160 likes | 338 Views
โครงการสร้างหลักประกันชีวิต สำหรับผู้ปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉิน ปีที่ 2. หลักการและเหตุผล สถานการณ์ของประเทศไทยและโลกได้มีการเปลี่ยนแปลงไปมาก
E N D
โครงการสร้างหลักประกันชีวิต สำหรับผู้ปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉิน ปีที่ 2
หลักการและเหตุผล • สถานการณ์ของประเทศไทยและโลกได้มีการเปลี่ยนแปลงไปมาก • การเกิดอุบัติเหตุกลุ่มชนพบได้บ่อยขึ้นและทวีความรุนแรงมากขึ้น ทั้งที่มีสาเหตุจากมนุษย์สร้างขึ้น การชุมนุมทางการเมือง และจากภัยธรรมชาติ เช่น ไฟไหม้ ตึกถล่ม สารเคมีรั่ว น้ำท่วม แผ่นดินไหว สึนามิฯลฯ ก่อให้เกิดความสูญเสียอย่างมหาศาล • ผู้ปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉิน เครือข่ายกู้ชีพเป็นบุคลากรกลุ่มแรกๆที่เข้าไปยังจุดเกิดเหตุ และต้องปฏิบัติการต่อเนื่องจนสถานการณ์คลี่คลาย • บุคลากรด้านนี้มีน้อยมาก และที่มีอยู่ก็มีภาระงานที่มาก • งบประมาณที่ได้รับลดลงส่งผลให้บุคลากรขาดขวัญกำลังใจในการปฏิบัติหน้าที่
เพื่อสร้างแรงจูงใจและธำรงรักษาผู้ปฏิบัติการฉุกเฉินให้คงอยู่ ช่วยเหลือสังคมให้นานที่สุด สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) ให้ความสำคัญ โดยจัดให้มีโครงการประกันภัยอุบัติเหตุกลุ่มให้กับผู้ปฏิบัติการฉุกเฉินในทุกระดับทั่วทั้งประเทศ
แยกกลุ่มผู้ปฏิบัติการแยกกลุ่มผู้ปฏิบัติการ
จำนวนผู้ปฏิบัติการในระบบการแพทย์ฉุกเฉิน ที่ทำประกันภัยอุบัติเหตุกลุ่ม เสียชีวิต 35 ราย (ระหว่างเดือน กันยายน 2552 ถึง กรกฎาคม 2553)
แนวทางการทำประกันภัยอุบัติเหตุกลุ่ม ประจำปี 2553
กลุ่มเป้าหมาย ปี 2553 จำนวน 100,000 คน • ผู้ปฏิบัติการทางการแพทย์ที่ปฏิบัติหน้าที่ในระบบการแพทย์ฉุกเฉิน - เจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นที่ปฏิบัติหน้าที่ในระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน - เจ้าหน้าที่มูลนิธิที่ปฏิบัติงานในระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน - อาสาสมัครที่ปฏิบัติหน้าที่ในระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน • บุคคลที่ช่วยปฏิบัติการในระบบการแพทย์ฉุกเฉิน ที่ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข หรือเลขาธิการ สพฉ. หรือ นพ.สสจ. หรือ ผอ. รพ. เห็นควรได้รับการทำประกันชีวิต
หลักเกณฑ์ • เพื่อให้ผู้ปฎิบัติการเกิดการตระหนักและป้องกันตนเองในการปฏิบัติหน้าที่อย่างรัดกุม และเป็นหลักประกันชีวิตของผู้ปฏิบัติการ จึงเสนอแนวทางในรูปแบบการประกันภัยอุบัติเหตุกลุ่ม ในลักษณะ ร่วมจ่าย จากผู้ประกันชีวิตได้แก่ ผู้ปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉิน • บริษัททิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน)ร่วมจ่าย เพื่อการเสริมสร้างขวัญและกำลังใจผู้ปฏิบัติการด้านการแพทย์ฉุกเฉิน
ข้อมูลเบื้องต้นในการทำประกันภัยอุบัติเหตุกลุ่มข้อมูลเบื้องต้นในการทำประกันภัยอุบัติเหตุกลุ่ม • ค่าเบี้ยประกัน 200 บาท/คน/ปี ทุนประกันชีวิต 200,000 บาท • การจ่ายค่าเบี้ยประกัน แบ่งเป็น 2 ส่วน • - สมาชิกที่ลงทะเบียนสมัครทำประกันร่วมจ่าย 100/คน/ ปี • - บริษัททิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ร่วมจ่าย 100/คน/ ปี
ความคุ้มครองตามกรมธรรม์ความคุ้มครองตามกรมธรรม์ • เงื่อนไขการคุ้มครองตามกรมธรรม์ (อ.บ. 2) • การเสียชีวิต การสูญเสียอวัยวะ สายตา การรับฟังเสียง การพูดออกเสียง หรือทุพพลภาพถาวร • ถ้าความบาดเจ็บที่ได้รับทำให้ผู้เอาประกันภัยเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ ,สายตา การรับฟังเสียง การพูดออกเสียง หรือ ทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิงภายใน 180 วัน นับแต่วันที่เกิดอุบัติเหตุ หรือความบาดเจ็บที่ได้รับ ทำให้ผู้เอาประกันภัยต้องรักษาตัวติดต่อกันในฐานะ คนไข้ในในโรงพยาบาลและเสียชีวิตเพราะความบาดเจ็บ
การคุ้มครองนอกเหนือกรมธรรม์ปกติ 1. คุ้มครองทุกที่ทั่วโลก ตลอด 24 ชม. 2. การเสียชิวิต อวัยวะ และสายตาหรือ ทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง (ตาม อบ. 2) 3. การขับขี่หรือโดยสารรถจักรยานยนต์ (กรณีเสียชีวิตคุ้มครอง 50%ของทุนประกันภัย) 4. การถูกฆ่าหรือถูกทำร้ายร่างกาย 5. การจลาจล การนัดหยุดงาน 6. ขณะกำลังขึ้น – ลง หรือขณะโดยสารอยู่ในอากาศยานที่มิได้จดทะเบียนเพื่อบรรทุกผู้โดยสารและมิได้ประกอบการโดยสายการบินพาณิชย์
ขั้นตอนการดำเนินงาน • ผู้ปฏิบัติการกรอกใบสมัคร แนบเอกสาร พร้อมเงินส่วนของผู้ทำประกัน ส่งที่หน่วยปฏิบัติการต้นสังกัด • หน่วยปฏิบัติการต้นสังกัด ตรวจสอบเอกสาร รวบรวมเงิน พร้อมทั้งรายชื่อผู้สมัคร ส่งที่ สำนักระบบการแพทย์ฉุกเฉินจังหวัด • สำนักระบบการแพทย์ฉุกเฉินจังหวัดกรอกข้อมูลผู้สมัครผ่านหน้า web หรือ excel file ให้ สพฉ. และจัดส่งเอกสารและเงินเบี้ยประกัน ให้ บริษัทประกัน • บริษัทประกัน จัดส่งกรมธรรม์ ที่ สำนักระบบการแพทย์ฉุกเฉินจังหวัด(บริษัทประกันสนับสนุนค่าบริหารจัดการในการดำเนินงานให้ สสจ. 10 บาท/ราย)
ระยะเวลาดำเนินการรับสมัครระยะเวลาดำเนินการรับสมัคร • ระหว่างเดือน กันยายน ถึง ธันวาคม 2553 เอกสารประกอบการสมัคร สมาชิกกู้ชีพ กู้ภัย • ใบสมัคร ลงนาม 1 ฉบับ • รูปถ่ายหน้าตรง 1 รูป (1 นิ้ว) • สำเนาบัตรประชาชน (รับรองสำเนา) 1 ฉบับ • เงินค่าสมัคร ในส่วนของผู้ประกันตน
ผลที่คาดว่าจะได้รับจากการทำประกันภัยอุบัติเหตุกลุ่มผลที่คาดว่าจะได้รับจากการทำประกันภัยอุบัติเหตุกลุ่ม • ผู้ปฏิบัติงานในระบบการแพทย์ฉุกเฉินมีกำลังใจในการปฏิบัติหน้าที่มากขึ้น • เครือข่ายผู้ปฏิบัติงานในระบบการแพทย์ฉุกเฉินมีความเข็มแข็งและสามารถทำให้เกิดการพัฒนาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน • ธำรงรักษาบุคลากรเหล่านี้ไว้ให้คงอยู่เพื่อช่วยเหลือสังคม
ขอบคุณค่ะ โดย นางสาวคงขวัญ จันทร์แก้ว