1.25k likes | 1.56k Views
ธัญพืช ( Cereal Crops ). สุวัฒน์ ธีระพงษ์ธนากร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. ธัญพืช (cereal crops). พืชตระกูลหญ้า ข้าว (rice) Oryza sativa L. ขาวโพด (corn) Zea mays L. ข้าวฟ่าง ( s orghum ) Sorghum bicolor (L.) Moench ขาวสาลี wheat Tritricum aestivum L.
E N D
ธัญพืช (Cereal Crops) สุวัฒน์ ธีระพงษ์ธนากร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ธัญพืช (cereal crops) • พืชตระกูลหญ้า • ข้าว (rice) Oryza sativa L. • ขาวโพด (corn) Zea mays L. • ข้าวฟ่าง (sorghum)Sorghum bicolor (L.) Moench • ขาวสาลี wheat Tritricum aestivum L. • ขาวบาเลย (barley) Hordeum vulgare L. • ขาวโอต (oats) Avena sativa L.
สถานการณ์การผลิตข้าวของโลกสถานการณ์การผลิตข้าวของโลก • กระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา (USDA) สรุปสถานการณ์การผลิตข้าวของโลกปีการผลิต 2551/52 มีพื้นที่เก็บเกี่ยวรวม 986.19 ล้านไร่ ผลผลิตข้าวเปลือกเฉลี่ย 680 กิโลกรัมต่อไร่ • จากการประเมินเบื้องต้น ปีการผลิต 2552/53 มีพื้นที่เก็บเกี่ยวรวม 976.19 ล้านไร่ ผลผลิตข้าวเปลือกเฉลี่ย 675 กิโลกรัมต่อไร่ • เมื่อพยากรณ์ ณ เดือนเมษายน 2554 ในปีการผลิต 2553/54 จะมีพื้นที่เก็บเกี่ยวรวม 990.56 ล้านไร่ (พื้นที่เก็บเกี่ยวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.47) • จะมีผลผลิตข้าวเปลือกเฉลี่ย 682 กิโลกรัมต่อไร่ (ผลผลิตเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา 7 กิโลกรัมต่อไร่ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.04)
เนื้อที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต ผลผลิตต่อไร่
ผลผลิตรวมของข้าวทั่วโลกผลผลิตรวมของข้าวทั่วโลก • ผลผลิตรวมของข้าวทั่วโลก ปีการผลิต 2551/52 ว่ามีผลผลิตข้าวสารรวม 448.07 ล้านตัน • เมื่อประเมินเบื้องต้น ปีการผลิต 2552/53 มีผลผลิตข้าวสารรวม 440.35 ล้านตันข้าวสาร • การพยากรณ์ ณ เดือนเมษายน 2554 ว่า ในปีการผลิต 2553/54 ทั่วโลกจะมีผลผลิตข้าวสารรวม 450.68 ล้านตัน ซึ่งข้อมูลที่รายงานเดือนนี้ ลดลงจากรายงานเดือนที่แล้ว 0.84 ล้านตันข้าวสาร หรือลดลงร้อยละ 0.19 • ผลผลิตข้าวสารรวมของโลก ปี 2553/54 ในเดือนเมษายนนี้ คาดว่าผลผลิตจะเพิ่มมากกว่าปีที่ผ่านมา 10.33 ล้านตันข้าวสาร หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.35
ผลผลิตรวมของข้าวทั่วโลกผลผลิตรวมของข้าวทั่วโลก • ปีการผลิต 2552/53 ผลผลิตข้าวสารรวมทั่วโลกมีจำนวน 440.353 ล้านตัน • ประเทศที่มีผลผลิต รวมมากที่สุด คือ จีน (ร้อยละ 31.01) • รองลงมาได้แก่ อินเดีย (ร้อยละ 20.24) อินโดนีเซีย (ร้อยละ 8.26) บังคลาเทศ (ร้อยละ 7.04) เวียตนาม (ร้อยละ 5.67) ไทย (ร้อยละ 4.60) พม่า (ร้อยละ 2.41) และ ฟิลิปปินส์ (ร้อยละ 2.22) ตามลำดับ
ผลผลิตรวมของข้าวทั่วโลกผลผลิตรวมของข้าวทั่วโลก • ปีการผลิต 2553/54 กระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา พยากรณ์ ณ เดือนเมษายน 2554 ดังนี้ • ผลผลิตข้าวสารรวมทั่วโลกจะมีจำนวน 450.681 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปีการผลิต 2552/53 จำนวน 10.328 ล้านตันข้าวสาร หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.35 • ประเทศส่วนใหญ่ต่างก็มีผลผลิตรวมเพิ่มขึ้นจากปี ที่ผ่านมา ยกเว้น พม่า ปากีสถาน เกาหลีใต้ และอียิปต์ ที่มีผลผลิตรวมลดลง
สถานการณ์การบริโภคและการใช้ประโยชน์จากข้าวของโลกสถานการณ์การบริโภคและการใช้ประโยชน์จากข้าวของโลก • ปีการผลิต 2552/53 ประเมินว่าทั่วโลกจะมีการบริโภคและใช้ประโยชน์จากข้าวรวม 438.027 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปีการผลิต 2551/52 ที่ระดับ 436.873 ล้านตันข้าวสาร จำนวน 1.154 ล้านตันข้าวสารหรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.26 • การพยากรณ์ ณ เดือนเมษายน 2554 ในปีการผลิต 2553/54 ทั่วโลกจะมีการบริโภคและใช้ประโยชน์จากข้าวรวม 447.399 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปีการผลิต 2552/53 จำนวน 9.372 ล้านตันข้าวสาร หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.14 • ประเทศส่วนใหญ่มีการบริโภคและใช้ประโยชน์จากข้าวเพิ่มขึ้น ยกเว้น ญี่ปุ่น และอียิปต์ ที่มีการบริโภคข้าวลดลง
สถานการณ์การค้าข้าวของโลกสถานการณ์การค้าข้าวของโลก • ปีการค้า 2553 (ปีการผลิต 2552/53) กระทรวงเกษตร สหรัฐอเมริกา ประเมินเบื้องต้นว่าปริมาณการค้าข้าวของโลก มีจำนวน 31.263 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปีการค้า 2552 (ปีการผลิค 2551/52) ที่มีการซี้อขายรวม 29.253 ล้านตัน จำนวน 2.010 ล้านตันข้าวสาร หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.87 • ปีการค้า 2554 (ปีการผลิต 2553/54) พยากรณ์ว่า ณ เดือนเมษายน 2554 ปริมาณการส่งออกข้าวจะมีจำนวน 30.145 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจากปีที่ผ่านมา (ที่ระดับ 31.263 ล้านตันข้าวสาร) จำนวน 1.118 ล้านตันข้าวสาร หรือลดลงร้อยละ 3.58
การนำเข้าข้าวทั่วโลก • ปีการค้า 2553 (ปีการผลิต 2552/53) ประเทศที่มีปริมาณการนำเข้าเกินกว่า 1 ล้านตันข้าวสาร และที่มีการนาเข้าสูงสุดคือฟิลิปปินส์ รองลงมาได้แก่ไนจีเรีย สหภาพยุโรป อินโดนีเซีย อิหร่าน อิรัก ซาอุดิอาระเบีย และมาเลเซีย • ปีการค้า 2554 พยากรณ์ว่า ณ เดือนเมษายน 2554 ปริมาณการนำเข้าข้าวทั่วโลก มีจำนวน 30.145 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจากปีการค้า 2553 (ที่ระดับ 31.263 ล้านตันข้าวสาร) จำนวน 1.118 ล้านตัน หรือลดลงร้อยละ 3.58 • ประเทศที่มีการนำเข้าข้าว รายใหญ่จะมีการเปลี่ยนแปลงลำดับไปจากปีที่ผ่านมา คือ ลำดับที่ 1 คือไนจีเรีย รองลงมาได้แก่ อินโดนีเซีย สหภาพยุโรป อิหร่าน อิรัก ซาอุดิอาระเบีย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ ตามลำดับ • ประเทศที่มีการนำเข้าข้าวลดลง คือ ฟิลิปปินส์ ไนจีเรีย บราซิล และตุรกี
สถานการณ์ข้าวไทย • ในปี 2548 ประเทศไทยผลิตข้าวได้รวม 24.2 ล้านตันข้าวเปลือก • ใช้เพื่อการบริโภค ทำพันธุ์ และอื่นๆ ในประเทศรวม 13.6 ล้านตัน ข้าวเปลือก • ส่งออกไปขายในตลาดโลก 9.2 ล้านตันข้าวเปลือก หรือ 6.1 ล้านตันข้าวสาร มีมูลค่า 67,914 ล้านบาท
ข้าวนาปี : เนื้อที่เพาะปลูก เนื้อที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร, 2552
ข้าวนาปี : เนื้อที่เพาะปลูก เนื้อที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ เป็นรายภาค สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร, 2552
ข้าวนาปรัง : เนื้อที่เพาะปลูก เนื้อที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร, 2552
ข้าวนาปรัง : เนื้อที่เพาะปลูก เนื้อที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ เป็นรายภาค สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร, 2552
สถานการณ์ข้าวไทย • ปีการผลิต 2552/2553 ผลผลิตข้าวมีจำนวน 32.116 ล้านตันข้าวเปลือก (หรือ 21.197 ล้านตันข้าวสาร) จำแนกเป็น • ข้าวนาปี 23.253 ล้านตันข้าวเปลือก (หรือ 15.347 ล้านตันข้าวสาร) • ข้าวนาปรัง 8.863 ล้านตันข้าวเปลือก (หรือ 5.850 ล้านตันข้าวสาร) • ปีการค้า 2553 การส่งออกข้าวมีปริมาณ 9.05 ล้านตันข้าวสาร มูลค่า 5,345 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ราคาส่งออกเฉลี่ยตันละ 591 เหรียญสหรัฐฯ สูงกว่าปีการค้า 2552 ร้อยละ 5.36 6.35 และ 1.03 ตามลำดับ • มูลค่าการส่งออกในรูปเงินบาทโดยรวมกลับลดลงร้อยละ 1.80 เนื่องจาก เงินบาทแข็งค่าขึ้นร้อยละ 7.6
สถานการณ์ข้าวไทย • การผลิต/การตลาด ในปี 2554 • กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ประมาณการเบื้องต้น ณ เดือนธันวาคม 2553 ดังนี้ • ปีการผลิต 2553/54 จะมีผลผลิตข้าวเปลือกรวม 31.693 ล้านตัน (หรือ 20.917 ล้านตันข้าวสาร) จำแนกเป็น • ข้าวเปลือกนาปี 22.177 ล้านตัน (14.637 ล้านตันข้าวสาร) • ข้าวเปลือกนาปรัง 9.516 ล้านตัน (6.280 ล้านตันข้าวสาร)
สถานการณ์ข้าวไทย (กรมการข้าว, 2554)
แหล่งเพาะปลูกข้าวของประเทศไทยแหล่งเพาะปลูกข้าวของประเทศไทย www.oae.go.th
เนื้อที่เพาะปลูกและผลผลิตเก็บเกี่ยวรายเดือนเนื้อที่เพาะปลูกและผลผลิตเก็บเกี่ยวรายเดือน www.oae.go.th
การผลิตข้าว www.oae.go.th
การค้าข้าว www.oae.go.th
การพัฒนาข้าวของประเทศไทยการพัฒนาข้าวของประเทศไทย
ปัญหาการผลิตข้าว • การผลิตข้าวมีแนวโน้มมากกว่าความต้องการของตลาดโลก เนื่องจากผลของการควบคุมจำนวนประชากรในประเทศต่าง ๆ มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเฉพาะประเทศที่กำลังพัฒนา • เทคโนโลยีในการผลิตข้าวมีความก้าวหน้ามากขึ้น ทำให้ประเทศผู้ซื้อสามารถผลิตข้าวใช้ในประเทศได้มากขึ้น ปริมาณการนำเข้าจึงลดลง • ข้าวเป็นสินค้าเกษตรที่มีเป้าหมายเพื่อการส่งออก ดังนั้น ราคาข้าวจะถูกกำหนดจากปริมาณความต้องการและปริมาณข้าวในตลาดโลก ถ้าปริมาณข้าวมีมากกว่าความต้องการ ราคาข้าวในตลาด โลกจะลดลง และราคาข้าวในประเทศไทยก็จะลดลงด้วย • ต้นทุนการผลิตข้าวของเกษตรกรไทย ค่อนข้างสูง โดยเฉพาะการปลูกข้าวนาปี
ปัญหาการผลิตข้าว (ต่อ) • ข้อมูลการผลิตในช่วงปี 2548 - 2551 พบว่า • ข้าวนาปีมีต้นทุนการผลิตต่อตัน 5,602-5,971 บาท • ข้าวนาปรังมีต้นทุนการผลิตต่อตันเฉลี่ย 4,612-5,070 บาท • ในปี 2551/52 ข้าวนาปีมีผลตอบแทนสุทธิต่อตัน 651 บาท ส่วนข้าวนาปรัง มีผลตอบแทนสุทธิต่อตัน 1,430 บาท • ผลผลิตต่อไร่ของข้าวนาปีอยู่ในระดับต่ำ การเพิ่มผลผลิตทำได้ยากเนื่องจากข้อจำกัดของพื้นที่ปลูกซึ่ง ไม่สามารถควบคุมน้ำได้ โดยเฉพาะพื้นที่อาศัยน้ำฝน
ข้อจำกัดการผลิตข้าว • พันธุ์ข้าวที่แนะนำให้เกษตรกรปลูก ยังไม่สามารถครอบคลุมพื้นที่การปลูกได้อย่างเหมาะสม • เทคโนโลยีการผลิตที่เหมาะสม (Good Agriculture Practice : GAP) ยังไม่มีรายละเอียดที่จะใช้แนะนำเฉพาะพื้นที่ หรือเฉพาะพันธุ์
ข้อจำกัดการผลิตข้าว (ต่อ) • การวิจัยและพัฒนาด้านการแปรรูปส่วนใหญ่เป็นการแปรรูปแบบง่าย ๆ มีมูลค่าเพิ่มน้อยและยังไม่สามารถนำไปสู่การเป็นผู้นำในการ แปรรูปสู่อุตสาหกรรมการส่งออก • การประชาสัมพันธ์และการถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่เกษตรกรมีค่อนข้างน้อย • การค้าข้าวภายใต้องค์การค้าโลก (WTO) ถูกกีดกันมากขึ้น โดยอ้างถึงการรักษาสภาพแวดล้อม สุขอนามัย และความปลอดภัยทางชีวภาพ
โอกาสการผลิตข้าว • ถึงแม้ผลผลิตเฉลี่ยของประเทศจะอยู่ในระดับต่ำ โดยเฉพาะข้าวนาปี ซึ่งประมาณมากกว่าร้อยละ 50 อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ผลิต ข้าวขาวดอกมะลิ 105 และ กข 6 เป็นส่วนใหญ่ • พื้นที่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือหลายพื้นที่มีศักยภาพที่สามารถปลูก ข้าวดอกมะลิ 105 ได้ผลผลิตสูงถึง 500 - 600 กิโลกรัม/ไร่ • พื้นที่ในเขตชลประทานซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพในการเพิ่มผลผลิตมีการขยายตัวมากขึ้น
โอกาสการผลิตข้าว (ต่อ) • กรมวิชาการข้าว มีทรัพยากรข้าวที่หลากหลาย สามารถนำมาใช้ในการพัฒนาพันธุ์ที่มีคุณภาพตามความต้องการของตลาด ทั้งภายในและต่างประเทศ ทั้งในด้านการบริโภคโดยตรงและแปรรูป • กรมวิชาการข้าว มีเทคโนโลยีการผลิตที่เหมาะสม (GAP) เพื่อปรับใช้การผลิตข้าวในนิเวศน์ต่างๆ เพื่อให้ได้ผลผลิตข้าวที่ดีทั้งปริมาณและคุณภาพ • จากข้อตกลงทางการค้าภายใต้ WTO ไทยมีโอกาสที่ส่งส่งออกข้าวเข้าไปตลาดโลกได้มากขึ้น • ผลิตภัณฑ์จากข้าวยังมีโอกาสอีกมากในตลาดโลก เนื่องจากความต้องการใช้เป็นอาหารเพื่อสุขภาพ อาหารสำเร็จรูป และ เครื่องสำอางมีเพิ่มมากขึ้น
ข้าวจาโปนิกา (Japonica rice) ข้าวอินดิกา (Indica rice)
ระยะการเจริญเติบโตของข้าว(แหล่งข้อมูล: www.irri.org)1. ระยะการเติบโตทางลำต้น (vegetative: germination to panicle initiation);2. ระยะผสมพันธุ์ (reproductive:panicle initiation to flowering)3. ระยะติดเมล็ด (ripening: flowering to mature grain)
พัฒนาการของต้นกล้าข้าวพัฒนาการของต้นกล้าข้าว
ข้าว ต้นกล้าปกติ (ด้านซ้ายสุด) เปรียบเทียบกับต้นกล้าผิดปกติ(ต้นด้านขวาที่เหลือ)
ระยะต้นข้าวถึงระยะออกดอกระยะต้นข้าวถึงระยะออกดอก
การจำแนกชนิดข้าว • ประเภทของแป้งในเมล็ดข้าวสาร • สภาพพื้นที่ปลูก • อายุการเก็บเกี่ยว • ลักษณะความไวต่อแสง • รูปร่างของเมล็ดข้าวสาร • แบ่งตามฤดูปลูก
จำแนกตามประเภทของแป้งในเมล็ดข้าวสารจำแนกตามประเภทของแป้งในเมล็ดข้าวสาร • ข้าวเจ้า (non-glutinous rice) - เมล็ดข้าวใส เมื่อหุงสุกไม่เกาะตัวกัน - amylose 64-92 % amylopectin 8-36 % ของน้ำหนักเมล็ด • ข้าวเหนียว (glutinous rice or waxy rice) - เมล็ดข้าวขาวขุ่น เมื่อหุงสุกเกาะตัวกัน - amylose 0-8 % amylopectin 92-100 % ของน้ำหนักเมล็ด
โครงสร้าง Amylose และ amylopectin http://academic.brooklyn.cuny.edu/biology/bio4fv/page/starch.html
อะไมโลส (amylose)โมเลกุลของกลูโคสต่อเป็นสายยาว 70-300 โมเลกุล บิดเป็นเกลียว (helix) ไม่แตกแขนง ไม่ละลายน้ำ ทดสอบด้วยสารละลายไอโอดีน ได้สารสีน้ำเงินปนดำ • อะไมโลเพคติน (amylopectin)โมเลกุลของกลูโคสต่อเป็นสายยาวและแตกกิ่งก้านละลายน้ำได้ทดสอบด้วยสารละลายไอโอดีน ได้สารสีม่วง
- ข้าวเจ้ามีอะไมโลส 17-30% - ข้าวเหนียวมีอะไมโลสไม่เกิน 1% - แป้งมันสำปะหลังมีอะไมโลสประมาณ 18% - แป้งข้าวโพดมีอะไมโลสประมาณ 26%
เม็ดแป้งข้าวเจ้าเม็ดแป้งแต่ละชนิดจะมีลักษณะค่อนข้างเฉพาะตัว ในภาพเป็น เม็ดแป้งข้าวเจ้าซึ่งมีลักษณะคล้าย ปิรามิดฐานหลายเหลี่ยม ที่มียอดตัด www.stec.sc.su.ac.th/index.php?sel=8&click=15
จำแนกตามสภาพพื้นที่ปลูกจำแนกตามสภาพพื้นที่ปลูก 1. ข้าวไร่ (upland rice) 2. ข้าวนาสวนหรือนาดำ (lowland rice) 3. ข้าวขึ้นน้ำหรือข้าวนาเมือง (floating rice)
ข้าวไร่ (upland rice) • ปลูกได้ทั้งบนที่ราบและที่ลาดชัน • ไม่ต้องทำคันนาเก็บกักน้ำ • ปลูกกันมากในบริเวณที่ราบสูงตามไหล่เขาทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออกและภาคใต้ของประเทศ • มีเนื้อที่เพาะปลูกประมาณ ร้อยละ 10 ของเนื้อที่เพาะปลูกทั่วประเทศ
ข้าวนาสวนหรือนาดำ (lowland rice) • ปลูกในพื้นที่ลุ่มทั่วไป ในสภาพที่มีน้ำหล่อเลี้ยงต้นข้าวตั้งแต่ปลูก • มีเนื้อที่เพาะปลูกประมาณร้อยละ 80 ของเนื้อที่เพาะปลูกทั่วประเทศ ปลูกกันมากในทุกภาค
ข้าวขึ้นน้ำหรือข้าวนาเมือง (floating rice) • ปลูกในแหล่งที่ไม่สามารถรักษาระดับน้ำได้ บางครั้งระดับน้ำในบริเวณที่ปลูกอาจสูงกว่า 1 เมตร • ต้องใช้ข้าวพันธุ์พิเศษที่เรียกว่า ข้าวลอยหรือข้าวฟ่างลอยปลูก • ส่วนมากปลูก แถบจังหวัดสุพรรณบุรีพระนครศรีอยุธยา ลพบุรี พิจิตร อ่างทอง ชัยนาทและสิงห์บุรี • มีเนื้อที่เพาะปลูกประมาณร้อยละ 10 ของเนื้อที่เพาะปลูกทั่วประเทศ
ข้าวขึ้นน้ำในประเทไทย (Deepwater rice in Thailand)
การจำแนกตามอายุต้นข้าวการจำแนกตามอายุต้นข้าว 1. ข้าวเบา อายุเก็บเกี่ยว 90-100 วัน 2. ข้าวกลาง อายุเก็บเกี่ยว 100-120 วัน 3. ข้าวหนัก อายุเก็บเกี่ยว 120 วันขึ้นไป