380 likes | 584 Views
AEC 2015 : Opportunities and Challenges. โดย ดร.ธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย 15 สิงหาคม 2555 ณ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ. ASEAN 45 th Anniversary เกือบครึ่งศตวรรษของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. Bangkok Declaration ปี 1967 ปฏิญญากรุงเทพ จุดเริ่มต้นของอาเซียน
E N D
AEC 2015 : Opportunities and Challenges โดย ดร.ธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย 15 สิงหาคม 2555 ณ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
ASEAN 45th Anniversaryเกือบครึ่งศตวรรษของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน • Bangkok Declaration ปี 1967 ปฏิญญากรุงเทพ จุดเริ่มต้นของอาเซียน • AFTAข้อตกลงเสรีการค้าและภาษี “0”ทำให้อาเซียนเป็น Free Trade &Customs Union ในปี 1993 • ASEAN WAY ข้อตกลงของอาเซียนต้องเป็นฉันทามติและไม่แทรกแซงกิจการภายในซึ่งกันและกัน • ASEAN Vision 2020 จากการประชุมกัวลาลัมเปอร์ ปี ค.ศ.1997 ได้วิสัยทัศน์อาเซียนในการเป็นตลาดเดียวกันภายใต้ประชาคมอาเซียน • Bali Concord II การประชุมที่บาหลี ปี ค.ศ.2003 ได้ลงนามข้อตกลง ทำให้เกิดข้อตกลงประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2020 • ASEAN Charter กฎบัตรอาเซียน จากข้อตกลงในการประชุมที่เวียงจันทน์ ปี 2004 และข้อตกลงจาการ์ตา ปี พ.ศ. 2008 อาเซียนได้ยกระดับเป็นนิติบุคคล และการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
ASEAN Community. Do you know??ประชาคมอาเซียน... คนไทยเข้าใจมากน้อยเพียงใด ASEAN Charter : กฎบัตรอาเซียน (Jakarta 2008) เป็นสนธิสัญญาของอาเซียน เพื่อใช้เป็นกรอบกฎหมายและโครงสร้างในการเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียน (AC) ในปี 2015 • ASEAN Community (AC) ประชาคมอาเซียน ประกอบด้วยสามเสาหลัก (3 Pillars) ในการเป็นประชาคมอาเซียน ประกอบด้วย 1. APSC : ASEAN Political & Security Community ประชาคมความมั่นคงอาเซียน 2. AEC : ASEAN Economic Communityประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 3. ASCC: ASEAN Socio-Cultural Community ประชาคมสังคม-วัฒนธรรมอาเซียน • AEC Blueprint กำหนดแผนบูรณาการเศรษฐกิจในด้านต่างๆ ซึ่งประเทศสมาชิกมีพันธสัญญาที่จะนำประเทศเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจแห่งภูมิภาคอาเซียน
AEC Blueprintยุทธศาสตร์การเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน มีสาระสำคัญประกอบด้วย 1) การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน (Single Market & Production Strategy) 2) การเป็นภูมิภาคที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูง (Regional Competitiveness Strategy) 3) การเป็นภูมิภาคที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่เท่าเทียมกัน (Equalized Development) 4) การเป็นภูมิภาคที่มีการบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก (Global Economic Integration Strategy)
Single Market & Single Production Strategyยุทธศาสตร์การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน 1 • ยุทธศาสตร์เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของ AEC มี 5 องค์ประกอบหลักคือ • การเคลื่อนย้ายสินค้าเสรี (Free Flow of Goods) • การเคลื่อนย้ายบริการเสรี (Free Flow of Service) • การเคลื่อนย้ายการลงทุนเสรี (Free Flow of Investment) • การเคลื่อนย้ายเงินเสรีขึ้น (Free Flow of Financial) • การเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือเสรี (Free Flow of Labour)
Single Market & Single Production BaseOpportunity or Threat??? ASEANPlus 6 กลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกครอบคลุม 2 มหาสมุทร ขนาดเศรษฐกิจ 23.672 พันล้านเหรียญสหรัฐ เท่ากับร้อยละ 33.74 ของGDP โลก www.tanitsorat.com
Opportunity on Single & Production Baseประเทศไทยกับโอกาสในการเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวของ ASEAN • Geographic Location : ที่ตั้งและภูมิศาสตร์ของไทยอยู่ตรงศูนย์กลางของอาเซียน ทำให้สามารถเชื่อมโยงไปสู่ประเทศสมาชิกได้ดีกว่า • Strong Industries Base : ฐานการผลิตของไทยมีความเข้มแข็งเกื้อหนุนต่อ 12 สาขาอุตสาหกรรมที่เปิดเสรี • Strong Domestics Consumption Base : ฐานประชากร 67 ล้านคนเกื้อหนุนต่อการผลิตในเชิง Mass Production ที่สามารถขยายไปสู่ตลาดอาเซียน 600 ล้านคน • Global Supply Chain : เครือข่ายการผลิตของประเทศไทยเป็นส่วนหนึ่งของโซ่อุปทานการผลิตในอุตสาหกรรมหลักของโลก ไทยมีความสามารถในการใช้พื้นที่ของสมาชิกเซียนเป็นฐานการผลิต • Skill & Technology : ประเทศไทยมีแรงงานทักษะจำนวนมากและมีเทคโนโลยี การผลิตและการตลาดอยู่ในระดับที่แข่งขันได้ดี (อุตสาหกรรม 12 สาขาที่เปิดเสรี : เกษตร ประมง ผลิตภัณฑ์จากยาง ผลิตภัณฑ์ไม้ สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ การขนส่งทางอากาศ e-ASEAN สุขภาพ ท่องเที่ยว โลจิสติกส์)
Sein Gay Har Central Mart, Yangon และภายในห้าง Junction Centre สาขาที่กรุงย่างกุ้ง ประเทศอาเซียน CLMสินค้าไทยเป็นที่ยอมรับด้านคุณภาพ (High-End) และเป็นชื่นชอบจากคนพม่า สินค้าไทยครองตลาดที่ City mart supermarket, Yangon
ประเทศ CLM กับโอกาสการลงทุนในอุตสาหกรรมที่ต้องใช้แรงงานเข้มข้น • ค่าแรงต่ำกว่าไทย • มีแรงงานจำนวนมาก • การได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี (GSP) ประมาณ 10 -16 % ค่าจ้างต่ำกว่าไทย 2-3 เท่า CLM : Cambodia, Lao PDR & Myanmar
การลงทุนเหมาะสำหรับอุตสาหกรรมเบาทุกประเภท (Light Industrial) • รูป 1+2+3 โรงงานของผู้ประกอบการไทย ที่นครย่างกุ้ง
AEC การลงทุนในธุรกิจโรงแรมและโรงพยาบาล เป็นโอกาสของไทย Traders Hotel Sedona Hotel รูปแบบห้องพัก ลักษณะการให้บริการของโรงแรมชั้นนำในกรุงย่างกุ้ง ประเทศพม่า
ปัญหาอุปสรรคในการลงทุนของไทยในประเทศเพื่อนบ้านปัญหาอุปสรรคในการลงทุนของไทยในประเทศเพื่อนบ้าน • กฎหมายส่งเสริมการลงทุนและกฎหมายด้านภาษีจะต้องมีความชัดเจน • ปัญหาด้านทักษะของแรงงาน • การจ่ายกระแสไฟฟ้ายังไม่พอเพียง ต้องมีเครื่องปั่นไฟฟ้าทำให้ต้นทุนการผลิตสูง • ระบบโลจิสติกส์และโครงสร้างพื้นฐานยังต้องมีการพัฒนาอีกมาก • หน่วยงานของรัฐยังขาดการให้บริการที่ดี และขาดความเป็นสากล • ประเทศไทยไม่มียุทธศาสตร์และขาดการสนับสนุนอย่างจริงจังในการลงทุนในต่างประเทศ • ผู้ประกอบการไทยส่วนใหญ่อยู่ในระดับ Local Investment มองประเทศเพื่อนบ้านเป็นเพียงตลาดไม่ใช่แหล่งลงทุน
Thailand… Competitiveness Opportunityโอกาสของไทยต่อขีดความสามารถในการแข่งขัน 2 • Law & Compliance : ประเทศไทยมีกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมายที่เป็นสากลเอื้อต่อการลงทุน • Export Oriental Competitiveness : ผู้กอบการของไทยมีความเข้มแข็งและขีดความสามารถในการเข้มแข็งระดับโลกโดยเป็นประเทศส่งออกอยู่ในระดับหนึ่งใน 10 ของโลก • Intellectual Property : ไทยมีกฎหมายลิขสิทธิ์เกื้อหนุนต่อการสร้างแบรนด์ และทรัพย์สินทางปัญญา • Infrastructures : ประเทศไทยมีโครงพื้นฐานทั้ง โลจิสติกส์ น้ำ ไฟฟ้า ในระดับทีดีกว่าประเทศเพื่อนบ้าน
ประเทศไทย...กับขีดความสามารถในการแข่งขันที่ลดลง จะเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการเปิด AEC หรือไม่ • ความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยจากการจัดอันดับของ WEF • ปี 2011 ประเทศไทยอยู่ในลำดับที่ 38 จาก 139 ประเทศ ลดลงจากลำดับที่ 36 ในปี 2010 • ประเทศไทยต้องพัฒนาศักยภาพในด้านต่างๆ เช่น ด้านเศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศ โครงสร้างพื้นฐาน ประสิทธิภาพภาครัฐ กฎหมายที่เป็นสากล และประสิทธิภาพภาคธุรกิจ
Equalized Development Strategy : ยุทธศาสตร์การเป็นภูมิภาคที่มีการพัฒนาเศรษฐกิจเท่าเทียมกัน 3 • มี 2 องค์ประกอบได้แก่ • SME Development การพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม SME : โอกาสของประเทศไทยที่มีฐาน SME ที่เข้มแข็งในระบบการผลิตประมาณร้อยละ 90 • Initiative for ASAEN Integration : IAI ความคิดริเริ่มเพื่อลดช่องว่างการพัฒนาของไทยอยู่ในระดับที่แข่งขันได้ เมื่อเทียบกับประเทศ CLM แต่ยังมีช่องว่างของการพัฒนาเมื่อเทียบกับประเทศสิงคโปร์และมาเลเซีย
เศรษฐกิจฐานเดียวของอาเซียนภายใต้การพัฒนาที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิงเศรษฐกิจฐานเดียวของอาเซียนภายใต้การพัฒนาที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง • การเข้าไปแสวงหาประโยชน์ฝ่ายเดียวของสมาชิกที่พัฒนาแล้วในทรัพยากรของประเทศสมาชิกที่ด้อยพัฒนา • การแข่งขันเสรีภายใต้ความเหลื่อมล้ำของขีดความสามารถในการแข่งขันนำไปสู่การพัฒนาที่ไม่เท่าเทียมกันของสมาชิกอาเซียน • การเป็นเศรษฐกิจฐานเดียว จะเป็นโอกาสของบริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่ที่จะเข้าถึงโอกาสและตักตวงประโยชน์ฝ่ายเดียว • ธุรกิจ SME และวิสาหกิจชุมชนโดยเฉพาะประเทศขอบนอกของอาเซียน จะไม่สามารถเข้าถึงโอกาสของการเป็นตลาดฐานเดียว • ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนยิ่งพัฒนา ช่องว่างของการพัฒนาและความยากจนจะยิ่งสูงขึ้น
Global Economic Integration Strategyการเป็นภูมิภาคที่มีการบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก 4 • ASEAN Partnership การจัดทำเขตการค้าเสรีและความเป็นหุ้นส่วนเศรษฐกิจกับประเทศนอกอาเซียน • ASEAN Global Supply Chain การมีส่วนร่วมในเครือข่ายโซ่อุปทานโลก โอกาสของประเทศไทย • ประเทศไทยมีข้อตกลงระหว่างประเทศในภูมิภาคภายในทุกกรอบวงแหวงและกรอบ 3 เหลี่ยมเศรษฐกิจ เช่น GMS , BIMSTEC, IMT-GT, APEC, ACMECS และกรอบอื่นๆอีกมากมาย • ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตภายใต้เครือข่ายโซ่อุปทานของโลก(อยู่แล้ว) เช่น รถยนต์ ชิ้นส่วนยานยนต์ อุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า
การขาดการบูรณาการที่แท้จริงของอาเซียน...จะเป็นปัญหาของ AEC หรือไม่...??? • ปัญหาความไม่เป็นเนื้อเดียวกันของสมาชิกอาเซียน • ปัญหาการขัดแย้งด้านผลประโยชน์และการแข่งขันด้านการส่งออก • ปัญหาความขัดแย้งด้านพื้นที่ชายแดนทั้งทางบกทางทะเลที่ทับซ้อนกัน • ปัญหาความเข้าใจที่ต่างกันของประชาชนแต่ละประเทศ • ปัญหากฎหมายและมาตรฐานระเบียบและข้อจำกัดต่างๆ • ปัญหาความแตกต่างทั้งด้านการเมืองเศรษฐกิจสังคม ศาสนาและวัฒนธรรม
ความท้าทายของการเป็น AECขึ้นอยู่กับว่าใครได้อะไร และใครจะต้องเสียอะไร • Development Gap : บนเศรษฐกิจที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ระหว่างประเทศสมาชิก 10 ประเทศ CLMV เป็นสมาชิกใหม่ ก่อให้เกิดช่องว่างของการพัฒนา • Non Equal Competitiveness : การแข่งขันที่เสรีภายใต้ขีดความสามารถในการแข่งขันที่แตกต่างกัน จะทำให้สมาชิกที่ด้อยโอกาสไม่สามารถเข้าถึงตลาดขนาดใหญ่ • Non Fairness Rule : การมีกฎเกณฑ์ที่ไม่เป็นธรรม การใช้ทรัพยากรและประโยชน์จึงตกอยู่กับประเทศที่พัฒนากว่า • Lack of Opportunity : ในระดับธุรกิจ บริษัทขนาดใหญ่จะเข้าถึงโอกาส ขณะที่ SME และภาคเกษตรจะเป็นกลุ่มด้อยโอกาส
ASEAN กับการเป็นประชาคมเดียวกัน...ได้จริงหรือ? • การบูรณาการสมาชิกยังไม่เป็นเนื้อเดียวกัน (Non-Harmonized Integrated)แต่ละประเทศยังมีการแข่งขันทางด้านเศรษฐกิจ และยังคงเป็นประเทศที่กำลังพัฒนา การแข่งขันจึงสูงและยังมีความระแวงต่อกัน • ขาดความเป็นบูรณาการ รัฐบาลของประเทศต่างๆในอาเซียน ยังมีความยึดถือผลประโยชน์ประเทศตนเป็นหลักมีการแข่งขันด้านการลงทุนและส่งออกและมีพื้นที่ทางเศรษฐกิจที่ทับซ้อนกัน โดยเฉพาะระบบการปกครองที่ต่างกัน • ปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง อาเซียนยังประกอบด้วยประเทศต่างๆ ที่มีความแตกต่างกันทางวัฒนธรรม ศาสนา สังคม ปัญหาพื้นที่ทับซ้อนทั้งทางบกและทางทะเล ปัญหาเหล่านี้จะนำไปสู่ความขัดแย้งในอนาคต • การพัฒนาที่ไม่เท่าเทียมกัน อาเซียนภายใต้ ASEAN WAY โดยเฉพาะรายได้ของประชากร การรับรู้ของกลุ่มคนด้อยโอกาสในแต่ละประเทศ ระดับการศึกษาและทักษะ ซึ่งเกิดจากช่องว่างของการพัฒนาที่ไม่เท่าเทียมกัน
อาเซียนยังขาดความเป็นอัตลักษณ์ร่วมกันWe arenot ASEAN citizen • ภายใต้ความแตกต่างทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ศาสนา ทำให้อาเซียนขาดอัตลักษณ์ร่วมกันที่จะไปสู่การเป็นประชาคมเดียวกัน • อาเซียนขาดความยึดโยงในผลประโยชน์ร่วมกัน มีทั้งรูปแบบการแข่งขัน ช่วงชิง ทั้งในด้านการส่งออก การกีดกัน การนำเข้า และปัญหาพื้นที่พรมแดนที่ทับซ้อนกัน • ASEAN Way ภายใต้กฎบัตรของอาเซียนในการไม่เข้าไปก้าวก่ายกิจการภายในของกันและกัน ทำให้ความเป็นเนื้อเดียวกันเป็นสิ่งที่ยาก • Development Gap ช่องว่างของการพัฒนา ประเทศต่างๆ ที่มีเศรษฐกิจและขีดความสามารถที่แตกต่างกัน เป็นสิ่งสำคัญ การพัฒนาเป็นเศรษฐกิจฐานเดียวจึงเป็นความท้าทาย • ASEAN Share Value การยกระดับความยากจนด้วยการโยกย้ายแรงงานเสรี ภายใต้ค่าจ้างที่เท่าเทียมกันจะมีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด • ASEAN Community ภายใต้ความแตกต่างและการขาดการบูรณาการ และช่องว่างของการพัฒนา จะทำให้เกิดการพัฒนาในมิติต่างๆ ได้มากน้อยเพียงใด 21
ASEAN Blueprint จะสามารถยกระดับไปสู่การเป็นสหภาพอาเซียนได้หรือไม่...?? คำถามที่ไม่เห็นคำตอบ • ASEAN Union is far away ภายใต้กฎบัตรของอาเซียนไม่ได้กำหนดหน้าที่ ในการเชื่อมโยงกับการเมืองเพื่อจะนำไปสู่การเป็น ASEAN Union ได้อย่างไร? • ASEAN Way Framework ยังเป็นกรอบที่ทำให้การรวมตัวของอาเซียนไม่ให้ก้าวก่ายการเมืองและให้รวมตัวกันโดยไม่ใช้มติส่วนใหญ่ แต่เป็นลักษณะฉันทานุมัติ จะเป็นความท้าทายอย่างสูง • Citizen Consensus เป็นเรื่องระดับผู้นำประเทศไปตกลงกันแล้วจึงใส่ความคิดกับประชาชน ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ไม่พร้อมต่อการเป็นประชาชนของอาเซียน ต่างฝ่ายต่างยึดถือความเป็นชาติตนเอง • ความบาดหมางทางประวัติศาสตร์ และการปกครองที่แตกต่างกัน ประวัติศาสตร์ของอาเซียนช่วงสงครามเย็นและก่อนหน้านั้นยังเป็นบาดแผลร่วมกัน การปกครองที่แตกต่างกันทำให้ระแวงไม่เชื่อใจกัน • ระบอบการปกครองที่แตกต่างกัน ของประเทศสมาชิกทั้ง 10 ประเทศ มีทั้งที่เป็นประชาธิปไตยจริง ประชาธิปไตยครึ่งใบ สังคมนิยม และระบอบราชาธิปไตย (Monarchy)
ASEAN in Real Sector Contentอาเซียนบนบริบทของภาคเศรษฐกิจที่แท้จริง • Opportunity or THREAT : การเข้าสู่ AEC ในปี 2558 จะเป็นโอกาสและความท้าทาย เป็นเหรียญ 2 ด้าน ที่มีผู้ได้ประโยชน์และผู้ที่เสียประโยชน์ • Free Trade Area : สินค้านอกและทุนจะทะลักเข้ามา การแข่งขันอย่างเสรีจากนอกประเทศจะเข้ามาเบียดผู้ประกอบการภายในที่ขาดความเข้มแข็งให้ออกจากตลาด ทั้งด้านภาษี และกฎหมายการลงทุนจะเปิดกว้างเสรี ทั้งภาคการค้า การผลิต การเงิน การท่องเที่ยว ธุรกิจโลจิสติกส์ และการบริการในทุกสาขา • No Handicap : ภูมิคุ้มกันธุรกิจภายในจะหมดไปไม่มีแต้มต่อ ปลาใหญ่จะกินปลาเล็กอย่างไร้ความปราณี • Regional Think : การเปลี่ยนแปลงประเด็นสำคัญอยู่ที่การปรับและเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของผู้ประกอบการและคนไทย ในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนด้วยความมั่นใจ • BUSINESS ARCHITECTURE TRANSFORM : การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ทางสถาปัตยกรรมธุรกิจ ความพร้อมหรือไม่พร้อมเป็นเรื่องของปัจเจกบุคคล 24
โอกาสของการเป็นส่วนหนึ่งของตลาดที่ใหญ่ที่สุดในโลกโอกาสของการเป็นส่วนหนึ่งของตลาดที่ใหญ่ที่สุดในโลก • โอกาสด้านการค้าและการลงทุน การค้าและการลงทุนภายในอาเซียนมีทางเลือกมากขึ้น จากขนาดตลาดที่จะขยายเป็น 10 ประเทศในอาเซียน ที่มีจำนวนประชากรรวมกันกว่า 580 ล้านคน มีมูลค่า GDP รวมกันถึง 2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ • เขตเศรษฐกิจอาเซียน +6 เป็นเขตเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลก ด้วยขนาดของGDP 23.672 Trillion USD คิดเป็นร้อยละ 33.74 ของGDP โลก • เป็นเขตที่มีประชากรมากที่สุดในโลก 3,358 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 49.3 ของประชากรโลก • เขตเศรษฐกิจที่มีการเติบโตสูงที่สุดในโลก ประเทศสมาชิกของ อาเซียน +6 (ยกเว้นญี่ปุ่น) แต่ละประเทศมีการเติบโตทางเศรษฐกิจ เฉลี่ยร้อยละ 6-8 ต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 10 ปี • เขตเศรษฐกิจที่เป็นแหล่งการผลิตและการลงทุนที่ใหญ่ที่สุดในโลก • เป็นเขตเศรษฐกิจที่เป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของโลก มีท่าเรือที่เป็น World Port กว่า 10 ท่า
ไทยบน…ความท้าทายของการเป็น AEC • ประเทศไทยจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของตลาดอาเซียน เป็นโอกาสหรือความเสี่ยง ขึ้นอยู่กับขีดความสามารถในการแข่งขัน • อาจเสียพื้นที่ตลาดในประเทศ สินค้าจากเพื่อนบ้านทั้งด้านการนำเข้าและการย้ายฐานการผลิตเข้ามาในไทย จะนำกลยุทธ์และรูปแบบสินค้าใหม่ๆ เข้ามาแทนที่สินค้าที่ผลิตในประเทศ (มากขึ้น) • ทางเลือกของผู้บริโภคมากขึ้นแต่อาจทำลายฐานอุตสาหกรรม เช่น จะทำให้สินค้าราคาถูกลง และมีทางเลือกในการบริโภคสินค้ามากขึ้น • การเปิดเสรีภาคบริการ ไทยมีทั้งโอกาสและความท้าทาย โดยเฉพาะจากการเคลื่อนย้ายแรงงานระหว่างกันที่จะทำให้มีต้นทุนลดลง • มาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี (NBT) และการทุ่มตลาดจะสูงขึ้น ซึ่งอาเซียนมีระเบียบชัดเจนว่าการจะออกมาตรการกีดกันใดๆ จะต้องแจ้งเตือนชาติสมาชิกล่วงหน้า และจะต้องเป็นมาตรการที่สามารถอธิบายได้ อาจเสี่ยงที่จะถูกเรียกร้องค่าเสียหายจากชาติสมาชิกอื่นๆ ที่ได้รับผลกระทบ
ความพร้อมของไทย...กับการเข้าสู่ AEC • ระบบราชการไทยและรัฐวิสาหกิจยังไม่เอื้อต่อการเป็นสากล ระบบราชการไทยเป็น “Regulator” ในการกำกับและตรวจสอบเอกชน • ระบบการเมือง-ความปรองดองในประเทศอ่อนแอ ปัญหาความขัดแย้งในประเทศไม่มีทางออก การเมืองไม่มีความเข้มแข็งในการรับมือกับการเมืองผลประโยชน์ของอาเซียน • ปัญหาปักปันพรมแดนรอการประทุ ประเทศไทยและอาเซียนต่างมีปัญหาเขตพรมแดนทับซ้อนกัน โดยเฉพาะพื้นที่ ทะเลและเกาะต่างๆ ขณะที่ประเทศไทยยังมีปัญหาขัดแย้งการปักปันเขตแดนกับประเทศเพื่อนบ้าน • โครงสร้างพื้นฐานขาดการเชื่อมโยง โครงสร้างพื้นฐานของไทยพัฒนาแยกส่วน เน้นแต่ด้านฮาร์ดแวร์ แต่ขาดการเชื่อมโยงทั้งด้านกฎหมาย การเชื่อมโยงโหมดขนส่ง การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานแยกส่วน ไม่เกี่ยวเนื่องกัน • โครงสร้างกฎหมายขาดความทันสมัย ยังไม่ชัดเจน เพราะกฎหมายของประเทศยังไม่มีประสิทธิภาพ ในด้านการบังคับใช้และกฎหมายบางฉบับขาดความทันสมัย (แม้จะดีกว่าหลายประเทศในอาเซียน) • การเมืองต้องมีการปฏิรูป การผลักดันกฎหมายล่าช้า และกฎหมายเพื่อประโยชน์เฉพาะกลุ่ม สภาผู้แทนฯของไทยใช้แต่เรื่องการเมืองว่าใครมีอำนาจมากกว่าใคร และวัดด้วยเสียงข้างมาก
ภาคธุรกิจไทยพร้อมกับการเข้าสู่AECหรือไม่…?ภาคธุรกิจไทยพร้อมกับการเข้าสู่AECหรือไม่…? • แรงงานไทยขาดทักษะและข้อจำกัดด้านภาษาอังกฤษ รวมทั้งภาษาประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งด้านความเชี่ยวชาญแต่ละสาขา และขาดความสามารถในการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ ทำให้แรงงานไทยไปต่างประเทศ ยังเพื่อใช้กำลังแรงงานเท่านั้น • ต้นทุนการผลิตของไทยไม่ใช่ของถูกอีกต่อไป ทั้งด้านค่าแรงซึ่งกลายเป็นนโยบายหาเสียง ค่าพลังงาน คอร์รัปชั่น ต้นทุนการผลิตไม่ได้อยู่ในจุดที่ได้เปรียบเหมือนกับเมื่อก่อน ขณะที่ประเทศอินโดนีเซีย เวียดนาม พม่า ก็มีศักยภาพไม่น้อยไปกว่าไทย • ขาดมาตรการการย้ายฐานการผลิตไป ASEAN ที่ชัดเจน ไทยไม่ใช่ชัยภูมิที่มีต้นทุนต่ำ ทั้งด้านสิ่งแวดล้อม และขาดพื้นที่ ทั้งด้านอุตสากรรมและเกษตร ต่อไปต้องหาชัยภูมิใหม่ ที่สามารถลดต้นทุนในกระบวนการผลิตภายใต้การแข่งขันที่รุนแรงในอนาคต • ขาดแผนและกลไกขับเคลื่อนที่ชัดเจนและต่อเนื่อง ขาดการนำโจทย์ของประเทศ ใน 10 ปีข้างหน้าเป็นตัวตั้ง ขาดผลลัพธ์ที่ชัดเจนต่อการเปิดเสรี ขณะที่ยังขาดแผนที่จะพัฒนาอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเกษตรต่อการแข่งขันและการลงทุนใน AEC
ภาคธุรกิจกับยุทธศาสตร์ของการเข้าสู่ AEC • Think Change สภาวะแวดล้อมทางเศรษฐกิจและภูมิสถาปัตย์ ทั้งเชิงพื้นที่ ธุรกิจ รวมทั้งระบบสถาบัน และวัฒนธรรม โดยเฉพาะวิถีของคนในสังคมจะมีการเปลี่ยนแปลงแบบยกเครื่อง • Survivalต้องหาเส้นทางของความอยู่รอด เช่น การสร้างแบรนด์นวัตกรรม รูปแบบ เป็นที่ยอมรับในตลาด AEC การปรับขีดความสามารถในการแข่งขันในระดับนานาชาติ • การตั้งรับเปิดเสรีอาเซียน ไม่ได้มีสูตรสำเร็จสำหรับทุกคน ผู้ประกอบการรายเล็ก รายกลางที่เป็นโจทย์ไม่มีทางออก เถ้าแก่จะต้องมีสติในการแก้ปัญหา คิดในเชิงยุทธศาสตร์ สามารถทำให้องค์กรอยู่รอดได้ • การวางยุทธศาสตร์เพื่อการเติบโตที่ยั่งยืน คนคือหัวใจของการพัฒนาองค์กร การบริหารคน การแย่งชิงบุคลากร มีการแข่งขันสูง ขณะเดียวกัน คนที่ปรับตัวไม่ได้จะถูกทอดทิ้งเป็นส่วนเกินของสังคม AEC • การมียุทธศาสตร์สอดคล้องกับ AEC เจ้าของกิจการและพนักงานจะต้องมีการคิดเชิงยุทธศาสตร์ เพื่อความอยู่รอดของธุรกิจและตัวเองในระยะยาว
ความท้าทาย...ด้านการเคลื่อนย้ายแรงงานความท้าทาย...ด้านการเคลื่อนย้ายแรงงาน • ระดับการพัฒนาที่ต่างกัน อาเซียนยังมีอยู่ 2 ระดับที่ต่างกันคือ ประเทศกลุ่มหนึ่งมีระดับการพัฒนาไประดับหนึ่งแล้ว จึงต้องปรับระดับการพัฒนาคนให้เท่ากัน จึงจะเชื่อมโยงกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ • แรงงานไทยขาดทักษะและข้อจำกัดด้านภาษาอังกฤษ รวมทั้งภาษาประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งด้านความเชี่ยวชาญแต่ละสาขา และขาดความสามารถในการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ ทำให้แรงงานไทยไปต่างประเทศ ยังเพื่อใช้กำลังแรงงานเท่านั้น • ช่องว่างของการพัฒนา การเคลื่อนย้ายแรงงานระหว่างอาเซียน ขณะที่ประเทศในอาเซียนยังมีช่องว่างทางเศรษฐกิจ อาจทำให้บุคลากรจากประเทศหนึ่งแห่ไปหารายได้ในอีกประเทศหนึ่งในอาเซียน ทำให้คนเก่งกระจุกตัวในบางประเทศ • เศรษฐกิจภายในของไทยพึ่งพาแรงงานข้ามชาติสูง สินค้าส่งออกของไทยเชิงปริมาณ ร้อยละ 60-70 เป็นสินค้าพื้นฐาน ใช้แรงงานเข้มข้นสูง ขณะที่ราคาต้องแข่งกับประเทศเพื่อนบ้าน • การกระจุกตัวของแรงงานในประเทศอาเซียนที่พัฒนา การเปิดเสรีแรงงานต้องทำให้สอดคล้องกับความต้องการของภาคธุรกิจ ไม่เช่นนั้นจะเกิดการกระจุกตัวของแรงงานฝีมืออยู่ในประเทศใดประเทศหนึ่ง • การขาดมาตรฐานฝีมือแรงงานในระดับภูมิภาค แต่ละประเทศยังขาดมาตรฐานฝีมือแรงงาน โดยเฉพาะใน 7 สาขา ทั้งแพทย์ วิศวกร สถาปนิก นักบัญชี ซึ่งแต่ละอาชีพมีใบประกอบวิชาชีพของแต่ละประเทศ
ผู้ใช้แรงงานกับการปรับตัวเข้าสู่ AEC AEC Alert : การตื่นตัวของพนักงานหรือมนุษย์เงินเดือนที่ต้องทำงานกับบริษัทข้ามชาติหรือบริษัทไทยที่ต้องค้าขายกับอาเซียน English Language Skill / IT Technology / Equipment Using Skill การพัฒนาทักษะหรือความรู้ในการทำงานในระดับสากล Regional Base Knowledge : การพัฒนาความรู้และการเข้าใจการทำธุรกรรมและปฏิสัมพันธ์ในระดับอนุภูมิภาค Change in Company Culture : การปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมองค์กรที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมทั้งจากนายจ้างหรือเพื่อนร่วมงานที่เป็นคนต่างชาติที่แตกต่างทั้งภาษา กริยา วัฒนธรรมศาสนา ฯลฯ Employee Competitiveness : การเปิดแรงงานเสรีภายใต้ AEC การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในองค์กรทั้งการเลื่อนตำแหน่งหรือการปรับเงินเดือน หรือการถูกเลิกจ้าง สังคมไทยจะเข้าสู่ เงินคือพระเจ้า ภายใต้ You Work, I Pay เพื่อนจะน้อยลงไม่มีความจริงใจในเพื่อนร่วมงาน เป็นสังคมของวัตถุนิยมนำคุณธรรม 31
การปรับตัวของภาคการศึกษาต่อการเปิดเสรี AEC • Education Standardize :การสร้างมาตรฐานการศึกษาและระบบคุณวุฒิวิชาชีพในระดับของอาเซียน • ASEAN Language Understanding : การเรียนรู้ภาษาอาเซียนอย่างน้อย 1 ประเทศ • English is ASEAN Language : ภาษาอังกฤษเป็นภาษาอย่างเป็นทางการของอาเซียน ต้องพูดอ่านเขียนในระดับที่ใช้งานได้ (จริงๆ) จะต้องมีการหลักสูตรการเรียนตั้งแต่ระดับประถมจนถึงมหาวิทยาลัย • ASEAN Studying : การศึกษาวิชาอาเซียน ศึกษาในสาขาต่างๆ ทั้งด้านวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ วํฒนธรรม การทำธุรกิจ ด้านการจัดการ ด้านเศรษฐศาสตร์ • Teacher Development : การพัฒนาครู-อาจารย์ในสถาบันการศึกษาทั้งภาคบังคับและระดับอุดมศึกษาภายใต้บริบทของการเป็นประชาชน AEC • การปรับโอนย้ายหน่วยกิจ : การปรับโอนย้ายหน่วยกิจของมหาวิทยาลัยไทยกับมหาวิทยาลัยประเทศต่างๆ ในอาเซียนเพื่อเอื้อต่อการที่นักศึกษาไทยสามารถโอนหน่วยกิจไปศึกษาต่อในประเทศอาเซียน • การเปลี่ยนเวลาเปิดและปิดภาคเรียน : นโยบายการเปลี่ยนแปลงเวลาปิด-เปิดภาคการศึกษาให้ตรงกับประเทศอื่นๆ ในอาเซียน โดยเฉพาะสิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และเวียดนาม
โจทย์ที่ต้องการคำตอบเมื่อไทยเข้าเป็นส่วนหนึ่งของ AEC (1) We’re ASEAN…?? • AEC ไทยได้รับประโยชน์จริงหรือไม่ ประเทศไทยจะได้รับผลประโยชน์ในทางบวกหรือผลดีที่จะเกิดขึ้น โดยเฉพาะในเรื่องประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) หรือจะได้ประโยชน์เฉพาะธุรกิจขนาดใหญ่เท่านั้น • ภาคธุรกิจไทยพร้อมรับมือหรือยัง มีการเตรียมการที่ดีย่อมได้ผลในทางบวก แต่ในทางตรงกันข้าม หากผู้ประกอบการปรับตัวช้า จะสูญเสียโอกาสและอาจสูญเสียฐานของลูกค้าเดิม • คนไทยส่วนใหญ่พร้อมต่อการเปิดเสรีหรือไม่ การเปิดเสรีมากเกินไป นอกจากจะทำให้ฐานะของประเทศไทยเกิดความเสี่ยงมากขึ้นแล้ว หลายธุรกิจโดยเฉพาะ SMEs อาจล้มหายตายจากไป • SME กับการรับลงทุนโดยไม่เลือก การลงทุนของต่างชาติมาลงทุนในประเทศไทยไม่ได้ก่อให้เกิดรายได้แก่ชุมชน การจ้างงาน หรือการนำเทคโนโลยีมาช่วย หรือผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม 33
โจทย์ที่ต้องการคำตอบเมื่อไทยเข้าเป็นส่วนหนึ่งของ AEC (2) We’re ASEAN…?? เศรษฐกิจชุมชนจะเป็นอย่างไร ธุรกิจของต่างชาติที่เข้ามามีบทบาททำให้ธุรกิจท้องถิ่นที่มีมาแต่ช้านานสูญหายไปหมด โดยเฉพาะวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของไทย ภาครัฐมีส่วนช่วยภาคเอกชนได้อย่างเป็นรูปธรรมอย่างไรบ้าง ภาครัฐต้องเห็นความสำคัญของการพัฒนาในด้านการผลิตและการบริการและต้องมาช่วยภาคเอกชนในทุกวิถีทาง AEC จะช่วยลดปัญหาขัดแย้งพรมแดนกับประเทศเพื่อนบ้านได้จริงหรือไม่ ขณะที่การปักปันเขตแดนไทยกับเพื่อนบ้าน เช่น สปป.ลาว พม่า กัมพูชา ยังมีปัญหาไม่จบ การเป็นประชมคมเศรษฐกิจจะช่วยแก้ปัญหานี้ได้หรือไม่ ปัญหาความไม่ปรองดอง-สมานฉันท์ของไทย การเมืองภาคประชาชนยังมีความขัดแย้ง ทิศทางการเมืองไทยไม่ชัดเจน จะส่งผลเสียอย่างไรต่อบทบาทของไทยบนเวทีของอาเซียน 34
ประชาชนฐานรากจะได้ประโยชน์อะไรจาก AEC • Income Gap ภาคประชาชนจะได้อะไรจาก AEC ช่องว่างของรายได้จะลดลงไหม ความยากจนจะหายไปจากประเทศหรือไม่ • Different in Standard & Harmonization ทำความเข้าใจกับประชาชน เพื่อให้คนชุมชนเหล่านี้ได้รู้จัก AEC ว่าจะให้ประโยชน์อย่างไรบ้าง ต้องเตรียมตัวอะไรบ้าง และสิ่งท้าทายที่จะเกิดขึ้นคืออะไร มาตรฐานสินค้า บริการ โลจิสติกส์ และเรื่องความปลอดภัย ซึ่งเป็นเรื่องที่เข้าใจยากถึงการปกป้องภายใน • ASEAN Connectivity ประชาชนจะได้อะไร หรือต้องเสียอะไร การเชื่อมโยงเชิงกายภาพ เช่น การสร้างถนน ทางรถไฟ การเชื่อมทางรถไฟ การเชื่อมโยงทางหลวงระหว่างประเทศ • Visual Community or Ideal Communityอาเซียนจะเป็นประชาคมเสมือนจริงหรือเพียงแค่ประชาคมอุดมคติ • กลไกส่งเสริมประชาชนต่อความสามารถปรับตัวภายใต้ AEC รู้จักปรับใช้ทั้งด้านชุมชนเกษตรกรรม กลุ่ม OTOP และกลุ่มผู้ด้อยโอกาส กลุ่มคนที่ปรับตัวไม่ได้ จะบริหารจัดการอย่างไร • AEC For Peoples ชุมชนอาเซียนภายใต้การไม่มีส่วนร่วมของประชาชน จะเป็นจริงได้อย่างไร
1. ก้าวต่อไปของ ASEAN จะชอบหรือไม่…ก็หยุดไม่ได้แล้ว • 2. ASEAN Share Value การลดการเลื่อมล้ำและลดช่องว่างการพัฒนา โดยให้ประชาชนกลุ่มด้อยโอกาสและ SME ได้ประโยชน์ของการเป็น ASEAN • 3. Common Concern Connectivity การทำให้เกิดจิตสำนึกของการเป็นเนื้อเดียวกัน ด้วยการเชื่อมโยงในมิติต่างๆทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ให้ได้อย่างแท้จริงไม่มีอุปสรรคทางพรมแดนมาเป็นช่วงว่างของการเป็นอาเซียน 4. Single Market การยกระดับจากการแข่งขันไปสู่การร่วมมือกัน : ทั้งด้านการใช้ทรัพยากรร่วมกันและเป็นตลาดเดียวกันจะต้องมีการบูรณาการความร่วมมือ
COUNTDOWN AEC… 2015 Days 6 8 8 คุณ...พร้อมแล้วหรือยัง? 37
END ข้อมูลเพิ่มเติมที่ www.tanitsorat.com