนั้น ถ้าทรัพย์สินที่เช่าสูญหาย หรือบุบสลาย โดยเหตุอันจะโทษผู้เช่าไม่ได้ การสูญหายหรือบุบสลายย่อมตกเป็นพับแก่ผู้ให้เช่า (ผู้ให้เช่าไม่มีสิทธิที่จะได้รับค่าเช่า) ม.372 177227 Faculty of Law
ตัวอย่างเช่น ก. เช่าบ้าน ข. มีกำหนดเวลา 1 ปี ค่าเช่าเดือนละ 3,000 บาท หลังจาก ก. เช่าบ้านได้ 6 เดือน บ้านดังกล่าวเกิดเพลิงไหม้โดยไม่ใช่ความผิด ของ ก. และ ข. เช่นนี้ ข. จะมีสิทธิได้ค่าเช่าในส่วน 6 เดือนที่เหลือหรือไม่ 6 เดือน สัญญาเกิดขึ้น 1 ปี 177227 Faculty of Law
แบบ และหลักฐานของสัญญาเช่า • การเช่าสังหาริมทรัพย์ • สัญญาเช่าสังหาริมทรัพย์สมบูรณ์เมื่อผู้ให้เช่าและผู้เช่าได้เสนอสนองถูกต้องตรงกัน • การเช่าสังหาริมทรัพย์ธรรมดา หรือสังหาริมทรัพย์พิเศษ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ไม่ได้กำหนดแบบ หรือหลักฐานการฟ้องร้องไว้ • การพิสูจน์ว่าสัญญาเช่าเกิดขึ้น สามารถนำพยานบุคคล พยานเอกสารมาสืบพิสูจน์ได้ 177227 Faculty of Law
สัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์สัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์ • การเช่าอสังหาริมทรัพย์แยกพิจารณา ได้ 2 กรณี คือ • 1. การเช่าอสังหาริมทรัพย์ที่มีกำหนดเวลาการเช่าไม่เกิน 3 ปี กฎหมายกำหนดว่าจะต้องมีหลักฐานการเช่าเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดเป็นสำคัญ จึงจะฟ้องร้องบังคับคดีได้ -สัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์สมบูรณ์เมื่อคำเสนอสนองถูกต้องตรงกัน 177227 Faculty of Law
-สัญญาเช่าอสังหาฯ หากคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไม่ปฏิบัติตามสัญญา หรือผิดสัญญา การฟ้องร้องให้ปฏิบัติตามสัญญาจะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิด(ฝ่ายที่จะถูกฟ้อง) เช่น ก. เช่าที่ดิน ข. ด้วยวาจามีกำหนดเวลา 2 ปี ชำระค่าเช่าทุกสิ้นปีๆละ 12,000 บาท ภายหลังเช่าได้ 1 ปี ก. ไม่ชำระค่าเช่า เช่นนี้ ข. จะฟ้องร้องให้ ก. ชำระค่าเช่าไม่ได้ 177227 Faculty of Law
-การฟ้องร้องให้ปฏิบัติตามสัญญาเช่าเท่านั้น ที่กฎหมายกำหนดว่าต้องมีหลักฐานการเช่าเป็นหนังสือฯ ส่วนการฟ้องร้องบังคับตามสิทธิเรียกร้องเรื่องอื่น ไม่อยู่ในบังคับของ ม. 538 กล่าวคือ จะใช้พยานหลักฐานชนิดใด ประเภทใดก็ได้ 177227 Faculty of Law
เช่น ก. เช่าที่ดิน ข. ด้วยวาจามีกำหนดเวลา 2 ปี ชำระค่าเช่าทุกสิ้นปีๆละ 12,000 บาท ภายหลังเช่าได้ 1 ปี ก. ไม่ชำระค่าเช่า เช่นนี้ ข. จะฟ้องร้องให้ ก. ชำระค่าเช่าไม่ได้ ดังนั้น ข. จึงฟ้องขับไล่ ก. ออกจากทรัพย์สินที่ดินของตนเอง เช่นนี้ ข. สามารถฟ้องขับไล่ ก. ได้ เพราะไม่ใช้การฟ้องให้ปฏิบัติตามสัญญาเช่า 177227 Faculty of Law
เช่น ก. เช่าที่ดิน ข. ด้วยวาจามีกำหนดเวลา 2 ปี โดย ก. ชำระค่าเช่าล่วงหน้าทั้ง 2 ปี ภายหลังเช่าได้ 1 ปี ข. ไม่ยอมให้ ก. เช่าที่ดินต่อไป และขับไล่ ก. ออกจากที่ดิน เช่นนี้ ก. จะฟ้องร้องให้ ข. ปฏิบัติตามสัญญาได้หรือไม่ ถ้าไม่ได้ ก. จะเรียก ค่าเช่าที่ชำระไปแล้วคืนได้หรือไม่ 177227 Faculty of Law
-สิ่งที่กฎหมายต้องการคือ หลักฐานการเช่าเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิด ดังนั้นถ้าไม่มีหลักฐานการเช่าเป็นหนังสือ จะนำพยานบุคคลหรือวัตถุพยานอื่นๆมานำสืบว่าได้มีการทำสัญญาเช่าต่อกันไม่ได้ -แต่ถ้าได้มีหลักฐานเป็นหนังสือแล้ว แม้ต่อมาหลักฐานนั้นสูญหาย หรือถูกทำลายไปเช่นนี้ กฎหมายอนุญาตให้นำพยานบุคคล หรือสำเนาของหลักฐานนั้นมาพิสูจน์ถึงการเช่าได้ 177227 Faculty of Law
2. การเช่าอสังหาริมทรัพย์ซึ่งมีกำหนดระยะเวลาการเช่าเกินกว่า 3 ปี หรือมีกำหนดตลอดอายุของผู้เช่าหรือผู้ให้เช่า • การเช่าอสังหาริมทรัพย์ซึ่งมีกำหนดระยะเวลาการเช่าเกินกว่า 3 ปี หรือมีกำหนดตลอดอายุของผู้เช่าหรือผู้ให้เช่า จะต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนการเช่าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ มิเช่นนั้นจะฟ้องร้องบังคับได้เพียง 3 ปี เท่านั้น • การทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ในมาตรา 538 นี้มิใช่แบบของสัญญาเช่า 177227 Faculty of Law
แต่การจะบังคับได้สามปี สัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์นั้นจะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดเป็นสำคัญด้วย หากการเช่าอสังหาริมทรัพย์นั้นมิได้มีหลักฐานเป็นหนังสือเลย สัญญาเช่าดังกล่าวก็จะฟ้องร้องบังคับคดีไม่ได้เลยมิใช่ฟ้องร้องได้ในสามปีแรก 177227 Faculty of Law
ตัวอย่าง ก. เช่าที่ดิน ข. ด้วยวาจาเพื่อทำสวน มีกำหนดเวลา 10 ปี ชำระค่าเช่าเป็นรายปี ปีละ 12,000 บาท เมื่อสิ้นปีที่ 2 ข. ไม่ให้ก. เช่าที่ดินต่อไป เช่นนี้ ก. จะฟ้องร้องบังคับให้ ข. ปฏิบัติตามสัญญาเช่า ได้กี่ปี สัญญาเกิด ปีที่ 3 ปีที่ 2 10 ปี 177227 Faculty of Law
สัญญาเช่าที่ไม่ต้องจดทะเบียนการเช่าสัญญาเช่าที่ไม่ต้องจดทะเบียนการเช่า สัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์ดังต่อไปนี้ แม้คู่สัญญาจะมิได้จดทะเบียนการเช่า สัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์ก็สามารถที่จะฟ้องร้องบังคับคดีกันได้ กล่าวคือ • ก. สัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่มีกำหนดเวลาการเช่า • เพราะ สัญญาเช่าที่ไม่มีกำหนดเวลานั้น ไม่แน่นอนว่าจะมีกำหนดระยะเวลาเท่าใด • การจดทะเบียนการเช่า ใช้บังคับกับสัญญาเช่าที่มีระยะเวลา(เกินกว่า 3 ปี)เท่านั้น 177227 Faculty of Law
ก. เช่าที่ดิน ข. โดยทำเป็นหนังสือ ชำระค่าเช่าทุกๆสิ้นปี โดยไม่มีกำหนดเวลาเช่า คู่สัญญาบอกเลิกเมื่อใดก็ได้ สัญญาเกิด ปัจจุบัน 177227 Faculty of Law
แต่สัญญาเช่าที่ไม่มีกำหนดเวลาเช่าดังกล่าว ถ้าจะฟ้องร้องให้ปฏิบัติตามสัญญาเช่าจะต้องมีหลักฐานการเช่าเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิด ด้วย มิเช่นนั้นจะฟ้องร้องไม่ได้เลย 177227 Faculty of Law
ก. เช่าที่ดิน ข. ด้วยวาจา ตกลงชำระค่าเช่าทุกๆสิ้นปี โดยไม่มีกำหนดเวลาเช่า ถ้า ก. ไม่ชำระค่าเช่าในปีใดปีหนึ่ง ข. จะฟ้องร้องให้ ก. ชำระค่าเช่าได้หรือไม่ สัญญาเกิด ปัจจุบัน 177227 Faculty of Law
สัญญาเช่าทรัพย์ที่ไม่มีกำหนดเวลาเช่า อาจเกิดขึ้นได้ในลักษณะหนึ่งลักษณะใดดังต่อไปนี้ • 1. คู่สัญญาไม่ได้กำหนดเวลาการเช่าเอาไว้ • 2. สัญญาเช่าที่เกิดขึ้นโดยผลของกฎหมาย ตาม ม.570 • 3. สัญญาเช่าที่บังคับได้เพียงบางส่วน 177227 Faculty of Law
ข. สัญญาต่างตอบแทนพิเศษยิ่งกว่าสัญญาเช่า 177227 Faculty of Law
ค่าฤชาธรรมเนียมในการทำสัญญาเช่าค่าฤชาธรรมเนียมในการทำสัญญาเช่า มาตรา 539 บัญญัติว่า “ค่าฤชาธรรมเนียมทำสัญญาเช่านั้นคู่สัญญาพึงออกใช้เสมอกันทั้งสองฝ่าย” • ค่าฤาชาธรรมเนียมในการทำสัญญาเช่า ได้แก่ ค่าอากรแสตมป์ในการทำสัญญา และค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนการเช่า 177227 Faculty of Law
ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนค่าธรรมเนียมการจดทะเบียน • ค่าธรรมเนียมจดทะเบียนการเช่า คิดตามค่าเช่าตลอดเวลาที่เช่าอัตราร้อยละ ๑ ในกรณี ค่าเช่าตลอดชีวิตให้คำนวณค่าเช่าเท่ากับค่าเช่า ๓๐ ปี เศษของร้อยคิดเป็นร้อย • การจดทะเบียนปลอดการเช่า ฯลฯ คิดค่าธรรมเนียมแปลงละ ๕๐ บาท 177227 Faculty of Law
อากรแสตมป์ • เสียภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ในอัตราทุกจำนวน ๑,๐๐๐ บาท หรือเศษของ ๑,๐๐๐ บาท แห่งค่าเช่า ตลอดอายุการเช่าเป็นค่าอากรแสตมป์ ๑ บาท 177227 Faculty of Law
ค่าฤชาธรรมเนียมในการทำสัญญาเช่านั้นเป็นสิ่งที่รัฐทำการจัดเก็บเป็นรายได้เข้ารัฐหากมีการหลีกเลี่ยงไม่เสียค่าฤชาธรรมเนียมในการทำสัญญา รัฐก็จะมีมาตรการบังคับหรือบทลงโทษกำหนดไว้ • เช่น บังคับได้เพียง 3 ปี เป็นต้น • ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนจะคิดคำนวณจากจำนวนปีที่จดทะเบียน ดังนั้นหากเป็นการเช่าระยะเวลานาน คู่สัญญาก็ต้องเสียค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนมากขึ้นด้วย 177227 Faculty of Law
แต่เฉพาะค่าฤชาธรรมเนียมในการทำสัญญาเช่าเท่านั้นที่คู่สัญญาพึ่งออกเท่ากัน หากเป็นค่าธรรมเนียม หรือภาษีอากรอย่างอื่น ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบย่อมเป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมาย อาทิเช่น ค่าภาษีโรงเรือน ค่าภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล 177227 Faculty of Law
เมื่อนับรวมแล้ว เกินกว่า 3 ปี 177227 Faculty of Law
คู่สัญญาที่ไม่ต้องการเสียค่าธรรมเนียมในจำนวนมาก ก็มักจะหลีกเลี่ยงการเสียค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนการเช่า โดยวิธีการแบ่ง หรือซอยระยะเวลาในการเช่าออกโดยการทำสัญญาเช่าหลายฉบับ โดยให้แต่ละฉบับมีระยะเวลาการเช่าที่ไม่นาน และมีระยะเวลาที่ต่อเนื่องกัน 177227 Faculty of Law
เมื่อนับรวมแล้ว เกินกว่า 3 ปี 177227 Faculty of Law
พฤติการณ์ที่ถือว่ามีเจตนาหลีกเลี่ยงการจดทะเบียนการเช่าพฤติการณ์ที่ถือว่ามีเจตนาหลีกเลี่ยงการจดทะเบียนการเช่า • ทำสัญญาเช่าหลายฉบับในเวลาเดียวกัน หรือใกล้เคียงกัน โดยแต่ละฉบับมีเวลาเช่าที่ต่อเนื่องกัน • ทำสัญญาเช่าหลายฉบับในเวลาที่ห่างกัน แต่เวลาเช่าต่อเนื่องกัน 177227 Faculty of Law
ผลของการหลีกเลี่ยงการจดทะเบียนการเช่าผลของการหลีกเลี่ยงการจดทะเบียนการเช่า • สัญญาเช่าที่ทำขึ้นโดยมีเจตนาหลีกเลี่ยงการจดทะเบียนการเช่า ถือว่าคู่สัญญามีเจตนาทำสัญญาเช่าต่อกันคราวเดียวตลอดกำหนดเวลา ดังนั้นถ้ากำหนดเวลาเช่าเกินกว่า 3 ปี ถ้าไม่จดทะเบียน จะบังคับได้เพียง 3 ปี ตาม ม.538 ช่วงท้าย 177227 Faculty of Law
สัญญาจะให้เช่ามีได้หรือไม่ ? • แต่เดิมนั้น ศาลฎีกาวินิจฉัยมาโดยตลอดว่า สัญญาเช่าซึ่งตกลงเช่าเกินกว่า 3 ปี หากไม่จดทะเบียนการเช่าตั้งแต่ขณะแรก ภายหลังคู่สัญญาจะฟ้องร้องให้นำไปจดทะเบียนไม่ได้ • ภายหลังได้มี คำพิพากษาฎีกาที่ วินิจฉัยว่า สามารถฟ้องร้องให้จดทะเบียนการเช่าได้ ถ้าคู่สัญญามีเจตนาจะไปจดทะเบียนการเช่า 177227 Faculty of Law
คำพิพากษาฎีกาที่ 206/2542(ญ) ข้อกำหนดให้ผู้เช่าและ ผู้ให้เช่าต้องไปจดทะเบียนการเช่าตามสัญญา ให้เรียบร้อยภายในวันที่ 31 มีนาคม 2536 ย่อมมีผลผูกพันโจทก์และจำเลยให้ต้องปฏิบัติตาม คำพิพากษาฎีกาที่ 5542/2542 ข้อกำหนดทุกข้อตามสัญญาโดยเฉพาะข้อที่ระบุให้ผู้เช่าต้องไปจดทะเบียนการเช่าตามสัญญาภายในวันที่ 15 ตุลาคม 2536 โดยผู้ให้เช่าเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายค่าธรรมเนียมและค่าอากรในการจดทะเบียนการเช่านั้น ก็ย่อมผูกพันจำเลยให้ต้องปฏิบัติตามสัญญาภายในระยะเวลาดังกล่าวด้วย 177227 Faculty of Law
คำมั่นจะให้เช่า คำมั่นจะให้เช่า ได้แก่ การแสดงเจตนา(คำมั่น)ของผู้ให้เช่า ที่จะให้ผู้เช่าทำการเช่าทรัพย์สินนั้นต่อไป ถ้าผู้เช่าต้องการ 177227 Faculty of Law
การใช้ประโยชน์ ผู้เช่า ผู้ให้เช่า ค่าเช่า คำมั่นจะให้เช่า 177227 Faculty of Law
คำมั่นจะให้เช่า คำสนองจะเช่า สัญญาเช่า สัญญาเช่า(ใหม่) 177227 Faculty of Law
คำมั่นจะให้เช่า สัญญาเช่า คำสนองจะเช่า สัญญาเช่า(ใหม่) 177227 Faculty of Law
คำสนองจะเช่า คำมั่นจะให้เช่า สัญญาเช่า สัญญาเช่า(ใหม่) 177227 Faculty of Law
คำมั่นจะให้เช่าจะต้องชัดเจนคำมั่นจะให้เช่าจะต้องชัดเจน • -ค่าเช่า • -กำหนดเวลาเช่า • เช่น “ถ้าผู้เช่าต้องการ ผู้ให้เช่าจะให้ผู้เช่า เช่าต่อไปในอัตราค่าเช่าเดิม อีก 3 ปี” • เช่น “ถ้าผู้เช่าต้องการ ผู้ให้เช่าจะให้ผู้เช่าเช่าต่อไป ในอัตราค่าเช่าตามแต่จะได้ตกลงกัน” 177227 Faculty of Law
ผลของคำมั่นจะให้เช่า • ถ้ากำหนดเวลาให้ทำคำสนอง ผู้เช่าต้องสนองภายในกำหนดเวลาเช่นว่านั้น • ถ้าไม่ได้กำหนดเวลาให้ทำคำสนอง ผู้เช่าต้องสนองภายในกำหนดเวลาของสัญญาเช่าเดิม (ตามแนวคำวินิจฉัยของศาลฎีกา) 177227 Faculty of Law
คำพิพากษาฎีกาที่ 876/2537 สัญญาเช่าระบุว่าเมื่อพ้นอายุสัญญาเช่า 15 ปีแล้ว โจทก์ ยินยอมตกลงให้จำเลยเช่าต่อได้อีก 14 ปีนั้น กำหนดเวลาเช่าที่กำหนดไว้แน่นอนมีเพียง 15 ปีส่วนเมื่อพ้นกำหนดดังกล่าวหากจำเลยประสงค์จะเช่า โจทก์จะให้จำเลยเช่าต่อไปได้อีก 14 ปี เป็นคำมั่นของโจทก์ที่จะให้จำเลยเช่า จำเลยจะต้องแสดงความจำนงต่อโจทก์ก่อน ครบอายุสัญญาเช่า 177227 Faculty of Law
เมื่อมีการสนองคำมั่นจะให้เช่า สัญญาเช่าที่เกิดขึ้นใหม่นั้น ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ หรือจดทะเบียนด้วย มิเช่นนั้นจะฟ้องร้องบังคับคดีไม่ได้ 177227 Faculty of Law
คำพิพากษาฎีกาที่ 1062/2539 คำมั่นจะให้เช่าที่ดินพิพาทต่อของโจทก์เป็นเพียงคำมั่นด้วยวาจาซึ่งอยู่นอกเหนือจากข้อตกลงตามสัญญาเช่าเดิม แม้จำเลยจะสนองรับ คำมั่นนั้นก่อนครบกำหนดสัญญาเช่าเดิม และเกิดสัญญาเช่าขึ้นใหม่ก็ตามแต่ตราบใดที่โจทก์ยังมิได้ทำหลักฐานการเช่าใหม่เป็นหนังสือลงลายมือชื่อโจทก์ผู้รับผิดเป็นสำคัญ จำเลยย่อมไม่อาจขอบังคับให้โจทก์ต้องยอมให้จำเลยเช่าที่ดินพิพาทต่อไปได้ตาม มาตรา 538 177227 Faculty of Law
กำหนดเวลาการเช่า • แบ่งได้ 2 กรณี • 1. สัญญาเช่าที่ไม่มีกำหนดระยะเวลา • ไม่ต้องจดทะเบียน แต่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ต้องรับผิด เป็นอย่างน้อย 177227 Faculty of Law
สัญญาเกิด ปัจจุบัน 177227 Faculty of Law
2. สัญญาเช่าที่มีกำหนดเวลา • 2.1 กำหนดเวลาตามปี ปฎิทิน ม.540 • จดทะเบียนการเช่าสูงสุดได้ไม่เกิน 30 ปี • ยกเว้น การเช่าอสังหาริมทรัพย์เพื่อการพาณิชย์กรรม หรืออุตสาหกรรม เช่าสูงสุดได้ไม่เกิน • 2.2 กำหนดเวลาเช่าโดยอาศัยอายุขัยของคู่สัญญา ม.541 177227 Faculty of Law
สัญญาเกิดขึ้น สูงสุดไม่เกิน 30 ปี หรือตามอายุขัยของคู่สัญญา 177227 Faculty of Law
บุคคลหลายคนเรียกเอาทรัพย์สินที่เช่ารายเดียวกัน (ม.542-3) • กรณีที่ผู้ให้เช่านำทรัพย์สินไปให้บุคคลเช่าหลายราย จึงมีปัญหาว่าในระหว่างผู้เช่าด้วยกันผู้เช่ารายใดจะเป็นผู้ได้สิทธิครอบครองในตัวทรัพย์สินที่เช่านั้นไป กฎหมายมีหลักเกณฑ์อย่างไร? • ม. 542-3 เป็นกฎหมายระหว่างผู้เช่า กับผู้เช่าด้วยกัน ไม่เกี่ยวกับระหว่างผู้เช่า กับผู้ให้เช่า 177227 Faculty of Law