1 / 20

กฎหมายว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต หรือความคุ้มกันทางการทูต ( Diplomatic Immunity )

กฎหมายว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต หรือความคุ้มกันทางการทูต ( Diplomatic Immunity ). กอบกุล รายะนาคร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. อนุสัญญาเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต The Vienna Convention on Diplomatic Relations 1961. Article 3 หน้าที่ของคณะผู้แทน

van
Download Presentation

กฎหมายว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต หรือความคุ้มกันทางการทูต ( Diplomatic Immunity )

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. กฎหมายว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต หรือความคุ้มกันทางการทูต(Diplomatic Immunity) กอบกุล รายะนาคร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

  2. อนุสัญญาเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต The Vienna Convention on Diplomatic Relations 1961 Article 3 หน้าที่ของคณะผู้แทน (1) เป็นตัวแทนของรัฐในความสัมพันธ์ระหว่างรัฐผู้ส่ง (Sending State) และรัฐผู้รับ (Receiving State) (2) เป็นตัวแทนในการคุ้มครองผลประโยชน์และคนชาติของรัฐผู้ส่ง (3) เป็นตัวแทนในการให้ข้อมูลข่าวสารและส่งเสริมความสัมพันธ์ฉันมิตรระหว่างรัฐผู้ส่งกับรัฐผู้รับ

  3. Article 4 • รัฐผู้ส่งต้องทำให้เป็นที่แน่นอนว่ารัฐผู้รับได้ให้ความเห็นชอบแล้วสำหรับบุคคลที่จะแต่งตั้งเป็นหัวหน้าคณะผู้แทน • รัฐผู้รับไม่จำเป็นต้องให้เหตุผลแก่รัฐผู้ส่งในการปฏิเสธไม่ให้ความเห็นชอบ

  4. Article 9 • รัฐผู้รับอาจบอกกล่าว ณ เวลาใด ว่าหัวหน้า หรือบุคคลใดในคณะผู้แทนเป็น บุคคลที่ไม่พึงปราถนา (Persona non grata) Article 13 • หัวหน้าคณะผู้แทนต้องยื่นสาส์นตราตั้ง (credentials) เพื่อบอกกล่าวการมาถึงของตน และเพื่อถือได้ว่าได้รับการหน้าที่ของตนในรัฐผู้รับ

  5. Article 14 • หัวหน้าคณะผู้แทนแบ่งออกเป็น 3 ชั้น • 1) ชั้นเอกอัครราชทูต เอกอัครสมณทูต • 2) ชั้นรัฐทูต อัครราชทูต อัครสมณทูต • 3) ชั้นอุปทูต

  6. ความคุ้มกันแก่สถานที่ความคุ้มกันแก่สถานที่ Article 22 สถานที่ของคณะผู้แทนจะถูกละเมิดมิได้ • สถานที่ เครื่องตกแต่ง และทรัพย์สินอื่นของคณะผู้แทน และพาหนะในการขนส่งของคณะผู้แทนได้รับการคุ้มกันจากการค้น การเรียกเกณฑ์ การอายัดหรือการบังคับคดี Iran Case (1980) ICJ

  7. ความคุ้มกันแก่สถานที่ (2) Article 24 เอกสารและบรรณสาร (Archives) ของคณะผู้แทนจะถูกละเมิดมิได้ Article 23 นอกจากการชำระค่าบริการจำเพาะแล้ว ให้รัฐผู้ส่งและหัวหน้าคณะผู้แทนได้รับการยกเว้นภาษีอากรทั้งของชาติ ท้องถิ่น หรือเทศบาล ในส่วนที่เกี่ยวกับสถานที่ของคณะผู้แทนไม่ว่าจะเป็นเจ้าของหรือเช่า

  8. ความคุ้มกันด้านการสื่อสารความคุ้มกันด้านการสื่อสาร Article 27 • การอนุญาตและคุ้มครองการสื่อสารโดยเสรี • หนังสือตอบโต้ทางการจะละเมิดมิได้ • ถุงทางทูต (Diplomatic Bag) จะไม่ถูกเปิดหรือกักไว้

  9. ความคุ้มกันแก่ตัวบุคคลความคุ้มกันแก่ตัวบุคคล • Article 29ตัวบุคคลของตัวแทนทางทูตจะถูกละเมิดมิได้ จะไม่ถูก จับกุม หรือกักขังในรูปใด • Article 30 ที่อยู่ส่วนตัว เอกสาร และหนังสือโต้ตอบ และทรัพย์สิน ของ ตัวแทนทางทูตจะละเมิดมิได้

  10. ความคุ้มกันทางกฎหมายของตัวแทนทางทูตความคุ้มกันทางกฎหมายของตัวแทนทางทูต Article 31 ตัวแทนทางทูตจะได้อุปโภคความคุ้มกันจากอำนาจศาลทางอาญาทางแพ่ง และทางปกครองของรัฐผู้รับ เว้นแต่ • การดำเนินคดีกรรมสิทธิ์ หรือสิทธิครอบครองเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ส่วนตัว • การดำเนินคดีเกี่ยวกับการสืบมรดก • การดำเนินคดีเกี่ยวกับกิจกรรมใดในทางอาชีพ หรือพาณิชย์ • ตัวแทนทางการทูตไม่จำต้องให้การในฐานะพยาน

  11. ความคุ้มกันทางกฎหมาย Article 33 ตัวแทนทางการทูตได้รับการยกเว้นจากบทบัญญัติเกี่ยวกับการประกันสังคม Article 34 ได้รับการยกเว้นจากค่าติดพันและภาษีทั้งปวงของชาติ ของท้องถิ่น หรือของเทศบาล ในส่วนบุคคลหรือในทรัพย์สิน เว้นแต่ • ภาษีทางอ้อมที่รวมอยู่ในราคาสินค้าหรือบริการแล้ว • ค่าติดพันและภาษีจากอสังหาริมทรัพย์ส่วนตัว • อากรกองมรดก การสืบมรดก • ค่าติดพันและภาษีจากเงินได้ส่วนตัว • ค่าภาระสำหรับบริการจำเพาะ • ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียน ค่าธรรมเนียมศาล ค่าติดพันในการจำนอง และอากรแสตมป์ในส่วนที่เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์

  12. การยกเว้นภาษีนำเข้าและการตรวจตราสิ่งของการยกเว้นภาษีนำเข้าและการตรวจตราสิ่งของ Article 36ได้รับอนุญาตให้นำเข้า และยกเว้นจากอากรศุลกากร ภาษี และค่าภาระแก่สิ่งของ สำหรับใช้ในทางการ ใช้ส่วนตัวของตัวแทนทางการทูต หรือคนในครอบครัว ซึ่งประกอบเป็นส่วนของครัวเรือนของตัวแทนทางทูต หีบห่อส่วนบุคคลของบุคคลของตัวแทนทางทูตจะได้รับยกเว้นจากการตรวจตรา นอกจากมีมูลเหตุอันร้ายแรงที่ทำให้สันนิษฐานได้ว่า บรรจุสิ่งของซึ่งไม่อยู่ในข่ายแห่งการยกเว้น

  13. เอกสิทธิ์และความคุ้มกันแก่บุคคลอื่นๆ ในคณะผู้แทน • คนในครอบครัวของตัวแทนทางทูต ซึ่งประกอบเป็นส่วนของครัวเรือน ถ้าไม่ใช่คนชาติของผู้รับ จะได้รับอุปโภคเอกสิทธิและความคุ้มกันตาม Article 29-36

  14. 2. บุคคลในคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายธุรการ และฝ่ายวิชาการของคณะผู้แทน รวมทั้งคนในครอบครัว ซึ่งประกอบเป็นส่วนของครัวเรือน ได้รับสิทธิตาม Article 29-35 แต่ความคุ้มกันจากอำนาจศาลทางแพ่งและทางปกครองไม่ขยายไปถึงการกระทำนอกวิถีทางของหน้าที่ตน ได้รับการยกเว้นเมื่อนำเข้าสิ่งของตาม Article 36 (1) สำหรับการเข้ารับหน้าที่ครั้งแรก

  15. เจ้าหน้าที่ฝ่ายบริการ ได้รับการคุ้มกันในการกระทำตามวิถีทางของหน้าที่ของตน ยกเว้นภาษีจากค่าจ้างและการประกันสังคม • คนรับใช้ส่วนตัว ได้รับการยกเว้นภาษีจากการรับจ้างของตน และเอกสิทธิหรือความคุ้มกันอื่นๆ เท่าที่รัฐผู้รับยอมให้เท่านั้น

  16. การคุ้มกันแก่คณะกงสุลการคุ้มกันแก่คณะกงสุล • กงสุลเป็นตัวแทนของรัฐในกิจการด้านการบริหาร เช่น การออกพาสปอร์ต วีซ่า ส่งเสริมผลประโยชน์ทางการค้า และให้ความช่วยเหลือแก่คนชาติ • มีภารกิจทางการเมืองน้อย • โดยหลักการได้รับความคุ้มกันเช่นเดียวกันกับคณะผู้แทนทางทูต แต่คุ้มกันในระดับที่น้อยกว่า

  17. อนุสัญญาเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุล (Vienna Convention on Consular Relations) ค.ศ. 1963 Article 11 ต้องมีสัญญาบัตรตราตั้ง (commission) จากรัฐผู้ส่ง และอนุมัติบัตร (authorization) จากรัฐผู้รับ Article 23 รัฐผู้รับอาจแจ้งแก่รัฐผู้ส่ง ณ เวลาใดก็ได้ว่า เจ้าหน้าที่กงสุลเป็นบุคคลไม่พึงปราถนา หรือสมาชิกคนใดในคณะกงสุลไม่เป็นที่ยอมรับ

  18. ความคุ้มกันแก่คณะกงสุลความคุ้มกันแก่คณะกงสุล Article 31 สถานที่กงสุล จะถูกละเมิดมิได้ ทรัพย์สิน เครื่องตกแต่ง พาหนะ จะได้รับความคุ้มกัน แต่อาจถูกเรียกเกณฑ์ได้ หากจำเป็น เพื่อการป้องกันชาติ Article 32 ยกเว้นภาษีแก่สถานที่ Article 35 ความคุ้มกันแก่ถุงทางกงสุล และหนังสือโต้ตอบ แต่อาจขอให้เปิดได้หากสงสัย

  19. ความคุ้มกันแก่คณะกงสุลความคุ้มกันแก่คณะกงสุล Article 41 ความคุ้มกันจากการถูกจับกุม คุมขัง เว้นแต่ในกรณีที่เป็นอาชญากรรมร้ายแรง และหลังจากที่มีการตัดสินโดยองค์กรทางศาลที่มีอำนาจแล้ว Article 43 ได้รับความคุ้มกันจากกฎหมายอาญาและกฎหมายแพ่ง เฉพาะในกิจการที่กระทำตามหน้าที่ในทางกงสุลเท่านั้น

  20. ความคุ้มกันแก่คณะกงสุลความคุ้มกันแก่คณะกงสุล Article 44 อาจถูกเรียกไปปรากฏตัวในฐานะพยาน Article 49 ได้รับยกเว้นภาษีและอากรนำเข้าเช่นเดียวกับตัวแทนทางทูต

More Related