1.84k likes | 3.75k Views
การปฏิบัติการทางทหาร ที่นอกเหนือจากการทำสงคราม (Military Operations Other Than War). นาวาเอก เสนิส ทังสุบุตร ผอ. กศษ.รร.อส. ขอบเขตของการบรรยาย. กล่าวนำ หลักปฏิบัติในการปฏิบัติการทางทหารที่นอกเหนือจากการทำสงคราม แบบต่าง ๆ ของการปฏิบัติการทางทหารที่นอกเหนือจากการทำสงคราม
E N D
การปฏิบัติการทางทหารที่นอกเหนือจากการทำสงคราม(Military Operations Other Than War) นาวาเอก เสนิส ทังสุบุตร ผอ. กศษ.รร.อส.
ขอบเขตของการบรรยาย • กล่าวนำ • หลักปฏิบัติในการปฏิบัติการทางทหารที่นอกเหนือจากการทำสงคราม • แบบต่าง ๆ ของการปฏิบัติการทางทหารที่นอกเหนือจากการทำสงคราม • การวางแผนในการปฏิบัติการทางทหารที่นอกเหนือจากการทำสงคราม
วัตถุประสงค์ ให้แนวคิดพื้นฐานแก่กำลังพล และ นายทหารระดับผู้บังคับ หน่วยรบเพื่อเตรียมการสำหรับการปฏิบัติการทางทหารที่นอกเหนือจากสงคราม Military operations other than war (MOOTW)
Military Operations Other Than WAR ความหมายของ ( MOOTW ) คือการใช้ขีดความสามารถของกำลังทหารปฏิบัติการอื่นใดที่มิใช่การปฏิบัติการทางทหารเพื่อการทำสงคราม การปฏิบัติการเหล่านี้สามารถประยุกต์ใช้ร่วมกับเครื่องมือต่างๆ ของกำลังอำนาจแห่ง ชาติ เช่น การเมือง การเศรษฐกิจ สังคมจิตวิทยา และเทคโนโลยี
ความแตกต่างระหว่าง MOOTW กับ WAR สงคราม (WAR) : เมื่อการใช้เครื่องมืออื่นๆ ของพลังอำนาจแห่งชาติไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์แห่งชาติ (National Objectives) หรือป้องกันผลประโยชน์แห่งชาติ (National Interests) ไว้ได้ ผู้นำของชาติที่มีกำลังทหารเพียงพออาจตัดสินใจใช้กำลังทางทหารเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์แห่งชาติหรือป้องกันผลประโยชน์แห่งชาติเอาไว้ การนำเอาประเทศเข้าสู่สงครามจำเป็นที่จะต้องได้รับชัยชนะเหนือฝ่ายข้าศึกโดยเร็วที่สุด
การปฏิบัติการทางทหารที่นอกเหนือจากการทำสงครามMilitary Operations Other Than War มุ่งเน้นที่การป้องปรามไม่ให้เกิดสงคราม, การแก้ปัญหาข้อขัดแย้งชักชวนให้เข้าสู่สันติภาพและสนับสนุนช่วยเหลือประชาชน ในวิกฤตการณ์ภายในประเทศ
ขอบเขตของการปฏิบัติการทางทหารขอบเขตของการปฏิบัติการทางทหาร การปฏิบัติการทางทหาร เป้าหมาย แบบการปฏิบัติการ สงคราม การต่อสู้และชัยชนะ การทำสงครามขนาดใหญ่ การเข้าจู่โจม,การป้องกัน และ การปิดล้อม การป้องปราม และการแก้ปัญหา การใช้กำลังรักษาสันติภาพ ข้อขัดแย้ง การต่อต้านการก่อการร้าย การแสดงกำลัง จู่โจม สกัดกั้น การรักษาสันติภาพ/NGO การช่วยเหลือระหว่างชาติ การต่อต้านการก่อความไม่สงบ การชักชวนให้รักษาสันติภาพ การต่อต้านการค้ายาเสพติด การสนับสนุนช่วยเหลือประชาชน การช่วยเหลือเพื่อมนุษย์ธรรม การคุ้มครองพาณิชย์นาวี กำ ลัง รบ ไม่ ใช้ กำลัง รบ การ ปฏิบัติ การ ทาง ทหาร นอก เหนือ จาก สงคราม
MOOTW • เกี่ยวพันทั้งการปฏิบัติการที่ใช้กำลังและไม่ใช้กำลังทหาร ทั้งยามสงบ, มีความขัดแย้ง และในสภาวะสงคราม • การใช้กำลังรบ Peace Enforcement • การใช้ MOOTW จะต้องพิจารณาให้รอบครอบในเรื่อง • การบรรลุวัตถุประสงค์ ที่มากเกินไป • การมีสิทธิต่างๆ เหนือฝ่ายอื่น • การจำกัดศักยภาพของ ฝ่ายตรงข้าม • การเมืองเข้าไปสอดแทรกในทุกระดับ • เคร่งครัดใน กฎการปะทะ(ROE)
เป้าหมายของ WAR คือการบรรลุวัตถุประสงค์แห่งชาติ ให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ รวมทั้งการบรรลุผลของการปฏิบัติการทางทหารแก่ชาติตนและพันธมิตร • วัตถุประสงค์ของ MOOTW จะมีได้หลายอย่างซึ่งมีวัตถุประสงค์ที่ไม่ชัดเจนนัก • การป้องปรามศักยภาพในการรุกราน • การป้องกันผลประโยชน์แห่งชาติ • สนับสนุนองค์การสหประชาชาติ หรือองค์การระหว่างประเทศ • การบังคับให้ปฏิบัติตามสนธิสัญญา • การช่วยเหลือเพื่อมนุษย์ธรรม
MOOTW ก็คือการสร้างสันติภาพ การให้การคุ้มครองแก่เพื่อนมนุษย์ ส่วนใหญ่แล้ว MOOTW จะเป็นการปฏิบัติภายนอกประเทศ แต่บางครั้งก็มีการปฏิบัติการสนับสนุนประชาชนในประเทศ
อิทธิพลของวัตถุประสงค์การเมืองที่มีผลต่อMOOTW (Primacy of Political Objectives) “วัตถุประสงค์ทางการเมือง จะมีอิทธิพลต่อการปฏิบัติการทางทหารที่นอกเหนือจากการทำสงครามในทุกระดับตั้งแต่ระดับยุทธศาสตร์ลงไปจนถึงระดับยุทธวิธี” • ระดับปฏิบัติการและระดับยุทธวิธี มีปัจจัยสำคัญอยู่สองประการ • ประการแรก ทหารทุกคนควรมีความเข้าใจในวัตถุประสงค์ทางการเมืองและผลกระทบที่อาจเป็นไปได้ต่อการกระทำที่ไม่เหมาะสม หลีกเลี่ยงการกระทำที่มีผลกระทบทางลบต่อการเมือง การตัดสินใจของผู้บังคับบัญชาระดับล่างมีผลกระทบที่สำคัญต่อการเมือง
ประการที่สองผู้บังคับบัญชาควรตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ ไม่เพียงแต่ระดับปฏิบัติการเท่านั้น แต่ต้องตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงในวัตถุประสงค์ทางการเมืองด้วย ซึ่งอาจทำให้การปฏิบัติการทางทหารเปลี่ยนแปลงไปด้วย • ผู้บังคับบัญชาควรต้องพยายามวิเคราะห์ภารกิจตนเองเพื่อค้นหาการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่ชาญฉลาด • การล้มเหลวในการตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองจะนำไปสู่การปฏิบัติการทางทหารที่ไร้ประสิทธิภาพ
ระดับยุทธศาสตร์ (Strategic Aspect) MOOTW มีส่วนช่วยในความสำเร็จของการรักษาความมั่นคงแห่งชาติได้โดยการสนับสนุนการป้องปราม (Deterrence) และการเลือกใช้การโต้ตอบข้อขัดแย้งต่างๆ
MOOTW มีส่วนช่วยในผลสำเร็จของวัตถุประสงค์ความมั่นคงแห่งชาติ • การป้องปราม (DETERRENCE) การปฏิบัติการที่ทำให้ผู้รุกรานมีความลังเลใจที่จะปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่ง เนื่องจากความกลัวที่จะล้มเหลว สูญเสียทรัพยากร หรือผลที่จะตามมาจากการปฏิบัติการนั้น • การแสดงกำลังในเขตหน้า ( FORWARD PRESENCE)เป็นการแสดงการปฏิบัติต่างๆตามพันธกรณี เพื่อให้ความเชื่อถือกับพันธมิตร และส่งเสริมเสถียรภาพในภูมิภาค
การตอบโต้ต่อวิกฤตการณ์ (CRISIS RESPONSE) การตอบโต้อย่างรวดเร็วด้วยการปฏิบัติการทางทหารที่นอกเหนือจากการทำสงครามที่เหมาะสมต่อศักย์ภาพ หรือต่อข้อขัดแย้งที่เกิดขึ้นโดยตรง
การป้องปราม DETERRENCE • ในยามสงบกำลังทหารสามารถป้องปรามศักยภาพของผู้รุกรานได้จากการใช้ความรุนแรง สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ตามเป้าหมายได้ • ผู้รุกรานลังเลใจที่จะปฏิบัติการ เนื่องจากความกลัวในความล้มเหลว การสูญเสียทรัพยากร หรือผลที่จะตามมาจากการรุกราน • แม้ว่าภัยคุกคามจากอาวุธนิวเคลียร์จะลดลง แต่การแพร่กระจายของอาวุธที่มีการทำลายล้างสูง ( Weapons of mass destruction WMD) และอาวุธที่มีเทคโนโลยียังมีอยู่ ภัยคุกคามต่อชาติพันธมิตรมีอยู่หลายรูปแบบตั้งแต่ การก่อการร้ายจนถึงการใช้อาวุธที่มีอำนาจการทำลายล้างสูง
ความต้องการที่จะดำรงขีดความสามารถในการโต้ตอบภัยคุกคามต่างๆจึงมีความจำเป็นความต้องการที่จะดำรงขีดความสามารถในการโต้ตอบภัยคุกคามต่างๆจึงมีความจำเป็น • การนำเอา MOOTW มาใช้สนับสนุนการป้องปราม Deterenceสามารถทำได้.ในสองลักษณะ • สนับสนุนการป้องปรามโดยการแสดงกำลังในการแก้ปัญหาของชาติ • PEACE ENFORCEMENT STRIKES OR RAID • สนับสนุนการป้องปรามโดยการส่งเสริมบรรยากาศของการร่วมมือกันเพื่อสันติภาพ • HUMANITARIAN ASSISTANCE AND PEACEKEEPING
การแสดงกำลังในเขตหน้า (FORWARD PRESENCE) • การแสดงการปฏิบัติต่างๆในเขตหน้า จะแสดงพันธกรณีของฝ่ายเรา ซึ่งมีส่วนช่วยสร้างความน่าเชื่อถือต่อพันธมิตร ส่งเสริมเสถียรภาพในภูมิภาคและขีดความสามารถในการตอบโต้ต่อวิกฤตการณ์โดยฉับพลัน
การตอบโต้ต่อวิกฤตการณ์ (CRISIS RESPONSE) • กองกำลังต้องสามารถที่จะตอบโต้อย่างฉับพลัน ไม่ว่าจะปฏิบัติการตอบโต้เพียงลำพัง หรือ เป็นส่วนหนึ่งของกองกำลังนาชาติ • การใช้กำลังขนาดใหญ่เข้าไปใน peace enforcement • การเข้าจู่โจม • การสนับสนุนหน่วยงานประชาชนโดยฉับพลัน
ขอบเขตของ MOOTW • MOOTW จะเน้นในการป้องปรามไม่ให้เกิดสงคราม การแก้ปัญหาข้อขัดแย้ง การสนับสนุนหน่วยงานประชาชน และการส่งเสริมให้เกิดสันติภาพ • ขอบเขตการปฏิบัติจะเริ่มจากการไม่ใช้กำลังทหารเข้าทำการรบ (Noncombat operations)เช่น การปฏิบัติการเพื่อมนุษย์ธรรม ไปจนถึงการใช้กำลังทหาร(Combat operations)เข้าบีบบังคับเพื่อให้เกิดสันติภาพ การจู่โจมและการปฏิบัติฉับพลัน
MOOTW ที่เกี่ยวกับการใช้หรือขู่ว่าจะใช้กำลังทหาร • ใช้ในประเทศหรือภูมิภาคที่อาจจะเกิดข้อขัดแย้งทางอาวุธ • การใช้กำลังทหารเป็นสิ่งที่มีความจำเป็น • จุดประสงค์เพื่อป้องปรามมิให้เกิดสงครามและรักษาความสงบ • ขอบเขตของการปฏิบัติการจะคาบเกี่ยวอยู่ระหว่าง Non combat และ Combat operations
ใช้กำลังทหารเพื่อบังคับให้ยินยอมปฏิบัติตาม เช่น • strikes raid และ contingency operations • peace enforcement • counterterrorism • sanction • insurgency and counterinsurgency • evacuation of noncombatants
MOOTW ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการใช้หรือขู่ว่าจะใช้กำลังทหาร • การใช้กำลังทหารในยามสงบเพื่อรักษาความตรึงเครียด วันต่อวันระหว่างชาติ • ระดับการปฏิบัติการต่ำกว่าขั้นของ การขัดแย้งกันด้วยอาวุธ หรือสงครามและเพื่อสร้างอิทธิพลในต่างประเทศ เช่น • Humanitarian assistance HA • Disaster relief • Nation assistance • Foreign internal defense FID • Counterdrug operations • Arm control - Support to civil authorities - evacuation of noncombatant ที่ได้อนุญาติแล้ว - peacekeeping
การปฏิบัติการที่คู่ขนานกัน (Simultaneous Ops ) • MOOTW มีบ่อยครั้งที่มีการปฏิบัติในเวลาเดียวกัน ทั้งการปฏิบัติการที่ไม่มีการรบและมีการรบ เช่น HA กับ PEO • ผู้บังคับบัญชาในยุทธบริเวณ ควรที่จะให้ความสนใจเป็นพิเศษในการรวมการปฏิบัติการ การประสานงาน และการปฏิบัติการที่คู่ขนานกัน
ระยะเวลาของการปฏิบัติการระยะเวลาของการปฏิบัติการ • ระยะสั้น • RAID STRIKES • ระยะยาว • สมาชิก MULTINATIONAL FORCE OBSERVERS
“MOOTW มีขอบเขตการปฏิบัติการที่กว้างขวาง ต้องการการเตรียมการมาก แต่ผู้บังคับบัญชาจำเป็นต้องตระหนักอยู่เสมอว่า ภารกิจหลักคือ การเตรียมการเพื่อการรบและชัยชนะในสงคราม”
หลักการของการปฎิบัติการทางทหารที่นอกเหนือจากการทำสงคราม (Principles of Military Operations Other than War) หลักนิยมทางทหารที่ใช้เป็นแบบอย่างในการรบนั้น ได้มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานโดยใช้หลักการสงคราม(Principle of War) มาเป็นต้นแบบ นอกจากนี้ จะนำประสบการณ์และระยะเวลา มาเป็นส่วนสำคัญในการกำหนดหลักนิยมขึ้น การปฏิบัติการทางทหารที่นอกเหนือจากการทำสงครามนั้นหากมีการใช้กำลังทหารในการปฏิบัติการรบก็จะนำหลักการสงครามบางข้อมาใช้ เช่นวัตถุประสงค์ ( Objective) และการระวังป้องกัน ( Security)ได้โดยทันที แต่บางข้อก็นำแนวความคิดมาดัดแปลงให้เหมาะสมกับการปฏิบัติการ
หลักการสงคราม Principle of War (British) • หลักการเลือกและดำรงไว้ซึ่งเป้าหมาย (Selection and Maintenance of the Aim) • หลักการรุก (Offensive action) • หลักการระวังป้องกัน (Security) • หลักการจู่โจม (Surprise) • หลักการรวมกำลัง (Concentration of force) • หลักการออมกำลัง (Economy of force) • หลักการอ่อนตัว (Flexibility) • หลักการร่วมมือ (Co-Operation) • หลักการช่วยรบ (Administration)
จุดมุ่ง Objective การรุก (Offensive action) การจู่โจม (Surprise) การรวมกำลัง (Concentration of force) การประหยัดกำลัง (Economy of force) ความปลอดภัย (Security) ความง่าย (Simplicity) ความคล่องตัว (Mobility) ขวัญ (Moral) การขยายผล (Escalate) ความพร้อมรบ (Readiness) หลักการสงคราม (สหรัฐ)
หลักการของ MOOTW • วัตถุประสงค์ (OBJECTIVE) • ความพยายามที่จะบรรลุเป้าหมายร่วมกัน (UNITY 0F EFFORT) • การรักษาความปลอดภัย (SECURITY) • ข้อจำกัด (RESTRAINT) • ความอดทนอดกลั้น/ความพยายาม (PERSEVERANCE) • ความถูกต้องตามกฎหมาย (LEGITIMACY)
วัตถุประสงค์ (OBJECTIVE) • การปฏิบัติการทางทหารทุก ๆ อย่างจะต้องมีความชัดเจน มีขอบเขตที่แน่ชัด เด็ดขาดและตั้งอยู่บนพื้นฐานของความสำเร็จ (บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้) • ผู้บังคับบัญชาของหน่วยต่างๆทางทหารทั้งหน่วยหลักและหน่วยรองต้องเข้าใจเป้าหมายทางยุทธศาสตร์ จัดตั้งวัตถุประสงค์ที่เหมาะสม และมั่นใจว่าเป้าหมายและวัตถุประสงค์เหล่านี้สนับสนุนความพยายามที่จะบรรลุเป้าหมายร่วมกัน ( unity of effort)
หากการกำหนดความสำเร็จของภารกิจเป็นเรื่องยาก จำเป็นจะต้องมีมาตรการพิเศษเพื่อช่วยกำหนดความสำเร็จ • ผู้บังคับบัญชาควรที่จะวิเคราะห์แนวทางหรือนโยบายทางการเมืองและนำมากำหนดวัตถุประสงค์ทางทหารที่เหมาะสม และชี้แจงให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเข้าใจอย่างชัดเจน • หากวัตถุประสงค์หรือสถานการณ์ทางการเมืองเปลี่ยนแปลงไปเป็นสิ่งจำเป็นที่วัตถุประสงค์ทางทหารจะต้องเปลี่ยนแปลงไปด้วย