1 / 81

177312 Faculty of Law

การเสียสิทธิในการรับมรดก. 177312 Faculty of Law. การเสียสิทธิในการรับมรดก. มีอยู่ 3 กรณี 1. ถูกกำจัดมิให้รับมรดก 2. ถูกตัดมิให้รับมรดก 3. สละมรดก. 177312 Faculty of Law. การถูกกำจัดมิให้รับมรดก. การถูกกำจัดมิให้รับมรดกเป็นการเสียสิทธิในการรับมรดกโดยผลของกฎหมาย ซึ่งแยกได้ 2 กรณี

trinh
Download Presentation

177312 Faculty of Law

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การเสียสิทธิในการรับมรดกการเสียสิทธิในการรับมรดก 177312Faculty of Law

  2. การเสียสิทธิในการรับมรดกการเสียสิทธิในการรับมรดก • มีอยู่ 3 กรณี • 1. ถูกกำจัดมิให้รับมรดก • 2. ถูกตัดมิให้รับมรดก • 3. สละมรดก 177312Faculty of Law

  3. การถูกกำจัดมิให้รับมรดกการถูกกำจัดมิให้รับมรดก • การถูกกำจัดมิให้รับมรดกเป็นการเสียสิทธิในการรับมรดกโดยผลของกฎหมาย ซึ่งแยกได้ 2 กรณี ก. การถูกกำจัดมิให้รับมรดกเพราะยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดก • เป็นการกระทำระหว่างทายาท กับทายาทด้วยกัน ข. การถูกกำจัดมิให้รับมรดกฐานเป็นผู้ประพฤติไม่สมควร • เป็นการกระทำที่ไม่สมควรตามที่กฎหมายกำหนด 177312Faculty of Law

  4. ก. การถูกกำจัดมิให้รับมรดกฐานยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดกมาตรา 1605 • องค์ประกอบการถูกกำจัด • 1. ทายาทยักย้าย ปิดบังทรัพย์มรดก • การยักย้าย หมายถึง การเคลื่อนย้าย หรือการจำหน่ายจ่ายโอนซึ่งทรัพย์มรดก • การปิดบัง ได้แก่ การปกปิด ไม่เปิดยอมเปิดเผยถึงทรัพย์มรดก 177312Faculty of Law

  5. คำพิพากษาฎีกาที่ 2062/2492 ทายาทคนหนึ่งบอกแก่ทายาทอีกคนหนึ่งว่า ที่ดินแปลงหนึ่งผู้ตายได้โอนไปแล้วความจริงผู้ตายไม่ได้โอน แต่ทายาทคนนั้นโอนเป็นของตนเองเสีย เช่นนี้ ถือว่าเป็นการปิดบังมรดก ย่อมถูกกำจัดมิให้ได้รับมรดกในที่ดินแปลงนั้น 177312Faculty of Law

  6. คำพิพากษาฎีกาที่ 1239/2506 ทายาทคนหนึ่งไปขอประกาศรับมรดกโดยไม่ระบุลงไปในบัญชีเครือญาติว่ายังมีบุคคลอื่นอีกด้วยนั้น ไม่ใช่เรื่องยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดก คำพิพากษาฎีกาที่ 916/2522 การที่ทายาทคนหนึ่งครอบครองมรดกฝ่ายเดียวไม่เป็นการเบียดบังมรดก 177312Faculty of Law

  7. 2. การยักย้าย หรือปิดบัง ทายาทได้กระทำโดยกลฉ้อฉล หรือรู้อยู่ว่าทำให้ทายาทอื่นเสียประโยชน์ (เจตนาภายใน) • การที่ทายาทจำหน่ายจ่ายโอนทรัพย์มรดกเพื่อชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้กองมรดก หรือเพื่อความสะดวกในการแบ่งปันทรัพย์มรดก ไม่ถือว่าทายาทมีเจตนาฉ้อฉล หรือทำให้ทายาทอื่นเสียประโยชน์ 177312Faculty of Law

  8. ข้อสังเกต • การยักย้ายปิดบังจะต้องเกิดขึ้นภายหลังที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตายจึงจะทำให้ทายาทถูกกำจัด • บุคคลซึ่งจะถูกกำจัดได้แก่ บุคคลซึ่งเป็นทายาท ส่วนบุคคลซึ่งมิได้เป็นทายาท เสียสิทธิในการรับมรดกไม่ได้ 177312Faculty of Law

  9. เจ้ามรดกตาย การยักย้ายปิดบังเกิดขึ้นช่วงนี้ การยักย้ายปิดบังเกิดขึ้นช่วงนี้ ทำต่อเจ้ามรดก -ทำต่อทายาท -ทำให้ทายาทอื่นเสียประโยชน์ ละเมิด ยังไม่ได้เรียกคืน สิทธิในการเรียกคืน เป็นมรดก 177312Faculty of Law

  10. ผลของการถูกกำจัดต่อทายาทซึ่งทำการยักย้ายหรือปิดบังผลของการถูกกำจัดต่อทายาทซึ่งทำการยักย้ายหรือปิดบัง • 1. ทายาทได้ยักย้ายหรือปิดบังน้อยกว่าที่ตนจะได้ ทายาทนั้นถูกกำจัดเท่ากับส่วนที่ตนได้ยักย้าย • 2. ทายาทได้ยักย้ายหรือปิดบังมากกว่าหรือเท่ากับส่วนที่ตนจะได้ ทายาทจะถูกกำจัดมิให้รับมรดกทั้งหมด 177312Faculty of Law

  11. ตัวอย่างเช่นเจ้ามรดกมีทายาทโดยธรรมได้แก่นายก. และข. ซึ่งมีสิทธิในส่วนแบ่งทรัพย์มรดกเท่าๆกันซึ่งถ้าหากกองมรดกไม่ได้มีการยักย้ายหรือปิดบังหากประเมินกองมรดกออกมาแล้วจะมีทั้งหมด 10 ส่วนแต่ปรากฏว่านายข. ได้ยักย้ายทรัพย์มรดกไป 2 ส่วน เช่นนี้ย่อมมีผลทำให้กองมรดกคงเหลือเพียง 8 ส่วนซึ่งหากแบ่งแล้วจะได้นายก .และข. คนละ 4 ส่วนเช่นนี้จะเห็นว่าการกระทำของนายข. ทำให้นายก. เสียประโยชน์ 177312Faculty of Law

  12. -ดังนั้น นาย ข. ต้องถูกกำจัดมิให้มรดกเท่ากับส่วนที่ตนได้ยักย้าย คือ 2 ส่วน ดังนั้น นาย ข. ก็จะได้รับมรดกเพียง 3 ส่วน นาย ก. จะได้รับมรดก 5 ส่วน กับ อีก 2 ส่วนจากที่นาย ข. ถูกกำจัด -แต่ถ้านาย ข. ยักย้ายมากกว่า หรือเท่ากับส่วนของตนเองที่จะได้ นาย ข. จะเสียสิทธิในการรับมรดกทั้งหมด 177312Faculty of Law

  13. ข้อยกเว้นถ้าทายาทซึ่งทำการยักย้ายปิดบังทรัพย์มรดกมีฐานะเป็นผู้รับพินัยกรรมลักษณะเฉพาะทายาทานั้นไม่ถูกกำจัดมิให้รับมรดกตามมาตรา 1605 วรรค 2 ตัวอย่างเช่น เจ้ามรดกที่มีทายาทโดยธรรมได้แก่ นาย ก. และนาย ข. ซึ่งได้ทรัพย์มรดกอื่นของเจ้ามรดก และมีทายาทโดยพินัยกรรมได้แก่ นาย ค. ซึ่งได้รับมรดกเป็นที่ดิน 177312Faculty of Law

  14. -ดังนี้ ถ้านาย ค. ได้ยักย้าย ทรัพย์มรดกอันเป็นที่ดินซึ่งตกทอดได้แก่ตนเอง การกระทำของ นาย ค. ย่อมไม่ทำให้นาย ก. และ ข. เสียประโยชน์ เพราะ คนทั้งสอง ไม่มิสิทธิในที่ดินมาตั้งแต่ต้น 177312Faculty of Law

  15. 177312Faculty of Law

  16. -ถ้านาย ค. ได้ยักย้ายทรัพย์มรดกส่วนอื่นอันไม่ใช่ที่ดิน นาย ค. ก็ไม่ถูกกำจัดเช่นเดียวกัน เพราะ นาย ค. ไม่ได้มีสิทธิในทรัพย์มรดกในส่วนนั้น และแม้ว่านาย ค. จะได้ยักย้ายจริง นาย. ก และ ข. ก็สามารถที่จะเรียกให้นาย ค. คืน หรือชดใช้ค่าสินไหมทดแทนได้ 177312Faculty of Law

  17. แต่ถ้า นาย ค. มีฐานะเป็นทายาทโดยธรรมด้วย นาย ค. ย่อมถูกกำจัดในฐานะทายาทโดยธรรม 177312Faculty of Law

  18. ผลการของถูกกำจัดมิให้รับมรดกต่อผู้สืบสันดานของทายาทที่ทำการยักย้ายหรือปิดบังผลการของถูกกำจัดมิให้รับมรดกต่อผู้สืบสันดานของทายาทที่ทำการยักย้ายหรือปิดบัง • ถ้าทายาทที่ถูกกำจัดมีผู้สืบสันดาน ผู้สืบสันดานสืบมรดกแทนทายาทที่ถูกกำจัดนั้น ตาม ม. 1607(ใช้รับมรดกแทนที่ไม่ได้ เพราะเป็นการถูกกำจัดภายหลัง) • ถ้าทายาทซึ่งถูกกำจัดมีฐานเป็นทายาทโดยธรรม ผู้สืบสันดานของทายาทซึ่งถูกกำจัดย่อมมีสิทธิสืบมรดกต่อจากทายาทที่ถูกกำจัดนั้นตามมาตรา 1607 177312Faculty of Law

  19. 177312Faculty of Law

  20. ถ้าทายาทที่ถูกกำจัดนั้นมีฐานะเป็นทายาทโดยพินัยกรรม ผู้สืบสันดานของผู้รับพินัยกรรมไม่มีสิทธิที่จะสืบมรดก • ถ้าทายาทที่ถูกกำจัดไม่มีผู้สืบสันดาน ทรัพย์มรดกดังกล่าวย่อมตกทอดแก่ทายาทอื่นของเจ้ามรดกต่อไป 177312Faculty of Law

  21. 177312Faculty of Law

  22. คุณสมบัติของผู้สืบสันดานคุณสมบัติของผู้สืบสันดาน • ผู้สืบสันดานที่จะเข้าสืบมรดกต่อจากทายาทซึ่งถูกกำจัดจะต้องเป็นผู้สืบสันดานโดยตรงของเจ้ามรดก 177312Faculty of Law

  23. 2. การถูกกำจัดมิให้รับมรดกฐานเป็นผู้ประพฤติไม่สมควร มาตรา 1606 • ทายาทต้องถูกกำจัดมิให้รับมรดกฐานประพฤติไม่สมควรในกรณีดังต่อไปนี้ • 1. ทายาทต้องคำพิพากษาอันถึงที่สุดว่าได้เจตนากระทำ หรือพยายามกระทำให้เจ้ามรดกหรือผู้มีสิทธิได้รับมรดกก่อนตนถึงแก่ความตายโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ตามมาตรา 1606 (1) • มูลเหตุของการกระทำได้แก่ ทายาทได้ฆ่าหรือพยายามฆ่าเจ้ามรดกหรือผู้มีสิทธิได้รับมรดกก่อนตน 177312Faculty of Law

  24. การฆ่า หรือพยายามฆ่า ทายาทจะต้องกระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย • ผู้มีสิทธิได้รับมรดกก่อนตน ได้แก่ บุคคลซึ่งหากมีชีวิตอยู่จะทำให้ทายาทนั้นไม่มีสิทธิได้รับมรดก ซึ่งอาจจะเป็นทายาทโดยพินัยกรรม หรือทายาทโดยธรรมซึ่งอยู่ในลำดับก่อนตน 177312Faculty of Law

  25. เงื่อนไขในการเสียสิทธิเงื่อนไขในการเสียสิทธิ • ได้แก่ มีคำพิพากษาอันถึงที่สุดว่าได้เจตนากระทำ หรือพยายามกระทำให้เจ้ามรดกหรือผู้มีสิทธิได้รับมรดกก่อนตนถึงแก่ความตายโดยมิชอบด้วยกฎหมาย • กรณีทายาทมีฐานะเป็นผู้ใช้ ผู้สนับสนุน ก็น่าจะเสียสิทธิในการรับมรดกเช่นเดียวกับการมีฐานะเป็นตัวการ 177312Faculty of Law

  26. การเสียสิทธิให้รับมรดกกรณีนี้ เป็นการเสียสิทธิได้ทั้งก่อน และหลังเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย 177312Faculty of Law

  27. 2. ผู้ที่ได้ฟ้องเจ้ามรดกหาว่าทำความผิดโทษประหารชีวิตและตนเองกลับต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่า มีความผิดฐานฟ้องเท็จหรือทำพยานเท็จตามมาตรา 1606 (2) • มูลเหตุการกระทำ • ทายาทได้ฟ้องเจ้ามรดกว่ากระทำความผิดซึ่งมีโทษประหารชีวิต หรือ • ทายาททำพยานหลักฐานเท็จว่าเจ้ามรดกกระทำความผิดซึ่งมีโทษประหารชีวิต 177312Faculty of Law

  28. เงื่อนไขในการเสียสิทธิเงื่อนไขในการเสียสิทธิ • ทายาทต้องคำพิพากษาถึงที่สุด ว่ามีความผิดฐานฟ้องเท็จ หรือทำพยานหลักฐานเท็จ 177312Faculty of Law

  29. 3. ผู้ที่รู้แล้วว่า เจ้ามรดกถูกฆ่าโดยเจตนา แต่มิได้นำความนั้นขึ้นร้องเรียนเพื่อเป็นทางที่จะเอาตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษ • มูลเหตุของการถูกกำจัด • ทายาทรู้แล้วว่าเจ้ามรดกถูกฆ่าแต่ไม่นำความขึ้นร้องเรียน • ข้อความที่ทายาทไม่นำขึ้นร้องเรียน จะต้องมีความสำคัญ อันจะเป็นเหตุให้เอาตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษได้(รู้ในสิ่งที่คนอื่นไม่รู้) • ร้องเรียน หมายถึง การแจ้งข้อความ การร้องทุกข์ 177312Faculty of Law

  30. ข้อยกเว้น ถ้าทายาทนั้นเป็นบุคคลดังต่อไปนี้ ทายาทนั้นไม่ถูกกำจัด • 1. อายุยังไม่ครบสิบหกปีบริบูรณ์ • 2. เป็นคนวิกลจริตไม่สามารถรู้ผิดชอบ • 3. มีความสัมพันธ์กับผู้ที่ฆ่าเจ้ามรดกในฐานะที่เป็นสามีภริยา ผู้บุพการี หรือผู้สืบสันดานของตนโดยตรง • การถูกกำจัดมาตานี้ เป็นการถูกกำจัดภายหลังเจ้ามรดกตาย 177312Faculty of Law

  31. 4. ผู้ที่ฉ้อฉลหรือข่มขู่ให้เจ้ามรดกทำ หรือเพิกถอน หรือเปลี่ยนแปลงพินัยกรรมบางส่วนหรือทั้งหมดซึ่งเกี่ยวกับทรัพย์มรดกหรือไม่ให้กระทำการดังกล่าวนั้นตามมาตรา 1606 (4) • เหตุในการถูกกำจัด • ได้แก่การฉ้อฉล ข่มขู่ เจ้ามรดกให้ทำ หรือไม่ให้ทำพินัยกรรม หรือให้เพิกถอน หรือไม่ให้เพิกถอน พินัยกรรมอันเกี่ยวกับทรัพย์มรดก 177312Faculty of Law

  32. มีพินัยกรรม ให้ทำพินัยกรรม ไม่ให้ทำพินัยกรรม ไม่มีพินัยกรรม ฉ้อฉล ข่มขู่ ไม่มีพินัยกรรม ให้เพิกถอนพินัยกรรม ไม่ให้เพิกถอนพินัยกรรม มีพินัยกรรม 177312Faculty of Law

  33. การฉ้อฉล ข่มขู่ จะต้องถึงขนาดที่หากไม่มีการฉ้อฉล ข่มขู่ เจ้ามรดกจะไม่ทำ หรือเพิกถอน หรือไม่ทำการดังกล่าวเลย • การฉ้อฉล ข่มขู่ จะต้องเป็นพินัยกรรมซึ่งเกี่ยวกับทรัพย์มรดก ซึ่งได้แก่ พินัยกรรมอันเกี่ยวกับการสิทธิในทรัพย์มรดก (พินัยกรรมอันเกี่ยวกับส่วนได้เสียในทรัพย์มรดก) เช่น ได้รับหรือไม่ได้รับ ได้รับมากน้อย • พินัยกรรมซึ่งไม่เกี่ยวกับทรัพย์มรดก ไม่เหตุให้ถูกกำจัด 177312Faculty of Law

  34. ข้อสังเกต • พินัยกรรมซึ่งผู้ทำพินัยกรรมได้ทำขึ้นเพราะเหตุข่มขู่ ฉ้อฉล ย่อมมีผลสมบูรณ์ แต่อาจจะถูกเพิกถอนได้ในภายหลัง • พินัยกรรม(ฉบับเจตนาที่แท้จริง)ซึ่งผู้ทำพินัยกรรมได้เพิกถอน เพราะการถูกข่มขู่ หรือฉ้อฉล ย่อมไม่มีผลบังคับได้ เพราะผู้ทำพินัยกรมได้เพิกถอนเสียแล้ว 177312Faculty of Law

  35. มีพินัยกรรม (ฉบับ ฉ้อฉล ข่มขู่) ให้ทำพินัยกรรม ไม่ให้ทำพินัยกรรม ไม่มีพินัยกรรม ฉ้อฉล ข่มขู่ ไม่มีพินัยกรรม ให้เพิกถอนพินัยกรรม ไม่ให้เพิกถอนพินัยกรรม มีพินัยกรรม (ฉบับเจตนาแท้จริง) 177312Faculty of Law

  36. ผู้ที่จะเสียสิทธิในการรับมรดก ได้แก่ ผู้ซึ่งทำการข่มขู่ หรือฉ้อฉลเจ้ามรดก ไม่ให้กระทำการดังกล่าว • การถูกกำจัดมาตรานี้ เป็นการถูกกำจัดก่อนเจ้ามรดกตาย 177312Faculty of Law

  37. ตัวอย่าง • แดง ข่มขู่ให้เจ้ามรดกทำพินัยกรรมยกที่ดินให้แก่ตนเอง • แดงย่อมเสียสิทธิถูกกำจัดมิให้รับมรดก • แดง ข่มขู่ให้เจ้ามรดกทำพินัยกรรมยกที่ดินให้แก่บุตรของตน • บุตรแดงไม่ถูกกำจัดมิให้รับมรดก เพราะมิได้เป็นผู้ข่มขู่ แต่พินัยกรรมฉบับนั้นอาจถูกเพิกถอนได้ในภายหลัง 177312Faculty of Law

  38. 5. ผู้ที่ปลอม ทำลาย หรือปิดบังพินัยกรรมแต่บางส่วนหรือทั้งหมดตามมาตรา 1606 (5) • มูลเหตุในการถูกกำจัด • ได้แก่ การปลอม ทำลาย หรือปิดบังพินัยกรรม 177312Faculty of Law

  39. ข้อสังเกต • พินัยกรรมปลอม ย่อมไม่มีผลบังคับได้ เพราะไม่ใช่เจตนาของเจ้ามรดก • พินัยกรรมซึ่งถูกทำลาย ยังคงมีผลสมบูรณ์ เพราะไม่ได้ทำโดยผู้ทำพินัยกรรมเอง (ดู ม.1695) 177312Faculty of Law

  40. ในกรณีที่พินัยกรรมปลอม พินัยกรรมที่แท้จริงที่ถูกทำลาย หรือพินัยกรรมที่ถูกปิดบังไม่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย เช่น ตกเป็นโมฆะ ทายาทไม่ถูกกำจัดตาม ม.นี้ เพราะไม่ก่อให้เกิดผลเสียหายอย่างใดขึ้น • ผู้ถูกที่จะกำจัด ตาม ม.นี้ ได้แก่ ผู้ทำปลอม ทำลาย หรือปิดบังพินัยกรรม • การถูกกำจัด ม. นี้ เป็นการถูกกำจัดได้ทั้งก่อนและหลังเจ้ามรดกตาย 177312Faculty of Law

  41. ผลของการถูกกำจัดมิให้รับมรดกฐานเป็นผู้ประพฤติไม่สมควรผลของการถูกกำจัดมิให้รับมรดกฐานเป็นผู้ประพฤติไม่สมควร • การถูกกำจัดฐานเป็นผู้ไม่สมควร ผู้ถูกกำจัดจะเสียสิทธิในการรับมรดกทั้งหมดไม่ว่าจะอยู่ในฐานะทายาทประเภทใด 177312Faculty of Law

  42. คำพิพากษาฎีกาที่ 944/2498 พินัยกรรมระบุยกที่ดินให้ผู้รับพินัยกรรม ผู้รับพินัยกรรมหลอกลวงให้ผู้ทำพินัยกรรมโอนขายที่ดินนั้นให้แก่ผู้รับพินัยกรรม ดังนี้เป็นการฉ้อฉลอันไม่เกี่ยวกับพินัยกรรม ไม่เป็นเหตุให้ถูกกำจัดมิให้รับมรดก คำพิพากษาฎีกาที่ 847/2518 ผู้รับพินัยกรรมหาพินัยกรรมไม่พบ จึงขอรับมรดกต่อเจ้าพนักงานที่ดินว่าเป็นทายาทโดยธรรม ดังนี้ ไม่เป็นการสละพินัยกรรมหรือปิดบังพินัยกรรม ไม่ถูกกำจัด และรับมรดกตามพินัยกรรมที่หาพบภายหลังได้ 177312Faculty of Law

  43. ผลของการถูกกำจัดมิให้รับมรดกฐานเป็นผู้ประพฤติไม่สมควรต่อผู้สืบสันดานของทายาทที่ถูกกำจัดผลของการถูกกำจัดมิให้รับมรดกฐานเป็นผู้ประพฤติไม่สมควรต่อผู้สืบสันดานของทายาทที่ถูกกำจัด • ถ้าเป็นการถูกกำจัดก่อนเจ้ามรดกตาย ผู้สืบสันดานของผู้ถูกกำจัดเข้ารับมรดกแทนที่ผู้ถูกกำจัดได้ ตาม ม.1639 • ถ้าเป็นการถูกกำจัดภายหลังเจ้ามรดกตาย ผู้สืบสันดานของผู้ถูกกำจัดสืบมรดกแทนทายาทที่ถูกกำจัดนั้นต่อไป ตาม ม.1607 177312Faculty of Law

  44. ยกเว้นแต่ ทายาทซึ่งถูกกำจัดนั้นมีฐานเป็นทายาทโดยพินัยกรรม ก็จะมีการรับมรดกแทนที่ หรือสืบมรดกต่อไปไม่ได้ 177312Faculty of Law

  45. การตัดมิให้รับมรดก 177312Faculty of Law

  46. 177312Faculty of Law

  47. ทายาทที่จะถูกตัดมิให้รับมรดกทายาทที่จะถูกตัดมิให้รับมรดก • ได้แก่ ทายาทโดยธรรม มาตรา 1608 บัญญัติว่า“เจ้ามรดกจะตัดทายาทโดยธรรมของตนคนใดมิให้รับมรดกก็ได้แต่ด้วยแสดงเจตนาชัดแจ้ง....” 177312Faculty of Law

  48. วิธีการตัดมิให้รับมรดกวิธีการตัดมิให้รับมรดก แยกได้ 2 กรณี • 1. ตัดโดยชัดแจ้ง โดยวิธี • 1.1 ตัดโดยพินัยกรรม • ได้แก่ เจ้ามรดกทำพินัยกรรมตัดทายาทโดยธรรมมิให้รับมรดก • พินัยกรรมต้องมีผลสมบูรณ์ หรือไม่ถูกเพิกถอนในภายหลัง มิเช่นนั้น จะไม่มีผลเป็นการตัดมิให้ได้รับมรดก • การตัดมิให้รับมรดกจะใช้ถ้อยคำอย่างใดก็ได้ ซึ่งทำให้มีความหมายเป็นการตัดมิให้รับมรดก 177312Faculty of Law

  49. 1.2 ตัดโดยทำเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ • ได้แก่ การทำหนังสือตัดมิให้รับมรดกต่อนายอำเภอตามระเบียบของกระทรวงมหาดไทย 177312Faculty of Law

  50. 2. ตัดให้รับมรดกโดยปริยาย ได้แก่กรณีที่เจ้ามรดกได้ทำพินัยกรรมจำหน่ายทรัพย์มรดกของตนทั้งหมด หากทายาทโดยธรรมคนใดไม่ได้รับทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมนั้น กฎหมายถือว่าทายาทโดยธรรมคนนั้นถูกตัดมิให้รับมรดก • ทายาทโดยธรรมซึ่งถูกตัดมิให้มรดก จะเสียสิทธิในการเป็นทายาท (ไม่เป็นทายาท) ซึ่งจะมีผลเกี่ยวเนื่องกับอายุความมรดก (ดูประกอบ ม. 1755) • การตัดมิให้รับมรดกกรณีนี้ จะต้องไม่ปรากฏว่าขณะที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตายนั้น มีทรัพย์มรดกนอกพินัยกรรมเกิดขึ้น(ขึ้นอยู่กับข้อความในพินัยกรรม) 177312Faculty of Law

More Related