620 likes | 1.16k Views
ความรับผิดทางละเมิด. และแนวทางการปฏิบัติเกี่ยวกับการสอบข้อเท็จจริงฯ. พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิด ของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์. มาตรา 420 ทำละเมิด. 1. กระทำโดยจงใจ หรือประมาทเลินเล่อ 2. ต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมาย 3. ทำให้เขาเสียหายถึงแก่ ชีวิต ร่างกาย
E N D
ความรับผิดทางละเมิด และแนวทางการปฏิบัติเกี่ยวกับการสอบข้อเท็จจริงฯ
พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิด ของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 ทำละเมิด 1. กระทำโดยจงใจ หรือประมาทเลินเล่อ 2. ต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมาย 3. ทำให้เขาเสียหายถึงแก่ ชีวิต ร่างกาย อนามัย เสรีภาพ ทรัพย์สิน หรือสิทธิ
ความรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ความรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กรณีกระทำละเมิด 1. ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน 2. ผู้ต้องรับผิด - ผู้ทำละเมิด/ ผู้ร่วมทำละเมิด - นายจ้าง/ ลูกจ้าง - นิติบุคคล / ผู้แทนนิติบุคคล 3. อายุความ 1 ปี 4. ใช้หลักลูกหนี้ร่วม
ความรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนความรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ให้แก่ผู้เสียหาย/ ทายาท 1. คืนทรัพย์สิน หรือชดใช้เงิน 2. ชดใช้ค่าเสียหาย เช่น - ค่าปลงศพ และค่าใช้จ่ายจำเป็นอื่นๆ - ค่าขาดไร้อุปการะ - ค่าขาดแรงงาน - ค่ารักษาพยาบาล - ค่าขาดประโยชน์ทำมาหาได้
- ค่าได้รับความทุกข์ทรมาน/ค่าขาดความสุขสำราญในชีวิต (ฎีกาที่ 5751/2544) - ค่าเสียสมรรถภาพทางเพศ (ฎีกาที่ 75/2538) ค่าเสียหายที่เรียกร้องไม่ได้ ค่าเศร้าโศกเสียใจ นั้น เป็นเพียงอารมณ์ไม่อาจเรียกร้องได้ (ฎีกาที่ 2818/2548) - ค่าเสียความรู้สึกกรณีถูกสั่งย้ายตำแหน่ง (ศาลปกครองสูงสุด อ.77/2547)
ประมาท 1. การกระทำ ที่มิได้กระทำโดยเจตนา 2. แต่กระทำโดยปราศจากความระมัดระวัง ซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจะต้องมี ตามวิสัยและพฤติการณ์ 3. และผู้กระทำอาจใช้ความระมัดระวัง เช่นว่านั้นได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่
ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง 1. มีลักษณะไปในทางที่บุคคลนั้น ได้กระทำ ไปโดยขาดความระมัดระวัง 2. ที่เบี่ยงเบนไปจากเกณฑ์มาตรฐานอย่างมาก เช่น พึงคาดเห็นได้ว่าความเสียหายอาจเกิดขึ้นได้ หรือ หากระมัดระวังสักเล็กน้อย ก็คงคาดเห็น การอันอาจเกิดความเสียหายเช่นนั้น (ที่ นร 0601/87 ลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2540)
พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒แก้ไขฉบับที่ ๘-๒๕๕๑ มาตรา ๔๓ ห้ามมิให้ผู้ขับขี่ขับรถ (๑) ในขณะหย่อนความสามารถในอันที่จะขับ (๒) ในขณะเมาสุราหรือของเมาอย่างอื่น (๓) ในลักษณะกีดขวางการจราจร (๔) โดยประมาทหรือน่าหวาดเสียว อันอาจ เกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สิน
มาตรา ๑๖๐ ตรีผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๔๓ (๒) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับตั้งแต่ ห้าพันบาทถึงสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ศาลสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของผู้นั้นมีกำหนดไม่น้อยกว่าหกเดือน หรือเพิกถอน ใบอนุญาตขับขี่
(๕) ในลักษณะที่ผิดปกติวิสัยของการขับรถตาม ธรรมดา หรือไม่อาจแลเห็นทางด้านหน้าหรือ ด้านหลัง ด้านใดด้านหนึ่งหรือทั้งสองด้านได้พอ แก่ความปลอดภัย (๖) คร่อมหรือทับเส้นหรือแนวแบ่งช่องเดินรถ เว้น แต่เมื่อเปลี่ยนช่องเดินรถ เลี้ยวรถ หรือกลับรถ
(๗) บนทางเท้าโดยไม่มีเหตุอันสมควร เว้นแต่ รถลากเข็นสำหรับทารก คนป่วยหรือคนพิการ (๘) โดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยหรือความ เดือดร้อนของผู้อื่น
(๙) ในขณะใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ เว้นแต่การใช้ โทรศัพท์เคลื่อนที่โดยใช้อุปกรณ์เสริมสำหรับ การสนทนาโดยผู้ขับขี่ไม่ต้องถือหรือจับ โทรศัพท์เคลื่อนที่นั้น มาตรา ๑๕๗ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๔๓ (๓) (๔) (๖) (๗) หรือ (๙) ต้องระวางโทษปรับ ตั้งแต่สี่ร้อยบาทถึงหนึ่งพันบาท
แนวทางในการพิจารณากรณีประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงแนวทางในการพิจารณากรณีประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง 1. กฎหมายและระเบียบ กำหนดวิธีการปฏิบัติไว้แต่ไม่ได้ปฏิบัติตามนั้น - ระเบียบการเงิน/พัสดุ - การขับรถยนต์
2. ไม่ได้ใช้ความระมัดระวังเลยสักนิด 3. ทำผิดซ้ำๆในเรื่องแบบเดียวกัน 4. ปฏิบัติผิดมาตรฐานวิชาชีพ 5. ฝ่าฝืนกฎหมาย/ระเบียบ
เหตุสุดวิสัย 1. เหตุใดๆ อันจะเกิดขึ้น หรือจะให้ผลพิบัติ 2. เป็นเหตุที่ไม่สามารถป้องกันได้ 3. แม้บุคคลผู้ต้องประสบหรือใกล้จะต้องประสบ จะได้จัดการระมัดระวังตามสมควร อันพึงคาด- หมายได้จากบุคคลในฐานะและภาวะเช่นนั้น
ถ้าไม่ได้ทำโดย จงใจ/ประมาท/เหตุสุดวิสัย แม้จะทำให้คนอื่นเสียหาย ไม่ถือว่าเป็นการทำละเมิด ไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมฯ
คำนิยาม (มาตรา4) 1. เจ้าหน้าที่ หมายถึง - ข้าราชการ/พนักงาน/ลูกจ้าง - ผู้ปฏิบัติงานประเภทอื่น ไม่ว่าจะแต่งตั้ง ในฐานะกรรมการ หรือฐานะอื่นใด 2. หน่วยงานของรัฐ หมายถึง - กระทรวง/ทบวง/กรม/ส่วนราชการอื่น - ราชการภูมิภาค/ราชการท้องถิ่น/รัฐวิสาหกิจ - หน่วยงานอื่นของรัฐที่พระกฤษฎีกากำหนดไว้
สาระสำคัญ (บังคับใช้ตั้งแต่ 15 พฤศจิกายน 2539) 1.จนท.กระทำละเมิดในการปฏิบัติหน้าที่ (ม.10 ว.1+ม.8) 1.1 กรณีทำให้หน่วยงานของรัฐเสียหาย (1) ประมาทเลินเล่อไม่ร้ายแรง - จนท.ไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน (2) จงใจ/ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง - จนท. ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
กรณีละเมิดในการปฏิบัติหน้าที่-รัฐเสียหายกรณีละเมิดในการปฏิบัติหน้าที่-รัฐเสียหาย 1. รถราชการเสียหาย/สูญหาย - รถคว่ำ(ไม่มีคู่กรณี) - รถชนกัน - รถถูกโจรกรรม : กรณีรถราชการเกิดอุบัติเหตุได้รับความเสียหาย และมีผู้บาดเจ็บ ให้แจ้งความร้องทุกข์ต่อ พนักงานเจ้าหน้าที่ ( กค 0508/ว 27274 ลว.19 กรกฎาคม 2525)
การปฏิบัติหน้าที่ในการใช้-รถเกิดอุบัติเหตุการปฏิบัติหน้าที่ในการใช้-รถเกิดอุบัติเหตุ 1. การใช้รถราชการ/การเก็บรักษา - ขออนุมัติใช้ตามระเบียบ/บันทึกการใช้รถ - ใช้ในงานราชการเท่านั้น/ไม่ออกนอกเส้นทาง - เก็บสถานที่ราชการ/ที่อื่นชั่วคราว ขออนุญาต 2. กรณีรถราชการเกิดอุบัติเหตุ - ถ่ายภาพรถ/สถานที่เกิดเหตุ - รายงาน ผบ. - แจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ( กค 0508/ว 27274 ลว.19 กรกฎาคม 2525)
พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒แก้ไขฉบับที่ ๘-๒๕๕๑ มาตรา ๗๕ ในขณะที่ผู้ขับขี่ขับรถฉุกเฉินไปปฏิบัติ หน้าที่ ผู้ขับขี่มีสิทธิดังนี้ (๑) ใช้ไฟสัญญาณแสงวับวาบ ใช้เสียงสัญญาณไซเรน หรือเสียงสัญญาณอย่างอื่นตามที่อธิบดีกำหนดไว้ (๒) หยุดรถหรือจอดรถ ณ ที่ห้ามจอด (๓) ขับรถเกินอัตราความเร็วที่กำหนดไว้
(๔) ขับรถผ่านสัญญาณจราจรหรือเครื่องหมาย จราจรใด ๆ ที่ให้รถหยุด แต่ต้องลดความเร็ว ของรถให้ช้าลงตามสมควร • ไม่ต้องปฏิบัติตามบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ หรือข้อบังคับการจราจรเกี่ยวกับช่องเดินรถ ทิศทางของการขับรถหรือการเลี้ยวรถที่กำหนดไว้ ในการปฏิบัติตามวรรคหนึ่ง ผู้ขับขี่ต้องใช้ความระมัดระวังตามควรแก่กรณี
2. ทรัพย์สินราชการ ชำรุดเสียหาย/ถูกโจรกรรม 3. ทุจริต/ยักยอกเงินของทางราชการ - เบิกจ่ายเงินเท็จ - ปลอมเอกสารเบิกจ่าย 4. เพลิงไหม้ 5. การจัดซื้อ/จัดจ้าง 6. เบิกจ่ายเงินโดยผิดกฎหมาย/ระเบียบ
การเบิกจ่ายเงินให้แก่ผู้ไม่มีสิทธิรับไป 1. ถือว่า เป็นความบกพร่องและความประมาทเลินเล่อ ในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ ที่เกี่ยวข้อง ในการตรวจสอบหลักฐานประกอบการเบิกจ่าย 2. ต้องแต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง ความรับผิดทางละเมิด (ที่ กค.0518.6/14708 ลงวันที่ 1 พฤษภาคม 2545)
วิธีการทุจริตที่พบบ่อยๆวิธีการทุจริตที่พบบ่อยๆ 1. เช็ค/ใบถอนเงิน - เซ็นลอย - เขียนเว้นช่องว่างไว้ แล้วเติมจำนวนเงินเพิ่มภายหลัง - แก้ไข จำนวนเงิน/ผู้รับเงิน - ปลอมมือผู้มีอำนาจลงนาม - ให้ จนท.การเงิน ร่วมเซ็นด้วย 2. การออกเช็ค โดยไม่ได้ตกลงกับธนาคาร ให้โอนระหว่างบัญชี 3. เขียนใบเสร็จตัวจริง-สำเนา ไม่ตรงกัน แล้วยักยอกเงิน และไม่ตรวจสอบให้ตรงกับสั่งยา/สรุปชาร์ทผู้ป่วยใน
1.2กรณีทำให้บุคคลภายนอก(เอกชน)เสียหาย (ม.5 ว.1) ก. หน่วยงานของรัฐ ต้องความรับผิดต่อผู้เสียหาย ในผลแห่งการละเมิดของ จนท. ดังนี้ (1) จนท.ประมาทเลินเล่อไม่ร้ายแรง - หน่วยงานของรัฐ ต้องรับผิดชดใช้ฯให้แก่ผู้เสียหาย - จนท.ไม่ต้องรับผิดชดใช้ฯ (2) จนท.จงใจ/ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง - หน่วยงานของรัฐ ต้องชดใช้แทนไปก่อน - แล้วใช้สิทธิไล่เบี้ยจาก จนท.ในภายหลัง
ข. สิทธิของบุคคลภายนอก (ผู้เสียหาย) (1) ยื่นคำขอค่าสินไหมทดแทน ต่อหน่วยงานของรัฐ - หน่วยงานของรัฐ ต้องออกใบรับเรื่องให้ผู้ขอ และต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 180 วัน (ถ้าไม่เสร็จ ขอขยายเวลาต่อ รมว.ได้อีก 180 วัน) - เมื่อหน่วยงานของรัฐมีคำสั่ง ถ้าผู้เสียหาย ไม่พอใจผลการวินิจฉัย มีสิทธิฟ้องคดีต่อ ศาลปกครองภายใน 90 วัน นับแต่ทราบ (ม. 11 และ ม.14) (2) ยื่นฟ้องต่อศาลปกครอง/ศาลยุติธรรม โดย (ม.6) - อาจฟ้องหน่วยงานของรัฐได้ - แต่จะฟ้อง จนท.ไม่ได้
กรณีละเมิดในการปฏิบัติหน้าที่-บุคคลภายนอกเสียหายกรณีละเมิดในการปฏิบัติหน้าที่-บุคคลภายนอกเสียหาย 1. รถยนต์เฉี่ยวชน/เกิดอุบัติเหตุ - รถยนต์บุคคลภายนอก เสียหาย - บุคคลภายนอกเสียหาย (บาดเจ็บ/ตาย) 2. การรักษาพยาบาล เช่น - แพ้ยา - จ่ายยาให้คนไข้ผิดคน - ให้เลือดคนไข้ผิดกลุ่มเลือด - แพทย์ทำหมันโดยไม่บอกคนไข้
คดีแพ้ยากระจกตาทะลุ ฟ้อง 5 ล้าน ได้ 2 ล้าน หญิงตั้งครรภ์ 6 เดือน เจ็บท้อง 31 มีค. 41- ให้ยากันมดลูกหดตัว/ยากันชัก 4 เมย 41 (9.00) บริคานิล/ฟีโนบาร์บ 4 เมย. 41 (22.00 น)ล้มท้องกระแทกต้นไม้ แล้วมา รพช. แพทย์สั่งให้ บริคานิล ฟีโนฯ โนสปา อยู่ถึง 13 เมย. 41 15 เมย. 41 มา 04.00 น.แพทย์สั่งให้ บริคานิล ทางโทรศัพท์ ผู้ป่วยแพ้ยา ชักเกรง ส่งต่อ รพท. เกิดแผลพุพองที่ ใบหน้า ปาก ตามสองข้างและร่างกาย กระจกตาซ้ายทะลุ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6092/2552 • การตรวจร่างกายของผู้ป่วยถือเป็นขั้นตอนสำคัญ ในการที่แพทย์จะวินิจฉัยโรคว่าผู้ป่วย เป็นโรคอะไร พยาธิสภาพอยู่ที่ไหนและอยู่ใน ระยะใดเพื่อจะนำไปสู่การรักษาได้ถูกต้อง ในขั้นตอนนี้แพทย์จักต้องใช้ความระมัดระวังตามวิสัยและพฤติการณ์มิให้เกิดความผิดพลาดขึ้นได้ เพราะอาจนำมาซึ่งอันตรายที่จะเกิดแก่ร่างกายหรือชีวิตของผู้ป่วยในขั้นตอนการรักษาที่ต่อเนื่องกัน
การที่แพทย์มิได้ตรวจดูอาการของโจทก์การที่แพทย์มิได้ตรวจดูอาการของโจทก์ ตั้งแต่แรกเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล ด้วยตนเอง แต่วินิจฉัยโรคและสั่งการรักษา อาการของโจทก์ตามที่ได้รับรายงานทางโทรศัพท์จากพยาบาลแทนโดยไม่ได้ตรวจสอบประวัติการรักษาของโจทก์ด้วยตนเอง แม้แพทย์ จะสอบถามอาการและประวัติการ รักษาของโจทก์จากพยาบาลก่อนที่พยาบาลจะ ฉีดยา ให้แก่ผู้ป่วยเพื่อทำการรักษา ก็มิใช่วิสัย ของบุคคลผู้มีวิชาชีพเป็นแพทย์จะพึงกระทำ
พิพากษา ให้ สธ. ชดใช้ ค่าทุกข์ทรมาน ค่าเสีย สมรรถภาพการมองเห็น ค่าเสียความงาม รวม 2 ล้านบาท และดอกเบี้ย 7.5%ตั้งแต่ 29 กย 41 สรุปแพทย์ประมาท เนื่องจาก 1. การสั่งรักษาทางโทรศัพท์ ไม่ใช่วิสัยของบุคคล ผู้มีวิชาชีพแพทย์ที่จะพึงกระทำ 2.ห้องพักแพทย์ห่าง 20 เมตรตามพฤติการณ์ ไม่ปรากฏว่ามีเหตุสุดวิสัย ที่จะทำให้ไม่สามารถ มาตรวจด้วยตนเองไม่ได้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 373 ความตกลงทำไว้ล่วงหน้าเป็นข้อความ ยกเว้น มิให้ลูกหนี้ต้องรับผิดเพื่อกลฉ้อฉล หรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของตน นั้น ท่านว่าเป็นโมฆะ
. 2.จนท.กระทำละเมิดที่มิใช่กระทำในการปฏิบัติหน้าที่ 2.1กรณีทำให้หน่วยงานของรัฐเสียหาย (ม.10 ว.1) (1) จนท. ต้องรับผิดชดใช้ ตามหลัก ป.พ.พ. (2) ต้องรับผิดทุกกรณี ทั้งประมาทเลินเล่อไม่ร้ายแรง และจงใจ/ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง 2.2กรณีทำให้บุคคลภายนอกเสียหาย (ม.6) (1) จนท. ต้องรับผิดชดใช้ เป็นการส่วนตัว (2) สิทธิฟ้องคดีของบุคคลภายนอก - อาจฟ้อง จนท.ได้ - แต่จะฟ้องหน่วยงานของรัฐ ไม่ได้
ตัวอย่างการละเมิดที่มิใช่เป็นการปฏิบัติหน้าที่ตัวอย่างการละเมิดที่มิใช่เป็นการปฏิบัติหน้าที่ 1. นำรถราชการไปใช้ส่วนตัว แล้ว - รถคว่ำ(ไม่มีคู่กรณี)/ รถชนกัน / รถถูกโจรกรรม - รถชนบุคคลภายนอก ตาย/บาดเจ็บ 2. นำทรัพย์สินราชการไปใช้ส่วนตัว แล้ว - ชำรุดเสียหาย/สูญหาย - ถูกโจรกรรม - ลักทรัพย์สินทางราชการ 3. การรักษาพยาบาล ที่ทำส่วนตัว
3. การชดใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือการไล่เบี้ย (ม.8) (กรณี จนท.กระทำละเมิดต่อหน่วยงานของรัฐ/บุคคลภายนอก และจนท.กระทำโดยจงใจ หรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง) (1) กรณีกระทำละเมิดหลายคน ไม่ใช้หลักลูกหนี้ร่วม (2) ไม่ต้องชดใช้เต็มจำนวนก็ได้ จะมีเพียงใดให้คำนึงถึง - ระดับความร้ายแรงในการกระทำ และ - ความเป็นธรรม ในแต่ละกรณีเป็นเกณฑ์ (3) การหักส่วนความรับผิดออกด้วย กรณีเกิดจาก - ความผิด/ความบกพร่อง ของหน่วยงานของรัฐ - ระบบการดำเนินงานส่วนรวม
4. อายุความ 4.1 ผู้เสียหายฟ้องหน่วยงานของรัฐ/จนท.ให้รับผิด แต่ศาล พิพากษายกฟ้อง เพราะเหตุว่าผู้ถูกฟ้องดังกล่าวไม่ใช่ผู้ ต้องรับผิด ให้ขยายอายุความฟ้องผู้ต้องรับผิดที่ไม่ได้ ถูกเรียกเข้ามาในคดี ออกไป 6 เดือน นับแต่วันที่ คำพิพากษาถึงที่สุด (ม.7) 4.2 หน่วยงานของรัฐ/จนท. ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ ผู้เสียหาย สิทธิไล่เบี้ยในการเรียกให้ชดใช้ค่าสินไหมฯ อายุความ 1 ปี นับแต่ใช้ค่าสินไหมฯให้แก่ผู้เสียหาย (ม.9)
4.3 จนท. ละเมิดต่อหน่วยงานของรัฐ ซึ่งกระทำในในหน้าที่/ มิใช่กระทำในการปฏิบัติหน้าที่ สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมฯ มีอายุความ 2 ปี นับแต่วันที่หน่วยงานของรัฐ รู้ถึงการ ละเมิดและรู้ตัว จนท. ผู้พึงต้องชดใช้ค่าสินไหมฯ(ม.10 ว.2) 4.4 กรณีหน่วยงานของรัฐ เห็นว่า จนท.ไม่ต้องรับผิด แต่ กระทรวงการคลังเห็นว่าต้องรับผิด สิทธิเรียกร้อง ค่าสินไหมฯ อายุความ 1 ปี นับแต่วันหน่วยงานของรัฐ มีคำสั่งตามความเห็นของกระทรวงการคลัง (ม.10 ว.2)
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติ เกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539
1. การรายงานความเสียหาย (จากการทำละเมิดใดๆไม่รวมออกคำสั่ง/กฎ (ข้อ 4) ) 1.1 เมื่อเกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินของหน่วยงานฯ ให้ จนท. ที่เกี่ยวข้องรายงาน ผบ. จนถึง หน.หน่วยงานฯ (ข้อ 7) 1.2 กรณี จนท. ทำให้เกิดความเสียหายแก่บุคคล ภายนอก ถ้าเห็นว่าเกิดขึ้นเนื่องจากตนได้กระทำ ในการปฏิบัติหน้าที่ ให้ จนท.ผู้นั้นแจ้งต่อ ผบ.โดยไม่ชักช้า และให้รายงานตามลำดับชั้นจนถึงหัวหน้าหน่วยงานฯ(ข้อ31)
2. การแต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิด ทางละเมิด 2.1 เหตุแต่งตั้ง (1) กรณีมีเหตุอันควรเชื่อว่าความเสียหายของ หน่วยงานของรัฐนั้นเกิดจากการกระทำของ จนท. ให้แต่งตั้ง คกก. ตามข้อ 8 : กรณีพิจารณาแล้ว ไม่เชื่อว่าความเสียหาย มีเหตุอันควรว่าเกิดจากการกระทำของ จนท. ก. ไม่ต้องคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงฯข้อ 8 ข. ให้พิจารณาเบื้องต้น/แต่งตั้งคณะกรรมการ สอบสวนข้อเท็จจริงเบื้องต้น (นร 0601/186 ลงวันที่ 15 มีนาคม 2541)
ค.ส่งสำนวนการสอบสวนข้อเท็จจริงเบื้องต้น (ข้อ12) ไปให้ปลัดกระทรวง พิจารณาแล้วหาก เห็นว่า - ความเสียหาย มิได้เกิดจาก จนท. ให้สั่งยุติเรื่อง - ความเสียหาย มีเหตุอันควรว่าเกิดจาก จนท. ให้แต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง ความรับผิดทางละเมิด : กรณีภัยธรรมชาติไม่ต้องแต่งตั้ง คกก. ตามข้อ 8 หนังสือ กค 0406.2/ว 9 ลว 18 ม.ค 48 กรณี สป. ปลัดฯได้มอบอำนาจต่างๆให้ ผวจ. และให้ ผวจ. มอบช่วงให้กับ นพ.สสจ.ได้ยกเว้นการออกคำสั่งชดใช้ตาม ม.12 (คำสั่งที่ 1503/2548 ลว. 7 กรกฎาคม 2548)
(2)กรณีผู้เสียหาย ยื่นคำขอให้หน่วยงานชดใช้ฯ (ข้อ 32-33) (3)กรณีผู้เสียหาย ฟ้องศาล ให้หน่วยงานชดใช้ฯ (ข้อ 35) 2.2 ให้แต่งตั้งคณะกรรมการฯไม่เกิน 5 คน. (ข้อ 8 ว.2) และให้กำหนดเวลาแล้วเสร็จ (ข้อ 8 ว.4) - หน.หน่วยงานฯมีส่วนได้เสีย ให้ ผบ.ชั้นเหนือแต่งตั้ง - กรรมการ มีส่วนได้เสีย ต้องหยุดและรายงาน (หนังสือ กค 0410.2/ว217 ลว 16 มิ.ย. 51 2.3 กรณีหน่วยงานของของรัฐเสียหาย เกิดจาก จนท.ของ หน่วยงานฯอื่น หรือหน่วยงานของของรัฐเสียหายหลายแห่ง เกิดจาก จนท.หลายหน่วยงาน ให้ หน.หน่วยงานฯ ร่วมกันแต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความ รับผิดทางละเมิด (ข้อ 9-12)
3. การสอบสวนพิจารณา 3.1 การประชุม/มติที่ประชุม (ข้อ 13) 3.2 ตรวจสอบ/รวบรวมพยานหลักฐาน (ข้อ 14) - แนวทางสอบสวนตามประเภทสำนวน - แบบบันทึกถ้อยคำ/รายงานการสอบฯ กค 0406.7/ว 56 ลว. 12 ก.ย.2550 3.3 ให้โอกาส จนท.ที่เกี่ยวข้อง/ผู้เสียหาย (ข้อ 15) - ชี้แจงข้อเท็จจริง/โต้แย้ง/แสดงพยานหลักฐาน - อย่างเพียงพอและเป็นธรรม (ม.30 พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539) และกค. 0406.2/ว 75 ลว. 30 ต.ค.2550
3.4 ความเห็นของ คกก./เสนอรายงาน (ข้อ 16 ว.2) - มีผู้ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมฯ หรือไม่ และ จำนวนเท่าใด/คนละเท่าใด - ข้อเท็จจริง/ข้อ กม./พยานหลักฐานสนับสนุน หมายเหตุ 1. หน่วยงานฯ/บุคคลภายนอก เสียหายเท่าไร การคิดค่าเสื่อมราคา กค 0507.2/ว.81 ลว. 27 ส.ค. 45 2. มีผู้ใดกระทำละเมิดบ้าง หรือไม่ เพราะเหตุใด 3. กระทำในหน้าที่ราชการ หรือไม่ เพราะเหตุใด 4. ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมฯ หรือไม่ เพราะเหตุใด 5.ต้องรับผิดจำนวนเท่าใด การคิดสัดส่วนความรับผิด กค 0406.2/ว66 ลว. 25 ก.ย. 50
4.ผู้สั่งแต่งตั้งพิจารณาและดำเนินการ (ข้อ 16-17) - สั่งให้ คกก.ทบทวน/สอบสวนเพิ่มเติม - วินิจฉัยสั่งการ มีใครต้องรับผิดหรือไม่ จำนวนเท่าใด โดยพิจารณาอย่างช้า ไม่ควรเกิน 15 วัน นับแต่รับสำนวน (หนังสือ กค 0406.2/ว 75 ลว 30 ต.ค.50) 5. การส่งสำนวน/รายงานกระทรวงการคลัง 5.1 กรณีหน่วยงานของรัฐเสียหาย ให้ส่งสำนวนไปให้ กระทรวงการคลังตรวจสอบ ภายใน 7 วัน ยกเว้น กรณีไม่ต้องส่งสำนวนฯ เพียงแต่รายงานความ เสียหายไปให้เพื่อทราบ ตามแบบที่กำหนด ทุก 3 เดือน (หนังสือ กค 0406.2/ว 49 ลว 15 มิ.ย 52 )
หนังสือ กค 0406.2/ว 49 ลว 15 มิ.ย 52 กรณีความเสียหายที่ไม่ต้องส่งสำนวนฯไปให้ กค.ตรวจสอบ 1. สาเหตุทั่วไป (เช่นอุบัติเหตุ/เพลิงไหม้/เสียหายสูญหาย) 1.1 ส่วนราชการไม่เกิน 500,000 บาท ราชการส่วนท้องถิ่น/รัฐวิสาหกิจ/หน่วยงานอื่น ของรัฐไม่เกิน 1,000,000 บาท 1.2 ถ้าเกินวงเงินดังกล่าว แต่ให้ชดใช้ตั้งแต่ 75%ขึ้นไป 2. ทุจริต/เงินขาดบัญชี/ผิดระเบียบกฎหมายต่างๆ 2.1 ส่วนราชการไม่เกิน 200,000 บาท ราชการส่วนท้องถิ่น/รัฐวิสาหกิจ/หน่วยงานอื่น ของรัฐไม่เกิน 400,000 บาท
2.2. เกินวงเงินตาม 2.1 (1)กรณีทุจริตให้ผู้ทุจริตชดใช้เต็มความเสียหาย และให้ผู้เกี่ยวข้อง ที่ประมาทเลินเล่อร้ายแรง ชดใช้เต็มความเสียหาย (2.) เงินขาดบัญชี/ผิดระเบียบกฎหมายต่างๆ ให้ผู้จงใจ/ประมาทเลินเล่อร้ายแรง ชดใช้ เต็มความเสียหาย
เอกสารที่ต้องส่งไปพร้อมสำนวนฯไปให้ กค. ตรวจสอบ - กรณีอุบัติเหตุรถยนต์ (หนังสือ กค 0406.2/ว 48 ลว 16 มี.ค.48 ) - เอกสารประกอบสำนวน (หนังสือ กค 0406.3/ว336 ลว 19 ก.ย.49 ) 5.2 กรณีผู้เสียหายฟ้องศาล ตั้ง คกก./ประสานอัยการ/ รายงาน กค. และเตรียมสู้คดี (ข้อ 35-38) 5.3 กรณีผู้เสียหายยื่นคำขอ/ตั้ง คกก. (ข้อ 32-34) - พิจารณาว่าจะชดใช้หรือไม่ แล้วแจ้งให้ผู้ยื่นคำขอทราบ - ถ้าชดใช้บุคคลภายนอก พิจารณาตามหลักเกณฑ์ หนังสือ กค 0406.4/ว 118 ลว 12 ธ.ค. 45 - รายงานกระทรวงการคลัง